รายการคนในข่าว (29 มิ.ย.48) พูดถึงประเด็นข่าวร้อน หลังมีการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอย สร้างกระแสความไม่พอใจให้กับพ่อค้าแม่ค้าเป็นอย่างมาก วันนี้จึงได้มีการสัมภาษณ์เืพื่อขอทราบรายละเอียดที่ชัดเจนจากกลุ่มผู้ประกอบการ และัเหตุผลที่ต้องจัดจากรองปลัด กทม. ที่แถลงปิดท้ายเรื่องนี้สามารถพูดคุยกันได้
รายการคนในข่าว ออกอากาศทาง News 1 เวลา 21.05-22.00 น. ดำเนินรายการโดย จินดารัตน์ เจริญชัยชนะ
จินดารัตน์ – สวัสดีคุณผู้ชมค่ะ รายการคนในข่าวค่ะ ภาพที่คุณผู้ชมได้เห็นไปเมื่อสักครู่ นี้นะค่ะ อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปแล้วสำหรับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ทำมาค้าขายหาเช้ากินค่ำ ที่จะต้องหาเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว วันนี้ ที่บอกว่ามีปัญหาเพราะทางกรุงเทพมหานครนั้น จะมีการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย กันใหม่อีกครั้งหนึ่ง คุณผู้ชมยังจำกันได้เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสมัย พลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งให้มีการจัดระเบียบก็คือ ทุกวันพุธนั้นให้มีการหยุดขาย บนทางเท้า คงจะยังจำกันได้นะค่ะ
ต่อมาเนิ่นนานจนมาถึง ดร.พิจิตร ก็ยังทำกันอยู่จนกระทั่งมาถึง คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศยกเลิกการจัดระเบียบดังกล่าว ก็คือ ใครใคร่ค้าก็ค้า ใครใคร่ขายก็ขาย ปรากฏว่า 7 วัน ใน 1 สัปดาห์นั้น ใครจะขายตรงไหนก็ขายได้ ใครจะขายกันกี่วันก็ขายได้ เลยกลายว่าตอนนี้เป็นปัญหาอย่างมาก เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าปัญหาของฝ่ายหนึ่ง เราอาจจะฟังมาไม่ครบถ้วน แต่ปัญหาหน่วยงานราชการอีกฝั่งหนึ่ง ทางพ่อค้า แม่ค้าอาจจะฟังไม่ครบถ้วน ตอนนี้เกิดกระแสขึ้นมา บางคนอาจจะมีความเข้าใจว่า กรุงเทพมหานครจะห้ามขายบนทางเท้า ตลอดทั้ง 7 วัน
แต่จริงๆแล้ว เหตุผลคนใด ความจริงเป็นอย่างไร และทางฝั่งคนทำมาค้าขายคิดอย่างไร จะเอาที่ไหนมากินกัน แล้วถ้าจัดที่ให้ใหม่จะขายได้หรือไม่ เงินที่ได้มาแต่ละวันกับที่ใหม่จะเพียงพอหรือไม่ จะประเมินกันอย่างไร การจัดระเบียบที่กรุงเทพมหานครบอกว่าจะแก้ปัญหาได้ ให้กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่ขึ้นมา จากการจัดระเบียบที่ว่านี้ โดยเฉพาะคนเดินถนน คนเดินเท้าก็บอกว่า เอาล่ะขอคืนทางเท้าให้กับคนเดินถนนบ้าง อันนี้ก็เป็นเหตุผลของแต่ละฝ่าย
วันนี้เราจะมาฟังกันนะค่ะ กับ 2 ฝ่ายด้วยกัน หน่วยงานของราชการของกรุงเทพมหานคร รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่เราเชิญมาหลายสิบชีวิต ค่ะ แต่ที่เป็นตัวแทนที่เราเชิญมาคุยกันบนโต๊ะนี้คือ 5 ท่านด้วยกัน ท่านแรก อัศวิน ต้นวีรพงศ์ศิริ เป็นรองประธานสภาเขตดุสิต คุณอัศวินนั้นคลุกคลีอยู่กับพ่อค้าแม่ค้า เขตดุสิตนั้นมายาวนาน ก็จะรู้ว่าปัญหาของพวกเขานั้นคืออะไรกันแน่ นะค่ะ ท่านต่อมาคุณวัชนี ทวีกิจอุดมเป็นเจ้าของร้านนครชัย จำหน่ายรองเท้า บริเวณสี่ย่าน ท่านต่อมา คุณทวี งามทวี เจ้าของแผงอุปกรณ์ซ่อมแซมย่านคลองถม
แล้วอีกท่านหนึ่งสมเจตน์น์ ธนนชัย ค้าของเก่าย่านคลองถมเช่นเดียวกัน ท่านสุดท้ายที่เป็นตัวแทนพ่อค้าแม่ค้า เป็นแม่ค้าขายผัดไทอยู่ย่านบางลำพู ขายมายาวนานหลายสิบปี คุณป้าบุญเรือน สมวัด และด้านหลังดิฉันเป็นตัวแทนพ่อค้าแม่ค้าที่มาจากย่านหลายชุมชนด้วยกัน และที่ขาดไม่ได้ก็ก็คือตัวแทนของกรุงเทพมหานคร จะมาชี้แจง ท่านรองปลัดกรุงเทพมหานคร คุณอนันตศิริ พัชราภรณ์ค่ะ
สวัสดีค่ะท่านรองค่ะ สวัสดีค่ะ ลุงป้าน้าอา ขอบพระคุณค่ะ ที่วันนี้เรามาคุยกันเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนกันว่า ตกลงความเข้าใจอีกฝั่งหนึ่งเข้าใจตรงไหม ทางกทม. แก้ปัญหาได้ตรงใจ ทำได้หรือไม่ เราจะเดือดร้อนแค่ไหน อยากจะเรียกร้องอะไร วันนี้เราจะคุยกันให้จบภายใน 1 ชั่วโมงในรายการของเรานะค่ะ คุณผู้ชมทางบ้านถ้ามีความคิดเห็นอย่างไร และจะฝากคำถาม ทั้งที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า และคนเดินถนน อะไรก็แล้วแต่ โทรศัพท์เข้ามาได้ที่ 02-629-4433 ดิฉันจะเริ่มจากคุณวัชนีก่อน คุณวัชนีนั้น เป็นเจ้าของร้าน ความเข้าใจก่อนว่า คำสั่งของหน่วยงานราชการกทม.ออกมารู้มาว่าอย่างไรบ้างค่ะ
