•• มาว่ากันถึง เหตุผล ของฝ่ายที่ต้องการอย่างแรงกล้าให้บัญญัติ“...พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ.” ไว้ใน (ว่าที่)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ถ้าสำเร็จก็จะเท่ากับเป็นปรากฏการณ์ที่ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก แต่จนถึงวันนี้ยัง ไม่ลงตัว และคงใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
•• ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า โดยจารีต แล้ว พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อยู่แล้วจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะไม่บัญญัติ โดยลายลักษณ์อักษร เพราะก็แค่ นำความจริงมาเขียนไว้ และการสนับสนุนข้อเสนอนี้ก็ไม่ได้ทำเกินเลยไปกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ คือ ไม่ได้จำกัดสิทธิศาสนาอื่น เพราะยังคงสนับสนุนให้คงหลักการดังเช่น มาตรา 38 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา...” และหลักการใน มาตรา 73 ที่ว่า “รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธ ศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุน การนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต...”ไว้เหมือนเดิม คณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม – สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพียงแต่มีข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้นดังที่ “เซี่ยงเส้าหลง” รายงานไว้เมื่อวานนี้ว่านอกจาก วรรคแรก ที่ให้บัญญัติว่า“...ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ.” ควรบัญญัติวรรคสองไว้ด้วยว่า “...ศาสนาอื่นที่มีประชาชนจำนวนมากนับถืออย่างเป็นปึกแผ่น ยาวนาน และได้รับการรับรองจากรัฐ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และศาสนาซิกข์.” แล้วไปเพิ่มหลักการสำคัญอีกนิดหน่อยใน มาตรา 38, 73 ในทำนองที่จะให้แปลความได้ว่า ศาสนาอื่นที่รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองหมายถึงเฉพาะศาสนาที่ได้รับการรับรองจากรัฐเท่านั้น เพื่อป้องกัน ลัทธินิกายที่ไม่เหมาะสม เท่านั้น มาตรา 9 เดิม ที่บัญญัติไว้แต่เพียงว่า“...พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก." เพื่อให้สื่อความหมายว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นั้นฝ่ายผู้สนับสนุนเห็นว่า ไม่เพียงพอ แล้ว
•• สถานะที่เป็น โดยจารีต นั้นก็หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยามาจนถึงกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์นั้นทรงเป็น ธรรมราชา พระราชภารกิจสำคัญนอกจาก ปกป้องราชอาณาจักร, ดูแลพสกนิกร แล้วยังจะต้อง อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงกรำศึกตลอดรัชกาลก็เพื่อสนองพระราชปณิธาน “...ตั้งใจจะอุปถัมภก / ยอยกพระพุทธศาสนา / ป้องกันขอบขัณฑสีมา / รักษาประชาชนและมนตรี.” หรือรัชกาลก่อนหน้านั้นในรัชสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงมีพระราชปณิธานที่ไม่แตกต่างกัน “...อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก / ทนลำบากกู้ชาติพระศาสนา / ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา / แด่ศาสนาสมณะพระพุทธโคดม / ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี / สมณะพราหมณ์ปฏิบัติให้พอสม / เจริญสมถะวิปัสสนาพ่อชื่นชม / ถวายบังคมรอยบาทพระศาสดา / คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า / ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา / พระพุทธศาสนาอยู่ยงคู่องค์กษัตรา / พระศาสนาฝากไว้ให้คู่กัน ฯ.” สืบเนื่องมาถึงรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสทรงลาผนวชต่อพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2499 มีความตอนหนึ่งว่า “...โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้า ก็เป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณบูรพการตามคตินิยมด้วย.” หรือในอีกครั้งหนึ่งทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสที่พระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 เสด็จเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อ วันที่ 10 พฤษภาคม 2526 ความตอนหนึ่งว่า “...คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ.” ขนาดองค์พระประมุขของชาติทุกยุคทุกสมัยยังทรงมีพระราชดำรัสไว้ดั่งนี้จึงออกจะ ไม่มีเหตุผล ที่จะ ไม่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุด นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุดของฝ่ายสนับสนุน
•• นอกจากนั้นยังมี เหตุผลอื่น ๆ อีก วันนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ขอประมวลมาสัก 12 ประการ ดังจัดแยกไว้ในล้อมกรอบใกล้ ๆ กันนี้
•• ถ้าจะมีเหตุผลประการใดที่ “เซี่ยงเส้าหลง” จะ ไม่เห็นด้วย ก็เห็นจะเป็นเหตุผลของฝ่ายสนับสนุนบางกลุ่มที่ระบุไว้ว่า“...เพราะไม่มีการบัญญัติไว้ จึงทำให้พระพุทธศาสนาไม่เจริญเท่าที่ควร จะทำอะไรก็ติดขัดในด้านกฎหมาย เพาะไม่มีบัญญัติไว้จึงไม่สมบูรณ์.” ปัญหาเรื่อง ความเจริญ, ความเสื่อม อยู่ที่ แก่นแกน, เนื้อแท้ มากกว่าประเด็น บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากประสบความสำเร็จในการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรฝ่ายผู้สนับสนุนก็ต้องมาศึกษาและพิจารณากันอย่างจริงจังถึง แก่นแกน, เนื้อแท้ อย่างชนิด รอบด้าน กันเสียที
•• ในอีกด้านหนึ่งการที่ฝ่ายคัดค้านเกรงกันว่า จะเป็นชนวนความขัดแย้ง – สร้างความไม่พอใจขึ้นในหมู่ศาสนิกอื่น โดยยกประเด็น วิกฤตภาคใต้ มาอ้างนั้น “เซี่ยงเส้าหลง” เองก็ ไม่เห็นด้วย เพราะความขัดแย้งจะเกิดขึ้นหรือไม่ไม่ได้อยู่ที่ บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ วิกฤตภาคใต้ที่ รุนแรง อยู่ทุกวันนี้ก็ไม่ใช่เพราะประเด็น บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ วิกฤตภาคใต้จะแก้ไขได้หรือไม่แค่ไหนอย่างไรก็ไม่ใช่ประเด็น บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ เช่นกัน

•• เมื่อสัปดาห์ก่อน นพ.แวมามะหะดี แวดาโอะ หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า หมอแว อภิปรายไว้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ธงไตรรงค์ นั้นมี 3 สี 5 แถบ แตกต่างจากชาติอื่น ๆ สีแดง 2 แถบ แถบหนึ่งหมายถึง คนเชื้อชาติไทย อีกแถบหนึ่งหมายถึง คนเชื้อชาติอื่น ๆ แต่สัญชาติไทย เช่นเดียวกับที่ สีขาว 2 แถบ แถบหนึ่งหมายถึง ศาสนาพุทธ อีกแถบหนึ่งหมายถึง ศาสนาอื่น ๆ แต่ไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนนับถือศาสนาอะไรก็ล้วนมีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ความจงรักภักดีใน แถบสีน้ำเงินใหญ่หนึ่งเดียว คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์เดียวกัน
•• ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่า โดยจารีต แล้ว พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อยู่แล้วจึงไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะไม่บัญญัติ โดยลายลักษณ์อักษร เพราะก็แค่ นำความจริงมาเขียนไว้ และการสนับสนุนข้อเสนอนี้ก็ไม่ได้ทำเกินเลยไปกว่ารัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ คือ ไม่ได้จำกัดสิทธิศาสนาอื่น เพราะยังคงสนับสนุนให้คงหลักการดังเช่น มาตรา 38 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา...” และหลักการใน มาตรา 73 ที่ว่า “รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธ ศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุน การนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต...”