เรื่องง่าย ๆ แต่พ.ต.ท.สำเนียง ลือเจียงคำกลับไม่เข้าใจ
สนธิ ลิ้มทองกุลพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความเคารพเทิดทูน และบอกกล่าวพสกนิกรทั้งแผ่นดินว่ากำลังมีคนบางคนบางกลุ่มกระทำการไม่เหมาะสม อันอาจตีความได้ว่าเป็นการจงใจละเมิดพระราชอำนาจ จงใจบำเพ็ญตนเสมอพระองค์ และเป็นการไม่ถวายความเคารพ
กลับถูกแจ้งความว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ต่อนี้ไปประชาชนจะพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวของพวกเขาไม่ได้แล้วหรืออย่างไร ?
แม้ด้วยเจตนาเคารพ เทิดทูน และปกป้อง ?
หลายเดือนมานี้ที่มีการพูดถึงพระราชอำนาจ พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ปัจจัยหลักไม่ใช่เพราะเป็นเกมสกปรกทางการเมืองอย่างที่พยายามบิดเบือนกัน
หากแต่เป็นเพราะ “ธาตุแท้” ของรัฐบาล “เปลือย” ออกมาอย่างล่อนจ้อน
ก็อย่างที่สนธิ ลิ้มทองกุลกล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 นั่นแหละว่า....
“เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำไร้คุณธรรม เมื่อนั้นประชาชนจะถวิลหาพระเจ้าอยู่หัว”
ชุดความคิดที่นายตำรวจนักร้องเรียนและนักสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่เคยประสบความสำเร็จคนนี้นำมาใช้กล่าวหาสนธิ ลิ้มทองกุลนั้น แม้จะดูแปลก พิสดาร และขัดต่อหลักเหตุผลอย่างยิ่ง แต่ก็มิได้เป็นชุดความคิดใหม่แต่ประการใด
เพราะเป็นชุดความคิดเดียวกับที่นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมในฐานะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เคยนำมาใช้กล่าวหาสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเป็นข้ออ้างในการถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ออกจากผังรายการช่อง 9
ให้ร้ายป้ายสีสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยข้อหาที่เป็นเสมือนการประหารชีวิตกันทางจิตวิญญาณของความเป็นพสกนิกรชาวไทยอย่างร้ายกาจ ด้วยการกล่าวหาว่าจงใจพูดเท็จเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจของพระองค์
ทางหนึ่ง – อ้างอิงราชเลขาธิการ และเลขานุการคณะองคมนตรี อย่างคลุมเครือและกำกวม
อีกทางหนึ่ง – ใช้ภาพลักษณ์ในอดีตที่เสมือนใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์และมีความรู้ในเรื่องขนบประเพณีในราชสำนักตลอดจนพระราชพิธีต่าง ๆ ออกมาอรรถาธิบายหลักการของการใช้พระราชอำนาจ และให้ร้ายป้ายสีสนธิ ลิ้มทองกุลอย่างคลุมเครือและกำกวมว่า พูดเท็จเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่บอกว่าเท็จตรงไหน อย่างไร และความจริงคืออะไร
และแม้จะยอมรับว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่จริง มีทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่ก็บอกว่าอยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการ
หนึ่ง – เป็นเรื่องภายในระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์
สอง – โดยธรรมเนียมประเพณี ไม่ว่าของประเทศไทยหรือประเทศอังกฤษ เป็นเรื่องที่ทั้งรัฐบาลและพระมหากษัตริย์จะต้องไม่เปิดเผย ซึ่งหมายความว่าบุคคลอื่นก็ไม่ควรกล่าวอ้าง
ทั้ง 2 กรณีมาจากปรัชญาหรือกระบวนการทางความคิดเดียวกัน
และส่งผลใกล้เคียงกัน
เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดที่เห็นว่าการกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งมิบังควร
เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยึดหลักตายตัวว่าการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นเรื่องภายในกับรัฐบาลเท่านั้น
โดยหลักการแล้ว ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของตะวันตกนั้นเกิดจากการใช้กำลังบังคับพระมหากษัตริย์ และมีวิวัฒนาการมายาวนานจนก่อให้เกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยในระดับสำคัญ ต่างกับระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในประเทศไทยที่เกิดจากการยินยอมพร้อมสละพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชน แม้คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยอมรับในข้อนี้
แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ดำเนินมาเกือบจะครบ 60 ปีเต็ม
ทำให้พระบารมีของพระองค์สูงกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลก
ไม่ควรนำมาตรฐานตะวันตกมาใช้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
ไม่ควรนำมาตรฐานตะวันตกมาใช้กับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์ตะวันตกในระบอบประชาธิปไตยมีพระราชอำนาจ แม้รัฐธรรมนูญจะไม่บัญญัติไว้
แต่พระมหากษัตริย์ตะวันออก โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีประเพณีและวัฒนธรรมแตกต่างต่างกัน มีพัฒนาการทางสังคมแตกต่างกัน เพราะมี “ธรรม” ในพุทธศาสนากำกับการใช้พระราชอำนาจ จึงนอกจากจะมีพระราชอำนาจเฉกเช่นพระมหากษัตริย์ตะวันตกแล้ว ยังจะมีมากกว่า
โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเพิ่งมีวิวัฒนาการมาเพียง 73 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหาร วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ สำนึกประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ การเลือกตั้งโดยภาพรวมแล้วไม่อาจกล่าวได้ว่าสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของสังคมไทย ไม่อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนได้โดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
หลักนิติธรรมทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในส่วนพระมหากษัตริย์ก็แตกต่างกับประเทศอื่น
มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญประเทศไทยนับตั้งแต่ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นต้นมาบัญญัติว่า
“อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
แสดงหลักนิติธรรมในประการสำคัญประการหนึ่งว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่พระมหา กษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
หลักนิติธรรมทางรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ ไม่เคยมีในประเทศอื่น มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยเสนอความคิดในเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนนี้ โดยการขนานนามว่า….
“ลัทธิราชประชาสมาศัย”
การกระทำใด ๆ ที่มีแนวโน้มไปในทางพยายามแยกพระมหากษัตริย์ไทยออกจากประชาชนของพระองค์จึงมิบังควร
รวมทั้งการเสนอหลักการว่าประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์ และการใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาลเท่านั้น
การทำความเข้าใจในประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในยุคปัจจุบัน
เพราะยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ล่อแหลมอย่างยิ่ง !
ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ก่อให้เกิดการนำแนวคิดนำข้อดีของระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) มาผสมผสานในโครงการสร้างพื้นฐานทางการเมืองของประเทศไทยโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ด้วยมาตรการหลาย ๆ ประการ
• เกือบ ๆ จะแยกอำนาจบริหารออกจากอำนาจนิติบัญญัติ
• เพิ่มมาตรการทางกฎหมายให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นผู้นำมากขึ้น
• เสมือนมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยหมายเลข 1 ของผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองเสมือนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงบังคับผู้สมัครส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง และให้การย้ายออกจากพรรคการเมืองทำได้ยาก
หลักการพื้นฐานเช่นนี้เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยภายใต้สภาพสังคมวิทยาทางการเมืองที่กล่าวได้ว่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขเดิมอย่างน้อย 3 ประการ คือ
• ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างชนบทกับเมือง
• วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ที่ยังคงหยั่งรากลึก เป็นอุปสรรคต่อวัฒนธรรมประชาธิปไตย
• การปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ไม่มีพัฒนาการของรัฐบาลท้องถิ่น
และเมื่อประกอบส่วนเข้ากับระบบบริโภคนิยมที่แผ่ซ่านเข้าครอบงำจิตสำนึกและจิตวิญญาณของคนไทย
รวมทั้งวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่กลุ่มทุนเก่าอ่อนแอลงอย่างมาก
ทำให้การเมืองใหม่กลายเป็นการเมืองของเงินที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทำให้รัฐบาลที่มาจากพันธมิตรกลุ่มทุนใหม่เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทำให้ผู้นำของรัฐบาลใหม่ที่มาจากพันธมิตรของกลุ่มทุนใหม่เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยความอหังการมมังการเย่อหยิ่งจองหองและไม่สนใจขนบประเพณีใดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ถ้าเรายึดมั่นในหลักการ “ประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์” และ “การใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาล” และ “การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องภายในระหว่างพระองค์กับรัฐบาล จะเปิดเผยมิได้” ว่าเป็นสัจธรรมที่ถูกต้องที่สุด
ขอถามว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกาลอนาคตข้างหน้า 5 ปี 10 ปี ?
เพราะเท่ากับในหลักนิติธรรมเดิม “ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน” มี “รัฐบาล” ที่อ้างว่ามาจากความชอบธรรมจากชัยชนะถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเข้ามาแทรกอยู่ตรงกลาง !
คงไม่กระไรนักหาก....
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ดี
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ไม่ชั่วจนเกินไป
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มีอำนาจมากเกินไป !
แต่หากการณ์กลับเป็นในทางตรงกันข้ามเล่า...
รัฐบาลเป็นรัฐบาลชั่ว
รัฐบาลเป็นรัฐบาลคดโกงทุกรูปแบบ
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจมากเกินไป !!
โดยภาพรวมแล้วในยุคสมัยนี้ คนไทยรุ่นใหม่ ๆ และผู้นำทางการเมืองบางคน ดูเหมือนจะเข้าใจ “การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ผิดไปจากเดิม
จึงปล่อยให้มีการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดพระราชอำนาจบ่อยครั้ง
เวลามีใครมาชี้ให้เห็น ก็หาว่า “ดึงฟ้าต่ำ” บ้าง “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง อย่าดึงพระองค์มาเกี่ยวข้อง” บ้าง
หรืออ้างหลัก “The King can do no wrong” อย่างเกินความหมาย
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ขึ้นมาว่า....
พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงอยู่เหนือการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องใด ๆ ในทางการเมืองไม่ได้เลย
ทรงสถิตอยู่ในฐานะที่เป็นเพียงสัญลักษณ์
มีหน้าที่แต่เพียงการลงพระปรมาภิไธยตามที่รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ กราบบังคมทูลเสนอขึ้นไปเท่านั้น
ฟังดูเหมือนดี เหมือนถูกต้อง – แต่จริง ๆ แล้วนี่คือความคิดที่อันตราย
เพราะถ้าคิดกันอย่างนี้ ก็เหมือนเรามีพระมหากษัตริย์ไว้สำหรับกราบไหว้ บูชา และไว้พูดถึงด้วยข้อความกันกินใจต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่า “ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ” แต่ไม่ต้องปฏิบัติตาม เหมือนกับมีพระองค์ไว้บนหิ้งบูชาเสมือนพระพุทธรูป ที่ก็กราบกันไป สวดมนต์กันไป แต่ผิดศีลผิดคำสอนในพุทธศาสนากันเป็นปกติ
มีแต่ “อามิสบูชา” ไม่มี “ปฏิบัติบูชา” นั่นเอง
หลัก “The King can do no wrong” นั้นมีไว้เพื่อไม่ให้พระมหากษัตริย์ต้องรับผิดทางการเมือง โดยในกิจการบ้านเมืองต่าง ๆ ก็ให้มี “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” มารับผิดชอบแทน
แต่ไม่ใช่ให้พระองค์ไม่สามารถทรงทำอะไรได้เลย
“The King can do no wrong” ไม่ใช่ “The King can do nothing” นะ !
