xs
xsm
sm
md
lg

ยัน โปรเจค "SML" มีระบบตรวจสอบการใช้เงินอย่างดี!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

“ดร.พรชัย นุชสุวรรณ” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์กับสภาท่าพระอาทิตย์ (14 ก.ค.48) ก่อนที่จะมีการคิกคอฟแคมเปญ SML อย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ คาดจะมีหมู่บ้านที่มีความพร้อมจำนวนเป็นหมื่น โดยมีการรับรองจากส่วนราชการ และต้องตรวจสอบ 5 ระดับ เพื่อไม่ให้มีการใช้แบบไม่เกิดประโยชน์- ชี้ โครงการที่จะทำ ต้องเป็นสาธารณประโยชน์ต่อหมู่บ้าน ไม่ใช่เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

คลิกที่ไอคอน Multimedia ด้านบนเพื่อฟังเสียงการสัมภาษณ์


รายการสภาท่าพระอาทิตย์ ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 ดำเนินรายการโดยสำราญ รอดเพชร และคำนูณ สิทธิสมาน

สำราญ – กลับมาถึงช่วงสุดท้ายนะครับ ของสภาท่าพระอาทิตย์ ในช่วงของคุณคำนูณ และผมสำราญนะครับ ไปดูเรื่องของการคิกออฟบางโครงการ ใช้เงินเป็นหมื่นล้านนะครับ เรื่องของ SML นะครับ คงจำกันได้ โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน

คำนูณ – แจกเงิน

สำราญ – S = Small , M = Medium , L= Large ก็คือเล็ก กลาง ใหญ่

คำนูณ – ตามขนาดของประชากร ก็จะแจกให้ตั้งแต่ 2 แสนขึ้นไป

สำราญ – 2 แสน 2.5 แสน และ 3 แสนหรือเปล่า

คำนูณ – ครับ แล้วก็แจกตรงถึงหมู่บ้าน แล้วก็ให้กรรมการหมู่บ้าน กรรมการชุมชนนี่คิดเอาเองว่าจะเอาไปทำอะไร

สำราญ – คิดงานเองนะครับ ก็มีหมู่บ้านนำร่องมาแล้วบางส่วนนะครับ เราจะไปคุยกับรองประธานคณะกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน ดร.พรชัย นุชสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สวัสดีครับ ดร.พรชัยครับ

ดร.พรชัย – สวัสดีครับ คุณคำนูณ คุณสำราญครับ

คำนูณ – ตกลงพรุ่งนี้ใช่ไหมครับ

ดร.พรชัย – ใช่ครับ พรุ่งนี้ก็ 6 โมงเย็นถึงทุ่มครึ่งครับ ที่ทำเนียบรัฐบาล เป็นการเปิดตัวครับ

คำนูณ – ถ่ายทอดสดหรือเปล่าครับ

ดร.พรชัย – ถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศนะครับ แล้วก็ทางหมู่บ้านชุมชนทุกแห่งก็จะมารับชมรายการที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดสถานที่ไว้นะครับ เพราะฉะนั้นประชาชนทุกแห่งจะได้รับชมรายการนี้ครับ

คำนูณ – พรุ่งนี้เรียกว่าแจกกันครบทั่วประเทศเลยใช่ไหมครับ

ดร.พรชัย – คืออย่างนี้ครับ ต้องกราบเรียนว่าอยู่ที่หลักเกณฑ์นะครับ เราจะมีหลักเกณฑ์อยู่หลายประการด้วยกัน คือเรื่องความพร้อมของชุมชนนะครับ ถ้าชุมชนไหนทำประชาคมพร้อมแล้ว ได้รับการรับรองจากส่วนราชการ ก็คือทางอำเภอแล้วนี่นะครับ ก็ส่งรายงานมา แล้วเราก็โอนเงินไปให้โดยตรง ผ่านธนาคารออมสิน หรือธนาคารเกษตรซึ่งอยู่ในพื้นที่ครับ

