ศปภ.ไฟเขียวม็อบชุมนุมเปิดประตูระบายน้ำถือเป็นสิทธิทำได้ ออกตัวไม่มีปัญญาห้าม โบ้ยต้องเร่งหว่านเงินเยียวยา 5 พันบาท ส่งทีมทำความเข้าใจ ปชช.หลังแนวคันกั้นน้ำ ห่วง “น้ำเน่า-ยุงลาย” ซ้ำเติมชาวบ้าน
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะโฆษก ศปภ.ได้กล่าวถึงสถานการณ์ที่ประชาชนชุมนุมเรียกร้องให้มีการเปิดประตูระบายน้ำ และทำลายคันกันน้ำในหลายพื้นที่ ว่า ศปภ.ทราบดีว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการได้รับคำตอบ คือ น้ำในพื้นที่ของตัวเองนั้นจะลดลงเมื่อใด ซึ่งจากการสำรวจระดับน้ำในหลายพื้นที่ยังคงมีปริมาณสูงอยู่ ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ดังนั้นการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนเพื่อให้เปิดประตูระบายน้ำจึงถือเป็นสิทธิของประชาชน เราคงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เพราะต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปให้การช่วยเหลือหรือเยียวยา เป็นเหตุให้ต้องออกมาชุมนุมเรียกร้อง เจ้าหน้าที่ก็ต้องเข้าไปเจรจา ส่วนกรณีเงินเยียวยาครัวเรือนละ 5,000 บาทนั้น ในบางพื้นที่ก็สามารถรับได้กับจำนวนเงินดังกล่าว แต่บางพื้นที่ก็ต้องการให้รัฐบาลเยียวยามากกว่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำและนอกคันกั้นน้ำที่ต้องการให้รัฐบาลเยียวยา และให้ความช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ได้ให้เงินเพิ่มอีก 1,500 บาท แต่ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ด้วย
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวด้วยว่า เบื้องต้น ศปภ.จะมีการประสานเรื่องการเยียวยาเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในเร็วๆนี้ และจะเร่งทำให้น้ำลดโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ขอฝากให้ผู้ว่าราชการในแต่ละจังหวัด และผู้นำชุมชนในแต่ละพื้นที่เร่งรัดการเยียวยาให้ความช่วยเหลือโดยการจ่ายเงิน 5,000 บาท หากพื้นที่ใดปริมารณน้ำลดลงแล้ว ก็ขอให้เปิดจุดรับเรื่องเพื่อลงทะเบียน โดยที่ประชาชนไม่ต้องเข้าไปแจ้งการลงทะเบียนถึงที่ว่าการอำเภอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ทาง ศปภ.จะเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนหลังแนวกั้นน้ำที่ได้รับผลกระทบ โดยมีคณะทำงานที่จะเข้าไปตรวจสอบระดับน้ำและระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย และปัญหายุงลายที่มีจำนวนมาก
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะโฆษก ศปภ.ได้กล่าวถึงสถานการณ์ที่ประชาชนชุมนุมเรียกร้องให้มีการเปิดประตูระบายน้ำ และทำลายคันกันน้ำในหลายพื้นที่ ว่า ศปภ.ทราบดีว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการได้รับคำตอบ คือ น้ำในพื้นที่ของตัวเองนั้นจะลดลงเมื่อใด ซึ่งจากการสำรวจระดับน้ำในหลายพื้นที่ยังคงมีปริมาณสูงอยู่ ทำให้มีปัญหาในการดำรงชีวิต ดังนั้นการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนเพื่อให้เปิดประตูระบายน้ำจึงถือเป็นสิทธิของประชาชน เราคงไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เพราะต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมา ไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปให้การช่วยเหลือหรือเยียวยา เป็นเหตุให้ต้องออกมาชุมนุมเรียกร้อง เจ้าหน้าที่ก็ต้องเข้าไปเจรจา ส่วนกรณีเงินเยียวยาครัวเรือนละ 5,000 บาทนั้น ในบางพื้นที่ก็สามารถรับได้กับจำนวนเงินดังกล่าว แต่บางพื้นที่ก็ต้องการให้รัฐบาลเยียวยามากกว่านี้ โดยเฉพาะพื้นที่รับน้ำและนอกคันกั้นน้ำที่ต้องการให้รัฐบาลเยียวยา และให้ความช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ได้ให้เงินเพิ่มอีก 1,500 บาท แต่ก็ต้องพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ด้วย
พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวด้วยว่า เบื้องต้น ศปภ.จะมีการประสานเรื่องการเยียวยาเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในเร็วๆนี้ และจะเร่งทำให้น้ำลดโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ ขอฝากให้ผู้ว่าราชการในแต่ละจังหวัด และผู้นำชุมชนในแต่ละพื้นที่เร่งรัดการเยียวยาให้ความช่วยเหลือโดยการจ่ายเงิน 5,000 บาท หากพื้นที่ใดปริมารณน้ำลดลงแล้ว ก็ขอให้เปิดจุดรับเรื่องเพื่อลงทะเบียน โดยที่ประชาชนไม่ต้องเข้าไปแจ้งการลงทะเบียนถึงที่ว่าการอำเภอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ทาง ศปภ.จะเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนหลังแนวกั้นน้ำที่ได้รับผลกระทบ โดยมีคณะทำงานที่จะเข้าไปตรวจสอบระดับน้ำและระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย และปัญหายุงลายที่มีจำนวนมาก