xs
xsm
sm
md
lg

11 ปี สู้คดีสาวพิการ “เมตตา ไตรรัตน์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คนในข่าว (7 ก.ค.48) นำเสนอเรื่องราวของ “เมตตา ไตรรัตน์” หลังเธอต้องประสบอุบัติเหตุ และความผิดพลาดจากการรักษาของหมอ ทำให้เธอต้องพิการ สูญเสียบุตรในท้อง และทรัพย์สินในการรักษาจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งนำมาสู่ชีวิตครอบครัวที่แตกสลาย ทำให้เธอต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมต่อศาล และตีแผ่เรื่องราวชีวิตของเธอให้เป็นอุทาหรณ์ต่อสังคม จากการต่อสู้อันยาวนานกว่า 11 ปี ตอนนี้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาให้เธอชนะคดีที่ฟ้องร้อง แต่จะต้องสู้กับหมอและโรงพยาบาลที่อุทธรณ์ต่อในชั้นศาลฎีกาต่อไป

รายการคนในข่าว ออกอากาศทาง News 1 เวลา 21.05-22.00 น. ดำเนินรายการโดย จินดารัตน์ เจริญชัยชนะ

จินดารัตน์ – สวัสดีค่ะ รายการคนในข่าวค่ะ ค่ำคืนวันนี้เราพาคุณผู้ชมมาติดตามชีวิตการต่อสู้ของผู้หญิงคนหนึ่ง กับลูกสาวอีกหนึ่งคน ที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องความถูกต้อง หลังจากที่เธอประสบอุบัติเหตุขณะที่ทำงาน แล้วเข้าไปรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในย่านลาดพร้าว เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ ปี 2537 เกิดขึ้นกับเหตุการณ์คุณรัตนา สัจเทพ เรื่องของบ้านนะค่ะ แต่ผู้หญิงคนนี้ต่อสู้มาจนกระทั่งวันนี้ ก็เป็นข่าวอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าเธอชนะคดีไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ทางโรงพยาบาลต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เธอประมาณล้านบาทเศษๆ แต่วันนี้ทางโรงพยาบาลนั้นฎีกาต่อ เพราะฉะนั้นเงินก้อนนี้เธอก็ยังไม่ได้ แต่ว่าชีวิตความเป็นมา 11 ปีที่ผ่านมา ต้องต่อสู้ด้วยความยากลำบากอย่างไร เกิดอุบัติเหตุกับตัวองแล้ว ชีวิตอยู่อย่างไร ลูกสาวตอนนั้น 9 ขวบ ตอนนี้โตเป็นสาวแล้วค่ะ แล้วยังจะต้องมีกระบวนการยุติธรรมต่อไปในชั้นศาลถึงขั้นฎีกา แต่ว่าวันนี้เธอจะต้องเดินทางไปที่ศาลกันอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะไปที่ศาลกัน เราจะคุยกับครอบครัวของคุณเมตตา ไตรรัตน์ นะค่ะกับลูกสาวน้อง อังศุมาลิน ไตรรัตน์ สวัสดีค่ะ

เมตตา – สวัสดีค่ะ

จินดารัตน์ – วันนี้พี่เมตตาจะต้องไปศาลอีกครั้งหนึ่ง ไปทำอะไรค่ะวันนี้

เมตตา – ไปให้การในศาล

จินดารัตน์ – หลังจากที่อุทธรณ์ไปแล้ว เสร็จสิ้นกระบวนการอุทธรณ์ไปแล้ว เมื่อปลายปีที่แล้ว ใช่ไหมค่ะ ตอนนั้นชนะคดี

เมตตา – ตอนนั้นชนะศาล

จินดารัตน์ – มีคำตัดสินว่าอย่างไรค่ะ

เมตตา – ศาลเขามีคำพิพากษา ตัดสินให้โรงพยาบาลกับแพทย์ที่ทำการรักษาประมาท ตอนนั้นที่ทำให้พี่เป็นอย่างนี้ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย ประมาณล้านกว่าๆ แต่ว่าเขาสู่ต่อในชั้นศาลฎีกา ตกลงเงินตอนนี้พี่เมตตาก็ยังไม่ได้รับ

จินดารัตน์ – จนกว่าคดีจะสิ้นสุด แล้วโดนอีกคดีหนึ่ง

เมตตา – ค่ะ ในเมื่อมันจะต้องขึ้นศาลฎีกา มันก็ต้องมีเรื่องภาระค่าใช้จ่าย ค่ารถ ค่าเดินทางไปศาล แล้วอาการเจ็บป่วยเราก็หนักขึ้น ต้องใช้ออกซิเจน มีการใช้เงิน ต้องซื้ออกซิเจนเติม เหมือนซื้ออากาศหายใจอย่างนี้ แล้วมันทำให้ค่าใช้จ่ายเราสูงมากขึ้น ก็เลยติดต่อขอที่จะลงเรื่องราวของตัวเองเป็นการถ่ายทอดให้คนที่อ่านหนังสือได้ทราบการรักษาว่า ถ้าผิดพลาดแล้ว ชีวิตเราจะล่มสลายไปเลย

จินดารัตน์ – ชีวิตเปลี่ยนเลย

เมตตา – เปลี่ยนเลย จากหน้ามือเป็นหลังมือแบบนี้ แล้วก็ครอบครัวก็แตก ไปอยู่กันคนละทิศละทางไปหมด

จินดารัตน์ – จากเดิมที่เคยเป็นคนแข็งแรง เป็นแม่บ้านทำงาน ขยันขันแข็ง พอวันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุขึ้น ต้องมาอยู่แบบนี้ สภาพแบบนี้ ลูกสาวตอนนั้น 9 ขวบ นั้นเดี๋ยวก่อนที่จะย้อนเหตุการณ์ไปตรงนั้น ว่าต้องเจออะไรบ้าง ชีวิต 11 ปีที่ผ่านมา เดี๋ยวจะขออนุญาตพักกันก่อน ค่ะช่วงหน้ากลับมาดูรายละเอียดเรื่องราวของครอบครัวนี้กัน

จินดารัตน์ – กลับมาช่วงนี้เราจะมาเจาะลึกชีวิตของคุณเมตตา ไตรรัตน์ กับลูกสาว น้องอังศุมาลิน ไตรรัตน์ นะค่ะ ว่าเมื่อ 11 ปีที่ผ่านมา เมื่อปี 37 เกิดอะไรขึ้น ทำให้ชีวิตได้เปลี่ยนไปขนาดนี้ ตอนนั้นทำอะไรอยู่ค่ะ ทำงาน

เมตตา – วันนั้น คือ หน้าที่ที่ต้องทำคือเป็นแม่บ้านรับเหมาบริษัท บริษัทเขารับเหมาทำความสะอาดตามห้าง

จินดารัตน์ – พนักงานทำความสะอาดทั่วไป

เมตตา – แต่ว่า บริษัทนี้อาจจะทำกลางคืน

จินดารัตน์ – ตอนที่ห้างปิดแล้ว

เมตตา – ห้างปิดแล้ว ก็จะสะดวกในการทำความสะอาดพื้น แต่ว่าตรงนั้นไม่มีใครมาดูแลในเรื่องความปลอดภัย เขาใช้ให้แบกขึ้นแบกลง แบกเครื่องขัดพื้นใหญ่ๆ

จินดารัตน์ – เครื่องที่ เป็นกลมๆถูไปถูมา

เมตตา – ค่ะ แบกขึ้น แบกลง มันมีหลายตัว 50 กิโลก็มี 30กิโลก็มี

จินดารัตน์ – แบกขึ้นบันไดเหรอค่ะ

เมตตา – ขึ้นบันไดหนีไฟ ของใครของมันค่ะ ก็จริงๆก็ทำมาอยู่แล้ว 2 ปี แล้ว แต่ว่าไม่ทราบว่าวันนั้นเราผิดท่าด้วย หรือร่างกายเราเริ่มทรุดถอยลง อะไรอย่างนี้ล่ะค่ะ เอาเครื่องไปเก็บแล้วมันไปติดซอกบันไดหนีไฟนะค่ะ แล้วก็ก้มลงไปยก พอเราเงยขึ้นมามันต้องใช้แรง กระดูกลังมันก็ดังก๊อกเลย แล้วมันก็ชาลงขาทั้งสองข้าง แล้วขาก็สั่นเยอะปวดหลัง แล้วเข้าโรงพยาบาลในบัตรประกันสังคม

จินดารัตน์ – มีใครมาช่วยคะตอนนั้น

เมตตา – ก็มีเพื่อนๆที่ทำงานอยู่ เพื่อนๆก็ช่วยกันพามาส่งที่จะขึ้นรถกลับบ้านนะค่ะ

จินดารัตน์ – ตอนนั้นขาเดินไม่ได้แล้วเหรอค่ะ

เมตตา – ตอนั้นยังเดินได้แต่ว่า มันจะชาแล้วสั่น แล้วคราวนี้เพื่อนก็พามาส่ง ตรงป้ายรถเมล์ให้กลับนะค่ะ แล้วกลับมาบ้านก็โทรไปติดต่อว่าจะไปรักษาโรงพยาบาลนี้ได้ตรงไหน ก็เลยไปพอรู้ว่าอยู่ลาดพร้าว

