xs
xsm
sm
md
lg

“นิด้าโพล” พบ “โหวตโน” พุ่ง-กทม.กว่าร้อยละ 5 ใต้เฉียด 8 เปอร์เซ็นต์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“นิด้าโพล” สำรวจความเห็นประชาชนต่อการเลือกตั้งครั้งที่ 5 พบคะแนนโหวตโนพุ่งพรวดจากไม่ถึงร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 4 เมื่อแยกเป็นรายภาค พบ กทม.เพิ่มจากไม่ถึงร้อยละ 2 เป็นกว่าร้อยละ 5 ภาคใต้เพิ่มจาก 3 กว่าเป็นเกือบร้อยละ 8 ขณะที่ภาคเหนือ-อีสานก็เพิ่มจากไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 กว่า

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า ได้จัดทำนิด้าโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้ง 54 ครั้งที่ 5” เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 1,247 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ พบว่า ในการเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต ประชาชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ร้อยละ 5.13 จะกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือ โหวตโน ส่วนร้อยละ 24.62 เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 16.41 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.03 เลือกพรรคภูมิใจไทย ขณะที่ร้อยละ 33.33 ยังไม่ตัดสินใจ

สำหรับในภาคกลาง ประชาชนร้อยละ 5.00 จะโหวตโน ร้อยละ 19.17 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 15.42 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 1.67 เลือกพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 37.92 ยังไม่ตัดสินใจ ส่วนภาคเหนือ ประชาชนร้อยละ 2.95 จะโหวตโนร้อยละ 33.54 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 23.63 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 1.69 เลือกพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 19.41 ยังไม่ตัดสินใจ

ขณะที่ภาคอีสาน ประชาชนร้อยละ 1.98 จะโหวตโน ร้อยละ 43.46 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 7.90 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 24.44 ยังไม่ตัดสินใจ สำหรับภาคใต้ ประชาชนร้อยละ 7.65 จะโหวตโนร้อยละ 35.29 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 8.24 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 28.42 ยังไม่ตัดสินใจ

เมื่อสรุปในภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า ในการเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขตนั้น ประชาชนร้อยละ 4.01 จะโหวตโน ส่วนร้อยละ 29.51 เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.40 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.49 เลือกพรรคภูมิใจไทย ขณะที่ร้อยละ 28.07 ยังไม่ตัดสินใจ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงร้อยละของประชาชนที่จะโหวตโน ปรากฏว่าเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ 4 ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน อย่างเห็นได้ชัด โดยในครั้งที่ 4 มีผู้โหวตโนเพียงร้อยละ 1.51 แต่ครั้งที่ 5 นี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.01 สูงกว่าพรรคภูมิใจไทยที่จะมีคนเลือกร้อยละ 2.49 และพรรคอื่นๆ รวมกันซึ่งจะมีร้อยละ 3.13

ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น ประชาชนที่จะโหวตโนเพิ่มขึ้นจากจากการสำรวจครั้งก่อนร้อยละ 1.98 เป็น 5.13 ภาคกลาง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 5.00 ภาคใต้เพิ่มจาก 3.37 เป็น 7.65 ภาคเหนือ เพิ่มจากไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2.95 ภาคอีสาน เพิ่มขึ้นจากไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 1.98

ส่วนการตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองระบบบัญชีรายชื่อ พบว่า ประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 5.13 จะกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือโหวตโน ส่วนร้อยละ 23.08 เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 19.75 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 0.51 เลือกพรรคภูมิใจไทย ขณะที่ร้อยละ 35.38 ยังไม่ตัดสินใจ

สำหรับในภาคกลาง ประชาชนร้อยละ 5.00 จะโหวตโน ร้อยละ 29.92 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 12.92 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 0.83 เลือกพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 38.33 ยังไม่ตัดสินใจ ส่วนภาคเหนือ ประชาชนร้อยละ 2.11 จะโหวตโน ร้อยละ 37.13 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 24.89 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 2.53 เลือกพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 16.88 ยังไม่ตัดสินใจ

ขณะที่ภาคอีสาน ประชาชนร้อยละ 2.11 จะโหวตโน ร้อยละ 43.21 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 7.41 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 24.69 ยังไม่ตัดสินใจ สำหรับภาคใต้ ประชาชนร้อยละ 7.65 จะโหวตโน ร้อยละ 36.47 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 10.00 เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 24.71 ยังไม่ตัดสินใจ

เมื่อสรุปในภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า ในการเลือก ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อนั้น ประชาชนร้อยละ 3.93 จะโหวตโน ส่วนร้อยละ 30.47 เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.40 เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.41 เลือกพรรคภูมิใจไทย ขณะที่ร้อยละ 27.51 ยังไม่ตัดสินใจ

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงร้อยละของประชาชนที่จะโหวตโน ปรากฏว่าเพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ 4 เช่นกัน โดยในครั้งที่ 4 มีผู้โหวตโนร้อยละ 1.22 แต่ครั้งที่ 5 นี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.93 โดยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลนั้น เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.58 เป็น 5.13 ภาคกลาง เพิ่มขึ้นจากไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 5.00 ภาคใต้เพิ่มจาก 3.37 เป็น 7.65 ภาคเหนือ เพิ่มจากไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2.11 ภาคอีสาน เพิ่มขึ้นจากไม่ถึงร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2.22
กำลังโหลดความคิดเห็น