วัชนี – รู้มาว่าข้างในขายไม่ได้ เขาบอกว่าข้างนอกขายได้
จินดารัตน์ – ข้างในกับข้างนอกมันเป็นอย่างไรค่ะ
วัชนี – คือข้างนอกมันจะมีร้านค้าแบบผ่อนผัน แต่ดิฉันเป็นเจ้าของร้าน คือดิฉันก็เอามาตั้งขายหน้าร้าน ทีนี้เขาบอกว่าข้างในต่อไป จะไม่ให้ขายให้เก็บเข้าไปข้างใน ไม่ให้ยื่นออกมาด้านหน้าบ้าน
จินดารัตน์ – ห้ามนำสินค้าออกมาวางโดยเด็ดขาด ถูกไหมค่ะ คือได้ยินมาแบบนี้
วัชนี – ใช่ค่ะ แล้วเขาก็แจกใบมาให้ด้วย ถ้าว่าตั้ง เขาจะปรับ เรา 2,000 บาทต่อไป เพราะเขายื่นใบมาให้แล้ว
จินดารัตน์ – ก็คือร้านของคุณพี่รัชนีเป็นร้านเป็นตึกแถวติดถนนใหญ่ แล้วมีฟุตบาทออกมาด้านนอก ถูกไหมค่ะ
วัชนี – ใช่ค่ะ
จินดารัตน์ - และด้านนอกก็จะมีหาบเร่แผงลอย คือตั้งวางขายเรียงรายกันอยู่ หน้าร้านเรา เราก็เอาของของเรามาตั้ง
วัชนี – ใช่ค่ะ
จินดารัตน์ – แต่ถ้าคิดว่าถ้าเก็บกลับเข้าไปในร้าน จะมีคนมาตั้งหน้าร้าน
วัชนี – ถ้าเราไม่ตั้งหน้าร้าน คนอื่นเขาจะมาตั้งหน้าร้านเรา ข้างหน้าก็บังหน้าร้านเราแล้ว ข้างในถ้าเราไม่ตั้งเองคนอื่นก็มาตั้ง แล้วเรามีสิทธิ์ไหมค่ะ เพราะเรามีร้านตัวเอง แล้วก็เสียภาษีถูกต้องทุกอย่าง แล้วทีนี้ทาง กทม.มาจัดระเบียบแบบนี้ เราก็ไม่พอใจเหมือนกันนะค่ะ เพราะว่าทุกคนก็แบบว่าต้องทำมาหากิน
จินดารัตน์ – อันนี้เป็นส่วนของตึกแถวนะค่ะ เป็นเจ้าของร้านนะค่ะ แล้วคุณทวี ขายอยู่คลองถม ขายมากี่ปีแล้วค่ะ
ทวี – 25 ปี
จินดารัตน์ – ขายอะไรบ้างค่ะ ที่คลองถม
ทวี – พวกอุปกรณ์ของใช้ พวกถัง ของใช้ เครื่องมือเกษตร
จินดารัตน์ – เครื่องมือซ่อมแซมเกษตร อะไรทุกอย่าง
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ขายลักษณะแบบไหน เป็นแผลลอย หรือเป็นร้าน
ทวี – เป็นแผง
จินดารัตน์ – ตั้งแผงทุกเช้า
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ขายกี่โมง-ถึงกี่โมงค่ะ
ทวี – ผมขายวันเสาร์-วันอาทิตย์ มันเป็นตลาดนัด
จินดารัตน์ – กี่โมงค่ะ
ทวี – ตอนประมาณ 5 โมงเย็น ถึง ประมาณสัก 5 ทุ่ม
จินดารัตน์ – 5 โมงเย็น ถึง 5 ทุ่ม
ทวี – ครับ แล้ววันอาทิตย์ จะขายตอน 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น
จินดารัตน์ – ก็คือวันเสาร์จะขายกลางคืน วันอาทิตย์จะขายตอนเช้า แผงเดิมจุดเดิม
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ทุกคนในตลาดนัด คือเข้าใจตรงกันก็จะขายลักษณะเดียวกัน นะค่ะ ได้ยินทางคำสั่งของกรุงเทพมหานครว่าอย่างไรบ้าง
ทวี – ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่ง ครับ มันเป็นคำสั่งของทาง สน. ของจุดผมเป็นจุดบนถนน
จินดารัตน์ – คือขายกันมาอย่างนี้ 20 กว่าปีแล้ว
ทวี – ครับผม
จินดารัตน์ – ในยุคของท่านผู้ว่าจำลองที่บอกว่าห้ามขายวันพุธ ก็คือวันพุธ
ทวี – เราไม่เกี่ยว
จินดารัตน์ – ไม่เกี่ยวอยู่แล้ว เพราะขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ แต่เสาร์ อาทิตย์ก็ตั้งแบบนี้กันมา แล้วก็บนพื้นผิวจราจรเหรอค่ะ
ทวี – ใช่ครับ ข้างล่าง ต่อจากฟุตบาท เขาจัดเป็นตลาดนัด พูดง่ายๆ เราขายกันเป็นวิถีชีวิตของพ่อค้าแม่ค้า ความจริงมันมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ที่คลองถม แล้วปัจจุบันนี้ ก็มาถึงรุ่นเรา แล้วตอนนี้ผมก็ให้ลูกมาช่วยขาย
จินดารัตน์ – แสดงว่าเส้นที่เราขายกันวันเสาร์อาทิตย์ ก็คือปิดถูกไหมค่ะ
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ปิดการจราจรเลยเส้นนั้น
ทวี – การจราจรปิดด้วย แต่มันมีเส้นบาทวิถีด้านสิงห์ธรรมมาธิราช ก็มีทางรถเข้าได้ แต่ว่าคนมันเยอะก็เข้าไม่ได้ ร้านก็เปิดช่องรถเข้าได้นะครับ
จินดารัตน์ – นั่นหมายถึงว่าคุณทวีขายอยู่บนพื้นผิวจราจร บนฟุตบาทบนทางเท้าก็มีแผง
ทวี – ก็มี
จินดารัตน์ – ส่วนใหญ่ก็จะซ้อนๆกันมาก็เต็มถนน เต็มฟุตบาท เต็มทางเท้า อันนี้เป็นการจัดการของทางการเหรอค่ะ
ทวี – ทางการเขาจัดเป็นช่องแบ่งคือว่า จุดผ่อนผัน คือว่าตีช่อง เรามีการยื้อสถานการณ์ผ่อนผัน
จินดารัตน์ – แต่ว่าเคย มีปัญหาว่าอยากจะให้หยุด