จินดารัตน์ – ตามบัตรประกันสังคมนี้เหรอค่ะ

เมตตา – แต่ว่าตรงนั้น ใช้สิทธิของกองทุนเงินทดแทนผู้ประสบเหตุจาการทำงาน นะค่ะ แล้วทีนี้ตรงนี้มันมีค่ารักษาอยู่ 30,000 บาท ทีนี้ถ้าเกินกว่านี้ นายจ้างต้องเป็นคนออก ทีนี้พอเข้าไปรักษา ตอนนั้นหมอโรคกระดูกที่ดูแลอยู่ เขาก็จะฉีดรังสีไมโรแกมอะไรแบบนี้ ก็ไม่ทราบว่าอะไร ตอนนั้นพี่เมตตาก็มีน้องอังอยู่แล้วคนหนึ่ง ตอน7 หรือ 8 ขวบจำไม่ได้แล้ว แล้วก็กำลังปล่อยให้ท้องลูกที่สองอีกคนหนึ่ง 3 เดือน
จินดารัตน์ – ท้อง 3 เดือนแล้ว

เมตตา – ใช่ค่ะ ก็เลยถามหมอว่า ไอ้ที่เขาจะทำเข้าไป ฉีดเรามันจะมีอันตรายต่อลูกในทิ้งเราหรือเปล่า ทีนี้หมอเขาบอกว่าไม่เป็นอันตราย เขาฉีดใส่หลัง ไม่ได้ฉีดใส่ตรงท้อง

จินดารัตน์ – ฉีดใส่สันหลังนี้เหรอค่ะ

เมตตา – ฉีดใส่สันหลัง

จินดารัตน์ – ตอนไปหาคุณหมอ บอกคุณหมอไหมค่ะว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา

เมตตา –ตอนแรกๆบอกหมดเลยนะค่ะ บอกหมดเลยมันก็เลยกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก

จินดารัตน์ – มันยุ่งยากทำไมค่ะ

เมตตา – พอบอกหมอปุ๊บ หมอเขาก็บอกว่ามันเป็นจาการทำงาน ก็วงเงินมันจะมีค่ารักษาแค่ 30,000 ถ้าเกินนายจ้างต้องออก ยังไม่ใช่แค่นั้น ต้องกลับมาเอาใบส่งตัวจากนายจ้างอีก เขาเรียกใบ กท. 16 ง เหมือนรับรองว่า ฉันจะออกส่วนที่เกินให้ลูกจ้างคนนี้นะ แล้วนายจ้างเขาไม่ยอมให้ นายจ้างเขาไม่ยอมให้แต่เราปวดหนักลงเรื่อยๆ

จินดารัตน์ – ผ่านไปกี่วันค่ะ ใช้ระยะเวลา

เมตตา – 3 วันค่ะ

จินดารัตน์ – 3 วันแล้ว ยังไม่ได้ทำอะไรกับหลังตัวเอง

เมตตา – ค่ะ ยังไม่ได้ทำ

จินดารัตน์ – แล้วยังเดินได้ปกติไหมค่ะ

เมตตา – พี่ไป เมื่อวันที่ 11 กุมภา ปี 37 แต่งว่าเขาให้กลับมาเอาใบส่งตัว

จินดารัตน์ – โดยที่หมอไม่ทำอะไรให้เลย

เมตตา – ค่ะ ได้แต่ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ แก้ปวดมากิน

จินดารัตน์ – แล้วตอนนั้น ปวดมากไหมค่ะตอนนั้น

เมตตา – ปวดมากค่ะ กินยาก็ไม่หาย ยังไหวอยู่ค่ะ ยังเดินได้

จินดารัตน์ – แต่ปวดที่หลัง

เมตตา – แต่ปวดตรงเอว 2 หลัง แล้วขามันเหมือนมดกัดเยอะทั้ง 2ข้าง

จินดารัตน์ – เหมือนขาชา

เมตตา – แล้วก็เดินก็จะสั่น เดินไม่นานก็ต้องนั่งหยุดก่อนอย่างนี้ค่ะ เดี๋ยวพอมาหานายจ้าง นายจ้างก็ไม่ให้ใบ

จินดารัตน์ – เขาไม่ให้ใบส่งตัวและใบรับรับรองว่าจะจ่ายเงินให้ ส่วนเกิน

เมตตา – ใช่ค่ะ เราก็ทนไม่ไหว ร่างกายเราก็เริ่มเจ็บหนักขึ้น ก็เลยไปโรงพยาบาลนั้นอีก กลับไปบอกเขาว่าติดต่อแล้ว แต่นายจ้างไม่ยอมให้ เนี่ย ตรงนี้มันคือยุ่งแล้ว เพราะว่าทางหมอก็ไม่กล้าจะรักษา จนกว่าจะมีใครรับผิดชอบ เพราะเขารู้ว่าภาวะอาการอย่างนี้ต้องใช้เงินเยอะ

จินดารัตน์ – มากว่า 30,000 แน่

เมตตา – ใช่ค่ะ เขาก็ประสานกัน เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งเขาโทรไปกองทุนเงินทดแทน กระทรวงแรงงาน ประสานกับทางเจ้าหน้าที่โดยตรง ทางโน้นก็ถือว่าได้รับทราบแจ้งอุบัติเหตุจากการทำงาน ก็เลยอนุมัติให้รักษาไปเลย แล้วเดี๋ยวเก็บเงินจากกองทุนเงินทดแทนเอง

จินดารัตน์ – กี่วันค่ะทั้งหมด ตั้งแต่วันที่ 11 ที่หมอให้กลับไปเอาใบรับรองเนี่ยนะค่ะ

เมตตา – มาอีกทีก็มาเป็นวันที่ 15 อย่างนี้ค่ะ เดี๋ยวหมอเขาจะแจ้งว่าจะฉีดรังสี
จินดารัตน์ – เขาบอกไหมค่ะ ว่าทำไมต้องฉีดรังสีนี้

เมตตา – ไม่บอกอะไรเลยค่ะ ไม่รู้ว่าเขาเอามาทำอะไรด้วยซ้ำ นึกว่าไปรักษาด้วยซ้ำ ตอนแรก แต่พอทำไปแล้วถึงได้รู้ว่ามันไม่ใช่รักษา เป็น X-RAY แต่เราสบายใจเพราะเราทำหมอแล้ว

จินดารัตน์ – ว่าจะมีผลกับลูกไหม เราก็บอกเขาว่า

เมตตา – บอกเขาแล้ว แต่ทีนี้เราก็ไม่ได้เรียนหนังสือ เราก็เชื่อหมอคนที่บอกเรา ที่ดูแลเราไงค่ะ หมอบอกว่าฉีดใส่หลังไมได้ฉีดใส่ท้องไม่มีอันตรายใดๆ ก็เชื่อ ก็เลยเซ็นยินยอม พอฉีดแล้วเขาก็ให้นอนราบ 24 ชั่วโมง แล้วหลังจากนั้นเราลุกขึ้นไม่ได้เลย คือมันจะปวดขึ้นบนหัว ผมร่วง อะไรแบบนี้ มีอากรข้างเคียงหลายอัน แล้วก็เริ่มมีหน้าท้องเป็นจ้ำๆดวงๆแถวๆหน้าทอง แล้วก็มีเลือดออกช่องคลอดมา ก็ถามหมด เปิดให้หมอเขาดู แล้วถามหมอว่านี่เป็นอาการไอ้ที่ฉีดเข้าไปหรือเปล่า คือพี่มีลูกคนเดียว พี่ไม่รู้ว่าไอ้เลือดออกมันจะแท้ง อะไรแบบนี้ ถามหมอ หมอก็เลยส่งไปตรวจฉี่ แต่ก่อนที่จะฉีด ส่งไปตรวจ คราวนี้พอมีอาการก็ส่งตรวจฉี่ พอส่งตรวจฉี่เสร็จ ทางห้องแล็ปเขาก็แจ้งว่าท้อง 10 สัปดาห์ แต่เขาก็บอกว่าต้องไปหาหมอสู ก็คือในโรงบาลนั้นแหละ พอหมอสูให้ไปนอนตรวจภายใน แล้วเขาก็บอกว่าให้ไปเอาลูกออก เพราะว่าเด็กคนนี้ถูกรังสีเกินขนาดไป จะไว้จะพิการ แล้วเขาก็บอกสถานที่ให้ไปด้วย และพี่ก็โกรธและโมโหด้วย เป็นชุมชนอะไรวางแผนครอบครัว

