แม่บ้านไทยใหญ่ยอดพุ่ง เหตุแม่บ้านไทยนิยมค้าแรงต่างแดน ฝ่ายเจ้าหน้าที่รณรงค์ฯติงกฎหมายไม่ครอบคลุม หวั่นกลายเป็นทาสในเรือนเบี้ย อดีตแม่บ้านเผยอาชีพนี้ค่าตอบแทนต่ำแต่ความเสี่ยงภัย-ถูกละเมิดสิทธิสูง
นางจันทร์ (นามสมมุติ) เจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ (Shan Woman's Action Network หรือ SWAN) กล่าวว่า ภายหลังจากกระทรวงแรงงานมีนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงานแม่บ้านในประเทศ ส่งผลให้ความรู้ความสามารถสูงของแม่บ้านชาวไทยเพิ่มพูนขึ้น จนเป็นปัจจัยสำคัญให้แรงงานแม่บ้านทะลักออกนอกประเทศ อาทิ ฮ่องกง สิงค์โปร ไต้หวัน เนื่องจากได้รับค่าจ้างสูง มีสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่มากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนรับใช้หรือแม่บ้านชาวไทยขาดแคลน สถานการณ์การจัดหาแรงงานแม่บ้านจึงพุ่งเป้ามายังกลุ่มผู้หญิงชนเผ่าไทยใหญ่แทน โดยไม่เลือกว่าเป็นไทยใหญ่ในประเทศหรือจากประเทศเพื่อนบ้าน
นางจันทร์ เผยถึงสภาพการทำงานว่า งานที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของนายจ้างนั้นๆส่วนใหญ่มักจะมอบหมายงานในครัวเรือนทั้งหมดให้ผู้หญิงชาวไทยใหญ่ดูแล เช่น ล้างจาม-ชาม ซักผ้า-รีดผ้า จนถึงการเลี้ยงดูบุตรหลานของนายจ้าง เป็นต้น ในบางรายก็พบว่านายจ้างได้เหมารวมการทำงานทั้งหมด พร้อมกับการเสิร์ฟอาหารในร้านค้า หรือช่วยขายของด้วย ทั้งนี้จะได้รับค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยเพียงคนละ 1,500-2,000 บาท/เดือนเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากกับงานที่ได้รับ โดย ยิ่งไปกว่านั้นนายจ้างบางคนก็ยังเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ เพราะรู้ว่าลูกจ้างไม่กล้าร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากถือบัตรชาวเขา หรือลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือไม่ก็เกรงว่าเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนจะเข้าข้างฝ่ายนายจ้าง
"แม่บ้านชนเผ่ามีสภาพการทำงานที่แตกต่างต่างจากแรงงานแม่บ้านชาวไทยที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงแรงงานอย่างมาก เพราะการจ้างงานส่วนใหญ่จะใช้การตกลงทางวาจาแทนเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้การเอาผิดกับนายจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งท้ายที่สุดความลำบากต่างๆ ก็ตกอยู่กับตัวแม่บ้านชนเผ่าเอง ดังนั้นหากไม่มีมาตรการคุ้มครองดูแล วงจรแห่งการเอารัดเอาเปรียบนี้ก็จะไม่สิ้นสุด" เจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ กล่าว
นางจันทร์ กล่าวต่อไปว่า แนวโน้มของการใช้แรงงานหญิงชาวไทยใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพียงจ.เชียงใหม่แห่งเดียวก็เชื่อว่ามีแรงงานหญิงชาวไทยใหญ่กว่า 10.000 คนแล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องผนวกรวมปัญหาของแม่บ้านชาวไทยใหญ่ให้เป็นหนึ่งเดียวกับการแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบด้วย เพราะแรงงานกลุ่มนี้ก็ไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และกฎหมายแรงงานที่มีอยู่เช่นกัน ขณะที่แม่บ้านชนเผ่าว่า
นางจันทร์ เสนอแนะว่า รัฐบาลควรดูแล สร้างหลักประกันการคุ้มครองแรงงานผู้รับใช้ในบ้าน และสร้างแนวทางในการเข้าถึงสวัสดิการด้านต่างๆ ให้เหมือนกลุ่มแรงงานในระบบ เช่น มีบัตรประกันสังคมและบัตรสุขภาพ เป็นต้น รัฐควรสร้างมาตรฐานการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยให้นายจ้างปฏิบัติ นอกจากนี้รัฐควรเพิ่มการผลิตสื่อที่ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิ ช่องทางการร้องเรียนต่างๆ โดยใช้รูปภาพ หรือภาษาของชนเผ่าต่างๆ ควบคู่กับเอกสารภาษาไทย
นางเรณู โกฎิวิเชียร นักวิชาการแรงงาน7ว ผู้ช่วยสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเห็นใจและเข้าใจสภาพปัญหาของแรงงานกลุ่มนี้เป็นอย่างดี เพราะมีการร้องเรียนเรื่องการจ้างงานที่ไม่เหมาะสมเข้ามายังสำนักงานเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่แรงงานมีจำนวนน้อย อีกทั้งยังขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะทางการสื่อสารในภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทำให้การตรวจสอบมีอุปสรรคยิ่งขึ้น
"เรื่องที่เป็นอุปสรรคมากที่สุด คือ แรงงานหญิงไทยใหญ่จะเข้ามาร้องเรียนโดยไม่มีเอกสารยืนยันการจ้างงาน หรือสัญญาการจ้างงาน ทำให้กระบวนการตรวจสอบต้องใช้พยานบุคคลเท่านั้น ส่งผลให้ขั้นตอนการพิสูจน์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้นการเรียนร้องส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเอาความผิดกับตัวนายจ้างได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อกระบวนการช่วยเหลือจากสำนักงานฯ สิ้นสุดลง ลูกจ้างต่างด้าวหรือลูกจ้างที่ถือบัตรชาวเขา ก็ยังอาจถูกสอบสวนจากตำรวจว่า เข้าเมืองมาโดยถูกกฎหมาย หรือมีเอกสารอนุญาตเดินทางออกพื้นที่หรือไม่ ซึ่งจุดนี้เองทำให้ลูกจ้างที่มีสถานะดังกล่าวไม่กล้าร้องเรียนโดยตรงกับสำนักงาน"
น.ส.จันทร์เพ็ญ นำพล ชาวไทยใหญ่อพยพจากประเทศพม่า อดีตแม่บ้านโรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.กาญจนบุรี เผยว่า การจ้างแรงงานหญิงชาวไทยใหญ่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในจังหวัดที่อยู่ตามตะเข็บชายแดน เพราะยากแก่การตรวจสอบควบคุม นอกจากนี้นายจ้างก็ไม่ต้องดูแลเรื่องสวัสดิการ หรือให้ค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำเหมือนแรงงานทั่วไป และยังสามารถบังคับข่มขู่ให้ทำตามสิ่งที่นายจ้างต้องการอีกด้วย
"กว่า 4 ปีที่ทนทุกข์เป็นแม่บ้านในโรงแรมแห่งนั้น พิสูจน์ให้เห็นว่าความรุนแรงนั้นไม่มีพรมแดน มีอยู่บ่อยครั้งที่ถูกนายจ้างคุกคามทั้งทางกายและวาจา หรือในบางเดือนก็ไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ตนก็ต้องยอมทน เพราะแม้ว่าจะลำบากแค่ไหนก็ยังดีกว่าถูกส่งตัวกลับไปให้ทหารพม่า ดังนั้นตนจึงอยากร้องขอให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือแรงงานกลุ่มดังกล่าว แม้จะไม่ทัดเทียมกับแรงงานในระบบ ก็ขอให้เพียงพอกับความต้องการพื้นฐานเยี่ยงมนุษย์คนหนึ่งด้วย" น.ส.จันทร์เพ็ญ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ข้อมูลจากเอกสารสรุปสถานการณ์และข้อเสนอของเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ระบุว่า แรงงานแม่บ้านไทยใหญ่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงที่อพยพมาในประเทศไทย จากการกวาดล้าง การทารุณทางเพศ จึงทำให้ต้องอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ เช่น ไปเป็นแรงงานในไร่ส้ม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ บางรายเข้ามาเป็นแรงงานก่อสร้างในเมือง หรือเป็นแรงงานในบ้านคนเมืองที่มีฐานะดีแต่ต้องการแรงงานราคาถูก เป็นต้น.
