ที่ประชุมสภามีมติถอนตั้ง ป.ป.ท.ชักแปล่งๆ หลัง “เด็กเนวินจับมือเพื่อไทย” ขวาง รุมซัดส่อขัดรัฐธรรมนูญ “สมศักดิ์” ขู่หากดึงดัน ครม.อาจต้องพ้นทั้งคณะ ด้าน รมว.ยุติธรรม ยอมถอนเรื่องเพื่อตรวจสอบก่อนชงเข้าสู่ที่ประชุมรอบใหม่
วันนี้ (26 ส.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เนื่องจากที่ผ่านมาวุฒิสภา ได้ตีกลับ 6 รายชื่อ ป.ป.ท.โดยเห็นว่า การเสนอเรื่องดังกล่าวของสภาผู้แทนราษฎร มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสภาผู้แทนราษฎรลงมติเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง วุฒิสภาจึงได้ส่งเรื่องคืนกลับไปยังรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลได้เสนอชื่อกรรมการ ป.ป.ท.เข้ามาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่
สำหรับรายชื่อประธาน และกรรมการ ป.ป.ท.ชุดใหม่ จำนวน 6 คน ที่กระทรวงยุติธรรม เสนอเข้ามาใหม่ ประกอบด้วย นายคัมภีร์ แก้วเจริญ ประธานกรรมการ ส่วนกรรมการ ป.ป.ท.นายกนก พรรณรักษา นายถวิล อินทรักษา นายวิทย์ รายนานนท์ นายสมัชชา โพธิ์ถาวร และ นายปรีชา จำปารัตน์ ซึ่งพบว่ามีรายชื่อเก่าเพียงคนเดียว คือ นายถวิล อินทรักษา นอกนั้นเป็นรายชื่อใหม่ที่เสนอแต่งตั้งเข้ามา
ปรากฏว่า ส.ส.ฝ่ายค้าน จากพรรคเพื่อไทย นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ได้คัดค้านการเสนอรายชื่อดังกล่าว โดยเห็นว่า การเสนอคนใหม่เข้ามาอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนี้ ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ในการตีกลับเรื่องดังกล่าว พร้อมยังได้มีการสอบถาม นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า ได้มีการตรวจสอบแล้วหรือไม่ว่า ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวสภาลงมติด้วยเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งหรือไม่ หากเสียงสภาไม่ครบองค์ประชุมจริง สภาก็สามารถลงมติใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนชื่อคนที่จะเป็น ป.ป.ท.หรือต้องเสนอชื่อใหม่
ขณะที่ นายจุมภฎ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย สมาชิกกลุ่มเพื่อเนวิน พรรคภูมิใจไทย ลุกขึ้นทักท้วงไม่เห็นด้วยกับการเสนอดังกล่าวโดยเสนอให้ รมว.ยุติธรรม ถอนเรื่องนี้ออกไป แล้วเสนอรายชื่อ ป.ป.ท.6 ชุดเดิม ที่ได้มีการเสนอเอาไว้ เมื่อรัฐบาลเสนอเข้ามา ทำไมเสนอคนใหม่เข้ามา อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ เพราะมติของสภาเห็นชอบยังมีผลอยู่ จึงควรจะให้สภาพิจารณาไปเลยว่า เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ถ้าไม่เห็นชอบ เรื่องนี้ก็จะได้ตกไป
ด้าน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย อดีต รมว.ยุติธรรม เห็นว่า หากรัฐบาลดึงดันจะพิจารณาเรื่องนี้อาจทำให้ ครม.ต้องพ้นทั้งคณะเพราะร่วมกันให้ความเห็นชอบเรื่องนี้
นายวิทยา บุรณะศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นเรื่องขององค์ประชุมสภาผู้แทนฯไม่ครบ หากวุฒิสภาส่งเรื่องกลับมาสภา ประธานสภาต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ไม่เช่นนั้นจะมีคำถามต่อไป แล้วจะเป็นอันตราย ควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ประธานสภาฯในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติจะสับสนไม่ได้
ขณะที่ซีกรัฐบาล นายนิพนธ์ วิศิษฐ์ยุทธศาสตร์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยืนยันว่า วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเกรงว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น วุฒิสภาสามารถมีมติให้ถอนได้ มติของวุฒิสภาจึงชอบแล้ว เรื่องนี้จึงจบ การพิจารณาเรื่องนี้ ขั้นตอนถูกต้อง ไม่น่ามีปัญหา
ทางด้าน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ชี้แจงว่า ไม่ได้มีเจตนาให้เกิดปัญหา ถ้าเกรงว่ารายชื่อใหม่จะมาจากการแทรกแซง ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องให้เอารายชื่อเดิมให้คณะกรรมการพิจารณาด้วย ดังนั้น ไม่ได้มีเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลทางการเมืองแต่อย่างใด เรื่องนี้เป็นข้อขัดข้องทางกฎหมาย และเป็นความบกพร่องร่วมกันในคณะรัฐมนตรี หากเกรงว่าจะมีผลกระทบ ดังนั้น ตนขอกลับไปดูข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป จึงขอถอนเรื่องออกไปเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง
และในที่สุดที่ที่ประชุมลงมติเห็นชอบให้ถอนเรื่องดังกล่าวออกไปจากระเบียบวาระด้วยเสียง 277 ต่อ 0 งดออกเสียง 2 และไม่ลงคะแนน 12 เสียง
อนึ่ง สำหรับรายชื่อกรรมการ ป.ป.ท.ชุดเดิม ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย นายพิศาล พิริยะสถิต ประธาน ป.ป.ท.นายไสว พราหมณี อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน นายบุญปลูก ชายเกตุ นายอุดม มั่งมีดี นายถวิล อินทรักษา และ นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ ในสมัยที่พรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รมว.ยุติธรรม แต่วุฒิสภามีมติให้ส่งคืนมติการเลือกประธาน และคณะกรรมการ ป.ป.ท.โดยเห็นว่า การประชุมลงมติเห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท.ของสภาผู้แทน มีเสียงไม่ครบองค์ประชุม เนื่องจากมีลงคะแนนเห็นชอบ 190 คน
วันนี้ (26 ส.ค.) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เนื่องจากที่ผ่านมาวุฒิสภา ได้ตีกลับ 6 รายชื่อ ป.ป.ท.โดยเห็นว่า การเสนอเรื่องดังกล่าวของสภาผู้แทนราษฎร มีความไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสภาผู้แทนราษฎรลงมติเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง วุฒิสภาจึงได้ส่งเรื่องคืนกลับไปยังรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลได้เสนอชื่อกรรมการ ป.ป.ท.เข้ามาให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่
สำหรับรายชื่อประธาน และกรรมการ ป.ป.ท.ชุดใหม่ จำนวน 6 คน ที่กระทรวงยุติธรรม เสนอเข้ามาใหม่ ประกอบด้วย นายคัมภีร์ แก้วเจริญ ประธานกรรมการ ส่วนกรรมการ ป.ป.ท.นายกนก พรรณรักษา นายถวิล อินทรักษา นายวิทย์ รายนานนท์ นายสมัชชา โพธิ์ถาวร และ นายปรีชา จำปารัตน์ ซึ่งพบว่ามีรายชื่อเก่าเพียงคนเดียว คือ นายถวิล อินทรักษา นอกนั้นเป็นรายชื่อใหม่ที่เสนอแต่งตั้งเข้ามา
ปรากฏว่า ส.ส.ฝ่ายค้าน จากพรรคเพื่อไทย นายพีระพันธ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย ได้คัดค้านการเสนอรายชื่อดังกล่าว โดยเห็นว่า การเสนอคนใหม่เข้ามาอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนี้ ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ในการตีกลับเรื่องดังกล่าว พร้อมยังได้มีการสอบถาม นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า ได้มีการตรวจสอบแล้วหรือไม่ว่า ในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวสภาลงมติด้วยเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งหรือไม่ หากเสียงสภาไม่ครบองค์ประชุมจริง สภาก็สามารถลงมติใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนชื่อคนที่จะเป็น ป.ป.ท.หรือต้องเสนอชื่อใหม่
