ต้องยอมรับว่าภัยพิบัติจากอุทกภัยรอบนี้ หนักหนาสาหัสมากกว่าทุกปี ความเสียหายขยายวงกว้างไปกว่าค่อนประเทศ ส่งผลให้พี่น้องชาวไทยต้องทุกข์อย่างแสนสาหัสเกินกว่าที่ประเมินไว้มาก นอกเหนือกจากพื้นที่การเกษตรแล้ว ยังมีความเสียหายไปถึงพื้นที่เศรษฐกิจชั้นใน และภาคอุตสาหกรรมในหลายจังหวัด โดยเฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่มีตัวเลขความเสียหายแบคร่าวๆ ไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท
ต้องถือเป็นความโชคร้ายของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่ต้องมาแบกภาระภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่หลังจากรับตำแหน่งได้ยังไม่ครบ 2 เดือนดี แต่คงจะใช้คำว่า “มือใหม่” มาอ้าง แล้วเอาตัวรอดในขณะที่ชีวิตของชาวบ้านยังแขวนอยู่บนเส้นด้าย ตกอยู่ในสภาพกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องคอยลุ้นว่าภัยจะมาถึงตัวเมื่อไหร่
โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่องมากถึงภาคกลาง ที่อยู่ในสภาพ “วิกฤต” อย่างหนัก ตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นผลจากน้ำเหนือที่ไหลบ่าลงมาไม่หยุดหย่อน ประสานกับแรงบวกของพายุ “เนสาด-นาลแก” ที่ซ้ำเติมเข้ามาอีกระลอกใหญ่ จนภัยรุกลามไปถึงพื้นที่ภาคอีสานตอนบนที่อ่วมไม่แพ้กัน
ว่ากันว่าหลายจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมหนนี้หนักที่สุดในรอบ 100 ปี และเขื่อนหลายแห่งอุ้มน้ำเกินกว่าพิกัด ไม่สามารถรองรับได้เพิ่มเติมอีก จนมี “ข่าวลือ” ว่าเชื่อนนั้นเขื่อนนี้แตกไม่เว้นแต่ละวัน
ในขณะที่ประชาชนตาดำๆต้องทนทุกข์แสนสาหัสจากน้ำท่วม แถมทวีความรุนแรงกดดันเข้าใส่ชาวบ้านที่ตกอยู่ในสภาพสูญเสียอย่างสิ้นเชิง
แต่ “ความหวัง” ของเขาเหล่านั้นอย่างบรรดา “ท่านผู้ทรงเกียรติ” กลับก้มหน้าก้มตาทะเลาะโบ้ยความผิดให้กันและกัน ตั้งแต่การสร้างวิวาทะโจมตีรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่า ใช้งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจนเกือบหมด ทำให้งบประมาณที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอ ทำให้การช่วยเหลือประชาชน เป็นไปด้วยความล่าช้า
หรือวิวาทะร้อนๆ ที่เห็นเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วม หรือฝนแล้ง ในรายของ “พายัพ ปั้นเกตุ” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ “สุชาติ ลายน้ำเงิน” รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส.ส.สอบตกของ จ.ลพบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย จูงมือกันออกมาจวก “บรรหาร ศิลปอาชา” เจ้าของพรรคชาติไทยพัฒนา และคนโตแห่ง จ.สุพรรณบุรี ว่าเป็นผู้อยู่ “เบื้องหลัง” สั่งการให้ กรมชลประทาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ “ธีระ วงศ์สมุทร” คนของ “หลงจู๊” นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการอยู่ ใส่ใจดูแลเฉพาะ จ.สุพรรณบุรี เป็นเหตุให้พื้นที่ตั้งแต่ “ชัยนาท-สิงห์บุรี-พระนครศรีอยุธยา-ลพบุรี” เดือดร้อนหนัก
