ประธานคณะกรรมการปรับกรุงกฎหมาย สภาฯ เล็งยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปี 48 ร่างฉบับใหม่เป็น พ.ร.บ. ตั้งทีมพิเศษสลายม็อบ หวังเบรกทหารจุ้น ชง “สมศักดิ์” ต่อ
วันนี้ (2 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายประสพ บุษราคัม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (กปพ.) แถลงถึงผลการศึกษาการบังคับใช้กฎหมายว่า เบื้องต้นได้มีการศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ เห็นสมควรว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข แต่สำหรับฉบับที่คณะกรรมาการฯได้ทำการยกร่างแล้วเสร็จ คือ พ.ร.บ.การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.... โดยมีหลักการสำคัญคือการยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีสาระเพื่อปรับปรุงบทนิยามสถานการณ์ฉุกเฉินใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการใหม่ และให้มีการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษถาวรขึ้นมาจัดการเรื่องการดูแลและการสลายการชุมนุม และให้มีการสลายการชุมนุมตามขั้นตอนของหลักสากล ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ที่มีการเขียนขึ้นมานั้นจะเป็นการย้ำเตือนไม่ให้ทหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปราบปรามการสลายการชุมนุม ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการฯ จะทำเรื่องเสนอไปยังนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาด้วย
วันนี้ (2 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายประสพ บุษราคัม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน (กปพ.) แถลงถึงผลการศึกษาการบังคับใช้กฎหมายว่า เบื้องต้นได้มีการศึกษาผลการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ เห็นสมควรว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข แต่สำหรับฉบับที่คณะกรรมาการฯได้ทำการยกร่างแล้วเสร็จ คือ พ.ร.บ.การแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.... โดยมีหลักการสำคัญคือการยกเลิก พ.ร.ก.การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยมีสาระเพื่อปรับปรุงบทนิยามสถานการณ์ฉุกเฉินใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการใหม่ และให้มีการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษถาวรขึ้นมาจัดการเรื่องการดูแลและการสลายการชุมนุม และให้มีการสลายการชุมนุมตามขั้นตอนของหลักสากล ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ที่มีการเขียนขึ้นมานั้นจะเป็นการย้ำเตือนไม่ให้ทหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการปราบปรามการสลายการชุมนุม ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการฯ จะทำเรื่องเสนอไปยังนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาด้วย