เวที กสม.ถกปัญหาสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สกพ.ระบุ ทบทวนโครงการก่อสร้างหลังโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นรั่วไหล โว พลังงานนิวเคลียร์ใช้ได้นาน 85 ปี ยันปลอดภัย เพราะใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ด้าน เอ็นจีโอ จวกรัฐตกอยู่ภายใต้อำนาจทุน วอน กสม.ปกป้องไม่ให้ละเมิดสิทธิจากการพัฒนาที่ไร้ขอบเขต
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่มี นพ.แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นประธานได้จัดงานสัมมนา เรื่อง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใครมีสิทธิ ตัดสินใจ” โดยมี นายประสิทธิ์ ศิริทิพย์รัศมี ผู้ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) นายชวลิต พิชาลัย รอง ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน น.ส.สมลักษณ์ หุตานุวัตร เลขาธิการเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม และแกนนำศูนย์อาสาประชาชนฟื้นฟูภัยพิบัติ (ศอบ.) เข้าร่วม
โดย นายประสิทธิ์ กล่าวว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องมองด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง โดยในด้านสังคมจะต้องมองว่าประชาชนจะยอมรับได้หรือไม่ และการตัดสินใจนั้นจะต้องมองในเรื่องของข้อมูลทั้งด้านดีและด้านลบ ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นต้องยอมรับว่าค่าพลังงานถือเป็นต้นทุนทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลจริงว่าต้นทุนเท่าไหร่ เพราะพลังงานนิวเคลียร์มีทั้งถูกและแพง รวมทั้งยังมีความเสี่ยง ประเด็นด้านเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงแค่จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูก แต่ต้องดูถึงแผนงานการก่อสร้างว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ โดยมีพื้นฐานที่สำคัญคือการควบคุมโครงการก่อสร้างให้อยู่ในแผนงานและงบประมาณที่กำหนดไว้ สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมนั้นพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก รวมถึงการควบคุมกากนิวเคลียร์ ซึ่งตรงนี้จะต้องให้ความรู้กับประชาชนในทุกด้าน และสุดท้ายด้านความมั่นคงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ประชาชนของเราใช้ไฟอย่างมีความรับผิดชอบหรือไม่ เพราะอัตราการใช้ไฟฟ้าของไทยไม่มีความแน่นอน รวมถึงโรงไฟฟ้าของไทยก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีข้อจำกัด ดังนั้นจะต้องควบคุมอย่างเข้มงวด ในส่วนของ สกพ.ได้มีแผนการการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยล่าสุด ได้มีการประชุม และทบทวนแผนการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น โดยขณะนี้กำลังรับฟังความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะดำเนินการตามแผนงานต่อไป
ขณะที่ นายชวลิต กล่าวว่า เหตุผลและความจำเป็นที่กระทรวงพลังงาน ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากพลังงานที่ไทยใช้จากก๊าซธรรมชาติจะใช้ได้เต็มที่ไม่เกิน 20 ปี แม้ว่ากระทรวงพลังงานจะมีการหาพลังงานอื่นมาทดแทน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงต้องมองหาพลังงานประเภทใหม่ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า จึงได้มองถึงพลังงานนิวเคลียร์ที่จะนำมาใช้ทดแทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสามารถสำรองใช้ได้ถึง 85 ปี โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน สะดวกปลอดภัยในการขนส่ง และอัตราการเกิดอุบัติเหตุไม่มาก ส่วนข้อเสียของพลังงานนิวเคลียร์ คือ กากนิวเคลียร์จะมีอายุนานนับพันปี ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง เช่น กรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามล่าสุดได้มีเลื่อนการปรับแผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษายังไม่ได้ดำเนินการสร้าง ที่สำคัญหากจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจริงจะใช้เทคโนโลยีรุ่น 3 เป็นรุ่นที่มีความปลอดภัยสูงสุดแตกต่างจากญี่ปุ่น
ด้าน น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า ที่มีการบอกว่า ไทยขาดแคลนพลังงาน แต่จากข้อมูลที่ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์กระทรวงพลังงานนั้น พบว่า ในปี พ.ศ.2530-2552 นั้น ไทยมีการส่งออกด้านพลังงานมากกว่าข้าวและยางพารา โดยไทยติดอันดับที่มีน้ำมันเป็นประเทศที่ 33 ของโลกที่มากกว่าประเทศเยเมน และ บรูไน รวมทั้งมีก๊าซธรรมชาติอยู่ในลำดับที่ 27 ของโลกที่มากกว่าประเทศคูเวต และลิเบีย อีกทั้งเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน ยังระบุว่า ในเดือน ม.ค.54 ไทยผลิตน้ำมันได้ 6.4 แสนบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงแต่ทำไมจึงมีการให้ข้อมูลว่าไทยมีพลังงานใช้ไม่เพียงพอหรือเป็นเพราะการที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงานเข้าไปเป็นบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจในกิจการพลังงาน ที่มีรายได้รวมแล้วมากกว่าเงินเดือนข้าราชการถึงหลักล้านบาท แต่กลับมีการบอกข้อมูลที่แตกต่างทั้งที่ตนเองเป็นผู้กำกับดูแลนโยบายด้านพลังงานและราคา จึงอยากให้อนุกรรมการของ กสม.ชุดนี้นำเสนอข้อมูลทั้งทางด้านวิชาการและการเมืองให้กับประชาชนได้รับทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะสิทธิการตัดสินใจว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่เป็นของประชาชนโดยชอบด้วยหลักและสิทธิ รวมทั้งให้ข้อมูลครบทั้งสองด้านปกป้องไม่ให้ละเมิดสิทธิจากการพัฒนาที่ไร้ขอบเขต และการที่รัฐตกอยู่ภายใต้อำนาจทุน