ทวี – ให้เลิก ขอร้อง
จินดารัตน์ – แต่จะมีที่จุดผ่อนผันให้
ทวี – จุดผ่อนผันที่จัดเป็นตารางตีเส้นให้
จินดารัตน์ – แล้วค่าใช้จ่ายค่าเช่าอย่างไรค่ะ
ทวี – ทางการเขามีการจัดเก็บย้อนหลัง มีออกให้ มีรายเดือน
จินดารัตน์ – เดือนละเท่าไหร่ค่ะ
ทวี – เดือนละ 100 บาท
จินดารัตน์ – 100 บาทต่อเดือน
ทวี – ค่าเก็บขยะ และค่าทำความสะอาด
จินดารัตน์ – แสดงว่า ค่าเช่าไม่เสียนะค่ะ อย่างนี้ก็ไม่เสียค่าเช่า ก็คือแผงใครก็ขนาดเท่าๆกันหมด
ทวี – มีตีเส้น ส่วนหนึ่งที่เราอยู่ด้านนอก ไอ้ด้านข้างก็มี บนฟุตบอลก็มี
จินดารัตน์ – เมื่อสักครู่ดิฉันได้ยินบอกว่าข้างนอกไม่เช่า
ทวี – แล้วแต่ใครจะใช้พื้นที่ เพราะจริงๆพวกเครื่องขายเครื่องเหล็ก พื้นที่เป็น 10ๆเมตร
จินดารัตน์ – แล้วแต่การจับจองเหรอค่ะ
ทวี – ครับ ลักษณะนั้น
จินดารัตน์- แล้วขายกันมาตั้งรุ่นพ่อ ตอนนี้รุ่นลูกแล้ว มาช่วยดูแลกิจการ คุณทวีได้ยินมาว่าอย่างไรค่ะ
ทวี – ทาง สน.มาแจกใบปลิวเล็กๆ เหมือนกับลักษณะที่เราไม่เชื่อ เพราะไม่มีตราครุฑ
จินดารัตน์ – เป็นกระดาษพิมพ์เปล่าๆ
ทวี – ครับ แล้วเล็กๆด้วยนะครับ
จินดารัตน์ – มีตัวอย่างไหมค่ะ ดิฉันขอดูนิดหนึ่ง
ทวี – ขนาดนี้นะครับ แล้วครั้งที่สองมาขนาดนี้
จินดารัตน์ – ครึ่งหน้า ครั้งแรกว่าอย่างไรค่ะ
ทวี - คือไม่ให้ขาย ในวันที่ 25 ที่จะถึงนี้ เราก็ไปขอร้อง เดินไปขอร้องกัน มีการขอให้เราได้มีการระบายสินค้า ให้เราได้มีโอกาสในการช่วยเหลือตัวเอง
จินดารัตน์ – ในกระดาษที่ส่งมาให้มีบอกไหมค่ะ เหตุผล
ทวี – ไม่มีครับ ไม่เคยมีการทำการค้ามาก่อน เขาบอกว่าอย่างนี้ ว่าจุดนี้ไม่เคยมีการทำการค้ามาก่อน ไม่อนุญาตให้จำหน่าย
จินดารัตน์ - ตั้งแต่วันที่ 25 ที่ผ่านมา เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นต้นไป ใช้คำว่าตั้งแต่เป็นต้นไป แต่ไม่ได้บอกว่าถึงเมื่อไหร่
ทวี – มาขอร้อง เดินนำผู้คนมาที่ทำเนียบ หวังว่าได้พบกับท่าน รองจเร**แล้วก็มีการชี้แจง มีการผ่อนผัน ให้แค่เดือนเดียว กำหนดจะหมดในวันที่ 23 ที่จะถึงนี้ ตอนนี้เราก็มีการเรียกร้องให้กลุ่มคนเข้าไปขอร้อง
จินดารัตน์ – แล้วเขาให้วันที่ 23 เดือน
ทวี – เดือนกรกฎา
จินดารัตน์ – ก็คือผ่อนผันให้ 1 เดือน ได้มีการระบายสินค้า ไดมีการเตรียมตัวกัน
ทวี – เขาว่าอย่างนั้น
จินดารัตน์ – เขาบอกไหมค่ะ ว่าทำไม ต้องให้ระงับการขาย
ทวี – บอกครับ ตอนที่เราไปประชุมกัน เขาบอกว่าตรงนั้นเป็นผิวจราจร ผมก็แย้งไปว่ามันเป็นสิ่งที่ทางการได้ให้การค้าขายมาโดยตลอด แล้วก็เราทำการค้าในลักษณะนี้ มันเป็นวิถีชีวิตของพวกค้าของเก่า ได้อธิบายถึงลักษณะการค้าของเก่า เพราะฉะนั้น ไม่เหมือนกับการค้าธรรมดา ผมอธิบายกับคำว่าคลองถม คือการซื้อมาขายไป คลองถมเป็นลักษณะไปหาของ 3-4 วัน แล้วเอามาซ่อม แล้วเอามาขาย 2 วัน แล้วไม่เข้าใจว่าเราไม่ได้ขาย 2 วันนี้ ขายอย่างอื่นได้ ในลักษณะ มันไม่ใช่ลักษณะของคลองถม
จินดารัตน์ - ส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น
ทวี – ส่วนใหญ่ เป็นแบบนั้นคลองถม
จินดารัตน์ – คุณสมเจตน์ก็อยู่คลองถมเหมือนกัน
สมเจตน์ – ผมอยู่คนละซอย ผมอยู่บนถนน ตรงร้านสุขุม
จินดารัตน์ – ก็คือ บนพื้นผิวการจราจรเช่นเดียวกัน
สมเจตน์ – ผมอธิบายเสริม จากคุณทวีนิดหนึ่ง การที่ว่าไปอยู่ผิวจราจร คือว่าตอนนั้นที่ให้ยกเลิกขาย แล้วก็ตีเส้นสีเหลือง บนผิวจราจร นี่คือความ ตอนนั้นผมเคยขอร้องว่าท่านตีเส้นแล้ว ท่านจะควบคุมได้ไหม และเขาก็ไม่ยอม ก็ตีเส้นสีเหลือง ทุกถนน
จินดารัตน์ – เพื่ออะไรค่ะ
สมเจตน์ – เพื่อให้คนมีที่ค้าขาย เป็นระเบียบ
จินดารัตน์ – ก็เลย จัดระเบียบเลย
สมเจตน์ – เขาก็ไปขออนุญาตที่ สน. สน.เขาก็อนุญาต เขาก็ Co กันแล้ว การที่ว่าไปขายบนถนน ทีนี้พอมีแผงอยู่บนฟุตบาท 2 ข้าง แถวกลางยังมีมาตั้งกันอีก พอตั้งเข้าๆ มันก็แออัด ทั้ง 2 ข้าง คนเดินไม่ได้ คราวนี้จะโทษพ่อค้าใช่ไหม ผมว่าโทษพ่อค้าทีเดียวก็ไม่ใช่ ผมว่าต้องโทษทางการด้วย กรุงเทพมหานครก่อนที่คุณจะตี คุณมาปรึกษาพวกเราหรือเปล่าเลย
