xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโปง “ระบอบทักษิณ” ผ่านจอฟรีทีวีครั้งแรกทั่วประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ระบอบทักษิณ” ถูกเปิดโปงทางฟรีทีวีเป็นครั้งแรก หลังจากมีการถ่ายทอดสดการอ่านคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีที่อัยการสูงสุดมีคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา โดย 1 ในข้อกล่าวหา คือ การปราศรัยโจมตี “ระบอบทักษิณ” ว่า เป็นการกล่าวหาให้ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่คำวินิจฉัยของตุลาการ ระบุว่า เป็นเพียงการวิพากษ์วิจารณ์จุดบกพร่องของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตามที่ปรากฏในสังคม และไม่ได้เป็นการใส่ร้ายแต่อย่างใด

ข้อกล่าวหาของอัยการสูงสุดกรณีกล่าวหา “ระบอบทักษิณ”

กรณีการกระทำของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 (พรรคประชาธิปัตย์) กรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าเป็นการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 66 มีดังนี้

1.นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ปราศรัยต่อประชาชนที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549 กล่าวหาการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า เป็นระบอบทักษิณ และกล่าวว่าวันนี้ระบอบทักษิณทำลายประชาธิปไตยแล้ว แทรกแซงองค์กรอิสระ ครอบงำวุฒิสภา แทรกแซงสื่อ และในวันเดียวกันนั้น นายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กล่าวโจมตีการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า เป็นระบอบทักษิณ โดยนอกจากจะกล่าวหาในลักษณะเช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ แล้ว ยังกล่าวโจมตีว่า ระบบดังกล่าวเป็นระบอบที่นายกฯ ทักษิณ คุมอำนาจการตัดสินใจสั่งการแต่เพียงผู้เดียว ไม่ให้คณะรัฐมนตรี หรือบุคคลใดเข้าร่วมตัดสินใจตามระบบรัฐสภา ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ทำเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของตนเอง และพวกพ้อง ทำร้ายระบบคุณธรรมทำให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง มีการทุจริตคอร์รัปชัน ฉ้อราษฎร์บังหลวง และที่กรรมการบริหารและสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ในวันที่ 23 มีนาคม 2549 วันที่ 20 เมษายน 2549 กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ในลักษณะเช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ รวมทั้งกรณีที่นายถาวร กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จัดทำแผ่นปลิวซึ่งมีเครื่องหมายของผู้ถูกร้องที่ 1 ระบุว่า ระบอบทักษิณสร้างความแตกแยกในมวลหมู่พี่น้องประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้มีการโกงทั้งโคตร ประเทศชาติสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ดังนั้น เพื่อหยุดระบอบทักษิณ เพื่อปราบปรามการโกงทั้งโคตรให้ได้นั้น

พฤติกรรมตามข้อเท็จจริงดังกล่าวของ นายอภิสิทธิ์ กรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นการสร้างคำว่าระบอบทักษิณขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า มีการปกครองประเทศไทยโดยระบอบอื่น นอกจากที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ อันเป็นการใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี ให้ประชาชนทั่วไปเกลียดชัง ให้เข้าใจว่าเป็นคนชั่ว คนทุจริต คนขายชาติ อันมีลักษณะเป็นการใส่ร้าย โดยจูงใจให้ประชาชนเข้าใจผิดในคะแนนนิยมของพรรคไทยรักไทย โดยมีเจตนาเพื่อให้ประชาชนงดเว้นการลงคะแนนให้กับพรรคไทยรักไทย อันเป็นการกระทำซึ่งต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44(5)

คำชี้แจงของพรรคประชาธิปัตย์

ผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาและแก้ไขคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา สรุปความได้ว่า

ข้อที่ 1 ประเด็นข้อกล่าวหากรณีที่ 1 เรื่องการปราศรัยใส่ร้ายความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมนั้น ผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างเข้มแข็งตลอดมา ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้บัญญัติคำว่า ระบอบทักษิณ แต่เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจในหมู่ประชาชนชาวไทยจำนวนมากในหลายเรื่อง จึงมีผู้บัญญัติพฤติกรรมการปกครองรูปแบบนี้ว่าระบอบทักษิณ การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวถึงระบอบทักษิณนั้น หาได้เป็นความผิดไม่ และไม่เป็นเหตุที่ผู้ร้องจะนำมากล่าวอ้างเพื่อให้พิจารณาสั่งให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เพราะการกล่าวถึงระบอบทักษิณของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นเพียงการวิพากษ์วิจารณ์ และกล่าวถึงในทางการเมือง เกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองตามกรอบแนวความคิด ทฤษฎี แนวทางนโยบาย และการบริหารจัดการประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี อันเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ที่ให้การรับรองคุ้มครองไว้ และตามปฏิญญาสากล สิทธิมนุษยชนว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองของสหประชาชาติ ที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก และหาได้มีการกระทำใดของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่เป็นการเกินเลยจากขอบเขตและการใช้สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่อย่างใดไม่

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน 2549 ผู้ถูกร้องที่ 1 เห็นว่าการประกาศยุบสภาฯ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ชอบด้วยเหตุผล กล่าวคือ การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ได้ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ และเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ ตลอดจนปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และเกี่ยวข้องพัวพันถึงตัว พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง โดยเฉพาะกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ได้ขายหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อันเป็นธุรกิจในครอบครัวชินวัตร ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก จำกัด โดยไม่เสียภาษี เป็นเหตุให้สาธารณชน สื่อมวลชน ตลอดจนนักวิชาการ วิพากษ์วิจารณ์โจมตีกล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประกาศยุบสภาฯ เพื่อหลบหนีการซักฟอก โดยอ้างเหตุผลว่า เกิดความขัดแย้งรุนแรงในหมู่ประชาชน อันเป็นข้ออ้างที่ไร้เหตุผล มิได้เป็นไปตามครรลองในระบอบประชาธิปไตยและประเพณีที่เคยปฏิบัติในทางการเมืองของประเทศไทย

การประกาศยุบสภาฯ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ พฤติการณ์ปรากฏชัดว่า มีการร่วมมือกับคณะกรรมการเลือกตั้งชุดที่มี พล.ต.อ.วาสนา เป็นประธาน วางแผนเพื่อช่วยเหลือพรรคไทยรักไทย จงใจเอาเปรียบพรรคอื่นๆ รวมทั้งผู้ถูกร้องที่ 1 และการดำเนินการเลือกตั้งของคณะกรรมการเลือกตั้ง ส่อไปในทางขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม ประกอบกับการยุบสภาครั้งนี้ เป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ และเป็นการประทำเพื่อฟอกตัวเอง ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ถูกร้องที่ 1 รวมทั้งพรรคชาติไทย พรรคมหาชน จึงมีมติร่วมกันไม่ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นเหตุให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และสมาชิกพรรคไทยรักไทยไม่พอใจ จึงได้ออกรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศ กล่าวหาประณามผู้ถูกร้องที่ 1 ว่า เป็นผู้ทำลายประชาธิปไตย และละเมิดรัฐธรรมนูญ เล่นการเมืองโดยไม่เคารพกติกา ทำลายเศรษฐกิจของบ้านเมืองให้เสียหาย โดยเหตุดังกล่าว ผู้ถูกร้องที่ 1 จึงจำเป็นต้องจัดปราศรัยให้ประชาชนรับทราบความจริง และชี้แจงข้อกล่าวหาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และบรรดาสมาชิกพรรคไทยรักไทย ได้ใส่ร้ายใส่ความผู้ร้องที่ 1 การปราศรัยและแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในทางการเมืองของผู้ถูกร้องที่ 1 ยังเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชม วิพากษ์วิจารณ์ การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ อันเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของผู้ถูกร้องที่ 1 ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน เป็นการดำเนินการทางการเมืองตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การจัดปราศรัยของผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ว่าในกรุงเทพมหานคร หรือในส่วนภูมิภาค ตามจังหวัดต่างๆ เป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดกฎหมายแต่อย่างใด ไม่มีข้อความใดอันเป็นเท็จ กล่าวหา หรือใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ หรือพรรคไทยรักไทย โดยปราศจากความเป็นจริง ไม่มีการกระทำใดอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีงาม ของประชาชน ไม่มีผลเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยวิถีทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด

ทำลายประชาธิปไตย

ตามที่ผู้ร้องกล่าวหาว่า นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าผู้ถูกร้องที่ 1 ปราศรัยต่อประชาชนที่ท้องสนามหลวง กล่าวหาการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า เป็นระบอบทักษิณ และกล่าวว่า วันนี้ระบอบทักษิณทำลายประชาธิปไตยแล้ว แทรกแซงองค์กรอิสระ ครอบงำวุฒิสภา แทรกแซงสื่อ

ผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่า

ข้อ ก. กรณีเรื่องทำลายประชาธิปไตย ตามอาศัยดังกล่าวของ นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค สมาชิก หรือกรรมการบริหารพรรคของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นการแสดงความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ตามสิทธิทางการเมือง เป็นการชี้แจง และให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชน โดยชี้แจงให้เห็นถึงการกระทำของนายกรัฐมนตรี และการบริหารบ้านเมืองที่มีปัญหา อันมีลักษณะไม่เคารพและไม่เป็นไปตามวิถีทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอด 5 ปี ที่บริหารบ้านเมือง ล้วนแต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการทำลายหลักการของระบอบประชาธิปไตยในหลายกรณี ใช้เสียงข้างมากในการให้สภาผลักดันให้กฎหมายที่รัฐบาลเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎร ทั้งที่กฎหมายนั้นมีข้อผิดพลาด จนเป็นผลให้พระราชบัญญัติบางฉบับไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังมีพฤติกรรมที่แสดงออกชัดแจ้งว่า ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่รัฐสภา ไม่เคารพกฎกติกาประชาธิปไตยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำลายความเชื่อมั่นของระบบรัฐสภา ทำลายเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา แม้จะปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาได้ตั้งกระทู้ถาม พ.ต.ท.ทักษิณ เกี่ยวกับการบริหาราชการแผ่นดินแทบทุกนัดของการประชุม กลับปรากฏว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่ยอมมาตอบกระทู้ถามของสมาชิกรัฐสภา อันเป็นการกระทำที่ส่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ระบบรัฐสภา และไม่ให้เกียรติสถาบันนิติบัญญัติ

ข้อ ข. กรณีการแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฏข้อเท็จจริงว่า องค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ถูกแทรกแซง ครอบงำโดยอำนาจฝ่ายการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่กระบวนการสรรหา การแต่งตั้ง การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด จนทำให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระดังกล่าวขาดความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม เป็นการทำลายเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ พฤติกรรมการแทรกแซงองค์กรอิสระดังกล่าว เกิดขึ้นโดยการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิดในหลายกรณี

ครอบงำวุฒิสภา

ข้อ ค. ในกรณีครอบงำวุฒิสภา เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าไปแทรกแซงและครอบงำการทำงานของวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเสียงข้างมากมีมติในหลายเรื่องเป็นไปตามความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลตลอดมา อาทิ การลงมติเรื่องบุคคลเข้ารับตำแหน่งเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ มีการลงมติตามที่รัฐบาลต้องการทุกครั้ง และเป็นที่ทราบทั่วไปว่า สมาชิกวุฒิสภาลงมติโดยมีการกำหนดตัวบุคคล บล็อกโหวตตามความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาล และรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

ข้อ ง. กรณีแทรกแซงสื่อ ภายใต้การบริหารของ พ.ต.ท.ทักษิณ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่า สื่อมวลชนทุกสาขาได้ถูกแทรกแซง ครอบงำจาก พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยปรากฏพฤติกรรมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้เข้าควบคุม หรือส่งคนสนิทเข้าควบคุมสั่งการให้สถานีวิทยุเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่องทำการเสนอข่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาล แต่ฝ่ายเดียวทุกวัน กีดกันและห้ามไม่ให้นำเสนอข่าวของฝ่ายค้าน หรือบุคคลที่มีความเห็นคิดแตกต่าง หากหนังสือพิมพ์ฉบับใดที่เสนอข่าวที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล ผู้บริหารหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นจะถูกกลั่นแกล้ง เช่น ถูกถอนโฆษณา หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เข้าตรวจสอบฐานะการเงิน เพื่อให้เกิดความกลัว และเสียชื่อเสียง สำหรับผู้ดำเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์รายใดที่รัฐบาลทักษิณไม่อาจควบคุมสั่งการได้ หรือดำเนินรายการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล จะถูกปลดหรือถอดถอนออกจากการดำเนินรายการ ข้อเท็จจริงเรื่องการคุกคามแทรกแซงสื่อ ได้ปรากฏให้เห็นและเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ การที่ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้ปราศรัยหยิบยกประเด็นปัญหาดังกล่าวนี้ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมเพื่อปกป้องเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชน อันเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ และสาธารณชนโดยแท้ หาได้เป็นการใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ หรือพรรคไทยรักไทย โดยปราศจากความจริงแต่อย่างใดไม่

กรณีนายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กล่าวปราศรัยถึงระบอบทักษิณ ว่าเป็นระบอบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คุมอำนาจการตัดสินใจสั่งการแต่ผู้เดียว ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่ทำเพื่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง ทำลายระบบคุณธรรม ทำให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง มีการทุจริตคอร์รัปชัน ฉ้อราษฎร์บังหลวง

ผู้ถูกร้องที่ 1 ชี้แจงว่า

ข้อ ก.กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ คุมอำนาจตัดสินใจสั่งการแต่ผู้เดียว ทำลายระบบคุณธรรม ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการบริหารงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ อำนาจการบริหาร สั่งราชการ และการตัดสินใจ ในการดำเนินนโยบายใดๆ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เพียงอย่างเดียว รัฐมนตรีของรัฐบาลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจน้อยมาก นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคไทยรักไทย เป็นจำนวนเสียงข้างมากโดยเด็ดขาด ก็ตกอยู่ภายใต้การครอบงำสั่งการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และผู้ใกล้ชิด เป็นผู้กำหนดทิศทางและแนวนโยบายในการลงมติในสภาผู้แทนราษฎร ส่วนประเด็นเรื่องการทำลายระบบคุณธรรมก็มีผลสืบเนื่องจากระบบพฤติกรรมที่แสดงออกโดยชัดแจ้งโดย พ.ต.ท.ทักษิณ เอง ในการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งสำคัญๆ ของกองทัพ ตำรวจ และข้าราชการประจำ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ระบบอุปถัมภ์ ไม่ได้ใช้ระบบคุณธรรม ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถ และอาวุโส เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปในหมู่ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ว่า การจะให้ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ได้เลื่อนชั้น เลื่อนตำแหน่งสำคัญๆ ต้องวิ่งเต้นเข้าหาผู้มีอำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ หรือภรรยา และบรรดาญาติพี่น้องผู้ใกล้ชิดของบุคคลทั้ง 2 อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมแห่งการทำลายระบบคุณธรรม คุณงามความดี สร้างความแตกแยกให้กับหมู่ข้าราชการทุกภาคส่วน การวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวนี้จึงมิใช่เป็นการใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จแต่อย่างใด

ข้อ ข.กรณีที่การปกครองในระบอบทักษิณ ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น ความจริงที่ปรากฏให้เห็นจนเกิดเป็นวิกฤติของบ้านเมืองในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ บริหารประเทศไม่ว่าในกรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำมาซึ่งการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของพี่น้องทั้งไทยพุทธ และมุสลิม ล้วนมีสาเหตุมาจากความผิดพลาดของ พ.ต.ท.ทักษิณ นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดโดยถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ เป็นการประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติดแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มอบหมาย และชี้แจงนโยบายต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2546 ให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยใช้ถ้อยคำชี้นำ ปลุกเร้า และกดดันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติห้วนกลับไปใช้ความรุนแรง นอกระบบกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการยุติธรรม และหลักนิติธรรม ดังนั้นกรณีที่มีการฆ่าตัดตอนประชาชนเสียชีวิตไป 2,500 คน จึงเป็นไปตามความต้องการ และคำสั่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยากไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้เมื่อมีประชาชนจำนวนมากแสดงความคิดเห็นคัดค้านการบริหารงานที่ไม่ชอบของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ดำนินการจัดตั้ง และแบ่งแยกประชาชนโดยใช้อำนาจ และเจ้าหน้าที่กลไกของรัฐบาลไปสนับสนุนประชาชนอีกลุ่มหนึ่งให้มาต่อต้านคัดคานผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากตน โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านวิพากษ์วิจารณ์เสนอแนะของประชาชน สื่อมวลชน นักวิชาการ บุคคลสำคัญผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน ก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทย นอกจากพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยยังได้พูดและแสดงออกต่อประชาชน และสื่อมวลชนหลายครั้ง จังหวัดใดที่สนับสนุนและเลือกพรรคไทยรักไทย รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณไปเพื่อพัฒนาจังหวัดนั้นก่อน คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าวนำมาซึ่งความแตกแยกในสังคมอย่างรุนแรง

ข้อ ค. กรณีปราศรัยหรือวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนแต่ทำเพื่อธุรกิจของตนเองและพวกพ้อง เช่น กรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คือบุคคลในครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ได้ขายหุ้นส่วนใหญ่และกิจการของบริษัทในเครือทั้งหมดให้แก่บริษัท เทมาเส็ก จำกัด ประเทศสิงคโปร์ เป็นเงิน 73,300 ล้านบาท โดยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีให้แก่รัฐ กรณีบริษัท ชินแซทเทลไลต์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานดำเนินธุรกิจดาวเทียมไอพีสตาร์ อันเป็นธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี ซึ่งเทียบเท่ากับสิทธิประโยชน์สูงสุดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้แก่การลงทุนที่ลงทุนในเขต 3 ซึ่งเป็นเขตท้องที่ห่างไกล ทุรกันดาร ทำให้ได้รับประโยชน์จากการดังกล่าวเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 16,459 ล้านบาท โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยตำแหน่ง ได้ผลักดันให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะรายได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ เป็นเวลา 8 ปี ให้แก่บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐต้องเสียรายได้ที่จะต้องได้รับเงินภาษี เป็นเงิน 16,459 ล้านบาท ส่อเจตนาเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือกรณีสถานีโทรทัศน์ไอทีวี หลังจากบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้ามาถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ปรากฏว่ามีการลดค่าสัมปทานและเปลี่ยนแปลงการจัดผังและสัดส่วนของรายการใหม่ ทำให้กลุ่มบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ผู้ถือหุ้นรายใหม่ได้รับประโยชน์จากการเสนอลดค่าสัมปทาน ทำให้รัฐขาดรายได้ เป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท ในทำนองกลับกัน ทำให้กลุ่มธุรกิจชินคอร์ปอเรชั่นได้รับผลประโยชน์เป็นเงินประมาณ 17,000 ล้านบาท และเมื่อปรับเปลี่ยนผังและสัดส่วนรายการแล้วทำให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวีนำเสนอรายการละครและรายการบันเทิงอื่นได้อย่างมากขึ้น ส่งผลให้เจ้าของกิจการได้รับประโยชน์จากค่าโฆษณามากขึ้น ทำให้หุ้นส่วนของบริษัทไอทีวีในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่าสูงขึ้น ย่อมเป็นประโยชน์แห่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ คือกลุ่มบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นเอง

ข้อ ง. กรณีปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ฉ้อราษฎร์บังหลวง ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลทักษิณนั้น ปรากฏข้อเท็จจริงเกิดขึ้นมากมาย เช่น กรณีการทุจริตโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ และการทุจริตจากงานประมูลการก่อสร้าง หรือติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ หรือกรณีรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิมแบงก์) ปล่อยเงินกู้ให้แก่รัฐบาลพม่า เป็นเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท โดยไม่มีหลักประกันจากรัฐบาลพม่า และรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังต้องชดเชยส่วนต่างของดอกเบี้ยให้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า รัฐบาลพม่าใช้เงินดังกล่าวส่วนหนึ่งมาซื้อวัสดุอุปกรณ์ระบบโทรคมนาคมจากบริษัทของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ และว่าจ้างให้ผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ไปรับงานหลายโครงการในประเทศพม่า อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง และพวกพ้อง ในอีกรูปแบบหนึ่ง หรือกรณีการทุจริตเชิงนโยบายจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีกลุ่มธุรกิจที่เป็นพวกพ้องกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้ผลประโยชน์จากการจัดสรรหาหุ้นไปเป็นจำนวนมาก และเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากผลประกอบการที่ทำกำไรนับแสนล้านบาทจากรัฐวิสาหกิจ ด้านพลังงานของรัฐ และยังมีความพยายามที่จะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค ในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และพวกพ้อง ทั้งดำเนินการไปในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายจนศาลปกครองมีคำสั่งให้ยุติการจัดจำหน่ายหุ้น และการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการแก้กรอบการแปรสัญญากิจการโทรคมนาคมใหม่ โดยได้นำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิต พ.ศ.2546 อนุมัติให้จัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคม ไม่เกินร้อยละ 50 เพื่อช่วยเหือเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว ก่อตั้งขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่รัฐ ในอัตราร้อยละ 25 ของรายได้ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จำนวนมาก

กรณีที่นายถาวร กรรมการบริหารพรรคจัดทำแผ่นปลิว ซึ่งมีเครื่องหมายของผู้ถูกร้องที่ 1 ระบุว่า ระบอบทักษิณสร้างความแตกแยกในหมู่มวลพี่น้องประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้มีการโกงกันทั้งโคตร ประเทศชาติสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ดังนั้น เพื่อหยุดระบอบทักษิณ เพื่อปราบปรามการการโกงทั้งโคตรให้ได้นั้น ผลการสืบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ได้สรุปรับฟังเป็นยุติดังกล่าวแล้วว่า ไม่เป็นความผิด จึงได้จัดทำรายงานผลการสืบสวนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ลงนามโดย นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ข้อความปรากฏตามแผ่นปลิว ซึ่งมีข้อความตามที่ผู้ร้องได้นำมาเป็นข้อกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 จึงเป็นความเท็จ รับฟังเป็นที่ยุติแล้วว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด แต่คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ชุดที่มี นายสุริยา ทรงวิทย์ เป็นประธาน ยังนำเอากรณีดังกล่าวมากล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 อีก แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 อย่างไร้เหตุผล ไม่เป็นธรรม และมีเจตนากลั่นแกล้งผู้ถูกร้องที่ 1 ดังนั้น กรณีการปราศรัยของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ได้กล่าวปราศรัยเกี่ยวกับการกระทำและพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดเวลาที่ได้มีการบริหารประเทศ จึงเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น สมควรที่ผู้ถูกร้องที่ 1 จะนำกล่าวชี้แจงแก่ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ ให้ตระหนักและเข้าใจถึงคำว่าระบอบทักษิณ จึงถือว่าคำปราศรัยของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ในส่วนนี้ นอกจากจะเป็นการตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ในทางการเมือง และเป็นการทำเพื่อปกป้องส่วนได้เสียของผู้ถูกร้องที่ 1 และประชาชน ยังถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ในฐานะ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นบุคคลสาธารณะ และผู้ถูกร้องที่ 1 ในฐานะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะวิจารณ์นายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวปราศรัย ก็เป็นการตอบโต้กันในทางการเมือง อันถือเป็นเรื่องระหว่างพรรคการเมืองที่สามารถจะกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเป็นเหตุให้ผู้ร้องนับเรื่องนี้มาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้

นอกจากนี้ ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้อ้างประเด็นข้อกฎหมาย ดังนี้

ข้อที่ 1 คำร้องยุบพรรคของผู้ถูกร้องที่ 1 มาจากการสืบสวนสอบสวนวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 และระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และกฎหมายอื่น กล่าวคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาสืบสวนสอบสวนกรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่า ผู้ถูกร้องที่ปล่อยเงินกู้ให้แก่นรัฐบาลพม่าเป็นเงินจำนวน 4,000 ล้านบาท โดยไม่มีหลักประกันจากรัฐบาลพม่า และรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการคลังต้องชดเชยส่วนต่างของดอกเบี้ยให้ และข้อเท็จจริงปรากฏว่า รัฐบาลพม่าได้ใช้เงินดังกล่าวส่วนหนึ่งมาซื้อวัสดุอุปกรณ์ ระบบโทรคมนาคมจากบริษัทของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ และว่าจ้างให้ผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ไปรับงานหลายโครงการในประเทศพม่า อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง และพวกพ้อง ในอีกรูปแบบหนึ่ง หรือกรณีการทุจริตเชิงนโยบายจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก็ปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีกลุ่มธุรกิจที่เป็นพวกพ้องกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้ผลประโยชน์จากการจัดสรรหาหุ้นไปเป็นจำนวนมาก และเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากผลประกอบการที่ทำกำไรนับแสนล้านบาทจากรัฐวิสาหกิจ ด้านพลังงานของรัฐ และยังมีความพยายามที่จะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค ในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง และพวกพ้อง ทั้งดำเนินการไปในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายจนศาลปกครองมีคำสั่งให้ยุติการจัดจำหน่ายหุ้น และการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีการแก้กรอบการแปรสัญญากิจการโทรคมนาคมใหม่ โดยได้นำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิต พ.ศ.2546 อนุมัติให้จัดเก็บภาษีกิจการโทรคมนาคม ไม่เกินร้อยละ 50 เพื่อช่วยเหลือเอื้อประโยชน์แก่บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่รัฐ ในอัตราร้อยละ 25 ของรายได้ ทำให้รัฐสูญเสียรายได้จำนวนมาก

กรณีที่นายถาวร กรรมการบริหารพรรคจัดทำแผ่นปลิว ซึ่งมีเครื่องหมายของผู้ถูกร้องที่ 1 ระบุว่า ระบอบทักษิณสร้างความแตกแยกในหมู่มวลพี่น้องประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้มีการโกงกันทั้งโคตร ประเทศชาติสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ดังนั้น เพื่อหยุดระบอบทักษิณ เพื่อปราบปรามการการโกงทั้งโคตรให้ได้นั้น ผลการสืบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ได้สรุปรับฟังเป็นยุติดังกล่าวแล้วว่า ไม่เป็นความผิด จึงได้จัดทำรายงานผลการสืบสวนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 ลงนามโดย นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ข้อความปรากฏตามแผ่นปลิว ซึ่งมีข้อความตามที่ผู้ร้องได้นำมาเป็นข้อกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 จึงเป็นความเท็จ รับฟังเป็นที่ยุติแล้วว่า การกระทำดังกล่าวนั้น ไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด แต่คณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ชุดที่มี นายสุริยา ทรงวิทย์ เป็นประธาน ยังนำเอากรณีดังกล่าวมากล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 อีก แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 อย่างไร้เหตุผล ไม่เป็นธรรม และมีเจตนากลั่นแกล้งผู้ถูกร้องที่ 1 ดังนั้น กรณีการปราศรัยของหัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ได้กล่าวปราศรัยเกี่ยวกับการกระทำและพฤติกรรมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดเวลาที่ได้มีการบริหารประเทศ จึงเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น สมควรที่ผู้ถูกร้องที่ 1 จะนำกล่าวชี้แจงแก่ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ ให้ตระหนักและเข้าใจถึงคำว่าระบอบทักษิณ จึงถือว่าคำปราศรัยของกรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ในส่วนนี้ นอกจากจะเป็นการตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ในทางการเมือง และเป็นการทำเพื่อปกป้องส่วนได้เสียของผู้ถูกร้องที่ 1 และประชาชน ยังถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ในฐานะ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นบุคคลสาธารณะ และผู้ถูกร้องที่ 1 ในฐานะเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะวิจารณ์นายกรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญตามที่กล่าวปราศรัย ก็เป็นการตอบโต้กันในทางการเมือง อันถือเป็นเรื่องระหว่างพรรคการเมืองที่สามารถจะกระทำได้ตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขร้องที่ 1 กระทำผิดกฎหมาย เมื่อคณะอนุกรรมการได้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเสร็จแล้ว เสนอสำนวนสืบสวนสอบสวนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามข้อ 67 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มาตรา 10 (6) และ (7) มาตรา 19 แต่ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดให้มีการประชุมเพื่อให้มีการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด เพื่อหาเหตุผลโดยรอบคอบ และให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินการยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 แต่อย่างใด พล.ต.อ.วาสนา ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองแต่เพียงผู้เดียว ได้ใช้อำนาจหน้าที่โดยพลการ ส่งสำนวนการสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงให้ผู้ร้อง โดยยื่นคำร้องขอยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และผู้ร้องได้ใช้อำนาจหน้าที่พิจารณาสำนวนดังกล่าว ที่ พล.ต.อ.วาสนา ส่งมาให้เพื่อดำเนินการ โดยใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืนในการพิจารณาเอกสารสำนวน ซึ่งมีรายละเอียดเกือบ 1,500 หน้า ดังนั้น เมื่อคำร้องยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นคำร้องที่ไม่ได้ดำเนินการในเบื้องต้นโดยถูกต้องตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.2542 ข้อ 67 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ นายทะเบียนพรรคการเมือง และ/หรือ จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องยุบพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อศาลรัฐธรรมนูญ



คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(1)

( 56 k ) | ( 256 K )


คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(2)

( 56 k ) | ( 256 K )


คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(3)

( 56 k ) | ( 256 K )


คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(4)

( 56 k ) | ( 256 K )


คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ประเด็นข้อ 1 ที่ว่าผู้ถูกร้องที่ 1 จัดให้มีเวทีปราศรัยใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคไทยรักไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แล้วชักจูงให้ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองใดที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งหรือไม่

ในประเด็นข้อนี้ ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้โต้เถียงกันฟังได้ว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ.2548 พรรคไทยรักไทย โดย พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรข้างมากเด็ดขาด จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และผู้ถูกร้องที่ 1 โดยนายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรค เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 กำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 ผู้ถูกร้องพรรคที่ 1 พรรคชาติไทย พรรคมหาชน อดีตพรรคการเมืองฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประกาศไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 พรรคไทยรักไทยเพียงพรรคเดียวที่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 500 คนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 98 โดยแบ่งเป็นผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน ตามจำนวนเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ พรรคการเมืองอื่น นอกจากนั้น ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อไม่ครบจำนวน 100 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพียงบางเขตเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549 นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้ปราศรัยต่อประชาชนที่ท้องสนามหลวง กล่าวหาการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทยว่า เป็นระบอบทักษิณ และกล่าวว่าวันนี้ระบอบทักษิณทำลายประชาธิปไตยแล้ว แทรกแซงองค์กรอิสระ ครอบงำวุฒิสภา แทรกแซงสื่อ และในวันเดียวกัน นายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กล่าวโจมตีการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรีว่า เป็นระบอบทักษิณ โดยนอกจากจะกล่าวหาในลักษณะเดียวกับนายอภิสิทธิ์แล้ว ยังกล่าวโจมตีว่า ระบอบดังกล่าวเป็นระบอบที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คุมอำนาจการตัดสินใจสั่งการแต่ผู้เดียว ไม่ให้คณะรัฐมนตรีหรือบุคคลใดเข้าร่วมตัดสินใจตามระบอบรัฐสภา ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ทำเพื่อธุรกิจของตัวเอง และพวกพ้อง ทำลายระบบคุณธรรม ทำให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง มีการทุจริตคอร์รัปชั่นฉ้อราษฎร์บังหลวง และตามที่ได้มีคณะกรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขึ้นเวทีพันธมิตร ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ในระหว่างวันที่ 23 มีนาคม 2549 ถึงวันที่ 20 เมษายน 2549 กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ

เช่นเดียวกับ นายอภิสิทธิ์ รวมทั้ง นายถาวร กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้จัดทำแผ่นใบปลิวที่มีเครื่องหมายของผู้ถูกร้องที่ 1 ระบุว่า ระบอบทักษิณสร้างความแตกแยกในมวลหมู่พี่น้องประชานชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้มีการโกงกันทั้งโคตร ประเทศชาติสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นเพื่อหยุดระบอบทักษิณ เพื่อปราบปรามการโกงทั้งโคตรให้ได้ ปัญหามีว่าการกระทำของ นายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ กรรมการบริหารพรรค และสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังกล่าว เป็นการสร้างคำว่า ระบอบทักษิณ อันเป็นการใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคไทยรักไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และชักจูงใจให้ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองใด ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งหรือไม่ ในประเด็นนี้ได้ความว่า ก่อนมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ปรากฏว่า รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ประสบวิกฤติการณ์ทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง จนมีการคาดการณ์ถึงทางออกของรัฐบาลเพื่อแก้สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อาจลาออก หรือยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศและปราศรัยในที่ต่างๆ ยืนยันว่า รัฐบาลจะไม่ลาออก หรือยุบสภาผู้แทนราษฎร แม้กระทั่งในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2549 ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรเพียง 15 วัน พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวว่า จะไม่มีการลาออก จะไม่ยุบสภาตามเอกสารหมาย ถ 5 และ ถ 6 แต่ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ก็แก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมืองด้วยการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 เมษายน 2549 มีเวลาเตรียมการเลือกตั้งให้พรรคการเมืองต่างๆ เพียง 37 วัน

ภายหลังผู้ถูกร้องที่ 1 พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ร่วมกันประกาศไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 และพรรคไทยรักไทยได้ออกสารไทยรักไทย ตามเอกสารหมาย ถ 8 มีข้อความกล่าวพาดพิงพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรค ดังกล่าว พรรคร่วมฝ่ายค้านก็ได้ออกจดหมายเปิดผนึกชี้แจงและแสดงความเห็นในลักษณะที่กล่าวหาพรรคไทยรักไทยบิดเบือนข้อเท็จจริงและใส่ร้ายพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการยุบสภาผู้แทนราษฎร เหตุผลที่พรรคร่วมฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง การใช้อำนาจทำลายดุลการตรวจสอบ ตลอดจนชี้แจงหรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับต้นเหตุของปัญหาต่างๆ ในการบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยใช้ถ้อยคำว่า ระบอบทักษิณ ตามเอกสารหมาย ถ 7 ก็ยิ่งทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้น ประกอบกับมีกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มพลังประชาชน ทั้งที่สนับสนุนและต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมในที่สาธารณะ โดยมีข้อเรียกร้องลักษณะต่างๆ อันแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความขัดแย้งกันทางความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกออกเป็น 2 ฝ่าย อย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะพรรคการเมือง นักการเมือง นักวิชาการ กลุ่มพลังประชาชน ที่เป็นฝ่ายตรงข้าม หรือต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จัดเวทีปราศรัยโดยนำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง มาเป็นประเด็นหรือหัวข้อ กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยใช้คำว่า ระบอบทักษิณ ปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การครอบงำวุฒิสภา และปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัฐบาล เป็นต้น

ประเด็นในเรื่องระบอบทักษิณนั้น ได้ความตามทางไต่สวนพยานผู้ถูกร้องที่ 1 ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้บัญญัติคำว่า ระบอบทักษิณ แต่เป็นคำนิยามทางการเมืองที่นักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ เช่น นายธีรยุทธ บุญมี ดร.เกษียร เตชะพีระ และ ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ได้กล่าวไว้ในงานศึกษาวิจัยของตน ตามเอกสารหมาย ถ 9 โดยมี ดร.เกษียร เตชะพีระ ได้กล่าวถึงระบอบทักษิณมาตั้งแต่ปี 2546 ในการปาฐกถาเรื่อง 2 ปี ระบอบทักษิณ กับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ นายอภิสิทธิ์ได้ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า พยานและผู้ถูกร้องที่ 1 มีความเห็นเช่นเดียวกับนักวิชาการและสื่อมวลชนทั่วไปว่า หมายถึงวิธีการดำเนินการทางการเมือง และการบริหารประเทศที่ยึดตัวตนและยึดแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหลัก ขาดความเคารพในเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะหลักการขององค์การตรวจสอบและถ่วงดุลโดยองค์กรอิสระ และประชาชน แต่เข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระ สื่อมวลชน องค์กรของรัฐแทบทุกองค์ ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง แต่ทำเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ทำลายระบบคุณธรรม สร้างความแตกแยกของคนในชาติอย่างไม่เคยพบมาก่อน และมีการทุจริตอย่างมโหฬาร สาเหตุที่พยานต้องกล่าวปราศรัยถึงระบอบทักษิณ เพราะผู้ถูกร้องที่ 1 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศยุบสภาฯ โดยไม่ชอบด้วยเหตุผล การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ เหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และเกี่ยวข้องพัวพันถึง พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง

ดังนั้น คำว่าระบอบทักษิณ จึงเป็นถ้อยคำในลักษณะที่วิพากษ์วิจารณ์ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยเฉพาะ ของบรรดานักวิชาการและสื่อมวลชนทั่วไป ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มิได้มีความหมายที่แสดงถึงระบอบการปกครองทำนองเช่นอย่างคำว่า ระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบเผด็จการ ที่สื่อความหมายให้ประชาชนเข้าใจว่าหมายความถึงระบอบการปกครองประเทศ เพียงเป็นการนำชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาใช้ เพื่อง่ายแก่การเรียกขาน และทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ทันทีเมื่อมีการกล่าวถึง โดยหาได้มีวิญญูชนคนใดที่เข้าใจว่าระบอบทักษิณเป็นระบอบการปกครองอีกรูปแบบหนึ่งไม่ ประเด็นคำกล่าวของนายอภิสิทธิ์ที่ว่า วันนี้ระบอบทักษิณทำลายประชาธิปไตยแล้วนั้น ในปัญหานี้นายอภิสิทธิ์ได้ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า พยานชี้แจงและให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชน โดยชี้ให้เห็นถึงการกระทำของนายกรัฐมนตรีในการบริหารบ้านเมืองที่เป็นปัญหา โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่รัฐสภาในการประชุมนัดที่มีความสำคัญ เช่น การประชุมเพื่อพิจารณางบประมาณแผ่นดิน พ.ต.ท.ทักษิณ กลับไปต่างจังหวัดเพื่อพบปะประชาชน ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา แม้จะปรากฏว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาได้ตั้งกระทู้ถาม พ.ต.ท.ทักษิณ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินแทบทุกนัดของการประชุม แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่ยอมมาตอบกระทู้ถามของสมาชิกรัฐสภา

ปรากฏตามรายงานการตั้งกระทู้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมตอบในสภาของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 21 ระหว่างปี พ.ศ.2544-2548 ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการเสนอกระทู้ทั้งหมด 320 เรื่อง ถามเจาะจงนายกรัฐมนตรี 229 เรื่อง นายกรัฐมนตรีตอบเพียง 6 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 1.94 เท่านั้น และสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 22 ระหว่างปี 2548 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีทั้งหมด 34 เรื่อง แต่นายกรัฐมนตรีไม่ตอบกระทู้แม้แต่เรื่องเดียว ตามรายงานการกระทู้ถามสด เอกสารหมาย ถ 11 และยังมีการใช้เสียงข้างมากในสภา ผลักดันให้กฎหมายที่รัฐบาลเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎร ทั้งๆ ที่กฎหมายนั้นมีข้อผิดพลาด จนเป็นผลให้พระราชบัญญัติบางฉบับไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธย สอดคล้องกับบทความของนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา และสมาชิกพรรคไทยรักไทย ในหนังสือรู้ทันทักษิณ 4 เอกสารหมาย ถ 10 ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ไปประชุม หรือไปประชุม แต่ไม่เข้าห้องประชุม บางวันประชุมสภา แต่กลับหาเรื่องไปพบปะราษฎร จนนายอุทัยแสดงความรู้สึกว่า "ถ้าอย่างนี้จะมีสภาไปทำไม โดยส่วนตัวผมเสียความรู้สึกมาก เพราะทำให้ระบบสภาของเราไม่มีความหมาย สะท้อนที่เขาพูดว่าประชาธิปไตยเป็นเพียงเครื่องมือของเขา ผมไม่แฮปปี้มาก" นอกจากนี้ บทความในหนังสือต่างๆ ยังแสดงความรู้สึกของนายอุทัยในการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐบาลอีกว่า "ผู้แทนราษฎรได้ทักท้วง นำเสนอข้อเท็จจริงใหม่ๆ แต่วิปรัฐบาลมักจะดึงดันว่า พรรคส่งมาอย่างนี้ ก็จะเอาอย่างนี้ให้ได้ หลายเรื่องที่งานเสีย แทนที่จะปรับเปลี่ยน และจะทำให้วุฒิสภาทำงานน้อย ไม่เสียเวลามาก แต่ก็ไม่ทำ ไม่ปรับ ไม่แก้ เมื่อใช้มติพรรคเป็นตัวกำหนดกฎหมาย มติพรรคก็เป็นเพียงมติของคนไม่กี่คนในพรรค ในที่สุด ก็เป็นคนไม่กี่คนที่กำหนดกฎหมาย ทำอย่างนี้ระบบสภาก็ไม่มีความหมาย"

ปัญหาเรื่องการแทรกแซงองค์กรอิสระ ครอบงำวุฒิสภา นายอภิสิทธิ์ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า ตลอดเวลา 5 ปี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฏข้อเท็จจริงว่า องค์กรอิสระทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน ถูกแทรกแซง ครอบงำ โดยอำนาจฝ่ายการเมืองมาโดยตลอด ตั้งแต่กระบวนการสรรหา การแต่งตั้ง การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด จนทำให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระดังกล่าวขาดความเป็นอิสระและเที่ยงธรรม เป็นการทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พฤติกรรมการแทรกแซงองค์กรอิสระดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิดเองในหลายกรณี เช่น ติดต่อวิ่งเต้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง เพื่อขอความช่วยเหลือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดจากคดีซุกหุ้น โดยเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน ในส่วนของวุฒิสภานั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้ไปแทรกแซง และครอบงำการทำงานของวุฒิสภา เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเสียงข้างมากมีมติในหลายเรื่อง เป็นไปตามความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลตลอดมา อาทิเช่น การลงมติเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญได้มีการลงมติตามที่รัฐบาลต้องการทุกครั้ง และเป็นที่ทราบทั่วไปว่าสมาชิกวุฒิสภาลงมติโดยมีการกำหนดตัวบุคคล บล็อกโหวตตามความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยมีพยานสนับสนุน คือ นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ซึ่งเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอ่างทอง 4 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529-2539 สมาชิกวุฒิสภาตั้งแต่ปี 2543-2549 ครั้งสุดท้ายดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) และรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่าการเลือกตั้งประธานวุฒิสภาแทน พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ที่ลาออกเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 5 คน คือ พล.ต.มนูญกฤต นายพนัส ทัศนียานนท์ พล.อ.วิชา ศิริธรรม พยาน และนายสุชน ชาลีเครือ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ให้การสนับสนุน และบุคคลที่มีโอกาสจะได้รับเลือกมีเพียง 3 คน คือ พล.ต.มนูญกฤต พยาน และนายสุชน กลุ่มผู้สนับสนุนแต่ละฝ่ายจึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม สำหรับบุคคลที่จะได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาจะต้องได้คะแนนเสียงถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาร่วมประชุม มิฉะนั้นจะต้องมีการเลือกใหม่ในรอบ 2 ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด และตำแหน่งรองลงมา ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดก็จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุมิสภาต่อไป และหากมีการเลือกในรอบ 2 ระหว่างพยาน และ พล.ต.มนูญกฤต กับนายสุชน สมาชิกที่สนับสนุนพยาน และพล.ต.มนูญกฤต ก็จะลงคะแนนให้พล.ต.มนูญกฤต หรือพยาน แล้วแต่กรณีจะทำให้นายสุชน ไม่ได้รับเลือก แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องการให้พยาน หรือ พล.ต.มนูญกฤต ได้รับเลือก เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นฝ่ายตรงข้ามกับ พล.ต.มนูญกฤต อย่างชัดเจน ส่วนพยานเป็นเพื่อนกับนายชวน หลีกภัย และไม่สามารถสั่งการได้

เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เกรงว่านายสุชน จะไม่ได้รับเลือกจึงได้ให้นายศรีเมือง เจริญศิริ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดมหาสารคามคนสนิท พ.ต.ท.ทักษิณ มาเจรจาขอให้พยานถอนตัวจากการสมัครชิงตำแหน่งพยานตอบปฏิเสธ และแจ้งว่าไม่ต้องมาพูดเรื่องนี้อีก ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดข้อร้องให้นายวิกรม อัยศิริ มาเจรจากับพยานเพื่อขอให้ถอนตัว พร้อมกล่าวว่าคนเป็นพ่อค้านักธุรกิจอยากเป็นพวกกับรัฐบาลทั้งนั้น ไม่มีใครอยากอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล เนื่องจากนายวิกรม เป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมในประเทศพม่า และประกอบธุรกิจสายการบินภูเก็ตแอร์ จะต้องมีการติดต่อกับกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ ทั้งนายสุริยะ ได้โทรศัพท์สอบถามถึงนายวิกรม ถึงผลการเจรจาระหว่างนายวิกรม กับพยานด้วย พยานเกรงว่าธุรกิจของนายวิกรม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของพยานและมีส่วนสนับสนุนให้พยานสมัครชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา จะได้รับความเสียหาย หรือผลกระทบ พยานจึงยอมถอนชื่อออกจากการลงสมัครเพื่อหลีกทางให้นายสุชน จนนายสุชนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาด้วยคะแนน 99 คะแนน จากจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาประชุมทั้งหมด 198 คน เท่ากับกึ่งหนึ่งพอดี

หากพยานไม่ถอนตัว โอกาสที่นายสุชนจะได้รับการคัดเลือกดังกล่าวย่อมเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ นายนิพนธ์ยังได้เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำ ยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นในประเด็นเกี่ยวกับการเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระของวุฒิสภาอีกว่า ผลของคะแนนบุคคลตามที่ถูกำหนดไว้มักจะได้รับเลือก เช่น ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 4 สมัยสามัญทั่วไปเป็นพิเศษ เมื่อวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีการเลือกผู้สมัครสมควรดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คือ นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ นายประสิทธิ์ ทรงฤกษ์ พล.ต.อ.วุฒิชัย ศรีรัตนวุฒิ นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ นายชิดชัย พานิชภักดิ์ และนายเชาว์ อรรถมานะ โดย พล.ต.อ.วุฒิชัย ได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการ และจะสังเกตได้ว่ามีข้าราชการตำรวจได้รับการเลือกเข้ามาเป็นกรรมการในองค์กรอิสระ เช่น พล.ต.อ.สุวรรณ สุวรรณเดโช ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุน และสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่ในอดีตวุฒิสภาชุดก่อนจะไม่มีข้าราชการตำรวจได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ หรือในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 18 สมัยสามัญนิติบัญญัติ วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ที่ประชุมลงมติเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่กรรมการสรรหาเสนอรายชื่อมา 18 คน เพื่อให้วุฒิสภาคัดเลือกให้เหลือ 9 คน ปรากฏว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกคนหนึ่งขอถอนตัว ทำให้บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อขาดไป 1 คน ไม่ครบ 18 คน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 7 วุฒิสภายังคงยืนยันให้ลงมติเลือก แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านจากสมาชิกวุฒิสภาหลายคน แต่ที่ประชุมมีมติเลือกจากจำนวนดังกล่าว 9 คน คือ พล.ต.ท.วันชัย ศรีนวลนัด นายไสว จันทศรี นายศิวะ แสงมณี นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ พล.ต.อ.ดรุณ โสตถิพันธุ์ นายสุรพล เอกโยคยะ พล.อ.เกษมชาติ นเรศเศรณี นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์ และนางแน่งน้อย ณ ระนอง โดยนายสุรพล เป็นพี่นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย และเป็นที่ทราบกันล่วงหน้าว่า ได้รับการวางตัวให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในที่สุดนำไปสู่การเริ่มต้นของกระบวนการสรรหาใหม่ แล้วยังมีนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ทำบันทึกถ้อยคำยืนยัน

ข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่ามีการแทรกแซงวุฒิสภา โดยมีการจ่ายเงินให้วุฒิสภาบางคนเป็นรายเดือน หรือครั้งคราว กรณีรัฐบาลมีความต้องการจะได้เสียงข้างมากในมติสำคัญ เช่น กรณีสรรหาบุคคลไปดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรอิสระ หลักฐานที่จะเป็นเครื่องยืนยันได้โดยชัดเจนว่า รัฐบาลทักษิณแทรกแซงวุฒิสภา คือ ผลการลงคะแนนเสียงของสมาชิกวุฒิสภาที่เลือกกรรมการองค์กรอิสระครั้งละหลายคนจะมีบัตรลงคะแนนที่มีคะแนนเสียงออกมาเหมือนกัน หรือซ้ำกันครั้งละเป็นจำนวนมากกว่า 80 คน ในการลงคะแนนเสียงในวาระใดก็ตามที่รัฐบาลต้องการให้เป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่คะแนนเสียงของสมาชิกวุฒิสภาจะเหมือนหรือซ้ำกันเป็นจำนวนสูงถึง 80 เสียง หากไม่มีการตกลงกันมาก่อน การที่คะแนนเสียงของวุฒิสภาเพื่อเลือกคนที่รัฐบาลมีความสัมพันธ์ด้วย ออกมาเช่นนี้ จึงเป็นกรณีที่ชี้ชัดได้ว่า รัฐบาลแทรกแซงวุฒิสภาด้วยวิธีการดังกล่าวที่เรียกว่า บล็อกโหวต

คุกคามสื่อ

ประเด็นเรื่องการแทรกแซงสื่อ นายโสภณ องค์การ สังกัดเครือเดอะเนชั่น และจัดรายการคลื่นวิทยุความถี่ 90.5 เอฟเอ็ม เป็นพยานเบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่า เมื่อปี 2545 พยานและเพื่อนร่วมงานในเครือเดอะเนชั่น รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ตรวจสอบบัญชีเงินฝากเพื่อสืบหาตัวเลขการทำธุรกรรม โดยสงสัยว่าพยานและเพื่อนร่วมงานได้รับสินจ้างรางวัลจากกลุ่มบุคคลใดเพื่อเขียนข่าววิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและบุคคลในรัฐบาล นักการเมืองและเครือข่ายพวกพ้องของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ ทั้งๆ ที่ข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่เข้าข่ายมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน พยานกับพวกร่วมงานได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง แต่เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้สั่งให้ธนาคารพาณิชย์ยุติการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินดังกล่าว ก่อนที่ศาลปกครองจะอ่านคำวินิจฉัยว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อีกประการหนึ่ง การจัดรายการวิทยุเวที 101 คลื่นความถี่ 101 เอฟเอ็ม ที่พยานเป็นผู้จัดรายงานข่าวสาร และวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมือง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งมีผู้แสดงความเห็นทั้งที่สนับสนุน และคัดค้านนโยบายรัฐบาลมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2545 เป็นต้นมา แต่ถึงเดือนมิถุนายน 2546 พยานก็ได้รับแจ้งจากเจ้าของรายการให้งดออกอากาศโดยมีคำชี้แจงเพียงสั้นๆว่า เป็นคำขอร้องจากเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ โดยไม่มีเหตุผลเป็นรายละเอียด แต่เป็นที่รับรู้ เข้าใจกันทั่วไปว่า เป็นคำสั่งจากผู้มีอำนาจทางการเมืองในขณะนั้น นอกจากนี้ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ให้ถ้อยคำยืนยันบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า รายการวิทยุโทรทัศน์ที่พยานเป็นผู้จัดรายการด้วยตัวเอง แม้จะเป็นรายการที่มีประชาชนรับฟัง และรับชม เป็นจำนวนมาก รัฐบาลก็จะเข้ามาคุกคาม และเปลี่ยนผังรายการที่พยานเป็นผู้ดำเนินการออกจากสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ แล้วแต่กรณีจนหมดสิ้น เช่น รายการขอคิดด้วยคน รายการลานบ้านลานเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมทฯ รายการเหรียญสองด้าน รายการตามหาแก่นธรรม ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และรายการวิเคราะห์ข่าวการเมือง ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิยุเอฟเอ็ม 107 ถูกยกเลิกโดยอ้างว่า ไม่มีคนฟัง ทั้งที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และในฐานะพยานเป็นสมาชิกวุฒิสภา และดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมาธิการมีส่วนของประชาชนของวุฒิสภา และเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ มีหน้าที่ตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลที่ขัดต่อกฎหมาย ยังพบว่า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้แทรกแซงสื่อมวลชนหลายรายการ เช่น กรณี นางฟองสนาน จามรจันทร์ ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผู้จัดทำรายการข่าวของวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความเห็นแตกต่างจากนโยบายของรัฐบาล และ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงถูกย้ายไปเป็นเจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ จ.หนองบัวลำพู และไม่ให้จัดทำรายการข่าวทางวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์อีกต่อไป

กรณี นายสิทธิชัย หยุ่น จัดรายการเก็บตกจากเนชั่น ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมทฯ และผู้ถูกร้องที่ 1 ยังได้อ้างส่งคำแถลงการณ์ของสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ในการสัมมนาวันเสรีภาพสื่อโลก เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ถ 39 ที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการใช้เสรีภาพของสื่อ และเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน โดยเฉพาะข้อมูลที่บุคคลในรัฐบาลใช้อำนาจแฝง และอำนาจต่อรองทางธุรกิจแทรกแซงสื่อ อันแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกของผู้มีวิชาชีพสื่อมวลชนทั่วไป โดยไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่า บุคคลในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติกรรมแทรกแซง หรือคุกคามสื่อ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมอีกด้วย ประเด็นเรื่องทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากผู้ถูกร้องที่ 1 มี นายอภิสิทธิ์ เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น ถึงพฤติกรรมของรัฐบาล ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการบริหาราชการแผ่นดิน โดยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น กรณีโครงการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ และการประมูลงานก่อสร้าง หรือติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ กรณีการปล่อยเงินกู้ให้รัฐบาลพม่าของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าเอ็กซิมแบงก์ โดยไม่มีหลักประกันจากรัฐบาลทหารพม่า และกระทรวงการคลัง ต้องชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้ปรากฏภายหลังว่า รัฐบาลพม่านำเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งมาซื้อวัสดุอุปกรณ์โทรคมนาคมจากบริษัทธุรกิจของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณ และว่าจ้างให้บริษัทใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปรับงานจ้างหลายโครงการในประเทศพม่าตามข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 และหนังสือพิมพ์มติชนฉบับลงวันที่ 26 สิงหาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.73 และ ถ.74 หรือปัญหาข้อสงสัยถึงการดำเนินการธุรกิจของบริษัทในครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ว่าการซื้อขายหุ้นระหว่างครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ กับบริษัทเทมาเส็ก ประเทศสิงคโปร์ ที่มีข้อกล่าวหาในการหลีกเลี่ยงภาษีกรณีบริษัทชิน แซตเทิลไลต์ จำกัด(มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานดำเนินธุรกิจดาวเทียมที่มีข้อกล่าวหาในเรื่องได้รับยกเว้นภาษีตามหนังสือรู้ทันทักษิณ 2 และข้อมูลจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ และเดลินิวส์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546 เอกสาร ถ.76 ถ.77 และถ.78 กรณีเข้าไปถือหุ้นรายใหญ่ในสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ของบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีข้อกล่าวหาในเรื่องเกี่ยวกับการลดค่าสัมปทานตามหนังสือรู้ทันทักษิณ เอกสารหมาย ถ.9 เป็นต้น

เหล่านี้นับว่าเป็นปัญหาที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง เฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติจนในที่สุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำมาเป็นเหตุผลหนึ่งในการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ตามคำแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1 เอกสารหมาย ถ.80 โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่าประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดินอันส่อไปในทางทุจริต และประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง และยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าโครงการดังกล่าวบางโครงการปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) กำลังทำการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดอยู่ด้วย

ทำลายระบบคุณธรรม

ส่วนเรื่องการทำร้ายระบบคุณธรรมในการแต่งตั้ง หรือโยกย้ายข้าราชการผู้ถูกร้องที่ 1 ได้อ้างส่งสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ปรากฏข่าสารที่เกี่ยวข้องออกมาวิพากษ์วิจารณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ มิใช้ระบบคุณธรรม โดยคำนึงถึงความรู้และความสามารถ อาวุโส เช่นการแต่งตั้ง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติผู้พี่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุดข้ามอาวุโสนายทหารคนอื่น รวมทั้งสนับสนุนนายทหารซึ่งสำเร็จเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และญาติพี่น้องให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เป็นเหตุให้ พล.อ.มนตรี ศุภาพร จเรทหารทั่วไป ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 ว่า การเมืองแทรกแซงกองทัพ เป็นการทำลายประเพณีธรรมเนียมการแต่งตั้งนายทหาร มุ่งหวังส่งแต่ญาติและเพื่อนมาดำรงตำแหน่งสำคัญ ถือเป็นการบ่อนทำลายกองทัพ พฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีถือเป็นการเนรคุณกองทัพตามหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.42 และยังได้ไปกล่าวย้ำในที่ประชุมสภากลาโหมอีกว่าทหารเป็นเบี้ยล่างของนักการเมืองตามข่าวในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.43 หรือกรณี พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหารที่ไม่เป็นธรรมมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองตามหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันที่ 11 กันยายน 2549 เอกสารหมาย ถ.45 ว่า

ปัจจุบันมีการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร และกิจการภายในกองทัพ ทำให้กองทัพอ่อนแอ เพราะผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าหน่วยหรือเป็นผู้นำหน่วย ต้องสามารถตอบสนองนักการเมือง ส่วนผู้ที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อตอบสนองคุณแผ่นดิน ไม่มีโอกาสเป็นผู้บังคับบัญชา แต่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ที่สนองนักการเมือง ทำให้กองทัพอ่อนแอ หรือกรณีการแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พี่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ขึ้นตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข้ามนายตำรวจที่มีอาวุโสกว่า ตามเอกสารหมาย ถ 47 หรือการผลักดันให้นายสมชัย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมอีกวาระหนึ่ง ทั้งที่นายสมชายเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาแล้ว 4 ปี และได้ขยายเวลาดำรงตำแหน่งครั้งละ 1 ปี 2 ครั้ง รวมเป็น 6 ปี ซึ่งไม่สามารถดำรงตำแหน่งเดิมอีกต่อไปได้ แต่ได้มีการได้สับเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แล้วให้ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งมีอายุราชการเหลือเพียง 8 เดือน มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปลัดกระทรวงยุติธรรมเกษียณราชการในเดือนตุลาคม 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นายสมชายกลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมอีกวาระหนึ่ง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วไปในแวดวงราชการ และสื่อต่างๆ ตามหนังสือพิมพ์มติชน และไทยโพสต์ ฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เอกสาร ถ 48 และ ถ 49 เป็นต้น

พฤติการณ์ส่อทุจริต

ประเด็นดังกล่าวทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาที่ผู้เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนนำมากล่าวอ้างโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ส่อแสดงให้เข้าใจได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลร่วมรัฐบาลบางคนมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือเอื้อประโยชน์แก่ญาติหรือพวกพ้อง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม จนมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม การที่นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งเป็นอดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรของ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงได้นำพฤติการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดจนใช้คำว่า ระบอบทักษิณ มากล่าวปราศรัยก็ดี หรือนายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กล่าวปราศรัยต่อประชาชนในเรื่องของคำว่า ระบอบทักษิณ ก็ดี หรือสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัด ในช่วงที่มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ในลักษณะเช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ รวมทั้งนายถาวร กรรมการผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้จัดทำแผ่นใบปลิวที่มีเครื่องหมายของผู้ถูกร้องที่ 1 ระบุว่า ระบอบทักษิณสร้างความแตกแยกในมวลหมู่พี่น้องประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้มีการโกงทั้งโคตร ประเทศชาติสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ก็ดี

เห็นได้ชัดว่า เป็นลักษณะการตอบโต้กันในทางการเมือง ในขณะที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองทวีความรุนแรงขึ้น และสังคมที่มีความคิดที่ขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยการนำเอาจุดบกพร่องตามที่ปรากฏเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ของพ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะ มากล่าวปราศรัยแก่ประชาชนแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อันเป็นวิสัยของประชาชนทั่วไปย่อมกระทำได้ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งเป็นความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรมในฐานะนักการเมือง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการกระทำหรือพฤติกรรมของรัฐบาลและ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการบริหารราชการแผ่นดิน แม้กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการคืนอำนาจให้ประชาชนโดยการยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็กลับกำหนดวันเลือกตั้งเป็นการทั่วไปภายหลังวันยุบสภาผู้แทนราษฎรในสถานการณ์ทางการเมืองเช่นนี้เพียง 37 วัน จนทำให้พรรคการเมืองด้วยกันเกิดความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่ได้คาดการณ์มาก่อนว่าจะเกิดการยุบสภาด้วยเหตุผลและความจำเป็นตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 จึงเป็นการไม่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองอื่นได้มีเวลาเพียงพอสมควรในการเลือกตั้ง ส่อแสดงให้เข้าใจด้วยว่า เป็นการเอาเปรียบกันในทางการเมืองอีกด้วย

นอกจากนั้น การกล่าวปราศรัยของสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังกล่าว มิใช่ชักชวนประชาชนไม่ให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หากแต่ชักชวนประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยลงคะแนนในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ซึ่งเป็นสิทธิ์ของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 326 (4) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 56 การกระทำของนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และกรรมการบริหาร หรือสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า เป็นการใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยความเท็จ ด้วยการใช้คำว่า ระบอบทักษิณ เพื่อมุ่งหวังให้เป็นโทษแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองใด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดให้มีเวทีปราศรัยใส่ร้ายด้วยความเท็จหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคไทยรักไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และชักจูงให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองใด ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งตามคำร้อง

คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องที่ 1 ในประเด็นนี้ฟังขึ้น

คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(1)

( 56 k ) | ( 256 K )

คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(2)

( 56 k ) | ( 256 K )

คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(3)

( 56 k ) | ( 256 K )

คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(4)

( 56 k ) | ( 256 K )


กำลังโหลดความคิดเห็น