เช้าวันคริสต์มาส 25 ธันวาคม 2552 โลกรอดพ้นจากโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่อย่างฉิวเฉียด เมื่อผู้โดยสาร สายการบิน นอร์ธเวสต์ แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 253 ที่กำลังจะร่อนลงจอดที่สนามบินเมืองดีทรอยต์ ด้วยความกล้าหาญ และมีสติ ช่วยกัน ขัดขวาง ผู้ก่อการร้าย เด็กหนุ่มวัย 23 ปี ชาวไนจีเรีย นายอุมาร์ ฟารุก อับดุลมูตัลลับ ที่กำลังจุดชนวน ระเบิดเครื่องบินลำนี้ ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือ 290 ชีวิต
นายอับดุล มูตัลลับ ซึ่งเดินทางจากเมืองลากอส ไนจีเรีย มาขึ้นเครื่องนอร์ธเวสต์ ที่อัมสเตอร์ดัม แปะเข็มฉีดยาบรรจุสารเคมีไว้ที่โคนขา และซุกพีอีทีเอ็น สารเคมีที่เป็นวัตถุระเบิดร้ายแรง ในตะเข็บเป้ากางเกงใน เมื่อเสียงกัปตัน ประกาศให้ลูกเรือรัดเข็มขัด เตรียมลงจอด เขาก็แกะเข็มฉีดยาออกมาฉีดสารเคมีใส่พีอีทีเอ็น เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี จุดชนวนระเบิด
เสียงดังเหมือนปะทัด ทางด้ายซ้ายของเคริ่องตรงปีกเครื่องบิน ทำให้นายอเลน โกนด้า ผู้โดยสารที่นั่งเยื้องไปข้างหลัง ในที่นั่ง 18 H ลุกพรวดขึ้นยืน ทั้งทียังรัดเข็มขัดอยู่ เขามองเห็นกลุ่มควันลอยขึ้นมาจากผู้โดยสารตรงที่นั่ง 19 A ซึ่งก็คือ นายอับดุล มูตัลลับ จึงตระโกนว่า ไฟไหม้ พร้อมๆกับ เปลวไฟพุ่งขึ้นมาจากตักของนายอับดุล มูตัลลับ
นาทีนั้นเอง นายแจสเปอร์ ชูริงก้า โปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ ชาวดัทช์ ซึ่งนั่งอยู่หลังนายโกนด้า 2 แถว ก็กระโจนข้ามเก้าอี้เข้าไปทับตัวนายอับดุลมุตัลลับ และตระโกนให้ผู้โดยสารคนอื่นส่งขวดน้ำ และผ้าห่มมาให้เพื่อดับไฟ พนักงานต้อนรับ 2 คน วิ่งไปหาเครื่องดับเพลิงมาฉีด และช่วยกันเอาตัวนายอับดุลมูตัลลับ ไปที่ชั้นเฟิร์สต์ คลาส
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นไม่ถึง 10 นาที โดยนายอับดุล มูตัลลับ มีสีหน้าเรียบเฉย ไม่มีอาการตื่นตระหนกแม้แต่น้อย แม้จะถูกจู่โจมจากนายชุริงก้า เหมือนกับได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี เขาให้การภายหลังว่า ได้รับการฝึกฝนจาก กลุ่มอัล กอ อิดะห์ ในเยเมน
290 ชีวิต บนเครื่องบินเที่ยวบินที่ 253 เช้าวันนั้น ได้กลับไปฉลองคริสต์มาสกับครอบครัว และญาติมิตร อย่างมีความสุข เพราะความกล้าหาญ มีสติของฮีโร่ชาวดัตช์ และผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่เป็นคนธรรมดาๆ ไม่ใช่เพราะระบบรักษาความปลอดภัย ป้องกันภัยจากการก่อการร้าย ที่รัฐบาลสหรัฐ ฯ และประเทศต่างๆทั่วโลก ทุ่มเทงบประมาณนับหมื่นๆล้านเหรียญ กำลังคนนับและ รวมทั้งมาตรการที่เป้นการล่วงละเมิดความเป็นวส่วนตัวของพลเมือง
การที่นายอับดุลมูตัลลับ สามารถพกระเบิดขึ้นเครื่องบินของสหรัฐฯ จนกระทั้งเกือบจะระเบิดเครื่องบินได้ แสดงว่า ระบบป้องกันภัยล้มเหลวอย่างน่าตกใจ เป็นความล้มเหลวทั้งระบบตรวจสอบเฝ้าระวัง บุคคลต้องสงสัย และระบบค้นหาวัตถุระเบิดในสนามบิน