เหมือนเช่นทุกวันนี้คุณลงมาปั๊บ คุณบอกว่าหยุดขายนะ วันที่ 1 จับผิวจราจร อย่าง สน.พลับพลาไชย บอก 25 คุณเลิกขายนะ จุดนี้ไม่ใช่จุดผ่อนผัน ใครขายจับปรับ เตรียมรถไว้ขัง จับคนอย่างเดียว ของไม่เกี่ยว ผมถามว่าคุณรังแกจิตใจประชาชน คุณเห็นพ่อค้าเป็นอะไร ทุกวันนี้ถ้าหากว่าก่อนที่คุณจะมาทำ คุณเคยมาถามไหมว่า บ้านคุณขายอะไรอยู่ที่ไหน
จินดารัตน์ – คุณสมเจตน์อย่างนี้นะค่ะ คือดิฉันจะเรียนถามก่อนว่าได้ยินมาว่า ทางการจะทำอะไรบ้าง
สมเจตน์ - ไม่ใช่ได้ยิน มีใบปลิวแผ่นเล็กๆ จากสน. พลับพลาไชย แต่เมื่อวานบังเอิญผมเจอ ผู้กำกับที่ทำเนียบด้วย ผมถามว่า ทำไมใบปลิวไม่มีตราครุฑ ไม่มีลายเซ็น ก็บอกแจ้งให้ทราบ ผมเลยบอกว่าจดหมายจากทางราชการต้องมีตราครุฑ ลายเซ็นใช่ไหมครับ แล้วเวลาเรียกผมไปสอบ เคยเรียกผมไปสอบที่นั่น ใช้ตราครุฑ แล้วก็ลายเซ็น ถ้าผมไม่ไปก็ถือเป็นความผิด แล้ววันนี้ให้ผมเลิกขาย ประชาเป็นหมื่น แต่คุณใช้ใบปลิว แล้วพวกผมทุกคน เอ๊ะ นี้มันใบปลิวจริงหรือเปล่า แต่ผมให้ท่านดูว่าไม่มีลายเซ็น ทุกคนก็บอก
จินดารัตน์ – แต่ทางผู้กำกับก็ยอมรับว่าใช่
สมเจตน์ – ใช่ แต่แจ้งให้ทราบเฉยๆ แล้วพวกผมทำอย่างไร แต่ละคนเป็นไก่ตาแตกหมดเลย ทุกคนมาบอกว่าไม่ให้ขาย แต่ละคนช็อกไปเลยคนแก่ เขาขายอยู่ตรงนั้น
จินดารัตน์ – รู้ใช่ไหมค่ะว่าทำไม
สมเจตน์ – การผิวจราจรไงครับ แต่วันนี้ กทม. มาอย่างไรครับ ออกมาอีกระเบียบหนึ่ง ตอนผิวฟุตบาท กทม. ออกอีกใบหนึ่ง สน.พลับพลาไชยออกอีกใบหนึ่ง บนผิวจราจร มันก็หมดเลย เหมือนกับปิดประตูตีแมว
จินดารัตน์ – ขออนุญาต นะค่ะ ลุงป้าน้าอา ที่นั่งอยู่ด้านหลังใครอยู่คลองถมบ้างค่ะ ได้รับหนังสือจาก กทม. คือได้รับใบปลิวเล็กเหมือนกันหมด แล้ววันนี้ได้รับจดหมายทางกทม หรือยัง ได้กันหมดแล้วนะค่ะ เอาแล้วค่ะ มาทางคุณป้าบุญเรือน ขายอยู่บนถนนพระอาทิตย์ ได้ยินมาก่อนหน้านี้ว่าอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – ก็ได้ยินว่า วันที่ 1 ไม่ให้ขายแล้ว ตลอดทั้งแนว ตั้งแต่ถนนพระอาทิตย์ ไปจนถึงบางลำพู
จินดารัตน์ – ใครเป็นคนมาบอก
บุญเรือน – เทศกิจมาบอก
จินดารัตน์ – บอกว่าอย่างไรนะค่ะ
บุญเรือน – ห้ามเลยตั้งวันที่ 1 ทุกวัน
จินดารัตน์ – เขาบอกว่าทุกวัน แล้วคุณป้าบอกต่อไหมค่ะ ว่าฉันจะไปทำอะไรกิน
บุญเรือน – เขาบอกว่าไม่รู้ คำสั่งบอกมาว่าไม่ให้ขาย แล้วเวลามันเก็บเงินมันเก็บได้ แต่เวลานี้มันบอกมันไม่รู้ บอกไม่รู้ก็ไม่รู้ เขาบอกอย่างนี้
จินดารัตน์ - เสียค่าเช่าอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – เขามาเก็บ เขาบอกว่าค่าปรับ 200 เขาบอกค่าปรับนะป้า 200
จินดารัตน์ – 200 ต่อเดือน
บุญเรือน – 200 ต่อเดือน
จินดารัตน์ – เขาบอกค่าปรับเหรอค่ะ แล้วคุณป้ารู้ไหมค่ะ ว่าค่าปรับอะไร
บุญเรือน – ไม่ทราบ มันบอกค่าปรับ
จินดารัตน์ – พอถามไปก็ไม่ได้คำตอบ
บุญเรือน – ก็ถามเขาว่าถ้าป้าเสียอย่างนี้ จะมีสิทธิ์ได้ขายไหม เขาบอกทีนี้ไม่ใช่จุดผ่อนผัน เขาไม่ให้ป้าขาย ป้าก็ขายไม่ได้
จินดารัตน์ – ที่ป้าขายได้เพราว่าป้าเสียค่าปรับ เขาบอกอย่างนี้เหรอ
บุญเรือน – ใช่
จินดารัตน์ – ที่ยอมเสีย 200 บาทต่อเดือนให้ขายได้
บุญเรือน – แล้วต่อไปนี้ขายไม่ได้อีกแล้ว
จินดารัตน์ – ทุกวัน ไม่ว่าเวลาไหนเหรอค่ะ
บุญเรือน – ทุกวัน
จินดารัตน์ – คุณป้าได้ทราบข่าวนี้ตั้งแต่วันไหนค่ะ
บุญเรือน – ก็ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วนี้เอง
จินดารัตน์ – แล้วรู้สึกอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – ก็ไม่รู้สึกอย่างไร ลูกเขาบอกว่าดีใจ
จินดารัตน์ – แสดงว่าลูกไม่อยากให้ขายมาตั้งนานแล้ว อ๋อ นี่แอบลูกมาขาย
บุญเรือน- เขาบอกดีแล้วแม่ อยู่เฉยๆ แล้วป้าบอกมันอยู่ไม่ได้
จินดารัตน์ – ป้าขายมากี่ปีแล้วค่ะ
บุญเรือน – 4 ปี
จินดารัตน์ – 4 ปีนี้ เสียค่าปรับทุกเดือน
บุญเรือน – ใช่ค่ะ ก็เสียทุกเดือน
จินดารัตน์ – 200 บาท
บุญเรือน – ป้าบอกว่าป้าทำงานให้กับกิจกรรมในชุมชน ป้ายังไม่ได้อะไร ไม่เคยได้อะไรตอบแทนเลย แต่เวลาขาย ต้องเสียค่าปรับ
จินดารัตน์ – ขายมา 4 ปีแล้ว ดิฉันแน่ใจว่า ท่านรอง อนันต์ได้กินผัดไทยคุณป้าแน่นอนเลย เพราะฉะนั้น เรียนถามท่านรองว่า ที่ชาวบ้านพ่อค้าแม่ค้าได้ยินมา ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไร ตรงไหนผิดข้อมูลข้อเท็จจริงที่ กทม.ได้ตั้งกันเอาไว้