จินดารัตน์- ว่าให้ไปเอาเด็กออก

เมตตา – จะให้ไปทำแบบนี้แหละ ทีนี้พี่โกรธ ก่อนทำถามหมอแล้ว แล้วหมอบอกว่าไม่เป็นอันตราย และพอตอนนี้อันตรายกับลูกเราแล้ว ยังจะไล่เราไปที่อื่นอีก ก็เลยโกรธเขา ว่าเขา คุณหมอคนนี้ หมอสูคนนี้เขาดี ใจเย็น เขาก็เลยไปคุยกับหมอคนแรกโรคกระดูก แต่ไม่ทราบคุยอย่างไรกัน เสร็จแล้ว คุณหมอสูก็จะมาบอกว่าจะรับตัวไว้ขูดหมดลูกคืนนี้เลย แล้วก็เอาน้ำเกลือมาใส่แล้วฉีดยาสลบ ทำขูดมดลูกกันเลยค่ะ

จินดารัตน์ – ตกลงเราก็ไม่ต้องไปอีกที่หนึ่ง

เมตตา – ไม่ต้องไปค่ะ

จินดารัตน์ – ก็คือทำที่นั่นเลย

เมตตา – หลังจากโวยวาย ก็ทำที่นั่นเลย

จินดารัตน์ – ขูดมดลูกเสร็จเรียบร้อย

เมตตา – ตอนเช้าหมอก็มาเยี่ยมหมอสู ก็มาเยี่ยมสอบถามอาการ แล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนะค่ะ การเงินมาเอาใบเสร็จหลายๆใบทั้งหมดที่รักษา มาให้เราเซ็นชื่อเราลงไป แล้วเขาก็แจ้งว่ามันหมดงบ 30,000 บาทแล้วนะ ก็มีค่าเตียง ค่านอน ค่าอาหาร ค่าฉีด ค่าอะไรทุกอย่างเลย รวมแล้ว30,000 เขาก็บอกว่าหมดงบแล้ว ให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้านก่อน แต่ถ้ามีอะไรก็ให้กลับมาใหม่

จินดารัตน์ – แล้วอาการปวดตอนนั้นเป็นอย่างไรค่ะ

เมตตา – ก็ตกปวดหมดเลย เหมือนเพิ่มอาการมา เพราะเราลุกนั่งไม่ได้เลย

จินดารัตน์ – อยู่กี่วันค่ะ ที่โรงพยาบาลค่ะ

เมตตา – ก็คืนเดียว

จินดารัตน์ – คืนเดียวเหรอค่ะ

เมตตา – คืนเดียวที่ขูดมดลูกนั้นแหละค่ะ แต่ว่าช่วงแรกที่ฉีดรังสีนะค่ะ คือฉีดรังสีแล้วก็กลับ ค้างคืนแล้วก็กลับบ้าน แล้วก็ถึงวันที่เราเจอท้องเราเป็นอย่างนี้

จินดารัตน์ – หลังจากนั้นกี่วันค่ะ

เมตตา – อาทิตย์หนึ่งค่ะ

จินดารัตน์ – กลับไปหมอก็ให้ขูดมดลูกเลย ค้างอีกคืนหนึ่ง

เมตตา – ค้างอีกคืนหนึ่ง

จินดารัตน์ – สรุปแล้วงบอีก 30,000 บาทมันหมดแล้วให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน แล้วอาการที่ขามันชา ปวดอะไรอย่างนี้ มันก็ยังปวดอยู่
เมตตา – ก็ยังปวดอยู่ ยังชาอยู่ แต่ว่ามันเหมือนมีเพิ่มโรคมา มันมีเลือดออกช่องคลอดไม่หยุดเลย ขูดแล้วก็ยังออกอยู่ แล้วออกมากๆเราก็จะหน้ามืด แบบหน้ามืดแล้วร้อน ลุกนั่งอย่างนี้ไม่ได้เลย จะปวดเหมือนตะคิวขึ้นหัว

จินดารัตน์ – แล้วอย่างไรค่ะ กลับไปหาหมอใหม่

เมตตา – กลับไปหาหมอใหม่ แต่ว่าเจ้าหน้าที่เขาไม่ให้เข้าไปพบหมอ เขาบอกว่าหมดงบ 30,000 บาทแล้วก็นายจ้างก็ไม่ยินยอมจ่ายเงินส่วนที่เกินด้วย ให้ไปหาเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงาน

จินดารัตน์ – เอาไหนว่า กระทรวงแรงงาน จะยอมจ่ายส่วนที่เกินให้

เมตตา – จ่ายแค่ในวง 30,000 รับรองในเบื้องต้น

จินดารัตน์ – แค่นั้นเอง

เมตตา – เจ้าหน้าที่ก็ให้ไปหาเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน พี่เมตตาก็ไปตามคำบอกเหมือนถูกไล่ไปมาอย่างนี้ ก็เหมาแท็กซี่นอนไปนอนมา มีเงินเก่าเท่าไหร่ก็เอาออกมาใช้

จินดารัตน์ – เดินเรื่องไปที่กระทรวงแรงงานเขาว่าอย่างไรค่ะ

เมตตา – ก็เล่าให้เขาฟัง ว่าเป็นอย่างนี้เหมือนเพิ่มโรคให้เรา แต่ว่าเขาบอกว่า หมดงบรักษาแล้ว แล้วนายจ้างก็จะไล่ออกด้วย เขาไม่ยอมจ่ายส่วนที่จะเกิน หมอก็เลยไม่รับรักษาต่อ เขาก็เลยบอกว่าให้ไปกระทรวงแรงงาน เรียกนายจ้างมาคุยกัน จะเลิกจ้างจะจ่ายค่าเลิกจ้างให้ 3 เดือน เหมือนไล่ออก

จินดารัตน์ – ได้เดือนเท่าไหร่ค่ะตอนนั้น

เมตตา – 3,250 บาท

จินดารัตน์ – ก็ประมาณเกือบหมื่นกว่า

เมตตา – หมื่นนิดๆ แล้วระหว่างรอเงิน คือเขายังไม่จ่ายเราเลย ระหว่างรอเงินเราก็แย่ลง เลือดก็ไหลไม่หยุด เราก็กลุ้มใจ ก็เลยปรึกษาเจ้าหน้าที่ว่าทำอย่างไรต่อในการักษาดี เขาบอกว่าให้ไปหาคุณหมอเดิม ไปขอให้เขาเขียนสรุปการารักษาว่ารักษาอะไร แล้วเป็นอย่างไรถึงกลายมาแท้งลูก เพิ่มโรค อะไรอย่างนี้ แล้วถ้าคุณเมตตาเดินไม่ได้ จะได้รับเงินทดแทน ก็เลยกลับไปอีกไปหาคุณหมอท่านนี้ แล้วเขาก็นั่งเขียนบนโต๊ะ แล้วเขาก็บอกพี่เมตตาว่าหมอรักษาต่อไม่ได้แล้วนะ จะให้คุณเมตตาไปรักษาโรคจิตที่โรงพยาบาล สวนดอก

จินดารัตน์ – แล้วเกี่ยวอะไรกับโรคจิตค่ะ

เมตตา – ในตอนนั้น พี่เมตตาไม่รู้ว่า โรคจิตมันคือโรคอะไร เอ๊ะ ไอ้อาการที่เราเป็น มันชื่อนี้ มั้ง เพราะพี่เมตตาไม่ได้เรียนหนังสือสัก ป.เลย ก็ โง่ นะไม่รู้เรื่องอะไร เขาบอกอย่างไรก็ ค่ะ อย่างเดียว เขาบอกว่าโรงบาลสวนดอก ก็จำเอาไว้ พี่อยู่อุตรดิตถ์ก็เคยได้ยินโรงบาลนี้ ก็ไม่ได้เอะใจอะไร ว่าจะถูกหลอกแบบไหน เขาก็เขียนในนั้นแล้วก็ปิดซองจดหมายให้พี่เมตตาไปให้เจ้าหน้าที่กรมแรงงาน ตอนนั้นก็เหมาแท็กซี่กลับไปกรมแรงงานอีก เอาจดหมายให้เจ้าหน้าที่คนนั้นเลย เสร็จแล้วเขาก็หายไปพักใหญ่ เขาเอาจดหมายไปให้คณะกรรมการแพทย์ดู แล้วเขาก็กลับมาบอกว่าสิ่งที่พี่เมตตาจะได้ทดแทนหรือจะได้รักษาต่อหมดแล้ว เพราะว่า 30,000 บาทใช้จ่ายหมดแล้ว แล้วก็จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อ คุณหมอแนะนำให้รักษาโรคจิต เป็นโรคที่รักษาด้วยเงินตัวเอง กฎหมายประกันสังคมไม่ได้คุ้มครองตรงนี้ พี่ก็ไม่ได้คิดอะไร เขาบอกว่าไม่ได้ก็ไม่ได้ ก็เลยถึงกำหนดรับเงินนายจ้าง 3เดือน ก็เอาเงินนั้นเหมาแท็กซี่นอนไปเชียงใหม่สวนดอก ไม่รู้ว่าวันนี้มันจะเป็นฟ้องร้องกัน เราก็ไปถามหมอเอาเอกสารไปด้วย แล้วหมอเขาก็เรียกไปซักประวัติ พักใหญ่ ในช่วงนั้นพ่อเด็กก็ยังอยู่ด้วยกันอยู่ ก็ดูแลลูกพี่ก็ไปคนเดียว

