ครม.ทิ้งทวนเห็นชอบ ทอ.ซื้อเครื่องบินรบ Jas Gripen จากสวีเดน จำนวน 12 ลำ วงเงิน 3.4 หมื่นล้าน งบฯ ผูกพัน 10 ปี ส่งผล SU-30 จากรัสเซียกินแห้วแน่นอนแล้ว หลังเกือบได้เซ็นสัญญาในยุครัฐบาลทักษิณ
เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายก่อนมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ได้อนุมัติโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Jas Gripen จากสวีเดน เพื่อทดแทนเครื่องบินแบบ 18 ก. (F-5 E) ของกองทัพอากาศจำนวน 1 ฝูง 12 ลำ จำนวน 34,000 ล้านบาท โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจัดซื้อจำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม วงเงิน 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ( 51-55 ) และในระยะที่ 2 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอะไหล่ การฝึกอบรม 15,400 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 56-60
ทั้งนี้ ครม.ได้เห็นชอบในหลักการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ดังนี้ คือเห็นชอบให้ ทอ. จัดหาเครื่องบินโดยใช้งบประมาณใน ปี 51 โดยเห็นชอบให้หลักการวงเงิน 34,000 ล้านบาท และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบฯ ไว้กับกองทัพอากาศแต่ละปี โดยเริ่มบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 51

เครื่องบินรบ Gripen Jas 39C และ 39D ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็ก
กระทรวงกลาโหมได้รายงานว่า พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ.ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.50 โดยได้อธิบายถึงความจำเป็นและเหตุผลในการจัดหา โดยอ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดชายแดนไทย มีการจัดหาเครื่องบิน SU-30 MKM จากรัสเซีย และจะมีการส่งมอบภายในปี 2551 นี้
“หากประเทศเพื่อนบ้านเรา ที่อยู่ติดชายแดนภาคใต้คือประเทศมาเลเซีย จัดหาเครื่องบิน SU เข้าประจำการ ก็จะทำให้เขามีเครื่องบินที่มีขีดความสามารถมากกว่า ทอ.ของไทย เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล เราจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินในระดับเดียวกันเข้าประจำการ ซึ่ง เครื่องบินรุ่นใหม่ที่เราจะซื้อถือเป็นเครื่องบินในเจนเนเรชั่นที่ 4.5 ในขณะที่ F-16 เป็นเครื่องเจนเนอเรชั่นที่ 4 ส่วน F-5E ถือเป็นเครื่องในเจนเนเรชั่นที่ 3 ” แหล่งข่าวกล่าว
ในการประชุม ครม. ครั้งนี้ ตัวแทนจาก ทอ.ได้นำวีดีโอโปรเจกเตอร์ นำเสนอรายละเอียดของโครงการ และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของรุ่นต่างๆ ให้ รัฐมนตรีได้ทำความเข้าใจ ซึ่ง ครม.ได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ค่อนข้างสูง และให้ ทอ.ไปบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวม แต่อย่างไรก็ตาม ครม.ก็อนุมัติโครงการดังกล่าวในที่สุด และเห็นชอบในวิธีปฏิบัติให้ ทอ.ตั้งงบรายจ่ายในโครงการดังกล่าวในปี 51 ในอัตรา 10 % ของโครงการในระยะที่ 1
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมได้มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่ไม่แถลงรายละเอียดและดึงเอกสารของโครงการออกไป และ ขอให้รอการแถลงของกองทัพอากาศในวันที่ 17 ต.ค.นี้
กองทัพอากาศตัดสินใจพิจารณาเลือกเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ Gripen JAS - 39 c/d ของประเทศสวีเดน จำนวน 1 ฝูง 12 ลำ โดยการตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดเครื่องบินในแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานของ ทอ.ไทยมีเสนาธิการทหารอากาศเป็นประธาน โดยปัจจุบันคือ พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ โดยพิจารณารายละเอียดทั้ง F- 16 ของสหรัฐฯ Su-30 ของรัสเซีย Rafael ของฝรั่งเศส และ Gripen ของสวีเดน โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของเครื่องบินทุกรุ่นให้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ.เป็นผู้อนุมัติ
ในการรายงานการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละรุ่นปรากฏว่า Su -30 ที่เดิมในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีแนวโน้มจะอนุมัติจัดซื้อจากรัสเซีย แต่ปรากฎว่ามีการทักท้วงในเรื่องของความสิ้นเปลื้อง รวมถึงสายการผลิตอะไหล่ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต ในขณะที่ F-16 ยังติดปัญหาในเรื่องของข้อตกลงในเรื่องการช่วยเหลือทางทหารกับรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร ซึ่งกฎหมายสหรัฐฯ จะชะลอการอนุญาตให้ซื้อออกไป ในขณะที่สวีเดนได้พิจารณาเสนอของแถมหลายรายการที่คุ้มค่า โดยเฉพาะเรดาร์ตรวจจับ EriEyes จำนวน 2 เครื่อง อุปกรณ์เครื่องช่วยฝึก ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนการยิง และ อบรมการฝึกเจ้าหน้าที่