อนันต์ – ก็ผมจะพูดภาพรวมๆนะครับ ความจริงเราไม่ได้เริ่มคิดเมื่อวานหรือเมื่อวานซืน เรื่องนี้มันเริ่มต้นกัน2-3 เดือนแล้ว นะครับ ตั้งแต่วันที่ ท่านนายกรัฐมนตรี จำได้ว่าวันที่ 6 เมษายน ตอนนั้น มันมีเรื่องมาเฟียเข้ามาเกี่ยวข้อง มาหาผลประโยชน์ ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายอะไรก็ตาม ผู้มีอิทธิพลก็เรียกเก็บจากผู้ค้า ท่านก็เลยเชิญผู้ค้ามาที่ทำเนียบ 2,000 กว่าคน วันนั้นทั้งวัน แล้วสรุปประเด็นกันได้ว่า เราต้องจัดระเบียบกันใหม่แล้วนะ มันมีช่องทางให้หากินได้ มันมีช่องทางเป็นจุดสีเทาๆซึ่งไม่รู้ว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาต ตรงนี้ก็เลยกลายเป็นช่องทางทำมาหากิน คนหนึ่งก็มีแผงเยอะมาก แล้วก็ให้คนอื่นเขาเช่า กันไป ผู้ที่มีร้านค้าก็ออกมาวางขาย ท่านก็เลยบอกว่าเรามาจัดระเบียบกันใหม่
แต่ว่าการจัดระเบียบที่ว่านี้นะครับ มันคงให้ทุกคนขายไม่ได้ หรอก มันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องกำหนด เงื่อนไขที่ต้องกำหนดคือว่า 1. คนเดินถนนต้องเดินได้ รถต้องวิ่งได้ ดังนั้นต้องมีเงื่อนไขที่ว่า ถ้าตรงไหนจะเป็นจุดผ่อนได้ ต้องไม่ตั้งวางบนผิวจราจร
จินดารัตน์ - ต้องไม่ตั้งวางบนผิวจราจร เพราะฉะนั้นที่คลองถมแน่นอน
อนันต์ – ข้อที่ 2 .ก็คือว่า ถ้าอยู่บนทางเท้า แล้วทางเท้านั้นแคบมาก คือเมื่อตั้งวางสินค้าแล้ว มีที่ให้คนเดินไม่ถึงเมตรหนึ่ง ต้องเลิก ถูกไหมครับ เช่น ที่ตรงนั้นทางเหลือแค่ 50 วางของไปแล้ว เหลือ 50 เซน อย่างผมพอเดินได้ แต่ถ้าอ้วนหน่อยก็เดินไม่ได้ ใช่ไหมครับ ก็ลำบาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีช่องทางสัญจรให้ประชาชน หลังจากได้แล้ว หนึ่งเมตรให้ยกเลิก นะครับ ก็เลยบอกไว้ลักษณะนี้ แต่เรื่องมาเฟีย ท่านเสนีย์ วิสุทธิ์**จะไปจัดการให้ ส่วนกทม.จัดระเบียบ เราก็มานั่งดูกัน เราจะทำอย่างไร ที่ให้ครบวงจร จริงๆแล้วท่านผู้ว่าอภิรักษ์ ใช้คำว่าจัดระเบียบ ถือโอกาสมาสร้างอนาคตการค้าใหม่ในการทำการค้าในที่สาธารณชน นะครับ การสร้างอนาคตใหม่ก็คือว่า ไอ้ที่เป็นจุดเทาๆก็เลิกกันไป เราก็มาดูจุดผ่อนผันทั้งหมดทั้งกรุงเทพ จะมีสักกี่จุด การเป็นจุดผ่อนผันมันเป็นไปโดยกฎหมาย ไม่ใช่เรานึกอยากจะผ่อนผันใครได้
จินดารัตน์ – เป็นอย่างไรค่ะ จุดผ่อนผันที่ว่า
อนันต์ – คืออย่างนี้นะครับ ในกฎหมายสาธารณสุขปี 2535 เขาไม่อนุญาตให้ค้าขายในพื้นที่สาธารณะหรือทางสาธารณะ ชัดเจนเลยนะครับ ทุกคนไม่มีสิทธิ์ค้าขายบนทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของตึกแถว หรือผู้ค้าทั้งหลาย เว้นแต่ว่าที่ตรงนั้นมันไม่กีดขวางจราจร นะครับ แล้วมีหนทางที่พอสัญจรไปมาได้ โดย กทม..และเจ้าพนักงานจราจร ก็คือกองบัญชาการตำรวจนครบาลเห็นชอบ อนุมัติ ให้เป็นจุดผ่อนผัน จึงจะจัดให้มีผู้ค้าได้ ตรงนี้คือเงื่อนไขของกฎหมาย ดังนั้น ทาง กทม.เขาเสนอเงื่อนไขของจุดผ่อนผันทั้งหลาย ที่มีเคยมีอยู่ตั้งแต่เดิมมา 700 กว่าจุด แล้วก็เอาไปเข้าเกณฑ์ เอาเกณฑ์มาวัด ว่าอยู่บนถนนไหม ทางเท้าแคบไหม นะครับ ปรากฏว่าหลุดกันไปบ้าง ก็เหลือ 683 จุด
จินดารัตน์ – 683 จุดทั้งหมด
อนันต์ – ทั้งทั่วกรุงเทพเลยนะครับ ซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเขตไหนมากหรือน้อย แต่ว่า 683 จุด แต่ 683 จุด ท่านายกรัฐมนตีก็บอกว่า เราก็ต้องขจัดมาเฟียไปนะ มาเฟียก็คือผู้มีอิทธิพล คนที่เป็นเจ้าของแผงอยู่บนทางเท้า โห เยอะมากเลย แล้วก็จ้างลูกจ้างมาขาย ให้เขาเช่าบ้าง เพราะอย่างนี้มาหาผลประโยชน์ ถูกไหมครับ มาขูดรีดจากคนจน เพราะว่า กทม.ไม่ได้คิดค่าเช่าอะไร อย่างที่พวกเรารู้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เราจะจับลงไปได้ ทั้งหมด ไม่ว่าคุณจะมีแผงกี่แผงที่ผ่านมา สุดท้าย ต้องเหลือคนละแผงเดียว
จินดารัตน์ – แผงเดียวเท่านั้น
อนันต์ – แผงเดียวเท่านั้นนะครับ แล้วแผงที่ว่านี้ ต้องเป็นขนาดที่พอบอกกับสังคมได้ว่า นี่คือคนที่ด้อยโอกาส คนที่ไม่มีรายได้มาก ไม่ใช่คนหนึ่ง 10 เมตร 15 เมตร แผงที่ว่าต้องไม่เกิน2 ตารางวา
จินดารัตน์ – แล้วจะตรวจสอบได้อย่างไรค่ะ เขามีกันแผงเดียวจริงหรือเปล่า
