ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งปลัดกระทรวงด้วยอายุที่น้อยมาก โดยปัจจุบันมีอายุเพียง 54 ปีเท่านั้น เขาจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics and Political Science (LSE) และปริญญาโทด้านเดียวกันจาก Queen Mary College มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หลังจากจบการศึกษานักเรียนทุน ก.พ. ผู้นี้กลับมารับราชการในกระทรวงการคลัง โดยถือเป็น 'ดาวรุ่ง' เป็น 'เด็กอนามัย' ของกระทรวงที่ได้รับการแบ็คอัพจาก 'หม่อมเต่า' ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
ศุภรัตน์เติบโตมาในสายสรรพากร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมสรรพากร, ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงสร้างภาษีอากร กรมสรรพากร ก่อนย้ายไปกินตำแหน่งในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกลับมาเป็นอธิบดีกรมสรรพากรในปี 2543
หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยขึ้นมากุมอำนาจทางการเมืองไทยอย่างเบ็ดเสร็จได้ในปี 2544 ศุภรัตน์ก็สามารถปรับตัวเข้ากับ 'กลุ่มอำนาจใหม่' ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสร้างผลงานเตะตานายใหญ่และนายหญิงมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเปิดไฟเขียวให้ฝ่ายบริหารใช้เงินหวยบนดินได้ตามอำเภอใจ การแปรรูป-การปรับสัดส่วนหุ้นรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการยกเว้นการเก็บภาษีกับครอบครัวชินวัตรและดามาพงษ์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จนในที่สุดในปี 2547 เขาก็ได้รับการปูนบำเหน็จเป็นตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง โดยก่อนที่เขาจะก้าวขึ้นไปดำรงตำแหน่งปลัดฯ เขาได้วางตัวศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์ไว้สืบทอดอำนาจในกรมสรรพากรต่อ
"น้ำลด ตอผุด" เป็นสุภาษิตอมตะที่สามารถนำมาอรรถาธิบายสถานการณ์ทางการเมืองของสังคมไทยในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี เพราะหลังจาก 'ทักษิณ' สิ้นวาสนาจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและต้องระเห็จไปอยู่ไกลถึงอังกฤษ บรรดาเรื่องชั่วๆ ที่ทักษิณและคนรอบตัวทำทิ้งเอาไว้ก็เริ่มผุดขึ้นมาเป็นชุดๆ
หนึ่งในความชั่วชุดแรกที่เป็นที่จับตาของสังคมมานาน เนื่องจากมีพยาน-หลักฐานชัดเจน และกำลังจะถูกเชือดโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั่นก็คือ กรณีการยกเว้นภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตร-ดามาพงษ์โดย กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
กรณีการยกเว้นการเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปนี้จริงๆ แล้วข้าราชการที่เกี่ยวพันและมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ไม่ได้มีแค่เพียง '5 บิ๊กสรรพากร' อันประกอบไปด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดีกรมสรรพากร นางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง น.ส.โมฬีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ นายกริช วิปุลานุสาสน์ นิติกร 9 อย่างที่สื่อมวลชนลงข่าวกันโครมๆ อยู่ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น เนื่องจากประเด็นการซื้อ-ขาย โอนหุ้นชินคอร์ปที่เป็นปัญหานั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2540 ในการโอนหุ้นโดยไม่เสียภาษีระหว่างนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรแล้ว ...
การโอนหุ้นชินคอร์ปโดยพยายามหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการไต่สวนมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 โดยข้อเท็จจริงจากการสอบสวนของ ป.ป.ช.มีอยู่ว่า คุณหญิงพจมานได้โอนหุ้นให้กับนายบรรณพจน์โดยเสน่หาซึ่งตามกฎหมายการโอนหุ้นโดยเสน่หานั้นผู้รับโอนคือนายบรรพจน์จะต้องนำราคาหุ้นที่รับโอน 4.5 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 164 บาท รวมมูลค่า 738 ล้านบาทมาคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี (กฎหมายกำหนดว่าส่วนที่เกินจาก 4 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37) แต่เพื่อเลี่ยงข้อภาษีดังกล่าว คุณหญิงพจมานและนายบรรณพจน์กลับใช้วิธีซิกแซกโดยแปลงการโอนครั้งนี้เป็นการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ที่ทำให้เสียค่าธรรมเนียโบรกเกอร์เพียงแค่ร้อยละ 1 หรือคิดเป็น 7.38 ล้านบาทแทน
กระนั้น ในประเด็นภาระภาษีที่เกิดจากการโอนหุ้นครั้งนี้ข้าราชการกรมสรรพากรกลับวินิจฉัยเข้าข้างคุณหญิงพจมานและนายบรรพจน์อย่างน่าสงสัย โดยอ้างว่าเป็นการโอนหุ้นระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่วนผู้รับ (นายบรรณพจน์) นั้นหุ้นที่ได้รับแม้จะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) เนื่องจากได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีและก็เข้าลักษณะเป็นการได้รับอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาด้วย
การไต่สวนกรณีดังกล่าวโดยคณะอนุกรรมการของ ป.ป.ช. มีการกล่าวหาข้าราชการกรมสรรพากรหลายคนว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยในจำนวนนั้นก็รวมถึงนายศิโรตม์ นางเบญจา และน.ส.โมฬีรัตน์ด้วย อย่างไรก็ตามกลับละเลยอธิบดีกรมสรรพากรในเวลานั้นที่ชื่อ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ไปอย่างน่าประหลาดใจ
ไม่เพียงเท่านั้น ในเวลาต่อมา ต้นปี 2549 เมื่อคนในตระกูลชินวัตร-ดามาพงษ์ขายหุ้นชินคอร์ปมูลค่า 73,300 ล้านบาทให้กับเครือเทมาเส็กของสิงคโปร์โดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว จนกรณีนี้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองและสังคมที่ลุกลามใหญ่โต ขณะที่บิ๊กสรรพากรโดนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรียกเข้าไปสอบแบบเรียงตัว ศุภรัตน์ที่ก้าวขึ้นไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังกลับสามารถลอยตัวอยู่เหนือปัญหาทั้งมวล ทั้งยังสามารถยึดเก้าอี้ปลัดกระทรวงการคลังไว้อย่างเหนียวแน่นแม้รัฐบาลทักษิณจะสิ้นบุญ ถูกยึดอำนาจจากทหารไปแล้วก็ตาม
ในแวดวงนักข่าวสายคลังเป็นที่รู้กันดีว่า 'ศุภรัตน์' นั้นเป็นเด็กนายหญิง และได้รับประโยชน์เต็มๆ จากการดำรงอยู่ของระบอบทักษิณ ที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือ การที่ศุภรัตน์มีรายชื่อเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจมากถึง 19 แห่ง (บัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549) จนอาจกล่าวได้ว่าศุภรัตน์นั้นเป็น 'ซูเปอร์บอร์ด' ตัวจริง ซึ่งหากคำนวณจากอัตราค่าเบี้ยประชุมแล้วในบางช่วงเขาจะมีรายได้จากการค่าเบี้ยประชุมแต่เพียงอย่างเดียวสูงถึงเกือบ 250,000 บาทต่อเดือน หรือเกือบ 3 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว!
ว่ากันว่าด้วยรายได้มหาศาลจากการเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง และอายุราชการที่ยังคงเหลืออีกหลายปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศุภรัตน์ยังไม่ยอมลาออกจากราชการและกระโดดลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว ทั้งๆ ที่ถูกทาบทามจากรัฐบาลทักษิณมาหลายครั้งว่าจะยกตำแหน่งรัฐมนตรีคลังให้
ล่าสุด การที่ปลัดฯ คลัง ผู้นี้ ออกมาเตะถ่วงการแก้ปัญหาหวยบนดินและการขุดคุ้ยการใช้จ่ายกำไรจากหวยบนดินโดยสำนักงานสลากกินแบ่งซึ่งในช่วงที่ผ่านมาถูกครหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับนโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทย รวมถึงการออกมายืนยันถึงความถูกต้องในการแต่งตั้ง พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2549 ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ พล.ต.ท.วิเชียรโชติเพิ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินชี้ขาดว่ามีโทษจำคุก 2 ปีแต่ให้รอลงอาญาจากกรณีขึ้นเงินเดือนตนเอง ก็คล้ายกับเป็นข้อพิสูจน์ ที่แสดงให้เห็นว่าเขายังคงไว้ลายการเป็นข้าราชการในระบอบทักษิณอยู่
หลังจากจบการศึกษานักเรียนทุน ก.พ. ผู้นี้กลับมารับราชการในกระทรวงการคลัง โดยถือเป็น 'ดาวรุ่ง' เป็น 'เด็กอนามัย' ของกระทรวงที่ได้รับการแบ็คอัพจาก 'หม่อมเต่า' ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล
ศุภรัตน์เติบโตมาในสายสรรพากร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมสรรพากร, ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโครงสร้างภาษีอากร กรมสรรพากร ก่อนย้ายไปกินตำแหน่งในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกลับมาเป็นอธิบดีกรมสรรพากรในปี 2543
หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและพรรคไทยรักไทยขึ้นมากุมอำนาจทางการเมืองไทยอย่างเบ็ดเสร็จได้ในปี 2544 ศุภรัตน์ก็สามารถปรับตัวเข้ากับ 'กลุ่มอำนาจใหม่' ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสร้างผลงานเตะตานายใหญ่และนายหญิงมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นกรณีการเปิดไฟเขียวให้ฝ่ายบริหารใช้เงินหวยบนดินได้ตามอำเภอใจ การแปรรูป-การปรับสัดส่วนหุ้นรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการยกเว้นการเก็บภาษีกับครอบครัวชินวัตรและดามาพงษ์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จนในที่สุดในปี 2547 เขาก็ได้รับการปูนบำเหน็จเป็นตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง โดยก่อนที่เขาจะก้าวขึ้นไปดำรงตำแหน่งปลัดฯ เขาได้วางตัวศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์ไว้สืบทอดอำนาจในกรมสรรพากรต่อ
"น้ำลด ตอผุด" เป็นสุภาษิตอมตะที่สามารถนำมาอรรถาธิบายสถานการณ์ทางการเมืองของสังคมไทยในเวลานี้ได้เป็นอย่างดี เพราะหลังจาก 'ทักษิณ' สิ้นวาสนาจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและต้องระเห็จไปอยู่ไกลถึงอังกฤษ บรรดาเรื่องชั่วๆ ที่ทักษิณและคนรอบตัวทำทิ้งเอาไว้ก็เริ่มผุดขึ้นมาเป็นชุดๆ
หนึ่งในความชั่วชุดแรกที่เป็นที่จับตาของสังคมมานาน เนื่องจากมีพยาน-หลักฐานชัดเจน และกำลังจะถูกเชือดโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั่นก็คือ กรณีการยกเว้นภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวชินวัตร-ดามาพงษ์โดย กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
กรณีการยกเว้นการเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปนี้จริงๆ แล้วข้าราชการที่เกี่ยวพันและมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ไม่ได้มีแค่เพียง '5 บิ๊กสรรพากร' อันประกอบไปด้วย นายศิโรตม์ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมสรรพากร นางไพฑูรย์ พงษ์เกษร รองอธิบดีกรมสรรพากร นางเบญจา หลุยเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง น.ส.โมฬีรัตน์ บุญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ นายกริช วิปุลานุสาสน์ นิติกร 9 อย่างที่สื่อมวลชนลงข่าวกันโครมๆ อยู่ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น เนื่องจากประเด็นการซื้อ-ขาย โอนหุ้นชินคอร์ปที่เป็นปัญหานั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2540 ในการโอนหุ้นโดยไม่เสียภาษีระหว่างนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรแล้ว ...
