เลขาธิการสภาฯ ระบุ “ประธานชัย” ยังไม่ได้สั่งให้สำนักงานเลขาสภาฯ ยกร่างแก้ รธน. ตามมติวิป 3 ฝ่าย แต่พร้อมดำเนินการหากได้รับคำสั่ง ระบุความพร้อมเพราะมีหน่วยงานในการยกร่างอยู่แล้ว ไม่ขัดข้องยกร่าง รธน.ใน 2 รูปแบบ
วันนี้ (5 ต.ค.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วิป 3 ฝ่าย ได้ประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี และมีมติให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2 แบบ คือ แบบร่างเดียว 6 ประเด็น และแบบแยกเป็น 6 ร่างว่า ล่าสุดได้พบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเช้าวันที่ 5 ตุลาคม แต่ประธานก็ยังไม่ได้สั่งการอะไรลงมา อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ไม่มีปัญหา เพราะปกติสำนักงานเลขาธิการสภาก็มีหน่วยบริการในการยกร่างกฎหมายให้ ส.ส.และประชาชนอยู่แล้ว หากประธานสั่งการมาก็สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนจะใช้เวลายกร่างนานเท่าใดนั้น อยู่ที่สาระของกฎหมายว่าจะให้มีหน้าตาแบบไหน และอยู่ที่ความต้องการของผู้ที่ขอให้ยกร่าง เช่น จะให้รายละเอียดทั้งหลายอยู่ในกฎหมายลูกหรือไม่ หรือเมื่อร่างแล้วจะไปกระทบกฎหมายฉบับอื่นอย่างไรบ้าง ก็ต้องตรวจสอบในส่วนที่จะไปเกี่ยวข้อง สมมติว่าจะร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก็ต้องแจกแจงว่าข้อตกลงระหว่างประเทศอะไรบ้างที่ต้องส่งให้รัฐสภาเห็นชอบ เป็นต้น แต่ไม่ถึงกับต้องไปสอบถามหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่าจะมีปัญหาในการเขียนหลักการของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแบบ ร่างเดียว 6 ประเด็นหรือไม่ นายพิทูรกล่าวว่า ไม่มีปัญหา ในส่วนหลักการก็สามารถเขียนแยกเป็นประเด็นได้ แต่อาจจะยาวหน่อย อาจจะระบุถึงมาตรา หรือเขียนแบบสาธยายความ ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค ลักษณะเหมือนกับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ต่างๆ ที่บางครั้งก็ให้แก้กฎหมายฉบับเดิมหลายมาตรา เป็นต้น
วันนี้ (5 ต.ค.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วิป 3 ฝ่าย ได้ประชุมร่วมกับนายกรัฐมนตรี และมีมติให้ฝ่ายกฎหมายของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2 แบบ คือ แบบร่างเดียว 6 ประเด็น และแบบแยกเป็น 6 ร่างว่า ล่าสุดได้พบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงเช้าวันที่ 5 ตุลาคม แต่ประธานก็ยังไม่ได้สั่งการอะไรลงมา อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ไม่มีปัญหา เพราะปกติสำนักงานเลขาธิการสภาก็มีหน่วยบริการในการยกร่างกฎหมายให้ ส.ส.และประชาชนอยู่แล้ว หากประธานสั่งการมาก็สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนจะใช้เวลายกร่างนานเท่าใดนั้น อยู่ที่สาระของกฎหมายว่าจะให้มีหน้าตาแบบไหน และอยู่ที่ความต้องการของผู้ที่ขอให้ยกร่าง เช่น จะให้รายละเอียดทั้งหลายอยู่ในกฎหมายลูกหรือไม่ หรือเมื่อร่างแล้วจะไปกระทบกฎหมายฉบับอื่นอย่างไรบ้าง ก็ต้องตรวจสอบในส่วนที่จะไปเกี่ยวข้อง สมมติว่าจะร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ก็ต้องแจกแจงว่าข้อตกลงระหว่างประเทศอะไรบ้างที่ต้องส่งให้รัฐสภาเห็นชอบ เป็นต้น แต่ไม่ถึงกับต้องไปสอบถามหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่าจะมีปัญหาในการเขียนหลักการของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแบบ ร่างเดียว 6 ประเด็นหรือไม่ นายพิทูรกล่าวว่า ไม่มีปัญหา ในส่วนหลักการก็สามารถเขียนแยกเป็นประเด็นได้ แต่อาจจะยาวหน่อย อาจจะระบุถึงมาตรา หรือเขียนแบบสาธยายความ ซึ่งเป็นเรื่องทางเทคนิค ลักษณะเหมือนกับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ต่างๆ ที่บางครั้งก็ให้แก้กฎหมายฉบับเดิมหลายมาตรา เป็นต้น