ขณะที่ นายจุมภฎ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย สมาชิกกลุ่มเพื่อเนวิน พรรคภูมิใจไทย ลุกขึ้นทักท้วงไม่เห็นด้วยกับการเสนอดังกล่าวโดยเสนอให้ รมว.ยุติธรรม ถอนเรื่องนี้ออกไป แล้วเสนอรายชื่อ ป.ป.ท.6 ชุดเดิม ที่ได้มีการเสนอเอาไว้ เมื่อรัฐบาลเสนอเข้ามา ทำไมเสนอคนใหม่เข้ามา อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ เพราะมติของสภาเห็นชอบยังมีผลอยู่ จึงควรจะให้สภาพิจารณาไปเลยว่า เห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ ถ้าไม่เห็นชอบ เรื่องนี้ก็จะได้ตกไป
ด้าน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย อดีต รมว.ยุติธรรม เห็นว่า หากรัฐบาลดึงดันจะพิจารณาเรื่องนี้อาจทำให้ ครม.ต้องพ้นทั้งคณะเพราะร่วมกันให้ความเห็นชอบเรื่องนี้
นายวิทยา บุรณะศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นเรื่องขององค์ประชุมสภาผู้แทนฯไม่ครบ หากวุฒิสภาส่งเรื่องกลับมาสภา ประธานสภาต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไร ไม่เช่นนั้นจะมีคำถามต่อไป แล้วจะเป็นอันตราย ควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ประธานสภาฯในฐานะประมุขฝ่ายนิติบัญญัติจะสับสนไม่ได้
ขณะที่ซีกรัฐบาล นายนิพนธ์ วิศิษฐ์ยุทธศาสตร์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยืนยันว่า วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเกรงว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น วุฒิสภาสามารถมีมติให้ถอนได้ มติของวุฒิสภาจึงชอบแล้ว เรื่องนี้จึงจบ การพิจารณาเรื่องนี้ ขั้นตอนถูกต้อง ไม่น่ามีปัญหา
ทางด้าน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ชี้แจงว่า ไม่ได้มีเจตนาให้เกิดปัญหา ถ้าเกรงว่ารายชื่อใหม่จะมาจากการแทรกแซง ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องให้เอารายชื่อเดิมให้คณะกรรมการพิจารณาด้วย ดังนั้น ไม่ได้มีเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลทางการเมืองแต่อย่างใด เรื่องนี้เป็นข้อขัดข้องทางกฎหมาย และเป็นความบกพร่องร่วมกันในคณะรัฐมนตรี หากเกรงว่าจะมีผลกระทบ ดังนั้น ตนขอกลับไปดูข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป จึงขอถอนเรื่องออกไปเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมอีกครั้ง
และในที่สุดที่ที่ประชุมลงมติเห็นชอบให้ถอนเรื่องดังกล่าวออกไปจากระเบียบวาระด้วยเสียง 277 ต่อ 0 งดออกเสียง 2 และไม่ลงคะแนน 12 เสียง
อนึ่ง สำหรับรายชื่อกรรมการ ป.ป.ท.ชุดเดิม ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย นายพิศาล พิริยะสถิต ประธาน ป.ป.ท.นายไสว พราหมณี อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน นายบุญปลูก ชายเกตุ นายอุดม มั่งมีดี นายถวิล อินทรักษา และ นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ ในสมัยที่พรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาล นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รมว.ยุติธรรม แต่วุฒิสภามีมติให้ส่งคืนมติการเลือกประธาน และคณะกรรมการ ป.ป.ท.โดยเห็นว่า การประชุมลงมติเห็นชอบรายชื่อคณะกรรมการ ป.ป.ท.ของสภาผู้แทน มีเสียงไม่ครบองค์ประชุม เนื่องจากมีลงคะแนนเห็นชอบ 190 คน