คำนูณ – ก็คือเขาไปเปิดบัญชีไว้ที่นั่น

ดร.พรชัย - ใช่ครับ

คำนูณ – แล้วพรุ่งนี้นี่เราแจกได้กี่เปอร์เซ็นต์

ดร.พรชัย – เราเตรียมไว้ตอนนี้ก็คือ 3 หมื่นกว่าหมู่บ้านนะครับที่เตรียมไว้นะครับ ถ้ามีความพร้อมมากกว่านั้น จะเท่าไหร่ก็ยินดีครับ เพราะเรามีวงเงินถึง 2 หมื่นล้านตามที่ท่านนายกฯพูดนะครับ

คำนูณ – แล้วเงินที่จะแจกพรุ่งนี้รวมเป็นเม็ดเงินทั้งหมดเท่าไหร่ครับ

ดร.พรชัย – พรุ่งนี้ก็อยู่ที่ว่าชุมชนหรือหมู่บ้านนี่เขามีความพร้อมแค่ไหนนะครับ แต่เราคาดว่าคงเป็นจำนวนหมื่นหมู่บ้านนะครับ เป็นมากกว่าหมื่นขึ้นไป แต่ทั้งนี้พรุ่งนี้เป็นการกดปุ่ม คือท่านนายกฯทำพิธีเปิดนะครับ แล้วหมู่บ้านต่างๆนี่เขาจะส่งรายงานมาที่เรา ว่าเขามีความพร้อมโดยคำรับรองของทางอำเภอนะครับ มาปุ๊บก็อาจจะไม่ทันได้พรุ่งนี้ อาจจะเป็นวันมะรืนนะครับ มีคำรับรองมา เราก็โอนเงินทันทีเลย โอนเงินไปที่ออมสินโดยตรง ไปยังหมู่บ้านนั้นเลยครับ ทีนี้ตอนนี้ขณะนี้เขาเตรียมความพร้อมกันอยู่แล้วนะครับ แต่ละหมู่บ้านต่างๆก็ทราบกันอยู่แล้วครับ

สำราญ – ก็ประเทศไทยมีทั้งหมด 7 หมื่นกว่าหมู่บ้านหรือครับ หรือเท่าไหร่

ดร.พรชัย – ใช่ครับ ประมาณ 7.5 หมื่นเศษนะครับ ทีนี้เมื่อกี๊ผมฟังดูว่า SML ตอนนี้เราขยายเป็นอย่างนี้แล้วนะครับ คือจริงๆแล้วอย่างที่ท่านพูดเมื่อกี๊นี่นะครับ 201-500 นี่เราก็ว่าเป็น S นะครับ M ก็ 501-1000 แล้วก็ 1001 ขึ้นไปก็เป็น L นะครับ ตอนนี้ประเด็นก็คือมันมีหมู่บ้านอีกจำนวนหนึ่ง 3-5 พันหมู่บ้านนี่นะครับ มันต่ำกว่าจำนวน 200 คณะกรรมการเราก็โดยท่านรองสมคิดเป็นประธานนี่เราก็มาคิดกันว่า ถ้าต่ำกว่า 200 นี่นะครับ คือระดับ 100-200 นี่เราก็ยังให้ 2 แสนต่อหมู่บ้านนะครับ แล้วก็ต่ำกว่า 100 จนถึง 50 คนนี่ก็ให้ 1 แสน อีกอันนึงก็คือว่า เราให้ 5 หมื่นบาทสำหรับหมู่บ้านที่มีประชากรไม่เกิน 50 คน อันนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ชายแดน หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลนะครับ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยก็ประกาศเป็นหมู่บ้านไปแล้ว ก่อนที่เราดำเนินการคือมีหมู่บ้านอยู่แล้ว พวกนี้เราจะลงไปช่วยพวกนั้นด้วย เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นห่วง คือหมู่บ้านระดับเล็กๆนี่ก็จะได้หมด

คำนูณ – พอเขาได้เงินไปแล้วนี่เขาต้องทำอย่างไรบ้างครับ

ดร.พรชัย – ครับ ก็คือประการแรกคือเขาต้องทำประชาคม คำว่าประชาคมนี่ก็คือการประชุมโดยที่เราไม่ให้ส่วนราชการเป็นผู้ไปไกด์เขา คือไปนำเขา ให้เขาได้รวมกัน ได้คิดกันเองขึ้นมา โดยเรียกประชุมประมาณ 70% ของประชาชนในหมู่บ้านนี่นะครับ แต่ตอนนี้เราอาจจะอ่อนไหวเหลือซัก 60 เราอาจจะดูอีกทีนะครับ ทีนี้พอเขามาประชาคมก็คือการมารวมตัวกัน แล้วก็คัดเลือกโครงการตามที่เขาเห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อชุมชนของเขา หรือหมู่บ้านของเขา ก็คัดเลือกมา

คำนูณ – ต้องมีทางราชการไปดูแลการประชุมไหมครับ

ดร.พรชัย – เราเป็นผู้สังเกตการณ์นครับ เราเป็นผู้ให้ความสะดวก เป็นผู้ให้คำแนะนำแต่เราไม่ไปชี้นำ อันนี้ท่านนายกฯสั่งนักสั่งหนาว่า การชี้นำนี่เป็นสิ่งที่เราไม่ทำสำหรับโครงการ SML เราเป็นคนให้ความสะดวก ให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุน

คำนูณ – การเบิกจ่าย การตรวจสอบ การใช้จ่ายอะไรนี่ปล่อยให้เขาจัดการกันเอง

ดร.พรชัย – มิได้ครับ การตรวจสอบนี่ผมเรียนว่า การตรวจสอบนี่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดนะครับ เรามีถึง 5 ระดับด้วยกัน ระดับแรกนี่ประชาชนในหมู่บ้าน ต้องทำรายงานในเรื่องการนำเงินไปใช้ในโครงการต่างๆอย่างไร เขาต้องทำนะ เรามีแบบฟอร์มให้เขารายงานง่ายๆ ระดับที่ 2 ก็คือเรื่องของหน่วยงานที่ได้รับผิดชอบ หรืออำเภอก็แล้วแต่ หรือพวกนี้ พอเวลาไปเบิกนี่ทางนี้ต้องรับรองก่อน ท งนี้เขาก็จะดูอีกทีหนึ่ง อันนั้นเป็นระดับที่ 2 แล้วนะครับ ระดับที่ 3 นี่ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรนี่ เวลาไปเบิกเงินนี่เขาจะมีแบบฟอร์มให้ อันนี้เป็นการกำกับติดตามอีกระดับหนึ่ง
ะดับที่ 4 นี่สถาบันการศึกษา กับอาสา SML ที่เราใช้นักศึกษาอีกประมาณ 2-3 หมื่นคนแล้วอบรมไปแล้วนี่ พวกนี้ก็จะเข้าไปดูในหมู่บ้านต่างๆ แล้วก็นำรายงานผลกลับมาที่ส่วนกลาง ก็คือระดับที่ 5 ซึ่งเรามีคณะกรรมการนี่มาตรวจสอบอีกทีหนึ่ง เป็นกรรมการใหญ่ เราใช้ผ่านระบบไอซีทีฮัท ที่สำนักเลขาธิการนายกฯที่ติดตั้งแล้ว แล้วผ่านเครือข่ายตรงนี้ไป เพราะฉะนั้นกี่กำกับติดตามและประเมินผลนี่มีถึง 5 ระดับด้วยกัน เพราะเราเกรงว่าเรื่องของการเงินนี่ ถ้าไม่มีการกำกับดูแลนี่มันจะไม่สมประโยชน์

คำนูณ – คือเรียกว่าเอาไปอีลุ่ยฉุยแฉกไม่ได้แหละ

ดร.พรชัย – ไม่ได้ครับ เรามีกรอบอยู่นะครับ เรามีกรอบอยู่นะครับ

คำนูณ – มีโครงการอะไรที่เราห้าม หรือไม่แนะนำอย่างนี้บ้างไหมครับ

ดร.พรชัย – มีนะครับ ที่เราวางหลักใหญ่ๆไว้ก็เช่นว่า ต่อยอดกองทุนหมู่บ้าน ท่านคงนึกออก กองทุนหมู่บ้านนี่ต่างกับ SML ตรงที่ว่า กองทุนหมู่บ้านเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ก็คือคนเข้าไปกู้ไปทำกิจการของตัวเอง อะไรเหล่านี้ครับ ส่วน SML นี่เป็นเรื่องสาธารณประโยชน์ ไปทำในสิ่งที่มีความเห็นร่วมกันของชุมชน

