จากwww.manager.co.th
ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น.นายวีระวัฒน์ พรหมคง ผู้สมัครจากพรรคประชากรไทย เดินทางโดยรถตู้มาถึงทางเข้า กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังมีเสียงโห่ฮาไล่ตลอด กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 5 คน ประชิดตัว นายวีระวัฒน์ และคุกเข่ากราบขอร้องไม่ให้นายวีระวัฒน์สมัคร พยาน กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำตัวนายวีระวัฒน์ฝ่าฝูงชนเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ หลังจากนั้น เวลาประมาณ 16.00 น.ผู้สมัครจากคนขอปลดหนี้ จึงได้เดินทางโดยรถตู้มาถึงหน้าประตูทางเข้า กลุ่มผู้ชุมนุมไปที่ข้างรถตู้แล้วประชิดตัวขวางไม่ให้เข้าไปสมัครอีก มีการยื้อยุดฉุดกระชาก เป็นเหตุให้นางสาวปัทมาเซเกือบหกล้ม พยานเข้าไปรับประคองไว้ทัน พร้อมกับมีการขวดน้ำพลาสติก และโห่ไล่เสียงดัง พยานสังเกตเห็นว่า นางสาวปัทมา ตกใจมาก พยานจึงเข้าไปแสดงตัวเป็นนายอำเภอ ขอให้ลงมาโดยไม่ต้องกลัว ผู้ขับรถตู้ขับออกไปทันที นางสาวปัทมา แจ้งพยานว่า เอกสารบางอย่างยังอยู่ในรถ ไม่สามารถเอาออกมาได้ แล้วนางสาวปัทมาก็เดินเข้าไปทำการสมัคร จนกระทั่งเวลาประมาณ 16.30 น.มีการปิดรับสมัคร กลุ่มผู้สมัครชุมนุมทยอยกันกลับโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ กับมี นายสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้การไว้ตามเอกสารหมาย ล 110 ทำนองเดียวกันว่า เมื่อกลุ่มผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้เดินทางโดยรถตู้มาถึงหน้าประตูทางเข้า ก็มีเสียงโห่ไล่ คำกล่าวหยาบฟังได้ว่า ไอ้เหี้ย ไอ้เหี้ย ไอ้เหี้ย เมื่อผู้สมัครลงจากรถ เกิดการชุมนุมเข้าประชิดตัวผู้สมัคร มีการยื้อแย่ง ผลักดันกันจนผู้สมัครต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ เห็นว่า พยานดังกล่าวเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า การชุมนุมของกลุ่มคัดค้านจากผู้สมัครพรรคเล็ก เมื่อมีผู้สมัครจากพรรคเล็กมา ก็มีการโห่ไล่ โดยเฉพาะนายนฤนารถ นายอำเภอเมืองสงขลา ผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล และรักษาความสงบเรียบร้อย ในการเลือกตั้งและการชุมนุมต่างๆ และนายสมพร ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่และถือว่าไม่ได้มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด
จากwww.manager.co.th
จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า พยานทุกคนดังกล่าวได้ให้การไว้ตามความเป็นจริง ฟังได้ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวนอกจากจะใช้วิธีโห่ไล่ หรือก้มกราบขอร้องไม่ให้ผู้สมัครจากพรรคเล็กสมัครแล้ว บางรายก็ยังได้ใช้วิธีการอื่น คือ การกล่าววาจาหยาบคาย ขว้างขวดน้ำดื่มพลาสติก เข้าประชิดตัวผู้สมัคร และรายของนางสาวปัทมาก็ยังมีการขวางทาง ยื้อยุดกระชาก เป็นเหตุให้นางสาวปัทมาเซ เกือบล้ม พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ ทำให้ผู้สมัครดังกล่าวตกใจกลัว ดังที่นายนฤนารถได้ให้การไว้ แม้แต่รถตู้ที่มาส่งผู้สมัครก็ยังต้องรีบกลับออกไปทันที จนนางสาวปัทมาไม่สามารถเอาเอกสารบางส่วนที่อยู่ในรถออกมาได้ ซึ่งหากเป็นการสมัครรับเลือกตั้งในเหตุการณ์ปกตินางสาวปัทมาย่อมไปเอาเอกสารที่อยู่ในรถได้ทัน ส่วนที่ว่าผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้มาสมัครเมื่อตอนเกือบจะหมดเวลานั้น นายชูชาติ หัวหน้าพรรคคนขอปลดหนี้ อ้างว่า พยานคิดว่าตอนเย็นจะเลิกชุมนุมกันแล้วแต่ยังมีการชุมนุมกันอยู่ ซึ่งนับเป็นเหตุผลสมควรที่ต้องไปสมัครในเวลาเช่นนั้น แม้ผู้สมัครจะสามารถเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ แต่ต้องได้รับการดูแลอำนวยความสะดวกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาสาสมัคร รวมทั้งนายอำเภอ จะต้องเป็นผู้พาผู้สมัครเข้าไป และเมื่อเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ก็มีเหตุที่ไม่กล้าออกมา โดยที่ความหมายของคำว่าขัดขวาง
จากwww.manager.co.th
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า ทำให้ไม่สะดวก ทำให้ติดขัด ดังนั้น พฤติการเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ที่ผู้ร้องที่ 1 อ้างพยานหลายปากมาเบิกความทำนองว่า ไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง เพียงแต่เป็นกราบไหว้ ขอร้องไม่ให้ผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งผู้ชุมนุมไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาใดๆ นั้นไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานได้ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไป คือ กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของร้องที่ 1 ร่วมกันขัดขวางการสมัครดังกล่าวหรือไม่ โดยคำร้องของผู้ร้อง กล่าวหาว่า นายถาวร รองเลขาธิการและกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายวินัย นายวิรัตน์ นายเจือ และนายประพร ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกับนายชาลี คนสนิทของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายคณิต รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาลูกช้าง นายนิสิต สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกันขัดขวางการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ เห็นว่า พยานบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.อ.พิเศษ สุธรรม บรรณซุง ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา นายไพฑูรย์ เจ๊ะแอ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา นายณรงค์ สุขจันทร์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา ตามคำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นและเบิกความว่า ไม่มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการชุมนุมของประชาชน เมื่อวันที่ 8 และวันที่ 9 เมษายน 2549 รวมทั้งพยานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณที่ชุมนุม คือ พ.ต.อ.พงษ์ศักดิ์ พ.ต.ต.ถาวร นายนฤนารถ และพยานที่เข้าร่วมชุมนุมซึ่งรู้จักอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คือ นายธวัชชัย หล่ำเบนซะ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิว ประจำจังหวัดสงขลา ที่ไปทำข่าวในในวันเกิดเหตุ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา แพทย์ประจำโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่างให้การทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น และเบิกความว่า ไม่มีกรรมการบริหารพรรค หรืออดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าร่วมชุมนุมเช่นกัน
จากwww.manager.co.th
คงมีแต่ นายวิรัตน์ ซึ่งให้การไว้ตามเอกสารหมาย ล 118 และเบิกความว่า พยานเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทยแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 3 จ.สงขลา เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549 หลังจากที่พยานสมัครเสร็จแล้ว พยานได้ออกไปรับประทานอาหารเที่ยง จากนั้นได้ขับรถยนต์กลับมาสังเกตการณ์ที่หน้าสถานที่รับสมัครเลือกตั้งอีก เห็นผูชุมนุมเพิ่มขึ้นประมาณ 200 - 300 คน และเห็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 4 คน ได้แก่ นายวิรัตน์ นายวินัย นายเจือ ส่วนอีก 1 คน พยานจำไม่ได้ เดินเข้าไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่จะอยู่นานเท่าใดพยานไม่ทราบ กับมี นายวันชัย ปริญญาศิริ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตที่ 1 จ.สงขลา ได้ให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ล 131 อันเป็นการให้การเพิ่มเติมจากที่เคยให้การไว้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ตามเอกสารหมาย ล 113 ว่าด้วยวันที่ 8 เมษายน 2549 เวลา 11.00 น. พยานสังเกตอยู่ในบริเวณใกล้ที่ชุมนุมห่างประมาณ 50 เมตร พยานเห็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คือ นายวินัย นายวิรัตน์ นายเจือ และนายประพร เข้าไปอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ไปพบปะพูดคุยและให้กำลังใจผู้ชุมนุม เห็นว่าพยานทั้ง 2 ปาก เคยเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทยแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยสมัครแข่งกับอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งถูกอ้างว่าอยู่ในที่ชุมนุม จึงถือได้ว่าพยานทั้ง 2 มีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้
