คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ไปสถานทูตอินโดนีเซีย ยื่นหนังสือ ค้านส่งทหารสังเกตุการณ์ในไทย ชี้แทรกแซงทวิภาคี ผิดมารยาททางการทหาร ยันทีโออาร์ส่อเป็นหนังสือสัญญา ตาม ม.190 ต้องผ่านสภาก่อน เตือนสุ่มเสี่ยงต่อสัมพันธภาพ 2 ชาติ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ให้สัมภาษณ์
วันนี้ (10 มี.ค.) ที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และตัวแทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายโมฮัมหมัด ฮัตตา เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เพื่อขอคัดค้านการส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทย ในกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา โดยอ้างถึงสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศสในการบ่งชี้เขตแดนของไทย พร้อมกับคำพิพากษาศาลโลกที่ทางการไทยสงวนสิทธิ์ทวงคืนปราสาทพระวิหาร ขณะที่การที่กองกำลังทหารอินโดนิเซียจะเข้ามาปฏิบัติการตามผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์นั้น เป็นการปฏิบัติการทางทหารของต่างชาติที่เข้ามาควบคุมการปฏิบัติงานของกองทัพไทยในการปกป้องแผ่นดินไทย ที่เข้าลักษณะการแทรกแซงการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดมารยาท ซึ่งมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทหาร
ซึ่งการเดินทางเข้ามาของกำลังทหารอินโดนิเซีย ต้องมีการทำเอกสารตกลงกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ (Term of Reference) แม้จะอ้างว่าเข้ามาในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรายงานหรือตำบลที่ในการวางกำลังของทหารอินโดนิเซียทั้งในส่วนของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ล้วนแต่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของฝ่ายไทยหรือมีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งสิ้น จึงสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยและการทำประชาพิจารณ์ และในการปฏิบัติการของกำลังทหารอินโดนิเซียนั้น หากมีการกระทำที่ทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียดินแดนด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจนำมาซึ่งความสุ่มเสี่ยงต่อสัมพันธภาพที่ดีที่มีต่อกันมาอย่างยาวนานระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
รายละเอียดหนังสือ
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2554
เรื่อง ขอคัดค้านการส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยในกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา
เรียน ฯพณฯ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำประเทศไทย
อ้างถึง 1.ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554)
2.อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1893 (พ.ศ.2436) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447)
3.สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450)
4.คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2505
ตามที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย กำลังเตรียมการที่จะจัดส่งกำลังทหารเข้ามาในเขตแดนประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับกรณีข้อพิพาทเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ตามอ้างถึงข้อ 1 นั้น คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย (ส่งผู้แทนบางส่วนมารวมตัวกันที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ (ข้างทำเนียบรัฐบาล) ขอคัดค้านการส่งกำลังทหารของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่เขตแดนไทย
ทั้งนี้ คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย ขอเรียนชี้แจงให้ทราบดังนี้
1.ตามอ้างถึงข้อ 2.และข้อ 3.นั้น เป็นผลมาจากการแลกเปลี่ยนพื้นที่แผ่นดิน ระหว่างสยามกับฝรั่งเศสและในหนังสือทั้งอนุสัญญาฉบับ ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.1907 ต่างก็ระบุชัดเจนว่า เส้นเขตแดนตามแนวเขาดงรัก (ที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร) ให้ใช้ “สันปันน้ำ” เป็นเส้นเขตแดนระหว่างสยามกับฝรั่งเศส และมีการตั้งคณะกรรมการผสมจากตัวแทนฝ่ายสยามและฝ่ายฝรั่งเศสขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ที่เกิดขึ้นตามอนุสัญญาตามอ้างถึงข้อ 1 (ค.ศ.1904) และคณะกรรมการผสมชุดที่2 ที่เกิดขึ้นตามอนุสัญญาตามอ้างถึงข้อ 2 (ค.ศ.1907) เพื่อสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกทั้ง 2 ช่วงเวลา
1.1 ผลการทำงานของคณะกรรมการผสมชุดที่ 1 (ค.ศ.1904)
วันที่ 31 มกราคม ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) ภายหลังจากการประชุมของ คณะกรรมการผสมชุดที่หนึ่ง ซึ่งดำเนินการประชุมไปเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) ในครั้งนั้น อัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ได้รายงานต่อรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสในกรุงปารีส ว่า ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากพันเอก แบนาร์ด ซึ่งประธานคณะกรรมการผสมของฝรั่งเศสว่า “การปักปันทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นและว่า ได้มีการกำหนดเส้นเขตแดนขึ้นเป็นที่แน่นอนแล้ว นอกจากในอาณาบริเวณเสียมราฐ”