จน “ลิ่วล้อ” ของ “เติ้งเสี่ยวหาร” ต้องตบเท้าเรียงหน้าออกมาแสดงบท “องครักษ์” ซัดกลับไปยังพรรคเพื่อไทย ที่บังอาจพาดพิง “หลงจู๊” ให้เสียหาย พร้อมขอความเห็นใจว่าที่ “บรรหารบุรี” ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้ที่อื่น แต่ที่ไม่เป็นข่าวเพราะข้าราชการและ ส.ส.ดูแลให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และไม่วายที่จะคุยข่มเกทับว่า ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจในเมืองสุพรรณฯยังอยู่รอดปลอดภัยไม่มีน้ำเข้าไปกล้ำกราย เพราะ “วิสัยทัศน์” กว้างไกลของ “บรรหาร” ที่สรุปบทเรียนจากเหตุน้ำท่วมใหญ่เมื่อหลายปีก่อน ประสานกรมโยธาธิการผันงบประมาณสร้างคันกั้นน้ำตลอดแนวแม่น้ำท่าจีนเป็นเกราะป้องกันชั้นดี รวมไปถึงการวางระบบชลประทานผ่านกระทรวงเกษตรฯที่พรรคตัวเองรับสัมปทานมาอย่างต่อเนื่อง
เรื่องของเรื่องก็คือ การที่สถานการณ์น้ำของเมืองสุพรรณฯที่ไม่หนักหนาสาหัสเท่าเมืองอื่น ก็เพราะการวางแผนจัดการที่ดี แต่ไม่ได้มองถึงจังหวัดข้างเคียง แต่อย่าง จ.อ่างทอง ของ “สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล” คู่คิดคนสำคัญของ “บรรหาร” ก็ไม่ทุกข์มากเช่นกัน เพราะใช้ “โมเดล” เดียวกับเมืองสุพรรณฯนั่นเอง
จริงอยู่สิ่งที่ “บรรหาร” ทำให้เมืองสุพรรณฯ อาจจะไม่ยุติธรรมกับจังหวัดอื่นๆ แต่ก็ถือว่าเป็น “คุณูปการ” ที่คนในฐานะผู้แทนของประชาชนควรปฏิบัติให้กับพื้นที่ตัวเอง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ “พายัพ-สุชาติ” ต้องพิจารณาตัวเองว่า ตัวเองซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ในพื้นที่มาก่อน “พายัพ” ก็เคยลงสมัครที่ จ.สิงห์บุรี “สุชาติ” ก็เป็นอดีต ส.ส.ลพบุรีมาหมาดๆ เคยคิดจะวางแผนจัดการน้ำ และมีแผนเฝ้าระวังอุทกภัยให้กับชาวบ้านในพื้นที่ตัวเองบ้างหรือไม่
เพราะการที่ออกมาโจมตีกล่าวหาผู้อื่นทุกครั้งที่เกิดปัญหาไม่ว่าน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง เป็นการ “เปลือยตัวเอง” ว่าไม่มีปัญญาที่จะดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน ดังเช่นหน้าที่ของ “ผู้แทนราษฎร” สมควรทำ
แน่นอนการเคลื่อนไหวลักษณะนี้ อาจประสบผลสำเร็จทำให้ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วม พากันจงเกลียดจงชัง “บรรหาร” ว่าเป็นต้นเหตุให้พวกเขาทุกข์ เพราะเมืองสุพรรณฯ ไม่ช่วยแบ่งเบาภาระน้ำ แถมยังมีข่าวสั่งการ หรือถือ “กุญแจ” ประตูน้ำไม่ให้เปิดน้ำไหลผ่าน จ.สุพรรณบุรีอีกต่างหาก
กว่าที่ “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่แห่งค่ายเพื่อไทย จะต่อสายตรงมาตบปาก “พายัพ” ให้สงบเสงี่ยมเจียมตัวไม่ให้ “ปีนเกลียว” กล่าวหาเมืองสุพรรณฯอีก เพราะเกรงกระทบสัมพันธ์ภายในพรรคร่วมรัฐบาล แต่ก็อาจจะไม่ทันเนื่องจากได้สร้างความขุ่นข้องหมองใจให้กับ “หลงจู๊” เป็นอย่างมาก จนมีข่าวว่าช่วงนี้ “มังกรสุพรรณฯ” อารมณ์บ่จอยฟาดงวงฟาดงาคนรอบข้างไปทั่ว
จะเห็นได้ว่าความทุกข์ยากของประชาชนกลับเป็นเรื่องรองจาก “เสถียรภาพ” ของรัฐบาล
