ศาลปกครองกลางยกฟ้องอดีตผู้สมัคร กสทช.ฟ้อง ปธ.สรรหา กสทช.ตัดสิทธิ์คัดเลือก ชี้เป็นบุคคลลักษณะต้องห้ามชัด
วันนี้ (18 เม.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ยื่นฟ้องประธานคณะกรรมการสรรหา กสทช. คณะกรรมการกสทช. และเลขาธิการวุฒิสภา ต่อศาลปกครองกลาง กรณีถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกจากวุฒิสภาเพื่อเป็น กสทช. โดยอ้างว่ามีลักษณะต้องห้ามในการเข้าเป็นผู้รับการสรรหาตามมาตรา 7 ข.(12) ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งนายสุทธิพร เห็นว่าเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนเหตุที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องระบุว่า จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยืนยันว่า นายสุทธิพร เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัท ทราเวลลิงค์ ซิสเต็ม (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท จีเดค จำกัด โดยในวัตถุประสงค์ของทั้งสองบริษัทระบุว่า “ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งให้บริการอินเทอร์เน็ต...” ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า นายสุทธิพรเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ข.(12) พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
ส่วนที่นายสุทธิพรอ้างว่า บริษัทฯ ทั้งสองไม่เคยประกอบกิจการโทรคมนคมตั้งแต่เปิดบริษัทจนปัจจุบัน แม้วัตถุประสงค์ของทั้งสองบริษัทจะระบุว่าเกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมก็เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบกว้างๆ เพื่อสะดวกในการดำเนินงานเท่านั้น ยังไม่ได้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคมแต่อย่างใด จึงยังถือว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามฯ นั้น เห็นว่าข้ออ้างไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากประเภทของกิจการหรือการค้าที่บริษัทจะดำเนินการนั้นจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ของบริษัทระบุว่าบริษัทประกอบกิจการใด ก็ต้องถือว่าบริษัทดังกล่าวประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของบริษัทนั้น โดยมิต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงว่าบริษัทดังกล่าวประกอบกิจการนั้นๆ แล้วหรือไม่ เพราะหากถือปฏิบัติเช่นนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างภาระและความยุ่งยากให้แก่ผู้ที่จะทำการติดต่อค้าขายด้วย เพราะต้องไปตรวจสอบสภาพความเป็นจริงของบริษํทก่อนทุกครั้งว่าประกอบกิจการประเภทนั้นหรือไม่ และหากบริษัทอ้างว่าไม่ได้ประกอบกิจการนั้นๆ ก็ยากแก่การพิสูจน์ตรวจสอบ ซึ่งก็จะทำให้ระบบทะเบียนทางการค้าที่วางไว้ไม่สัมฤทธิผล
สำหรับที่นายสุทธิพรอ้างว่าได้คืนหุ้นและลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ทราเวลลิงค์ ซิสเต็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.48 แล้ว แต่เกิดความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการทางทะเบียน ทำให้การคืนหุ้นและการลาออกจากกรรมการไม่เกิดขึ้น ก็เท่ากับว่านายสุทธิพรยอมรับแล้วว่ายังมิได้มีการคืนหุ้นและลาออกจริง นายสุทธิพลจึงยังคงมีสถานะเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าว ดังนั้น การที่ กสทช.มีคำสั่งไม่รับสมัครนายสุทธิพรเข้ารับการสรรหาเป็น กสทช. จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจสั่งให้นายสุทธิพรเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีสิทธิเข้ารับการสรรหาตามที่ร้องขอได้ จึงพิพากษายกฟ้อง
วันนี้ (18 เม.ย.) ที่ศาลปกครองกลาง ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล อดีตผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ยื่นฟ้องประธานคณะกรรมการสรรหา กสทช. คณะกรรมการกสทช. และเลขาธิการวุฒิสภา ต่อศาลปกครองกลาง กรณีถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกจากวุฒิสภาเพื่อเป็น กสทช. โดยอ้างว่ามีลักษณะต้องห้ามในการเข้าเป็นผู้รับการสรรหาตามมาตรา 7 ข.(12) ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งนายสุทธิพร เห็นว่าเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนเหตุที่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องระบุว่า จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยืนยันว่า นายสุทธิพร เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัท ทราเวลลิงค์ ซิสเต็ม (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท จีเดค จำกัด โดยในวัตถุประสงค์ของทั้งสองบริษัทระบุว่า “ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งให้บริการอินเทอร์เน็ต...” ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า นายสุทธิพรเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ข.(12) พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553
ส่วนที่นายสุทธิพรอ้างว่า บริษัทฯ ทั้งสองไม่เคยประกอบกิจการโทรคมนคมตั้งแต่เปิดบริษัทจนปัจจุบัน แม้วัตถุประสงค์ของทั้งสองบริษัทจะระบุว่าเกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมก็เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบกว้างๆ เพื่อสะดวกในการดำเนินงานเท่านั้น ยังไม่ได้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคมแต่อย่างใด จึงยังถือว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามฯ นั้น เห็นว่าข้ออ้างไม่อาจรับฟังได้ เนื่องจากประเภทของกิจการหรือการค้าที่บริษัทจะดำเนินการนั้นจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ดังนั้น เมื่อวัตถุประสงค์ของบริษัทระบุว่าบริษัทประกอบกิจการใด ก็ต้องถือว่าบริษัทดังกล่าวประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของบริษัทนั้น โดยมิต้องคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงว่าบริษัทดังกล่าวประกอบกิจการนั้นๆ แล้วหรือไม่ เพราะหากถือปฏิบัติเช่นนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างภาระและความยุ่งยากให้แก่ผู้ที่จะทำการติดต่อค้าขายด้วย เพราะต้องไปตรวจสอบสภาพความเป็นจริงของบริษํทก่อนทุกครั้งว่าประกอบกิจการประเภทนั้นหรือไม่ และหากบริษัทอ้างว่าไม่ได้ประกอบกิจการนั้นๆ ก็ยากแก่การพิสูจน์ตรวจสอบ ซึ่งก็จะทำให้ระบบทะเบียนทางการค้าที่วางไว้ไม่สัมฤทธิผล
สำหรับที่นายสุทธิพรอ้างว่าได้คืนหุ้นและลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ทราเวลลิงค์ ซิสเต็ม (ไทยแลนด์) จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.48 แล้ว แต่เกิดความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการทางทะเบียน ทำให้การคืนหุ้นและการลาออกจากกรรมการไม่เกิดขึ้น ก็เท่ากับว่านายสุทธิพรยอมรับแล้วว่ายังมิได้มีการคืนหุ้นและลาออกจริง นายสุทธิพลจึงยังคงมีสถานะเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าว ดังนั้น การที่ กสทช.มีคำสั่งไม่รับสมัครนายสุทธิพรเข้ารับการสรรหาเป็น กสทช. จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจสั่งให้นายสุทธิพรเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและมีสิทธิเข้ารับการสรรหาตามที่ร้องขอได้ จึงพิพากษายกฟ้อง