กมธ.ต่างประเทศ วุฒิสภา ยัน ต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มาตรา 3 และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โต้ รมว.ต่างประเทศของไทยไม่ควรลงนามยอมรับคำตัดสินของศาลโลก
วันนี้ (31 ต.ค.) คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา นำโดย นางพิกุล แก้วไกรฤกษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยสมาชิก แถลงข่าวแสดงความเห็นตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการว่ากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 กรณีการตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาออกไป ถือเป็นการลดอำนาจขิงฝ่ายนิติบัญญัติและเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลในการจัดทำหนังสือระหว่างประเทศที่ไม่ต้องเสนอ กรอบการเจรตาต่อสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยกับมาตรา 3 ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องจากมีเนื้อหาครอบคลุมให้มีการนิรโทษกรรมตั้งแต่ พ.ศ 2547 จนถึง 8 สิงหาคม 2556ทำให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดที่อาจจะรวมไปถึงเหตุการณ์ในตากใบหรือกรณีมัสยิดกรือเซะด้วยหรือไม่โดยอาจทำให้เหตุการณ์กรือเซะไปอยู่ในการพิจารณาของศาลโลกได้
ส่วนกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปหารือร่วมกับ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมาโดยมีการแถลงข่าวร่วมกันว่าจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกไม่ว่าจะออกมาอย่างไรนั้น
โดยนายสามารถ แก้วมีชัย กล่าวว่า รัฐบาลต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรับคำตัดสินศาลโลกหรือไม่นับ ไม่ใช่รัฐมนตรีต่างประเทศไปตัดสินใจก่อน ซึ่งจากหลายกรณีที่ไม่รับคำตัดสินของศาลโลกก็ไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้น ถือเป็นการผูกมัดประเทศไทยและอาจทำให้ประเทศเสียประโยชน์
วันนี้ (31 ต.ค.) คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา นำโดย นางพิกุล แก้วไกรฤกษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยสมาชิก แถลงข่าวแสดงความเห็นตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการว่ากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา190 กรณีการตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาออกไป ถือเป็นการลดอำนาจขิงฝ่ายนิติบัญญัติและเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลในการจัดทำหนังสือระหว่างประเทศที่ไม่ต้องเสนอ กรอบการเจรตาต่อสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยกับมาตรา 3 ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องจากมีเนื้อหาครอบคลุมให้มีการนิรโทษกรรมตั้งแต่ พ.ศ 2547 จนถึง 8 สิงหาคม 2556ทำให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดที่อาจจะรวมไปถึงเหตุการณ์ในตากใบหรือกรณีมัสยิดกรือเซะด้วยหรือไม่โดยอาจทำให้เหตุการณ์กรือเซะไปอยู่ในการพิจารณาของศาลโลกได้
ส่วนกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปหารือร่วมกับ นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมาโดยมีการแถลงข่าวร่วมกันว่าจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกไม่ว่าจะออกมาอย่างไรนั้น
โดยนายสามารถ แก้วมีชัย กล่าวว่า รัฐบาลต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรับคำตัดสินศาลโลกหรือไม่นับ ไม่ใช่รัฐมนตรีต่างประเทศไปตัดสินใจก่อน ซึ่งจากหลายกรณีที่ไม่รับคำตัดสินของศาลโลกก็ไม่มีผลกระทบใดๆ เกิดขึ้น ถือเป็นการผูกมัดประเทศไทยและอาจทำให้ประเทศเสียประโยชน์