จินดารัตน์ – ตอนนั้นเลือดก็ยังออกอยู่หรือเปล่าค่ะ

เมตตา – ออกอยู่ แต่ว่าเริ่มใช้ไม้ค้ำเดิน แล้วทีนี้พอไปถึงก็ถามหมอ แล้วหมอเขาก็เอาไปนั่งซักประวัติ ซักประวัติไปมาแล้วเขาก็บอก คุณถูกหลอกแล้วจริงๆแล้วคุณไม่ได้เป็นโรคจิต แล้วก็สอนแนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลจุฬา ให้ขอสงเคราะห์ ขออนาถา แล้วก็ให้พี่ไปร้องเรียนที่แพทย์สภา

จินดารัตน์ – แพทย์สภา

เมตตา – เรื่องการกระทำครั้งนี้ ของหมอท่านนี้กับโรงพยาบาลที่ปฏิเสธ การรักษานี้ แล้วก็ให้ไปร้องเรียกสิทธิของเราคืนด้วย ว่าเรามีสิทธิอยู่ กลับมาตอนนั้นด้วยความแค้น และโมโห คือเงินหมด เหมาแท๊กซี่กลับไปกลับมาเงินก็หมด เสียใจด้วยว่ามาหลอกเรา แล้วคราวนี้ก็มารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาก่อน แต่ปรากฏว่าเขาขอผลฟิล์ม X-Ray ฉีดสี ไปเอาโรงพยาบาลนั้นไม่ให้

จินดารัตน์ – ไปขอมาแล้วแต่เขาไม่ให้

เมตตา – เขามีหนังสือเขียนให้พี่ไปขอ แล้วโรงพยาบาลเดิมไม่ยอมให้ เขาบอกเป็นความลับ

จินดารัตน์ – ทางการแพทย์ให้ไม่ได้

เมตตา – ก็เทียวไปมาอยู่อย่างนี้ วันหนึ่งก็เหมาแต่รถไปอย่างนี้

จินดารัตน์ – แล้วอากรตอนั้นเป็นอย่างไรค่ะ

เมตตา – ก็เหมือนเดิม ก็เลือดออก และก็ใช้ไม้ค้ำเดิน เหนื่อยก็พัก เวียนหัวหน้ามืดก็นั่งพัก แล้วก็ไปต่อ

จินดารัตน์ – แล้วโรงพยาบาลจุฬารักษาอย่างไรค่ะ หรือยังไม่เริ่มรักษา

เมตตา – ยัง

จินดารัตน์ –เขาบอกต้องรอเวชระเบียนจากโรงพยาบาลเดิมก่อน สุดท้ายไปขอกี่เที่ยว

เมตตา – ขอเที่ยวเดียวแล้วเขาไม่ยอมให้ แล้วกลับไปบอกหมอ แล้วหมอก็พูดกันว่า สงสัย เคสนี้จะมีปัญหา อย่างนั้น แล้วเขาก็ให้ไปพบเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ซักกันไปมาเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า ไม่ให้สงเคราะห์อนาถา

จินดารัตน์ – ทำไมค่ะ

เมตตา – ให้จ่ายค่ายาครึ่งเดียวก่อน วันนั้นค่ายา 200 กว่าบาท ยาคลายกล้ามเนื้อ แก้ปวด จ่ายไปร้อยกว่า คือจ่ายครึ่งหนึ่ง เขาให้เหตุผลว่าสิทธิพี่เมตตายังอยู่ที่ประกันสังคมยังมีอยู่ เดี่ยวให้ไปเรียกร้องสิทธิตรงนั้นคืนมา

จินดารัตน์ – เขาก็สอนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

เมตตา – เขาบอกให้ ไปเรียกร้องสิทธิแต่ไม่ได้แนะนำว่าตรงไหนอย่างไร แต่พี่เคยไปแล้วกระทรวงแรงงานอยู่ไหน คราวนี้มันเหมือนเริ่มหมดแรงแล้ว ก็เลยไปแพทย์สภาไปเขียนคำร้อง ว่าหมอเขาได้กระทำแบบนี้กับเรา ทำให้เราสิ้นเปลืองเงินทอง เสร็จจากนั้นแพทย์สภาเขาก็มาบอกว่าหมออาจจะผิดจริง แต่ว่าเรียกร้องเอาเงินไม่ได้ ให้ไปสภาทนายความ

จินดารัตน์ – ให้ฟ้องร้องดำเนินคดี แล้วไปไหมค่ะ

เมตตา – ไปค่ะ ออกจากแพทย์สภามาก็มาสภาทนายความ

จินดารัตน์ – ใครพาไป ใครดูแลธุระจัดการให้

เมตตา – คนเดียวค่ะ

จินดารัตน์ – สามีก็ดูแลลูก

เมตตา – ใช่ค่ะ ก็ไปอย่างนี้ นั่งแท็กซี่ไปนอนไป ก็เหนื่อยมาก เลือดออกไม่หยุด ไปแพทย์สภาลืมดูเงิน จนเหลือ 20 บาทสุดท้าย ไม่รู้จะทำอย่างไร จะกลับบ้านไม่พอแท๊กซี่ สภาทนายความเขาให้เบอร์มูลนิธิเพื่อนหญิงมา ก็เลยตัดสินใจโทรไปหา เขาก็บอกให้นั่งแท็กซี่ไปหาเขา เขาจะจ่ายเงินให้

จินดารัตน์ – ตกลงไปหามูลนิธิเพื่อนหญิง ไปปรึกษาเขาให้คำปรึกษา

เมตตา – เขาให้คำปรึกษาช่วยเหลือ

จินดารัตน์ – ตอนนั้นฟ้องร้องหรือยังค่ะ

เมตตา – ยังค่ะ เอาเรื่องสุขภาพก่อน เขาก็พาไปตรวจได้รับการขูดมดลูก แล้วก็เจอว่ามีก้อนเลือดตกค้างที่ยังขูดไม่หมด เน่าอยู่ในมดลูก มูลนิธิช่วยเหลือในค่าตรงนี้ ค่าใช้จ่ายในการขูดมดลูก พอฟักฟื้น 2 คืน อาการดีขึ้น ก็ให้พี่เมตตาไปเล่าเป็นกรณีศึกษาให้กับวิทยุจุฬา

จินดารัตน์ – สุดท้ายแล้วเริ่มต้นคดี เริ่มต้นอย่างไรค่ะ ต้องร้องโดยสภาทนายความถูกไหมค่ะ เขาจัดทนายให้

เมตตา – เขาจัดทนายให้

จินดารัตน์ – ศาลชั้นต้น

เมตตา – ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าแพทย์ไม่มีความผิด

จินดารัตน์ – ไม่มีการดำเนินคดี

เมตตา – ใช่ค่ะ ยกฟ้องไป

จินดารัตน์ – แล้วมีแรงฮึดอะไรถึงอุทธรณ์ต่อ

เมตตา – ก็คือในระหว่างศาลชั้นต้นมันใช้เวลาถึง 7 ปี

จินดารัตน์ – 7 ปีเหรอค่ะ

เมตตา – ปี 37 มาตัดสินปี 44

จินดารัตน์ – ช่วงระหว่าง 7 ปี พี่เมตตาเดินได้ไหม

เมตตา – พอมูลนิธิเริ่มมาช่วยขูดมดลูก พอขูดมดลูกออกไปแล้ว ไปออกรายการวิทยุ คือร่างกายเราเริ่มถอยจนเดินไม่ได้เลย พอเดินไมได้เลย ก็ยิ่งฮึดใหญ่เลย คือจากเราเดินได้กลายเป็นเดินไม่ได้ เข็นรถเข็นก็ไม่เป็น มีความกดดัน แล้วก็ไม่อยากให้ใครเป็นอย่างเราไง เลยถ้าพูดตรงไหนเตือนคนได้จะไป ขอให้มีค่ารถพาไป

จินดารัตน์ – เรียกง่ายๆว่าเป็นวิทยากรของมูลนิธิไปเลย

เมตตา – ก็ช่วยไป บางทีไม่ใช่ของมูลนิธิก็อาสาไป

จินดารัตน์ – แล้วทำอย่างไรค่ะ งานการก็ไม่มีทำ สามียังอยู่ด้วยไหมค่ะ ตอนนั้น

เมตตา – ตอนนั้นเขายังอยู่ แต่พี่คือป่วย เริ่มไม่ได้อยู่แบบผัวเมียกับเขา ก็ส่วนทางด้านคดีก็ดำเนินการไป

จินดารัตน์ – หลังจากป่วยนานแค่ไหน สามีถึงทิ้งไป

เมตตา – จากปี 37 พอปลายๆปี เขาก็ทิ้งไป เริ่มเจ็บเดือนกุมภา เริ่มเดินไมได้เดือนกรกฎา แล้วเขามาเริ่มทิ้งไป เดือนกันยา

จินดารัตน์ – แล้วทำอย่างไรค่ะ กับลูกสาว

เมตตา – ตอนนั้นวุ่นหมดเลย ลูกก็ยังเล็ก แล้วพี่เมตตาก็ยังไม่เก่งเหมือนวันนี้ ยังนอน ใช้เสื้อเฝือกใส่หลังอยู่

จินดารัตน์ – ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

เมตตา – คือถ่ายอะไรมีปัญหาหมด คลานก็ล้ม อะไรแบบนี้

จินดารัตน์ – แล้วอยู่กัน 2 แม่ลูก

เมตตา – ใช่ค่ะ พอเขาทิ้งไป ก็อยู่กับลูก 2 คน

จินดารัตน์ – เงินเลี้ยงลูก เลี้ยงดูตัวเอง

เมตตา – ตอนนั้นก็ปรึกษาทางมูลนิธิ มูลนิธิก็แนะนำให้ลงสื่อ ขอบริจาคความช่วยเหลือ เป็นทุนการศึกษาลูกสาว แต่พี่เมตตาไม่ได้เอามาเป็นทุนลูกสาว เอามาเป็นทุนขายของ

จินาดารัตน์ – ทำอะไรเริ่มต้น

เมตตา – ซื้อล็อตเตอรี่มาขาย มันก็เป็นอาชีพดีเลย

จินดารัตน์ – ได้ใช่ไหมค่ะ มีรายได้ดูแลลูก ให้ลูกเรียนหนังสือได้

เมตตา – ใช่ค่ะ ตอนนั้นแฟนก็ทิ้งเราไปอยู่กับแฟนใหม่ แล้วหย่ากับเราแล้ว แล้วตรงนั้นก็หาเลี้ยงลูกมาตลอด สู้คดีไปด้วย

จินดารัตน์ – แล้วเงินรายได้จากล็อตเตอรี่ดูแลลูกได้ ส่งลูกเรียนได้ เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แล้วสามีอย่างไรล่ะ เห็นบอกว่ากลับมาอีก

เมตตา – จริงๆตอนนั้นมีความสุขแล้ว จากปี 37 มาจนถึงปี 42 คือเราคุ้นเคยกับชีวิตที่เดินไมได้แล้วด้วย

จินดารัตน์ – 4-5 ปีที่ผ่านมา คุ้นชินแล้ว ดูลูกได้สบาย อยู่กัน 2 แม่ลูก

เมตตา – อย่าๆเขาก็กลับมา บอกว่าจะกลับตัวเป็นคนดีใหม่แล้ว ก็๖ดสินใจยอมให้อภัย ทีนี้พออยู่ไม่เกิน 2 2-3 เดือน เขาก็ขโมยเงินทุนล็อตเตอรี่ เราไปหมดเลย

จินดารัตน์ – หนีไปเลย

เมตตา – แล้วตอนนั้นเงินก็เยอะด้วย เริ่มกู้มาจากกรมประชาสงเคราะห์ด้วย

จินดารัตน์ – กู้มาเพื่อที่จะทำ

เมตตา – ซื้อล็อตเตอรี่เพิ่มขึ้นขายได้กำไรมากขึ้น พอคือลูกโตขึ้น ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้น ก็เลยขวนขวายหากู้ตรงนี้

จินดารัตน์ – พอสามีกลับมาก็ขโมยเงินอีก หมดตัวเที่ยวนั้นแล้วทำอะไรต่อค่ะ

เมตตา – พอหมดตัวตรงนั้นก็เป็นหนี้

จินดารัตน์ – เป็นหนี้อะไรบ้างค่ะ ตอนนั้น

เมตตา – เป็นหนี้ธนาคารออมสิน 30,000 เราก็ใช้ไปบ้างแล้วเหลือ 27,000 แล้วก็มีกรมประชาสงเคราะห์อีก 7,500 ตอนนั้น

จินดารัตน์ – ตอนนี้ก็ยังมีหนี้อยู่

เมตตา – ออมสินมีดอกเบี้ยปรับเพิ่มพิเศษ อีก 900 กว่า ดอกเบี้ยจากเงิน 20,000 นั้น

จินดารัตน์ – ตั้งแต่ปี 41-42

เมตตา – ใช่ค่ะ

จินดารัตน์ – ทุกวันนี้ก็ ยังทยอยจ่ายค่าดอกเบี้ยเขา

เมตตา – จนทุกวันนี้ไม่มีจะจ่ายเลย เพราะป่วยหนักขึ้น แล้วล็อตเตอรี่ เราไม่ได้ขายเหมือนตอนนั้น ถูกแฟน พ่อเด็กขโมยเงินไปหมดแล้ว เหมือนตัดแขนตัดขาเราไปอีก

จินดารัตน์ – คุณผู้ชมเดี๋ยวขอ อนุญาตพักกันตรงนี้ก่อน มาเริ่มต้นครั้งใหม่ อาการป่วยหนักขึ้น จนทุกวันนี้แทบจะทำงานไม่ไหวอยู่แล้ว แล้วเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเธอ ในช่วงปลายๆท้ายๆที่ผ่านมา สักครูเดียวค่ะ

จินดารัตน์ – กลับมาช่วงสุดท้ายของรายการ เรามาคุยกันต่อกับพี่เมตตากับการต่อสู้มา พอครั้งที่ 2 เริ่มต้น ชีวิตใหม่จาการขายล็อตเตอรี่ แล้วโดนสามีทุบตี เอาเงินไป มาเริ่มต้นทำการบูรขาย ลูกสาวตอนนั้นอายุกี่ขวบค่ะ อังกี่ขวบค่ะ

อังศุมาลิน – ประมาณ 12-13

จินดารัตน์ – 13 ก็ยังเรียนหนังสืออยู่ แล้วอังเรียนชั้นไหน

อังศุมาลิน – กำลังเข้า ม.1

จินดารัตน์ – ลำบากไหมค่ะ

อังศุมาลิน – ก็ลำบาก ก็พยายามหาโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนรัฐบาล แล้วก็แบบรัฐบาลไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรมาก แล้วก็ยังขอทุนเรียน

จินดารัตน์ – ขอทุนเรียนจากโรงเรียน แบ่งเบาภาระแม่ได้ ตลอดมาดูแลแม่อย่างไร ตั้งแต่เริ่มจำความได้เลย ตัวเองรู้สึกอย่างไร บ้างเห็นแม่อยู่ในสภาพแบบนี้

อังศุมาลิน – ก็พยายามแบบว่าเลิกเรียน แล้วจะไม่ไปไหน เลิกเรียนแล้วกลับบ้าน ช่วยทำงานบ้าน ตอนขายของก็เลิกเรียนแล้วกลับบ้านเลย มาขายของ ทุกวันนี้ทำการบูร เลิกเรียนแล้วกลับมาทำการบูรขาย

จินดารัตน์ – รายได้เป็นอย่างไรค่ะ สองแม่ลูกทำส่งทันไหมค่ะ

อังศุมาลิน – ก็ พยายามทำไว้ทุกวัน เวลาคนสั่งมาไม่ต้องทำทีเดียว ก็จะทำไว้ แต่บางครั้งก็ไม่ทัน บอกลูกค้าว่าแม่เข้าโรงพยาบาล พอช้านิดหนึ่ง ลูกค้าก็เข้าใจ

จินดารัตน์ – ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาต้องเข้าออกโรงพยาบาลบ่อยๆมากแค่ไหนค่ะ พี่เมตตา

เมตตา – เมื่อก่อนนี้ จะเดือนละ 3-4 ครั้ง แต่ปัจจุบันไม่แน่นอน บางอาทิตย์ 2 ครั้งก็มี

จินดารัตน์ – บางอาทิตย์ 2 ครั้ง เหรอค่ะ อาการมันเป็นอย่างไรค่ะ

เมตตา – มันมีที่จากเดินไม่ได้แล้วนะค่ะ ตอนหลังมันจะมีเรื่องเราต้องสวนระบบขับถ่าย ก็จะเป็นริดสีดวง ก็เกิดปัญหาริดสีดวงมีเลือดออก บ่อยๆตลอด บางทีมีปัญหาข้างเคียงจากเดินไม่ได้ ก็คือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก็จะต้องกินยาตลอด บางทียาบางตัวแพ้โดยทีเราไม่รู้ตัว ได้ยามากินแล้วแพ้ ก็ต้องกลับไปหาหมอแบบฉุกเฉินใหม่

