พรรคเพื่อไทย ถูกเหยียบจมูกถึงรัง ผู้ช่วย รมต.-ทูตอเมริกา บุกสอนประชาธิปไตยถึงที่ทำการพรรค พร้อมแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์การเมือง เรียกร้องให้ฝ่ายค้านสมานฉันท์กับรัฐบาล โดยอาศัยหลักกฎหมายเป็นรัฐธรรมนูญเป็นจุดยืน ด้านไข่แม้วประจานตัวเองอ้างไม่ได้รับเป็นธรรมในทางคดี
วันนี้ (21 ก.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายเคิร์ต แคมป์เบล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นายอีริค จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ นายสก็อต มาร์เซียล เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกลุ่มอาเซียน พร้อมด้วยคณะ เดินทางเข้าหารือกับ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรค อาทิ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรค นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค นายพิทยา พุกกะมาน หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายต่างประเทศพรรคเพื่อไทย และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก็ได้เข้ามารร่วมสังเกตุการณ์ด้วย โดยใช้เวลาหารือกันจนกระทั่งเวลา 12.30 น.
จากนั้น นายพิทยา พร้อมด้วย นายปลอดประสพ และ นายปานปรีย์ ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายพิทยา กล่าวว่า นายเคิร์ต แคมป์เบล ได้กล่าวกับแกนนำของพรรคเพื่อไทย ว่า การมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยในฐานะประเทศพันธมิตรเก่าแก่รวมทั้งมารับฟังปัญหาของประเทศไทยและอาเซียนด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น นายเคิร์ต แคมป์เบล ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการรับฟังปัญหา ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการให้มีการพูดจากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและจริงใจ โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
“เราได้อธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยและเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เรากำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ และได้เล่าถึงความพยายามของพรรคเพื่อไทยที่จะให้มีการเจรจาหารือกันเพื่อแก้ปัญหา แต่ติดปัญหาที่ว่าขณะนี้มีการปฏิบัติอย่างไม่เที่ยงธรรม จึงทำให้มีปัญหาในการไกล่เกลี่ยต่างๆ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา ไม่ต้องการก้าวก่ายกิจการในประเทศไทยหรืออาเซียน แต่อยากจะมารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความกังวลของประเทศไทย ซึ่งเราได้อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ที่มีความไม่เป็นธรรมและเรื่องของรัฐธรรมนูญ” นายพิทยา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการสะท้อนปัญหาความไม่เป็นธรรมโดยโฟกัสไปที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยหรือไม่ นายพิทยา กล่าวว่า ในวันนี้เราพูดเฉพาะในเรื่องของหลักการโดยไม่ได้โฟกัสไปที่ใคร
ด้าน นายปลอดประสพ กล่าวว่า วันนี้เราพูดถึงสถานการณ์รวมๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยพรรคเพื่อไทยเห็นพ้องกับสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในทุกทางเพื่อประโยชน์ของประเทศไทยเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สหรัฐอเมริกาได้มีการซักถามถึงกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า วันนี้ไม่มีการพูดถึงเรื่องของตัวบุคคล ส่วนสหรัฐอเมริกาได้พูดคุยถึงการเดินทางไปพบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาได้เล่าให้ฟังว่าไปพบกับนายสุเทพ แต่ไม่ได้เล่าถึงรายละเอียดการพูดคุยต่างๆ ส่วนสหรัฐอเมริกาพูดถึงระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยด้วยหรือไม่นั้น นายปลอดประสพ กล่าวว่า บอกเพียงว่าเขาติดตามสถานการณ์ของประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 3 ส.ค.พรรคเพื่อไทย จะเชิญคณะทูตทุกประเทศมารับฟังนโยบาย ความกังวลของพรรคในเรื่องประชาธิปไตย และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยจะเปิดโอกาสให้คณะทูตและสื่อมวลชนเข้ารับฟังและสอบถามรวมทั้งเสนอแนะความคิดเห็นต่างๆ ด้วย
ขณะที่ นายปานปรีย์ กล่าวว่า การพูดคุยวันนี้ส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องหลักการปกครองที่ถูกต้องของบ้านเมือง ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการเห็นความสมานฉันท์ในประเทศไทย พูดกันให้มากขึ้นอย่างตรงไปตรงมา และยังกังวลต่อปัญหาความไม่สมานฉันท์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชีย ขณะที่เราได้สะท้อนความเห็นไปว่า อยากเห็นประชาธิปไตยและความสมานฉันท์เช่นเดียวกัน และได้อธิบายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทย และได้บอกว่าเรายังเป็นเสียงข้างมากอยู่ในขณะนี้ การเลือกตั้งเราก็ชนะ ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็มีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วและรับฟังอย่างสนใจ
นอกจากนี้ นายเคิร์ต ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรคเพื่อไทย ว่า ยินดีที่ได้มาประเทศไทย ซึ่งนางฮิลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกานั้น จะมาถึงประเทศไทยในอีก 2-3 ชั่วโมงข้างหน้า จากนั้นจะไปร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและคู่เจรจา อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาคณะของตนได้ไปพบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และมีการพูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรีด้วย โดยสหรัฐอเมริกาได้แสดงความเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับประชาชนไทย และเชื่อว่าไทยและสหรัฐอเมริกาจะมีความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต ในส่วนของสหรัฐอเมริกาเองนั้นได้ขอให้สัญญาว่าจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศไทยต่อไป
วันนี้ (21 ก.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายเคิร์ต แคมป์เบล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นายอีริค จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ นายสก็อต มาร์เซียล เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำกลุ่มอาเซียน พร้อมด้วยคณะ เดินทางเข้าหารือกับ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรค อาทิ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรค นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค นายพิทยา พุกกะมาน หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายต่างประเทศพรรคเพื่อไทย และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก็ได้เข้ามารร่วมสังเกตุการณ์ด้วย โดยใช้เวลาหารือกันจนกระทั่งเวลา 12.30 น.
จากนั้น นายพิทยา พร้อมด้วย นายปลอดประสพ และ นายปานปรีย์ ได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายพิทยา กล่าวว่า นายเคิร์ต แคมป์เบล ได้กล่าวกับแกนนำของพรรคเพื่อไทย ว่า การมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยในฐานะประเทศพันธมิตรเก่าแก่รวมทั้งมารับฟังปัญหาของประเทศไทยและอาเซียนด้วย สำหรับประเทศไทยนั้น นายเคิร์ต แคมป์เบล ต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการรับฟังปัญหา ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของประเทศไทย ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการให้มีการพูดจากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านอย่างเปิดเผยและจริงใจ โดยอาศัยกระบวนการทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ
“เราได้อธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยและเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เรากำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ และได้เล่าถึงความพยายามของพรรคเพื่อไทยที่จะให้มีการเจรจาหารือกันเพื่อแก้ปัญหา แต่ติดปัญหาที่ว่าขณะนี้มีการปฏิบัติอย่างไม่เที่ยงธรรม จึงทำให้มีปัญหาในการไกล่เกลี่ยต่างๆ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา ไม่ต้องการก้าวก่ายกิจการในประเทศไทยหรืออาเซียน แต่อยากจะมารับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และความกังวลของประเทศไทย ซึ่งเราได้อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ที่มีความไม่เป็นธรรมและเรื่องของรัฐธรรมนูญ” นายพิทยา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการสะท้อนปัญหาความไม่เป็นธรรมโดยโฟกัสไปที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยหรือไม่ นายพิทยา กล่าวว่า ในวันนี้เราพูดเฉพาะในเรื่องของหลักการโดยไม่ได้โฟกัสไปที่ใคร
ด้าน นายปลอดประสพ กล่าวว่า วันนี้เราพูดถึงสถานการณ์รวมๆ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยพรรคเพื่อไทยเห็นพ้องกับสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในทุกทางเพื่อประโยชน์ของประเทศไทยเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า สหรัฐอเมริกาได้มีการซักถามถึงกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า วันนี้ไม่มีการพูดถึงเรื่องของตัวบุคคล ส่วนสหรัฐอเมริกาได้พูดคุยถึงการเดินทางไปพบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า สหรัฐอเมริกาได้เล่าให้ฟังว่าไปพบกับนายสุเทพ แต่ไม่ได้เล่าถึงรายละเอียดการพูดคุยต่างๆ ส่วนสหรัฐอเมริกาพูดถึงระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยด้วยหรือไม่นั้น นายปลอดประสพ กล่าวว่า บอกเพียงว่าเขาติดตามสถานการณ์ของประเทศไทยอย่างใกล้ชิด
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 3 ส.ค.พรรคเพื่อไทย จะเชิญคณะทูตทุกประเทศมารับฟังนโยบาย ความกังวลของพรรคในเรื่องประชาธิปไตย และการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ โดยจะเปิดโอกาสให้คณะทูตและสื่อมวลชนเข้ารับฟังและสอบถามรวมทั้งเสนอแนะความคิดเห็นต่างๆ ด้วย
ขณะที่ นายปานปรีย์ กล่าวว่า การพูดคุยวันนี้ส่วนใหญ่จะพูดถึงเรื่องหลักการปกครองที่ถูกต้องของบ้านเมือง ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการเห็นความสมานฉันท์ในประเทศไทย พูดกันให้มากขึ้นอย่างตรงไปตรงมา และยังกังวลต่อปัญหาความไม่สมานฉันท์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชีย ขณะที่เราได้สะท้อนความเห็นไปว่า อยากเห็นประชาธิปไตยและความสมานฉันท์เช่นเดียวกัน และได้อธิบายถึงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการเมืองไทย และได้บอกว่าเรายังเป็นเสียงข้างมากอยู่ในขณะนี้ การเลือกตั้งเราก็ชนะ ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็มีข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วและรับฟังอย่างสนใจ
นอกจากนี้ นายเคิร์ต ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าหารือกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และแกนนำพรรคเพื่อไทย ว่า ยินดีที่ได้มาประเทศไทย ซึ่งนางฮิลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกานั้น จะมาถึงประเทศไทยในอีก 2-3 ชั่วโมงข้างหน้า จากนั้นจะไปร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและคู่เจรจา อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาคณะของตนได้ไปพบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และมีการพูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรีด้วย โดยสหรัฐอเมริกาได้แสดงความเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับประชาชนไทย และเชื่อว่าไทยและสหรัฐอเมริกาจะมีความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต ในส่วนของสหรัฐอเมริกาเองนั้นได้ขอให้สัญญาว่าจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศไทยต่อไป