การโอนหุ้นชินคอร์ปโดยพยายามหลีกเลี่ยงภาษีดังกล่าวนี้เป็นประเด็นที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ดำเนินการไต่สวนมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 โดยข้อเท็จจริงจากการสอบสวนของ ป.ป.ช.มีอยู่ว่า คุณหญิงพจมานได้โอนหุ้นให้กับนายบรรณพจน์โดยเสน่หาซึ่งตามกฎหมายการโอนหุ้นโดยเสน่หานั้นผู้รับโอนคือนายบรรพจน์จะต้องนำราคาหุ้นที่รับโอน 4.5 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 164 บาท รวมมูลค่า 738 ล้านบาทมาคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี (กฎหมายกำหนดว่าส่วนที่เกินจาก 4 ล้านบาทจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 37) แต่เพื่อเลี่ยงข้อภาษีดังกล่าว คุณหญิงพจมานและนายบรรณพจน์กลับใช้วิธีซิกแซกโดยแปลงการโอนครั้งนี้เป็นการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ที่ทำให้เสียค่าธรรมเนียโบรกเกอร์เพียงแค่ร้อยละ 1 หรือคิดเป็น 7.38 ล้านบาทแทน
กระนั้น ในประเด็นภาระภาษีที่เกิดจากการโอนหุ้นครั้งนี้ข้าราชการกรมสรรพากรกลับวินิจฉัยเข้าข้างคุณหญิงพจมานและนายบรรพจน์อย่างน่าสงสัย โดยอ้างว่าเป็นการโอนหุ้นระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ในครอบครัว ส่วนผู้รับ (นายบรรณพจน์) นั้นหุ้นที่ได้รับแม้จะถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ก็ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) เนื่องจากได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีและก็เข้าลักษณะเป็นการได้รับอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาด้วย
การไต่สวนกรณีดังกล่าวโดยคณะอนุกรรมการของ ป.ป.ช. มีการกล่าวหาข้าราชการกรมสรรพากรหลายคนว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ โดยในจำนวนนั้นก็รวมถึงนายศิโรตม์ นางเบญจา และน.ส.โมฬีรัตน์ด้วย อย่างไรก็ตามกลับละเลยอธิบดีกรมสรรพากรในเวลานั้นที่ชื่อ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ไปอย่างน่าประหลาดใจ
ไม่เพียงเท่านั้น ในเวลาต่อมา ต้นปี 2549 เมื่อคนในตระกูลชินวัตร-ดามาพงษ์ขายหุ้นชินคอร์ปมูลค่า 73,300 ล้านบาทให้กับเครือเทมาเส็กของสิงคโปร์โดยไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว จนกรณีนี้กลายเป็นประเด็นทางการเมืองและสังคมที่ลุกลามใหญ่โต ขณะที่บิ๊กสรรพากรโดนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรียกเข้าไปสอบแบบเรียงตัว ศุภรัตน์ที่ก้าวขึ้นไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลังกลับสามารถลอยตัวอยู่เหนือปัญหาทั้งมวล ทั้งยังสามารถยึดเก้าอี้ปลัดกระทรวงการคลังไว้อย่างเหนียวแน่นแม้รัฐบาลทักษิณจะสิ้นบุญ ถูกยึดอำนาจจากทหารไปแล้วก็ตาม
ในแวดวงนักข่าวสายคลังเป็นที่รู้กันดีว่า 'ศุภรัตน์' นั้นเป็นเด็กนายหญิง และได้รับประโยชน์เต็มๆ จากการดำรงอยู่ของระบอบทักษิณ ที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือ การที่ศุภรัตน์มีรายชื่อเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจมากถึง 19 แห่ง (บัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549) จนอาจกล่าวได้ว่าศุภรัตน์นั้นเป็น 'ซูเปอร์บอร์ด' ตัวจริง ซึ่งหากคำนวณจากอัตราค่าเบี้ยประชุมแล้วในบางช่วงเขาจะมีรายได้จากการค่าเบี้ยประชุมแต่เพียงอย่างเดียวสูงถึงเกือบ 250,000 บาทต่อเดือน หรือเกือบ 3 ล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว!
ว่ากันว่าด้วยรายได้มหาศาลจากการเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง และอายุราชการที่ยังคงเหลืออีกหลายปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ศุภรัตน์ยังไม่ยอมลาออกจากราชการและกระโดดลงไปเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว ทั้งๆ ที่ถูกทาบทามจากรัฐบาลทักษิณมาหลายครั้งว่าจะยกตำแหน่งรัฐมนตรีคลังให้
ล่าสุด การที่ปลัดฯ คลัง ผู้นี้ ออกมาเตะถ่วงการแก้ปัญหาหวยบนดินและการขุดคุ้ยการใช้จ่ายกำไรจากหวยบนดินโดยสำนักงานสลากกินแบ่งซึ่งในช่วงที่ผ่านมาถูกครหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับนโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทย รวมถึงการออกมายืนยันถึงความถูกต้องในการแต่งตั้ง พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2549 ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ พล.ต.ท.วิเชียรโชติเพิ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินชี้ขาดว่ามีโทษจำคุก 2 ปีแต่ให้รอลงอาญาจากกรณีขึ้นเงินเดือนตนเอง ก็คล้ายกับเป็นข้อพิสูจน์ ที่แสดงให้เห็นว่าเขายังคงไว้ลายการเป็นข้าราชการในระบอบทักษิณอยู่