สวนดุสิตโพล เผยผลสำรวจการเลือกตั้ง ปชช.ให้ความสำคัญน้อย มีเพียงร้อยละ 30 ที่คาดว่าจะออกไปใช้สิทธิ
วันนี้ (17 ก.พ.) สวนดุสิตโพลได้ออกแบบสำรวจเกี่ยวกับประชาชน “รู้ข่าวการเลือกตั้ง ส.ว.” ในวันที่ 2 มีนาคม 2551 กำหนดการเลือกตั้ง ส.ว.แต่กระแสการตื่นตัวของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังค่อนข้างเงียบและไม่คึกคักเท่าที่ควร ทั้งที่มีเวลาเหลืออีกเพียง 10 กว่าวันเท่านั้น เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วประเทศ จำนวน 3,266 คน (กทม. 1,027 คน 31.45% ต่างจังหวัด 2,239 คน 68.55%) สรุปผลได้ดังนี้
1.การรับรู้ข่าวของประชาชน ต่อ “การเลือกตั้ง ส.ว.” ในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.2551 อันดับที่ 1 พอรู้บ้าง 57.93% เพราะเห็นจากป้ายประกาศตัวผู้สมัครที่ติดอยู่ตามท้องถนน, ทราบข่าวจากทางสื่อต่างๆ ฯลฯ ขณะที่รู้อย่างดีมีเพียง 29.49% เพราะมีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ไปเลือกตั้งจากสื่อต่างๆ, เป็นการเลือกตั้งที่มีส่วนสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
2.ความตื่นตัวของประชาชนระหว่าง “การเลือกตั้ง ส.ส.” ที่ผ่านมา กับ “การเลือกตั้ง ส.ว.” อันดับที่ 1 การเลือก ส.ส.ตื่นตัวมากกว่า ส.ว.ถึง 78.79% เพราะดูจากสื่อต่างๆ ที่ให้ความสนใจและมีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง, การแข่งขันทางการเมืองมีมาก, ประชาชนอยากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และต้องการให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ฯลฯ
3.ขณะที่การเลือตั้ง ส.ว.ตื่นตัวมากกว่า ส.ส.มีเพียง 6.54% ส่วนการไปใช้สิทธิของประชาชนใน “การเลือกตั้ง ส.ว.” คาดว่า มีเพียง 38.37% เพราะ เป็นช่วงที่ตรงกับวันหยุดพอดี, สถานที่ลงคะแนนอยู่ไม่ไกลจากบ้าน, มีความสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
วันนี้ (17 ก.พ.) สวนดุสิตโพลได้ออกแบบสำรวจเกี่ยวกับประชาชน “รู้ข่าวการเลือกตั้ง ส.ว.” ในวันที่ 2 มีนาคม 2551 กำหนดการเลือกตั้ง ส.ว.แต่กระแสการตื่นตัวของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังค่อนข้างเงียบและไม่คึกคักเท่าที่ควร ทั้งที่มีเวลาเหลืออีกเพียง 10 กว่าวันเท่านั้น เพื่อสะท้อนปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว.ทั่วประเทศ จำนวน 3,266 คน (กทม. 1,027 คน 31.45% ต่างจังหวัด 2,239 คน 68.55%) สรุปผลได้ดังนี้
1.การรับรู้ข่าวของประชาชน ต่อ “การเลือกตั้ง ส.ว.” ในวันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค.2551 อันดับที่ 1 พอรู้บ้าง 57.93% เพราะเห็นจากป้ายประกาศตัวผู้สมัครที่ติดอยู่ตามท้องถนน, ทราบข่าวจากทางสื่อต่างๆ ฯลฯ ขณะที่รู้อย่างดีมีเพียง 29.49% เพราะมีการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ไปเลือกตั้งจากสื่อต่างๆ, เป็นการเลือกตั้งที่มีส่วนสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ
2.ความตื่นตัวของประชาชนระหว่าง “การเลือกตั้ง ส.ส.” ที่ผ่านมา กับ “การเลือกตั้ง ส.ว.” อันดับที่ 1 การเลือก ส.ส.ตื่นตัวมากกว่า ส.ว.ถึง 78.79% เพราะดูจากสื่อต่างๆ ที่ให้ความสนใจและมีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง, การแข่งขันทางการเมืองมีมาก, ประชาชนอยากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และต้องการให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ฯลฯ
3.ขณะที่การเลือตั้ง ส.ว.ตื่นตัวมากกว่า ส.ส.มีเพียง 6.54% ส่วนการไปใช้สิทธิของประชาชนใน “การเลือกตั้ง ส.ว.” คาดว่า มีเพียง 38.37% เพราะ เป็นช่วงที่ตรงกับวันหยุดพอดี, สถานที่ลงคะแนนอยู่ไม่ไกลจากบ้าน, มีความสำคัญในการบริหารบ้านเมือง ฯลฯ