ชื่อของนายอับดุล มูตัลลับ อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ที่ถูกจับตามองของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤษศจิกายน 2552 หลังจากพ่อของเขาแจ้งกับสถานทูตสหรัฐ ในไนเจีเรียว่า ลูกชายเปลี่ยนไป กลายเป็นคนที่มีความคิดรุนแรง แต่วีซ่าเข้าสหรัฐฯของเขาซึ่งมีอายุถึง กลางปี 2010 ยังไม่ถูกยกเลิก เพราะบัญชีรายชื่อที่มีชื่อของเขาอยู๋นั้น เป็นฐานข้อของผู้ต้องสงสัยในระดับเบื้องต้น ยังไม่มีหลักฐาน ที่จะเข่าข่ายให้ถูกยกระดับขึ้นไปอยู่ในบัญชีผู้ต้องห้าม บินเข้าสหรัฐฯ
แต่ 6เดือนก่อนหน้านี้ นายอับดุล มูตัลลับ ถูกห้ามเข้าอังกฤษ เพราะถูกจับได้ว่า ใช้หลักฐานปลอมในการขอวีซ่าเข้าอังกฤษ จึงถูกขึ้นทะเบียนไว้ ในบัญชีผู้ที่ต้องเฝ้าระวัง ในด้านความปลอดภัยของอังกฤษ ทว่า ทางการอังกฤษ ไม่ส่งข้อมูลนี้ให้กับ สหรัฐฯ
ในเดือนสิงหาคม นายอับดุล มูตัลลับ ซึ่งมาจากครอบครัวฐานะดี พ่อเป็นนายธนาคาร จบการศึกษาด้านวิศวกรโยธา จากมหาวิทยาลัยในลอนดอน เดินทางไปเรียนภาษาอารบิคที่เยเมน และประกาศตัดขาดจากครอบครัว
นายอับดุล มูตัลลับ ซื้อตั๋วเครื่องบินด้วยเงินสด จากลากอสไปดีทรอย์ โดยเปลี่ยนเครื่องที่อัมสเตอร์ดัม โดยไม่ทิ้งที่ติดต่อให้กับเจ้าหน้าที่สายการบิน และไม่มีกระเป๋าเช็คอิน สะพายเป้ใบเดียวขึ้นเครื่องบิน แต่ก็ไม่มีใครฉุกใจถึง ความผิดปกติ ปล่อยให้ขึ้นเครื่องไปได้
ระบบตรวจเช็ค วัตถุระเบิดตามสนามบินนั้น ตรวจได้เฉพาะสิ่งที่เป็นโลหะ เป็นช่องโหว่ที่ไม่สามารถสกัดกั้น ระเบิดสารเคมี หรือ ระเบิดที่ใช้ของเหลวได้ สนามบินต่างๆ จึงต้องให้ผู้โดยสารถอดรองเท้าออกตรวจ หลังจาก ที่มีกรณีผู้ก่อการร้ายซ่อนสารเคมีไว้ในส้นรองเท้า เตรียมระเบิดเครื่องบินที่บินจากปารีสไอไมอามี เมื่อ ปี 2544 แต่ถูกจับได้เสียก่อน และห้ามผู้โดยสารพกของเหลวเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นเครื่อง หลังจากทางการอังกฤษ สืบทราบว่า มีการวางแผนจะใช้ของเหลว ทำระเบิด เครื่องบินในปี 2549
เครื่องตรวจสแกนวัตถุระเบิดรุ่นใหม่ สามารถสแกนทะลุเสื้อผ้า ทำให้มองเห็นสิ่งท่าซุกซ่อนเอาไว้ในตัวได้ เหมือน จับคนมาแก้ผ้าให้เดินผ่านเครื่อง ด้วยเหตุนี้เอง สายการบิน โดยเฉพาะสหรัฐน และยุโรป จึงไม่อยากจะนำมาใช้ เพราะถูกผู้โดยสารโดยเฉพาะผู้หญิงต่อว่า นอกจากนี้ เครื่องเหล่านี้ยังมีราคาแพง
ที่สนามบินอัมสเตอร์ดัม มีเครื่องรุ่นนี้ เพียง 15 เครื่อง แต่มีทางออกขึ้นเครื่องถึง 90 ทางออก จึงใช้กับเทียวบบินส้ะนๆในยุโรปเท่านั้น และให้เป็นความสมัครใจของผู้โดยสารด้วย ดังนั้น นายอุบดุล มูตัลลับ จึงพกระเบิดขึ้นเครื่องบินอย่างสะดวกโยธิน
วีรกรรมของผู้โดยสาร ในการสกัดกั้นการก่อการร้าย เกิดขึ้นมาหลายครั้วแล้ว ไม่ว่าจะเป็น การขัดขวางผู้ก่อการร้ายบนสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ 93 ในเหตุการณ์ 11 กันยายน ผู้โดยสารสารการบินอเมริกา แอร์ไลน์ ช่วยกันจับตัวผู้ก่อการร้ายที่ซ่อนสารระเบิดไว้ในส้นรองเท้า และล่าสุด ก่อนจะเกิดเหตุกับสายการบินนอร์ธ เวสต์ ในเดือนพฤศจิกายน ผู้โดยสารช่วยกันสู้กับโจรจี้เครื่องบิน ในโซมาเลีย
สองมือเปล่า กับจิตใจที่กล้าหาญ มีประสิทธิภาพกว่า เทคโนโลยี่สมัยใหม่ และระบบรักษาความปลอดภัยที่ใข้ทั้งเงินมหาศาล และกำลังคนคนเป็นกองทัพ หลายเท่า