น้ำมันแพงชนิดไม่มีทางแก้ไขในวันนี้เพราะอะไร ?
เพราะปตท.สูญเสียความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดูดซับความเดือดร้อนของประชาชน ไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จะต้องแสวงหากำไร
ไฟฟ้ากำลังจะแพงชนิดไม่มีทางจะแก้ไขในวันหน้าเพราะอะไร ?
เพราะกฟผ.กำลังจะ.สูญเสียความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดูดซับความเดือดร้อนของประชาชน ไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จะต้องแสวงหากำไร
ทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานมีอันต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะอะไร ?
เพราะนโยบาย “ไทยลักไทย” ของพรรคไทยรักไทย
อันเป็นนโยบายที่พรรคไทยรักไทยเสียสัจจะที่เคยให้ไว้กับประชาชน !
......................
สัจจะอะไรที่พรรคไทยรักไทยและนายกฯทักษิณ ชินวัตรรักษาไว้ไม่ได้
1. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับ
2. รัฐคงถือหุ้น 100 % ในรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภค
......................
ย้อนหลังไปดูข่าวเมื่อ 5 ปีก่อน
จะพบว่าคนของพรรคไทยรักไทยที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกรณี กฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับที่ถูกเรียกขานว่า “กฎหมายขายชาติ” มากที่สุดคนหนึ่ง คือ นายประมณฑ์ คุณะเกษม เลขานุการคณะทำงานด้านนโยบายเศรษฐกิจ พรรคไทยรักไทย
โดยเคยบอกว่าจะพิจารณาแก้ไข
แต่แล้วเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้เคยได้ทำในสาระสำคัญ
จนเริ่มถูกกดดันเมื่อปลายปี 2545
นายกฯทักษิณ ชินวัตรก็เริ่มตระบัดสัตย์ว่าไม่เคยรับปาก
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 นายกฯทักษิณ ชินวัตรเมื่อก้าวลงจากเครื่องบินมาก็แทบจะเข้าทำเนียบรัฐบาลเลยในเกือบจะทันที เมื่อเจอะเจอคำถามจากกองทัพผู้สื่อข่าวในลักษณะคำต่อคำและไปจี้จุดบุคลิกภาพเฉพาะเข้า ก็เลยพลาด เมื่อพูดถึงกลุ่มต่อต้านกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับด้วยการแสดงออกถึงความไม่พอใจ
"มาให้เวลาอะไรผม คุณเป็นอะไร เป็นประ ชาชนก็บอกมา มีอะไรไม่ดีผมก็แก้ไข ผมแก้คุณก็ต้องแก้ตาม จะมากำหนดผมว่า เท่านี้วัน เท่านั้นวัน คงไม่ได้ อันไหนที่ต้องแก้ก็จะแก้ อันไหนที่ไม่แก้ก็คือไม่แก้ อะไรไม่ดีก็ต้องแก้อยู่แล้ว ไม่ต้องมาบอกผม ผมแก้อยู่แล้ว ยิ่งบอก ผมก็ฟัง แต่อย่าขู่ ไม่มีความหมาย"
ทั้ง ๆ ที่มาเรียกร้องเหล่านั้นถึงที่สุดแล้วพวกเขาแทบจะสวมเสื้อพรรคไทยรักไทย
บทบาทในช่วงปี 2541 – 2543 ในการต่อสู้กับลัทธิเสรีนิยมใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ สร้างคุณูปการทางอ้อมอย่างใหญ่หลวงแก่พรรคไทยรักไทย ถึงที่สุดแล้วไม่ว่าพรรคไทยรักไทยและนายกฯทักษิณ ชินวัตรจะเคยพูดถึงกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับไว้ว่าอย่างไร ท่าไหน ไม่สำคัญเท่ากับความจริงที่ไม่ควรปฏิเสธอย่างยิ่งก็คือ
พรรคไทยรักไทยโหนกระแสต่อต้านกฎหมาย 11 ฉบับกับ
การหล่นประโยคจากปากนายกฯทักษิณ ชินวัตรที่ว่า...
"ไม่มีใครพูดว่าเป็นกฎหมายขายชาติ ในรัฐบาลนี้ไม่มีใครพูด”
เป็นครั้งแรกที่นายกฯทักษิณ ชินวัตรเริ่มเปลือยตัวเองออกมาอย่างล่อนจ้อน
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2545 นั้นเอง นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ที่เคยตั้งฉายานายกฯทักษิณ ชินวัตรไว้ว่า “อัศวินควายดำ” กล่าวติงและเตือนผู้ที่ท่านลงแรงสนับสนุนโดยไม่เกรงเสียงครหาของผู้ไม่เห็นด้วยในขณะนั้นว่า
“รัฐบาลอย่าพูดโกหกกับประชาชน เมื่อให้สัญญาไว้ก็ต้องรักษาคำพูด ถ้ารักษาคำพูดไม่ได้ต้องลำบากในภายภาคหน้า ผมไม่อยากเห็นการกระทำแบบเลือดไทยตบหน้าคนไทยด้วยกันเอง ถ้าประเทศชาติต้องสูญเสียเอกราชและความเป็นไท ประชาชนคงยอมไม่ได้”
.........................................
หลังจากขบวนคัดค้านกฎหมาย 11 ฉบับ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ชุมนุมคัดค้านในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2545 นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับ” ขึ้นมาโดยมีประธานคือ...
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์
ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี
และมีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอีกอย่างน้อย 2 คนเป็นกรรมการ
นายสุธรรม แสงประทุม
ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร
หนึ่งในตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านร่วมเป็นกรรมการด้วยคือ
นพ.เหวง โตจิราการ
ผลการพิจารณาในส่วนของพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เห็นควรให้ยกเลิก แล้วร่างกฎใหม่ขึ้นบังคับใช้แทน คือ พ.ร.บ.การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ พ.ศ. ...... ขึ้นแทน
โดยมีหลักการสำคัญแบ่งรัฐวิสาหกิจเป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 หรือ “บัญชีหนึ่ง” ที่มีคำนิยามว่า...
“กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ยังเป็นของรัฐแต่ผู้เดียว เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่ออธิปไตย ความมั่นคง และหลักประกันความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชนในรัฐ จึงต้องคงความเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหากจัดรูปแบบเป็นบริษัท รัฐต้องเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100”
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหมายเลข 1 ในบัญชีหนึ่งนี้
โดยมีวงเล็บต่อท้ายว่า....
“(สามารถร่วมทุนกับเอกชนในการผลิตไฟฟ้า แต่ทรัพย์สินที่สำคัญ เช่น เขื่อน สายส่ง ยังคงเป็นของรัฐทั้งหมด)”
เรื่องจำแนกประเภทรัฐวิสาหกิจออกเป็น 3 ประเภทนี้ ได้ข้อสรุปชั้นต้นในการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2546 และมีการประชุมในรายละเอียดนัดต่อ ๆ มาชนิดกำหนดชัดเจนลงไปเลยว่ารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งอยู่ในประเภทไหน
ในการให้สัมภาษณ์สื่อช่วงนั้นก็ไม่ได้มีแต่เพียงนพ.เหวง โตจิราการเท่านั้น
ยังมีนายสุธรรม แสงประทุมให้สัมภาษณ์ตรงกันด้วย
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ได้ลงนามในหนังสือ ที่ ป.ทปษ. 173/2546 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 เสนอนายกรัฐมนตรี เรื่องผ่านตามกระบวนการไปจนถึงนายกรัฐมนตรีในที่สุด และนายกรัฐมนตรีลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 ด้วยข้อความอย่างที่นำมาลงให้ดูนี้

“เห็นชอบในหลักการ”
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคำว่า “เห็นชอบในหลักการ” มีความหมายอย่างไร
เอาจริง
หรือว่าเพียงแต่ซื้อเวลาไปวัน ๆ
เพราะในข้อ 5 ท้ายเรื่องพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจเขียน “เปิดช่อง” ไว้อ้าซ่า
ขอได้โปรดอ่านรายละเอียดในส่วนนี้
“5. สำหรับการแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มบัญชีนั้น แม้รัฐบาลเห็นชอบในหลักการและแนวคิดที่ใช้ในการจัดแบ่งประเภทและกลุ่มรัฐวิสาหกิจตามที่คณะกรรมการฯเสนอ แต่เนื่องจากในรายละเอียดบางส่วน ยังคงมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างคณะกรรมการฯ และบางส่วนเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ทำการศึกษาอย่างรอบคอบและได้ดำเนินการล้ำหน้าไปมากแล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเป็นผู้พิจารณาจัดแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจ โดยคำนึงถึงมติของคณะกรรมการฯ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นหลัก”
.......................................
รัฐวิสาหกิจที่อยู่ใน “บัญชีหนึ่ง” มีดังนี้
บัญชีหนึ่ง
คือ กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ยังเป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่ออธิปไตยความมั่นคงและหลักประกันความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชนในรัฐ จึงต้องคงความเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหากจัดรูปแบบเป็นบริษัท รัฐต้องเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100
ประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจดังต่อไปนี้
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สามารถร่วมทุนกับเอกชนในการผลิตไฟฟ้า แต่ทรัพย์สินที่สำคัญ เช่น เขื่อน สายส่ง ยังเป็นของรัฐทั้งหมด)
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. การไฟฟ้านครหลวง
4. การประปาส่วนภูมิภาค (สามารถร่วมทุนกับเอกชนในการผลิตน้ำประปา ภายหลังที่มีองค์กรกำกับรายสาขาที่ชัดเจน อาจพิจารณาเข้าเป็นบัญชีสอง)
5. การประปานครหลวง (เช่นเดียวกับ การประปาส่วนภูมิภาค)
6. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
7. การรถไฟแห่งประเทศไทย (เป็นไปตาม พ.ร.บ.รถไฟฯ ที่สามารถตั้งบริษัทลูกให้มาบริหารจัดการทรัพย์สิน (Property Management) ต่างหากได้)
8. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (อาจพิจารณาแยกทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นของบริษัทที่รัฐถือหุ้นร้อยละ 100 และแยกการบริหารจัดการท่าเรือมาจัดตั้งเป็นบริษัทที่รัฐถือหุ้น 75 % ขึ้นไปตามบัญชีสอง เพื่อส่งเสริมให้เอกชนมีทางเลือกให้บริการมากขึ้น)
9. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
10. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
11. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
12. โรงงานยาสูบ
13. ธนาคารออมสิน
14. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น)
15. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
16. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
17. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
18. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
19. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
20. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
21. การกีฬาแห่งประเทศไทย
22. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
23. องค์การสวนยาง
24. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
25. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
26. องค์การสวนสัตว์
27. องค์การสวนพฤกษศาสตร์
28. องค์การกำจัดน้ำเสีย (อาจแบ่งส่วนวางแผนกำกับนโยบายให้เป็นของรัฐ และส่วนดำเนินการภาคปฏิบัติการอาจพิจารณาเข้าเป็นกลุ่มบัญชีสาม)
29. องค์การคลังสินค้า
30. การเคหะแห่งชาติ
31. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ
32. องค์การเภสัชกรรม
33. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อาจแบ่งส่วนวางแผนกำกับนโยบายให้เป็นของรัฐและส่วนดำเนินการภาคปฏิบัติพิจารณาเป็นกลุ่มบัญชีสาม)
34. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
......................................
สุดท้ายแล้วเป็นอย่างไร
โกหกทั้งเพ
และต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้ที่ผลิตนโยบายรายวัน กลับมีความคืบหน้าน้อยใน 2 เรื่อง
เรื่องหนึ่งคือ -- ทบทวนกฎหมาย 11 ฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งคือ -- มาตรการคุ้มครองกิจการค้าปลีกของคนไทย
ล้วนไปไม่ถึงไหนด้วยกัน
....................................
เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2548 มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบแผนการระดมทุนของบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) ที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าที่คิดต่อผู้ใช้ไฟฟ้านั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง
- กับอีกส่วนหนึ่งคือค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า ค่า Ft ซึ่งจะเป็นสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนเช่น ต้นทุนเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อค่าไฟฟ้าฐานมารวมกับค่าไฟฟ้า Ft ก็จะออกมาเป็นค่าไฟฟ้าโดยรวมที่คิดต่อผู้ใช้ไฟฟ้านั่นเอง
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ปรับสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ใหม่
จากปัจจุบันค่า Ft จะอยู่ที่ 43.83 สตางค์ต่อหน่วย
โดยดึงค่า Ft มาใส่ไว้ในค่าไฟฟ้าฐานที่จากเดิมอยู่ที่ระดับ 2.25 บาทต่อหน่วย ปรับเป็น 2.72 บาทต่อหน่วย และจะตรึงค่าไฟฟ้าฐานระดับดังกล่าวเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ตุลาคม 2548 ถึงตุลาคม 2551
แปลความได้ว่า...
ค่าไฟฟ้าฐานเพิ่มขึ้นจาก 2.25 บาทต่อหน่วย กลายมาเป็น 2.72 บาทต่อหน่วย โดยจะไม่มีวันปรับลดลงแน่นอนแล้วเป็นเวลา 3 ปี
ซึ่งก็ไม่มีใครจะไปตรวจสอบความชอบธรรมเลยว่า ค่า Ft ที่ 43.83 สตางค์ต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นมารวมกับค่าไฟฟ้าฐานใหม่นั้น มีความถูกต้องและเหมาะสมแล้วหรือไม่
เพราะต้องไม่ลืมว่า ค่า Ft ที่ 43.83 สตางค์ต่อหน่วยนี้ นอกจากจะรวมค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้นไปแล้ว ยังได้รวมปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราเงินเฟ้อ เข้าไปอีกด้วยเป็นที่เรียบร้อย
ส่วนค่า Ft ที่ผู้บริหารกฟผ.แจ้งว่าจะปรับเป็น 0 แล้ว โดยต่อไปนี้จะสะท้อนตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริง และตัดปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อออกไปจากการคำนวณ
ฟังดูเหมือนเป็นบุญคุณอันใหญ่หลวง ?!
ที่ว่าต่อไปนี้ค่าไฟฟ้าจะสะท้อนไปตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเท่านั้น ไม่นำปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อมาคิดคำนวณแล้ว
และที่สำคัญหลังจากนี้ ค่าไฟฟ้าจะมีการพิจารณาค่า Ft ตามต้นทุนเชื้อเพลิง และจะพิจารณาทุก ๆ 4 เดือน โดยเริ่มพิจารณาครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าค่าไฟฟ้าต้องขึ้น
นับจากวันนี้เป็นต้นไป คนไทยจะต้องเผชิญหน้ากับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
และจะมีอีกองค์กรหนึ่งในประเทศไทยที่มี “กำไรอัปลักษณ์” บนความทุกข์ยากและคราบน้ำตาประชาชนขึ้นมาอีกองค์กรหนึ่งนอกเหนือจากปตท. ที่มีชื่อว่าบริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) เป็นอย่างแน่นอน
การที่ กฟผ. จะคิดคำนวณค่า Ft ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริง และจะทบทวนทุกๆ 4 เดือน ก็ต้องอย่าลืมด้วยว่าทุกวันนี้ กฟผ. ก็ทำกำไรมหาศาลอยู่แล้ว ยังจะไปมีเหตุอ้างอะไรที่จะไปทำกำไรมากไปกว่านี้ในรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนไม่มีทางเลือก
เป็นการทำมาหากินบนความทุกข์ยากของประชาชน
นับเป็นโศกนาฏกรรมการปล้นคนยากจนและคนไทยครั้งมโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย !
ที่มาของคณะกรรมการที่จะไปกำหนดค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ Ft ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนแต่ประการใดว่าจะให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้มีส่วนร่วมได้มากน้อยเพียงใด
ยิ่งไปกว่านั้น คณะรัฐมนตรียังได้มีมติให้ กฟผ. ใช้สิทธิความเป็นรัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า 50 % อีกด้วย
อธิบายได้อย่างเดียวว่า การเตรียมตัวทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนว่าการลงทุนในกิจการกฟผ.นั้น จะก่อให้เกิดผลประโยชน์อันมหาศาล
ค่าไฟฟ้าจะขึ้นสูงขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงได้อย่างเสรี
และยังได้สิทธิประโยชน์ในความเป็นรัฐวิสาหกิจอีกด้วย
ไม่มีอะไรที่จะน่าลงทุนและคงจะสร้างได้กำไรขนาดนี้ สำหรับเหล่านักลงทุนเพียงไม่กี่คนทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ
แม้นายกฯทักษิณ ชินวัตรจะได้อุตส่าห์กำชับในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดนี้ว่า...
“การจองหุ้นกฟผ.นั้น คนในพรรคไทยรักไทย และวงศาคณาญาต ขอร้องอย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการซื้อหุ้นกฟผ. ถ้าจะเข้าไปซื้อก็ขอให้เข้าไปซื้อกันในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อในราคาพาร์ดีกว่า เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นข้อครหาและประเด็นการเมือง”
นายกฯทักษิณ ชินวัตรก็คงตระหนักดีเหมือนกรณีหุ้นปตท.คราวที่แล้ว ที่เหล่าญาติโกโหติกาของนักการเมืองในพรรคไทยรักไทยได้หุ้นอุปการคุณกันจำนวนมากอย่างน่าเกลียด
แต่นายกฯทักษิณ ชินวัตรอาจจะยังไม่ทราบถึงรูปแบบต่าง ๆ ที่มีวิวัฒนาการและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นของนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์จากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในกิจการรัฐวิสาหกิจ และแม้ว่าจะได้กำชับเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วก็ตาม ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการแสวงหาประโยชน์ประเภทนี้ได้
ประการแรก -- โดยจริยธรรม ญาติโกโหติกาของรัฐมนตรี หรือแม้แต่รัฐมนตรีเอง ไม่สมควรจะไปถือหุ้นใด ๆ ในกิจการกฟผ.เลย เพราะจะเกิดข้อครหาได้ง่าย
ผู้ถือหุ้นประเภทนี้ แม้ถือหุ้นส่วนน้อย แต่สามารถมีอิทธิพลต่อการกำกับดูแล การกำหนดนโยบาย การลงทุนในกฟผ. ไปจนถึงการกำหนดค่าไฟฟ้า เป็นผู้รู้ไส้ข้อมูลก่อนผู้อื่น และเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนในทุกกรณี
กรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดได้แก่ปตท. ที่ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้ว่าปตท.จะไปซื้อหุ้นทีพีไอในราคาถูก ๆ เพียงแค่หุ้นละ 3.30 บาท ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 13 - 15 บาท ราคาทางบัญชีอยู่ที่ 30 บาท โดยผู้กำหนดนโยบายกับคนที่ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กัน
เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน
และการกระจายเข้าในตลาดหลักทรัพย์ นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถห้ามญาตินักการเมืองเหล่านี้ หรือนักการเมืองเหล่านี้ซื้อหุ้นได้อยู่ดีไม่ว่าจะในราคาพาร์หรือไม่ก็ตาม
การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง
โดยเฉพาะในกิจการไฟฟ้าที่ประชาชนไม่มีทางเลือกในการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าของ กฟผ.
ประการที่สอง -- ปัจจุบันนี้รูปแบบการถือหุ้นของนักการเมืองในกิจการรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดเขาจะใช้ตัวแทนชื่อแทน หรือเรียกกันว่า Nominee ในภูมิภาคนี้ที่นิยมกันมากก็คือตัวแทนในต่างประเทศ...
คือที่สิงคโปร์ และฮ่องกง
ตามแผนการระดมทุนของกฟผ. จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีการเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่นักลงทุนต่างประเทศเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนทั่วไป
จะเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ก็มิอาจทราบได้ ที่แหล่งการเป็นตัวแทนของเหล่านักการเมืองที่สิงคโปร์และฮ่องกงนั้น ได้กลายเป็น 2 ประเทศแรกที่บริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) วางแผนเลือกไปทำการโรดโชว์ขายหุ้นของตนเป็นการเฉพาะ ?
ประการที่สาม -- การที่กฟผ.ได้ประกาศว่า ต่อไปนี้ค่า Ft นั้น จะเป็นไปตามค่าเชื้อเพลิงที่แท้จริงนั้น....
เชื้อเพลิงที่แท้จริงคืออะไร ?
หากพิจารณาการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย แล้วจำแนกตามเชื้อเพลิงพลังงานก็จะเห็นได้ว่า พลังงานไฟฟ้าของประเทศมาจากเชื้อเพลิงพลังงานก๊าซธรรมชาติถึง 70 %
จึงต้องมีคำถามตามมาอีกว่า
ใครขายก๊าซธรรมชาติให้ กฟผ.
เชื้อเพลิงที่แท้จริงเป็นราคาที่เป็นธรรมกันหรือไม่ ?
ณ วันนี้ ปตท.ขายก๊าซธรรมชาติให้กฟผ.ในราคา 155 (ราคาเนื้อก๊าซ) + 20 (ค่าผ่านท่อ) + 2 (กำไร) = 177 บาทต่อล้านบีทียู
ในขณะที่ขายให้กับโรงแยกก๊าซของปตท.เองในราคา 125 (ราคาเนื้อก๊าซ) + 8 (ค่าผ่านท่อ) + 2 (กำไร) = 135 บาทต่อล้านบีทียู
กล่าวคือกฟผ.ซื้อก๊าซธรรมชาติแพงไป 42 บาทต่อล้านบีทียู
หรือประมาณร้อยละ 42
.......................................
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีกับเรื่องนี้หรือไม่
นายสุธรรม แสงประทุม มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีกับเรื่องนี้หรือไม่
ในฐานที่มีส่วนร่วมอยู่ในคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาซื้อเวลาและโกหกหลอกลวงประชาชนเมื่อปี 2545 - 2546
......................................
นายกฯทักษิณ ชินวัตรเองนั้นเล่าขณะที่จรดปากกาลงนามในคำว่า
“เห็นชอบในหลักการ”
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 นั้น
ท่านไม่รู้สึก “ละอาย” และ “เกรงกลัว” บ้างหรือ
........................................
ถึงเวลาแล้ว... ที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้และกำหนดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันให้มีความเป็นธรรม
ถึงเวลาแล้ว... ที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้และกำหนดค่าก๊าซธรรมชาติให้มีความเป็นธรรม
ถึงเวลาแล้ว... ที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้และกำหนดค่าการกลั่นน้ำมันให้มีความเป็นธรรม
และ....
ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดค้านการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) เข้าไปในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แม้จะแพ้
แม้จะทานกำลัง “ลูกแกะหลงทาง” ไม่ได้
แต่ก็ต้องสู้ – สู้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะแพ้
เพื่อที่เมื่อวันหนึ่งข้างหน้า.... หากตายไป จะได้มีคำตอบที่เหมาะที่ควรไว้ตอบแก่ลูกหลานในอนาคตที่จะต้องเป็นผู้รับผลกรรมจากนโยบายไทยลักไทยในวันนี้
อย่าให้ลูกหลานมันสาปแช่งเอาได้ว่าบรรพบุรุษอัปรีย์นั่งหงองอมืองอเท้ายามเมื่อโจรเข้ามาลักของในบ้าน
เพราะปตท.สูญเสียความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดูดซับความเดือดร้อนของประชาชน ไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จะต้องแสวงหากำไร
ไฟฟ้ากำลังจะแพงชนิดไม่มีทางจะแก้ไขในวันหน้าเพราะอะไร ?