นางจันทร์ (นามสมมุติ) เจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ (Shan Woman's Action Network หรือ SWAN) กล่าวว่า ภายหลังจากกระทรวงแรงงานมีนโยบายพัฒนาฝีมือแรงงานแม่บ้านในประเทศ ส่งผลให้ความรู้ความสามารถสูงของแม่บ้านชาวไทยเพิ่มพูนขึ้น จนเป็นปัจจัยสำคัญให้แรงงานแม่บ้านทะลักออกนอกประเทศ อาทิ ฮ่องกง สิงค์โปร ไต้หวัน เนื่องจากได้รับค่าจ้างสูง มีสวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่มากกว่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนรับใช้หรือแม่บ้านชาวไทยขาดแคลน สถานการณ์การจัดหาแรงงานแม่บ้านจึงพุ่งเป้ามายังกลุ่มผู้หญิงชนเผ่าไทยใหญ่แทน โดยไม่เลือกว่าเป็นไทยใหญ่ในประเทศหรือจากประเทศเพื่อนบ้าน
นางจันทร์ เผยถึงสภาพการทำงานว่า งานที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของนายจ้างนั้นๆส่วนใหญ่มักจะมอบหมายงานในครัวเรือนทั้งหมดให้ผู้หญิงชาวไทยใหญ่ดูแล เช่น ล้างจาม-ชาม ซักผ้า-รีดผ้า จนถึงการเลี้ยงดูบุตรหลานของนายจ้าง เป็นต้น ในบางรายก็พบว่านายจ้างได้เหมารวมการทำงานทั้งหมด พร้อมกับการเสิร์ฟอาหารในร้านค้า หรือช่วยขายของด้วย ทั้งนี้จะได้รับค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยเพียงคนละ 1,500-2,000 บาท/เดือนเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากกับงานที่ได้รับ โดย ยิ่งไปกว่านั้นนายจ้างบางคนก็ยังเอารัดเอาเปรียบด้วยวิธีการต่างๆ เพราะรู้ว่าลูกจ้างไม่กล้าร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากถือบัตรชาวเขา หรือลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือไม่ก็เกรงว่าเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนจะเข้าข้างฝ่ายนายจ้าง
"แม่บ้านชนเผ่ามีสภาพการทำงานที่แตกต่างต่างจากแรงงานแม่บ้านชาวไทยที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงแรงงานอย่างมาก เพราะการจ้างงานส่วนใหญ่จะใช้การตกลงทางวาจาแทนเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้การเอาผิดกับนายจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งท้ายที่สุดความลำบากต่างๆ ก็ตกอยู่กับตัวแม่บ้านชนเผ่าเอง ดังนั้นหากไม่มีมาตรการคุ้มครองดูแล วงจรแห่งการเอารัดเอาเปรียบนี้ก็จะไม่สิ้นสุด" เจ้าหน้าที่เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ กล่าว
นางจันทร์ กล่าวต่อไปว่า แนวโน้มของการใช้แรงงานหญิงชาวไทยใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพียงจ.เชียงใหม่แห่งเดียวก็เชื่อว่ามีแรงงานหญิงชาวไทยใหญ่กว่า 10.000 คนแล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องผนวกรวมปัญหาของแม่บ้านชาวไทยใหญ่ให้เป็นหนึ่งเดียวกับการแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบด้วย เพราะแรงงานกลุ่มนี้ก็ไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และกฎหมายแรงงานที่มีอยู่เช่นกัน ขณะที่แม่บ้านชนเผ่าว่า
นางจันทร์ เสนอแนะว่า รัฐบาลควรดูแล สร้างหลักประกันการคุ้มครองแรงงานผู้รับใช้ในบ้าน และสร้างแนวทางในการเข้าถึงสวัสดิการด้านต่างๆ ให้เหมือนกลุ่มแรงงานในระบบ เช่น มีบัตรประกันสังคมและบัตรสุขภาพ เป็นต้น รัฐควรสร้างมาตรฐานการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยให้นายจ้างปฏิบัติ นอกจากนี้รัฐควรเพิ่มการผลิตสื่อที่ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิ ช่องทางการร้องเรียนต่างๆ โดยใช้รูปภาพ หรือภาษาของชนเผ่าต่างๆ ควบคู่กับเอกสารภาษาไทย
นางเรณู โกฎิวิเชียร นักวิชาการแรงงาน7ว ผู้ช่วยสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเห็นใจและเข้าใจสภาพปัญหาของแรงงานกลุ่มนี้เป็นอย่างดี เพราะมีการร้องเรียนเรื่องการจ้างงานที่ไม่เหมาะสมเข้ามายังสำนักงานเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่แรงงานมีจำนวนน้อย อีกทั้งยังขาดแคลนเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะทางการสื่อสารในภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทำให้การตรวจสอบมีอุปสรรคยิ่งขึ้น
"เรื่องที่เป็นอุปสรรคมากที่สุด คือ แรงงานหญิงไทยใหญ่จะเข้ามาร้องเรียนโดยไม่มีเอกสารยืนยันการจ้างงาน หรือสัญญาการจ้างงาน ทำให้กระบวนการตรวจสอบต้องใช้พยานบุคคลเท่านั้น ส่งผลให้ขั้นตอนการพิสูจน์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้นการเรียนร้องส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเอาความผิดกับตัวนายจ้างได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อกระบวนการช่วยเหลือจากสำนักงานฯ สิ้นสุดลง ลูกจ้างต่างด้าวหรือลูกจ้างที่ถือบัตรชาวเขา ก็ยังอาจถูกสอบสวนจากตำรวจว่า เข้าเมืองมาโดยถูกกฎหมาย หรือมีเอกสารอนุญาตเดินทางออกพื้นที่หรือไม่ ซึ่งจุดนี้เองทำให้ลูกจ้างที่มีสถานะดังกล่าวไม่กล้าร้องเรียนโดยตรงกับสำนักงาน"
น.ส.จันทร์เพ็ญ นำพล ชาวไทยใหญ่อพยพจากประเทศพม่า อดีตแม่บ้านโรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.กาญจนบุรี เผยว่า การจ้างแรงงานหญิงชาวไทยใหญ่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในจังหวัดที่อยู่ตามตะเข็บชายแดน เพราะยากแก่การตรวจสอบควบคุม นอกจากนี้นายจ้างก็ไม่ต้องดูแลเรื่องสวัสดิการ หรือให้ค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำเหมือนแรงงานทั่วไป และยังสามารถบังคับข่มขู่ให้ทำตามสิ่งที่นายจ้างต้องการอีกด้วย
"กว่า 4 ปีที่ทนทุกข์เป็นแม่บ้านในโรงแรมแห่งนั้น พิสูจน์ให้เห็นว่าความรุนแรงนั้นไม่มีพรมแดน มีอยู่บ่อยครั้งที่ถูกนายจ้างคุกคามทั้งทางกายและวาจา หรือในบางเดือนก็ไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ตนก็ต้องยอมทน เพราะแม้ว่าจะลำบากแค่ไหนก็ยังดีกว่าถูกส่งตัวกลับไปให้ทหารพม่า ดังนั้นตนจึงอยากร้องขอให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือแรงงานกลุ่มดังกล่าว แม้จะไม่ทัดเทียมกับแรงงานในระบบ ก็ขอให้เพียงพอกับความต้องการพื้นฐานเยี่ยงมนุษย์คนหนึ่งด้วย" น.ส.จันทร์เพ็ญ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ข้อมูลจากเอกสารสรุปสถานการณ์และข้อเสนอของเครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ระบุว่า แรงงานแม่บ้านไทยใหญ่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิงที่อพยพมาในประเทศไทย จากการกวาดล้าง การทารุณทางเพศ จึงทำให้ต้องอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ เช่น ไปเป็นแรงงานในไร่ส้ม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ บางรายเข้ามาเป็นแรงงานก่อสร้างในเมือง หรือเป็นแรงงานในบ้านคนเมืองที่มีฐานะดีแต่ต้องการแรงงานราคาถูก เป็นต้น.