จากwww.manager.co.th
อีกทั้งพยานทั้ง 2 ก็ได้ให้การขัดกันในเรื่องเวลาที่พบเห็นอดีตสมาชิกสภาผูแทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวคือ นายบุญทวีศักดิ์ ให้การว่า พบเห็นหลังจากที่พยานไปรับประทานอาหารเที่ยงกลับมาแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเวลาช้วงบ่ายของวันที่ 8 เมษายน 2549 ขณะที่นายวันชัย ให้การว่าพบเห็นในเวลา 11.00 น.ของวันดังกล่าว โดยเฉพาะการให้การของนายวันชัย ก็มีข้อน่าสงสัยว่าเหตุใดนายวันชัย จึงไม่ให้การว่า เห็นบุคคลดังกล่าวตั้งแต่ให้การครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2549 แต่เพิ่งมาให้การเพิ่มเติมภายหลัง แม้ว่าในเรื่องนี้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จะบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็นและเบิกความรับว่า ได้มาในที่เกิดเหตุจริง แต่ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าไปร่วมชุมนุมด้วย โดย นายวิรัตน์ นายเจือ นายวินัย และนายประพร ไปยังที่ทำการการเลือกตั้งประจำ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2549 เวลาประมาณ 10.30 น. เพื่อพบนายไพฑูรย์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำ จ.สงขลา และยื่นหนังสือขอให้คณะกรรมการเลือกตั้งไม่ประกาศรับผลเลือกตั้งของสมาชิกพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้งที่ 5 จ.สงขลา ซึ่งเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เนื่องจากมีหลักฐานการซื้อเสียงตามสำเนาหนังสือร้องเรียนเอกสารหมาย ส 207 และเมื่อภาพถ่ายการยื่นหนังสือคัดค้านการเลือกตั้ง หมาย ข 208 โดยบุคคลทั้ง 4 อยู่บริเวณสถานที่รับสมัครประมาณ 10 - 20 นาที ส่วนตามที่นายบุญทวีศักดิ์ และนายวันชัย อ้างว่า บุคคลทั้ง 4 เข้าไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น บุคคลทั้ง 4 เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่วิสัยของนักการเมืองย่อมจะทำเพื่อรักษาคะแนนเสียงของตนไว้
จากwww.manager.co.th
ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ หรือบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่า บุคคลทั้ง 4 ร่วมกับ นายถาวร เข้าร่วมในการชุมนุมหรือสนับสนุนการชุมนุมครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ น.อ.ณัฐนันท์ ทองนะ ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีนี้ ก็ได้ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น และเบิกความประกอบ ว่า จากการสอบสวนไม่ปรากฏหลักฐานว่า กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้ระดมประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมชุมนุมประท้วงแต่อย่างใด ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า กรรมการบริหารพรรค และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าไปร่วมขัดขวางการรับสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่พยานของคู่กรณีให้การบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นและเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า การชุมนุมของประชาชนในวันที่ 8 และ 9 เมษายน 2549 เป็นการชุมนุมของกลุ่มประชาชนคนรักสงขลา โดยการนำของนายชาลี ที่ประกาศโฆษณาทางวิทยุชุมชน คลื่น 97 เมกะเฮิร์ตซ ให้ประชาชนมารวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้า และด้านข้างอาคารกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา สถานที่รับสมัคร เพื่อต่อต้านผู้สมัครจากพรรคเล็กที่จะสมัครแข่งกับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย อันจะทำให้ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยไม่ต้องใช้เกณฑ์คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งตามคำร้องของผู้ร้อง ระบุว่า
จากwww.manager.co.th
นายชาลี เป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ รองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คดีจึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า นายชาลี เป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ และได้กระทำไปโดยนายไตรรงค์มีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนหรือไม่ เห็นว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างถึงความเห็นของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า นายชาลีซึ่งตามข่าวหนังสือพิมพ์ระบุว่า เป็นลูกน้องคนสำคัญของนายไตรรงค์ ขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคเล็กที่จังหวัดสงขลา เพื่อมิให้ลงสมัครแข่งขันกับผู้สมัครของพรรคไทยรักไทย กับมีนายนิติธรรมวัฒน์ พยานผู้ร้อง ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรคคนขอปลดหนี้ เบิกความว่า นายชาลีเป็นนักจัดรายการวิทยุอยู่ที่หาดใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดีของบุคคลทั่วไปในเขตหาดใหญ่ ว่า นายชาลีเป็นเลขาของนายไตรรงค์ พยานเคยไปที่สถานีวิทยุที่นายชาลีจัดรายการอยู่ โดยไปที่ห้องของนายชาลี เห็นรูปถ่ายขนาดใหญ่ของนายไตรรงค์อยู่ที่ห้องดังกล่าว ขณะที่นายไตรรงค์ พยานผู้ถูกร้องที่ 1 ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น และเบิกความปฏิเสธว่า พยานรู้จักนายชาลีในนามของบุคคลซึ่งเป็นลูกน้องของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่เคยทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายอารักขาพยาน ในสมัยที่พยานดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2542 เท่านั้น แต่นายชาลีมีพฤติการณ์บางอย่างที่ชอบทำตัวให้เป็นข่าว และอาจเกิดความเข้าใจผิดต่อพยานได้ พยานจึงไม่ได้ติดต่อกับนายชาลีตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน พยานไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการชุมนุมของประชาชนที่จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 และ 9 เมษาน 2549 จำคำพยานดังกล่าว ข้อเท็จจริงเพียงที่ปรากฏตามข่าวหนังสือพิมพ์ก็ดี หรือที่นายนิติธรรมวัฒน์ อ้างว่า บุคคลทั่วไปในเขตอำเภอหาดใหญ่ รู้จักกันดีว่า นายชาลีเป็นเลขาของนายไตรรงค์ ก็ดี หรือการมีรูปถ่ายของนายไตรรงค์อยู่ในห้องนายชาลี ก็ดี เพียงเท่านี่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า นายไตรรงค์จะมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของนายชาลีในเรื่องการชุมนุมนั้นด้วย อีกทั้งไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่จะแสดงว่า นายชาลีเป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ หรือนายไตรรงค์เคยแต่งตั้งให้นายชาลีมีตำแหน่งหน้าที่ใดที่เกี่ยวกับตน ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่า นายชาลีเป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ และนายไตรรงค์มีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกระทำของนายชาลี จากเหตุผลดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ขัดขวางการรับสมัครการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ บริเวณสถานที่รับสมัครที่จังหวัดสงขลา
จากwww.manager.co.th
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ขัดขวางการรับฟังรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้บริเวณสถานที่รับสมัครที่จังหวัดสงขลา
