พลันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคไทยรักไทยเขียนจดหมายลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 ก็ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยทั้งหมดต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที
การประกาศลาออกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากระแสการไหลออก-หนีตาย ของ ส.ส. กลุ่ม-วังต่างๆ และสมาชิกพรรคไทยรักไทยเป็นร้อยๆ คน ที่ต่างก็หวาดหวั่นกับการถูกยุบพรรคโดยคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ สถานการณ์เช่นนี้อาจเรียกได้ว่า พรรคที่เคยยิ่งใหญ่เคยมี ส.ส.ในสังกัดมากถึง 377 คน จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ณ เวลานั้นหากเปรียบเป็นผู้ป่วย ก็เป็นผู้ป่วยที่อาการอยู่ในขั้น "โคม่า!"
โคม่าถึงขนาดที่ผู้นำพรรคมือรองอย่าง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ยังปฏิเสธตำแหน่งประมุขพรรค!
กระทั่งบุคคลนาม จาตุรนต์ ฉายแสง ประกาศรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทยพ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยาผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยจึงได้ถอนหายใจอย่างโล่งอก ...
หากย้อนไปดูประวัติของจาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้าพรรคไทยรักไทยยุคขัดตาทัพซึ่งมักถูกสื่อมวลชนยิงคำถามว่าเป็น 'หัวหน้าพรรคนอมินี' ดังเช่น หุ่นเชิด-นอมินีหลายๆ กรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ นิยมใช้หรือเปล่า? เพราะเหตุใดคนผู้นี้จึงกล้ากระโดดมารับเผือกร้อนลูกนี้ต่อจากบุคคลที่ถูกตราหน้าว่าเป็นทรราชของแผ่นดิน? เราก็จะพบคำตอบได้ไม่ยาก
จาตุรนต์ หรือ 'อ๋อย' เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2499 ณ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นบุตรนายอนันต์ ฉายแสง อดีตนักการเมืองรุ่นเก๋า ส.ส.ฉะเชิงเทราหลายสมัย และอดีตรัฐมนตรี กับนางเฉลียว ฉายแสง มีพี่น้อง 4 คน โดยจาตุรนต์เป็นคนโต มีน้องชาย 2 คน น้องสาว 1 คน
จาตุรนต์เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบ จากนั้นสอบเข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งทำกิจกรรมนักศึกษาไปด้วยจนได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ขึ้น โดยขณะนั้นมีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษาอย่างหนัก จนทำให้เขาต้องหลบไปใช้ชีวิตเยี่ยงคอมมิวนิสต์อยู่ในป่าพรรคหนึ่ง
... และนี่เองที่ทำให้ จาตุรนต์ถูกจัดเป็นหนึ่งใน "คนเดือนตุลา" ที่เดินขวักไขว่อยู่ในพรรคไทยรักไทยไม่ว่าจะเป็น นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ภูมิธรรม เวชยชัย เกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ ฯลฯ
หลังจากสถานการณ์คลี่คลายจาตุรนต์จึงออกจากป่าและบินไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์จาก State University of New York สหรัฐอเมริกา ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จาก The American University , Washington D.C. ในปี 2529 ระหว่างที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ American University โดยยังไม่ทันจบการศึกษา จาตุรนต์ก็ถูกผู้เป็นพ่อเรียกกลับให้มาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ฉะเชิงเทรา ในนามพรรคประชาธิปัตย์และเขาก็มีโอกาสก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปีนั้นเอง
หลังปี 2529 จาตุรนต์ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ฉะเชิงเทราอย่างต่อเนื่องโดยได้เป็นส.ส.ปี 2529 และ 2531 ทั้งนี้เมื่อย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์มาสังกัดพรรคความหวังใหม่ก็ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องอีกคือในปี 2535 2538 และ 2539
ระหว่างอยู่ในพรรคความหวังใหม่ จาตุรนต์ถือเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่มาแรงโดยได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคและในคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ชวลิต คือ โฆษกพรรคความหวังใหม่ (2535-2538) ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2538-2539) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (2539-2540) เลขาธิการพรรความหวังใหม่ (2541-2543)
กระนั้นเมื่อตอนที่จาตุรนต์เป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ในช่วงปลายปี 2541 ถึงต้นปี 2543 โดยเข้ามาเป็นเลขาธิการพรรคแทนนายเสนาะ เทียนทอง เขาตั้งเป้าว่าจะเข้ามาปฏิรูปพรรคให้เป็นระบบและมีอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เพียงไม่นานก็เกิดคลื่นใต้น้ำขึ้นในพรรค เนื่องจากกลุ่มการเมืองและ ส.ส.ในพรรคไม่ค่อยพอใจเลขาธิการพรรคเพราะขาด "ปัจจัย" ประกอบกับภาพของความเป็นนักวิชาการมากกว่านักการเมือง ทำให้ ส.ส.มองว่า เป็นคนไม่ติดดินเข้าหายากไม่คลุกคลีกับ ส.ส.
ผลสุดท้าย 'อ๋อย' ก็ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค โดยให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้ามารับตำแหน่งแทน
เมื่อพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเดินหน้าลงสู่สนามการเลือกตั้ง จาตุรนต์อันเป็นตัวแทนทางการเมืองของครอบครัวฉายแสงจึงตัดสินใจตีจากรังเดิม ย้ายพรรคอีกครั้งมาซบอยู่กับพรรคไทยรักไทยและได้รับเลือกเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ.2544 และ 2548
หากย้อนไปดูความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณและจาตุรนต์แล้วจะทราบว่า ความสัมพันธ์ของสองครอบครัวนี้มีมายาวนานมาตั้งแต่รุ่นพ่อคือ นายเลิศ ชินวัตร บิดาของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น เป็น ส.ส.รุ่นเดียวกับนายอนันต์ ฉายแสง บิดาของจาตุรนต์ ทั้งยังสังกัด ส.ส.กลุ่มอิสระ ด้วยกัน
ครั้งเมื่อจาตุรนต์ไปเรียนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อนที่จะเข้าป่านั้น นายอนันต์ก็ได้ให้ไปพักอยู่ที่บ้านของนายเลิศเป็นครั้งคราว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณกับจาตุรนต์รู้จักคุ้นเคยกันมากว่า 30 ปีแล้ว และนี่เองก็เป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใดจาตุรนต์จึงเป็นนักการเมืองผู้หนึ่งที่ได้รับความไว้วางใจจาก พ.ต.ท.ทักษิณมาตลอด โดยไม่เคยหลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรีเลยตลอดเวลา 5 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ...
ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จาตุรนต์รับตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อกุมภาพันธ์ 2544 ถัดมาเดือนมีนาคม 2545 ขยับไปเป็น รมว.ยุติธรรม ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน จนรัฐบาลครบวาระ 4 ปีเมื่อ 8 มีนาคม 2548 ในสมัยรัฐบาล "ทักษิณ 2" ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยรับหน้าที่สำคัญคือ ผู้ผลักดันยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ ยุทธศาสตร์ดับไฟ ก่อนที่จะถูกมอบหมายให้ไปนั่งรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในการปรับครม.เมื่อเดือนสิงหาคม 2548
ช่วงเวลา 5 ปีกว่าๆ ของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 'เดอะอ๋อย' นอกจากการรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เปิดไฟใส่หมวกแล้ว รัฐมนตรีผู้นี้ก็แทบไม่มีผลงานการบริหารงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาไฟใต้ที่ยังคุโชนอยู่กระทั่งปัจจุบัน และยิ่งหนักหนาไปอีกหากพิจารณาผลงานในช่วงดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ. จากปัญหาการประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นสูง (เอเน็ต) ที่ยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษานับเป็นแสนๆ คน
ในเดือนเมษายน 2549 ขณะที่รัฐบาลทักษิณกำลังอยู่ในสภาวะคลอนแคลน และปัญหา เอเน็ต-โอเน็ต กำลังยุ่งเหยิง รักษาการรมว.กระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าพรรคไทยรักไทยคนปัจจุบันที่ชื่อ จาตุรนต์ ฉายแสง กลับตอบเสียงเรียกร้องให้ตนเองแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่ง รมว.ศธ.ว่า
"ที่ผมยังไม่ลาออกก็เพราะต้องการรับผิดชอบปัญหา และหากเป็นสภาวะปกติ ที่ผมไม่ใช่รักษาการรัฐมนตรีตนก็พร้อมลาออกทันที!?!"
ในเวลานั้น เด็กนักเรียนและผู้ปกครองเมื่อได้ฟัง "ความรับผิดชอบ" ในแบบของจาตุรนต์ ที่ลอกแบบออกมาจากหัวหน้าพรรคและคนในระบอบทักษิณแล้วก็แทบอ้วก ไปตามๆ กัน ...
สำหรับ การเข้ามารับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยของจาตุรนต์ ณ วันนี้ ปัญหาใหญ่ของเขาก็คงไม่ผิดจากเดิมเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ในช่วงระหว่างปี 2541-2543 สักเท่าไหร่ เพราะถึงปัจจุบันเขาก็ยังคงเป็นนักการเมืองที่ขาด 'ปัจจัย' ขาด 'ทุน' เพียงพอจะหล่อเลี้ยงพรรคการเมืองที่ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเติบโตมาด้วยวัฒนธรรมของนายทุนกระเป๋าหนัก ...
นี่เองจึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ณ วันนี้ จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นหัวหน้าพรรคตัวจริงหรือหัวหน้าพรรคนอมินีของไทยรักไทยกันแน่ และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังของเขาคือใคร
การประกาศลาออกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่หนักหนาสาหัสเท่ากระแสการไหลออก-หนีตาย ของ ส.ส. กลุ่ม-วังต่างๆ และสมาชิกพรรคไทยรักไทยเป็นร้อยๆ คน ที่ต่างก็หวาดหวั่นกับการถูกยุบพรรคโดยคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ สถานการณ์เช่นนี้อาจเรียกได้ว่า พรรคที่เคยยิ่งใหญ่เคยมี ส.ส.ในสังกัดมากถึง 377 คน จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ณ เวลานั้นหากเปรียบเป็นผู้ป่วย ก็เป็นผู้ป่วยที่อาการอยู่ในขั้น "โคม่า!"
โคม่าถึงขนาดที่ผู้นำพรรคมือรองอย่าง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ยังปฏิเสธตำแหน่งประมุขพรรค!
กระทั่งบุคคลนาม จาตุรนต์ ฉายแสง ประกาศรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทยพ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยาผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยจึงได้ถอนหายใจอย่างโล่งอก ...
หากย้อนไปดูประวัติของจาตุรนต์ ฉายแสง หัวหน้าพรรคไทยรักไทยยุคขัดตาทัพซึ่งมักถูกสื่อมวลชนยิงคำถามว่าเป็น 'หัวหน้าพรรคนอมินี' ดังเช่น หุ่นเชิด-นอมินีหลายๆ กรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ นิยมใช้หรือเปล่า? เพราะเหตุใดคนผู้นี้จึงกล้ากระโดดมารับเผือกร้อนลูกนี้ต่อจากบุคคลที่ถูกตราหน้าว่าเป็นทรราชของแผ่นดิน? เราก็จะพบคำตอบได้ไม่ยาก
จาตุรนต์ หรือ 'อ๋อย' เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2499 ณ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นบุตรนายอนันต์ ฉายแสง อดีตนักการเมืองรุ่นเก๋า ส.ส.ฉะเชิงเทราหลายสมัย และอดีตรัฐมนตรี กับนางเฉลียว ฉายแสง มีพี่น้อง 4 คน โดยจาตุรนต์เป็นคนโต มีน้องชาย 2 คน น้องสาว 1 คน
จาตุรนต์เป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบ จากนั้นสอบเข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งทำกิจกรรมนักศึกษาไปด้วยจนได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ได้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 2519 ขึ้น โดยขณะนั้นมีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษาอย่างหนัก จนทำให้เขาต้องหลบไปใช้ชีวิตเยี่ยงคอมมิวนิสต์อยู่ในป่าพรรคหนึ่ง
... และนี่เองที่ทำให้ จาตุรนต์ถูกจัดเป็นหนึ่งใน "คนเดือนตุลา" ที่เดินขวักไขว่อยู่ในพรรคไทยรักไทยไม่ว่าจะเป็น นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ภูมิธรรม เวชยชัย เกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ ฯลฯ
หลังจากสถานการณ์คลี่คลายจาตุรนต์จึงออกจากป่าและบินไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์จาก State University of New York สหรัฐอเมริกา ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จาก The American University , Washington D.C. ในปี 2529 ระหว่างที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ American University โดยยังไม่ทันจบการศึกษา จาตุรนต์ก็ถูกผู้เป็นพ่อเรียกกลับให้มาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ฉะเชิงเทรา ในนามพรรคประชาธิปัตย์และเขาก็มีโอกาสก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปีนั้นเอง
หลังปี 2529 จาตุรนต์ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ฉะเชิงเทราอย่างต่อเนื่องโดยได้เป็นส.ส.ปี 2529 และ 2531 ทั้งนี้เมื่อย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์มาสังกัดพรรคความหวังใหม่ก็ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องอีกคือในปี 2535 2538 และ 2539
ระหว่างอยู่ในพรรคความหวังใหม่ จาตุรนต์ถือเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่มาแรงโดยได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในพรรคและในคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ชวลิต คือ โฆษกพรรคความหวังใหม่ (2535-2538) ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2538-2539) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (2539-2540) เลขาธิการพรรความหวังใหม่ (2541-2543)
กระนั้นเมื่อตอนที่จาตุรนต์เป็นเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ในช่วงปลายปี 2541 ถึงต้นปี 2543 โดยเข้ามาเป็นเลขาธิการพรรคแทนนายเสนาะ เทียนทอง เขาตั้งเป้าว่าจะเข้ามาปฏิรูปพรรคให้เป็นระบบและมีอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เพียงไม่นานก็เกิดคลื่นใต้น้ำขึ้นในพรรค เนื่องจากกลุ่มการเมืองและ ส.ส.ในพรรคไม่ค่อยพอใจเลขาธิการพรรคเพราะขาด "ปัจจัย" ประกอบกับภาพของความเป็นนักวิชาการมากกว่านักการเมือง ทำให้ ส.ส.มองว่า เป็นคนไม่ติดดินเข้าหายากไม่คลุกคลีกับ ส.ส.
ผลสุดท้าย 'อ๋อย' ก็ทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค โดยให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เข้ามารับตำแหน่งแทน
เมื่อพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศเดินหน้าลงสู่สนามการเลือกตั้ง จาตุรนต์อันเป็นตัวแทนทางการเมืองของครอบครัวฉายแสงจึงตัดสินใจตีจากรังเดิม ย้ายพรรคอีกครั้งมาซบอยู่กับพรรคไทยรักไทยและได้รับเลือกเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ.2544 และ 2548
หากย้อนไปดูความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณและจาตุรนต์แล้วจะทราบว่า ความสัมพันธ์ของสองครอบครัวนี้มีมายาวนานมาตั้งแต่รุ่นพ่อคือ นายเลิศ ชินวัตร บิดาของ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น เป็น ส.ส.รุ่นเดียวกับนายอนันต์ ฉายแสง บิดาของจาตุรนต์ ทั้งยังสังกัด ส.ส.กลุ่มอิสระ ด้วยกัน
ครั้งเมื่อจาตุรนต์ไปเรียนคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อนที่จะเข้าป่านั้น นายอนันต์ก็ได้ให้ไปพักอยู่ที่บ้านของนายเลิศเป็นครั้งคราว ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณกับจาตุรนต์รู้จักคุ้นเคยกันมากว่า 30 ปีแล้ว และนี่เองก็เป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใดจาตุรนต์จึงเป็นนักการเมืองผู้หนึ่งที่ได้รับความไว้วางใจจาก พ.ต.ท.ทักษิณมาตลอด โดยไม่เคยหลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรีเลยตลอดเวลา 5 ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ...
ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จาตุรนต์รับตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อกุมภาพันธ์ 2544 ถัดมาเดือนมีนาคม 2545 ขยับไปเป็น รมว.ยุติธรรม ก่อนจะมาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน จนรัฐบาลครบวาระ 4 ปีเมื่อ 8 มีนาคม 2548 ในสมัยรัฐบาล "ทักษิณ 2" ได้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยรับหน้าที่สำคัญคือ ผู้ผลักดันยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ ยุทธศาสตร์ดับไฟ ก่อนที่จะถูกมอบหมายให้ไปนั่งรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในการปรับครม.เมื่อเดือนสิงหาคม 2548
ช่วงเวลา 5 ปีกว่าๆ ของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 'เดอะอ๋อย' นอกจากการรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เปิดไฟใส่หมวกแล้ว รัฐมนตรีผู้นี้ก็แทบไม่มีผลงานการบริหารงานอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาไฟใต้ที่ยังคุโชนอยู่กระทั่งปัจจุบัน และยิ่งหนักหนาไปอีกหากพิจารณาผลงานในช่วงดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ. จากปัญหาการประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นสูง (เอเน็ต) ที่ยืดเยื้อ และส่งผลกระทบต่อนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษานับเป็นแสนๆ คน
ในเดือนเมษายน 2549 ขณะที่รัฐบาลทักษิณกำลังอยู่ในสภาวะคลอนแคลน และปัญหา เอเน็ต-โอเน็ต กำลังยุ่งเหยิง รักษาการรมว.กระทรวงศึกษาธิการและหัวหน้าพรรคไทยรักไทยคนปัจจุบันที่ชื่อ จาตุรนต์ ฉายแสง กลับตอบเสียงเรียกร้องให้ตนเองแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่ง รมว.ศธ.ว่า
"ที่ผมยังไม่ลาออกก็เพราะต้องการรับผิดชอบปัญหา และหากเป็นสภาวะปกติ ที่ผมไม่ใช่รักษาการรัฐมนตรีตนก็พร้อมลาออกทันที!?!"
ในเวลานั้น เด็กนักเรียนและผู้ปกครองเมื่อได้ฟัง "ความรับผิดชอบ" ในแบบของจาตุรนต์ ที่ลอกแบบออกมาจากหัวหน้าพรรคและคนในระบอบทักษิณแล้วก็แทบอ้วก ไปตามๆ กัน ...
สำหรับ การเข้ามารับตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยของจาตุรนต์ ณ วันนี้ ปัญหาใหญ่ของเขาก็คงไม่ผิดจากเดิมเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ในช่วงระหว่างปี 2541-2543 สักเท่าไหร่ เพราะถึงปัจจุบันเขาก็ยังคงเป็นนักการเมืองที่ขาด 'ปัจจัย' ขาด 'ทุน' เพียงพอจะหล่อเลี้ยงพรรคการเมืองที่ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเติบโตมาด้วยวัฒนธรรมของนายทุนกระเป๋าหนัก ...
นี่เองจึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ณ วันนี้ จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นหัวหน้าพรรคตัวจริงหรือหัวหน้าพรรคนอมินีของไทยรักไทยกันแน่ และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังของเขาคือใคร