เชียงใหม่ / คนลุ่มน้ำปิงจี้รัฐทบทวนรื้อฝายพญาคำ แจงหากรื้อแล้วสร้างใหม่เป็นฝายคอนกรีตปัญหากระทบชุมชนแน่ ซ้ำทำลายวัฒนธรรมความสามัคคีของชุมชน เผยเคยยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกแต่ไม่มีการตอบรับ ชี้หากยังดื้อรื้อต่อไปชาวบ้านพร้อมเผชิญหน้า
ตามที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มีแผนปรับปรุงฝายพญาคำซึ่งเป็นฝายเก่าแก่มีลักษณะเป็นฝายหินทิ้งวัสดุที่ใช้มาจากธรรมชาติ ฝายแห่งนี้มีอายุนับร้อยปีซึ่งกั้นลำน้ำปิง บริเวณ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยทางเทศบาลนครเชียงใหม่มีแนวคิดรื้อตัวฝายเดิมออกแล้วสร้างใหม่เป็นฝายคอนกรีต นอกจากนี้จะมีการปรับภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว แนวคิดดังกล่าวสร้างความวิตกแก่ชุมชนที่ใช้น้ำจากฝายพญาคำเป็นอย่างมากเพราะอาจได้รับผลกระทบจากการไม่มีน้ำใช้ จนนำไปสู่การรวมรายชื่อชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยจำนวน 4,000 รายชื่อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ยกเลิกโครงการไปแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่มีการตอบกลับใดๆจากภาครัฐ
นายสมบูรณ์ บุญชู กรรมการเหมืองฝายพญาคำ กล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวชุมชนที่ใช้น้ำจากฝายพญาคำซึ่งมีกว่า 42 ชุมชนใน 8 ตำบล 3 อำเภอ ของ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูนได้แสดงท่าทีคัดค้านโครงการอย่างชัดเจนโดยให้เหตุผลว่าการรื้อฝายเดิมซึ่งเป็นฝายธรรมชาติออกไปแล้วสร้างฝายคอนกรีตแทนนั้นจะสร้างผลกระทบต่อชุมชนท้ายน้ำอย่างมาก เพราะน้ำไม่สามารถเล็ดลอดผ่านไปได้ ซึ่งจะต่างกับฝายเดิมที่เป็นการชะลอการไหลของน้ำ อีกทั้งฝายคอนกรีตยังจะสร้างปัญหาตะกอนดินบริเวณหน้าฝายด้วย ที่สำคัญฝายคอนกรีตยังเป็นตัวทำลายวัฒนธรรมรวมทั้งความสามัคคีของชาวบ้านด้วย
นายสมบูรณ์ อธิบายว่า สำหรับฝายดั้งเดิมซึ่งเป็นฝายธรรมชาตินั้นแม้ไม่มีความทนทานต้องซ่อมแซมทุกปี แต่การดำเนินการซ่อมแซมนั้นก็เป็นการร่วมมือของคนที่ใช้น้ำจากฝายแห่งนี้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมฝายก็มาจากการลงขันของชาวบ้านกันเอง ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวจึงถือเป็นการเชื่อมความสามัคคีของชาวบ้านขณะที่ทุกคนก็จะรู้สึกเป็นเจ้าของฝายร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาปัญหาข้อกังวลดังกล่าวชาวบ้านมีการรวบรวมรายชื่อกว่า 4,000 รายชื่อแสดงเจตจำนงค์ไม่ให้รื้อฝายเดิมรวมทั้งไม่เอาฝายคอนกรีตเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่กรณีดังกล่าวยังไม่มีการตอบรับใดๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแม้แต่น้อย แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อกังวลของชาวบ้านมิได้รับการตอบสนองหรือตอบรับ ดังนั้นหากโครงการดังกล่าวหน่วยงานรัฐยังคงเดินหน้าต่อไปโดยไม่ฟังเสียงชาวบ้านแล้ว ส่วนของชาวบ้านก็พร้อมที่จะเผชิญหน้าเพื่อคัดค้านโครงการอย่างถึงที่สุดต่อไปเพื่อให้มีการทบทวนโครงการดังกล่าวตามที่ชาวบ้านแสดงความวิตกกังวล
ทั้งนี้ ฝายพญาคำถือเป็นฝายภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการน้ำปิงที่สืบต่อกันมานับร้อยปี ฝายแห่งนี้มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 30,000 ไร่ หล่อเลี้ยงชุมชนถึง 42 ชุมชน มีพื้นที่ต้นน้ำได้แก่ ต.หนองหอย ต.หนองผึ้ง ต.ยางเนิ้ง ต.ชมพู ต.ชัยสถาน ส่วนพื้นที่ปลายน้ำได้แก่เขต ต.หนองแฝก ต.อุโมงค์ และ ต.ป่าแดด ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอคือ อ.เมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และ อ.เมือง จ.ลำพูน .