ไว้เหมือนเดิม คณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม – สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพียงแต่มีข้อเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้รัดกุมยิ่งขึ้นดังที่ “เซี่ยงเส้าหลง” รายงานไว้เมื่อวานนี้ว่านอกจาก วรรคแรก ที่ให้บัญญัติว่า“...ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ.” ควรบัญญัติวรรคสองไว้ด้วยว่า “...ศาสนาอื่นที่มีประชาชนจำนวนมากนับถืออย่างเป็นปึกแผ่น ยาวนาน และได้รับการรับรองจากรัฐ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และศาสนาซิกข์.” แล้วไปเพิ่มหลักการสำคัญอีกนิดหน่อยใน มาตรา 38, 73 ในทำนองที่จะให้แปลความได้ว่า ศาสนาอื่นที่รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองหมายถึงเฉพาะศาสนาที่ได้รับการรับรองจากรัฐเท่านั้น เพื่อป้องกัน ลัทธินิกายที่ไม่เหมาะสม เท่านั้น มาตรา 9 เดิม ที่บัญญัติไว้แต่เพียงว่า“...พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก." เพื่อให้สื่อความหมายว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นั้นฝ่ายผู้สนับสนุนเห็นว่า ไม่เพียงพอ แล้ว
•• สถานะที่เป็น โดยจารีต นั้นก็หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยามาจนถึงกรุงเทพพระมหานครอมรรัตนโกสินทร์นั้นทรงเป็น ธรรมราชา พระราชภารกิจสำคัญนอกจาก ปกป้องราชอาณาจักร, ดูแลพสกนิกร แล้วยังจะต้อง อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงกรำศึกตลอดรัชกาลก็เพื่อสนองพระราชปณิธาน “...ตั้งใจจะอุปถัมภก / ยอยกพระพุทธศาสนา / ป้องกันขอบขัณฑสีมา / รักษาประชาชนและมนตรี.” หรือรัชกาลก่อนหน้านั้นในรัชสมัยกรุงธนบุรีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงมีพระราชปณิธานที่ไม่แตกต่างกัน “...อันตัวพ่อชื่อว่าพระยาตาก / ทนลำบากกู้ชาติพระศาสนา / ถวายแผ่นดินให้เป็นพุทธบูชา / แด่ศาสนาสมณะพระพุทธโคดม / ให้ยืนยงคงถ้วนห้าพันปี / สมณะพราหมณ์ปฏิบัติให้พอสม / เจริญสมถะวิปัสสนาพ่อชื่นชม / ถวายบังคมรอยบาทพระศาสดา / คิดถึงพ่อพ่ออยู่คู่กับเจ้า / ชาติของเราคงอยู่คู่พระศาสนา / พระพุทธศาสนาอยู่ยงคู่องค์กษัตรา / พระศาสนาฝากไว้ให้คู่กัน ฯ.” สืบเนื่องมาถึงรัชกาลปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสทรงลาผนวชต่อพระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2499 มีความตอนหนึ่งว่า “...โดยที่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของเรา ทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้า ก็เป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้บวชสักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณบูรพการตามคตินิยมด้วย.” หรือในอีกครั้งหนึ่งทรงมีพระราชดำรัสในโอกาสที่พระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 เสด็จเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเมื่อ วันที่ 10 พฤษภาคม 2526 ความตอนหนึ่งว่า “...คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ.” ขนาดองค์พระประมุขของชาติทุกยุคทุกสมัยยังทรงมีพระราชดำรัสไว้ดั่งนี้จึงออกจะ ไม่มีเหตุผล ที่จะ ไม่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกฎหมายสูงสุด นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุดของฝ่ายสนับสนุน
•• นอกจากนั้นยังมี เหตุผลอื่น ๆ อีก วันนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ขอประมวลมาสัก 12 ประการ ดังจัดแยกไว้ในล้อมกรอบใกล้ ๆ กันนี้
1. คนไทยในสุวรรณภูมิอยู่คู่กับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่สาม (พ.ศ. 235) ตราบเท่าปัจจุบัน 2. จาก พ.ศ. 235 - พุทธศตวรรษที่ 13 แผ่นดินแหลมทองแบ่งออกเป็น 3 อาณาจักร คือ ล้านนา สุวรรณภูมิและศรีวิชัย แต่ทั้ง 3 อาณาจักรก็ยังนับถือพระพุทธศาสนา 3. สมัยสุโขทัย มีหลักฐานปรากฏชัดว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย พระมหากษัตริย์ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม 4. สมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์และประชาชนต่างก็ยอมรับพระพุทธศาสนาจนเกิดประเพณีการบวชกุลบุตรก่อนเข้ารับราชการ 5. สมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงประกาศไว้ชัดเจน 6. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงสร้างวังพร้อมกับวัด คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 7. กระแสพระดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เคยตรัสไว้หลายครั้งว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ 8. ปัจจุบันมีประชานที่นับถือพระพุทธศาสนาถึง 95 เปอร์เซ็นต์ 9. ประชาชนชาวไทยมีสามสถาบันหลักคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ แต่สถาบันศาสนาไม่เคยมีบัญญัติไว้เลย 10. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมประเพณีของไทย เป็นบ่อเกิดด้านจิตรกรรม ประติมากรรมที่สวยงาม 11. ปัจจุบันชาวโลกยอมรับแล้วว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก และองค์การสหประชาชาติประกาศยกย่องวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก 12. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสำคัญสูงสุดของประเทศจะต้องบันทึกสิ่งสำคัญสูงสุดของประเทศไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน เพื่อเป็นมาตรฐานของคนไทยและเพื่อให้ชาวโลกได้รับรู้ว่าประเทศไทย คนไทย มีชาติไทย มีพระพุทธศาสนา มีพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมสูงสุดที่ใครจะละเมิดมิได้ |
•• ถ้าจะมีเหตุผลประการใดที่ “เซี่ยงเส้าหลง” จะ ไม่เห็นด้วย ก็เห็นจะเป็นเหตุผลของฝ่ายสนับสนุนบางกลุ่มที่ระบุไว้ว่า“...เพราะไม่มีการบัญญัติไว้ จึงทำให้พระพุทธศาสนาไม่เจริญเท่าที่ควร จะทำอะไรก็ติดขัดในด้านกฎหมาย เพาะไม่มีบัญญัติไว้จึงไม่สมบูรณ์.” ปัญหาเรื่อง ความเจริญ, ความเสื่อม อยู่ที่ แก่นแกน, เนื้อแท้ มากกว่าประเด็น บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หากประสบความสำเร็จในการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรฝ่ายผู้สนับสนุนก็ต้องมาศึกษาและพิจารณากันอย่างจริงจังถึง แก่นแกน, เนื้อแท้ อย่างชนิด รอบด้าน กันเสียที
•• ในอีกด้านหนึ่งการที่ฝ่ายคัดค้านเกรงกันว่า จะเป็นชนวนความขัดแย้ง – สร้างความไม่พอใจขึ้นในหมู่ศาสนิกอื่น โดยยกประเด็น วิกฤตภาคใต้ มาอ้างนั้น “เซี่ยงเส้าหลง” เองก็ ไม่เห็นด้วย เพราะความขัดแย้งจะเกิดขึ้นหรือไม่ไม่ได้อยู่ที่ บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ วิกฤตภาคใต้ที่ รุนแรง อยู่ทุกวันนี้ก็ไม่ใช่เพราะประเด็น บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ วิกฤตภาคใต้จะแก้ไขได้หรือไม่แค่ไหนอย่างไรก็ไม่ใช่ประเด็น บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ เช่นกัน
•• เมื่อสัปดาห์ก่อน นพ.แวมามะหะดี แวดาโอะ หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า หมอแว อภิปรายไว้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ธงไตรรงค์ นั้นมี 3 สี 5 แถบ แตกต่างจากชาติอื่น ๆ สีแดง 2 แถบ แถบหนึ่งหมายถึง คนเชื้อชาติไทย อีกแถบหนึ่งหมายถึง คนเชื้อชาติอื่น ๆ แต่สัญชาติไทย เช่นเดียวกับที่ สีขาว 2 แถบ แถบหนึ่งหมายถึง ศาสนาพุทธ อีกแถบหนึ่งหมายถึง ศาสนาอื่น ๆ แต่ไม่ว่าจะเชื้อชาติไหนนับถือศาสนาอะไรก็ล้วนมีศูนย์รวมจิตใจอยู่ที่ความจงรักภักดีใน แถบสีน้ำเงินใหญ่หนึ่งเดียว คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์เดียวกัน