เชียงใหม่ / ชลประทานชี้หากรื้อฝายท่าวังตาลแม้เพียงบางส่วนหวั่นโครงสร้างของตัวฝายเสียหาย เผยปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งเกิดขึ้นแน่ พร้อมการันตีเอาตำแหน่งเป็นประกันจะไม่เกิดปัญหาน้ำแล้วในพื้นที่รับน้ำจากฝาย ชาวบ้านยันน้ำท่วมเชียงใหม่ไม่เกี่ยวกับฝาย แจงพื้นที่อำเภออื่นๆก็ท่วม แจงหากรื้อแล้วมีฝายยางมาแทนไม่มั่นใจใช้ประโยชน์ได้จริง รองผู้ว่าแนะตรวจสอบความเสียหายก่อนดำเนินการ
ตามที่เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาทางเทศบาลนครเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานชลประทานเขต 1 เข้าทำการรื้อฝายท่าวังตาล ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และเกิดการปะทะกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้คัดค้านการรื้อฝายมาโดยตลอด จนในที่สุดการรื้อฝายดังกล่าวก็ต้องยุติลง พร้อมกันนี้ได้มีการหารือเพื่อหาทางออกในกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างตัวแทนชาวบ้าน นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปว่าให้ระงับการรื้อฝายท่าวังตาลไว้ก่อน เพราะวิตกปัญหาด้านการกัดเซาะพังทลายของตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำปิง รวมทั้งปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ที่รับน้ำจากฝายท่าวังตาลได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวมีการเสนอต่อนายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่แล้ว
ล่าสุดวันนี้(28 ก.ย.) จังหวัดเชียงใหม่ได้เรียกประชุมส่วนที่เกี่ยวข้องกรณีการหาทางออกในประเด็นการรื้อฝายท่าวังตาลโดยมีนายขวัญชัย วงศ์นิติกร รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ ผู้แทนสำนักชลประทานที่ 1 รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมประชุม
นายแสงรัตน์ เบญจพงศ์ ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ที่ผ่านมาสร้างความเสียหายแก่ชาวเชียงใหม่อย่างมาก ทั้งนี้เพราะปริมาณฝนที่ตกติดต่อกันต่อเนื่อง ซึ่งแม่น้ำปิงสามารถระบายน้ำได้เพียง 460 ล้านลูกบาศก์เมตร/วินาที แต่ปริมาณน้ำที่มีนั้นสูงถึง 700-800 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จึงทำให้ปริมาณน้ำไหลทะลักเข้าท่วมตัวเมือง
นายแสงรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากลำน้ำปิงที่มีความแคบ ระบายน้ำออกไม่ทันแล้วยังพบว่ามีการก่อสร้างสิ่งขีดขวางลำน้ำคือฝายหินทิ้งอีกถึง 3 ฝายคือฝายท่าศาลา ฝายหนองผึ้ง และฝายท่าวังตาล ฝายเหล่านี้ถือเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ดังนั้นตามหลักแล้งจะต้องรื้อออกรวมทั้งต้องขยายลำน้ำเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ไหลกว่า 800 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีได้ ซึ่งกรณีนี้ต้องหาเวลาที่เหมาะสมดำเนินการต่อไป
ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อสรุปจากการหารือกันระหว่างชาวบ้านกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาเรื่องการรื้อฝายท่าวังตาลที่ระบุว่าหากรื้อฝายบางส่วนออกจะทำให้คลองซอยที่รับน้ำจากฝายแห้งแล้งนั้นตนเห็นว่าเรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะในทางวิศวกรรมสามารถแก้ไขได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหากมีการรื้อฝายบางส่วนออกอาจทำให้โครงสร้างทั้งหมดของตัวฝายเกิดความเสียหายได้เพราะกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และที่สำคัญจะเกิดปัญหาการกัดเซาะตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำทั้งเหนือฝายและใต้ฝายขึ้นแน่นอน