จินดารัตน์ – ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ณ วันนี้เท่าไหร่ค่ะ

เมตตา – ณ วันนี้มันหนักกว่าเมื่อก่อนเยอะ เพราะว่าปัจจุบันนี้มันรวมทั้ง ค่าไปศาลด้วย ไปหาหมอมากขึ้น เดือนหนึ่ง 15,000 แทบจะไม่พอ

จินดารัตน์ – คือที่ทำมาหากิน ด้วยการทำการบูรขายขายแบบนี้ และอาชีพด้วยที่ทำถูกไหมค่ะ แล้วรายได้เป็นอย่างไรค่ะ

เมตตา – คือรายได้หลักๆเลย ได้จากประกันสังคม เขาจะจ่ายค่าทุพลภาพตลอดชีวิต

จินดารัตน์ – เดือนเท่าไหร่ค่ะ

เมตตา – เดือนละ 2,400

จินดารัตน์ – เดือนละ 2,400

เมตตา – แต่ว่าจะต้องจ่ายค่าประกันสังคมตนเอง เพื่อรักษาตัวเองเพื่อไม่ให้เสียเงิน ก็จะเหลือ 1,900 กว่าๆ

จินดารัตน์ – ไม่ถึง 2,000

เมตตา – แล้วก็มาทำการบูรขาย ก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพ ถ้าสุขภาพดีก็ทำได้ตลอด แล้วก็เอาไปขายที่โรงพยาบาลที่เรารักษาตัว หรือเราไปศาล เราก็เอาไปขายด้วย ก็จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าราป่วยเมื่อไหร่ ไม่มีแรงจะทำ

จินดารัตน์ – รายได้ตกเดือนหนึ่งเท่าไหร่ค่ะ

เมตตา – แน่ๆเลย ประมาณ 8,000 บาท

จินดารัตน์ – แล้วค่าใช้จ่ายตั้ง10,000 กว่าบาท

เมตตา – คือเป็นหนี้ไปก่อนทุกเดือน ล่วงหน้าไปก่อน

จินดารัตน์ – ไปกู้นอกระบบเหรอค่ะ

เมตตา – เมื่อก่อนเป็นเรื่องกู้นอกระบบ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่รู้จักคนที่ปล่อยนอกระบบแล้ว แล้วตัวเองไม่มีปัญญา คือสุขภาพไม่ดี ไม่กล้าแล้ว เพราะต้องเก็บดอกทุกวัน ตอนนี้เลยหายืมกับเพื่อนบ้าง ญาติบ้าง บางทีบางท่านที่ไม่ใช่ญาติเลย เขาก็บริจาคช่วยเหลือมา ก็จะมีหลายท่านด้วยกัน แต่ท่านทั้งหลายที่ใจบุญที่บริจาคช่วยค่ายาในแต่ละเดือน เดือนละ 1,000 บาท ก็มีคุณ เกียรติพงศ์ อย่างนี้นะค่ะ ก็จะบริจาคทุกเดือน แล้วจะมีมูลนิธิทิปโก้ ที่เข้ามาช่วยรักษาค่ารักษา

จินดารัตน์ – ก็พอจุนเจือไปได้

เมตตา – ก็พอจุนเจือไปได้

จินดารัตน์ – แต่ว่าน้องอัง ก็ต้องเรียนหนังสือด้วย ถูกไหมค่ะ น้องอังปีนี้อายุเท่าไหร่แล้วค่ะ

อังศุมาลิน – 20 ปี ค่ะ

จินดารัตน์ – เรียนไปถึงชั้นไหนแล้วค่ะ

อังศุมาลิน – จบ ปวส. ปี 2 แล้วค่ะ กำลังจะต่อ มสธ. เรียนทางไปรษณีย์ให้จบปริญญาตรีค่ะ

จินดารัตน์ – หนูอยากจะไปทำงานข้างนอกด้วยที่ตั้งใจจะเรียนทางไปรษณีย์

อังศุมาลิน – ห่วงแม่เหมือนกัน ถ้าไปทำงานข้างนอก ก็ไม่มีใครดูแล กะว่าอาจจะเรียนไว้เผื่อวันข้างหน้า ไม่มีอะไรแน่นอน แต่ทุกวันนี้ก็ทำการบูรขาย เพราะว่าส่งปั๊มใบจากอยู่แล้ว ค่อนข้างจะแน่นอนอยู่แล้ว

จินดารัตน์ – รายได้แน่นอน ถ้าพูดกันง่ายๆ แต่ละเดือนคงได้ไม่น้อยกว่านี้ แล้วดูแลแม่ตอนนี้ เห็นแม่บอกว่าตอนนี้อาการหนักขึ้นอย่างนี้ก็ต้องคอยนั่งนวดมือกันตลอดเวลา

อังศุมาลิน – ก็คือจะชา นั่งๆอยู่ก็กระตุกอะไรอย่างนี้

จินดารัตน์ – อันนี้คืออาการที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วค่อยๆมาเป็นทีละอย่างสองอย่าง ที่ว่าหนักๆ

เมตตา – คือมันเริ่มจากกระดูกต้นคอมันเสื่อม แล้วมันก็ทับเส้นประสาทอย่างนี้นะค่ะ แขนมันก็เริ่มเป็นเหมือนขาตอนใหม่ๆ แล้วทีนี้เราเหลืออยู่ครึ่งบนใช่ไหมค่ะ ทำอาชีพใช้มือทั้งสองข้าง แล้วพอมันมาเป็นอย่างนี้ ก็กระตุกตลอด ทำได้ยากลง ก็เลยต้องรบกวนลูกมากขึ้น ลูกต้องเป็นตัวหลักต้องช่วยแม่เลย

จินดารัตน์ – มือไม้ก็สั่นตลอดเวลา

เมตตา – ค่ะ

จินดารัตน์ – ขนาดดื่มน้ำก็ต้องดื่มจากขวดใช่ไหมค่ะ คือถือแก้วไม่ค่อยได้

เมตตา – ใช่ค่ะ มันสั่น

จินดารัตน์ – คือต้องใช้ท่ออกซิเจนช่วยหายใจตลอดเลยเหรอค่ะ

เมตตา – เท่าที่ทราบ มันเกิดจากระเพาะอาหารเป็นแผล จากผลพวงที่เราต้องกินยามาตลอด 10 กว่าปี แล้วมันไปกัดกระเพาะเป็นแผล แล้วมันรู้สึกมันอืดมันพองข้างในแล้วทับปอด หายใจไม่ปกติอย่างคนทั่วไป แล้วหลังๆบางทีปวดมากๆ คุณหมอก็ต้องใช้ยาที่แรงมากๆฉีด ยาแรงที่สุดถึงจะหาย

จินดารัตน์ – ก็ต้องแพ้ขึ้นไปอีก

เมตตา – แล้ว ทีนี้มันไปมีผลเรื่องการหายใจด้วย บีบหัวใจอย่างนี้ ก็ต้องเอานี้ช่วย

จินดารัตน์ - วันนี้เรื่องของคดี หลังจากเราชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ ถูกไหมค่ะ เมื่อปลายปีที่แล้ว วันนี้ทางโรงพยาบาลกับคุณหมอเขาฎีกา เงินล้านกว่าบาทที่ร้องขอไปก็ยังไม่ได้ 11 ปีที่ผ่านมา ในชีวิตพี่เมตตาเคยมีวันไหนที่รู้สึกเป็นสุขที่สุดมีไมค่ะ

เมตตา – มีนะค่ะ เป็นสุข คือพี่เมตตาพยายามทำตัวไมให้เป็นทุกข์มาก พอทุกข์แล้วมันจะท้อ พอถ้าท้อแล้วจะไม่มีใครเป็นตัวอย่างให้ลูกสู้นะค่ะ คือเรามีกันสองคน ถ้าแม่ไม่สู้ ลูกเขาก็ไม่มีตัวอย่างที่จะสู้กับสังคมต่อไป ก็พยายามทุกวิถีทาง ก็พยายามไหว้พระสวดมนต์ให้สุขภาพจิตใจเราดี ไม่โกรธไม่อะไร ไม่อะไรให้มันบั่นทอนจิตใจเรา อะไรมันเกิด คิดว่าเป็นเรื่องของเวรของกรรมไปก่อน แล้วก็พยายามทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานไปเรื่อยๆ

จินดารัตน์ – สองแม่ลูกนั่งคุยกันบ่อยไหมค่ะ

เมตตา – ก็ส่วนใหญ่ พี่จะให้กำลังใจตัวเองให้อยู่กับลูกได้นานๆ ก็จะสวดมนต์ทุกวันขอพระ เมื่อก่อนลูกยังเรียนไม่จบ ก็สวดมนต์ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้อยู่จนลูกเรียนจบ แต่ตอนนี้พระท่านคงเห็น เลยให้อยู่ต่ออีกหน่อย แล้วก็มีอยู่วันหนึ่ง ที่สุขที่สุดมากที่สุดดีใจมากๆ คือวันที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เราชนะ

