โฆษก กอ.รมน.เผย คสช.ตั้ง ผช.เสธ.ทบ.นั่ง ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป ชู 3 ขั้น เชิญผู้แทนตั้งทีมดำเนินการ รวบรวมความเห็นทำกรอบแนวทาง และประมวลผลสู่แนวทางปฏิบัติในเดือนหน้า ระบุ มท.สั่งทุกจังหวัดเดินหน้า เน้นยอมรับความต่าง บริหารความขัดแย้ง เดินเครื่องกระบวนการยุติธรรมที่เกิดก่อน 22 พ.ค. ยันเจตนารมย์คืนความสุขให้คนในชาติ
วันนี้ (3 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.)ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายให้ พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ เป็น ผอ.ศปป. ส่วนคณะทำงานประกอบด้วย คณะทำงานส่วนกลาง และ ศปป.กอ.รมน.ภาค 1-4 โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ 3 ขั้น คือขั้นที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อม ศปป. เชิญผู้แทนส่วนที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงาน หารือกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการ กอ.รมน.ภาค 1-4 จัดตั้งศูนย์ฯ กำหนดรวบรวมข้อมูล และแผนการปฏิบัติ เพื่อดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบ
ขั้นที่ 2 คือ ในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นขั้นการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ศปป. โดยคณะทำงานส่วนกลางรวบรวมความเห็นในส่วนกลาง จัดทำเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการ ศปป.กอ.รมน.ภาค 1-4 รวบรวมความเห็นจากระดับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค เสนอให้ ศปป.ทราบ และขั้นที่ 3 ในเดือนกรกฎาคม จะมีการประมวลข้อมูลที่ได้รับนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการปฏิบัติประกอบการพิจารณาการแก้ไขปัญหาในภาพรวมต่อไป
พ.อ.บรรพตกล่าวต่อว่า สำหรับกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้ทุกจังหวัดจัดตั้ง ศปป.กอ.รมน.จังหวัด ขึ้นรองรับแล้ว ทาง ศปป.จะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้มาช่วยกันสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ให้สังคมไทยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง บริหารความขัดแย้งอย่างเท่าเทียม และเป็นระบบตามกระบวนการยุติธรรมปัจจุบัน โดยไม่ผูกพันกับเงื่อนไขตามกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นก่อน 22 พ.ค. 57 การดำเนินการโดยภาพรวม ขอให้บูรณาการทุกส่วนงาน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร โดยอาศัยกลไกที่มีอยู่แล้วเข้าร่วมด้วย เช่น ศูนย์ไกล่เกลี่ยของอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม ฯลฯ เน้นการเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจ ให้เกิดการยอมรับความเห็นต่างทางการเมืองของบุคคล และกลั่นกรองรวบรวมข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป ตามลำดับความสำคัญหรือเร่งด่วน จนนำไปสู่การจัดกิจกรรมปรองดองสมานฉันท์ หรือแสวงโอกาสเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ กิจกรรมตามประเพณี การพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนของฝ่ายปกครอง การจัดเวทีเสวนาชุมชน การจัดเวทีชาวบ้าน การจัดประชาคมหมู่บ้าน ฯลฯ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
“ในช่วงเวลาพิเศษนี้เจตนารมณ์ของหัวหน้า คสช.ต้องการคืนความสุขให้แก่คนในชาติ สลายความขัดแย้งในสังคม สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ ยึดถือสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสงบสุขปลอดภัยของประชาชน ให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้ง เข้ามาร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ฟื้นฟู เดินหน้าประเทศ เพื่อเตรียมการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูป และนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ก่อนเที่ยงวันนี้ เลขาธิการ รมน.ได้ร่วมหารือกับรักษาราชการแทน ปลัด กห. เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกัน และภายในห้วงสัปดาห์นี้ ศปป. จะเชิญประชุมจัดทำแผนและแนวทางการปฏิบัติ (โรดแมป) ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง พร้อมกับขอให้หน่วยงานได้เร่งรัดในการดำเนินการเชิงคู่ขนานอย่างต่อเนื่องด้วย” โฆษก กอ.รมน.กล่าว
วันนี้ (3 มิ.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.)ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มอบหมายให้ พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ เป็น ผอ.ศปป. ส่วนคณะทำงานประกอบด้วย คณะทำงานส่วนกลาง และ ศปป.กอ.รมน.ภาค 1-4 โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ 3 ขั้น คือขั้นที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อม ศปป. เชิญผู้แทนส่วนที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงาน หารือกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินการ กอ.รมน.ภาค 1-4 จัดตั้งศูนย์ฯ กำหนดรวบรวมข้อมูล และแผนการปฏิบัติ เพื่อดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบ
ขั้นที่ 2 คือ ในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นขั้นการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ศปป. โดยคณะทำงานส่วนกลางรวบรวมความเห็นในส่วนกลาง จัดทำเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการ ศปป.กอ.รมน.ภาค 1-4 รวบรวมความเห็นจากระดับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค เสนอให้ ศปป.ทราบ และขั้นที่ 3 ในเดือนกรกฎาคม จะมีการประมวลข้อมูลที่ได้รับนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการปฏิบัติประกอบการพิจารณาการแก้ไขปัญหาในภาพรวมต่อไป
พ.อ.บรรพตกล่าวต่อว่า สำหรับกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้ทุกจังหวัดจัดตั้ง ศปป.กอ.รมน.จังหวัด ขึ้นรองรับแล้ว ทาง ศปป.จะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายได้มาช่วยกันสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ให้สังคมไทยยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง บริหารความขัดแย้งอย่างเท่าเทียม และเป็นระบบตามกระบวนการยุติธรรมปัจจุบัน โดยไม่ผูกพันกับเงื่อนไขตามกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นก่อน 22 พ.ค. 57 การดำเนินการโดยภาพรวม ขอให้บูรณาการทุกส่วนงาน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร โดยอาศัยกลไกที่มีอยู่แล้วเข้าร่วมด้วย เช่น ศูนย์ไกล่เกลี่ยของอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม ฯลฯ เน้นการเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจ ให้เกิดการยอมรับความเห็นต่างทางการเมืองของบุคคล และกลั่นกรองรวบรวมข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป ตามลำดับความสำคัญหรือเร่งด่วน จนนำไปสู่การจัดกิจกรรมปรองดองสมานฉันท์ หรือแสวงโอกาสเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ กิจกรรมตามประเพณี การพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนของฝ่ายปกครอง การจัดเวทีเสวนาชุมชน การจัดเวทีชาวบ้าน การจัดประชาคมหมู่บ้าน ฯลฯ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
“ในช่วงเวลาพิเศษนี้เจตนารมณ์ของหัวหน้า คสช.ต้องการคืนความสุขให้แก่คนในชาติ สลายความขัดแย้งในสังคม สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ ยึดถือสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสงบสุขปลอดภัยของประชาชน ให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้ง เข้ามาร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ฟื้นฟู เดินหน้าประเทศ เพื่อเตรียมการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูป และนำไปสู่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ก่อนเที่ยงวันนี้ เลขาธิการ รมน.ได้ร่วมหารือกับรักษาราชการแทน ปลัด กห. เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกัน และภายในห้วงสัปดาห์นี้ ศปป. จะเชิญประชุมจัดทำแผนและแนวทางการปฏิบัติ (โรดแมป) ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง พร้อมกับขอให้หน่วยงานได้เร่งรัดในการดำเนินการเชิงคู่ขนานอย่างต่อเนื่องด้วย” โฆษก กอ.รมน.กล่าว