"เรื่องที่ว่าหากรื้อฝายท่าวังตาลแล้วชาวบ้านกลัวว่าคนที่ใช้น้ำจากฝายจะเจอปัญหาความแห้งแล้ง เรื่องนี้ผมเอาตำแหน่งเป็นประกันเลยว่าเราสามารถแก้ไขได้ โดยการหาเครื่องสูบน้ำสูบเข้าไป ไม่ขาดน้ำแน่นอน แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่หากรื้อฝายบางส่วนออกแม้เพียงบางส่วน กระแสน้ำที่เชี่ยวจะทำให้โครงสร้างฝายเสียหาย และที่สำคัญจะเกิดการกัดเซาะของน้ำทั้งตลิ่งสองฝั่งรวมทั้งอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านด้วย นี่คือปัญหาใหญ่ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันว่าจะแก้ไขกันอย่างไร" นายแสงรัตน์กล่าว
นายสมบูรณ์ บุญชู ตัวแทนชาวบ้าน อ.สารภี กล่าวว่า ตนตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ทุกฝ่ายจะมองว่าฝายเหล่านี้เป็นเหตุ ทั้งที่จริงแล้วน้ำก็ท่วมในหลายอำเภอ เกิดความเสียหายไม่เฉพาะในตัวเมืองเชียงใหม่เท่านั้น ดังนั้นเหตุใดราชการไม่พิจารณาสาเหตุอื่นที่ใกล้เคียงความเป็นจริงดูบ้าง อย่างเช่น การบุกรุกแม่น้ำปิงเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขตรงนี้จะถูกจุดมากกว่าด้วย
นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันชาวบ้านได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อฝายเหล่านั้นได้มากจำนวนหนึ่งแล้ว ซึ่งหากเห็นท่าไม่ดีก็เตรียมเสนอรายชื่อเหล่านั้นไม่ยังส่วนกลางแน่ ส่วนประเด็นที่ว่าหากมีการรื้อฝายเดิมออกแล้วจะสร้างฝายยางขึ้นมาทดแทนให้ใหม่นั้น ตนไม่มั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ เพราะฝายยางที่กรมชลประทานไปสร้างให้ชาวบ้านที่ ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว ใช้งบประมาณไปกว่า 200 ล้านบาทนั้นปัจจุบันแม้สร้างเสร็จไปนานแล้วแต่ก็มิได้สร้างประโยชน์ใดๆกับชาวบ้านแม้แต่น้อย ดังนั้นหากมีการสร้างฝายยางขึ้นมาแทนฝายท่าวังตาลจะให้ชาวบ้านเชื่อได้อย่างไรว่าสามารถใช้ปีะโยชน์ได้จริง และจะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือไม่
นายขวัญชัย วงศ์นิติกร รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า กรณีนี้ตนอยากให้ชาวบ้านเข้าใจว่าทางจังหวัดมิได้มีเจตนาจะไปทำลายภูมิปัญญาชาวบ้านแต่อย่างใด แต่มีความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะใช้แนวทางไหนนั้นก็ต้องมาหารือร่วมกัน ไม่ใช่คิดแค่จะจ่ายค่าชดเชยแก่ชาวบ้านที่ประสบภัยทุกๆปี
นายขวัญชัย กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าแนวทางการแก้ปัญหาที่มีการเสนอมายังผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น โดยเฉพาะประเด็นการรื้อฝายบางส่วนออกแล้วอาจจะทำให้โครงสร้างของฝายชำรุดเสียหาย และจะเกิดปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงมาก ดังนั้นตนเห็นว่าต้องมีการศึกษารายละเอียด ผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นก่อน ต้องหารือทุกภาคส่วน และการดำเนินการต้องทำประชาพิจารณ์ด้วย
"เรื่องนี้ทางนายอำเภอสารภีและนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ต้องไปศึกษาตรวจสอบว่าหากรื้อฝายบางส่วนออกจะเกิดความเสียหายอะไรขึ้นบ้าง รวมทั้งต้องดูว่าบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำปิงที่จะได้รับผลกระทบมีจำนวนเท่าไร หลังจากนั้นต้องมาพิจารณาร่วมกันว่าหากดำเนินการจะคุ้มกับที่เสียไปหรือไม่ หากมีผลเสียมากกว่าก็อย่าเพิ่งทำ ต้องรอให้หมดฝนไปก่อน" รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ กล่าว .