Gripen Jas 39D ของกองทัพอากาศแอฟริกาใต้
ทั้งนี้ เครื่องบินรุ่นดังกล่าวมีเข้าประจำการในประเทศ แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเช็กแล้ว และประเทศบรูไน และ โรมาเนีย กำลังสนใจที่จะจัดหาเข้าประจำการเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ พล.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ จะแถลงข่าวในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ถึงเหตุผลในการพิจารณาเครื่องบินรุ่นดังกล่าว โดย ครม.ได้อนุมัติงบประมาณผูกพัน 5 ปี ในการประชุมวันสุดท้ายก่อนที่จะเป็นรัฐบาลรักษาการ เนื่องจาก ในการประชุม ครม.นัดนี้ได้มีการอนุมัติพระระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งด้วย
ในเว็บไซต์ของกองบิน F7 Skaraborg Wing ของสวีเดน เคยนำข่าวสารการที่กองทัพอากาศไทยนำโดย พล.อ.อ.ชลิต ได้เข้าไปเยี่ยมชมเครื่องบินรุ่นดังกล่าว เมื่อเดือน พฤษภาคม 2006 โดยมี พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงษ์ ซึ่งครั้งนั้นดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศ ไปลองทดสอบเครื่องบินด้วย
ยุบ บ.รวมค้าปลีกฯ พร้อมแบกภาระหนี้ 11 ล้าน
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ยังมีมติให้ยุบเลิกบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง โดยนายโชติ สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบให้ยุบเลิกบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เนื่องจากบริษัทนี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2545 ในรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่มีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของร้านโชวห่วยที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง จึงได้ตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาเพื่อดูแลในการควบคุมความต้องการ ปริมาณ เพื่อส่งต่อไปยังธุรกิจรายเล็ก (โชวห่วย) โดยใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยในการกระจายความต้องการ และคำสั่งซื้อสินค้าไปยังธุรกิจรายเล็ก แต่เนื่องจากที่ผ่านมายังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการขาดทุน จนถึงปัจจุบันขาดทุนประมาณ 400 กว่าล้านบาท ครม.เห็นว่า หากยังดำเนินการต่อไปก็จะขาดทุนมากขึ้น และไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือธุรกิจรายเล็กได้ จึงมีมติให้ยกเลิกบริษัท และรับภาระหนี้สินที่ยังค้างอยู่จำนวน 11 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายก่อนมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ได้อนุมัติโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Jas Gripen จากสวีเดน เพื่อทดแทนเครื่องบินแบบ 18 ก. (F-5 E) ของกองทัพอากาศจำนวน 1 ฝูง 12 ลำ จำนวน 34,000 ล้านบาท โดยแบ่งโครงการออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจัดซื้อจำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม วงเงิน 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ( 51-55 ) และในระยะที่ 2 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอะไหล่ การฝึกอบรม 15,400 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณปี 56-60
ทั้งนี้ ครม.ได้เห็นชอบในหลักการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ ดังนี้ คือเห็นชอบให้ ทอ. จัดหาเครื่องบินโดยใช้งบประมาณใน ปี 51 โดยเห็นชอบให้หลักการวงเงิน 34,000 ล้านบาท และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบฯ ไว้กับกองทัพอากาศแต่ละปี โดยเริ่มบรรจุไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 51
เครื่องบินรบ Gripen Jas 39C และ 39D ของกองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็ก
กระทรวงกลาโหมได้รายงานว่า พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ.ได้เข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.50 โดยได้อธิบายถึงความจำเป็นและเหตุผลในการจัดหา โดยอ้างว่าประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ติดชายแดนไทย มีการจัดหาเครื่องบิน SU-30 MKM จากรัสเซีย และจะมีการส่งมอบภายในปี 2551 นี้
“หากประเทศเพื่อนบ้านเรา ที่อยู่ติดชายแดนภาคใต้คือประเทศมาเลเซีย จัดหาเครื่องบิน SU เข้าประจำการ ก็จะทำให้เขามีเครื่องบินที่มีขีดความสามารถมากกว่า ทอ.ของไทย เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล เราจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินในระดับเดียวกันเข้าประจำการ ซึ่ง เครื่องบินรุ่นใหม่ที่เราจะซื้อถือเป็นเครื่องบินในเจนเนเรชั่นที่ 4.5 ในขณะที่ F-16 เป็นเครื่องเจนเนอเรชั่นที่ 4 ส่วน F-5E ถือเป็นเครื่องในเจนเนเรชั่นที่ 3 ” แหล่งข่าวกล่าว
ในการประชุม ครม. ครั้งนี้ ตัวแทนจาก ทอ.ได้นำวีดีโอโปรเจกเตอร์ นำเสนอรายละเอียดของโครงการ และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของรุ่นต่างๆ ให้ รัฐมนตรีได้ทำความเข้าใจ ซึ่ง ครม.ได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ค่อนข้างสูง และให้ ทอ.ไปบริหารจัดการในเรื่องดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวม แต่อย่างไรก็ตาม ครม.ก็อนุมัติโครงการดังกล่าวในที่สุด และเห็นชอบในวิธีปฏิบัติให้ ทอ.ตั้งงบรายจ่ายในโครงการดังกล่าวในปี 51 ในอัตรา 10 % ของโครงการในระยะที่ 1
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมได้มีการกำชับให้เจ้าหน้าที่ไม่แถลงรายละเอียดและดึงเอกสารของโครงการออกไป และ ขอให้รอการแถลงของกองทัพอากาศในวันที่ 17 ต.ค.นี้
กองทัพอากาศตัดสินใจพิจารณาเลือกเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ Gripen JAS - 39 c/d ของประเทศสวีเดน จำนวน 1 ฝูง 12 ลำ โดยการตั้งคณะกรรมการศึกษารายละเอียดเครื่องบินในแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานของ ทอ.ไทยมีเสนาธิการทหารอากาศเป็นประธาน โดยปัจจุบันคือ พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ โดยพิจารณารายละเอียดทั้ง F- 16 ของสหรัฐฯ Su-30 ของรัสเซีย Rafael ของฝรั่งเศส และ Gripen ของสวีเดน โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของเครื่องบินทุกรุ่นให้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผบ.ทอ.เป็นผู้อนุมัติ
ในการรายงานการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละรุ่นปรากฏว่า Su -30 ที่เดิมในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีแนวโน้มจะอนุมัติจัดซื้อจากรัสเซีย แต่ปรากฎว่ามีการทักท้วงในเรื่องของความสิ้นเปลื้อง รวมถึงสายการผลิตอะไหล่ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต ในขณะที่ F-16 ยังติดปัญหาในเรื่องของข้อตกลงในเรื่องการช่วยเหลือทางทหารกับรัฐบาลที่มาจากคณะรัฐประหาร ซึ่งกฎหมายสหรัฐฯ จะชะลอการอนุญาตให้ซื้อออกไป ในขณะที่สวีเดนได้พิจารณาเสนอของแถมหลายรายการที่คุ้มค่า โดยเฉพาะเรดาร์ตรวจจับ EriEyes จำนวน 2 เครื่อง อุปกรณ์เครื่องช่วยฝึก ระบบอาวุธ อุปกรณ์สนับสนุนการยิง และ อบรมการฝึกเจ้าหน้าที่
Gripen Jas 39D ของกองทัพอากาศแอฟริกาใต้
ทั้งนี้ เครื่องบินรุ่นดังกล่าวมีเข้าประจำการในประเทศ แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเช็กแล้ว และประเทศบรูไน และ โรมาเนีย กำลังสนใจที่จะจัดหาเข้าประจำการเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 17 ต.ค.นี้ พล.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ จะแถลงข่าวในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง ถึงเหตุผลในการพิจารณาเครื่องบินรุ่นดังกล่าว โดย ครม.ได้อนุมัติงบประมาณผูกพัน 5 ปี ในการประชุมวันสุดท้ายก่อนที่จะเป็นรัฐบาลรักษาการ เนื่องจาก ในการประชุม ครม.นัดนี้ได้มีการอนุมัติพระระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งด้วย
ในเว็บไซต์ของกองบิน F7 Skaraborg Wing ของสวีเดน เคยนำข่าวสารการที่กองทัพอากาศไทยนำโดย พล.อ.อ.ชลิต ได้เข้าไปเยี่ยมชมเครื่องบินรุ่นดังกล่าว เมื่อเดือน พฤษภาคม 2006 โดยมี พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงษ์ ซึ่งครั้งนั้นดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารอากาศ ไปลองทดสอบเครื่องบินด้วย
ยุบ บ.รวมค้าปลีกฯ พร้อมแบกภาระหนี้ 11 ล้าน
นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม.ยังมีมติให้ยุบเลิกบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง โดยนายโชติ สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ครม.เห็นชอบให้ยุบเลิกบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง เนื่องจากบริษัทนี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2545 ในรัฐบาลชุดที่แล้ว ที่มีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของร้านโชวห่วยที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง จึงได้ตั้งบริษัทนี้ขึ้นมาเพื่อดูแลในการควบคุมความต้องการ ปริมาณ เพื่อส่งต่อไปยังธุรกิจรายเล็ก (โชวห่วย) โดยใช้ระบบไอทีเข้ามาช่วยในการกระจายความต้องการ และคำสั่งซื้อสินค้าไปยังธุรกิจรายเล็ก แต่เนื่องจากที่ผ่านมายังทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการขาดทุน จนถึงปัจจุบันขาดทุนประมาณ 400 กว่าล้านบาท ครม.เห็นว่า หากยังดำเนินการต่อไปก็จะขาดทุนมากขึ้น และไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือธุรกิจรายเล็กได้ จึงมีมติให้ยกเลิกบริษัท และรับภาระหนี้สินที่ยังค้างอยู่จำนวน 11 ล้านบาท