ถ้าปล่อยให้คนไทยทั่วไปคิดอย่างนี้มากขึ้น ๆ เราก็จะทำลายลักษณะพิเศษของชาติไทยไป
ซึ่งไม่ต่างกับการทำลายชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันอยู่เหนือเกล้าทรงสามารถยุติเหตุการณ์วิกฤตในบ้านเมืองลงได้หลายครั้งหลายหน
เพราะพระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติมาต่อเนื่อง ยาวนาน ไม่แพ้กษัตริย์พระองค์ใดในโลก รวมแล้ว 59 ปีเต็ม นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ปีหน้าจะครบ 60 ปีเต็ม ทำให้ทรงรู้ทรงเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองมาโดยตลอด เป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ของบ้านเมืองไว้มากที่สุด
พระองค์ไม่ได้ทรงมีบารมีขึ้นมาจากทฤษฎี หากแต่โดยการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
พระองค์ทรงพิสูจน์พระองค์แล้วว่าเป็นสัจจะ
สนธิ ลิ้มทองกุลพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากเป็นพิเศษในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ก็เพราะเล็งเห็นในภยันตรายที่กรายใกล้
ดั่งประโยคสำคัญที่เขากล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 ว่า....
“เมื่อใดใครก็ตามเห็นพระเจ้าอยู่หัวเป็นเพียงแค่ตรายาง เมื่อนั้นแสดงว่าประเทศไทยสามารถซื้อขายได้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญถูกร่างโดยนักการเมือง พรรคการเมืองเกิดขึ้นเพราะทุน เมื่อทุนสร้างพรรคการเมือง พรรคการเมืองซื้อนักการเมือง นักการเมืองออกกฎหมาย ก็สามารถซื้อขายประเทศได้ให้พรรคพวกตัวเอง”
สนธิ ลิ้มทองกุลพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความเคารพเทิดทูน และบอกกล่าวพสกนิกรทั้งแผ่นดินว่ากำลังมีคนบางคนบางกลุ่มกระทำการไม่เหมาะสม อันอาจตีความได้ว่าเป็นการจงใจละเมิดพระราชอำนาจ จงใจบำเพ็ญตนเสมอพระองค์ และเป็นการไม่ถวายความเคารพ
กลับถูกแจ้งความว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ต่อนี้ไปประชาชนจะพูดถึงพระเจ้าอยู่หัวของพวกเขาไม่ได้แล้วหรืออย่างไร ?
แม้ด้วยเจตนาเคารพ เทิดทูน และปกป้อง ?
หลายเดือนมานี้ที่มีการพูดถึงพระราชอำนาจ พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ปัจจัยหลักไม่ใช่เพราะเป็นเกมสกปรกทางการเมืองอย่างที่พยายามบิดเบือนกัน
หากแต่เป็นเพราะ “ธาตุแท้” ของรัฐบาล “เปลือย” ออกมาอย่างล่อนจ้อน
ก็อย่างที่สนธิ ลิ้มทองกุลกล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 นั่นแหละว่า....
“เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำไร้คุณธรรม เมื่อนั้นประชาชนจะถวิลหาพระเจ้าอยู่หัว”
ชุดความคิดที่นายตำรวจนักร้องเรียนและนักสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่เคยประสบความสำเร็จคนนี้นำมาใช้กล่าวหาสนธิ ลิ้มทองกุลนั้น แม้จะดูแปลก พิสดาร และขัดต่อหลักเหตุผลอย่างยิ่ง แต่ก็มิได้เป็นชุดความคิดใหม่แต่ประการใด
เพราะเป็นชุดความคิดเดียวกับที่นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมในฐานะกรรมการบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เคยนำมาใช้กล่าวหาสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเป็นข้ออ้างในการถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ออกจากผังรายการช่อง 9
ให้ร้ายป้ายสีสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยข้อหาที่เป็นเสมือนการประหารชีวิตกันทางจิตวิญญาณของความเป็นพสกนิกรชาวไทยอย่างร้ายกาจ ด้วยการกล่าวหาว่าจงใจพูดเท็จเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจของพระองค์
ทางหนึ่ง – อ้างอิงราชเลขาธิการ และเลขานุการคณะองคมนตรี อย่างคลุมเครือและกำกวม
อีกทางหนึ่ง – ใช้ภาพลักษณ์ในอดีตที่เสมือนใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์และมีความรู้ในเรื่องขนบประเพณีในราชสำนักตลอดจนพระราชพิธีต่าง ๆ ออกมาอรรถาธิบายหลักการของการใช้พระราชอำนาจ และให้ร้ายป้ายสีสนธิ ลิ้มทองกุลอย่างคลุมเครือและกำกวมว่า พูดเท็จเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยไม่บอกว่าเท็จตรงไหน อย่างไร และความจริงคืออะไร
และแม้จะยอมรับว่าพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์นั้นมีอยู่จริง มีทั้งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แต่ก็บอกว่าอยู่ภายในเงื่อนไข 2 ประการ
หนึ่ง – เป็นเรื่องภายในระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์
สอง – โดยธรรมเนียมประเพณี ไม่ว่าของประเทศไทยหรือประเทศอังกฤษ เป็นเรื่องที่ทั้งรัฐบาลและพระมหากษัตริย์จะต้องไม่เปิดเผย ซึ่งหมายความว่าบุคคลอื่นก็ไม่ควรกล่าวอ้าง
ทั้ง 2 กรณีมาจากปรัชญาหรือกระบวนการทางความคิดเดียวกัน
และส่งผลใกล้เคียงกัน
เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวคิดที่เห็นว่าการกล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งมิบังควร
เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการยึดหลักตายตัวว่าการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นเรื่องภายในกับรัฐบาลเท่านั้น
โดยหลักการแล้ว ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของตะวันตกนั้นเกิดจากการใช้กำลังบังคับพระมหากษัตริย์ และมีวิวัฒนาการมายาวนานจนก่อให้เกิดวัฒนธรรมประชาธิปไตยในระดับสำคัญ ต่างกับระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในประเทศไทยที่เกิดจากการยินยอมพร้อมสละพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชน แม้คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยอมรับในข้อนี้
แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ดำเนินมาเกือบจะครบ 60 ปีเต็ม
ทำให้พระบารมีของพระองค์สูงกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลก
ไม่ควรนำมาตรฐานตะวันตกมาใช้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
ไม่ควรนำมาตรฐานตะวันตกมาใช้กับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์ตะวันตกในระบอบประชาธิปไตยมีพระราชอำนาจ แม้รัฐธรรมนูญจะไม่บัญญัติไว้
แต่พระมหากษัตริย์ตะวันออก โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีประเพณีและวัฒนธรรมแตกต่างต่างกัน มีพัฒนาการทางสังคมแตกต่างกัน เพราะมี “ธรรม” ในพุทธศาสนากำกับการใช้พระราชอำนาจ จึงนอกจากจะมีพระราชอำนาจเฉกเช่นพระมหากษัตริย์ตะวันตกแล้ว ยังจะมีมากกว่า
โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน
ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยเพิ่งมีวิวัฒนาการมาเพียง 73 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบเผด็จการทหาร วัฒนธรรมประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ สำนึกประชาธิปไตยของประชาชนยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์ การเลือกตั้งโดยภาพรวมแล้วไม่อาจกล่าวได้ว่าสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของสังคมไทย ไม่อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนได้โดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
หลักนิติธรรมทางรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในส่วนพระมหากษัตริย์ก็แตกต่างกับประเทศอื่น
มาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญประเทศไทยนับตั้งแต่ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เป็นต้นมาบัญญัติว่า
“อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
แสดงหลักนิติธรรมในประการสำคัญประการหนึ่งว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่พระมหา กษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
หลักนิติธรรมทางรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์และประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้ ไม่เคยมีในประเทศอื่น มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยเสนอความคิดในเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนนี้ โดยการขนานนามว่า….