ประเด็นข้อที่ 5 ที่ว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จให้แก่นางสาวนิภา จันโพธิ์ นางรัชนู ต่างสี และนายสุวิทย์ อบอุ่น ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคของผู้ถูกร้องที่ 2 ติดต่อกันไม่ครบ 90 วัน นับไปเป็นหลักฐานประกอบการรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือไม่ ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 โดยนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จให้กับนางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเลือกตั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จังหวัดตรัง โดยรู้อยู่แล้วว่าบุคคลทั้ง 3 เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่ครบ 90 วัน ซึ่งในข้อนี้นางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ ต่างได้ให้การต่อคณะอนุกรรมการสิบสวนสวนข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.75 ล.76 และ ล.54 ว่า ผู้สมัครทั้ง 3 เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 และทีมงานที่รับสมัครให้ผู้สมัครทั้ง 3 กรอกใบสมัคร และลงวันที่รับสมัครเป็นวันที่ 5 ตุลาคม 2549 วันที่ 10 ตุลาคม 2548 และ 15 ตุลาคม 2548 ตามลำดับ
จากwww.manager.co.th
หลังจากนั้นพยานได้รับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองแบบ ส.ส.18/ข.2 ตามเอกสารหมาย ล.72 แผ่นที่ 4 และที่ 5 และเอกสารหมาย ล.แผ่นที่ 62 แผ่นที่ 6 แล้วไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเลือกตั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 นอกจากนี้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัดตรัง ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด่วนที่สุด ที่ ลต.0401/ว 346 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ล.60 แผ่นที่ 7 และ 8 ก็ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้สมัครทั้ง 3 แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงปรากฏว่านางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 ว่า เป็นสมาชิกพรรคตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ตามเอกสารหมาย ล.58 ล.60 และ ล.62 โดยนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ผู้สมัครทั้ง 3 ทำตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม 2548 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้ถูกร้องที่ 2 กำหนดแล้วพยานในฐานะหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จึงได้อนุมัติให้เป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 บันทึกยืนยันถ้อยคำข้อเท็จจริง หรือความเห็นของนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ จึงขัดต่อคำให้การของผู้สัมครทั้ง 3 การที่ผู้สมัครทั้ง 3 ให้การในเรื่องที่เป้นผลร้ายต่อตนเองเช่นนี้เชื่อได้ว่าเป็นการให้การตามความเป็นจริง ประกอบกับตามแถบบันทึกการแถลงข่าว และสำเนาคำถอดเทปคำให่สัมภาษณ์ของนายประมวล ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ถ.99 มีการระบุว่าผู้ถูกร้องที่ 2 มอบหมายให้นายประมวล เป็นผู้ติดต่อหาสมาชิกทางภาคใต้ก็เป็นข้อพิรุธ เพราะว่าหากบุคคลทั้ง 3 เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อยู่ก่อนแล้วตามที่นางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ผู้ถูกร้องที่ 2 ต้องมีประวสัติและข้อมูลส่วนบุคคลทั้ง 3 อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของที่อยู่ของบุคคลทั้ง 3 ตามที่ผู้ถูกร้องที่ 2 จะสามารถติดต่อให้ได้โดยตรง และไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดเลยที่ผู้ถูกร้องที่ 2 จะต้องให้บุคคลอื่นไปสืบหา ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่านางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 โดยนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคให้แก่ผู้สมัครทั้ง 3 เพื่อนำไปสมัครรับเลือกเป็น ส.ส.ดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้สมัครทั้ง 3 เป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 นำถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่ถึง 90 วัน จึงเป็นการออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จตามที่ผู้ร้องกล่าวหา และเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 20 วรรค 2 บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จึงถือว่าการออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จดังกล่าวเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ด้วย
จากwww.manager.co.th
ประเด็นข้อที่ 6 ที่ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุอันอาจให้มีคำสั่งยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 ตามคำร้องหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 กระทำการตามข้อกล่าวหาของผู้ร้องที่นำสืบมาเป็นเหตุขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จให้แก่นางสาวนิภา นางรัชนู นายสุวิทย์ ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 ติดต่อกันไม่ถึง 90 วัน เพื่อให้นำไปเป็นพยานหลักฐานประกอบการรับสมัครเลือกตั้งดังกล่าว เป็นเหตุอันมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิจารณาระบบการเมืองแบบรัฐสภาของประเทศไทย ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่ได้รับความมอบหมายภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพรรคการเมืองมีบทบาทในการดำเนินการทางการเมือง นับตั้งแต่การเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งในการใช้อำนาจปกครองประเทศ ทั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร พรรคการเมืองจึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาชนต่างมีความคาดหวังต่อพรรคการเมืองในความรับผิดชอบของการแก้ปัญหาสำคัญ และการพัฒนาประเทศ การคัดกรองบุคคลที่จะเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจบริหาร อันเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของพรรคการเมือง การที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ออกหนังสือรับรองความเป็นสมาชิกอันเป็นเท็จให้นางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ เป็นการจงใจบิดเบือนภารกิจขั้นพื้นฐาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ไม่ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ สำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อพรรคการเมืองละเลยต่อภารกิจพื้นฐาน จึงยากที่จะมีความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ และพัฒนาประเทศได้ การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ยังไม่เป็นการช่วยส่งเสริมและธำรงค์รักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งที่การปฏิบัติภารกิจของพรรคการเมืองที่ได้รับการอุดหนุนด้วยเงินกองทุนที่ตั้งมาด้วยงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งได้มาจากภาษีของประชาชน
จากwww.manager.co.th
ด้วยเหตุที่วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จึงเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(2) และ(3) มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า มีการออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จ ทั้งที่หัวหน้าพรรครู้อยู่แล้วว่า บุคคลที่ตนออกหนังสือรับรอง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค โดยมีการจ่ายเงินให้กับบุคคลที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งสมัครรับเลือกตั้ง คนละ 30,000 บาท และนายสุวิทย์เบิกความว่า
จากwww.manager.co.th
ในวันที่ 7 มีนาคม 2549 นอกจาก นายสุวิทย์ น.ส.นิภา และ นางรัชนู แล้ว ยังมีบุคคลอื่นไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อีกประมาณ 15 - 20 คน นอกจากนี้ น.ส.อิศรา หรือ พรณารินทร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ขณะเกิดเหตุ ได้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่า พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 37 คน โดยเป็นผู้สมัครในภาคใต้ 31 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 คน และภาคกลาง 3 คน ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บุคคลที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ ขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในลักษณะเดียวกันเกือบทั้งหมด การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ขาดจิตสำนึกที่มีต่อประชาชน ทั้งไม่คำนึงถึงความเสียหาย หรือผลกระทบที่เกิดแก่ประเทศชาติ จึงสมควรถูกยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ตามคำร้อง