หันมาดูที่มาตรการรับมือแก้ไขปัญหาของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ที่หากจำกันได้ตั้งแต่วันที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้นำประเทศ” ก็ถูกต้อนรับด้วยสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พิษณุโลก และ “ยิ่งลักษณ์” ก็ปรี่ไปลงพื้นที่ตั้งแต่วันแรกๆที่รับตำแหน่ง
จนเกิดวาทกรรมที่เลิศหรู “บางระกำโมเดล” ตามหลัก 2P2R เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ ผ่านมาเกือบ 2 เดือนก็พบแล้วว่าแทบทุกพื้นที่ในพื้นที่ได้นำ “บางระกำโมเดล” ไปใช้กันทั่วหน้า และก็มีสภาพไม่ต่างจาก อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ในวันนั้น คือ น้ำท่วมหนักอย่างไม่เคยมีมาก่อน
เพราะเอาเข้าจริง “บางระกำโมเดล” ที่นายกฯนำมาใช้สั่งการนั้น หลักสำคัญเน้นหนักไปที่เรื่องการเยียวยา และไม่ใช่แนวทางการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเชิงบูรณาการ เป็นแค่แนวทางในการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุแล้วเท่านั้น
แถมพิสูจน์อีกว่า ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” แต่เป็นแค่วาทกรรมเท่ๆแบบ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” หรือการแก้ปัญหา “เฉพาะหน้า” แบบขอไปทีเท่านั้น ต่างจาก “สุพรรณโมเดล” ของ “บรรหาร” อย่างสิ้นเชิง ที่ดูจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างครบวงจรมากกว่า และสมควรนำมาบูรณาการเพื่อประยุกต์ให้กับการรับมือแก้ไขปัญหาน้ำที่เกิดในลักษณะซ้ำซากเป็นรายปี หลังๆมานี้ก็หนักขึ้นเป็นปีละ 2 ครั้ง หากปล่อยให้หมักหมมต่อไป ก็ไม่อยากคิดถึงอนาคต
เช่นเดียวกับการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์กับผู้ว่าราชการจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมทุกเช้า หรือการมอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคนรับผิดชอบคนละ 1-2 จังหวัด ให้ส่วนราชการไปศึกษาแนวทางแก้ปัญหา หรือแม้แต่การหนีบ “นางเอก” ร่วมขบวนออกแจกเครื่องอุปโภคบริโภคให้ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วม ที่พิสูจน์ชัดแล้วว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนได้เลย
จนท้ายที่สุดกว่ารัฐบาลจะประกาศให้ภัยพิบัติครั้งนี้เป็น “วาระแห่งชาติ” หรือตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการชวยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สถานการณ์ก็เข้าขั้นวิกฤติอย่างหนัก จวนเจียนที่จะสายเกินไปแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็น “เมืองหน้าด่าน” รองรับน้ำที่จะไหลบ่าเข้าสู่กรุงเทพฯ ที่สุดจะทานทนต่อกระแสน้ำที่มีปริมาณมหาศาล ไม่เพียงแต่พื้นที่การเกษตร แต่รุกลามไปถึงอุตสาหกรรม ทั้งนิคมฯสหรัตนนคร นิคมฯไฮเทค นิคมฯบางปะอิน จนถึงนิคมฯโรจนะเป็นรายล่าสุด ส่วนของชุมชนก็บานปลายเข้าสู่ใจกลางเกาะเมือง ทำให้ต้องอพยพคนออกนอกพื้นที่เป็นการด่วน
แถมประชาชนยังต้องช้ำหนักกว่าเดิมเมื่อปรากฎข่าวว่า คนในรัฐบาลออกมายอมรับว่า ศปภ.ผิดพลาดในการประเมินจำนวนมวลน้ำหลากที่จะไหลเข้าสู่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเหตุให้น้ำท่วมสูงขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ ทำให้แผนการรับมือ ต้องปรับเป็นการล่าถอยย้ายคนออกจากพื้นที่แทน
ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่ไม่อาจยอมรับได้ในภาวการณ์เช่นนี้
ดังนั้นในเมื่อรัฐบาลกำหนดเรื่องนี้เป็น “วาระแห่งชาติ” แล้ว และได้มีหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง การแก้ปัญหาแบบต่างคนต่างทำ หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านไปวันๆคงต้องเลิกเสียที ที่สำคัญไม่เพียงแต่การแก้ไขเยียวยาสถานการณ์ในตอนนี้เท่านั้น ยังต้องมีการจัดทำแนวทางแก้ปัญหาทั้งระบบทั่วประเทศไม่เกิน 3-5 ปีให้ได้
ซึ่งตรงนี้ลำพังฝ่ายข้าราชการประจำคงไม่สามารถทำได้
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองในการใช้อำนาจอนุมัติงบประมาณและโครงการที่เป็นการบูรณาการไปพร้อมกันทั้งประเทศ ซึ่งวิธีการก็มีหลากหลายอยู่การเลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนในพื้นที่เหมาะสม ขุดลอกคูคลอง ขยายพื้นที่แก้มลิง หรือการจัดระบบชลประทานเพื่อให้สามารถผ่องถ่ายน้ำออกจากแผ่นดินสู่ทะเลได้อย่างทันท่วงที
ไม่ใช่มัวแต่มาอนุมัติงบประมาณซื้อทรายกรอกใส่กระสอบเป็นกิจวัตรทุกปีๆ ที่สุดท้ายก็กลายเป็น “สูญเปล่า” ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก และไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนอีกต่างหาก หรือมองเป็นเพียง “ช่องทาง” ในการโกงกินงบประมาณชาติ บนความเดือดร้อนของชาวบ้าน
ยอมรับว่าภัยพิบัติครั้งนี้ไม่ต่างจาก “อาเพศ” ครั้งใหญ่ที่ถูกยกให้เป็น “มหาอุทกภัย” ทดสอบศักยภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ว่ามีปัญญารับมือกับวิกฤตการณ์ครั้งนี้หรือไม่ และหากยังไม่มีมาตรการป้องกันหรือเฝ้าระวังเรื่องปัญหาอุทกภัยออกมาในเร็ววันนี้
ก็น่าคิดว่า “รัฐนาวา” นี้คงถูกคลื่นของน้ำท่วมครั้งนี้ซัดสาดจนต้องพังพาบไปก่อนเวลาอันควร
ต้องถือเป็นความโชคร้ายของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่ต้องมาแบกภาระภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่หลังจากรับตำแหน่งได้ยังไม่ครบ 2 เดือนดี แต่คงจะใช้คำว่า “มือใหม่” มาอ้าง แล้วเอาตัวรอดในขณะที่ชีวิตของชาวบ้านยังแขวนอยู่บนเส้นด้าย ตกอยู่ในสภาพกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องคอยลุ้นว่าภัยจะมาถึงตัวเมื่อไหร่
โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่องมากถึงภาคกลาง ที่อยู่ในสภาพ “วิกฤต” อย่างหนัก ตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นผลจากน้ำเหนือที่ไหลบ่าลงมาไม่หยุดหย่อน ประสานกับแรงบวกของพายุ “เนสาด-นาลแก” ที่ซ้ำเติมเข้ามาอีกระลอกใหญ่ จนภัยรุกลามไปถึงพื้นที่ภาคอีสานตอนบนที่อ่วมไม่แพ้กัน
ว่ากันว่าหลายจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมหนนี้หนักที่สุดในรอบ 100 ปี และเขื่อนหลายแห่งอุ้มน้ำเกินกว่าพิกัด ไม่สามารถรองรับได้เพิ่มเติมอีก จนมี “ข่าวลือ” ว่าเชื่อนนั้นเขื่อนนี้แตกไม่เว้นแต่ละวัน
ในขณะที่ประชาชนตาดำๆต้องทนทุกข์แสนสาหัสจากน้ำท่วม แถมทวีความรุนแรงกดดันเข้าใส่ชาวบ้านที่ตกอยู่ในสภาพสูญเสียอย่างสิ้นเชิง