“ลัทธิราชประชาสมาศัย”
การกระทำใด ๆ ที่มีแนวโน้มไปในทางพยายามแยกพระมหากษัตริย์ไทยออกจากประชาชนของพระองค์จึงมิบังควร
รวมทั้งการเสนอหลักการว่าประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์ และการใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาลเท่านั้น
การทำความเข้าใจในประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญมากในยุคปัจจุบัน
เพราะยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ล่อแหลมอย่างยิ่ง !
ความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ก่อให้เกิดการนำแนวคิดนำข้อดีของระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) มาผสมผสานในโครงการสร้างพื้นฐานทางการเมืองของประเทศไทยโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ด้วยมาตรการหลาย ๆ ประการ
• เกือบ ๆ จะแยกอำนาจบริหารออกจากอำนาจนิติบัญญัติ
• เพิ่มมาตรการทางกฎหมายให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นผู้นำมากขึ้น
• เสมือนมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยหมายเลข 1 ของผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองเสมือนเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงบังคับผู้สมัครส.ส.ให้ต้องสังกัดพรรคการเมือง และให้การย้ายออกจากพรรคการเมืองทำได้ยาก
หลักการพื้นฐานเช่นนี้เมื่อนำมาใช้ในประเทศไทยภายใต้สภาพสังคมวิทยาทางการเมืองที่กล่าวได้ว่ายังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขเดิมอย่างน้อย 3 ประการ คือ
• ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างชนบทกับเมือง
• วัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ที่ยังคงหยั่งรากลึก เป็นอุปสรรคต่อวัฒนธรรมประชาธิปไตย
• การปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ไม่มีพัฒนาการของรัฐบาลท้องถิ่น
และเมื่อประกอบส่วนเข้ากับระบบบริโภคนิยมที่แผ่ซ่านเข้าครอบงำจิตสำนึกและจิตวิญญาณของคนไทย
รวมทั้งวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่กลุ่มทุนเก่าอ่อนแอลงอย่างมาก
ทำให้การเมืองใหม่กลายเป็นการเมืองของเงินที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทำให้รัฐบาลที่มาจากพันธมิตรกลุ่มทุนใหม่เป็นรัฐบาลที่เข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทำให้ผู้นำของรัฐบาลใหม่ที่มาจากพันธมิตรของกลุ่มทุนใหม่เป็นผู้นำที่เต็มไปด้วยความอหังการมมังการเย่อหยิ่งจองหองและไม่สนใจขนบประเพณีใดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ถ้าเรายึดมั่นในหลักการ “ประชาชนไม่ควรพูดถึงพระมหากษัตริย์” และ “การใช้พระราชอำนาจเป็นเรื่องระหว่างพระองค์กับรัฐบาล” และ “การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องภายในระหว่างพระองค์กับรัฐบาล จะเปิดเผยมิได้” ว่าเป็นสัจธรรมที่ถูกต้องที่สุด
ขอถามว่าอะไรจะเกิดขึ้นในกาลอนาคตข้างหน้า 5 ปี 10 ปี ?
เพราะเท่ากับในหลักนิติธรรมเดิม “ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน” มี “รัฐบาล” ที่อ้างว่ามาจากความชอบธรรมจากชัยชนะถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเข้ามาแทรกอยู่ตรงกลาง !
คงไม่กระไรนักหาก....
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ดี
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ไม่ชั่วจนเกินไป
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มีอำนาจมากเกินไป !
แต่หากการณ์กลับเป็นในทางตรงกันข้ามเล่า...
รัฐบาลเป็นรัฐบาลชั่ว
รัฐบาลเป็นรัฐบาลคดโกงทุกรูปแบบ
รัฐบาลเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจมากเกินไป !!
โดยภาพรวมแล้วในยุคสมัยนี้ คนไทยรุ่นใหม่ ๆ และผู้นำทางการเมืองบางคน ดูเหมือนจะเข้าใจ “การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ผิดไปจากเดิม
จึงปล่อยให้มีการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดพระราชอำนาจบ่อยครั้ง
เวลามีใครมาชี้ให้เห็น ก็หาว่า “ดึงฟ้าต่ำ” บ้าง “พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง อย่าดึงพระองค์มาเกี่ยวข้อง” บ้าง
หรืออ้างหลัก “The King can do no wrong” อย่างเกินความหมาย
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ขึ้นมาว่า....
พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงอยู่เหนือการเมือง เข้ามาเกี่ยวข้องใด ๆ ในทางการเมืองไม่ได้เลย
ทรงสถิตอยู่ในฐานะที่เป็นเพียงสัญลักษณ์
มีหน้าที่แต่เพียงการลงพระปรมาภิไธยตามที่รัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ กราบบังคมทูลเสนอขึ้นไปเท่านั้น
ฟังดูเหมือนดี เหมือนถูกต้อง – แต่จริง ๆ แล้วนี่คือความคิดที่อันตราย
เพราะถ้าคิดกันอย่างนี้ ก็เหมือนเรามีพระมหากษัตริย์ไว้สำหรับกราบไหว้ บูชา และไว้พูดถึงด้วยข้อความกันกินใจต่าง ๆ นานา เป็นต้นว่า “ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ” แต่ไม่ต้องปฏิบัติตาม เหมือนกับมีพระองค์ไว้บนหิ้งบูชาเสมือนพระพุทธรูป ที่ก็กราบกันไป สวดมนต์กันไป แต่ผิดศีลผิดคำสอนในพุทธศาสนากันเป็นปกติ
มีแต่ “อามิสบูชา” ไม่มี “ปฏิบัติบูชา” นั่นเอง
หลัก “The King can do no wrong” นั้นมีไว้เพื่อไม่ให้พระมหากษัตริย์ต้องรับผิดทางการเมือง โดยในกิจการบ้านเมืองต่าง ๆ ก็ให้มี “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” มารับผิดชอบแทน
แต่ไม่ใช่ให้พระองค์ไม่สามารถทรงทำอะไรได้เลย
“The King can do no wrong” ไม่ใช่ “The King can do nothing” นะ !
ถ้าปล่อยให้คนไทยทั่วไปคิดอย่างนี้มากขึ้น ๆ เราก็จะทำลายลักษณะพิเศษของชาติไทยไป
ซึ่งไม่ต่างกับการทำลายชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันอยู่เหนือเกล้าทรงสามารถยุติเหตุการณ์วิกฤตในบ้านเมืองลงได้หลายครั้งหลายหน
เพราะพระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติมาต่อเนื่อง ยาวนาน ไม่แพ้กษัตริย์พระองค์ใดในโลก รวมแล้ว 59 ปีเต็ม นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 ปีหน้าจะครบ 60 ปีเต็ม ทำให้ทรงรู้ทรงเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ในบ้านเมืองมาโดยตลอด เป็นแหล่งสะสมประสบการณ์ของบ้านเมืองไว้มากที่สุด
พระองค์ไม่ได้ทรงมีบารมีขึ้นมาจากทฤษฎี หากแต่โดยการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
พระองค์ทรงพิสูจน์พระองค์แล้วว่าเป็นสัจจะ
สนธิ ลิ้มทองกุลพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากเป็นพิเศษในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ก็เพราะเล็งเห็นในภยันตรายที่กรายใกล้
ดั่งประโยคสำคัญที่เขากล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2548 ว่า....
“เมื่อใดใครก็ตามเห็นพระเจ้าอยู่หัวเป็นเพียงแค่ตรายาง เมื่อนั้นแสดงว่าประเทศไทยสามารถซื้อขายได้ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญถูกร่างโดยนักการเมือง พรรคการเมืองเกิดขึ้นเพราะทุน เมื่อทุนสร้างพรรคการเมือง พรรคการเมืองซื้อนักการเมือง นักการเมืองออกกฎหมาย ก็สามารถซื้อขายประเทศได้ให้พรรคพวกตัวเอง”