คำนูณ – เอาไปรวมกันไม่ได้

ดร.พรชัย – ไม่ได้ครับ จะเอาอันนี้ไปใส่ไปเรื่องของปัจเจกบุคคล ของบุคคลเอาไปใส่ในนั้นไม่ได้ ตรงนี้ห้าม นี่เป็นหลักการใหญ่ๆ

คำนูณ – จะต้องเอาไปสร้างทำไปอะไรซักอย่างหนึ่ง

ดร.พรชัย – ครับ

สำราญ – เอาเป็นว่าใครเอาไปปล่อยกู้อย่างนี้สมมุตินะครับ ไม่ได้เลย หัวขาดเลยนะครับ

ดร.พรชัย – ไม่ได้เลย อันนี้มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล เราต้องทำสำหรับสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ หรือสิ่งที่มีความเห็นร่วมกันว่าจะใช้ในหมู่บ้าน หรือระหว่างหมู่บ้าน ถ้ามีความเห็นก็มาจอยกันได้ มารวมกันได้ ว่าจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์

คำนูณ – เกิดหมู่บ้านนั้นมีความรู้มาก จะเอา 2.5 แสน 3 แสนไปซื้อหุ้นกองทุนอะไรนี่ก็ไม่ได้นะ

ดร.พรชัย – ไม่ได้ครับ คนละวัตถุประสงค์ครับ

คำนูณ – ต้องสร้างเพื่อให้เกิดการจ้างงาน

ดร.พรชัย – วัตถุประสงค์คืออย่างนี้ครับ ให้เขาร่วมคิดร่วมทำกัน ให้เขาคิดกันเองว่าเขาจะแก้ไขปัญหาในหมู่บ้านอะไร อะไรที่มันเป็นสาธารณประโยชน์ แต่ไม่ใช่เป็นในเรื่องของความสุขส่วนตัวของสมาชิกในหมู่บ้าน เราไม่สนับสนุน

สำราญ – ก่อนหน้านี้นี่รัฐบาลก็ได้นำร่องไปแล้วบางจำนวนใช่ไหมครับ

ดร.พรชัย – ใช่ครับ 1024 แห่งครับ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจนะครับ ประมาณ 40% ไปทำเรื่องสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำอะไรก็แล้วแต่ สวัสดิการชุมชนนี่ประมาณ 28% เรื่องการเกษตร 15% นอกนั้นก็เป็นเรื่องอื่นๆนะครับ แล้วเราก็ส่งนักศึกษาอย่างราชมงคลล้านนา หรือมหาลัยนเรศวร วิทยาเขตจะเป็นที่พะเยา หรือพิษณุโลกก็ดีออกติดตามนะครับ อันนี้เราถือว่าได้ผลสำเร็จอย่างสูงนะครับ มากกว่า 90%

สำราญ – อย่าง SML เอาเงินไปสร้างถนนในหมู่บ้านได้ไหม

ดร.พรชัย – อันนี้ถ้าหากเขาเห็นว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นนะครับ เราก็ไม่ได้ขัดข้อง ถ้าเป็นความเห็นร่วมกัน ซึ่งในนั้นไม่มีบ่อบาดาลชำรุด มีน้ำขัง ถ้าไม่ทำ แล้วการคมนาคมในหมู่บ้าน แล้วการจะไปจับจ่ายใช้สอย ซื้อของอะไรต่ออะไร เขามีปัญหา เราก็อนุญาตให้ทำได้ หรือแม้แต่เขาไปสร้างร้านค้าเหมือน 7-11 เรายังให้ทำครับ ในหมู่บ้านชุมชนเขาไปทำเรื่องตลาด ไปซ่อมตลาด ทำตลาดขึ้นมานะครับ ที่หมู่บ้านหัวรินที่เชียงใหม่นี่ก็ทำ อันนี้เราไม่ขัดข้องครับ

สำราญ – ก็เที่ยวนี้การปล่อยเม็ดเงินนี่ปล่อยทีละขยัก หรือปล่อยเป็นก้อนไปเลย

ดร.พรชัย – คืออย่างนี้ครับ อยู่ที่ความพร้อม ถ้าความพร้อมที่เขาส่งมาที่เรา และโดยผ่านที่ทางอำเภอ บอกที่นี่มีความพร้อมก็ปล่อยไปหมดแหละครับ มาพร้อมเท่าไหร่ก็ปล่อยเท่านั้นแหละครับ ไม่มีข้อจำกัด จำนวนไม่เป็นอุปสรรคครับ วงเงินมีอยู่แล้วครับ

