มหากาพย์ความอัปยศของ "สื่อเสรี" อันเป็นอานิสงส์จากเหตุการณ์ 'พฤษภาทมิฬ' ที่ชื่อ 'ไอทีวี' เริ่มเห็นแสงสว่าง และเค้าลางของการเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเมื่อ ปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) คนใหม่ออกมาระบุว่า กรณี "ค่าโง่" จากสัมปทานบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ที่ปัจจุบันตกอยู่ในการควบคุมของกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่นนั้น ทางสปน.จะเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับภาครัฐกรณีที่ไอทีวีผิดสัญญา พร้อมกล่าวว่า
"หากมีการยืดระยะเวลาไปอีก ไอทีวีอาจจะต้องเสียค่าปรับให้รัฐสูงกว่า 8 หมื่นล้านบาทเข้าไปแล้ว จากเดิมที่คำนวณ 76,000 ล้านบาท เมื่อนับวันที่ไอทีวีผิดสัญญารวมไปด้วย ...”
สำหรับประชาชนชาวไทยทั่วไป เรื่องราวดูเหมือนจะไม่หวานชื่นเช่นนี้ โดยหากหวนกลับไปพิจารณาสถานการณ์ก่อนคืนเกิดการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ซึ่งการจัดการปัญหากรณีไอทีวีนั้นล้วนแล้วตกอยู่ใน 'กำมือ' ของระบอบทักษิณทั้งสิ้น
ย้อนกลับไปเมื่อ 9 พฤษภาคม 2549 วันที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 476/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 584/2549 ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีผู้ร้อง กับ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ผู้คัดค้าน เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการคดีไอทีวี!
กล่าวคือ คำพิพากษาของศาลปกครองฉบับนั้นส่งผลให้ ไอทีวีต้องปรับผังรายการใหม่ โดยต้องกลับมาให้ความสำคัญกับรายการข่าว-สาระ มากกว่ารายการบันเทิงตามจุดประสงค์เดิมในการก่อตั้งที่ต้องการให้ไอทีวีเป็น 'ทีวีเสรี' เป็น 'สื่อสาระ' ที่เผยแพร่ข่าวตามข้อเท็จจริง เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง แทนที่จะเป็นสื่อเพื่อบันเทิง มอมเมาประชาชนไปวันๆ ทั้งยังหมายความว่าบริษัทไอทีวีจะต้องจ่ายค่าปรับให้รัฐถึง 75,000 ล้านบาทด้วย!!!
หลังคำพิพากษาศาลปกครอง รัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ขยับตัวเข้าคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางธุรกิจของชินคอร์ป ธุรกิจที่ครอบครัวชินวัตร-ดามาพงษ์ เพิ่งขายให้กับกองทุนเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ทันควันโดยรัฐบาลทักษิณได้แต่งตั้งมือทำงานใกล้ชิดคือ นายรองพล เจริญพันธุ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเลขาธิการ ครม. แทนนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณที่ลาออกไป และตั้งเพื่อนสนิท พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแทน โดยมีนายเนวิน ชิดชอบ รักษาการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับอยู่อีกต่อ
ณ เวลานั้นการตั้ง นายรองพล และ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ส่งให้เกิดข้อครหาในหมู่ประชาชน สื่อมวลชน และผู้ที่จับตามองกรณีไอทีวีอย่างใกล้ชิดขึ้นมาทันทีว่า การตั้งทั้งสองคนนี้ขึ้นมาก็เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จำเป็นต้องมี "บริการหลังการขาย" ให้กับกลุ่มทุนสิงคโปร์ที่เข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทในเครือชินคอร์ปที่เคยเป็นของตนเองและครอบครัว
การแต่งตั้งบุคคลทั้งสอง แม้จะมีข้อครหาอย่างมากว่าตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อดำเนินปฏิบัติการ 'บริการหลังการขาย' ให้กับเทมาเส็ก ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายหลายฝ่ายท้วงติงมาว่า การแต่งตั้งครั้งนี้นั้นไม่ถูกต้องเพราะฝ่าผืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 ที่ระบุว่าการแต่งตั้งข้าราชการระดับ 11 เป็นเรื่องสำคัญ และต้องขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อน ... อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทักษิณก็ไม่ฟัง!
นายรองพล เจริญพันธุ์ ปัจจุบันอายุ 59 ปี ถือเป็นนักกฎหมายมือดีคนหนึ่ง ในปี พ.ศ.2518 หลังจากจบปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ประเทศออสเตรเลีย ก็กลับมาเป็น อาจารย์สอนวิชาสอนวิชานิติปรัชญา ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่พักหนึ่งก่อนจะสลัดคราบนักวิชาการเดินเข้าสู่แวดวงข้าราชการประจำ
นายรองพล เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น เลขานุการกรรมการรางกฎหมาย (2521-2528), ผูอํานวยการกองกฎหมายตางประเทศ (2528-2534), รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (2538-2543) รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (2543-2547)
ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 10) ก็มีโอกาสได้เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 41 และรู้จักมักคุ้นกับคนดังจากแวดวงต่างๆ เช่น พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาฯคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คนปัจจุบัน (ซึ่งขณะนั้นยังติดยศ พลโท และมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมข่าวทหาร) คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ พล.ต.ท.จงรัก จุฑานนท์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เป็นต้น
เมื่อก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ นายรองพล เคยสร้างความฮือฮาด้วยการตั้งชื่อห้องประชุมใหม่ของสำนักงานปลัดสำนักนายกฯว่า ห้อง "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" แทนที่จะเป็นชื่ออดีตปลัดสำนักนายกฯ ทั้งๆ ที่ตามธรรมเนียมปฏิบัติไม่เคยมีปรากฏมาก่อนที่จะนำชื่อนายกรัฐมนตรีขณะดำรงตำแหน่งมาใช้เป็นชื่อป้ายห้องประชุม
นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้ นายรองพล ยังเคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ อสมท. ชุดที่มี นายเรวัต ฉ่ำเฉลิมนั่งเป็นประธาน และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็น ผอ. อีกด้วย
หลังข่าวคำพิพากษาไอทีวีจากศาลปกครอง (วันที่ 9 พ.ค.) ทางปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดย นายรองพล ที่แต่เดิมมีท่าทีชัดเจนว่าทางไอทีวีจะต้องจ่ายเงินค่าปรับจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 75,000 ล้านบาทให้กับทาง สปน. และต้องจ่ายทันทีโดยไม่ต้องรอคำชี้ขาดของศาลปกครองสูงสุด ก็สร้างผลงาน 'เข้าตานาย' ด้วยการออกมา 'อุ้ม' ไอทีวี โดยให้สัมภาษณ์ว่า
“ผมคิดว่าค่าปรับ 10% ต่อวัน ไม่น่าจะเกิน 700-800 ล้านบาท ดังนั้นการที่ฝ่ายเลขาฯ สรุปมาเป็นหมื่นๆ ล้าน ไม่น่าจะถึงขนาดนั้น ผมจะขอดูอีกครั้งและคิดดูก่อน เป็นไปไม่ได้ว่าค่าปรับจะสูงกว่าค่าค้างชำระ” พร้อมกล่าวด้วยว่าสัญญาระหว่าง สปน.และไอทีวี ที่ผ่านมาสามารถตีความได้ 2 นัย เนื่องจากไม่ชัดเจนจึงต้องส่งให้อัยการตีความอีกครั้งเพราะจะเข้าใจสัญญานี้ได้ดีกว่า!
การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในลักษณะปกป้อง 'เอกชน' และก่อให้เกิดความเสียหายต่อ รัฐ ประเทศชาติ และประชาชนของนายรองพลในกรณีค่าปรับไอทีวีนั้นยังมีอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง
ต่อมาเมื่อนายรองพล ถูกโยกจากปลัดสำนักนายกฯ ให้มาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ ครม. เขาก็ประสานงานกับ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เพื่อนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินหน้าปกป้องผลประโยชน์ของไอทีวีต่อ ด้วยความพยายามตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาพิจารณากรณีนี้ซ้ำอีกครั้ง ...
หลัง 'รัฐบาลทักษิณ' ถูกยึดอำนาจ ในคืนวันที่ 19 ก.ย. ขณะที่ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มีคำสั่งย้าย พล.ต.ต.พีรพันธุ์มาประจำสำนักนายกฯ ด้านนายรองพล ก็อาศัยคอนเนคชั่น วปอ.รุ่นที่ 41 และในฐานะคนคุ้นเคยกับ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล หนึ่งในมันสมองของคปค.สามารถยึดเก้าอี้เลขาฯ ครม.เอาไว้ได้ ทั้งยังถูกตั้งให้ รักษาการปลัดสำนักนายกฯ ควบอีกตำแหน่งด้วย
วันที่ 26 ก.ย. หลังทักษิณสิ้นวาสนาจนต้องหลบไปกบดานอยู่ในต่างประเทศ นายรองพลก็เปลี่ยนสีทันควัน ด้วยการสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำเนียบฯ ปลดรูป-ป้ายชื่อห้องประชุม “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ที่ตนเองเป็นคนตั้งออก พร้อมสั่งให้เจ้าทำความสะอาดห้องทำงานนายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อรอรับนายคนใหม่
ล่าสุด มีข่าวแว่วๆ มาว่ารัฐบาลและคมช. กำลังจะพิจารณา ผลงานรับใช้ระบอบทักษิณที่นายรองพลได้สั่งสมเอาไว้ ทั้งนี้หากศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคดีไอทีวีออกมาซ้ำรอยเดิมเมื่อใด นายรองพลก็มีแววต้องรับกรรม โดนเด้งเข้ากรุไปช่วยราชการสำนักนายกฯ และอาจถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีกด้วย
"หากมีการยืดระยะเวลาไปอีก ไอทีวีอาจจะต้องเสียค่าปรับให้รัฐสูงกว่า 8 หมื่นล้านบาทเข้าไปแล้ว จากเดิมที่คำนวณ 76,000 ล้านบาท เมื่อนับวันที่ไอทีวีผิดสัญญารวมไปด้วย ...”
สำหรับประชาชนชาวไทยทั่วไป เรื่องราวดูเหมือนจะไม่หวานชื่นเช่นนี้ โดยหากหวนกลับไปพิจารณาสถานการณ์ก่อนคืนเกิดการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ซึ่งการจัดการปัญหากรณีไอทีวีนั้นล้วนแล้วตกอยู่ใน 'กำมือ' ของระบอบทักษิณทั้งสิ้น
ย้อนกลับไปเมื่อ 9 พฤษภาคม 2549 วันที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 476/2547 คดีหมายเลขแดงที่ 584/2549 ระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีผู้ร้อง กับ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ผู้คัดค้าน เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการคดีไอทีวี!
กล่าวคือ คำพิพากษาของศาลปกครองฉบับนั้นส่งผลให้ ไอทีวีต้องปรับผังรายการใหม่ โดยต้องกลับมาให้ความสำคัญกับรายการข่าว-สาระ มากกว่ารายการบันเทิงตามจุดประสงค์เดิมในการก่อตั้งที่ต้องการให้ไอทีวีเป็น 'ทีวีเสรี' เป็น 'สื่อสาระ' ที่เผยแพร่ข่าวตามข้อเท็จจริง เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง แทนที่จะเป็นสื่อเพื่อบันเทิง มอมเมาประชาชนไปวันๆ ทั้งยังหมายความว่าบริษัทไอทีวีจะต้องจ่ายค่าปรับให้รัฐถึง 75,000 ล้านบาทด้วย!!!
หลังคำพิพากษาศาลปกครอง รัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ขยับตัวเข้าคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางธุรกิจของชินคอร์ป ธุรกิจที่ครอบครัวชินวัตร-ดามาพงษ์ เพิ่งขายให้กับกองทุนเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ทันควันโดยรัฐบาลทักษิณได้แต่งตั้งมือทำงานใกล้ชิดคือ นายรองพล เจริญพันธุ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเลขาธิการ ครม. แทนนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณที่ลาออกไป และตั้งเพื่อนสนิท พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เปรมภูติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแทน โดยมีนายเนวิน ชิดชอบ รักษาการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับอยู่อีกต่อ
ณ เวลานั้นการตั้ง นายรองพล และ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ ส่งให้เกิดข้อครหาในหมู่ประชาชน สื่อมวลชน และผู้ที่จับตามองกรณีไอทีวีอย่างใกล้ชิดขึ้นมาทันทีว่า การตั้งทั้งสองคนนี้ขึ้นมาก็เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ จำเป็นต้องมี "บริการหลังการขาย" ให้กับกลุ่มทุนสิงคโปร์ที่เข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทในเครือชินคอร์ปที่เคยเป็นของตนเองและครอบครัว
การแต่งตั้งบุคคลทั้งสอง แม้จะมีข้อครหาอย่างมากว่าตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเพื่อดำเนินปฏิบัติการ 'บริการหลังการขาย' ให้กับเทมาเส็ก ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายหลายฝ่ายท้วงติงมาว่า การแต่งตั้งครั้งนี้นั้นไม่ถูกต้องเพราะฝ่าผืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 ที่ระบุว่าการแต่งตั้งข้าราชการระดับ 11 เป็นเรื่องสำคัญ และต้องขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อน ... อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทักษิณก็ไม่ฟัง!
นายรองพล เจริญพันธุ์ ปัจจุบันอายุ 59 ปี ถือเป็นนักกฎหมายมือดีคนหนึ่ง ในปี พ.ศ.2518 หลังจากจบปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ประเทศออสเตรเลีย ก็กลับมาเป็น อาจารย์สอนวิชาสอนวิชานิติปรัชญา ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่พักหนึ่งก่อนจะสลัดคราบนักวิชาการเดินเข้าสู่แวดวงข้าราชการประจำ
นายรองพล เคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น เลขานุการกรรมการรางกฎหมาย (2521-2528), ผูอํานวยการกองกฎหมายตางประเทศ (2528-2534), รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (2538-2543) รองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี (2543-2547)
ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นักบริหาร 10) ก็มีโอกาสได้เข้าเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 41 และรู้จักมักคุ้นกับคนดังจากแวดวงต่างๆ เช่น พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาฯคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คนปัจจุบัน (ซึ่งขณะนั้นยังติดยศ พลโท และมีตำแหน่งเป็นเจ้ากรมข่าวทหาร) คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ พล.ต.ท.จงรัก จุฑานนท์ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เป็นต้น
เมื่อก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ นายรองพล เคยสร้างความฮือฮาด้วยการตั้งชื่อห้องประชุมใหม่ของสำนักงานปลัดสำนักนายกฯว่า ห้อง "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" แทนที่จะเป็นชื่ออดีตปลัดสำนักนายกฯ ทั้งๆ ที่ตามธรรมเนียมปฏิบัติไม่เคยมีปรากฏมาก่อนที่จะนำชื่อนายกรัฐมนตรีขณะดำรงตำแหน่งมาใช้เป็นชื่อป้ายห้องประชุม
นอกจากนั้น ก่อนหน้านี้ นายรองพล ยังเคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ อสมท. ชุดที่มี นายเรวัต ฉ่ำเฉลิมนั่งเป็นประธาน และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็น ผอ. อีกด้วย
หลังข่าวคำพิพากษาไอทีวีจากศาลปกครอง (วันที่ 9 พ.ค.) ทางปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดย นายรองพล ที่แต่เดิมมีท่าทีชัดเจนว่าทางไอทีวีจะต้องจ่ายเงินค่าปรับจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 75,000 ล้านบาทให้กับทาง สปน. และต้องจ่ายทันทีโดยไม่ต้องรอคำชี้ขาดของศาลปกครองสูงสุด ก็สร้างผลงาน 'เข้าตานาย' ด้วยการออกมา 'อุ้ม' ไอทีวี โดยให้สัมภาษณ์ว่า
“ผมคิดว่าค่าปรับ 10% ต่อวัน ไม่น่าจะเกิน 700-800 ล้านบาท ดังนั้นการที่ฝ่ายเลขาฯ สรุปมาเป็นหมื่นๆ ล้าน ไม่น่าจะถึงขนาดนั้น ผมจะขอดูอีกครั้งและคิดดูก่อน เป็นไปไม่ได้ว่าค่าปรับจะสูงกว่าค่าค้างชำระ” พร้อมกล่าวด้วยว่าสัญญาระหว่าง สปน.และไอทีวี ที่ผ่านมาสามารถตีความได้ 2 นัย เนื่องจากไม่ชัดเจนจึงต้องส่งให้อัยการตีความอีกครั้งเพราะจะเข้าใจสัญญานี้ได้ดีกว่า!
การให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในลักษณะปกป้อง 'เอกชน' และก่อให้เกิดความเสียหายต่อ รัฐ ประเทศชาติ และประชาชนของนายรองพลในกรณีค่าปรับไอทีวีนั้นยังมีอย่างต่อเนื่องอีกหลายครั้ง
ต่อมาเมื่อนายรองพล ถูกโยกจากปลัดสำนักนายกฯ ให้มาดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ ครม. เขาก็ประสานงานกับ พล.ต.ต.พีรพันธุ์ เพื่อนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินหน้าปกป้องผลประโยชน์ของไอทีวีต่อ ด้วยความพยายามตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมาพิจารณากรณีนี้ซ้ำอีกครั้ง ...
หลัง 'รัฐบาลทักษิณ' ถูกยึดอำนาจ ในคืนวันที่ 19 ก.ย. ขณะที่ทางคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มีคำสั่งย้าย พล.ต.ต.พีรพันธุ์มาประจำสำนักนายกฯ ด้านนายรองพล ก็อาศัยคอนเนคชั่น วปอ.รุ่นที่ 41 และในฐานะคนคุ้นเคยกับ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล หนึ่งในมันสมองของคปค.สามารถยึดเก้าอี้เลขาฯ ครม.เอาไว้ได้ ทั้งยังถูกตั้งให้ รักษาการปลัดสำนักนายกฯ ควบอีกตำแหน่งด้วย
วันที่ 26 ก.ย. หลังทักษิณสิ้นวาสนาจนต้องหลบไปกบดานอยู่ในต่างประเทศ นายรองพลก็เปลี่ยนสีทันควัน ด้วยการสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำเนียบฯ ปลดรูป-ป้ายชื่อห้องประชุม “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ที่ตนเองเป็นคนตั้งออก พร้อมสั่งให้เจ้าทำความสะอาดห้องทำงานนายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อรอรับนายคนใหม่
ล่าสุด มีข่าวแว่วๆ มาว่ารัฐบาลและคมช. กำลังจะพิจารณา ผลงานรับใช้ระบอบทักษิณที่นายรองพลได้สั่งสมเอาไว้ ทั้งนี้หากศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคดีไอทีวีออกมาซ้ำรอยเดิมเมื่อใด นายรองพลก็มีแววต้องรับกรรม โดนเด้งเข้ากรุไปช่วยราชการสำนักนายกฯ และอาจถูกสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอีกด้วย