แต่ “ความหวัง” ของเขาเหล่านั้นอย่างบรรดา “ท่านผู้ทรงเกียรติ” กลับก้มหน้าก้มตาทะเลาะโบ้ยความผิดให้กันและกัน ตั้งแต่การสร้างวิวาทะโจมตีรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่า ใช้งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจนเกือบหมด ทำให้งบประมาณที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอ ทำให้การช่วยเหลือประชาชน เป็นไปด้วยความล่าช้า
หรือวิวาทะร้อนๆ ที่เห็นเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์น้ำท่วม หรือฝนแล้ง ในรายของ “พายัพ ปั้นเกตุ” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และ “สุชาติ ลายน้ำเงิน” รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส.ส.สอบตกของ จ.ลพบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย จูงมือกันออกมาจวก “บรรหาร ศิลปอาชา” เจ้าของพรรคชาติไทยพัฒนา และคนโตแห่ง จ.สุพรรณบุรี ว่าเป็นผู้อยู่ “เบื้องหลัง” สั่งการให้ กรมชลประทาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ “ธีระ วงศ์สมุทร” คนของ “หลงจู๊” นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการอยู่ ใส่ใจดูแลเฉพาะ จ.สุพรรณบุรี เป็นเหตุให้พื้นที่ตั้งแต่ “ชัยนาท-สิงห์บุรี-พระนครศรีอยุธยา-ลพบุรี” เดือดร้อนหนัก
จน “ลิ่วล้อ” ของ “เติ้งเสี่ยวหาร” ต้องตบเท้าเรียงหน้าออกมาแสดงบท “องครักษ์” ซัดกลับไปยังพรรคเพื่อไทย ที่บังอาจพาดพิง “หลงจู๊” ให้เสียหาย พร้อมขอความเห็นใจว่าที่ “บรรหารบุรี” ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้ที่อื่น แต่ที่ไม่เป็นข่าวเพราะข้าราชการและ ส.ส.ดูแลให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และไม่วายที่จะคุยข่มเกทับว่า ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจในเมืองสุพรรณฯยังอยู่รอดปลอดภัยไม่มีน้ำเข้าไปกล้ำกราย เพราะ “วิสัยทัศน์” กว้างไกลของ “บรรหาร” ที่สรุปบทเรียนจากเหตุน้ำท่วมใหญ่เมื่อหลายปีก่อน ประสานกรมโยธาธิการผันงบประมาณสร้างคันกั้นน้ำตลอดแนวแม่น้ำท่าจีนเป็นเกราะป้องกันชั้นดี รวมไปถึงการวางระบบชลประทานผ่านกระทรวงเกษตรฯที่พรรคตัวเองรับสัมปทานมาอย่างต่อเนื่อง
เรื่องของเรื่องก็คือ การที่สถานการณ์น้ำของเมืองสุพรรณฯที่ไม่หนักหนาสาหัสเท่าเมืองอื่น ก็เพราะการวางแผนจัดการที่ดี แต่ไม่ได้มองถึงจังหวัดข้างเคียง แต่อย่าง จ.อ่างทอง ของ “สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล” คู่คิดคนสำคัญของ “บรรหาร” ก็ไม่ทุกข์มากเช่นกัน เพราะใช้ “โมเดล” เดียวกับเมืองสุพรรณฯนั่นเอง
จริงอยู่สิ่งที่ “บรรหาร” ทำให้เมืองสุพรรณฯ อาจจะไม่ยุติธรรมกับจังหวัดอื่นๆ แต่ก็ถือว่าเป็น “คุณูปการ” ที่คนในฐานะผู้แทนของประชาชนควรปฏิบัติให้กับพื้นที่ตัวเอง เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ “พายัพ-สุชาติ” ต้องพิจารณาตัวเองว่า ตัวเองซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ในพื้นที่มาก่อน “พายัพ” ก็เคยลงสมัครที่ จ.สิงห์บุรี “สุชาติ” ก็เป็นอดีต ส.ส.ลพบุรีมาหมาดๆ เคยคิดจะวางแผนจัดการน้ำ และมีแผนเฝ้าระวังอุทกภัยให้กับชาวบ้านในพื้นที่ตัวเองบ้างหรือไม่