อนันต์ - เราให้เขาไปพิสูจน์สิทธิ์กัน พอถึงพ่อค้าต้องไปพิสูจน์สิทธิ์กัน เดิมคุณเคยมีชื่ออยู่ ก็ไปพิสูจน์สิทธิ์ การไปพิสูจน์สิทธิ์ ก็คือเอาแม้ค้าที่อยู่ข้างๆ ที่ขายกันอยู่ ประมาณ 10 คน มาเป็นพยานบุคลด้วย อันที่ 2 คุณต้องเอาใบเสร็จค่าธรรมเนียมรักษาความสะอาด ในชื่อคุณ เพื่อจะยืนยันว่าคุณขายตรงนั้นจริงๆ
จินดารัตน์ – ท่านรองค่ะ สมมติว่าอย่างนี้ อย่างที่คลองถมนะค่ะ ก็คือคนนี้เช่าต่อมาอีกทีหนึ่ง
อนันต์ – คลองถมนี้ต้องแบบนี้เลยครับ จุดผ่อนผันที่อยู่บนผิวจราจร ต้องถูกยกเลิกไป ดังนั้นก็ไม่มีการพิสูจน์
จินดารัตน์ –อันนี้ ก็คือไม่ต้องมาพิสูจน์สิทธิ์กันแล้ว แต่ว่าแล้วจุดผ่อนผันที่อยู่บนทางเท้า
อนันต์ – ที่อยู่บนทางเท้า ถ้าทางเท้าแคบก็ไม่ได้
จินดารัตน์ – ท่านค่ะ ถ้าไม่ถึงหนึ่งเมตรก็ยกเลิกไป
อนันต์ – ไมได้ ยกเลิกไปเลย
จินดารัตน์ – ช่วงไหนแคบๆ
อนันต์ – เพราะว่าจัดอย่างไร เดือดร้อนประชาชน ก็ต้องเดินลงผิวจราจร ถูกไหมครับ อย่างนี้ต้องเลิกไป
จินดารัตน์ – ท่านรองค่ะ ดิฉันเห็นภาพที่ท่านรองนำมา ขอดูหน่อยได้ไหมค่ะ จะได้เห็นภาพกันชัดๆ
อนันต์ – ผมยกตัวอย่างที่บางแค เมื่อจัดแล้วต้องมีทางเดินหนึ่งเมตร บางแคนึกออกไหม ผู้ค้าเยอะมากเลย เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ไปทำร้ายเขา ทีนี้คุณต้องเลิกขายไปเลย แต่ขอว่าทั้งหมดเนี่ย ให้เราอยู่ร่วมกันได้ คือผู้ค้าก็ขายได้ คนเดินถนนก็เดินได้อย่างสบายๆ นะครับ
จินดารัตน์ – ต้องประมาณหนึ่งเมตร ต้องไม่น้อยกว่านี้
อนันต์ – ครับ แล้วก็ข้างบนต้องโปร่ง เราไปสังเกตเห็นบางแห่ง เป็นถ้ำเลย เป็นอุโมงค์ กว่าจะมุดพ้นอุโมงค์ไปได้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง อากาศมันก็แย่ ภาพมันก็ไม่ดี นะครับ แล้วก็ต้องมีการล้างทางเท้าอะไรกันต่อไป
จินดารัตน์ – ไอ้ที่ว่าอุโมงค์จะทำกันอย่างไรค่ะ
อนันต์ – ก็เปลี่ยนมาเป็นร่มซะ สีเดียวกันซะให้หมด จุดเดียวกันนะครับ ก็ห้ามแขวนอะไรรุงรังทั้งสิ้น ของที่จะวางจากพื้นทางเท้าขึ้นไปต้องสูงไม่เกินเมตรห้าสิบ ก็แปลว่าถ้าเราอยู่ที่ทางเท้าเรามองถนน เราเห็นถนน บนถนนมองเข้ามาในตึกก็เห็น แต่เมื่อก่อนมันคลุมหมด แล้วทุกคนก็ถูกยัดเยียดให้เข้าไปเดิน
จินดารัตน์ – อันนี้ คือภาพที่จัดแล้ว
อนันต์ – อันนี้คือภาพที่จัดแล้วที่บางแค
จินดารัตน์ – ที่จัดแล้ว แล้วร่มนี้ซื้อกันเองหรือว่า กทม.ออกให้
อนันต์ – เขาซื้อกันเอง
จินดารัตน์ – แล้วก็เป็นสีเดียวกันด้วยเหรอค่ะ
อนันต์ – สีเดียวกัน บางแคเขาร่วมใจกัน ถือว่าโอเค เขาเป็นคนที่ได้สิทธิ์การมใช้ประโยชน์จากทางเท้า อย่างที่ผมเรียนเมื่อสักครู่ว่าไม่มีใครมีสิทธิ์บนทางเท้า คนเหล่านี้พอเขาได้สิทธิ์บนทางเท้า เขาก็คืนส่วนนี้ให้กับสังคมว่า โอเค ความสวยงาม ผมให้นะ ทางเท้าที่ผมเคยเบียดๆอยู่ ผมจะขยายออกให้กว้างนะ
จินดารัตน์ - ให้คนเดินได้ อันนี้ก็มีการทำความสะอาดกันทั้งตลาด
อนันต์ – 1 สัปดาห์ก็จะหยุด 1 วันแล้วก็มาทำความสะอาดกัน
จินดารัตน์ – ก็คือกำหนดไว้ คือวันจันทร์ ถูกไหมค่ะ
อนันต์ – ใช่ครับ เพราะว่าแต่เดิมเนี่ยนะครับ เขาขายกันทุกวัน ทางเท้าชำรุดอะไรก็ตาม เราซ่อมไม่ได้เลย เพราะแม่ค้าอยู่แน่นไปหมดเลย แต่เนี่ยเราก็จะล้าง ตรงไหนพังเราก็จะซ่อม
จินดารัตน์ – นี่ก็คือ การจัดแผงค้าใหม่ คือตีเส้นเหมือนกัน ตีเส้นให้เลยเหรอค่ะ
อนันต์ – ครับ ตีเส้นให้เลย
จินดารัตน์ – แผงหนึ่งไม่เกิน2 ตารางเมตร
อนันต์ – ไม่เกิน 2 ตารางเมตร
จินดารัตน์ – ต้องไม่เกิน 2 ตารางเมตร นะค่ะ
อนันต์ – แล้วก็ทุกจุด เนี่ย ท่านเสรีพิสุทธิ์ ก็ไปตรวจมานะครับ เสร็จแล้วก็มีการประชุมผู้ค้าที่อยู่ในจุดผ่อนผัน ก็จะได้รับการชี้แจงให้เข้าใจแล้วก็ตั้งวาง
จินดารัตน์ – อันนี้คือ ภาพจริงที่เกิดขึ้นที่ตลาดบางแค
อนันต์ – ใช่ ตลาดบางแค
จินดารัตน์ -มีอีกไหมค่ะ ท่านรอง
อนันต์ – ก็เวียนกลับมาตรงนี้ว่า เราก็ใช้วิธีการให้ผู้ค้าไปพิสูจน์ตัวเอง ว่าคุณเป็นคนขายอยู่ตรงนี้จริงๆนะ แต่ที่อยู่ในจุดผ่อนผันเท่านั้นนะ
จินดารัตน์ – ถ้าสมมติอย่างนี้ล่ะค่ะท่านรอง คือคนที่อยู่ในจุดผ่อนผันก็จริง เราเช่าเขามาอีกต่อหนึ่ง แต่ขายกันมาเป็นสิบปีแล้ว พิสูจน์สิทธิ์ตัวเองได้ไหม
