ส.ว.แห่ถอนญัตติแก้ รธน.เพิ่มอีก 8 เหลือเพียง 123 คน จากสมาชิกสองสภาที่เหลืออยู่ 620 ทำให้การเสนอร่างแก้ไขรธน.ของส.ส.และส.ว.ตกไป ย้ำหวังให้บ้านเมืองสงบสุข ยืนยันไม่มีใบสั่ง พปช.ไม่ยอมดิ้นต่อ เสนอใหม่เฉพาะ ส.ส.
วันนี้ (30 พ.ค.) กลุ่ม ส.ว.7 คน ประกอบด้วย นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายมงคล ศรีกำแหง ส.ว.จันทบุรี นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี นายบวรศักดิ์ คณาเสน ส.ว.อำนาจเจริญ นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ นายยุทธา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร และนายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู ร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารรัฐสภาเมื่อเวลา 11.30 น.ว่า พวกเขาได้ตัดสินใจถอนชื่อออกจากญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยอ้างว่าเพื่อความสงบสุขของประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้มีรายชื่อการเสนอญัตติดังกล่าวเหลือจำนวน 124 คน เท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้มีสมาชิกรัฐสภาเหลืออยู่เพียง 620 คน จากทั้งหมด 630 คน เนื่องจากถูกใบเหลืองและใบแดงจึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ได้ร่วมกันลงชื่อเพื่อขอถอนชื่อออกรวม 7 คน แต่ยังติดต่อไม่ได้อีก 2 คน คือ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ และ นางเพชรบูรณ์ นางสมพร จูมั่น จึงยังไม่สามารถยืนยันแทนได้ แต่จากการพูดคุยกันเมื่อคืนที่ผ่านมา น่าเชื่อว่า จะถอนรายชื่อ โดยการถอนชื่อครั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อความสงบสุขของประเทศ และเพื่อขจัดเงื่อนไขการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรให้หมดไป เพราะทราบว่าหากยุติการแก้ไขก็จะยุติการชุมนุม สาเหตุที่ก่อนหน้าที่ไม่ถอนเพราะแม้จะถอน ญัตติก็ยังไม่ตก เมื่อคิดว่าถ้าพวกเราถอนก็จะทำให้ญัตติตกไป จึงได้ยื่นในวันนี้
นายประสิทธิ์ ยืนยันว่า การถอนชื่อครั้งนี้ไม่มีผู้ใหญ่ที่ไหนมาขอ เพราะพวกเราเป็นผู้ใหญ่แล้ว เพราะมีอายุมากแล้ว “เราคิดว่ามันจะตก แต่หลังจากนี้ไม่ตกเราไม่ทราบ เราต้องคำนึงถึงประชาชนก่อนจะลงชื่อยื่นญัตติ ตอนไปหาเสียงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พอเป็นแล้วทำอีกอย่างจะไปตอบประชาชนอย่างไร” นายประสิทธิ์ กล่าว
ส.ว.สุพรรณบุรี กล่าวต่อว่า ส่วนกลุ่มพันธมิตรฯจะเคลื่อนไหวอย่างไรนั้น ไม่ทราบเพราะเราได้ทำหน้ที่แล้ว หากไม่ยุติก็อยู่นอกเหนือที่เราทำได้ ให้ประชาชนดูเอาเอง ส่วนการเสนอร่างใหม่ของพรรคพลังประชาชนนั้นตอบแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ตาม ในระยะอันใกล้นนี้หากมีการยื่นร่างเข้ามาจะไม่ร่วมลงชื่ออย่างแน่นอน จะทำก็ต่อเมื่อมีประชามติให้แก้ไขเท่านั้น โดยตนจะเป็นคนแรกที่ไปลงชื่อ แต่ถ้าหากประชามติบอกไม่ให้แก้ ก็จะไม่ลงชื่อยื่นญัตติแก้ไขเช่นเดียวกัน
ขณะที่ นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด ของพรรคพลังประชาชน เตรียมที่จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง หากญัตติที่ยื่นโดย ส.ส.ครั้งนี้ต้องตกไป โดยขณะนี้มีรายชื่อ ส.ส.ครบ 96 คน ตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้สมาชิกสภาเดียวจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ล่าสุด นายทวีศักดิ์ ทิพย์บรรจง สว บุรีรัมย์ ได้มาถอนรายชื่อเพิ่มอีก1คน ทำให้การเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของส.ส.และ ส.ว.ตกไป
วันนี้ (30 พ.ค.) กลุ่ม ส.ว.7 คน ประกอบด้วย นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายมงคล ศรีกำแหง ส.ว.จันทบุรี นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ ส.ว.ราชบุรี นายบวรศักดิ์ คณาเสน ส.ว.อำนาจเจริญ นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ นายยุทธา ยุพฤทธิ์ ส.ว.ยโสธร และนายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู ร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารรัฐสภาเมื่อเวลา 11.30 น.ว่า พวกเขาได้ตัดสินใจถอนชื่อออกจากญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว โดยอ้างว่าเพื่อความสงบสุขของประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้มีรายชื่อการเสนอญัตติดังกล่าวเหลือจำนวน 124 คน เท่ากับจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้มีสมาชิกรัฐสภาเหลืออยู่เพียง 620 คน จากทั้งหมด 630 คน เนื่องจากถูกใบเหลืองและใบแดงจึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
นายประสิทธิ์ กล่าวว่า ได้ร่วมกันลงชื่อเพื่อขอถอนชื่อออกรวม 7 คน แต่ยังติดต่อไม่ได้อีก 2 คน คือ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ส.ว.บุรีรัมย์ และ นางเพชรบูรณ์ นางสมพร จูมั่น จึงยังไม่สามารถยืนยันแทนได้ แต่จากการพูดคุยกันเมื่อคืนที่ผ่านมา น่าเชื่อว่า จะถอนรายชื่อ โดยการถอนชื่อครั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อความสงบสุขของประเทศ และเพื่อขจัดเงื่อนไขการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรให้หมดไป เพราะทราบว่าหากยุติการแก้ไขก็จะยุติการชุมนุม สาเหตุที่ก่อนหน้าที่ไม่ถอนเพราะแม้จะถอน ญัตติก็ยังไม่ตก เมื่อคิดว่าถ้าพวกเราถอนก็จะทำให้ญัตติตกไป จึงได้ยื่นในวันนี้
นายประสิทธิ์ ยืนยันว่า การถอนชื่อครั้งนี้ไม่มีผู้ใหญ่ที่ไหนมาขอ เพราะพวกเราเป็นผู้ใหญ่แล้ว เพราะมีอายุมากแล้ว “เราคิดว่ามันจะตก แต่หลังจากนี้ไม่ตกเราไม่ทราบ เราต้องคำนึงถึงประชาชนก่อนจะลงชื่อยื่นญัตติ ตอนไปหาเสียงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่พอเป็นแล้วทำอีกอย่างจะไปตอบประชาชนอย่างไร” นายประสิทธิ์ กล่าว
ส.ว.สุพรรณบุรี กล่าวต่อว่า ส่วนกลุ่มพันธมิตรฯจะเคลื่อนไหวอย่างไรนั้น ไม่ทราบเพราะเราได้ทำหน้ที่แล้ว หากไม่ยุติก็อยู่นอกเหนือที่เราทำได้ ให้ประชาชนดูเอาเอง ส่วนการเสนอร่างใหม่ของพรรคพลังประชาชนนั้นตอบแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของพรรคพลังประชาชน อย่างไรก็ตาม ในระยะอันใกล้นนี้หากมีการยื่นร่างเข้ามาจะไม่ร่วมลงชื่ออย่างแน่นอน จะทำก็ต่อเมื่อมีประชามติให้แก้ไขเท่านั้น โดยตนจะเป็นคนแรกที่ไปลงชื่อ แต่ถ้าหากประชามติบอกไม่ให้แก้ ก็จะไม่ลงชื่อยื่นญัตติแก้ไขเช่นเดียวกัน
ขณะที่ นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด ของพรรคพลังประชาชน เตรียมที่จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง หากญัตติที่ยื่นโดย ส.ส.ครั้งนี้ต้องตกไป โดยขณะนี้มีรายชื่อ ส.ส.ครบ 96 คน ตามมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้สมาชิกสภาเดียวจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ล่าสุด นายทวีศักดิ์ ทิพย์บรรจง สว บุรีรัมย์ ได้มาถอนรายชื่อเพิ่มอีก1คน ทำให้การเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญของส.ส.และ ส.ว.ตกไป