เพราะการที่ออกมาโจมตีกล่าวหาผู้อื่นทุกครั้งที่เกิดปัญหาไม่ว่าน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง เป็นการ “เปลือยตัวเอง” ว่าไม่มีปัญญาที่จะดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน ดังเช่นหน้าที่ของ “ผู้แทนราษฎร” สมควรทำ
แน่นอนการเคลื่อนไหวลักษณะนี้ อาจประสบผลสำเร็จทำให้ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วม พากันจงเกลียดจงชัง “บรรหาร” ว่าเป็นต้นเหตุให้พวกเขาทุกข์ เพราะเมืองสุพรรณฯ ไม่ช่วยแบ่งเบาภาระน้ำ แถมยังมีข่าวสั่งการ หรือถือ “กุญแจ” ประตูน้ำไม่ให้เปิดน้ำไหลผ่าน จ.สุพรรณบุรีอีกต่างหาก
กว่าที่ “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่แห่งค่ายเพื่อไทย จะต่อสายตรงมาตบปาก “พายัพ” ให้สงบเสงี่ยมเจียมตัวไม่ให้ “ปีนเกลียว” กล่าวหาเมืองสุพรรณฯอีก เพราะเกรงกระทบสัมพันธ์ภายในพรรคร่วมรัฐบาล แต่ก็อาจจะไม่ทันเนื่องจากได้สร้างความขุ่นข้องหมองใจให้กับ “หลงจู๊” เป็นอย่างมาก จนมีข่าวว่าช่วงนี้ “มังกรสุพรรณฯ” อารมณ์บ่จอยฟาดงวงฟาดงาคนรอบข้างไปทั่ว
จะเห็นได้ว่าความทุกข์ยากของประชาชนกลับเป็นเรื่องรองจาก “เสถียรภาพ” ของรัฐบาล
หันมาดูที่มาตรการรับมือแก้ไขปัญหาของรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ที่หากจำกันได้ตั้งแต่วันที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้นำประเทศ” ก็ถูกต้อนรับด้วยสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.พิษณุโลก และ “ยิ่งลักษณ์” ก็ปรี่ไปลงพื้นที่ตั้งแต่วันแรกๆที่รับตำแหน่ง
จนเกิดวาทกรรมที่เลิศหรู “บางระกำโมเดล” ตามหลัก 2P2R เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในพื้นที่อื่นทั่วประเทศ ผ่านมาเกือบ 2 เดือนก็พบแล้วว่าแทบทุกพื้นที่ในพื้นที่ได้นำ “บางระกำโมเดล” ไปใช้กันทั่วหน้า และก็มีสภาพไม่ต่างจาก อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ในวันนั้น คือ น้ำท่วมหนักอย่างไม่เคยมีมาก่อน
เพราะเอาเข้าจริง “บางระกำโมเดล” ที่นายกฯนำมาใช้สั่งการนั้น หลักสำคัญเน้นหนักไปที่เรื่องการเยียวยา และไม่ใช่แนวทางการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเชิงบูรณาการ เป็นแค่แนวทางในการเข้าช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุแล้วเท่านั้น
แถมพิสูจน์อีกว่า ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” แต่เป็นแค่วาทกรรมเท่ๆแบบ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” หรือการแก้ปัญหา “เฉพาะหน้า” แบบขอไปทีเท่านั้น ต่างจาก “สุพรรณโมเดล” ของ “บรรหาร” อย่างสิ้นเชิง ที่ดูจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างครบวงจรมากกว่า และสมควรนำมาบูรณาการเพื่อประยุกต์ให้กับการรับมือแก้ไขปัญหาน้ำที่เกิดในลักษณะซ้ำซากเป็นรายปี หลังๆมานี้ก็หนักขึ้นเป็นปีละ 2 ครั้ง หากปล่อยให้หมักหมมต่อไป ก็ไม่อยากคิดถึงอนาคต