อนันต์ – อย่างนี้ต้องไป พิสูจน์สิทธ์อีกรุ่นหนึ่ง รุ่นแรกนี้คือคุณมีพยานบุคคลกับมีใบเสร็จ นะครับ และถ้าคุณไปเช่าเขา คุณต้องมาพิสูจน์เพราะบางทีคนที่เขาติดแผงอยู่นี่ เขาไปจ้างลูกจ้างมาขาย 7-8 คน ก็ให้คนเหล่านี้ไปบอกว่าเป็นคนเช่า ถ้าเราไม่ตรวจสอบให้มันถูกต้อง ก็กลายเป็นว่าเรายอมให้มีมาเฟียกลับมาใหญ่ มาเฟียในทีนี้ไม่ใช่คนที่เป็นหน้ายักษ์หรือเหี้ยมโหด แต่คนที่เขาเอาทางเท้าไปหาประโยชน์ขูดรีด เพราะฉะนั้นทุกคนควรจะมี 1 แผงเท่านั้น นะครับ
จินดารัตน์ – แสดงว่าคนถ้าที่เช่ามาหลายปีดีดัก ยืนขายกันมา ไปเสียค่าเช่าให้เจ้าของแผงก็มีโอกาสที่จะพิสูจน์สิทธิ์เป็นเจ้าของแผงได้
อนันต์ – ถูกต้อง มีพยานบุคคล ก็ไปยืนยัน คนกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้เวลาหน่อย เพราะเราต้องกลั่นกรองว่าคุณเป็นผู้เช่าหรือเป็นลูกจ้าง
จินดารัตน์ – เอาล่ะทีนี้ ท่านรองค่ะ สำหรับบรรดาพ่อค้าทั้งหลาย ที่ขายบน พื้นผิวจราจร ที่ต้องบอกว่าจะต้องยกเลิกไปทั้งหมด
อนันต์ – ถูกต้องครับ
จินดารัตน์ – จะทำอย่างไรกับคนเหล่านี้ค่ะ
อนันต์ – เออ ข้อ 1. ไม่อยู่ในจุดผ่อนผัน เมื่อไม่อยู่ในจุดผ่อนผันตามกฎหมาย เราก็ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ใบอนุญาตที่ว่าคือใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข กฎหมายมันมีชัดเจน อย่างคนที่ขายอาหารบนทางเท้า ถ้าใบอนุญาตสาธารณสุข คุณต้องไปตรวจโรคก่อนนะ ว่าคุณเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ที่จะสัมผัสอาหารได้หรือไม่ได้ นะครับ แล้วจึงจะได้ใบอนุญาตนะครับเพราะฉะนั้นไม่ได้อยู่ในจุดผ่อนผันเราออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ กทม.จะไปบอกว่าคลองถมขายต่อ ตำรวจไม่ให้ก็ไม่ได้ ตำรวจบอกว่าตรงนี้ขายได้ แต่กทม.ไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้
แล้วการเห็นด้วยของทั้งสองฝ่ายอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่อยู่บนพื้นผิวจราจร ทางเท้าต้องไม่แคบ นี้คือสิ่งที่ กทม. ต้องทำ แล้วก็อธิบายให้พวกเราได้เข้าใจกันว่า ทีนี้ บรรดาผู้ที่ค้าขายอยู่แล้ว เราก็ต้องหาทางขยับขยาย เพราะจุดผ่อนผันมันก็บอกอยู่แล้ว คือไม่ใช่จุดถาวร นะครับ แม้เราอนุญาตจุดผ่อนผันในปีนี้ก็ตาม ปีหนึ่งก็ต้องมาต่ออายุครั้งหนึ่ง ถูกยกเลิกวันไหนก็ได้ ถ้ามันพร่องเงื่อนไข ซึ่งอาจจะเกิดความเดือดร้อน
จินดารัตน์ – ก็คือ ถ้าไม่รักษากฎที่ กทม. วางไว้ อย่างเช่นทางเท้าต้องไม่ต่ำกว่า 1 เมตร นะค่ะ แล้วก็ไม่ไปกีดขวาง
อนันต์ – หรือมีความสกปรก รกรุงรัง ไม่รักษาระเบียบ แล้วก็เลอะเทอะไปหมด ขาย 24 ชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้น
จินดารัตน์ - แสดงว่า กทม.มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกได้เหมือนกัน ค่ะ ทีนี้ดิฉันเรียนถามคุณอัศวินในฐานะประธานเขตดุสิต ว่าวันนี้ชาวบ้านที่เขาเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายกันอยู่ริมฟุตบาท บนผิวจราจร เดือด ร้อนเยอะไหมค่ะที่เขตดุสิต
อัศวิน – เยอะพอสมควร หลายจุดมากเลย ถ้าอย่างเช่นในเขตดุสิต ส่วนที่มีปัญหามากที่สุดก็จะมี สวนอ้อย ที่ว่าต้องยกเลิกการขายกัน
จินดารัตน์ –อันนั้นไม่ใช่จุดผ่อนผัน ถูกไหมค่ะ
อัศวิน – อยู่ในจุดผ่อนผัน
อนันต์ – อยู่บนผิวจราจร
อัศวิน – แต่ว่าทางจัดระเบียบยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่างเช่น ในสี่ย่าน บางกระบือ ราชวัตร เป็นจุดที่คณะกรรมการพ่อค้าตั้งขึ้นมาเอง สำรวจกันเอง รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยกันเอง แต่ว่าก็ยังโดนยกเลิกจุดวางขาย จึงมีปัญหาว่า
จินดารัตน์ – เหตุผลคือ อะไรค่ะ
อัศวิน – ถ้าคร่าวๆ ก็คือว่า ตั้งแต่ท่านผู้ว่า อภิรักษ์มีนโยบายว่า 1 ปี จะลดได้ 5 เปอร์เซ็นต์ 10 ปี ก็ 50 เปอร์เซ็นต์ ออกกฎหมายอย่างนี้เพื่อให้บ้านเมืองสวยงาม โดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาของปากท้องของชาวบ้าน
จินดารัตน์ – จริงไหมค่ะ นโยบายนี้จริงไหมค่ะ ท่านรอง