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1907 ประธานฝรั่งเศสคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ได้รายงานไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส ว่า “ตลอดแนวเขาดงรักจนถึงแม่น้ำโขง การกำหนดเขตแดนไม่ได้ประสบความยุ่งยากใดๆ เลย”
พันเอก แบร์นาร์ด กรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมฝ่ายฝรั่งเศส ได้กล่าวบรรยายที่กรุงปารีสเกี่ยวกับงานปักปันเขตแดน 3 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ.1905 ถึง ค.ศ.1907 มีความตอนหนึ่งว่า “แทบทุกหนทุกแห่ง สันปันน้ำประกอบเป็นเส้นพรมแดนและจะมีปัญหาโต้เถียงกันได้ ก็แต่เพียงที่เกี่ยวกับจุดปลายสุดของทั้งสองด้านเท่านั้น”
1.2 ผลการทำงานของคณะกรรมการผสมชุดที่ 2 (ค.ศ.1907)
คณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ 2 มีบันทึกรายงานของ พันเอก มองกิเอร์ ประธานกรรมการฝ่ายฝรั่งเศสในคณะกรรมการสำรวจและปักปันเขตแดนผสมสยามกับฝรั่งเศส ชุดที่ 2 ได้ยืนยันตามผลงานการสำรวจและปักปันเขตแดนของคณะกรรมการชุดที่ 1 ว่า “เส้นเขตแดนเดินไปตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งอยู่ที่หน้าผา เห็นได้จากตีนภูเขาดงรัก”
ดังนั้น ผลการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ปี ค.ศ.1904 และชุดที่ 2 ปี ค.ศ.1907 ให้คำตอบที่แน่ชัดว่า ทั้งสองฝ่ายได้ยอมรับใช้ “สันปันน้ำ ซึ่งก็คือขอบหน้าผาของเขาดงรัก” เป็นเส้นเขตแดน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1904”
1.3 รายละเอียดในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาท
พระวิหาร พ.ศ.2505 ได้ระบุในคำตัดสินว่า:
“ในประการสุดท้าย เมื่อพิจารณาถึงคำแถลงสรุปที่คู่ความได้ยื่นต่อศาลเมื่อตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจา ศาลมีความเห็นดังเหตุผลที่ได้บ่งไว้ในตอนต้นของคำพิพากษานี้ ว่าคำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดในเรื่องสภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 (แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000) และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา” (ตามอ้างถึง 4)
ดังนั้น แผนที่ (แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000) นั้น ไม่ได้รับรองสถานะของแผนที่ ฉบับที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าเป็นแผนที่ที่เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันผสมสยามกับฝรั่งเศส (แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000) และไม่ได้รับรองสถานะของเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ฉบับนี้ว่าเป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้องระหว่างไทยกับกัมพูชา
1.4 ประเทศไทยได้ยินยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยการถอนกำลังทหาร ตำรวจ ออกจากตัวปราสาทพระวิหารและส่งคืนตัวปราสาทพระวิหาร และได้กำหนดบริเวณให้กัมพูชามีอธิปไตยเหนือเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น และได้สงวนสิทธิ์ที่เรียกร้องทวงคืนปราสาทพระวิหารไว้แล้ว
ดังนั้น พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารที่เป็นกรณีพิพาทอยู่ในขณะนี้และฝ่ายกัมพูชาได้ใช้กำลังทหารยึดครองโดยอ้างอิงเส้นเขตแดนที่กำหนดในแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 กัมพูชายังได้เจตนาละเมิดผิดข้อตกลงตามมาตรา 5 ของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก (MOU 2543) โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในพื้นที่เขตแดนไทยถึง 123 ครั้ง ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงย่อมต้องถูกพิจารณา “เป็นการยึดครองแผ่นดินของไทย”
2.คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทยให้ความสำคัญต่อการเจรจาแบบทวิภาคีตามบทบัญญัติของกฎบัตรสหประชาชาติข้อ 2 วรรค 7 และ ข้อ 33 รวมทั้งกฎบัตรอาเซียนข้อ 2 (F) และมีความเห็นว่า การที่กองกำลังทหารอินโดนิเซียจะเข้ามาปฏิบัติการตามผลการประชุมของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนที่กรุงจากาตาร์ อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2011 (พ.ศ.2554) นั้น เป็นการปฏิบัติการทางทหารของต่างชาติที่เข้ามาควบคุมการปฏิบัติงานของกองทัพไทยในการปกป้องแผ่นดินไทย ที่เข้าลักษณะการแทรกแซงการแก้ปัญหาแบบทวิภาคี นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดมารยาท ซึ่งมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทหารที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนานควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ควรกระทำ