จากwww.manager.co.th
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปคือ จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ตามคำร้องหรือไม่ เห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งยุบพรรคประกาศฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 แต่การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคตามพระราชบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2549 เกิดขึ้นในช่วงภายหลังพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 มีผลใช้บังคับ คือ ในวันที่ 7 และ 8 มีนาคม 2549 จึงมีปัญหาว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 เป็นกฎหมายที่มีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้บังคับหรือไม่
จากwww.manager.co.th
หลักการห้ามออกกฎหมายมีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้น มีที่มาจากหลักการที่ว่า บุคคลจะไม่ต้องรับโทษหากไม่มีความผิด และบุคคลไม่มีความผิดหากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้นแต่หลักการดังกล่าวใช้บังคับกับการกระทำอันเป็นความผิดอาญาเท่านั้น ดังที่ปรากฏ ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้ที่กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492 เป็นต้นมา ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 นั้น แม้เป็นบทบัญญัติที่มีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 ที่กระทำการดังกล่าวก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ต้องรับผลร้ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมเพียงแต่ได้รับผลตามมาตรา 69
จากwww.manager.co.th
กล่าวคือ ขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคของพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ตามาตรา 8 อีกไม่ได้เท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ใช่โทษทางอาญา เป็นเพียงมาตรการตามกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ให้อำนาจในการยุบพรรคการเมืองที่กระทำการต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เพื่อไม่ให้ผู้บริหารพรรคการเมืองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีโอกาสที่จะกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายซ้ำอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และแม้สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในสังคมที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่การที่มีกฎหมายกำหนดว่าบุคคลใดสมควรมีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาพแห่งสังคม หรือเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ดำรงอยู่ย่อมมีได้ บทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงมีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ รวมทั้งในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง เช่น การกำหนดอายุ หรือระดับการศึกษาของผู้สมัครับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิลงคะแนน หรือการห้ามบุคคลบางประเภทเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
จากwww.manager.co.th
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังกับการกระทำอันเป็นเหตุยบุพรรคในคดีนี้ได้ การที่นางสาวอิศรา หรือพรณารินทร์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก และมีผลให้ผลจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ทั้งคณะในจำนวน 9 คน พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พ.ศ.2548 ข้อ 26 (4) และนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ก่อนวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2549 ก็ไม่ทำให้ผลให้กรรมการบริหารผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าวพ้นจากการต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งตนเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ในวันที่มีการกระทำเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 ซึ่งเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้ง 2 ได้ ดังนั้นการที่หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งซึ่งมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในเวลาต่อมาก็ตาม ก็ไม่ลบล้างพ้นของการกระทำที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้กระทำในขณะที่กรรมการพรรคผู้นั้นได้ดำรงตำแหน่งอยู่ มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือ หลังจากที่มีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติกฎหมายแล้ว กรรมการทั้งหลายต่างชิงกันลาออกจากรรมการบริหารพรรค เพื่อไม่ให้ตนเองมิต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง การบังคับเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ย่อมตกเป็นอันไร้ผล ทั้งเป็นการสนับสนุนให้กรรมการบริหารพรรคกระทำการโดยวิธีการฉ้อฉลย่อมจะส่งผลต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ยแรง และจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ อาศัยเหตุดังกล่าวข้างตน
จากwww.manager.co.th
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 มาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 66(2) และ(3) กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 9 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2548 มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ข้อ 3 และให้ยกคำร้องในส่วนที่ขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 1
จากwww.manager.co.th
รายงานการพิจารณาคดี
จากwww.manager.co.th
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งพิจารณา เวลา 13.30 น. นัดฟังคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวันนี้ ผู้แทนอัยการสูงสุด ผู้ร้อง ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 1 มาพร้อม ส่วนผู้แทนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่มาตามกำหนดนัด และไม่ได้มอบให้ผู้ใดมาแทน คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยที่ 1 และ 2/2550 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ให้คู่กรณีและผู้เกี่ยวข้องซึ่งมาศาลฟังแล้ว ส่วนผู้แทนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงให้ถือว่าคำวินิจฉัยนี้ได้อ่านโดยชอบแล้วตามข้อกำหนดคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาวิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2549 ข้อ 43 วรรค 3
จากwww.manager.co.th
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(1)
( 56 k ) | ( 256 K )
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(2)
( 56 k ) | ( 256 K )
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(3)
( 56 k ) | ( 256 K )
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(4)
( 56 k ) | ( 256 K )
ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น.นายวีระวัฒน์ พรหมคง ผู้สมัครจากพรรคประชากรไทย เดินทางโดยรถตู้มาถึงทางเข้า กลุ่มผู้ชุมนุมก็ยังมีเสียงโห่ฮาไล่ตลอด กลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 5 คน ประชิดตัว นายวีระวัฒน์ และคุกเข่ากราบขอร้องไม่ให้นายวีระวัฒน์สมัคร พยาน กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ นำตัวนายวีระวัฒน์ฝ่าฝูงชนเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ หลังจากนั้น เวลาประมาณ 16.00 น.ผู้สมัครจากคนขอปลดหนี้ จึงได้เดินทางโดยรถตู้มาถึงหน้าประตูทางเข้า กลุ่มผู้ชุมนุมไปที่ข้างรถตู้แล้วประชิดตัวขวางไม่ให้เข้าไปสมัครอีก มีการยื้อยุดฉุดกระชาก เป็นเหตุให้นางสาวปัทมาเซเกือบหกล้ม พยานเข้าไปรับประคองไว้ทัน พร้อมกับมีการขวดน้ำพลาสติก และโห่ไล่เสียงดัง พยานสังเกตเห็นว่า นางสาวปัทมา ตกใจมาก พยานจึงเข้าไปแสดงตัวเป็นนายอำเภอ ขอให้ลงมาโดยไม่ต้องกลัว ผู้ขับรถตู้ขับออกไปทันที นางสาวปัทมา แจ้งพยานว่า เอกสารบางอย่างยังอยู่ในรถ ไม่สามารถเอาออกมาได้ แล้วนางสาวปัทมาก็เดินเข้าไปทำการสมัคร จนกระทั่งเวลาประมาณ 16.30 น.มีการปิดรับสมัคร กลุ่มผู้สมัครชุมนุมทยอยกันกลับโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ กับมี นายสมพร ใช้บางยาง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้การไว้ตามเอกสารหมาย ล 110 ทำนองเดียวกันว่า เมื่อกลุ่มผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้เดินทางโดยรถตู้มาถึงหน้าประตูทางเข้า ก็มีเสียงโห่ไล่ คำกล่าวหยาบฟังได้ว่า ไอ้เหี้ย ไอ้เหี้ย ไอ้เหี้ย เมื่อผู้สมัครลงจากรถ เกิดการชุมนุมเข้าประชิดตัวผู้สมัคร มีการยื้อแย่ง ผลักดันกันจนผู้สมัครต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ เห็นว่า พยานดังกล่าวเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า การชุมนุมของกลุ่มคัดค้านจากผู้สมัครพรรคเล็ก เมื่อมีผู้สมัครจากพรรคเล็กมา ก็มีการโห่ไล่ โดยเฉพาะนายนฤนารถ นายอำเภอเมืองสงขลา ผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแล และรักษาความสงบเรียบร้อย ในการเลือกตั้งและการชุมนุมต่างๆ และนายสมพร ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่และถือว่าไม่ได้มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด
จากwww.manager.co.th
จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่า พยานทุกคนดังกล่าวได้ให้การไว้ตามความเป็นจริง ฟังได้ว่า กลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวนอกจากจะใช้วิธีโห่ไล่ หรือก้มกราบขอร้องไม่ให้ผู้สมัครจากพรรคเล็กสมัครแล้ว บางรายก็ยังได้ใช้วิธีการอื่น คือ การกล่าววาจาหยาบคาย ขว้างขวดน้ำดื่มพลาสติก เข้าประชิดตัวผู้สมัคร และรายของนางสาวปัทมาก็ยังมีการขวางทาง ยื้อยุดกระชาก เป็นเหตุให้นางสาวปัทมาเซ เกือบล้ม พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวมานี้ ทำให้ผู้สมัครดังกล่าวตกใจกลัว ดังที่นายนฤนารถได้ให้การไว้ แม้แต่รถตู้ที่มาส่งผู้สมัครก็ยังต้องรีบกลับออกไปทันที จนนางสาวปัทมาไม่สามารถเอาเอกสารบางส่วนที่อยู่ในรถออกมาได้ ซึ่งหากเป็นการสมัครรับเลือกตั้งในเหตุการณ์ปกตินางสาวปัทมาย่อมไปเอาเอกสารที่อยู่ในรถได้ทัน ส่วนที่ว่าผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้มาสมัครเมื่อตอนเกือบจะหมดเวลานั้น นายชูชาติ หัวหน้าพรรคคนขอปลดหนี้ อ้างว่า พยานคิดว่าตอนเย็นจะเลิกชุมนุมกันแล้วแต่ยังมีการชุมนุมกันอยู่ ซึ่งนับเป็นเหตุผลสมควรที่ต้องไปสมัครในเวลาเช่นนั้น แม้ผู้สมัครจะสามารถเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ แต่ต้องได้รับการดูแลอำนวยความสะดวกโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาสาสมัคร รวมทั้งนายอำเภอ จะต้องเป็นผู้พาผู้สมัครเข้าไป และเมื่อเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ก็มีเหตุที่ไม่กล้าออกมา โดยที่ความหมายของคำว่าขัดขวาง
จากwww.manager.co.th
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า ทำให้ไม่สะดวก ทำให้ติดขัด ดังนั้น พฤติการเช่นนี้ถือได้ว่า เป็นการขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ที่ผู้ร้องที่ 1 อ้างพยานหลายปากมาเบิกความทำนองว่า ไม่มีการขัดขวางการเลือกตั้ง เพียงแต่เป็นกราบไหว้ ขอร้องไม่ให้ผู้สมัครพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งผู้ชุมนุมไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาใดๆ นั้นไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานได้ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไป คือ กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของร้องที่ 1 ร่วมกันขัดขวางการสมัครดังกล่าวหรือไม่ โดยคำร้องของผู้ร้อง กล่าวหาว่า นายถาวร รองเลขาธิการและกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายวินัย นายวิรัตน์ นายเจือ และนายประพร ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกับนายชาลี คนสนิทของนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 นายคณิต รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาลูกช้าง นายนิสิต สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ร่วมกันขัดขวางการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ เห็นว่า พยานบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.อ.พิเศษ สุธรรม บรรณซุง ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา นายไพฑูรย์ เจ๊ะแอ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา นายณรงค์ สุขจันทร์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ประจำเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา ตามคำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นและเบิกความว่า ไม่มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการชุมนุมของประชาชน เมื่อวันที่ 8 และวันที่ 9 เมษายน 2549 รวมทั้งพยานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณที่ชุมนุม คือ พ.ต.อ.พงษ์ศักดิ์ พ.ต.ต.ถาวร นายนฤนารถ และพยานที่เข้าร่วมชุมนุมซึ่งรู้จักอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คือ นายธวัชชัย หล่ำเบนซะ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิว ประจำจังหวัดสงขลา ที่ไปทำข่าวในในวันเกิดเหตุ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา แพทย์ประจำโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่างให้การทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็น และเบิกความว่า ไม่มีกรรมการบริหารพรรค หรืออดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าร่วมชุมนุมเช่นกัน
จากwww.manager.co.th
คงมีแต่ นายวิรัตน์ ซึ่งให้การไว้ตามเอกสารหมาย ล 118 และเบิกความว่า พยานเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทยแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 3 จ.สงขลา เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549 หลังจากที่พยานสมัครเสร็จแล้ว พยานได้ออกไปรับประทานอาหารเที่ยง จากนั้นได้ขับรถยนต์กลับมาสังเกตการณ์ที่หน้าสถานที่รับสมัครเลือกตั้งอีก เห็นผูชุมนุมเพิ่มขึ้นประมาณ 200 - 300 คน และเห็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 4 คน ได้แก่ นายวิรัตน์ นายวินัย นายเจือ ส่วนอีก 1 คน พยานจำไม่ได้ เดินเข้าไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุม แต่จะอยู่นานเท่าใดพยานไม่ทราบ กับมี นายวันชัย ปริญญาศิริ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทย แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตที่ 1 จ.สงขลา ได้ให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ล 131 อันเป็นการให้การเพิ่มเติมจากที่เคยให้การไว้เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ตามเอกสารหมาย ล 113 ว่าด้วยวันที่ 8 เมษายน 2549 เวลา 11.00 น. พยานสังเกตอยู่ในบริเวณใกล้ที่ชุมนุมห่างประมาณ 50 เมตร พยานเห็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คือ นายวินัย นายวิรัตน์ นายเจือ และนายประพร เข้าไปอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ไปพบปะพูดคุยและให้กำลังใจผู้ชุมนุม เห็นว่าพยานทั้ง 2 ปาก เคยเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคไทยรักไทยแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยสมัครแข่งกับอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งถูกอ้างว่าอยู่ในที่ชุมนุม จึงถือได้ว่าพยานทั้ง 2 มีส่วนได้เสียกับเรื่องนี้
จากwww.manager.co.th