อนันต์ – ไม่จริงครับ มันเป็นอย่างนี้ครับ 10 ปีขึ้นไปไม่ได้ให้เลิกขาย กทม.กับผู้ค้าไปหาที่ด้วยกัน เช่นมีตึกแถวว่างๆตรงนี้นะครับ กทม.อาจะไปช่วยตกแต่งให้ นะครับ ออกค่าสาธารณูปโภคให้ แล้วทำเป็นฟุตคอส ลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่ กทม.คิดเป็นรายแรก สิงคโปร์ ก็ทำ มาเลเซียก็ทำ
จินดารัตน์ – นั้นหมายความว่า ยกเลิกเขา แล้วไปหาที่อยู่ให้เขา
อนันต์ – ให้เขาอยู่เป็นหลักแหล่ง อย่างที่เมื่อสักครู่บอกว่าไม่มีใครอยากขายตรงนี้ตลอดชีวิตหรอก ถ้ามีที่เป็นหลักแหล่งได้ เขาจะไป
จินดารัตน์ – แต่ว่าไอ้ที่หลักแหล่งเนี่ย ดิฉันเข้าใจว่าทุกท่าน คงจะรู้สึกเหมือนกันว่าที่หลักแหล่งเขา เกิด กทม.ไปหาที่แถวมีนบุรี เขาจะขายให้ใครค่ะ
อนันต์ – เมื่อก่อนมันเป็นแบบนี้ กทม.ไปหานะครับ ต่อไปนี้ไม่ใช่ คือเขตกับผู้ค้าเดินไปด้วยกัน แล้วไปดูซิ ว่าตรงไหนเหมาะสม
จินดารัตน์ – อย่างนี้ฟังขั้นไหมค่ะ ได้ไหมค่ะ
อัศวิน – ผมขออนุญาตนะครับ ถ้าพูดกันก็อยากจะปกป้องชื่อเสียงท่านอภิรักษ์ วันนี้ผมขอพูดตรงๆ
อนันต์ – ผมไม่ได้ปกป้อง ผมไม่เกี่ยว
อัศวิน – ประเทศไทยกับต่างประเทศ เช่นสิงคโปร์ ที่ท่านยกตัวอย่าง ประเทศเขาเจริญแล้ว ประชาชนมีเงินพอสมควร ไม่ต้องมาค้าขายเหมือนบ้านเรา ลักษณะประเทศเรายังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ชาวบ้านยังต้องขายของ เขาบอกว่าที่ฝรั่งเศสไม่มีการค้าขายบนถนน แต่บ้านเราไม่เหมือนฝรั่งเศส ถูกไหมครับ เราเห็นช้างขี้อย่าขี้ตามช้าง ผมพูดตรงๆ
จินดารัตน์ – ชาวบ้านยังจนอยู่ ยังขายตามแผงอยู่
อัศวิน – ทีมี ปัญหานั่นก็คือว่า พนักงานเขตดุสิต ผมว่าน่าจะแทบทุกเขต ออกกฎหมายมาว่าห้ามตั้ง ค้าขายหน้าอาคารพาณิชย์ คือจะมีด้านนอกกับด้านใน คือด้านนอกหมายถึงริมถนน ด้านในหมายถึงหน้าร้าน หน้าอาคารพาณิชย์ ตอนนี้ให้ยกเลิกหน้าร้านอย่างเดียว นโยบายของ กทม. เปลี่ยนผู้ว่าทีหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนนโยบายทีหนึ่ง ชาวบ้านทำมาหาเช้ากินค่ำ เขาไม่มีเวลามาตามนโยบายของท่านหรอก
อนันต์ – เดี๋ยวครับ ตรงนี้ก่อน คือคนที่เป็นเจ้าของซึ่งมีที่ขายของตัวเองชัดเจน มีอยู่แล้ว แล้วยังขอทางเท้าข้างหน้า เอาไว้วางของด้วย อย่างนี้ยุติธรรมไหม
จินดารัตน์ – อย่างคุณวัชนี เขาบอกว่าถ้าไม่เอาของของฉันมาวาง ก็มีคนอื่นวาง
อนันต์ – ก็คือ ในแนวตรงนี้ ทุกคนห้ามเอามาใช้เป็นเอกสิทธิ์
จินดารัตน์ – หมายถึงว่าพื้นที่ ที่ติดอาคารพาณิชย์ด้วยใช่ไหมค่ะ
อนันต์ – ครับ ไม่งั้นทุกคนก็ยื่นกันมา แล้วก็บอกว่าทางเท้าหน้าบ้านเป็นของฉัน แต่จริงๆนั้นคือที่สาธารณะ
จินดารัตน์ – ห้าม นี่หมายถึงห้ามเจ้าของตึกหรือว่าห้ามผู้ค้าแผงลอยทุกร้าน
อนันต์ – ห้ามเจ้าของตึกกับผู้ค้าทุกร้าน
จินดารัตน์ – อย่างนี้นะครับ ถ้าสมมติว่าอันนี้เป็นตึกแถว อันนี้เป็นฟุตบาท อันนี้เป็นถนนนะค่ะ ตรงนี้ห้ามเลย ห้ามวาง พื้นที่ตรงนี้
อนันต์ – ถูกต้อง หน้าอาคารพาณิชย์ โดยหลักเพราะท่านมีที่ทางเป็นของตัวเองแล้ว
จินดารัตน์ – คุณวัชนีฟังอย่างนี้พอใจไหมค่ะ
วัชนี – ถ้ามีที่ทางแต่ว่าด้านหน้ามาวางหน้าร้าน
อนันต์ – ด้านหน้าก็ทิ้งไป เพียงแต่ว่าริมถนนผู้ค้าที่ยากจนทั้งหลายเหล่านี้ เราก็จะจัดให้เป็นเวลา ไม่ได้แปลว่าคุณขาย 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด
จินดารัตน์ – เป็นเวลาเนี่ย กี่โมงนะค่ะ
อนันต์ – ก็แล้วแต่เราจะไปจัด บางแห่งก็เป็นตลาดเช้า ก็เริ่มเช้าถึงเที่ยง อย่างนี้เป็นต้น
จินดารัตน์ – หมายถึงว่า ให้แผงลอยวางริมถนนได้
อนันต์ – ซึ่งเรายอมให้คนซึ่งเขามีที่ทางทำมาหากินแล้วเนี่ย มาใช้ทางเท้า บ้านเมืองก็ไม่มีระเบียบวินัย ข้อที่ 2 .ก็คือ นโยบาย 10 ปี ไม่ใช่เราไปขี้ตามช้าง สิงคโปร์เมื่อก่อนเป็นแบบเราเลยนะครับ ขายกันตามถนนเลอะเทอะไปหมด เขาก็คิดว่าคนเหล่านี้ควรจะมีโอกาส ใหม่ๆเขาไม่ได้ไล่นะครับ เขาหาที่ทางให้ เดี่ยวนี้ผมไม่แน่ใจว่าท่านไปดูงานอย่างลึกซึ้งแค่ไหน แต่ผมไปดูลึกมาก ผู้ค้าซึ่งเคยเป็นคนยากจน ในอดีต วันหนึ่งพอทางการเขาจัดเป็นฟุตคอสให้ เดี๋ยวนี้เป็นเถ้าแก่ ไม่ใช่เพราะว่าเมืองเขาเจริญ สิงคโปร์เหมือนเรา
จินดารัตน์ - เขาทำมากันกี่ปีแล้วค่ะท่านรอง
อนันต์ – ทำมา 30 ปีแล้ว
จินดารัตน์ - 30 ปี วันนี้ไม่มีหาบเร่ แผงลอย ริมถนน
อนันต์ – เขาเป็นