xs
xsm
sm
md
lg

รวมแถลงการณ์ ประกาศ และคำสั่ง คณะปฏิรูปฯ (2)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



**รวมแถลงการณ์ ประกาศ คำสั่ง คณะปฏิรูปการปกครองฯ(1)**


-----------------------------------------------------------------------
คำสั่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ 15/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
-------------------


เพื่อให้การดำเนินการรณรงค์ให้นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ผู้สมัครในนามประเทศไทย และอาเซียน ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ มีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงานสำหรับการรณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติขึ้น โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. องค์ประกอบ

1.1 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว) ประธานคณะทำงาน

1.2 เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ คณะทำงาน

1.3 อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงาน

1.4 รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ (นางบุษยา มาทแล็ง) คณะทำงาน

1.5 รองอธิบดีกรมสารนิเทศ (นายพิริยะ เข็มพล) คณะทำงาน

1.6 นายเสข วรรณเมธี เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน

1.7 นายภควัต ตันสกุล เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงาน

1.8 ผู้อำนวยการกองงานบริหารองค์การระหว่างประเทศ คณะทำงานและเลขานุการ

1.9 นายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร เจ้าหน้าที่การทูต 8 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

1.10 นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

1.11 นายสุริยา จินดาวงศ์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

1.12 นายโวสิต วรทรัพย์ เจ้าหน้าที่การทูต 7 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

1.13 นางศรีพรรณ จันทรัคคะ เจ้าหน้าที่ธุรการ 5 กระทรวงการต่างประเทศ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

2. อำนาจหน้าที่

2.1 พิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินการ แผนการรณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งท่าทีของไทยในการรณรงค์

2.2 พิจารณากำหนดแผนงานด้านการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2.3 พิจารณาเสนองบประมาณเพื่อการรณรงค์และการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

2.4 ดำเนินการรณรงค์ โดยประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มงาน เพื่อสนับสนุนคณะทำงานเพื่อการรณรงค์ตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ของกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

2.5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีอำนาจในการพิจารณาเห็นชอบแผนการเดินทางของผู้สมัคร และคณะ สำหรับการรณรงค์หาเสียง

2.6 แต่งตั้งบุคคล หรือคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการรณรงค์หาเสียง

2.7 มีสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ พลขับ และอุปกรณ์การสื่อสารอันสมควร ตามความจำเป็นแก่การรณรงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานการจัดหา

2.8 ปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ให้ดำเนินการใช้งบประมาณตามความเหมาะสมจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 - 2550 (งบกลาง) รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้เบิกจ่ายที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการ ให้หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-----------------------------------------------------------------

คำสั่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ 16/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
---------------------


เพื่อให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 28 กันยายน พุทธศักราช 2549 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

1. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานกรรมการ

2. พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นรองประธานกรรมการ

3. พล.ต.อ.อิสระพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ

4. นายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เป็นกรรมการ

5. ร.อ.ท.อภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นกรรมการ

6. นายกอบชัย ศรีวิลาศ เป็นกรรมการ

7. นายสมชัย สวัสดิผล เป็นกรรมการ

8. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ และเลขานุการ

9. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

10. เจ้าหน้าที่ที่เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

ให้คณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

1. กำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2549 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

2. ประสานและติดตามการดำเนินการของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายหรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน อื่นของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

3. รับและพิจารณาข้อเสนอแนะจากสายการบิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

4. สั่งการและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้การเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

5. เสนอแนะการกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการ

6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือบุคคล และมอบหมายให้ดำเนินการเรื่องใดๆ แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ

7. ดำเนินการอื่นๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสม

ให้คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือคำสั่งอื่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามการสั่งการ การประสาน และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการโดยเร็ว ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549


พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-------------------------------------------------------------------------------------

แถลงการณ์
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 2
------------------


ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ตามความจำเป็นที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1 นั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขอแจ้งให้ทราบว่า ในด้านเศรษฐกิจ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีนโยบายที่จะดูแลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปอย่างมีเสถียรภาพ โดยต่อเนื่องและมั่นคง โดยจะธำรงไว้ซึ่งระบบเศรษฐกิจเสรี ที่เปิดกว้างให้เอกชนเป็นผู้มีบทบาทนำในกิจกรรมเศรษฐกิจของประเทศ ส่งเสริมการลงทุนของเอกชน ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ สนับสนุนการส่งออก ซึ่งเป็นจักรกลสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจ และดูแลให้การไหลเข้าออกของเงินทุนเป็นไปอย่างเสรีดังที่เป็นอยู่

นอกจากนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจรุดหน้าต่อไปอย่างราบรื่น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะดูแลให้การอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายและลงทุน ประจำปีงบประมาณ 2550 เสร็จสิ้นภายในปีพุทธศักราช 2549 เพื่อให้สามารถเริ่มเบิกจ่ายได้เต็มขอบเขต ตั้งแต่เดือนมกราคม พุทธศักราช 2550 เป็นต้นไป และจะเร่งดำเนินการลงทุนเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในโครงการต่างๆ ที่รออยู่โดยเร็ว อาทิ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะช่วยประหยัดการใช้น้ำมันของประเทศ ตลอดจนโครงการอื่นๆ ที่ได้ศึกษาครบถ้วนแล้วว่า เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน

ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2549


ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


------------------------------------------------------------------------------
คำสั่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ 17/2549
เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา
---------------------


โดยที่ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ 7/2549 เรื่อง การจัดส่วนงานและการแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบ ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารงานของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นไปด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชน จึงแต่งตั้งบุคคลผู้มีรายนามดังต่อไปนี้ ประกอบกันเป็นคณะที่ปรึกษาตามคำสั่งดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. คณะที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ

(1) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นที่ปรึกษา
(3) นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็นที่ปรึกษา
(4) นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ เป็นที่ปรึกษา
(5) คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นที่ปรึกษา
(6) นายไชย ไชยวรรณ เป็นที่ปรึกษา
(7) นายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็นที่ปรึกษา
(8) ศ.เทียนฉาย กีระนันท์ เป็นที่ปรึกษา
(9) ศ.ปราณี ทินกร เป็นที่ปรึกษา
(10) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา
(11) ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา
(12) ศ.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด เป็นที่ปรึกษา
(13) รศ.วรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา
(14) นายวิรไท สันติประภพ เป็นที่ปรึกษา
(15) นายสันติ วิลาสศักดานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(16) นายศิวพร ทรรทานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(17) นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(18) ศ.อัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา
(19) น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช เป็นที่ปรึกษา

2. คณะที่ปรึกษาฝ่ายการต่างประเทศ

(1) นายวิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เป็นที่ปรึกษา
(3) นายกำธร อุดมฤทธิรุจ เป็นที่ปรึกษา
(4) นายเตช บุนนาค เป็นที่ปรึกษา
(5) นายนิตย์ พิบูลสงคราม เป็นที่ปรึกษา
(6) นายพิศาล มาณวพัฒน์ เป็นที่ปรึกษา
(7) นายวิทย์ รายนานนท์ เป็นที่ปรึกษา
(8) นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช เป็นที่ปรึกษา

3. คณะที่ปรึกษาด้านการเสริมสร้างจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

(1) รศ.จุรี วิจิตรวาทการ เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) รศ.กำชัย จงจักรพันธ์ เป็นที่ปรึกษา
(3) รศ.จรัล เล็งวิทยา เป็นที่ปรึกษา
(4) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
(5) รศ.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เป็นที่ปรึกษา
(6) ผศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย เป็นที่ปรึกษา
(7) รศ.บุญสม ศิริบำรุงสุข เป็นที่ปรึกษา
(8) ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็นที่ปรึกษา
(9) รศ.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
(10) รศ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา
(11) รศ.ลาวัณย์ หอนพรัตน์ เป็นที่ปรึกษา
(12) ศ.วันชัย ศิริชนะ เป็นที่ปรึกษา
(13) ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นที่ปรึกษา

4. คณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม

(1) นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม เป็นประธานที่ปรึกษา
(2) นายโคทม อารียา เป็นที่ปรึกษา
(3) รศ.จรัส สุวรรณมาลา เป็นที่ปรึกษา
(4) นายชัยวัฒน์ สถาอนันต์ เป็นที่ปรึกษา
(5) นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป็นที่ปรึกษา
(6) ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล เป็นที่ปรึกษา
(7) รศ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็นที่ปรึกษา
(8) รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นที่ปรึกษา
(9) รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นที่ปรึกษา
(10) ศ.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นที่ปรึกษา
(11) นายพิภพ ธงไชย เป็นที่ปรึกษา
(12) ภราดา ประทีป โกมลมาศ เป็นที่ปรึกษา
(13) นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เป็นที่ปรึกษา
(14) นายประยงค์ รณรงค์ เป็นที่ปรึกษา
(15) นายวรวิทย์ บารู เป็นที่ปรึกษา
(16) นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม เป็นที่ปรึกษา
(17) รศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เป็นที่ปรึกษา
(18) ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นที่ปรึกษา
(19) ศ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นที่ปรึกษา
(20) รศ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม เป็นที่ปรึกษา
(21) ศ.คุณหญิง สุชาดา กีระนันทน์ เป็นที่ปรึกษา
(22) รศ.สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา
(23) ศ.สุทธิศักดิ์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นที่ปรึกษา
(24) คุณหญิงแสงดาว สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา
(25) นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นที่ปรึกษา
(26) รศ.มาณี ไชยธีรานุวัฒน์ศิริ เป็นที่ปรึกษา

ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษา และเสนอคำแนะนำแก่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้องขอ หรือตามที่คณะที่ปรึกษาเห็นสมควร

ให้คณะที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ ประชุมพิจารณาเรื่องทั้งหลายแยกกัน แต่อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันของคณะที่ปรึกษาทุกคณะ หรือบางคณะ ได้ตามที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือประธานคณะที่ปรึกษาฝ่ายต่างๆ เห็นสมควร

ให้คณะที่ปรึกษาแต่งตั้งที่ปรึกษาคนหนึ่งขึ้น ทำหน้าที่เลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้

ให้สำนักเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อำนวยความสะดวกในการจัดประชุมคณะที่ปรึกษา ตามคำสั่งนี้

สั่ง ณ วันที่ 26 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



-------------------------------------------------------------------------------------

คำสั่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ 19/2549
แก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ออกตามความในพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548
----------------------


โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกตามความในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้ยกเลิกความในข้อ 5 (1) และ (23) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2548 เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และคณะที่ปรึกษา ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พุทธศักราช 2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

(1) เลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประธานกรรมการ

(23) เสนาธิการทหารบก กรรมการและเลขานุการร่วม

สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------------------------------------------------

คำสั่ง
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ 20/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
----------------------


ด้วยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายถวิล สมัครรัฐกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นักบริหาร 10 ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณพุทธศักราช 2549 ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 เป็นต้นไป

เพื่อให้การปฏิบัติราชการในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง เมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นักบริหาร 10 ว่างลงในเวลาข้างต้น จึงแต่งตั้งให้ นางจุฬารัตน์ บุณยากร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นักบริหาร 9 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นักบริหาร 10

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2549 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน พุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------------------------

คำสั่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 24/2549
เรื่อง ให้ข้าราชการรักษาราชการแทน
------------


ตามมติคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549 อนุมัติให้แต่งตั้งนายจรัญ ภักดีธนากุล ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 และให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ต่อไป นั้น

เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการจึงมีคำสั่งให้ นายจรัญ ภักดีธนากุล รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2549

ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-----------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 24/2549
เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
------------


ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 11 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ไปแล้วนั้น

บัดนี้ เนื่องจากจะมีการเกษียณอายุราชการของผู้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่ง จึงสมควรปรับปรุงประกาศดังกล่าวเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 11 เรื่อง แต่งตั้งบุคคลสำคัญดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลงวันที่ 20 กันยายน 2549

ข้อ 2 แต่งตั้งให้บุคคลดังต่อไปนี้ดำรงตำแหน่งในคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2.1 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.2 พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.3 พลเรือเอกสถิรพันธุ์ เกยานนท์ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.4 พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.5 พลตำรวจเอกโกวิท วัฒนะ เป็นสมาชิกคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.6 พลเอกวินัย ภัททิยกุล เป็นเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.7 พลโทสพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.8 พลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2549

ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

------------------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 25
เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา
----------------------



โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหน้าที่ของผู้ต้องหาในคดีอาญา ให้พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมาย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา มีหน้าที่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือ หรือลายเท้า ตามคำสั่งของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดฐานกระทำความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2549


ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-----------------------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 26
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
---------------------------

ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับต่อไป และแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ให้เป็นไปโดยสุจริต และเที่ยงธรรม และมีความต่อเนื่องนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงาน ตามอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 ยังคงใช้บังคับต่อไป จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก

ข้อ 2 ให้ยกเลิก ข้อ 2 และ ข้อ 3 ของประกาศณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549

ข้อ 3 ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับ ที่ 13 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้รับการสรรหา และแต่งตั้งโดยชอบ โดยพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศดังกล่าว และมีอำนาจ และหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 และกฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549


ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



-------------------------------------------------------------------------------
ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 27
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549
---------------------


ตามที่ได้ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวรวมทั้งกำหนดเรื่องการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำการต้องห้ามตามกฎหมายนั้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้

"ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ยังคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิก"

ข้อ 2 การห้ามพรรคการเมืองดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ในทางการเมืองตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 ลงวันที่ 21 กันยายน 2549 ให้ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเป็นอย่างอื่น

ข้อ 3 ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใด เพราะเหตุกระทำการต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น มีกำหนด 5 ปีนับตั้งแต่มีคำสั่งให้ยุบพรรค

ข้อ 4 ผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำสั่งของศาลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นยังคงถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามคำสั่งของศาลต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



-----------------------------------------------------------------------------
ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 28
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 และ ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน พุทธศักราช 2549
--------------------------------


ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 เรื่อง มอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาตินั้น บัดนี้ สมควรให้การบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เดิม หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ 1ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 เรื่อง มอบอำนาจบริหารราชการแผ่นดินและฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ

ข้อ 2 ให้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ซึ่งบังคับใช้อยู่ก่อนวันที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติใช้บังคับมีผลบังคับใช้อยู่ต่อไปเช่นเดิม

ข้อ 3 การยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามข้อ 1 ไม่กระทบกระเทือนการใดๆ ที่กระทำในระหว่างที่ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังกล่าวมีผลใช้บังคับและให้ดำเนินการจัดให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งให้บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการข้าราชการตำรวจไปพลางก่อน

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 29
เรื่อง การแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2549
-------------------


ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนในผลการใช้บังคับที่ยังคงให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใช้บังคับโดยต่อเนื่อง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ 1) ให้ยกเลิกความในข้อ 1 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ยังคงใช้บังคับต่อไป เว้นแต่บทบัญญัติในส่วนที่ 1 หมวด 1 จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกและให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน 2549 พ้นจากตำแหน่ง"

ข้อ 2) ให้ยกเลิกความในข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"ข้อ 2 ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 18 กันยายน 2549 คงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2550"

ข้อ 3) ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินใหม่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้ พ้นจากตำแหน่ง

ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามวรรคหนึ่งให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549

ลงชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 30
เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
---------------


ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549 นั้น โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงการดำเนินการตรวจสอบ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจการตรวจสอบการกระทำผิด ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐกว้างขวางขึ้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ. 1 ให้ยกเลิกประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2549

ข้อ.2 ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่งประกอบด้วย

1.นายกล้านรงค์ จันทิก เป็นกรรมการ

2.นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นกรรมการ

3.คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นกรรมการ

4.นายจิรนิติ หะวานนท์ เป็นกรรมการ

5.นายนาม ยิ้มแย้ม เป็นกรรมการ

6.นายบรรเจิด สิงคะเนติ เป็นกรรมการ

7.นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ เป็นกรรมการ

8.นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นกรรมการ

9.นายสัก กอแสงเรือง เป็นกรรมการ

10.นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ เป็นกรรมการ

11.นายอุดม เฟื่องฟุ้ง เป็นกรรมการ

12.นายอำนวย ธันธรา เป็นกรรมการ

ในกรณีที่กฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่อื่นในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับ ในการได้รับแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบ
ให้กรรมการตรวจสอบวรรคหนึ่ง เลือกกรรมการด้วยกันเองคนหนึ่ง เป็นประธานกรรมการ และมีอำนาจแต่งตั้งเลขานุการหนึ่งคน และผู้ช่วยเลขานุการตามความจำเป็น
ในกรณีที่มีกรรมการว่างลงให้กรรมการที่เหลืออยู่ทำหน้าที่ต่อไปได้แต่ต้องมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้คณะรัฐมนตรี มีอำนาจแต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรเป็นกรรมการ แทนกรรมการที่ว่างลง