เพราะกฟผ.กำลังจะ.สูญเสียความเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ดูดซับความเดือดร้อนของประชาชน ไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จะต้องแสวงหากำไร
ทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานมีอันต้องเปลี่ยนแปลงไปเพราะอะไร ?
เพราะนโยบาย “ไทยลักไทย” ของพรรคไทยรักไทย
อันเป็นนโยบายที่พรรคไทยรักไทยเสียสัจจะที่เคยให้ไว้กับประชาชน !
......................
สัจจะอะไรที่พรรคไทยรักไทยและนายกฯทักษิณ ชินวัตรรักษาไว้ไม่ได้
1. แก้ไขปรับปรุงกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับ
2. รัฐคงถือหุ้น 100 % ในรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภค
......................
ย้อนหลังไปดูข่าวเมื่อ 5 ปีก่อน
จะพบว่าคนของพรรคไทยรักไทยที่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกรณี กฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับที่ถูกเรียกขานว่า “กฎหมายขายชาติ” มากที่สุดคนหนึ่ง คือ นายประมณฑ์ คุณะเกษม เลขานุการคณะทำงานด้านนโยบายเศรษฐกิจ พรรคไทยรักไทย
โดยเคยบอกว่าจะพิจารณาแก้ไข
แต่แล้วเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้เคยได้ทำในสาระสำคัญ
จนเริ่มถูกกดดันเมื่อปลายปี 2545
นายกฯทักษิณ ชินวัตรก็เริ่มตระบัดสัตย์ว่าไม่เคยรับปาก
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 นายกฯทักษิณ ชินวัตรเมื่อก้าวลงจากเครื่องบินมาก็แทบจะเข้าทำเนียบรัฐบาลเลยในเกือบจะทันที เมื่อเจอะเจอคำถามจากกองทัพผู้สื่อข่าวในลักษณะคำต่อคำและไปจี้จุดบุคลิกภาพเฉพาะเข้า ก็เลยพลาด เมื่อพูดถึงกลุ่มต่อต้านกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับด้วยการแสดงออกถึงความไม่พอใจ
"มาให้เวลาอะไรผม คุณเป็นอะไร เป็นประ ชาชนก็บอกมา มีอะไรไม่ดีผมก็แก้ไข ผมแก้คุณก็ต้องแก้ตาม จะมากำหนดผมว่า เท่านี้วัน เท่านั้นวัน คงไม่ได้ อันไหนที่ต้องแก้ก็จะแก้ อันไหนที่ไม่แก้ก็คือไม่แก้ อะไรไม่ดีก็ต้องแก้อยู่แล้ว ไม่ต้องมาบอกผม ผมแก้อยู่แล้ว ยิ่งบอก ผมก็ฟัง แต่อย่าขู่ ไม่มีความหมาย"
ทั้ง ๆ ที่มาเรียกร้องเหล่านั้นถึงที่สุดแล้วพวกเขาแทบจะสวมเสื้อพรรคไทยรักไทย
บทบาทในช่วงปี 2541 – 2543 ในการต่อสู้กับลัทธิเสรีนิยมใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ สร้างคุณูปการทางอ้อมอย่างใหญ่หลวงแก่พรรคไทยรักไทย ถึงที่สุดแล้วไม่ว่าพรรคไทยรักไทยและนายกฯทักษิณ ชินวัตรจะเคยพูดถึงกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับไว้ว่าอย่างไร ท่าไหน ไม่สำคัญเท่ากับความจริงที่ไม่ควรปฏิเสธอย่างยิ่งก็คือ
พรรคไทยรักไทยโหนกระแสต่อต้านกฎหมาย 11 ฉบับกับ
การหล่นประโยคจากปากนายกฯทักษิณ ชินวัตรที่ว่า...
"ไม่มีใครพูดว่าเป็นกฎหมายขายชาติ ในรัฐบาลนี้ไม่มีใครพูด”
เป็นครั้งแรกที่นายกฯทักษิณ ชินวัตรเริ่มเปลือยตัวเองออกมาอย่างล่อนจ้อน
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2545 นั้นเอง นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ที่เคยตั้งฉายานายกฯทักษิณ ชินวัตรไว้ว่า “อัศวินควายดำ” กล่าวติงและเตือนผู้ที่ท่านลงแรงสนับสนุนโดยไม่เกรงเสียงครหาของผู้ไม่เห็นด้วยในขณะนั้นว่า
“รัฐบาลอย่าพูดโกหกกับประชาชน เมื่อให้สัญญาไว้ก็ต้องรักษาคำพูด ถ้ารักษาคำพูดไม่ได้ต้องลำบากในภายภาคหน้า ผมไม่อยากเห็นการกระทำแบบเลือดไทยตบหน้าคนไทยด้วยกันเอง ถ้าประเทศชาติต้องสูญเสียเอกราชและความเป็นไท ประชาชนคงยอมไม่ได้”
.........................................
หลังจากขบวนคัดค้านกฎหมาย 11 ฉบับ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ชุมนุมคัดค้านในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2545 นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเศรษฐกิจ 11 ฉบับ” ขึ้นมาโดยมีประธานคือ...
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์
ประธานที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี
และมีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอีกอย่างน้อย 2 คนเป็นกรรมการ
นายสุธรรม แสงประทุม
ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร
หนึ่งในตัวแทนกลุ่มผู้คัดค้านร่วมเป็นกรรมการด้วยคือ
นพ.เหวง โตจิราการ
ผลการพิจารณาในส่วนของพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เห็นควรให้ยกเลิก แล้วร่างกฎใหม่ขึ้นบังคับใช้แทน คือ พ.ร.บ.การปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ พ.ศ. ...... ขึ้นแทน
โดยมีหลักการสำคัญแบ่งรัฐวิสาหกิจเป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ 1 หรือ “บัญชีหนึ่ง” ที่มีคำนิยามว่า...
“กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ยังเป็นของรัฐแต่ผู้เดียว เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่ออธิปไตย ความมั่นคง และหลักประกันความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชนในรัฐ จึงต้องคงความเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหากจัดรูปแบบเป็นบริษัท รัฐต้องเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100”
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหมายเลข 1 ในบัญชีหนึ่งนี้
โดยมีวงเล็บต่อท้ายว่า....