เช่นเดียวกับการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์กับผู้ว่าราชการจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมทุกเช้า หรือการมอบหมายให้รัฐมนตรีแต่ละคนรับผิดชอบคนละ 1-2 จังหวัด ให้ส่วนราชการไปศึกษาแนวทางแก้ปัญหา หรือแม้แต่การหนีบ “นางเอก” ร่วมขบวนออกแจกเครื่องอุปโภคบริโภคให้ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วม ที่พิสูจน์ชัดแล้วว่า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนได้เลย
จนท้ายที่สุดกว่ารัฐบาลจะประกาศให้ภัยพิบัติครั้งนี้เป็น “วาระแห่งชาติ” หรือตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการชวยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สถานการณ์ก็เข้าขั้นวิกฤติอย่างหนัก จวนเจียนที่จะสายเกินไปแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็น “เมืองหน้าด่าน” รองรับน้ำที่จะไหลบ่าเข้าสู่กรุงเทพฯ ที่สุดจะทานทนต่อกระแสน้ำที่มีปริมาณมหาศาล ไม่เพียงแต่พื้นที่การเกษตร แต่รุกลามไปถึงอุตสาหกรรม ทั้งนิคมฯสหรัตนนคร นิคมฯไฮเทค นิคมฯบางปะอิน จนถึงนิคมฯโรจนะเป็นรายล่าสุด ส่วนของชุมชนก็บานปลายเข้าสู่ใจกลางเกาะเมือง ทำให้ต้องอพยพคนออกนอกพื้นที่เป็นการด่วน
แถมประชาชนยังต้องช้ำหนักกว่าเดิมเมื่อปรากฎข่าวว่า คนในรัฐบาลออกมายอมรับว่า ศปภ.ผิดพลาดในการประเมินจำนวนมวลน้ำหลากที่จะไหลเข้าสู่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเหตุให้น้ำท่วมสูงขึ้นอย่างที่เป็นอยู่ ทำให้แผนการรับมือ ต้องปรับเป็นการล่าถอยย้ายคนออกจากพื้นที่แทน
ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่ไม่อาจยอมรับได้ในภาวการณ์เช่นนี้
ดังนั้นในเมื่อรัฐบาลกำหนดเรื่องนี้เป็น “วาระแห่งชาติ” แล้ว และได้มีหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบโดยตรง การแก้ปัญหาแบบต่างคนต่างทำ หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านไปวันๆคงต้องเลิกเสียที ที่สำคัญไม่เพียงแต่การแก้ไขเยียวยาสถานการณ์ในตอนนี้เท่านั้น ยังต้องมีการจัดทำแนวทางแก้ปัญหาทั้งระบบทั่วประเทศไม่เกิน 3-5 ปีให้ได้
ซึ่งตรงนี้ลำพังฝ่ายข้าราชการประจำคงไม่สามารถทำได้
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองในการใช้อำนาจอนุมัติงบประมาณและโครงการที่เป็นการบูรณาการไปพร้อมกันทั้งประเทศ ซึ่งวิธีการก็มีหลากหลายอยู่การเลือกใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนในพื้นที่เหมาะสม ขุดลอกคูคลอง ขยายพื้นที่แก้มลิง หรือการจัดระบบชลประทานเพื่อให้สามารถผ่องถ่ายน้ำออกจากแผ่นดินสู่ทะเลได้อย่างทันท่วงที
ไม่ใช่มัวแต่มาอนุมัติงบประมาณซื้อทรายกรอกใส่กระสอบเป็นกิจวัตรทุกปีๆ ที่สุดท้ายก็กลายเป็น “สูญเปล่า” ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก และไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนอีกต่างหาก หรือมองเป็นเพียง “ช่องทาง” ในการโกงกินงบประมาณชาติ บนความเดือดร้อนของชาวบ้าน
ยอมรับว่าภัยพิบัติครั้งนี้ไม่ต่างจาก “อาเพศ” ครั้งใหญ่ที่ถูกยกให้เป็น “มหาอุทกภัย” ทดสอบศักยภาพของรัฐบาลชุดใหม่ ว่ามีปัญญารับมือกับวิกฤตการณ์ครั้งนี้หรือไม่ และหากยังไม่มีมาตรการป้องกันหรือเฝ้าระวังเรื่องปัญหาอุทกภัยออกมาในเร็ววันนี้
ก็น่าคิดว่า “รัฐนาวา” นี้คงถูกคลื่นของน้ำท่วมครั้งนี้ซัดสาดจนต้องพังพาบไปก่อนเวลาอันควร