ข้อ.3 ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมาย
ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ร่วมมือดำเนินการตามที่คณะกรรมการร้องขอ รวมทั้งสนับสนุนข้อมูล บุคลากร หรือการอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการหาสถานที่ทำการให้คณะกรรมการตรวจสอบตามความเหมาะสม และในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบร้องขอ ให้คณะรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมาช่วยปฏิบัติงานที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดได้

ข้อ.4 ให้สำนักงานงบประมาณ จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยเจียดจ่ายเงินจากที่เหลือจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบ ในกรณีที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ให้คณะรัฐมนตรีสนับสนุนงบประมาณตามที่จำเป็น
ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบ และค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายอื่นใด ของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานให้คณะกรรมการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด โดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรี

ข้อ.5 ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.ตรวจสอบการดำเนินงานหรือโครงการซึ่งได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง โดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า เป็นไปโดยทุจริต หรือประพฤติมิชอบ
2.ตรวจสอบสัญญาสัญญาสัมปทาน หรือการจัดซื้อ จัดจ้าง ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่า จะมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อเอกชนโดยมิชอบ หรือมีการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
3.ตรวจสอบการปฏิบัติราชการใดๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีเหตุอันควรสงสัย ว่าจะมีการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบ
4.ตรวจสอบการกระทำใดๆของบุคคลที่เห็นว่าเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงกฎหมาย ว่าด้วยภาษีอากรอันเป็นการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
ในกรณีที่เห็นว่า การดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบ มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือมีพฤติการณ์ว่า มีบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรส และบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศนี้นอกจากอำนาจตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตามกฎหมายดังต่อไปนี้ด้วย
(1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินพ.ศ. 2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและคณะกรรมการธุรกรรม
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2542 โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(3) ประมวลรัษฎากรโดยให้คณะกรรมการตรวจสอบ ใช้อำนาจของอธิบดีกรมสรรพากร เฉพาะที่เกี่ยวกับการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจพิจารณาเรื่องใดๆ ที่เห็นควรตรวจสอบ เรื่องที่มีผู้เสนอข้อมูล หรือเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และให้มีอำนาจเรียกสำนวน หรือเรื่องที่อยู่ในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ หรือเรียกสำนวนการสอบสวน หรือ การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มาพิจารณา และให้ใช้เป็นสำนวนการตรวจสอบ ของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยจะสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ ก็ได้ ในกรณีที่มีเรื่องเดียวกันอยู่ในการดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือคณะกรรมการธุรกรรม ให้ประสานงานเพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี

ข้อ 6 ให้คณะกรรมการตรวจสอบแจ้งรายชื่อบุคคลตามข้อ5 แก่สถาบันการเงินสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรมที่ดิน กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้นั้น เพื่อให้หน่วยงาน หรือบุคคลนั้น แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน และการเสียภาษีอากร ตลอดจนการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 5 คู่สมรสและบุตร ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ ภายในเวลาและตามวิธีการที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีอำนาจสั่งให้บริษัทหลักทรัพย์ ส่งข้อมูลและเอกสาร ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้
มิให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มาใช้บังคับกับการแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง

ข้อ 7 ในกรณีที่บุคคลซึ่งถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามข้อ 5 ไม่แจ้งข้อมูลตามข้อ6 หรือไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ถูกยึดยักย้าย จำหน่าย หรือจ่ายโอนทรัพย์สินที่ถูกอายัด ให้ถือว่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่ชอบและเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการร่ำรวยผิดปกติ หรือเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ในกรณีที่หน่วยงานหรือบุคคลตามข้อ6 ไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดตามข้อ 6 หากมีกรณีเกิดความเสียหายขึ้นจากการที่ไม่ดำเนินการนั้นให้หน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าว รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น