จินดารัตน์ – เมื่อปลายปีที่แล้ว

เมตตา – เมื่อปลายปีที่แล้ว ถึงแม้เราจะจน แต่ความยุติธรรมก็ไม่ได้ไปเข้าข้างไหน ยังให้ความยุติธรรมกับเรา

จินดารัตน์ – พี่เมตตาต่อสู้คดีมากว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษา 7 ปีนะค่ะ ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด

เมตตา – ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แล้ววันไหนก็ศึกษาจดจำมาด้วย ให้มันเป็นความรู้ในตัวเราด้วย

จินดารัตน์ – มีเคยท้อสุดๆ เคยคิดอยากจะฆ่าตัวตายหรืออะไรไหมค่ะ

เมตตา – เคยค่ะ เคยครั้งเดียวค่ะ ครั้งเดียวที่ผิดมากเลย วันที่ได้นั่งรถเข็น คือคุณหมอ ท่านหนึ่งบริจาครถเข็นมาให้ก่อน กว่าที่เราจะไปรู้สิทธิว่าคนพิการเบิกรถได้ที่ไหนอย่างไร คุณหมอท่านนี้ให้รถมาใช้ก่อน แล้ววันนั้นเป็นวันที่เราใช้ไม่เป็น คือเราไม่เคย มันทุกข์ทรมานเลย ระบบขับถ่ายก็ไม่ทำงาน ต้องสวนต้องอะไร ซึ่งมันทำให้ยุ่งยากกับชีวิต มันทรมานมากเลย สามีก็ไปมีเมียใหม่ ลูกก็ยังเล็ก ตัวเองก็ทำมาหากินยังไม่ได้ ตอนนั้นก็เลยคิดว่าจะฆ่าตัวตาย ตั้งใจจะเข็นรถไปให้เขาชน แต่ว่าเขาไม่ทันชน แล้วก็มาให้สติ แล้วพี่เมตตาก็เข้าวัดเลยตอนนั้น ไปนั่งพูดที่ต้นโพธิ์ในวัด พูดคนเดียวบ่นคนเดียว แล้วก็ไม่เคยทำแบบนั้นอีกเลย คือบอกกับต้นโพธิ์ที่วัดไตรสามัคคี ว่าลูกจะขอปล่อยความทุกข์ฝากท่านไว้ก่อน จะไปตั้งหน้าตั้งตาเป็นแม่ที่ดีของลูกต่อไป แล้วก็เลิกคิดฆ่าตัวตาย ตอจากนั้นก็คิดหาพลิกแพลงอาชีพไปเรื่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ ทำอะไรให้มันขายได้ ทำอะไรให้มันอยู่ได้

จินดารัตน์ – วันนั้นที่ตัดสินใจอย่างนั้น คิดถึงลูกไหมค่ะ

เมตตา – ตอนนั้นคิด แต่คิดว่าเราจะมาเป็นภาระให้ลูก เราไม่อยาก เราไม่อยากเป็นภาระให้ลูก เพราะลูกไม่ได้เที่ยวเล่นแบบคนอื่นเขา เลิกเรียนก็ต้องรีบกลับมาหาแม่ ไม่ได้เคยไปเที่ยวไหน รู้สึกเหมือนผิด เราเป็นภาระให้ลูก เลยคิดอยากฆ่าตัวตาย ไม่ให้เป็นภาระลูกอะไรแบบนั้น แต่จริงๆแล้วเป็นการคิดผิด เพราะว่านั้นเป็นการหนี ให้ลูกเผชิญชีวิตคนเดียว แต่มาวันนี้ก็ดีใจที่คิดได้

จินดารัตน์ - น้องอังตลอดมาช่วยงานคุณแม่ รู้สึกไหมค่ะว่าท้อแท้ไหม หรือว่ารู้สึกอย่างไร กับแม่บ้าง

อังศุมาลิน – เพราะว่าแม่จะทำให้เข้มแข็งไม่รู้สึกท้อ ไม่รู้สึกว่าขาดอะไร พ่อไม่อยู่ก็ไม่รู้สึก แม่พยายามทำให้ครบทุกส่วน ก็คือมีอะไรก็คุยกัน ไม่ให้รู้สึกว่า แม่น้อยใจ ก็คุยกันตลอด

จินดารัตน์ – อยู่กับ แม่ต้องทำแบบนี้ตลอดเลยไหมค่ะ ต้องต่อสู้คดีกับแม่ด้วย

อังศุมาลิน – ใช่ค่ะ เรามีกันสองคนแม่ลูกก็ไปไหนก็ไปด้วยกันอยู่แล้ว สู้ด้วยกัน ในเรื่องศาลก็ได้ความรู้เพิ่มด้วย

จินดารัตน์ – แต่วันนี้มีการตัดสินออกมาว่า เงินล้านกว่าบ้าน ทีทางโรงพยาบาลและคุณหมอต้องชดใช้มันจะต้องเป็นคดีความไปอีกถึงขึ้นฎีกา มีความหวังไหมค่ะพี่เมตตาว่าจะชนะคดี

เมตตา – ถ้าถามพี่เมตตา ก็ต้องตอบว่า หวังเต็มๆ ว่าพี่เมตตาต้องได้รับความเป็นธรรมต่อ แต่ในส่วนที่ศาลอุทธรณ์ให้ชนะ เพราะหมอและโรงพยาบาลนี้ผิดกฎข้อระเบียบบังคับของแพทย์สภาในด้านการรักษา แล้วพอชั้นฎีกานี้มันไม่มีความรู้สึกว่าจะพลิกอะไรอีกแล้ว ยังหวังความเป็นธรรมในศาลฎีกาว่าต้องมี

จินดารัตน์ – ไม่ท้อแท้นะค่ะ

เมตตา - ไม่ท้อยังสู้ค่ะ แต่ว่ามันก็มีปัญหาส่วนหนึ่งที่เริ่มซ้อนขึ้นมาในตอนนี้

จินดารัตน์ – อะไรค่ะ

เมตตา – เล่าได้นะค่ะ คือระหว่างที่ต้องต่อสู้คดีในชั้นฎีกา แล้วพี่เมตตาก็มีภาระเรื่องออกซิเจน ค่ารถ ค่าเดินทางเพิ่มขึ้น ตัวเองก็หาเงินได้น้อยลง รายจ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่รายได้ที่เคยจะได้เท่าเดิมมันหมดลง ก็เลยได้ขอให้น้องเขาช่วยลงสื่อ ช่วยโฆษณาสินค้า เราจะได้ขายได้มีกำไร ไม่ต้องไปรบกวนเพื่อนบ้าน แล้วในเนื้อหาใจความเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆแล้วศาลตัดสินให้เราได้รับอย่างไร แล้วโรงพยาบาลจะฎีกาสู้ต่อ เราก็จะบรรยายความเป็นจริงทั้งหมดไป โดยไม่ได้เอ่ยชื่อคุณหมอที่เรารักษากับโรงพยาบาลนั้น ไม่เคยเอ่ยถึง แต่ว่าปรากฏว่าคุณหมอท่านนั้น เขาแก่มากแล้ว แล้วเขาก็ผูกใจเจ็บ เขาตามรังควาญ ถ้าเราไปรักษาที่ไหน เขาจะตามไปขอประวัติ ไปแจ้งให้หมอที่ดูแลอยู่ว่ามีเรื่องฟ้องร้องกับเขา ซึ่งทำให้หมอคนต่อๆไป ไม่ทราบว่าอะไรเกิดมาก่อน ใครทำอะไรกับใคร แต่เขาเขียนว่าเราฟ้องร้องหมอ หมอท่านต่อๆมาก็เริ่มกลัวเรา

จินดารัตน์ – หมอก็ไม่กล้ารักษา

เมตตา – หมอก็รักษาแค่อาการ ไม่เป็นหมอเจ้าของไข้ แล้วหลังจากนั้น การักษามันไม่ปะติดปะต่อกัน ไม่ต่อเนื่อง ไม่ทุกอย่าง จนโรคมันไม่หาย กลายเป็นเพิ่มเข้าไปอีก ทุกวันนี้ 3-4 โรคอยู่ในตัวเรา

จินดารัตน์ – อาการพูดไม่ชัดก็เกิดจากระบบเส้นประสาท

เมตตา – ค่ะ มันหลายๆส่วน ก็ยังต้องพึ่งหมอ แต่ว่ามันก็มีบางสิ่งที่กวนใจหมอ เขา แล้วก็ไม่ใช่แค่นั้น คุณหมอที่รักษาประมาทที่เป็นคดีกัน ก็ได้เอาหนังสือที่พี่ลงกรุงเทพธุรกิจ ไปแจ้งความดำเนินคดีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นี้

จินดารัตน์ – ฟ้องหมิ่นประมาท

เมตตา – ฟ้องหมิ่นประมาททำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียง พี่เองก็งง เพราะว่าเราไม่ได้เอ่ยชื่อใคร ไม่ได้เอ่ยชื่อโรงพยาบาล เล่าแต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แล้วเขามาฟ้องทำให้เราเกิดภาระอย่างใหญ่หลวงกับเรา เพราะเขาต้องออกหมายเรียกผู้ต้องหาไปให้การใน สน.

