สมาคมนักข่าว นสพ. และสมาคมนักข่าววิทยุทีวี แถลงร่วม จี้ ศอ.รส. หยุดลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อตาม รธน. หลังออกแถลง ฉ.5 ห้ามถ่ายทอดสดสัญญาณ กปปส. พร้อมขู่ฟัน ซัดลิดรอนชัดเจน ยันไม่มีบทบัญญัติให้แทรกแซงงาน ชี้ทีวีเป็นอิสระนำเสนอข่าว ขอเรียกร้องยุติข่มขู่และดำเนินคดี ไล่เพิกถอนแถลงการณ์ เคารพการทำงาน หยุดใช้ถ้อยคำให้หวาดกลัว
วันนี้ (9 พ.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ขอให้ ศอ.รส. หยุดลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ออกแถลงการณ์ห้ามการถ่ายทอดสัญญาณ หรือให้ความช่วยเหลือแก่แกนนำ กปปส. โดยมีคำสั่งการให้ผู้บริหารสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งงดเว้น หรือยุติการให้การสนับสนุนตามที่ กปปส. เรียกร้องโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นจะต้องรับผิดทางอาญาและทางแพ่งนั้น มีความเห็นว่า แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างชัดแจ้ง ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 45 และ 46 อีกทั้งมิได้มีบทบัญญัติใดให้อำนาจ ศอ.รส. ในการแทรกแซงหรือครอบงำการทำงานของสื่อมวลชน ไม่ว่าฝ่ายเอกชน หรือรัฐบาล
รัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรค 4 การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสาร หรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพจะกระทำมิได้ และมาตรา 46 พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว และแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น ศอ.รส. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยความมั่นคง และกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจพิเศษในการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน
ในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น สมาคมวิชาชีพทั้งสองได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูลอย่างเที่ยงตรง แม่นยำ และครบถ้วน โดยปราศจากอคติ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ และโดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ นับเป็นอิสระของแต่ละสถานีที่จะนำเสนอข่าวสาร แพร่ภาพออกอากาศหรือถ่ายทอดสัญญาณใดๆ แม้แต่หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าของกิจการก็ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานได้ สมาคมทั้งสองจึงเรียกร้องให้ ศอ.รส. ทบทวน และยุติการข่มขู่คุกคาม ที่จะดำเนินคดีสื่อ รวมทั้งเรียกร้องสื่อให้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามหลักวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1. ขอให้ ศอ.รส. เพิกถอนแถลงการณ์ในส่วนที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อ และละเมิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ให้การปกป้อง คุ้มครองเสรีภาพในการทำงานโดยพลัน 2. ขอให้ ศอ.รส. เคารพการทำงานของสื่อมวลชน และหยุดการใช้ถ้อยคำที่เป็นการข่มขู่สื่อมวลชนให้หวาดกลัวการดำเนินคดีตามกฎหมาย 3. ขอให้สื่อมวลชนยืนยันการทำหน้าที่ต่อไป โดยปราศจากความหวาดกลัวอำนาจที่ไม่ชอบธรรม และพึงระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสารอย่างเที่ยงตรง แม่นยำ และครบถ้วนต่อไป
วันนี้ (9 พ.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์ขอให้ ศอ.รส. หยุดลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า ตามที่ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ออกแถลงการณ์ห้ามการถ่ายทอดสัญญาณ หรือให้ความช่วยเหลือแก่แกนนำ กปปส. โดยมีคำสั่งการให้ผู้บริหารสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกแห่งงดเว้น หรือยุติการให้การสนับสนุนตามที่ กปปส. เรียกร้องโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นจะต้องรับผิดทางอาญาและทางแพ่งนั้น มีความเห็นว่า แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างชัดแจ้ง ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 45 และ 46 อีกทั้งมิได้มีบทบัญญัติใดให้อำนาจ ศอ.รส. ในการแทรกแซงหรือครอบงำการทำงานของสื่อมวลชน ไม่ว่าฝ่ายเอกชน หรือรัฐบาล
รัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรค 4 การห้ามหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเสนอข่าวสาร หรือแสดงความคิดเห็นทั้งหมดหรือบางส่วน หรือการแทรกแซงด้วยวิธีการใดๆ เพื่อลิดรอนเสรีภาพจะกระทำมิได้ และมาตรา 46 พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือสื่อมวลชนอื่น ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าว และแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น ศอ.รส. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยความมั่นคง และกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจพิเศษในการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน
ในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น สมาคมวิชาชีพทั้งสองได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูลอย่างเที่ยงตรง แม่นยำ และครบถ้วน โดยปราศจากอคติ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ และโดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ นับเป็นอิสระของแต่ละสถานีที่จะนำเสนอข่าวสาร แพร่ภาพออกอากาศหรือถ่ายทอดสัญญาณใดๆ แม้แต่หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าของกิจการก็ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานได้ สมาคมทั้งสองจึงเรียกร้องให้ ศอ.รส. ทบทวน และยุติการข่มขู่คุกคาม ที่จะดำเนินคดีสื่อ รวมทั้งเรียกร้องสื่อให้ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามหลักวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1. ขอให้ ศอ.รส. เพิกถอนแถลงการณ์ในส่วนที่เป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อ และละเมิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ให้การปกป้อง คุ้มครองเสรีภาพในการทำงานโดยพลัน 2. ขอให้ ศอ.รส. เคารพการทำงานของสื่อมวลชน และหยุดการใช้ถ้อยคำที่เป็นการข่มขู่สื่อมวลชนให้หวาดกลัวการดำเนินคดีตามกฎหมาย 3. ขอให้สื่อมวลชนยืนยันการทำหน้าที่ต่อไป โดยปราศจากความหวาดกลัวอำนาจที่ไม่ชอบธรรม และพึงระมัดระวังในการนำเสนอข่าวสารอย่างเที่ยงตรง แม่นยำ และครบถ้วนต่อไป