อีกทั้งพยานทั้ง 2 ก็ได้ให้การขัดกันในเรื่องเวลาที่พบเห็นอดีตสมาชิกสภาผูแทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวคือ นายบุญทวีศักดิ์ ให้การว่า พบเห็นหลังจากที่พยานไปรับประทานอาหารเที่ยงกลับมาแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเวลาช้วงบ่ายของวันที่ 8 เมษายน 2549 ขณะที่นายวันชัย ให้การว่าพบเห็นในเวลา 11.00 น.ของวันดังกล่าว โดยเฉพาะการให้การของนายวันชัย ก็มีข้อน่าสงสัยว่าเหตุใดนายวันชัย จึงไม่ให้การว่า เห็นบุคคลดังกล่าวตั้งแต่ให้การครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2549 แต่เพิ่งมาให้การเพิ่มเติมภายหลัง แม้ว่าในเรื่องนี้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จะบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็นและเบิกความรับว่า ได้มาในที่เกิดเหตุจริง แต่ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าไปร่วมชุมนุมด้วย โดย นายวิรัตน์ นายเจือ นายวินัย และนายประพร ไปยังที่ทำการการเลือกตั้งประจำ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2549 เวลาประมาณ 10.30 น. เพื่อพบนายไพฑูรย์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำ จ.สงขลา และยื่นหนังสือขอให้คณะกรรมการเลือกตั้งไม่ประกาศรับผลเลือกตั้งของสมาชิกพรรคไทยรักไทย เขตเลือกตั้งที่ 5 จ.สงขลา ซึ่งเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เนื่องจากมีหลักฐานการซื้อเสียงตามสำเนาหนังสือร้องเรียนเอกสารหมาย ส 207 และเมื่อภาพถ่ายการยื่นหนังสือคัดค้านการเลือกตั้ง หมาย ข 208 โดยบุคคลทั้ง 4 อยู่บริเวณสถานที่รับสมัครประมาณ 10 - 20 นาที ส่วนตามที่นายบุญทวีศักดิ์ และนายวันชัย อ้างว่า บุคคลทั้ง 4 เข้าไปพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น บุคคลทั้ง 4 เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่วิสัยของนักการเมืองย่อมจะทำเพื่อรักษาคะแนนเสียงของตนไว้
จากwww.manager.co.th
ข้อเท็จจริงเพียงเท่านี้ ยังไม่มีเหตุผลเพียงพอ หรือบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่า บุคคลทั้ง 4 ร่วมกับ นายถาวร เข้าร่วมในการชุมนุมหรือสนับสนุนการชุมนุมครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ น.อ.ณัฐนันท์ ทองนะ ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีนี้ ก็ได้ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น และเบิกความประกอบ ว่า จากการสอบสวนไม่ปรากฏหลักฐานว่า กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้ระดมประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมชุมนุมประท้วงแต่อย่างใด ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า กรรมการบริหารพรรค และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เข้าไปร่วมขัดขวางการรับสมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่พยานของคู่กรณีให้การบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นและเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า การชุมนุมของประชาชนในวันที่ 8 และ 9 เมษายน 2549 เป็นการชุมนุมของกลุ่มประชาชนคนรักสงขลา โดยการนำของนายชาลี ที่ประกาศโฆษณาทางวิทยุชุมชน คลื่น 97 เมกะเฮิร์ตซ ให้ประชาชนมารวมตัวกันที่บริเวณด้านหน้า และด้านข้างอาคารกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตภาคใต้ จังหวัดสงขลา สถานที่รับสมัคร เพื่อต่อต้านผู้สมัครจากพรรคเล็กที่จะสมัครแข่งกับผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย อันจะทำให้ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยไม่ต้องใช้เกณฑ์คะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งตามคำร้องของผู้ร้อง ระบุว่า
จากwww.manager.co.th
นายชาลี เป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ รองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 คดีจึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่า นายชาลี เป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ และได้กระทำไปโดยนายไตรรงค์มีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนหรือไม่ เห็นว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างถึงความเห็นของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่า นายชาลีซึ่งตามข่าวหนังสือพิมพ์ระบุว่า เป็นลูกน้องคนสำคัญของนายไตรรงค์ ขัดขวางการลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคเล็กที่จังหวัดสงขลา เพื่อมิให้ลงสมัครแข่งขันกับผู้สมัครของพรรคไทยรักไทย กับมีนายนิติธรรมวัฒน์ พยานผู้ร้อง ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรคคนขอปลดหนี้ เบิกความว่า นายชาลีเป็นนักจัดรายการวิทยุอยู่ที่หาดใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดีของบุคคลทั่วไปในเขตหาดใหญ่ ว่า นายชาลีเป็นเลขาของนายไตรรงค์ พยานเคยไปที่สถานีวิทยุที่นายชาลีจัดรายการอยู่ โดยไปที่ห้องของนายชาลี เห็นรูปถ่ายขนาดใหญ่ของนายไตรรงค์อยู่ที่ห้องดังกล่าว ขณะที่นายไตรรงค์ พยานผู้ถูกร้องที่ 1 ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น และเบิกความปฏิเสธว่า พยานรู้จักนายชาลีในนามของบุคคลซึ่งเป็นลูกน้องของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ที่เคยทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายอารักขาพยาน ในสมัยที่พยานดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2542 เท่านั้น แต่นายชาลีมีพฤติการณ์บางอย่างที่ชอบทำตัวให้เป็นข่าว และอาจเกิดความเข้าใจผิดต่อพยานได้ พยานจึงไม่ได้ติดต่อกับนายชาลีตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน พยานไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการชุมนุมของประชาชนที่จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 8 และ 9 เมษาน 2549 จำคำพยานดังกล่าว ข้อเท็จจริงเพียงที่ปรากฏตามข่าวหนังสือพิมพ์ก็ดี หรือที่นายนิติธรรมวัฒน์ อ้างว่า บุคคลทั่วไปในเขตอำเภอหาดใหญ่ รู้จักกันดีว่า นายชาลีเป็นเลขาของนายไตรรงค์ ก็ดี หรือการมีรูปถ่ายของนายไตรรงค์อยู่ในห้องนายชาลี ก็ดี เพียงเท่านี่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า นายไตรรงค์จะมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของนายชาลีในเรื่องการชุมนุมนั้นด้วย อีกทั้งไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่จะแสดงว่า นายชาลีเป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ หรือนายไตรรงค์เคยแต่งตั้งให้นายชาลีมีตำแหน่งหน้าที่ใดที่เกี่ยวกับตน ข้อเท็จจริงจึงยังรับฟังไม่ได้ว่า นายชาลีเป็นคนสนิทของนายไตรรงค์ และนายไตรรงค์มีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกระทำของนายชาลี จากเหตุผลดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ขัดขวางการรับสมัครการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ บริเวณสถานที่รับสมัครที่จังหวัดสงขลา
จากwww.manager.co.th
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ขัดขวางการรับฟังรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้บริเวณสถานที่รับสมัครที่จังหวัดสงขลา
ประเด็นข้อที่ 5 ที่ว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จให้แก่นางสาวนิภา จันโพธิ์ นางรัชนู ต่างสี และนายสุวิทย์ อบอุ่น ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคของผู้ถูกร้องที่ 2 ติดต่อกันไม่ครบ 90 วัน นับไปเป็นหลักฐานประกอบการรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือไม่ ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 โดยนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จให้กับนางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเลือกตั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จังหวัดตรัง โดยรู้อยู่แล้วว่าบุคคลทั้ง 3 เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่ครบ 90 วัน ซึ่งในข้อนี้นางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ ต่างได้ให้การต่อคณะอนุกรรมการสิบสวนสวนข้อเท็จจริงตามเอกสารหมาย ล.75 ล.76 และ ล.54 ว่า ผู้สมัครทั้ง 3 เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 และทีมงานที่รับสมัครให้ผู้สมัครทั้ง 3 กรอกใบสมัคร และลงวันที่รับสมัครเป็นวันที่ 5 ตุลาคม 2549 วันที่ 10 ตุลาคม 2548 และ 15 ตุลาคม 2548 ตามลำดับ
จากwww.manager.co.th
หลังจากนั้นพยานได้รับหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองแบบ ส.ส.18/ข.2 ตามเอกสารหมาย ล.72 แผ่นที่ 4 และที่ 5 และเอกสารหมาย ล.แผ่นที่ 62 แผ่นที่ 6 แล้วไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเลือกตั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 นอกจากนี้ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัดตรัง ตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด่วนที่สุด ที่ ลต.0401/ว 346 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ล.60 แผ่นที่ 7 และ 8 ก็ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองของผู้สมัครทั้ง 3 แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงปรากฏว่านางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 ว่า เป็นสมาชิกพรรคตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ตามเอกสารหมาย ล.58 ล.60 และ ล.62 โดยนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่าการสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ผู้สมัครทั้ง 3 ทำตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม 2548 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้ถูกร้องที่ 2 กำหนดแล้วพยานในฐานะหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จึงได้อนุมัติให้เป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 บันทึกยืนยันถ้อยคำข้อเท็จจริง หรือความเห็นของนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ จึงขัดต่อคำให้การของผู้สัมครทั้ง 3 การที่ผู้สมัครทั้ง 3 ให้การในเรื่องที่เป้นผลร้ายต่อตนเองเช่นนี้เชื่อได้ว่าเป็นการให้การตามความเป็นจริง ประกอบกับตามแถบบันทึกการแถลงข่าว และสำเนาคำถอดเทปคำให่สัมภาษณ์ของนายประมวล ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก และนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ถ.99 มีการระบุว่าผู้ถูกร้องที่ 2 มอบหมายให้นายประมวล เป็นผู้ติดต่อหาสมาชิกทางภาคใต้ก็เป็นข้อพิรุธ เพราะว่าหากบุคคลทั้ง 3 เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อยู่ก่อนแล้วตามที่นางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ผู้ถูกร้องที่ 2 ต้องมีประวสัติและข้อมูลส่วนบุคคลทั้ง 3 อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของที่อยู่ของบุคคลทั้ง 3 ตามที่ผู้ถูกร้องที่ 2 จะสามารถติดต่อให้ได้โดยตรง และไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดเลยที่ผู้ถูกร้องที่ 2 จะต้องให้บุคคลอื่นไปสืบหา ดังนี้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่านางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 โดยนางสาวอิสรา หรือพรณารินทร์ ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคให้แก่ผู้สมัครทั้ง 3 เพื่อนำไปสมัครรับเลือกเป็น ส.ส.ดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้สมัครทั้ง 3 เป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 นำถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่ถึง 90 วัน จึงเป็นการออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จตามที่ผู้ร้องกล่าวหา และเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 20 วรรค 2 บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก จึงถือว่าการออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จดังกล่าวเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ด้วย
จากwww.manager.co.th
ประเด็นข้อที่ 6 ที่ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 เป็นเหตุอันอาจให้มีคำสั่งยุบพรรค และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และที่ 2 ตามคำร้องหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 กระทำการตามข้อกล่าวหาของผู้ร้องที่นำสืบมาเป็นเหตุขอให้มีคำสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ที่ได้ออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จให้แก่นางสาวนิภา นางรัชนู นายสุวิทย์ ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 ติดต่อกันไม่ถึง 90 วัน เพื่อให้นำไปเป็นพยานหลักฐานประกอบการรับสมัครเลือกตั้งดังกล่าว เป็นเหตุอันมีคำสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้หรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิจารณาระบบการเมืองแบบรัฐสภาของประเทศไทย ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่ได้รับความมอบหมายภารกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะพรรคการเมืองมีบทบาทในการดำเนินการทางการเมือง นับตั้งแต่การเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งในการใช้อำนาจปกครองประเทศ ทั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร พรรคการเมืองจึงเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประชาชนต่างมีความคาดหวังต่อพรรคการเมืองในความรับผิดชอบของการแก้ปัญหาสำคัญ และการพัฒนาประเทศ การคัดกรองบุคคลที่จะเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจบริหาร อันเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งของพรรคการเมือง การที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ออกหนังสือรับรองความเป็นสมาชิกอันเป็นเท็จให้นางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ เป็นการจงใจบิดเบือนภารกิจขั้นพื้นฐาน ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ไม่ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ สำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อพรรคการเมืองละเลยต่อภารกิจพื้นฐาน จึงยากที่จะมีความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ และพัฒนาประเทศได้ การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ยังไม่เป็นการช่วยส่งเสริมและธำรงค์รักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งที่การปฏิบัติภารกิจของพรรคการเมืองที่ได้รับการอุดหนุนด้วยเงินกองทุนที่ตั้งมาด้วยงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งได้มาจากภาษีของประชาชน
จากwww.manager.co.th
ด้วยเหตุที่วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จึงเห็นว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66(2) และ(3) มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า สมควรยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า มีการออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จ ทั้งที่หัวหน้าพรรครู้อยู่แล้วว่า บุคคลที่ตนออกหนังสือรับรอง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค โดยมีการจ่ายเงินให้กับบุคคลที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งสมัครรับเลือกตั้ง คนละ 30,000 บาท และนายสุวิทย์เบิกความว่า
จากwww.manager.co.th
ในวันที่ 7 มีนาคม 2549 นอกจาก นายสุวิทย์ น.ส.นิภา และ นางรัชนู แล้ว ยังมีบุคคลอื่นไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อีกประมาณ 15 - 20 คน นอกจากนี้ น.ส.อิศรา หรือ พรณารินทร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ขณะเกิดเหตุ ได้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่า พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 37 คน โดยเป็นผู้สมัครในภาคใต้ 31 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 คน และภาคกลาง 3 คน ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บุคคลที่พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ส่งสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ ขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในลักษณะเดียวกันเกือบทั้งหมด การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าว เป็นการกระทำที่ขาดจิตสำนึกที่มีต่อประชาชน ทั้งไม่คำนึงถึงความเสียหาย หรือผลกระทบที่เกิดแก่ประเทศชาติ จึงสมควรถูกยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ตามคำร้อง
จากwww.manager.co.th
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปคือ จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ตามคำร้องหรือไม่ เห็นว่า ประกาศคณะปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งยุบพรรคประกาศฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 แต่การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 2 อันเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคตามพระราชบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2549 เกิดขึ้นในช่วงภายหลังพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 มีผลใช้บังคับ คือ ในวันที่ 7 และ 8 มีนาคม 2549 จึงมีปัญหาว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 เป็นกฎหมายที่มีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลต้องห้ามมิให้ใช้บังคับหรือไม่
จากwww.manager.co.th
หลักการห้ามออกกฎหมายมีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคลนั้น มีที่มาจากหลักการที่ว่า บุคคลจะไม่ต้องรับโทษหากไม่มีความผิด และบุคคลไม่มีความผิดหากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เช่นนั้นแต่หลักการดังกล่าวใช้บังคับกับการกระทำอันเป็นความผิดอาญาเท่านั้น ดังที่ปรากฏ ตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติว่า บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้ที่กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ ตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492 เป็นต้นมา ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 ที่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรค เพราะเหตุกระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 นั้น แม้เป็นบทบัญญัติที่มีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทำการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 ที่กระทำการดังกล่าวก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ต้องรับผลร้ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากเดิมเพียงแต่ได้รับผลตามมาตรา 69
จากwww.manager.co.th
กล่าวคือ ขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคของพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ตามาตรา 8 อีกไม่ได้เท่านั้น แต่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ใช่โทษทางอาญา เป็นเพียงมาตรการตามกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ให้อำนาจในการยุบพรรคการเมืองที่กระทำการต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เพื่อไม่ให้ผู้บริหารพรรคการเมืองที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีโอกาสที่จะกระทำการอันก่อให้เกิดความเสียหายซ้ำอีกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และแม้สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนในสังคมที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่การที่มีกฎหมายกำหนดว่าบุคคลใดสมควรมีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาพแห่งสังคม หรือเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ดำรงอยู่ย่อมมีได้ บทบัญญัติว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จึงมีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีตหลายฉบับ รวมทั้งในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง เช่น การกำหนดอายุ หรือระดับการศึกษาของผู้สมัครับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิลงคะแนน หรือการห้ามบุคคลบางประเภทเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
จากwww.manager.co.th
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ข้อ 3 จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังกับการกระทำอันเป็นเหตุยบุพรรคในคดีนี้ได้ การที่นางสาวอิศรา หรือพรณารินทร์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิก และมีผลให้ผลจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ทั้งคณะในจำนวน 9 คน พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พ.ศ.2548 ข้อ 26 (4) และนายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ก่อนวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2549 ก็ไม่ทำให้ผลให้กรรมการบริหารผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าวพ้นจากการต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งตนเป็นกรรมการบริหารพรรคอยู่ในวันที่มีการกระทำเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 ซึ่งเป็นเหตุให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องทั้ง 2 ได้ ดังนั้นการที่หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ลาออกจากตำแหน่งซึ่งมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะตามข้อบังคับพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ในเวลาต่อมาก็ตาม ก็ไม่ลบล้างพ้นของการกระทำที่ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้กระทำในขณะที่กรรมการพรรคผู้นั้นได้ดำรงตำแหน่งอยู่ มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือ หลังจากที่มีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติกฎหมายแล้ว กรรมการทั้งหลายต่างชิงกันลาออกจากรรมการบริหารพรรค เพื่อไม่ให้ตนเองมิต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง การบังคับเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ย่อมตกเป็นอันไร้ผล ทั้งเป็นการสนับสนุนให้กรรมการบริหารพรรคกระทำการโดยวิธีการฉ้อฉลย่อมจะส่งผลต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ยแรง และจะมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ อาศัยเหตุดังกล่าวข้างตน
จากwww.manager.co.th
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งให้ยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2541 มาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 66(2) และ(3) กับให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 จำนวน 9 คน ตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2548 มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 ข้อ 3 และให้ยกคำร้องในส่วนที่ขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 1
จากwww.manager.co.th
รายงานการพิจารณาคดี
จากwww.manager.co.th
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งพิจารณา เวลา 13.30 น. นัดฟังคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวันนี้ ผู้แทนอัยการสูงสุด ผู้ร้อง ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ถูกร้องที่ 1 มาพร้อม ส่วนผู้แทนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่มาตามกำหนดนัด และไม่ได้มอบให้ผู้ใดมาแทน คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยที่ 1 และ 2/2550 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 เรื่อง อัยการสูงสุดขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ให้คู่กรณีและผู้เกี่ยวข้องซึ่งมาศาลฟังแล้ว ส่วนผู้แทนพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ผู้ถูกร้องที่ 2 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงให้ถือว่าคำวินิจฉัยนี้ได้อ่านโดยชอบแล้วตามข้อกำหนดคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่าด้วยองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาวิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2549 ข้อ 43 วรรค 3
จากwww.manager.co.th
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(1)
( 56 k ) | ( 256 K )
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(2)
( 56 k ) | ( 256 K )
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(3)
( 56 k ) | ( 256 K )
คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(4)
( 56 k ) | ( 256 K )