3.การเดินทางเข้ามาของกำลังทหารอินโดนีเซียในครั้งนี้ ต้องมีการทำเอกสารตกลงกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ (Term of Reference) แม้จะอ้างว่าเข้ามาในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรายงานหรือตำบลที่ในการวางกำลังของทหารอินโดนิเซียทั้งในส่วนของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ล้วนแต่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของฝ่ายไทยหรือมีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งสิ้น
ดังนั้น เอกสารที่กำหนดรายละเอียดการปฏิบัติในการเดินเข้ามาของกำลังทหารอินโดนีเซียในครั้งนี้ จึงสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยและการทำประชาพิจารณ์ และในการปฏิบัติการของกำลังทหารอินโดนีเซียนั้น หากมีการกระทำที่ทำให้ฝ่ายไทยสูญเสียดินแดนด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจนำมาซึ่งความสุ่มเสี่ยงต่อสัมพันธภาพที่ดีที่มีต่อกันมาอย่างยาวนานระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย
4.ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย จึงขอคัดค้านการส่งกำลังทหารของสาธารณรัฐอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่เขตแดนไทย เพื่อมามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากรณีพิพาทเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
จึงเรียนมาเพื่อทราบและพิจารณาดำเนินการตามที่คณะกรรมการปกป้องราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทยเสนอในข้อ 4.
ขอแสดงความนับถือ
พลตรี จำลอง ศรีเมือง
พลเอก ปรีชา เอี่ยมสุพรรณ
พลเรือโท ประทีป ชื่นอารมย์
พลอากาศเอก เทิดศักดิ์ สัจจรักษ์
นายประพันธุ์ คูณมี
นายเทิดภูมิ ใจดี
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม
ผู้แทนคณะกรรมการป้องกันราชอาณาจักรไทย
---------------------------------------
The Kingdom of Thailand Defence Committee
Stage Situated at Makawan Rangsan Bridge
Bangkok Thailand
10th March 2011
Subject: Objection against the interference of a foreign military force into Thailand, dispute between Thailand and Cambodia
Attention: H.E. Ambassador of the Republic of Indonesia to Thailand
References: 1. Results of the ASEAN Foreign Ministers’ Meeting in Jakarta, Indonesia, on
22nd February 2011
2. Convention between Siam and France modifying the stipulated of the
Treaty of the 3rd October 1893, regarding Territorial Boundaries and other Arrangements
Signed at Paris, 13th February 1904
3. Treaty between His Majesty the King of Siam and the President of the
French Republic, signed at Bangkok; 23rd March 1907
4. International Court of Justice’s Decision on the Temple of Phra Viharn,
15th June 1962
With reference to the Republic of Indonesia’s preparation to send military forces onto Thai soil due to the Thai-Cambodian boundary dispute as referred to in Reference No. 1, the Kingdom of Thailand Defence Committee and the people of Thailand (whose representatives are gathering at the Makawan Rangsan Bridge, next to the Government House) oppose the presence of a military force representing the Republic of Indonesia within the boundaries of Thai sovereignty.
The Kingdom of Thailand Defence Committee and the people of Thailand would like to inform those concerned as follows:
1.References No. 2 and No. 3 resulted from the exchange of territory between Siam and France. Both the 1904 Convention and the 1907 Treaty clearly state that the Siam-France frontier line along the Dangrek Mountain Range (the location on which the Preah Vihear Temple stands) shall be based on a “Watershed”. Two Mixed Commissions, comprising of representatives from both Siam and France, were established. The first Mixed Commission was created according to the 1904 Convention (Reference No. 2). The second Mixed Commission was created according to the 1907 Convention (Reference No. 3). Both were set up in order to survey, delimit and demarcate the land boundary during both periods in time.
1.1 Results of the First Mixed Commission (1904)
On the 31st January 1907, after the First Mixed Commission’s last meeting was held on the 18th January 1907. The French Ambassador to Bangkok reported to the French Minister of Foreign Affairs in Paris that he was officially informed by Colonel Bernard, the French Chairman of the Mixed Commission that “delimitation work accomplished without incident. Frontier line definitively determined except th Siem Reap region”.
On 20th February 1907, the French Chairman of the Mixed Commission reported to the French government that “all along the Dangrek and as far as the Mekong, the fixing of the frontier could not have involved any difficulty”.