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่มี นพ.แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นประธานได้จัดงานสัมมนา เรื่อง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ใครมีสิทธิ ตัดสินใจ” โดยมี นายประสิทธิ์ ศิริทิพย์รัศมี ผู้ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) นายชวลิต พิชาลัย รอง ผอ.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน น.ส.สมลักษณ์ หุตานุวัตร เลขาธิการเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม และแกนนำศูนย์อาสาประชาชนฟื้นฟูภัยพิบัติ (ศอบ.) เข้าร่วม
โดย นายประสิทธิ์ กล่าวว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องมองด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง โดยในด้านสังคมจะต้องมองว่าประชาชนจะยอมรับได้หรือไม่ และการตัดสินใจนั้นจะต้องมองในเรื่องของข้อมูลทั้งด้านดีและด้านลบ ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นต้องยอมรับว่าค่าพลังงานถือเป็นต้นทุนทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลจริงว่าต้นทุนเท่าไหร่ เพราะพลังงานนิวเคลียร์มีทั้งถูกและแพง รวมทั้งยังมีความเสี่ยง ประเด็นด้านเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงแค่จะทำให้ค่าไฟฟ้าถูก แต่ต้องดูถึงแผนงานการก่อสร้างว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ โดยมีพื้นฐานที่สำคัญคือการควบคุมโครงการก่อสร้างให้อยู่ในแผนงานและงบประมาณที่กำหนดไว้ สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมนั้นพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก รวมถึงการควบคุมกากนิวเคลียร์ ซึ่งตรงนี้จะต้องให้ความรู้กับประชาชนในทุกด้าน และสุดท้ายด้านความมั่นคงต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ประชาชนของเราใช้ไฟอย่างมีความรับผิดชอบหรือไม่ เพราะอัตราการใช้ไฟฟ้าของไทยไม่มีความแน่นอน รวมถึงโรงไฟฟ้าของไทยก็ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีข้อจำกัด ดังนั้นจะต้องควบคุมอย่างเข้มงวด ในส่วนของ สกพ.ได้มีแผนการการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยล่าสุด ได้มีการประชุม และทบทวนแผนการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น โดยขณะนี้กำลังรับฟังความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลก่อนที่จะดำเนินการตามแผนงานต่อไป
ขณะที่ นายชวลิต กล่าวว่า เหตุผลและความจำเป็นที่กระทรวงพลังงาน ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากพลังงานที่ไทยใช้จากก๊าซธรรมชาติจะใช้ได้เต็มที่ไม่เกิน 20 ปี แม้ว่ากระทรวงพลังงานจะมีการหาพลังงานอื่นมาทดแทน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงต้องมองหาพลังงานประเภทใหม่ที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า จึงได้มองถึงพลังงานนิวเคลียร์ที่จะนำมาใช้ทดแทน เนื่องจากมีประสิทธิภาพสามารถสำรองใช้ได้ถึง 85 ปี โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน สะดวกปลอดภัยในการขนส่ง และอัตราการเกิดอุบัติเหตุไม่มาก ส่วนข้อเสียของพลังงานนิวเคลียร์ คือ กากนิวเคลียร์จะมีอายุนานนับพันปี ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง เช่น กรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามล่าสุดได้มีเลื่อนการปรับแผนพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไปอีก 3 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษายังไม่ได้ดำเนินการสร้าง ที่สำคัญหากจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจริงจะใช้เทคโนโลยีรุ่น 3 เป็นรุ่นที่มีความปลอดภัยสูงสุดแตกต่างจากญี่ปุ่น
ด้าน น.ส.สมลักษณ์ กล่าวว่า ที่มีการบอกว่า ไทยขาดแคลนพลังงาน แต่จากข้อมูลที่ตรวจสอบได้จากเว็บไซต์กระทรวงพลังงานนั้น พบว่า ในปี พ.ศ.2530-2552 นั้น ไทยมีการส่งออกด้านพลังงานมากกว่าข้าวและยางพารา โดยไทยติดอันดับที่มีน้ำมันเป็นประเทศที่ 33 ของโลกที่มากกว่าประเทศเยเมน และ บรูไน รวมทั้งมีก๊าซธรรมชาติอยู่ในลำดับที่ 27 ของโลกที่มากกว่าประเทศคูเวต และลิเบีย อีกทั้งเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน ยังระบุว่า ในเดือน ม.ค.54 ไทยผลิตน้ำมันได้ 6.4 แสนบาร์เรล ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่สูงแต่ทำไมจึงมีการให้ข้อมูลว่าไทยมีพลังงานใช้ไม่เพียงพอหรือเป็นเพราะการที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพลังงานเข้าไปเป็นบอร์ดของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจในกิจการพลังงาน ที่มีรายได้รวมแล้วมากกว่าเงินเดือนข้าราชการถึงหลักล้านบาท แต่กลับมีการบอกข้อมูลที่แตกต่างทั้งที่ตนเองเป็นผู้กำกับดูแลนโยบายด้านพลังงานและราคา จึงอยากให้อนุกรรมการของ กสม.ชุดนี้นำเสนอข้อมูลทั้งทางด้านวิชาการและการเมืองให้กับประชาชนได้รับทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะสิทธิการตัดสินใจว่าจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่เป็นของประชาชนโดยชอบด้วยหลักและสิทธิ รวมทั้งให้ข้อมูลครบทั้งสองด้านปกป้องไม่ให้ละเมิดสิทธิจากการพัฒนาที่ไร้ขอบเขต และการที่รัฐตกอยู่ภายใต้อำนาจทุน