สำราญ – เงิน 2 หมื่นกว่าล้านนี่เป็นงบประมาณประจำปี หรืองบกลาง คืองบยังไงตรงไหนครับ

ดร.พรชัย – คือตอนนี้เราใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมอยู่นะครับ เราตั้งไว้ที่ 9 พันเศษ อันนี้สำหรับครึ่งนึง ประมาณ 3 หมื่นกว่าหมู่บ้านนะครับ เราคิดว่าเราจะหาเงินมาเพิ่ม ตรงนี้มีวีการที่จะเอาเงินมาเพิ่ม ในกรณีที่ชุมชนหรือหมู่บ้านเขาพร้อมมากกว่าที่เราคิดไว้จาก 3 หมื่นกว่านี่ เราก็ปล่อยได้หมดนะครับ ก็ไม่มีปัญหาเรื่องเงินนะครับ

สำราญ – คือก็มาจากงบประมาณเพิ่มเติมกลางปีนี่นะ

ดร.พรชัย – ครับ 9 พันเศษนะครับ

สำราญ – แล้วต่อไปล่ะครับ

ดร.พรชัย – ต่อไปของปี 2549 นี่เราตั้งไว้เต็มจำนวนเลยครับ เราตั้งไว้ 19000 นะครับ อยุ่ในงบประมาณประจำปีครับ งบกลางครับ เพราะฉะนั้นไม่มีปัญหาเรื่องเงินครับ ทำได้ต่อเนื่องกันไป

สำราญ – รัฐมนตรีที่รับผิดชอบโดยตรง คือรัฐมนตรีท่านใดครับ

ดร.พรชัย – ท่านรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ท่านเป็นประธานครับ แล้วมีท่านเลขาธิการนายกฯก็เป็นรองประธานเหมือนอย่างผมนี่แหละครับ ท่านเสริมศักดิ์ รัฐมนตรีช่วยมหาดไทยก็เป็นรองประธานด้วยกัน ที่รับผิดชอบจริงๆก็คือท่านประธาน ท่านรับผิดชอบในภาพรวม ผมเดิมก็เป็นผู้เริ่มต้นนะครับ เริ่มต้นมาตั้งแต่เป็นคณะทำงานของท่านนายกฯ อันนั้นก็มา ท่านเสริมศักดิ์ก็อยู่กับเรามาตลอดนะครับ เพราะฉะนั้นพวกนี้เราทำงานกันมา ร่วมมือกันมาตลอด โดยกระทรวงมหาดไทยกับเราทำมาด้วยกันนะครับ

สำราญ – ดร.พรชัยมองในเชิงวิชาการแล้วนี่ 1024 แห่งที่เรานำร่องไปนี่ เข้าท่านะครับ

ดร.พรชัย – ครับ อันนี้ผมรับรองว่าดีมากครับ คือผมแปลกใจ คืออย่างนี้ครับ สถาบันการศึกษานี่ให้ความสำคัญ และให้เน้นเรื่องนี้ อย่างมหาลัยนเรศวรนี่มีตั้งหน่วยงานขึ้นมาเลยนะครับ เกี่ยวกับเรื่อง SML แล้วก็ส่งนักศึกษาออกนะครับ ครูบาอาจารย์ก็มาจัดการอบรมนักศึกษาเยอะแยะมากมาย และมีมหาลัยหลายแห่งที่เข้ามาร่วมมือกับเรา เป็นโครงข่าย เป็นเครือข่ายทั่วประเทศ แม้แต่มหาลัยศิลปากรก็ร่วมมือกับเรานะครับ คือแต่ละมหาวิทยาลัยก็รับผิดชอบเป็นภาคๆไป 28 แห่งครับ ถ้าผมจำไม่ผิด

สำราญ – เอาล่ะครับ ก็ขอบพระคุณนะครับ พรุ่งนี้ก็ติดตามกันนะครับ ขอบพระคุณนะครับ

ดร.พรชัย – ครับ สวัสดีครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น