รองเลขาฯ ป.ป.ช.เผยที่ประชุมเผยสถาบันการเงินเห็นด้วยร่างประกาศให้แจงยอดทันทีหากมีนักการเมือง-ข้าราชการรวมคู่สมรสและบุตร ทำธุรกรรมการเงินมากกว่า 5 แสน และอสังหาริมทรัพย์ 1 ล้านขึ้นไป ไม่ต้องรอจัดแสดงบัญชีทรัพย์สินเมื่อมีคนร้อง พร้อมอายัดได้ทันที แต่รายละเอียดอีก 32 ประเด็นต้องคุยให้ชัด หวังเสร็จก่อน 30 ก.ย. ส่วนสอบบัญชี 5 อดีต รมต.เอี่ยวจำนำข้าว มีข้อมูลแล้ว 90%
วันนี้ (29 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุม ป.ป.ช. ว่าทาง ป.ป.ช.ร่วมกับผู้แทนสถาบันการเงินเกี่ยวกับร่างประกาศของ ป.ป.ช.เกี่ยวกับข้อกำหนดจำนวนเงิน และมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นด้วยต่อการประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้ข้าราชการ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงคู่สมรส บุตรที่ไม่ได้บรรลุนิติภาวะ เมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงินสด วงเงินเกินกว่า 5 แสนบาท หรืออสังหาริมทรัพย์มูลค่า 1 ล้านบาท สถาบันการเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรายงานให้ ป.ป.ช.ได้รับทราบ เพื่อให้การทำงานตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของ ป.ป.ช.มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น คือ ไม่จำเป็นต้องให้มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อพ้นหรือเข้ารับตำแหน่งเท่านั้น หรือมีผู้ร้องเรียนเท่านั้น โดย ป.ป.ช.สามารถเข้าไปอายัดทรัพย์ได้ทันที เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการแสดงทรัพย์สินหลังพ้นตำแหน่ง เมื่อเกิดปัญหา ป.ป.ช.ไม่สามารถตรวจสอบได้ทัน
นายวรวิทย์กล่าวว่า ส่วนรายละเอียดที่จะต้องพูดคุยให้มีความชัดเจนอีก 32 ประเด็น อาทิ แบบฟอร์มการแสดงรายการทรัพย์สิน เทคโนโลยีในการส่งข้อมูล ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ตั้งตัวแทนขึ้นมา 5 คนเพื่อมาประชุมหารือให้ได้ข้อสรุปกับตัวแทน ป.ป.ช. เพื่อที่จะให้ประกาศฉบับนี้เสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย. และเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ ป.ป.ช.พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ นายวรวิทย์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของ 5 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูล โดยขณะนี้ทางสถาบันการเงิน และส่วนราชการได้ทยอยส่งข้อมูลมากกว่าร้อยละ 90 แล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าจะสามารถสรุปสำนวนได้เมื่อไหร่
วันนี้ (29 ก.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุม ป.ป.ช. ว่าทาง ป.ป.ช.ร่วมกับผู้แทนสถาบันการเงินเกี่ยวกับร่างประกาศของ ป.ป.ช.เกี่ยวกับข้อกำหนดจำนวนเงิน และมูลค่าทรัพย์สินในการทำธุรกรรมที่ต้องรายงานต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นด้วยต่อการประกาศดังกล่าวที่กำหนดให้ข้าราชการ และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงคู่สมรส บุตรที่ไม่ได้บรรลุนิติภาวะ เมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงินสด วงเงินเกินกว่า 5 แสนบาท หรืออสังหาริมทรัพย์มูลค่า 1 ล้านบาท สถาบันการเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรายงานให้ ป.ป.ช.ได้รับทราบ เพื่อให้การทำงานตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของ ป.ป.ช.มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น คือ ไม่จำเป็นต้องให้มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อพ้นหรือเข้ารับตำแหน่งเท่านั้น หรือมีผู้ร้องเรียนเท่านั้น โดย ป.ป.ช.สามารถเข้าไปอายัดทรัพย์ได้ทันที เพราะที่ผ่านมาเมื่อมีการแสดงทรัพย์สินหลังพ้นตำแหน่ง เมื่อเกิดปัญหา ป.ป.ช.ไม่สามารถตรวจสอบได้ทัน
นายวรวิทย์กล่าวว่า ส่วนรายละเอียดที่จะต้องพูดคุยให้มีความชัดเจนอีก 32 ประเด็น อาทิ แบบฟอร์มการแสดงรายการทรัพย์สิน เทคโนโลยีในการส่งข้อมูล ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ตั้งตัวแทนขึ้นมา 5 คนเพื่อมาประชุมหารือให้ได้ข้อสรุปกับตัวแทน ป.ป.ช. เพื่อที่จะให้ประกาศฉบับนี้เสร็จก่อนวันที่ 30 ก.ย. และเสนอให้ที่ประชุมใหญ่ ป.ป.ช.พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ นายวรวิทย์ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของ 5 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูล โดยขณะนี้ทางสถาบันการเงิน และส่วนราชการได้ทยอยส่งข้อมูลมากกว่าร้อยละ 90 แล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าจะสามารถสรุปสำนวนได้เมื่อไหร่