ตามที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มีแผนปรับปรุงฝายพญาคำซึ่งเป็นฝายเก่าแก่มีลักษณะเป็นฝายหินทิ้งวัสดุที่ใช้มาจากธรรมชาติ ฝายแห่งนี้มีอายุนับร้อยปีซึ่งกั้นลำน้ำปิง บริเวณ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยทางเทศบาลนครเชียงใหม่มีแนวคิดรื้อตัวฝายเดิมออกแล้วสร้างใหม่เป็นฝายคอนกรีต นอกจากนี้จะมีการปรับภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว แนวคิดดังกล่าวสร้างความวิตกแก่ชุมชนที่ใช้น้ำจากฝายพญาคำเป็นอย่างมากเพราะอาจได้รับผลกระทบจากการไม่มีน้ำใช้ จนนำไปสู่การรวมรายชื่อชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยจำนวน 4,000 รายชื่อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ยกเลิกโครงการไปแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่มีการตอบกลับใดๆจากภาครัฐ
นายสมบูรณ์ บุญชู กรรมการเหมืองฝายพญาคำ กล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวชุมชนที่ใช้น้ำจากฝายพญาคำซึ่งมีกว่า 42 ชุมชนใน 8 ตำบล 3 อำเภอ ของ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูนได้แสดงท่าทีคัดค้านโครงการอย่างชัดเจนโดยให้เหตุผลว่าการรื้อฝายเดิมซึ่งเป็นฝายธรรมชาติออกไปแล้วสร้างฝายคอนกรีตแทนนั้นจะสร้างผลกระทบต่อชุมชนท้ายน้ำอย่างมาก เพราะน้ำไม่สามารถเล็ดลอดผ่านไปได้ ซึ่งจะต่างกับฝายเดิมที่เป็นการชะลอการไหลของน้ำ อีกทั้งฝายคอนกรีตยังจะสร้างปัญหาตะกอนดินบริเวณหน้าฝายด้วย ที่สำคัญฝายคอนกรีตยังเป็นตัวทำลายวัฒนธรรมรวมทั้งความสามัคคีของชาวบ้านด้วย
นายสมบูรณ์ อธิบายว่า สำหรับฝายดั้งเดิมซึ่งเป็นฝายธรรมชาตินั้นแม้ไม่มีความทนทานต้องซ่อมแซมทุกปี แต่การดำเนินการซ่อมแซมนั้นก็เป็นการร่วมมือของคนที่ใช้น้ำจากฝายแห่งนี้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมฝายก็มาจากการลงขันของชาวบ้านกันเอง ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวจึงถือเป็นการเชื่อมความสามัคคีของชาวบ้านขณะที่ทุกคนก็จะรู้สึกเป็นเจ้าของฝายร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม นายสมบูรณ์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาปัญหาข้อกังวลดังกล่าวชาวบ้านมีการรวบรวมรายชื่อกว่า 4,000 รายชื่อแสดงเจตจำนงค์ไม่ให้รื้อฝายเดิมรวมทั้งไม่เอาฝายคอนกรีตเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่กรณีดังกล่าวยังไม่มีการตอบรับใดๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแม้แต่น้อย แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อกังวลของชาวบ้านมิได้รับการตอบสนองหรือตอบรับ ดังนั้นหากโครงการดังกล่าวหน่วยงานรัฐยังคงเดินหน้าต่อไปโดยไม่ฟังเสียงชาวบ้านแล้ว ส่วนของชาวบ้านก็พร้อมที่จะเผชิญหน้าเพื่อคัดค้านโครงการอย่างถึงที่สุดต่อไปเพื่อให้มีการทบทวนโครงการดังกล่าวตามที่ชาวบ้านแสดงความวิตกกังวล
ทั้งนี้ ฝายพญาคำถือเป็นฝายภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการน้ำปิงที่สืบต่อกันมานับร้อยปี ฝายแห่งนี้มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 30,000 ไร่ หล่อเลี้ยงชุมชนถึง 42 ชุมชน มีพื้นที่ต้นน้ำได้แก่ ต.หนองหอย ต.หนองผึ้ง ต.ยางเนิ้ง ต.ชมพู ต.ชัยสถาน ส่วนพื้นที่ปลายน้ำได้แก่เขต ต.หนองแฝก ต.อุโมงค์ และ ต.ป่าแดด ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอคือ อ.เมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และ อ.เมือง จ.ลำพูน .