ข้อ 8 บรรดาทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดตามข้อ5 ถ้าเจ้าของทรัพย์สิน พิสูจน์ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดได้ว่า ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือมิได้เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งเพิกถอนการยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้น

ข้อ 9 ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบุคคลใดกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งรายงาน เอกสาร หลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 โดยให้ถือว่ามติของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่าง แต่คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นยืนยันความเห็นเดิม ให้คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจดำเนินการให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลที่เขตอำนาจพิจารณาคดี แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติว่าบุคคลใดทำผิดกฎหมายและไม่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ให้คณะกรรมการตรวจสอบส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นต่อไป โดยถือผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นการสอบสวนตามกฎหมายนั้น

ข้อ 10.ในการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศนี้ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามที่มอบหมายได้

ข้อ 11.ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามประกาศนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งและการตรวจสอบหรือสอบสวนเรื่องใดยังไม่แล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการตรวจสอบ ส่งมอบสำนวนคืนให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของตน แล้วแต่กรณี

ข้อ.12. การแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 23 เรื่องการตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2549 โดยประกาศฉบับนี้ ไม่กระทบกระเทือนการกระทำใดๆ ที่คณะกรรมการตรวจสอบได้กระทำไป ก่อนที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายนพุทธศักราช 2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

--------------------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 31
เรื่อง การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
----------------------


ตามที่ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ให้พระราชบัญญัติประกอบธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปและแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ รวมทั้งให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปด้วยนั้น โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีเรื่องค้างอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะว่างเว้นจากการมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกความในข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ 1 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ยังคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม โดยยกเลิกและให้ถือว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ข้อ 2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้กระทบกระเทือนการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไข เพิ่มเติม หรือยกเลิก”

ข้อ 2 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าวและมีวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542

ข้อ 3 กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 กำหนดให้ดำเนินการตามมาตรา 34 เช่นเดียวกับกรณีการจงใจยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ

ข้อ 4 ในการดำเนินการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจออกคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติไว้ชั่วคราว ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ โดยมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้
เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามวรรค 1 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จัดให้มีการพิสูจน์เกี่ยวกับทรัพย์สินโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดชั่วคราวมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจยึดหรือยึดอายัดทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไปจนกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะมีมติว่าทรัพย์สินนั้นมิได้เพิ่มขึ้นผิดปกติ ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปี นับตั้งแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำร้องแต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็ให้คืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้นั้น

ข้อ 5 ในการไต่สวนข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ อาจมอบหมายให้คณะพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปสำนวนเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนด

ข้อ 6 กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เห็นสมควรอาจส่งเรื่องที่มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 66 ว่ากระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่กระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน ดำเนินการทางวินัย หรือดำเนินการตามอำนาจหน้าที่แล้วแต่กรณี หรือส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไปก็ได้

ข้อ 7 การลงมติของที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไม่ว่าเป็นมติในการวินิจฉัย หรือให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ถือเสียงข้างมาก

ข้อ 8 บรรดาบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

---------------------------------------------------------------

ประกาศ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ฉบับที่ 32
เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
----------------------


เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นแล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ยังคงสามารถตรวจสอบการกระทำที่ไม่สุจริตของผู้ได้รับการเลือกตั้งได้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ 1.ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

ข้อ 2. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งตามข้อ 1 แล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ได้รับการเลือกตั้งตามข้อ 1 ผู้ใดกระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อตนเองได้รับการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือมีการฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ได้รับการเลือกตั้งผู้นั้นมีกำหนดเวลา 1 ปี และดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่กระทำนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการเลือกตั้ง

ข้อ 3. บรรดาบทบัญญัติใดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในประกาศฉบับนี้แทน

ข้อ 4 .ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นที่ดำเนินการก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับด้วย โดยกำหนดเวลา 30 วันตามข้อ 1 ให้นับตั้งแต่วันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ

ประกาศ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549

ลงชื่อ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

กำลังโหลดความคิดเห็น