“(สามารถร่วมทุนกับเอกชนในการผลิตไฟฟ้า แต่ทรัพย์สินที่สำคัญ เช่น เขื่อน สายส่ง ยังคงเป็นของรัฐทั้งหมด)”
เรื่องจำแนกประเภทรัฐวิสาหกิจออกเป็น 3 ประเภทนี้ ได้ข้อสรุปชั้นต้นในการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2546 และมีการประชุมในรายละเอียดนัดต่อ ๆ มาชนิดกำหนดชัดเจนลงไปเลยว่ารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งอยู่ในประเภทไหน
ในการให้สัมภาษณ์สื่อช่วงนั้นก็ไม่ได้มีแต่เพียงนพ.เหวง โตจิราการเท่านั้น
ยังมีนายสุธรรม แสงประทุมให้สัมภาษณ์ตรงกันด้วย
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ได้ลงนามในหนังสือ ที่ ป.ทปษ. 173/2546 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 เสนอนายกรัฐมนตรี เรื่องผ่านตามกระบวนการไปจนถึงนายกรัฐมนตรีในที่สุด และนายกรัฐมนตรีลงนามเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 ด้วยข้อความอย่างที่นำมาลงให้ดูนี้
“เห็นชอบในหลักการ”
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคำว่า “เห็นชอบในหลักการ” มีความหมายอย่างไร
เอาจริง
หรือว่าเพียงแต่ซื้อเวลาไปวัน ๆ
เพราะในข้อ 5 ท้ายเรื่องพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจเขียน “เปิดช่อง” ไว้อ้าซ่า
ขอได้โปรดอ่านรายละเอียดในส่วนนี้
“5. สำหรับการแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มบัญชีนั้น แม้รัฐบาลเห็นชอบในหลักการและแนวคิดที่ใช้ในการจัดแบ่งประเภทและกลุ่มรัฐวิสาหกิจตามที่คณะกรรมการฯเสนอ แต่เนื่องจากในรายละเอียดบางส่วน ยังคงมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างคณะกรรมการฯ และบางส่วนเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ทำการศึกษาอย่างรอบคอบและได้ดำเนินการล้ำหน้าไปมากแล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเป็นผู้พิจารณาจัดแบ่งกลุ่มรัฐวิสาหกิจ โดยคำนึงถึงมติของคณะกรรมการฯ และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นหลัก”
.......................................
รัฐวิสาหกิจที่อยู่ใน “บัญชีหนึ่ง” มีดังนี้
บัญชีหนึ่ง
คือ กลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ยังเป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่ออธิปไตยความมั่นคงและหลักประกันความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชนในรัฐ จึงต้องคงความเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือหากจัดรูปแบบเป็นบริษัท รัฐต้องเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 100
ประกอบด้วยรัฐวิสาหกิจดังต่อไปนี้
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สามารถร่วมทุนกับเอกชนในการผลิตไฟฟ้า แต่ทรัพย์สินที่สำคัญ เช่น เขื่อน สายส่ง ยังเป็นของรัฐทั้งหมด)
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. การไฟฟ้านครหลวง
4. การประปาส่วนภูมิภาค (สามารถร่วมทุนกับเอกชนในการผลิตน้ำประปา ภายหลังที่มีองค์กรกำกับรายสาขาที่ชัดเจน อาจพิจารณาเข้าเป็นบัญชีสอง)
5. การประปานครหลวง (เช่นเดียวกับ การประปาส่วนภูมิภาค)
6. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
7. การรถไฟแห่งประเทศไทย (เป็นไปตาม พ.ร.บ.รถไฟฯ ที่สามารถตั้งบริษัทลูกให้มาบริหารจัดการทรัพย์สิน (Property Management) ต่างหากได้)
8. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (อาจพิจารณาแยกทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นของบริษัทที่รัฐถือหุ้นร้อยละ 100 และแยกการบริหารจัดการท่าเรือมาจัดตั้งเป็นบริษัทที่รัฐถือหุ้น 75 % ขึ้นไปตามบัญชีสอง เพื่อส่งเสริมให้เอกชนมีทางเลือกให้บริการมากขึ้น)
9. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
10. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
11. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
12. โรงงานยาสูบ
13. ธนาคารออมสิน
14. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น)
15. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
16. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
17. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
18. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
19. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
20. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
21. การกีฬาแห่งประเทศไทย
22. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
23. องค์การสวนยาง
24. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
25. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
26. องค์การสวนสัตว์
27. องค์การสวนพฤกษศาสตร์
28. องค์การกำจัดน้ำเสีย (อาจแบ่งส่วนวางแผนกำกับนโยบายให้เป็นของรัฐ และส่วนดำเนินการภาคปฏิบัติการอาจพิจารณาเข้าเป็นกลุ่มบัญชีสาม)
29. องค์การคลังสินค้า
30. การเคหะแห่งชาติ
31. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฯ
32. องค์การเภสัชกรรม
33. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อาจแบ่งส่วนวางแผนกำกับนโยบายให้เป็นของรัฐและส่วนดำเนินการภาคปฏิบัติพิจารณาเป็นกลุ่มบัญชีสาม)
34. บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
......................................
สุดท้ายแล้วเป็นอย่างไร
โกหกทั้งเพ
และต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้ที่ผลิตนโยบายรายวัน กลับมีความคืบหน้าน้อยใน 2 เรื่อง
เรื่องหนึ่งคือ -- ทบทวนกฎหมาย 11 ฉบับ
อีกเรื่องหนึ่งคือ -- มาตรการคุ้มครองกิจการค้าปลีกของคนไทย
ล้วนไปไม่ถึงไหนด้วยกัน
....................................
เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2548 มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบแผนการระดมทุนของบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) ที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าที่คิดต่อผู้ใช้ไฟฟ้านั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลง
- กับอีกส่วนหนึ่งคือค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า ค่า Ft ซึ่งจะเป็นสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าส่วนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุนเช่น ต้นทุนเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อค่าไฟฟ้าฐานมารวมกับค่าไฟฟ้า Ft ก็จะออกมาเป็นค่าไฟฟ้าโดยรวมที่คิดต่อผู้ใช้ไฟฟ้านั่นเอง
คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ปรับสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ใหม่
จากปัจจุบันค่า Ft จะอยู่ที่ 43.83 สตางค์ต่อหน่วย
โดยดึงค่า Ft มาใส่ไว้ในค่าไฟฟ้าฐานที่จากเดิมอยู่ที่ระดับ 2.25 บาทต่อหน่วย ปรับเป็น 2.72 บาทต่อหน่วย และจะตรึงค่าไฟฟ้าฐานระดับดังกล่าวเป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ตุลาคม 2548 ถึงตุลาคม 2551
แปลความได้ว่า...
ค่าไฟฟ้าฐานเพิ่มขึ้นจาก 2.25 บาทต่อหน่วย กลายมาเป็น 2.72 บาทต่อหน่วย โดยจะไม่มีวันปรับลดลงแน่นอนแล้วเป็นเวลา 3 ปี
ซึ่งก็ไม่มีใครจะไปตรวจสอบความชอบธรรมเลยว่า ค่า Ft ที่ 43.83 สตางค์ต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นมารวมกับค่าไฟฟ้าฐานใหม่นั้น มีความถูกต้องและเหมาะสมแล้วหรือไม่
เพราะต้องไม่ลืมว่า ค่า Ft ที่ 43.83 สตางค์ต่อหน่วยนี้ นอกจากจะรวมค่าพลังงานที่เพิ่มขึ้นไปแล้ว ยังได้รวมปัจจัยด้านอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราเงินเฟ้อ เข้าไปอีกด้วยเป็นที่เรียบร้อย
ส่วนค่า Ft ที่ผู้บริหารกฟผ.แจ้งว่าจะปรับเป็น 0 แล้ว โดยต่อไปนี้จะสะท้อนตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริง และตัดปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อออกไปจากการคำนวณ
ฟังดูเหมือนเป็นบุญคุณอันใหญ่หลวง ?!
ที่ว่าต่อไปนี้ค่าไฟฟ้าจะสะท้อนไปตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิงเท่านั้น ไม่นำปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อมาคิดคำนวณแล้ว
และที่สำคัญหลังจากนี้ ค่าไฟฟ้าจะมีการพิจารณาค่า Ft ตามต้นทุนเชื้อเพลิง และจะพิจารณาทุก ๆ 4 เดือน โดยเริ่มพิจารณาครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าค่าไฟฟ้าต้องขึ้น
นับจากวันนี้เป็นต้นไป คนไทยจะต้องเผชิญหน้ากับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
และจะมีอีกองค์กรหนึ่งในประเทศไทยที่มี “กำไรอัปลักษณ์” บนความทุกข์ยากและคราบน้ำตาประชาชนขึ้นมาอีกองค์กรหนึ่งนอกเหนือจากปตท. ที่มีชื่อว่าบริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) เป็นอย่างแน่นอน
การที่ กฟผ. จะคิดคำนวณค่า Ft ตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่แท้จริง และจะทบทวนทุกๆ 4 เดือน ก็ต้องอย่าลืมด้วยว่าทุกวันนี้ กฟผ. ก็ทำกำไรมหาศาลอยู่แล้ว ยังจะไปมีเหตุอ้างอะไรที่จะไปทำกำไรมากไปกว่านี้ในรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ประชาชนไม่มีทางเลือก
เป็นการทำมาหากินบนความทุกข์ยากของประชาชน
นับเป็นโศกนาฏกรรมการปล้นคนยากจนและคนไทยครั้งมโหฬารที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย !
ที่มาของคณะกรรมการที่จะไปกำหนดค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ Ft ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนแต่ประการใดว่าจะให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้มีส่วนร่วมได้มากน้อยเพียงใด
ยิ่งไปกว่านั้น คณะรัฐมนตรียังได้มีมติให้ กฟผ. ใช้สิทธิความเป็นรัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า 50 % อีกด้วย
อธิบายได้อย่างเดียวว่า การเตรียมตัวทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนว่าการลงทุนในกิจการกฟผ.นั้น จะก่อให้เกิดผลประโยชน์อันมหาศาล
ค่าไฟฟ้าจะขึ้นสูงขึ้นตามต้นทุนเชื้อเพลิงได้อย่างเสรี
และยังได้สิทธิประโยชน์ในความเป็นรัฐวิสาหกิจอีกด้วย
ไม่มีอะไรที่จะน่าลงทุนและคงจะสร้างได้กำไรขนาดนี้ สำหรับเหล่านักลงทุนเพียงไม่กี่คนทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ
แม้นายกฯทักษิณ ชินวัตรจะได้อุตส่าห์กำชับในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดนี้ว่า...