In the lecture given by Colonel Bernard (the French Chairman of the First Mixed Commission) in Paris on 20th December 1907, he described the three campaigns of delimitation from 1905 to 1907. What he has to say he says with illuminating conciseness. These are his words: “Almost everywhere it was the watershed which formed the frontier and there was room for argument only at the two extremities.”
1.2 Results of the Second Mixed Commission (1907)
This commission received a report from Colonel Monquier, the French Chairman of the Second Mixed Commission for Siam-France Frontier Survey Delimitaion and Demarcation, affirming that the frontier survey and delimiteation results of the first Mixed Commission that “the frontier line runs along the Watershed, which is at the cliff and can be seen from the foot of Dangrek Mountain”.
Therefore, the results of both commission, the first in 1904 and the second in 1907, gave a clear answer that “both parties have resolved to use “the Watershed at the Cliff” divide of Dangrek Mountain as the frontier line since 1904”.
1.3T he details of the International Court of Justice’s Decision on the case of Preah Vihear Temple in 1962 found that:
“Reffering finally to the Submissions presented at the end of the oral proceedings, the Court, for the reasons indicated at the beginning of the present Judgement, finds that Cambodia’s first and second submissions, calling for pronouncements of the legal status of the Annex I map (1:200,000 ratio map) and on the frontier line in the disputed region, can be entertained only to the extent that they give expression to grounds, and not as claims to be dealt with in the operative provisions of the Judgment.” (Reference No. 4)
Therefore, the map (1:200,000 ratio map) did not acknowledge the status of
the map claimed by Cambodia as the result of the Siam-French frontier delimitation Mixed commission. It did not acknowledge the status of the frontier line as shown on the map as the correct frontier line between Thailand and Cambodia.
1.4 Thailand agreed to comply with the International Court of Justice’s decision by withdrawing its military and police forces from Phra Viharn Temple, surrendering the temple, determining that Cambodia shall have sovereignty over the temple itself only and reserving the right to re-claim occupation of the temple.
The area surrounding Preah Vihear Temple is currently under dispute and is where Cambodia has used military forces to seize, claiming the frontier line determined in the 1:200,000 ratio map. Cambodia also has intentionally violated Article 5 of Memorandum of Understanding between Thailand and Cambodia on the Survey and Demarcation of Land Boundary (MOU 2000) by changing environment of frontier zone for 123 times. Therefore, such acts are considered “a blatant seizure of Thai soil”.
2.The Kingdom of Thailand Defence Committee and the people of Thailand understand the importance of bilateral negotiations according to the provision under Clause 2 (7) and Clause 33 of the United Nations Charter as well as Clause 2 (F) of the ASEAN Charter. We are of the opinion that the operations of the Republic of Indonesia’s military force according to the results of the ASEAN Foreign Ministers’ Meeting in Jakarta, Indonesia, on 22nd February 2011 would be “a foreign military operation to control Thai military operations defending Thai sovereignty, which has been deliberately violated by Cambodia. Such circumstances would not follow the components of bilateral negotiations. In addition, it would go against due diplomatic manners, which friendly nations with long-standing military cooperation should avoid”.
3.The Indonesian military forces’ entrance on this occasion would require detailed documentation within a “Terms of Reference”, despite the fact that the occurrence would be conducted under the status of merely an observer. In practice, reports on or the placement of Indonesian troops, either in Thailand or Cambodia, would risk altering Thailand’s sovereign border and affecting Thai communities.
Therefore, the documented Terms of Reference for the Indonesian military forces’ entrance on this occasion would risk being considered an agreement under Article 190 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 (2007), which requires approval from the Thai Parliament and a public hearing process. Moreover, if any action, intentional or unintentional, taken by the Indonesian military force were to cause Thailand to lose any of its land, good, long-standing relations between Thailand and Indonesia would be at risk.
4.By the abovementioned reasons, the Kingdom of Thailand Defence Committee and the people of Thailand oppose the interference of a military force from the Republic of Indonesia onto Thailand to take part in the resolution of Thai-Cambodian boundary dispute.
Your acknowledgement and consideration to proceed as proposed by the Kingdom of Thailand Defence Committee and the people of Thailand under No. 4 would be highly appreciated.
Sincerely yours,
Major General Jamlong Srimuang
General Preecha Eiamsupan
Vice Admiral Pratheep Chuen-Arom
Air Chief Marshall Terdsak Sujjarak
Mr. Prapanth Koonmee
Mr. Therdpoom Chaidee
Mr.Thepmontri Limpapahyom
Representatives of the Kingdom of Thailand Defence Committee