xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เพื่อความมั่งคั่งของใคร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
กองทุน ความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ Sovereign Wealth Fund หรือ SWF หมายถึงกองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลหลักๆ และทองคำที่ธนาคารแห่งระเทศไทยเป็นผู้ดูแล หรือ หมายถึงกองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งเพื่อบริหารสินทรัพย์ของภาครัฐทั้งในส่วนของธนาคารชาติหรือในส่วนของรัฐบาล สำหรับสินทรัพย์ที่รัฐบาลมีอยู่อาจเกิดจากรายได้จาก ทรัพยากร เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแร่ธาตุ

แนวความคิดเรื่องกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติคือ เมื่อประเทศมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเกินระดับความต้องการ แทนที่จะเก็บเอาไว้เฉยๆ หรือไปลงทุนเฉพาะสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงแต่มีผลตอบแทนต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หรือทองคำ ก็ควรจะนำทุนสำรองส่วนหนึ่งไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนมากขึ้นภายใต้ความเสี่ยงระดับหนึ่งเพื่อเพิ่มรายได้สำหรับนำไปพัฒนาประเทศ

การลงทุนนี้มีหลายประเภท เช่น การลงทุนในตราสารการเงิน ลงทุนในอสังหารมิทรัพย์ ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทใหญ่ๆ ของต่างประเทศ ลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน ฯลฯ

คูเวตเป็นประเทศแรกที่ตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขึ้นมาเพราะมีรายได้จากน้ำมันสูงมาก จึงเอาเงินไปลงทุนในตลาดการเงิน ซื้อหุ้นธนาคาร ซื้อกิจการในสหรัฐฯ และยุโรป

ปัจจุบันมีกองทุนความมั่งคั่งประมาณ 50 กองทุน มีมุลค่าสินทรัพย์รวมกัน 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นของประเทศต่างๆ ราว 40 ประเทศ เพราะบางประเทศมีมากกว่า 1 กองทุน ส่วนใหญ่แล้วเป็นประเทศในตะวันออกกลางที่มีรายได้จาการส่งออกน้ำมัน และในเอเชียที่มีรายได้จากการส่งออกสูงมากต่อกันมานานหลายปี จนมีทุนสำรองที่เป็นเงิตราต่างประเทศอยุ่มาก

ประเทศไทยเคยมีแนวความคิดในการตั้งกองทุนความมั่นคั่งในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ซึ่งตอนนั้น นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอความคิดนี้ โดยจะนำเงินจากกองทุนสำรองระหว่างประเทศ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3.3 แสนล้านบาทมาเป็นทุนประเดิม แต่หลังจากรัฐบาลนายสมัคร พ้นไปแล้ว แนวความคิดนี้ก็หายไป จนมาโผล่อีกครั้งใ นรัฐบาลนี้ ที่รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แสดงเจตนาว่า จะผลักดันให้มีการตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขึ้น

แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลทุนสำรองระหว่างประเทศ ได้แสดงท่าที่ออกมาแล้วว่า ไม่เห็นด้วยกับการตั้งกองทุนฯ เพราะทุนสำรองของประเทศไทยไม่ได้มีมากพอที่จะแบ่งบางส่วนไปตั้งกองทุนฯ ได้

ความคิดเรื่องการตั้งกองทุนความมั่งคั่งนี้ มีทั้งผู้เห็นด้วยและผู้คัดค้าน ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละฝ่าย สำหรับการผลักดันการตั้งกองทุนความมั่งคั่งของรัฐบาลนี้ นอกเหนือไปจากความคิดที่แตกต่างกันในเรื่องหลักการแล้ว ยังมีความรู้สึกไม่ไว้ใจอยู่ด้วย เพราะพฤติกรรมในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของ นายกรัฐมนตรีตัวจริง คือ นช.ทักษิณ ชินวัตร นั้นเป็นเรื่องที่คนไทยรู้กันดี

คนเขาเกรงว่า กองทุนความมั่งคั่งนี้ จะถูกครอบงำด้วยคนของรัฐบาลและจะถูกนำไปใช้เอื้อประโยชน์ให้กับพวกตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พูดย้ำอยู่หลายๆ ครั้งว่า ต้องตั้งกองทุนเพื่อความมั่งคั่งเพื่อเข้าไปลงทุนหาแหล่งพลังงานสำหรับประเทศในอนาคต ภาพก็ชัดขึ้นว่า สุดท้ายแล้ว หากการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งเกิดขึ้นจริง ภารกิจแรกของกองทุนฯ ก็อาจจะเป็นการลงทุนขุดเจาะพลังงานในอ่าวไทย ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนไทย –กัมพูชา ที่ใครๆ ก็รู้ว่า นช. ทักษิณมีความเกี่ยวข้องอยู่ และต่อไปก็คงเข้าไปลงทุนซื้อเหมืองทอง เหมืองเพชร ในอาฟริกา ที่ นช.ทักษิณคุยโม้ว่าตัวเองไปลงทุนไว้หลายแห่ง

ประเทศไทยมีบริษัท ปตท. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่อยู่ ปตท.มีบริษัทลูก คือ ปตท. สผ. ทำหน้าที่สำรวจ ขุดเจาะ หาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในต่างประเทศ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานของประเทศไทยในอนาคต น่าสงสัยว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะให้กองทุนความมั่งคั่งไปลงทุนหาแหล่งพลังงานแข่งกับ ปตท. สผ.ทำไม หรือว่าอยากจะตั้งบริษัทพลังงานแห่งที่สองขึ้นมาแข่งกับ ปตท. โดยเอาเงินทุนสำรองของชาติไปลงทุน

ถึงแม้แบงก์ชาติจะแสดงจุดยืนว่า ไม่เห็นด้วยกับการตั้งกองทุนแห่งความมั่งคั่งในตอนนี้ แต่การตั้งกองทุนความมั่งคั่งนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาล ดังนั้น ข้ารับใช้หลายๆคนของ นช.ทักษิณคงจะต้องการทางผลักดันให้เกิดกองทุนความมั่งคั่งให้ได้ จึงเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องรู้เท่าทันวาระซ่อนเร้นของการตั้งกงอทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ
กำลังโหลดความคิดเห็น