ตามที่เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาทางเทศบาลนครเชียงใหม่ร่วมกับสำนักงานชลประทานเขต 1 เข้าทำการรื้อฝายท่าวังตาล ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และเกิดการปะทะกับชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้คัดค้านการรื้อฝายมาโดยตลอด จนในที่สุดการรื้อฝายดังกล่าวก็ต้องยุติลง พร้อมกันนี้ได้มีการหารือเพื่อหาทางออกในกรณีที่เกิดขึ้นระหว่างตัวแทนชาวบ้าน นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปว่าให้ระงับการรื้อฝายท่าวังตาลไว้ก่อน เพราะวิตกปัญหาด้านการกัดเซาะพังทลายของตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำปิง รวมทั้งปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ที่รับน้ำจากฝายท่าวังตาลได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวมีการเสนอต่อนายสุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่แล้ว
ล่าสุดวันนี้(28 ก.ย.) จังหวัดเชียงใหม่ได้เรียกประชุมส่วนที่เกี่ยวข้องกรณีการหาทางออกในประเด็นการรื้อฝายท่าวังตาลโดยมีนายขวัญชัย วงศ์นิติกร รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ ผู้แทนสำนักชลประทานที่ 1 รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมประชุม
นายแสงรัตน์ เบญจพงศ์ ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ที่ผ่านมาสร้างความเสียหายแก่ชาวเชียงใหม่อย่างมาก ทั้งนี้เพราะปริมาณฝนที่ตกติดต่อกันต่อเนื่อง ซึ่งแม่น้ำปิงสามารถระบายน้ำได้เพียง 460 ล้านลูกบาศก์เมตร/วินาที แต่ปริมาณน้ำที่มีนั้นสูงถึง 700-800 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จึงทำให้ปริมาณน้ำไหลทะลักเข้าท่วมตัวเมือง
นายแสงรัตน์ กล่าวต่อว่า นอกจากลำน้ำปิงที่มีความแคบ ระบายน้ำออกไม่ทันแล้วยังพบว่ามีการก่อสร้างสิ่งขีดขวางลำน้ำคือฝายหินทิ้งอีกถึง 3 ฝายคือฝายท่าศาลา ฝายหนองผึ้ง และฝายท่าวังตาล ฝายเหล่านี้ถือเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วม ดังนั้นตามหลักแล้งจะต้องรื้อออกรวมทั้งต้องขยายลำน้ำเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ไหลกว่า 800 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีได้ ซึ่งกรณีนี้ต้องหาเวลาที่เหมาะสมดำเนินการต่อไป
ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับข้อสรุปจากการหารือกันระหว่างชาวบ้านกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมาเรื่องการรื้อฝายท่าวังตาลที่ระบุว่าหากรื้อฝายบางส่วนออกจะทำให้คลองซอยที่รับน้ำจากฝายแห้งแล้งนั้นตนเห็นว่าเรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วง เพราะในทางวิศวกรรมสามารถแก้ไขได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหากมีการรื้อฝายบางส่วนออกอาจทำให้โครงสร้างทั้งหมดของตัวฝายเกิดความเสียหายได้เพราะกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว และที่สำคัญจะเกิดปัญหาการกัดเซาะตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำทั้งเหนือฝายและใต้ฝายขึ้นแน่นอน
"เรื่องที่ว่าหากรื้อฝายท่าวังตาลแล้วชาวบ้านกลัวว่าคนที่ใช้น้ำจากฝายจะเจอปัญหาความแห้งแล้ง เรื่องนี้ผมเอาตำแหน่งเป็นประกันเลยว่าเราสามารถแก้ไขได้ โดยการหาเครื่องสูบน้ำสูบเข้าไป ไม่ขาดน้ำแน่นอน แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่หากรื้อฝายบางส่วนออกแม้เพียงบางส่วน กระแสน้ำที่เชี่ยวจะทำให้โครงสร้างฝายเสียหาย และที่สำคัญจะเกิดการกัดเซาะของน้ำทั้งตลิ่งสองฝั่งรวมทั้งอาคารบ้านเรือนของชาวบ้านด้วย นี่คือปัญหาใหญ่ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันว่าจะแก้ไขกันอย่างไร" นายแสงรัตน์กล่าว
นายสมบูรณ์ บุญชู ตัวแทนชาวบ้าน อ.สารภี กล่าวว่า ตนตั้งข้อสังเกตว่าปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ครั้งนี้ทุกฝ่ายจะมองว่าฝายเหล่านี้เป็นเหตุ ทั้งที่จริงแล้วน้ำก็ท่วมในหลายอำเภอ เกิดความเสียหายไม่เฉพาะในตัวเมืองเชียงใหม่เท่านั้น ดังนั้นเหตุใดราชการไม่พิจารณาสาเหตุอื่นที่ใกล้เคียงความเป็นจริงดูบ้าง อย่างเช่น การบุกรุกแม่น้ำปิงเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการแก้ไขตรงนี้จะถูกจุดมากกว่าด้วย
นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันชาวบ้านได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อฝายเหล่านั้นได้มากจำนวนหนึ่งแล้ว ซึ่งหากเห็นท่าไม่ดีก็เตรียมเสนอรายชื่อเหล่านั้นไม่ยังส่วนกลางแน่ ส่วนประเด็นที่ว่าหากมีการรื้อฝายเดิมออกแล้วจะสร้างฝายยางขึ้นมาทดแทนให้ใหม่นั้น ตนไม่มั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ เพราะฝายยางที่กรมชลประทานไปสร้างให้ชาวบ้านที่ ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว ใช้งบประมาณไปกว่า 200 ล้านบาทนั้นปัจจุบันแม้สร้างเสร็จไปนานแล้วแต่ก็มิได้สร้างประโยชน์ใดๆกับชาวบ้านแม้แต่น้อย ดังนั้นหากมีการสร้างฝายยางขึ้นมาแทนฝายท่าวังตาลจะให้ชาวบ้านเชื่อได้อย่างไรว่าสามารถใช้ปีะโยชน์ได้จริง และจะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือไม่
นายขวัญชัย วงศ์นิติกร รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า กรณีนี้ตนอยากให้ชาวบ้านเข้าใจว่าทางจังหวัดมิได้มีเจตนาจะไปทำลายภูมิปัญญาชาวบ้านแต่อย่างใด แต่มีความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะใช้แนวทางไหนนั้นก็ต้องมาหารือร่วมกัน ไม่ใช่คิดแค่จะจ่ายค่าชดเชยแก่ชาวบ้านที่ประสบภัยทุกๆปี
นายขวัญชัย กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าแนวทางการแก้ปัญหาที่มีการเสนอมายังผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น โดยเฉพาะประเด็นการรื้อฝายบางส่วนออกแล้วอาจจะทำให้โครงสร้างของฝายชำรุดเสียหาย และจะเกิดปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่งเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงมาก ดังนั้นตนเห็นว่าต้องมีการศึกษารายละเอียด ผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นก่อน ต้องหารือทุกภาคส่วน และการดำเนินการต้องทำประชาพิจารณ์ด้วย
"เรื่องนี้ทางนายอำเภอสารภีและนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ต้องไปศึกษาตรวจสอบว่าหากรื้อฝายบางส่วนออกจะเกิดความเสียหายอะไรขึ้นบ้าง รวมทั้งต้องดูว่าบ้านเรือนชาวบ้านที่อยู่ริมตลิ่งสองฝั่งแม่น้ำปิงที่จะได้รับผลกระทบมีจำนวนเท่าไร หลังจากนั้นต้องมาพิจารณาร่วมกันว่าหากดำเนินการจะคุ้มกับที่เสียไปหรือไม่ หากมีผลเสียมากกว่าก็อย่าเพิ่งทำ ต้องรอให้หมดฝนไปก่อน" รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ กล่าว .