จินดารัตน์ – เรื่องถึงชั้นศาลหรือยังค่ะ

เมตตา – ยังค่ะ เขาฟ้องหนังสือนั้นด้วย ก็เลยต้องรอให้เจ้าของหนังสือ หรือน้องที่เขียนข่าวไปให้ปากคำ ครบทั้ง 3-4 คน ที่เขาฟ้องไว้ แล้วตำรวจเขาถึงจะส่งสำนวนไปให้อัยการว่าจะรับฟ้องหรือไม่

จินดารัตน์ – อันนั้นเป็นขั้นตอนต่อไป แต่ความยุ่งยากในชีวิตมันเพิ่มมากขึ้น
เมตตา – มันเพิ่มขึ้นแล้ว เพราะเราต้องเดินทางไปโรงพัก ไม่ไปก็เป็นความผิด ถูกจับติดคุก เหมือนตัดกำลังเราไปอีก แล้วการที่ลงไม่ได้มีเจตนาจะว่าใคร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ว่าเราไม่ได้ลงชื่อ เราโฆษณาขายการบูรอย่างนี้ค่ะ แล้วยังไม่พอแค่นั้น ท่านก็ไปทำแถลงในสำนวนในคดีเพิ่ม แถลงประกอบฎีกาอีก คือหมอท่านนี้ฎีกาแล้ว แต่ผูกใจเจ็บหนักหนาสาหัส ไปเขียนแถลงประกอบฎีกาอีก ว่าพี่เมตตาแกล้งพิการ เอกสารคนพิการ ก็ทำเท็จ ทำปลอม แกล้งทำออกซิเจนปลอม รถเข็นก็แกล้งเอามานั่งให้คนสงสาร แล้วใส่ข้อความที่พี่รู้สึกรับไม่ได้เยอะ ไม่ทราบว่าท่านเป็นหมอได้อย่างไร ว่าลงสื่อขอเงินชาวบ้าน จริงๆพี่แค่โฆษณาขายสินค่า ไม่ได้ขอเงินบริจาค และก็ดำเนินชีวิตของเราต่อไป ไม่เป็นภาระสังคม เราไม่ได้งอมืองอเท้า ให้ใครช่วยอย่างเดียว เราขายของแล้วก็ถวายฎีกาถึงพระเจ้าอยู่หัวให้ช่วยทุนการศึกษาของลูกด้วย เนื่องจากลูกเรียนสูงขึ้น ค่าใช่จ่ายก็หนักขึ้น ก็ได้ความอนุเคราะห์จากสำนักพระราชเลขาทำหนังสือถึงวิทยาลัย ก็ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนลูกสาวตั้งแต่ ปวส. จนจบ ปวส. 2 ก็ตรงนั้นเอาไปใส่ว่าเราทูลความเท็จ แต่ตรงนี้ได้ถามกับผู้พิพากษาศาลว่า การแถลงชุดนี้คุณหมอที่เป็นคดีกับเรา เราต้องหาหลักฐานอะไรมายืนยันเพิ่ม แต่ศาลบอกว่าไม่ต้องแล้ว เพราะศาลเห็นมา 11 ปี ศาลเชื่อ เอกสารหลักฐานราชการไม่มีใครทำปลอมได้ ปล่อยเขาเถอะ ศาลว่าไม่เป็นไร

จินดารัตน์ – แสดงว่าวันนี้พี่เมตตาก็มั่นใจว่าศาลฎีกาน่าจะชนะ ถ้าชนะคดี เงินล้านบาทตั้งใจจะเอาไปทำอะไรบ้างค่ะ

เมตตา – คือพี่เมตตามั่นใจว่าจะชนะแน่นอนในชั้นศาลฎีกา แต่ไม่มั่นใจว่าจะอยู่ถึงหรือเปล่า เพราะปัจจุบันนี้พี่เมตตาชักบ่อยๆ บางทีก็เกร็ง บางทีก็ไม่หายใจ อยากเอาเงินมาให้ลูกสาวเรียนปริญญาตรี แล้วก็ทำบุญ แล้วก็มาใช้หนี้ที่ค้างอยู่

จินดารัตน์ – ตอนนี้มีหนี้ค้างอยู่เท่าไหร่ค่ะ

เมตตา – มีหนี้ที่กรมประชาสงเคราะห์ 7,500 บาท ก็ธนาคารออมสิน 27,000 กว่า

จินดารัตน์ – แล้วน้องอัง อยากเรียนให้จบ ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ มีความหวังอะไรในชีวิตต่อค่ะ

อังศุมาลิน – ก็อยากให้ชนะ เพราะว่าเงินส่วนหนึ่งได้เอามาประกอบอาชีพทำการบูร แล้วแม่จะได้พัก แล้วจะได้มีเงินรักษาตัว

จินดารัตน์ – ให้มันจริงจังสักที

อังศุมาลิน – แล้วหมอจะได้กล้ารักษา ขึ้นศาลกันอย่างนี้ หมอก็ไม่ค่อยกล้ารักษาแม่ เป็นอะไรก็แค่รักษาแค่อาการเท่านั้นเอง ไม่กล้าผ่าตัดหรือทำอะไรสักอย่าง

จินดารัตน์ – พี่ เมตตาสุดท้ายอยากจะฝากอะไรไปถึงคุณผู้ชมทางบ้านค่ะ

เมตตา – พี่เมตตาอยากฝากหน่วยงานของประกันสังคมอย่างแรก เพราะอันนี้เป็นปัญหาที่พี่เมตตาเจอ คือประกันสังคมได้เก็บเงินผู้ประกันตนไปจ่ายโรงพยาบาล แล้วเวลารักษาผิดพลาดอะไรแบบนี้ ประกันสังคมไม่ได้มาช่วยฟ้องร้องให้ผู้ป่วย ต้องฟ้องร้องกันเอง แล้วการฟ้องร้องนี้ 10 กว่าปี มาเนี่ย เพิ่งผ่านไป 2ศาลเอง คนป่วยก็จะตายแล้ว มันเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก แล้วเราเหมือนมดตัวน้อย

จินดารัตน์ – ไม่รู้อะไรเลย เหมือนคนตาบอด คลานๆกันไป

เมตตา – โดย ที่หน่วยงานประกันสังคมไม่ได้มาดูแลเรา แล้วก็อยากให้เขามีสัญญาหรือผูกมัดกับโรงพยาบาลว่า ไม่ว่าจะรักษาผิดพลาดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ขอให้เขาดูแลผู้ป่วยต่อไป หรือสามารถบังคับให้โรงพยาบาลชดใช้ตามคำพิพากษาศาล ไม่ใช่ต้องรอให้จบศาล 3 พอดี ผู้ป่วยตาย อยากฝากเรื่องคดีนี้ด้วย ถ้าเรื่องฟ้องหมิ่นประมาทถึงอัยการสูงสุด อยากฝากท่านช่วยสั่งไม่ฟ้อง เพราะถ้าสมมติมีการฟ้องร้องขึ้นมา พี่ไม่รู้จะไปหาเงินตรงไหนมาเป็นค่ารถ ค่าเดินทาง ปัจจุบันนี้ก็ทุลักทุเลมาก ต้องหาคนมาดูแล ช่วยยกถังออกซิเจน ช่วยยกเราขึ้นรถ ทุกกวันนี้ก็มีอยู่แค่ครึ่งเดียว ไม่อยากให้ใครรังแกเรามากไปกว่านี้

จินดารัตน์ – ค่ะ วันนี้ขอขอบคุณพี่เมตตากับน้องอังศุมาลิน มากค่ะ ขอบคุณที่มาเล่าประสบการณ์ อย่างน้อยที่สุด ดิฉันเชื่อว่า คุณผู้ชมหลายคนทางบ้านอาจจะมีปัญหาแบบนี้อยู่ หาทางออกไม่เจอ หรือคิดท้อแท้ วันนี้ถือได้ว่าเป็นการให้กำลังใจกันได้ดี ให้กำลังใจ คุณแม่คุณลูกต่อสู้กันต่อไป แล้วเราจะติดตามคดีนี้กันต่อไป หมดเวลาแล้วค่ะ รายการคนในข่าว วันนี้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เรานำมาเสนอให้คุณผู้ชมทางบ้านได้เรียนรู้ประสบการณ์จากคนคนหนึ่งที่ต้องต่อสู้กันมาตลอด 11 ปี แต่ชีวิตเธอต้องสู้กันต่อค่ะ วันนี้ลาไปก่อนสวัสดีค่ะ
กำลังโหลดความคิดเห็น