เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภาฯ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรียกร้อง “ทักษิณ” เว้นวรรคทางการเมือง ยุติการใช้สื่อของรัฐฯยั่วยุ ใส่ร้ายป้ายสีผู้ชุมนุม พร้อมลงสัตยาบัน ขึ้นเวทีสาธารณะ ต่อต้านการฉวยสถานการณ์ขึ้นเป็นนายกฯ โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง ดังรายละเอียด
แถลงการณ์เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535ฉบับที่ 2
ต่อต้านการใช้ความรุนแรง และนายกฯ ที่มาจากการแต่งตั้งทุกรูปแบบ
สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองของประชาชน
เนื่องจากในปัจจุบันได้ปรากฏการณ์เผชิญหน้าระหว่างรัฐบาล และคนหลายกลุ่มหลายฝ่าย โดยที่ทุกฝ่ายล้วนมุ่งหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน ยังผลให้มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองได้ทุกขณะ ดังปรากฎการวางระเบิดในช่วงผ่านมา
“เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535” ขอแสดงความไม่เห็นด้วยกับพฤติการณ์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสถานการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยแบบนี้ และขอยืนยันว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่มีทางลัด มีแต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่ของประชาชน
ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ เครือข่ายฯ มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง ขอเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงความกล้าหาญด้วยการประกาศเว้นวรรคทางการเมือง, แต่งตั้งนายกฯ รักษาการจากรัฐมนตรีที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่ง, ยุติการใช้สื่อและกลไกรัฐไปในทางที่ยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนแต่ละฝ่าย รวมทั้งให้สัตยาบันว่าจะเข้าร่วมในเวทีสาธารณะเพื่อหาทางออกทางการเมือง
อนึ่ง เครือข่ายขอยืนยันว่าประชาชนมีสิทธิโดยชอบที่จะชุมนุมและเดินขบวนเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี จึงไม่ควรที่นายกรัฐมนตรีจะป้ายสีผู้ต่อต้านนายกรัฐมนตรีด้วยความเท็จ ความอดทนและความมีใจกว้างเป็นคุณสมบัติของผู้นำในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การมองประชาชนฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูคู่อาฆาต ดังที่นายกรัฐมนตรีได้แสดงออกตลอดเวลา
ประการที่สอง ขอเชิญชวนให้ประชาชนต่อต้านการกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่นายกรัฐมนตรีที่ “มาจากการแต่งตั้ง” เพราะประชาชนที่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้ต้องการล้มล้างรัฐสภาและระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องมาจากกระบวนการประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่มาจากการฉวยโอกาสทางการเมืองของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 ขอยืนยันว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลผลิตของการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน บุคคล หรือคณะบุคคลใด จึงไม่มีสิทธิละเมิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมทั้งไม่มีใครมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้โดยอำเภอใจ เพราะนั่นคือสัญลักษณ์ว่าอำนาจนอกระบบได้ปล้นชิงเจตนารมณ์ประชาธิปไตยไปจากประชาชน
ประการที่สาม ขอเชิญชวนให้ประชาชนรวมตัวผลักดันให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้น - ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่ 2 เมษายน 2549 - เปลี่ยนแปรจาก “การเลือกตั้งที่ถูกบิดเบือน” เป็น “การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปการเมือง” และเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้การปฏิรูปการเมืองต้องเกิดขึ้นทันทีเมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง
เครือข่ายเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่จำเป็นต้องเป็นการปฏิรูปที่ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่การปฏิรูปที่นำโดยชนชั้นนำ , นักการเมือง หรือนักกฎหมายมหาชนไม่กี่ราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำและระบบการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยที่การปฏิรูปครั้งใหม่ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากควรขยายรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม
ท้ายที่สุดนี้ เครือข่ายฯ ขอยืนยันว่า การต่อสู้เพื่อเป้าหมายประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ย่อมไม่มีทางลัด มีแต่ต้องอาศัยพลังประชาชนที่ยึดกุม “วิถีทางประชาธิปไตย”
11 มีนาคม 2549
เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535
เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวของนักกิจกรรมทางสังคมหลายกลุ่มหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ, วุฒิสมาชิก, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักพัฒนาสังคม, สื่อมวลชน, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักกฎหมาย, กลุ่มสิทธิสตรี, คนทำหนังสือ, สถาปนิก ฯลฯ ที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผลักดันให้ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างสมบูรณ์
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
จอน อึ๊งภากรณ์ วุฒิสมาชิก
สุภิญญา กลางณรงค์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจ
เสาวณีย์ จิตรื่น อาจาร์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