“การจองหุ้นกฟผ.นั้น คนในพรรคไทยรักไทย และวงศาคณาญาต ขอร้องอย่าเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการซื้อหุ้นกฟผ. ถ้าจะเข้าไปซื้อก็ขอให้เข้าไปซื้อกันในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อในราคาพาร์ดีกว่า เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นข้อครหาและประเด็นการเมือง”
นายกฯทักษิณ ชินวัตรก็คงตระหนักดีเหมือนกรณีหุ้นปตท.คราวที่แล้ว ที่เหล่าญาติโกโหติกาของนักการเมืองในพรรคไทยรักไทยได้หุ้นอุปการคุณกันจำนวนมากอย่างน่าเกลียด
แต่นายกฯทักษิณ ชินวัตรอาจจะยังไม่ทราบถึงรูปแบบต่าง ๆ ที่มีวิวัฒนาการและความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นของนักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์จากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในกิจการรัฐวิสาหกิจ และแม้ว่าจะได้กำชับเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้วก็ตาม ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการแสวงหาประโยชน์ประเภทนี้ได้
ประการแรก -- โดยจริยธรรม ญาติโกโหติกาของรัฐมนตรี หรือแม้แต่รัฐมนตรีเอง ไม่สมควรจะไปถือหุ้นใด ๆ ในกิจการกฟผ.เลย เพราะจะเกิดข้อครหาได้ง่าย
ผู้ถือหุ้นประเภทนี้ แม้ถือหุ้นส่วนน้อย แต่สามารถมีอิทธิพลต่อการกำกับดูแล การกำหนดนโยบาย การลงทุนในกฟผ. ไปจนถึงการกำหนดค่าไฟฟ้า เป็นผู้รู้ไส้ข้อมูลก่อนผู้อื่น และเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนในทุกกรณี
กรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดได้แก่ปตท. ที่ไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้ว่าปตท.จะไปซื้อหุ้นทีพีไอในราคาถูก ๆ เพียงแค่หุ้นละ 3.30 บาท ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 13 - 15 บาท ราคาทางบัญชีอยู่ที่ 30 บาท โดยผู้กำหนดนโยบายกับคนที่ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กัน
เป็นผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน
และการกระจายเข้าในตลาดหลักทรัพย์ นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถห้ามญาตินักการเมืองเหล่านี้ หรือนักการเมืองเหล่านี้ซื้อหุ้นได้อยู่ดีไม่ว่าจะในราคาพาร์หรือไม่ก็ตาม
การกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องด้วยประการทั้งปวง
โดยเฉพาะในกิจการไฟฟ้าที่ประชาชนไม่มีทางเลือกในการขึ้นราคาค่าไฟฟ้าของ กฟผ.
ประการที่สอง -- ปัจจุบันนี้รูปแบบการถือหุ้นของนักการเมืองในกิจการรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดเขาจะใช้ตัวแทนชื่อแทน หรือเรียกกันว่า Nominee ในภูมิภาคนี้ที่นิยมกันมากก็คือตัวแทนในต่างประเทศ...
คือที่สิงคโปร์ และฮ่องกง
ตามแผนการระดมทุนของกฟผ. จะเห็นได้ชัดเจนว่า มีการเตรียมเสนอขายหุ้นสามัญให้แก่นักลงทุนต่างประเทศเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 30 ของจำนวนหุ้นที่เสนอขายให้แก่นักลงทุนทั่วไป
จะเป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ก็มิอาจทราบได้ ที่แหล่งการเป็นตัวแทนของเหล่านักการเมืองที่สิงคโปร์และฮ่องกงนั้น ได้กลายเป็น 2 ประเทศแรกที่บริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) วางแผนเลือกไปทำการโรดโชว์ขายหุ้นของตนเป็นการเฉพาะ ?
ประการที่สาม -- การที่กฟผ.ได้ประกาศว่า ต่อไปนี้ค่า Ft นั้น จะเป็นไปตามค่าเชื้อเพลิงที่แท้จริงนั้น....
เชื้อเพลิงที่แท้จริงคืออะไร ?
หากพิจารณาการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย แล้วจำแนกตามเชื้อเพลิงพลังงานก็จะเห็นได้ว่า พลังงานไฟฟ้าของประเทศมาจากเชื้อเพลิงพลังงานก๊าซธรรมชาติถึง 70 %
จึงต้องมีคำถามตามมาอีกว่า
ใครขายก๊าซธรรมชาติให้ กฟผ.
เชื้อเพลิงที่แท้จริงเป็นราคาที่เป็นธรรมกันหรือไม่ ?
ณ วันนี้ ปตท.ขายก๊าซธรรมชาติให้กฟผ.ในราคา 155 (ราคาเนื้อก๊าซ) + 20 (ค่าผ่านท่อ) + 2 (กำไร) = 177 บาทต่อล้านบีทียู
ในขณะที่ขายให้กับโรงแยกก๊าซของปตท.เองในราคา 125 (ราคาเนื้อก๊าซ) + 8 (ค่าผ่านท่อ) + 2 (กำไร) = 135 บาทต่อล้านบีทียู
กล่าวคือกฟผ.ซื้อก๊าซธรรมชาติแพงไป 42 บาทต่อล้านบีทียู
หรือประมาณร้อยละ 42
.......................................
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีกับเรื่องนี้หรือไม่
นายสุธรรม แสงประทุม มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีกับเรื่องนี้หรือไม่
ในฐานที่มีส่วนร่วมอยู่ในคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาซื้อเวลาและโกหกหลอกลวงประชาชนเมื่อปี 2545 - 2546
......................................
นายกฯทักษิณ ชินวัตรเองนั้นเล่าขณะที่จรดปากกาลงนามในคำว่า
“เห็นชอบในหลักการ”
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2546 นั้น
ท่านไม่รู้สึก “ละอาย” และ “เกรงกลัว” บ้างหรือ
........................................
ถึงเวลาแล้ว... ที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้และกำหนดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำมันให้มีความเป็นธรรม
ถึงเวลาแล้ว... ที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้และกำหนดค่าก๊าซธรรมชาติให้มีความเป็นธรรม
ถึงเวลาแล้ว... ที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับรู้และกำหนดค่าการกลั่นน้ำมันให้มีความเป็นธรรม
และ....
ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดค้านการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัทกฟผ.จำกัด (มหาชน) เข้าไปในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
แม้จะแพ้
แม้จะทานกำลัง “ลูกแกะหลงทาง” ไม่ได้
แต่ก็ต้องสู้ – สู้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าจะแพ้
เพื่อที่เมื่อวันหนึ่งข้างหน้า.... หากตายไป จะได้มีคำตอบที่เหมาะที่ควรไว้ตอบแก่ลูกหลานในอนาคตที่จะต้องเป็นผู้รับผลกรรมจากนโยบายไทยลักไทยในวันนี้
อย่าให้ลูกหลานมันสาปแช่งเอาได้ว่าบรรพบุรุษอัปรีย์นั่งหงองอมืองอเท้ายามเมื่อโจรเข้ามาลักของในบ้าน