กก.ที่ปรึกษา รธน.ผู้ตรวจฯ ตั้ง 10 ประเด็นเนื้อหาแก้ รธน. ลั่นไม่ได้แทรกแซงทำงาน ส.ส.ร.-ร่าง รธน.แข่ง อ้างเป็นการเสนอหลักการที่ควรจะมีใน รธน.
วันนี้ (25 เม.ย.) นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อ.นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐธรรมนูญ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงภายหลังการประชุมว่า ในที่ประชุมได้มีการรวบรวม 10 ประเด็นใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ดังนี้ 1. สมาชิกวุฒิสภา ควรจะคงไว้หรือไม่ และควรมีที่มาอย่างไร 2. หลักเกณฑ์ความรับผิดชอบของพรรคการเมือง โดยเฉพาะกรณีการถูกยุบพรรคและการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค ควรมีอยู่ต่อไปหรือไม่ 3. ความจำเป็นของอำนาจหน้าที่ฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ 4. ความจำเป็นและอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระทั้งหลาย 5. กระบวนการสรรหากรรมการองค์กรอิสระควรเป็นอย่างไร 6. โครงสร้างอำนาจทางการเมืองควรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะกรณีหากยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 309 จะมีมาตรการเชื่อมโยงกับสภาพทางการเมืองและกลไลทางการเมืองได้อย่างไร 7. ระบบการเลือกตั้ง และให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ 8. ระบบพรรคการเมืองและการเข้าสู่ตำแหน่งทางเมืองของฝ่ายบริหาร 9. การคุ้มครอง การให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และ 10. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
ทั้งนี้ ประเด็นทั้งหมดคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ครม.และพรรคร่วมรัฐบาล รวม 3 ร่าง และจากความสนใจของประชาชน โดยคาดว่าทุกประเด็นจะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการยกร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. ซึ่งยืนยันว่าการทำงานและข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ไม่ได้เป็นการไปแทรกแซงการทำหน้าที่ของ ส.ส.ร. หรือไปยกร่างรัฐธรรมนูญแข่ง แต่เป็นการเสนอหลักการที่ควรจะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญและเป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ ให้ไว้กับผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งแต่ละประเด็นคาดว่าจะใช้เวลาการพิจารณา 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะนำเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อพิจารณาต่อไป
วันนี้ (25 เม.ย.) นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อ.นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐธรรมนูญ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงภายหลังการประชุมว่า ในที่ประชุมได้มีการรวบรวม 10 ประเด็นใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ดังนี้ 1. สมาชิกวุฒิสภา ควรจะคงไว้หรือไม่ และควรมีที่มาอย่างไร 2. หลักเกณฑ์ความรับผิดชอบของพรรคการเมือง โดยเฉพาะกรณีการถูกยุบพรรคและการตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค ควรมีอยู่ต่อไปหรือไม่ 3. ความจำเป็นของอำนาจหน้าที่ฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ 4. ความจำเป็นและอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระทั้งหลาย 5. กระบวนการสรรหากรรมการองค์กรอิสระควรเป็นอย่างไร 6. โครงสร้างอำนาจทางการเมืองควรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะกรณีหากยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 309 จะมีมาตรการเชื่อมโยงกับสภาพทางการเมืองและกลไลทางการเมืองได้อย่างไร 7. ระบบการเลือกตั้ง และให้ ส.ส.สังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ 8. ระบบพรรคการเมืองและการเข้าสู่ตำแหน่งทางเมืองของฝ่ายบริหาร 9. การคุ้มครอง การให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และ 10. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
ทั้งนี้ ประเด็นทั้งหมดคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของ ครม.และพรรคร่วมรัฐบาล รวม 3 ร่าง และจากความสนใจของประชาชน โดยคาดว่าทุกประเด็นจะถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในการยกร่างรัฐธรรมนูญของ ส.ส.ร. ซึ่งยืนยันว่าการทำงานและข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ไม่ได้เป็นการไปแทรกแซงการทำหน้าที่ของ ส.ส.ร. หรือไปยกร่างรัฐธรรมนูญแข่ง แต่เป็นการเสนอหลักการที่ควรจะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญและเป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ ให้ไว้กับผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งแต่ละประเด็นคาดว่าจะใช้เวลาการพิจารณา 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจะนำเสนอต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อพิจารณาต่อไป