วราภรณ์ แช่มสนิท อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ดวงมณี เลาหกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สุรสม กฤษณะจูฑะ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริยกร ปุสวิโร นักวิจัย มหาวิทยาลัยเบรเมน เยอรมนี
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลและนักวิชาการอิสระ
บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซด์ ประชาไท
สมเกียรติ จันทรสีมา นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534
ธัญสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ
ภาณุ อารี ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ
อภิวัฒน์ แสงพันธสีมา ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป
สุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไบโอสโคป
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑
บัณฑิตย์ จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
เฉลิมชัย ทองสุข โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา
วัฒนชัย วินิจจะกูล ผู้จัดการมูลนิธิ 14 ตุลา
วนิดา วินิจจะกูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
นันทโชติ ชัยรัตน์ นักพัฒนาสังคม
พิชิต พิทักษ์ นักพัฒนาสังคม
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ นักพัฒนาสังคม
พิษณุ ไชยมงคล นักพัฒนาสังคม
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กลุ่มเพื่อนประชาชน
บารมี ชัยรัตน์ สวนเงินมีมา
วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักเศรษฐศาสตร์
ฐิตินบ โกมลนิมิ โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทวีลักษณ์ พลราชม โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุฑามาศ สุกใส โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาวิณี ไชยภาค โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปาริฉัตร บัตรประโคน โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิรพา อังกรูทัศนียรัตน์ โครงการปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พัชรี อังกรูทัศนียรัตน์ โครงการปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ ครงการปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ธิกานต์ ศรีนารา โครงการปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
โชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ประสานงานศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษา [Student Activity Information Resource: SAIR]
รอมฎอน ปันจอร์ ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
อังศุมาลิน บุรุษ ผู้สื่อข่าว, สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542
ชัยธวัช ตุลาฑล กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน
อุเชนทร์ เชียงเสน กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน
ศรายุทธ์ ใจหลัก เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2543
ทรงศักดิ์ ปัญญา รองเลขาธิการ /สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2543
พงศธร ศรเพชรนรินทร์ เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2545
พิชิต ไชยมงคล เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2546
สิทธิพร จราดล สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2545-2546
ศิริพร พรมวงศ์ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี2547
อัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี2547
ชมมณี สุทธินาค องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542
สุภิญญา ทองรัตนาศิริ สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542
สันติชัย อาภรณ์ศรี สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2545
ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์ ผู้ประสานงาน/องค์การประสานงานเพื่อประชาธิปไตย มข. ปี 2542 และ 2543
ธนลักษณ์ สาเศียร ผู้ประสานงาน คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน
คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/นักเขียนอิสระ
ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กมลพร ปีอาทิตย์ ฝ่ายประสานนอก/ชมรมศึกษาปัญหาแห่งเสื่อมโทรม 2542
อดิศร เกิดมงคล กลุ่มราชภัฏเพื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม
ภูพาน สรวิศมงคล ประชาชน
มารุต เหล็กเพชร ประชาชน
ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2535
สาวิตรี พูลสุขโข โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา
ประดิษฐ์ ลีลานิมิตร โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา
ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิชย์ สถาบันต้นกล้า
พรพิมล สันทัดอนุวัตร สถาบันต้นกล้า
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า
อัจฉรา เกียรติประไพ สถาบันต้นกล้า
วุฒิชัย ศรีคำภา กลุ่มเยาวชนตะกอนยม
อังคณา กระบวนแสง สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย
จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพ๊ญโฉม ตั้ง กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
สุภาภรณ์ มาลัยลอย โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ส. รัตนมณี พลกล้า ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชนชายฝั่งอันดามัน
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายฐานันดร พิมพ์น้อย ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด
นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด
นายธีรวุฒิ ทองทับ ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด
ใบตอง รัตนขจิตวงศ์ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
วัฒนา นาคประดิษฐ์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิก
กนกวรรณ ตระกูลยิ่งเจริญ สถาปนิก
สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองของประชาชน
เนื่องจากในปัจจุบันได้ปรากฏการณ์เผชิญหน้าระหว่างรัฐบาล และคนหลายกลุ่มหลายฝ่าย โดยที่ทุกฝ่ายล้วนมุ่งหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน ยังผลให้มีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองได้ทุกขณะ ดังปรากฎการวางระเบิดในช่วงผ่านมา
“เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535” ขอแสดงความไม่เห็นด้วยกับพฤติการณ์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสถานการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยแบบนี้ และขอยืนยันว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่มีทางลัด มีแต่การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเต็มที่ของประชาชน
ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ เครือข่ายฯ มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง ขอเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แสดงความกล้าหาญด้วยการประกาศเว้นวรรคทางการเมือง, แต่งตั้งนายกฯ รักษาการจากรัฐมนตรีที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใดคนหนึ่ง, ยุติการใช้สื่อและกลไกรัฐไปในทางที่ยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างประชาชนแต่ละฝ่าย รวมทั้งให้สัตยาบันว่าจะเข้าร่วมในเวทีสาธารณะเพื่อหาทางออกทางการเมือง
อนึ่ง เครือข่ายขอยืนยันว่าประชาชนมีสิทธิโดยชอบที่จะชุมนุมและเดินขบวนเพื่อขับไล่นายกรัฐมนตรี จึงไม่ควรที่นายกรัฐมนตรีจะป้ายสีผู้ต่อต้านนายกรัฐมนตรีด้วยความเท็จ ความอดทนและความมีใจกว้างเป็นคุณสมบัติของผู้นำในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่การมองประชาชนฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูคู่อาฆาต ดังที่นายกรัฐมนตรีได้แสดงออกตลอดเวลา
ประการที่สอง ขอเชิญชวนให้ประชาชนต่อต้านการกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่นายกรัฐมนตรีที่ “มาจากการแต่งตั้ง” เพราะประชาชนที่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้ต้องการล้มล้างรัฐสภาและระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องมาจากกระบวนการประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่มาจากการฉวยโอกาสทางการเมืองของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 ขอยืนยันว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลผลิตของการต่อสู้ทางการเมืองของประชาชน บุคคล หรือคณะบุคคลใด จึงไม่มีสิทธิละเมิดรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รวมทั้งไม่มีใครมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีได้โดยอำเภอใจ เพราะนั่นคือสัญลักษณ์ว่าอำนาจนอกระบบได้ปล้นชิงเจตนารมณ์ประชาธิปไตยไปจากประชาชน
ประการที่สาม ขอเชิญชวนให้ประชาชนรวมตัวผลักดันให้การเลือกตั้งที่จะมีขึ้น - ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่ 2 เมษายน 2549 - เปลี่ยนแปรจาก “การเลือกตั้งที่ถูกบิดเบือน” เป็น “การเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปการเมือง” และเครือข่ายฯ ขอเรียกร้องให้การปฏิรูปการเมืองต้องเกิดขึ้นทันทีเมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง
เครือข่ายเห็นว่า การปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่จำเป็นต้องเป็นการปฏิรูปที่ ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ใช่การปฏิรูปที่นำโดยชนชั้นนำ , นักการเมือง หรือนักกฎหมายมหาชนไม่กี่ราย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้นำและระบบการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ โดยที่การปฏิรูปครั้งใหม่ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากควรขยายรวมไปถึงการปฏิรูปกฎหมายและนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม
ท้ายที่สุดนี้ เครือข่ายฯ ขอยืนยันว่า การต่อสู้เพื่อเป้าหมายประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ย่อมไม่มีทางลัด มีแต่ต้องอาศัยพลังประชาชนที่ยึดกุม “วิถีทางประชาธิปไตย”
11 มีนาคม 2549
เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535
เครือข่ายพิทักษ์เจตนารมณ์เดือนพฤษภา 2535 เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวของนักกิจกรรมทางสังคมหลายกลุ่มหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ, วุฒิสมาชิก, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักพัฒนาสังคม, สื่อมวลชน, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักกฎหมาย, กลุ่มสิทธิสตรี, คนทำหนังสือ, สถาปนิก ฯลฯ ที่มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้ และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อผลักดันให้ประชาธิปไตยเป็นของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างสมบูรณ์
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
จอน อึ๊งภากรณ์ วุฒิสมาชิก
สุภิญญา กลางณรงค์ อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นักธุรกิจ
เสาวณีย์ จิตรื่น อาจาร์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
วราภรณ์ แช่มสนิท อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ดวงมณี เลาหกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สุรสม กฤษณะจูฑะ อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริยกร ปุสวิโร นักวิจัย มหาวิทยาลัยเบรเมน เยอรมนี
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลและนักวิชาการอิสระ
บุญเลิศ วิเศษปรีชา อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซด์ ประชาไท
