ศาลปกครองมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพิกถอน พ.ร.ฎ.ยุบสภา โดยให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินการตาม รธน.ระหว่างฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ จึงไม่อยู่ในขอบข่ายที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณา ด้านตัวแทนพันธมิตรเผยเป็นบทเรียนประชาชนพึ่งพาองค์กรอิสระได้เพียงใด พร้อมแนะวุฒิสภาส่งศาล รธน.ตีความไว้เป็นมาตรฐาน ก่อนมีการยุบสภาหนีผิด เลียนแบบ
วันนี้ (6 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณี น.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายต้านคอร์รัปชัน และนายพิทยา ว่องกุล ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และพวกรวม 6 คน ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอเพิกถอนพระราชกฤษฎีกายุบสภา แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 ก.พ.2549 และประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากการจัดการเลือกตั้ง
โดยศาลได้ให้เหตุผลไม่รับคำฟ้องว่า แม้ศาลจะมีอำนาจในการรับพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายพระราชพระราชกฤษฎีกา แต่เนื่องจากพระราชพระราชกฤษฎีกาที่ออก เพื่อเป็นกลไกในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่พระราชกฤษฎีกายุบสภาดังกล่าวเป็นการออกโดยการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 และเป็นการดำเนินการระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จึงไม่ได้เป็นการใช้อำนาจการปกครองที่อยู่ในขอบข่ายที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณา
ส่วนแถลงการณ์ของสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการยุบสภานั้น เป็นเพียงการชี้แจงไม่มีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด และเมื่อศาลพิจารณาแล้วว่าการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลที่จะรับไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ส่วนประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีการปกครอง ที่บัญญัติถึงลักษณะของประกาศและกฎ รวมถึงพระราชกฤษฎีกาที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณา
ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา จึงไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งบรรเททุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษา ตามที่ผู้ร้องได้ร้อง และให้มีการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกล่าวว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาออกไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เมื่อศาลไม่รับฟ้องก็จะไปพิจารณาข้อกฎหมายอื่นๆ ว่าการออกพระราชกฤษฎีกาเป็นการออกโดยกฎหมายหรือไม่ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คิดว่าเมื่อศาลมีคำสั่งเช่นนี้ก็ไม่มีผลต่อการชุมนุมของภาคประชาชน ซึ่งผลการชุมนุมจะป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก
ด้าน นายพิทยา ว่องกุล ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ในฐานะตัวแทนเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเรารู้ว่าไม่มีความชอบธรรมในการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ซึ่งแม้แต่ ส.ส.ฝ่ายค้านเองก็รู้ การตัดสินของศาลปกครอง ในทางกลับกันก็สะท้อนให้เห็นว่าในด้านกฎหมาย ฝ่ายรัฐบาลสามารถหลีกเลี่ยงได้ ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ และเป็นบทเรียนให้ภาคประชาชนรู้ว่า องค์กรอิสระเป็นที่พึ่งได้เพียงใด
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของศาลปกครองที่ไม่สามารถรับฟ้องได้ แต่ประชาชนจะได้เรียนรู้ว่าองค์กรอิสระมีข้อจำกัด นี่ขนาดเป็นองค์กรอิสระในระดับของศาล ส่วนองค์กรอิสระอื่นที่เป็นตัวบุคคลยิ่งจะถูกรัฐบาลเข้าไปครอบงำได้ง่าย
นายพิทยา กล่าวต่อว่า ประชาชนควรให้ความเชื่อถือต่อศาล แต่สำหรับ กกต.ได้สะท้อนภาพอย่างชัดเจน ในแง่กฎหมายที่ไม่มีใครสามารถฟ้องร้องได้ เช่น การประกาศวันเลือกตั้งของ กกต.ที่ไม่ครบองค์ประชุม
เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาครั้งนี้ได้ขัดแย้งกับความเป็นจริง การยุบสภาจึงเป็นมาตรฐานที่ผิด เป็นการยุบสภาที่ไม่เหมาะสม เป็นความอัปลักษณ์ แต่ประชาชนก็ไม่สามารถเอาผิดได้ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งและรัฐบาล
นายพิทยา ได้เสนอให้วุฒิสภายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การยุบสภาเมื่อวันที่ 24 ก.พ. มีความเหมาะสมหรือไม่ ควรจะมีการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาในหลักปัญหาใด เพื่อสร้างมาตรฐาน ไม่เช่นนั้นจะเกิดการยุบสภาเพื่อหนีความผิด
ขณะที่ นางรสนา โตสิตระกูล กล่าวว่า เมื่อศาลมีคำสั่งออกมาเช่นนี้เราก็ต้องเคารพ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งก็เหมือนเป็นการทดลองใช้เครื่องมือกลไกที่มีอยู่ และแสวงหากลไกอื่นว่าเราจะทำอย่างไรต่อไปได้ แต่คงไม่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพราะไม่แน่ใจในกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ
วันนี้ (6 มี.ค.) ศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องกรณี น.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำเครือข่ายต้านคอร์รัปชัน และนายพิทยา ว่องกุล ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และพวกรวม 6 คน ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอเพิกถอนพระราชกฤษฎีกายุบสภา แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 ก.พ.2549 และประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง อันเนื่องมาจากการจัดการเลือกตั้ง
โดยศาลได้ให้เหตุผลไม่รับคำฟ้องว่า แม้ศาลจะมีอำนาจในการรับพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายพระราชพระราชกฤษฎีกา แต่เนื่องจากพระราชพระราชกฤษฎีกาที่ออก เพื่อเป็นกลไกในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่พระราชกฤษฎีกายุบสภาดังกล่าวเป็นการออกโดยการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 116 และเป็นการดำเนินการระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จึงไม่ได้เป็นการใช้อำนาจการปกครองที่อยู่ในขอบข่ายที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณา
ส่วนแถลงการณ์ของสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการยุบสภานั้น เป็นเพียงการชี้แจงไม่มีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด และเมื่อศาลพิจารณาแล้วว่าการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลที่จะรับไว้พิจารณาแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ศาลต้องวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ส่วนประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ถือว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีการปกครอง ที่บัญญัติถึงลักษณะของประกาศและกฎ รวมถึงพระราชกฤษฎีกาที่ศาลปกครองจะรับไว้พิจารณา
ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา จึงไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งบรรเททุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษา ตามที่ผู้ร้องได้ร้อง และให้มีการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกล่าวว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาออกไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เมื่อศาลไม่รับฟ้องก็จะไปพิจารณาข้อกฎหมายอื่นๆ ว่าการออกพระราชกฤษฎีกาเป็นการออกโดยกฎหมายหรือไม่ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คิดว่าเมื่อศาลมีคำสั่งเช่นนี้ก็ไม่มีผลต่อการชุมนุมของภาคประชาชน ซึ่งผลการชุมนุมจะป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก
ด้าน นายพิทยา ว่องกุล ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ในฐานะตัวแทนเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเรารู้ว่าไม่มีความชอบธรรมในการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ซึ่งแม้แต่ ส.ส.ฝ่ายค้านเองก็รู้ การตัดสินของศาลปกครอง ในทางกลับกันก็สะท้อนให้เห็นว่าในด้านกฎหมาย ฝ่ายรัฐบาลสามารถหลีกเลี่ยงได้ ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ และเป็นบทเรียนให้ภาคประชาชนรู้ว่า องค์กรอิสระเป็นที่พึ่งได้เพียงใด
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของศาลปกครองที่ไม่สามารถรับฟ้องได้ แต่ประชาชนจะได้เรียนรู้ว่าองค์กรอิสระมีข้อจำกัด นี่ขนาดเป็นองค์กรอิสระในระดับของศาล ส่วนองค์กรอิสระอื่นที่เป็นตัวบุคคลยิ่งจะถูกรัฐบาลเข้าไปครอบงำได้ง่าย
นายพิทยา กล่าวต่อว่า ประชาชนควรให้ความเชื่อถือต่อศาล แต่สำหรับ กกต.ได้สะท้อนภาพอย่างชัดเจน ในแง่กฎหมายที่ไม่มีใครสามารถฟ้องร้องได้ เช่น การประกาศวันเลือกตั้งของ กกต.ที่ไม่ครบองค์ประชุม
เมื่อพระราชกฤษฎีกายุบสภาครั้งนี้ได้ขัดแย้งกับความเป็นจริง การยุบสภาจึงเป็นมาตรฐานที่ผิด เป็นการยุบสภาที่ไม่เหมาะสม เป็นความอัปลักษณ์ แต่ประชาชนก็ไม่สามารถเอาผิดได้ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งและรัฐบาล
นายพิทยา ได้เสนอให้วุฒิสภายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การยุบสภาเมื่อวันที่ 24 ก.พ. มีความเหมาะสมหรือไม่ ควรจะมีการออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาในหลักปัญหาใด เพื่อสร้างมาตรฐาน ไม่เช่นนั้นจะเกิดการยุบสภาเพื่อหนีความผิด
ขณะที่ นางรสนา โตสิตระกูล กล่าวว่า เมื่อศาลมีคำสั่งออกมาเช่นนี้เราก็ต้องเคารพ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งก็เหมือนเป็นการทดลองใช้เครื่องมือกลไกที่มีอยู่ และแสวงหากลไกอื่นว่าเราจะทำอย่างไรต่อไปได้ แต่คงไม่ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพราะไม่แน่ใจในกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