อธิบดี ปภ.เผย จัดส่งเรือและอุปกรณ์อพยพช่วยน้ำท่วมใต้แล้ว รับ 6-8 ม.ค.ใต้ตอนล่าง ฝนชุก ส่อท่วมฉับพลัน ดินถล่ม เตือน สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูล และ นราธิวาส พร้อมรับมือ
วันนี้ (5 ม.ค.) ที่กระทรวงมหาดไทย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 - 1 มกราคม 2555 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก รวม 10 จังหวัด 64 อำเภอ 259 ตำบล 1,729 หมู่บ้าน ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง และ ระนอง อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเจ้าหน้าที่ พร้อมเรือท้องแบน และเครื่องมืออุปกรณ์เข้าอพยพผู้ประสบภัยไปอาศัยในพื้นที่ปลอดภัย พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ หรือ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการติดตามสภาพอากาศ กับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2555 บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกชุกเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางพื้นที่ ประกอบกับหลายพื้นที่มีสภาพดินชุ่มน้ำ และเกิดสถานการณ์อุทกภัยอยู่แล้ว อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มได้อีก
ทั้งนี้ ขอเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบต่ำริมน้ำชายฝั่งทะเล และพื้นที่เสี่ยงภัยใน 8 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูลและ นราธิวาส เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 6-10 มกราคม 2555 ให้ติดตามพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนแจ้งเตือนภัยอย่างใกล้ชิด ชาวเรือ และชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานให้ทั้ง 8 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกำชับมิสเตอร์เตือนภัย เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังภัยในระยะนี้เป็นพิเศษ รวมถึงตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ และ คันกั้นน้ำ หากไม่มั่นคงแข็งแรงให้แก้ไขโดยด่วน ตลอดจนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีที่เกิดภัยสำหรับประชาชนที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง
วันนี้ (5 ม.ค.) ที่กระทรวงมหาดไทย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 - 1 มกราคม 2555 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก รวม 10 จังหวัด 64 อำเภอ 259 ตำบล 1,729 หมู่บ้าน ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง และ ระนอง อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบอุทกภัย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งเจ้าหน้าที่ พร้อมเรือท้องแบน และเครื่องมืออุปกรณ์เข้าอพยพผู้ประสบภัยไปอาศัยในพื้นที่ปลอดภัย พร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ หรือ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มีการติดตามสภาพอากาศ กับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม 2555 บริเวณภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกชุกเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางพื้นที่ ประกอบกับหลายพื้นที่มีสภาพดินชุ่มน้ำ และเกิดสถานการณ์อุทกภัยอยู่แล้ว อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินถล่มได้อีก
ทั้งนี้ ขอเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขา ที่ราบต่ำริมน้ำชายฝั่งทะเล และพื้นที่เสี่ยงภัยใน 8 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี สตูลและ นราธิวาส เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 6-10 มกราคม 2555 ให้ติดตามพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนแจ้งเตือนภัยอย่างใกล้ชิด ชาวเรือ และชาวประมง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานให้ทั้ง 8 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมกำชับมิสเตอร์เตือนภัย เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังภัยในระยะนี้เป็นพิเศษ รวมถึงตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ และ คันกั้นน้ำ หากไม่มั่นคงแข็งแรงให้แก้ไขโดยด่วน ตลอดจนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีที่เกิดภัยสำหรับประชาชนที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากภาวะฝนตกหนักและคลื่นลมแรง