สมเกียรติ จันทรสีมา นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2534
ธัญสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ
ภาณุ อารี ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ
อภิวัฒน์ แสงพันธสีมา ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระ
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป
สุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไบโอสโคป
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑
บัณฑิตย์ จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
เฉลิมชัย ทองสุข โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐฮาวายอิ
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา
วัฒนชัย วินิจจะกูล ผู้จัดการมูลนิธิ 14 ตุลา
วนิดา วินิจจะกูล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
นันทโชติ ชัยรัตน์ นักพัฒนาสังคม
พิชิต พิทักษ์ นักพัฒนาสังคม
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ นักพัฒนาสังคม
พิษณุ ไชยมงคล นักพัฒนาสังคม
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ กลุ่มเพื่อนประชาชน
บารมี ชัยรัตน์ สวนเงินมีมา
วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักเศรษฐศาสตร์
ฐิตินบ โกมลนิมิ โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทวีลักษณ์ พลราชม โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุฑามาศ สุกใส โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาวิณี ไชยภาค โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปาริฉัตร บัตรประโคน โครงการปริญญาโท สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิรพา อังกรูทัศนียรัตน์ โครงการปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พัชรี อังกรูทัศนียรัตน์ โครงการปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์ ครงการปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ธิกานต์ ศรีนารา โครงการปริญญาเอก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
โชติศักดิ์ อ่อนสูง ผู้ประสานงานศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษา [Student Activity Information Resource: SAIR]
รอมฎอน ปันจอร์ ผู้สื่อข่าว หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
อังศุมาลิน บุรุษ ผู้สื่อข่าว, สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542
ชัยธวัช ตุลาฑล กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน
อุเชนทร์ เชียงเสน กองบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน
ศรายุทธ์ ใจหลัก เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2543
ทรงศักดิ์ ปัญญา รองเลขาธิการ /สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ปี 2543
พงศธร ศรเพชรนรินทร์ เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2545
พิชิต ไชยมงคล เลขาธิการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2546
สิทธิพร จราดล สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2545-2546
ศิริพร พรมวงศ์ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี2547
อัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ กรรมการ/สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี2547
ชมมณี สุทธินาค องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2542
สุภิญญา ทองรัตนาศิริ สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาลัยธรรมศาสตร์ 2542
สันติชัย อาภรณ์ศรี สมาชิก/องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2545
ธัญกานต์ ทัศนภักดิ์ ผู้ประสานงาน/องค์การประสานงานเพื่อประชาธิปไตย มข. ปี 2542 และ 2543
ธนลักษณ์ สาเศียร ผู้ประสานงาน คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน
คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/นักเขียนอิสระ
ปฐมพงศ์ มานะกิจสมบูรณ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กมลพร ปีอาทิตย์ ฝ่ายประสานนอก/ชมรมศึกษาปัญหาแห่งเสื่อมโทรม 2542
อดิศร เกิดมงคล กลุ่มราชภัฏเพื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม
ภูพาน สรวิศมงคล ประชาชน
มารุต เหล็กเพชร ประชาชน
ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2535
สาวิตรี พูลสุขโข โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา
ประดิษฐ์ ลีลานิมิตร โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒานา
ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิชย์ สถาบันต้นกล้า
พรพิมล สันทัดอนุวัตร สถาบันต้นกล้า
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า
อัจฉรา เกียรติประไพ สถาบันต้นกล้า
วุฒิชัย ศรีคำภา กลุ่มเยาวชนตะกอนยม
อังคณา กระบวนแสง สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย
จีระวรรณ์ บรรเทาทุกข์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพ๊ญโฉม ตั้ง กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
สุภาภรณ์ มาลัยลอย โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
ส. รัตนมณี พลกล้า ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชุมชนชายฝั่งอันดามัน
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายฐานันดร พิมพ์น้อย ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด
นายธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด
นายธีรวุฒิ ทองทับ ทนายความ บริษัท กฎหมายมีสิทธิ์และการบัญชี จำกัด
ใบตอง รัตนขจิตวงศ์ โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
วัฒนา นาคประดิษฐ์ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิก
กนกวรรณ ตระกูลยิ่งเจริญ สถาปนิก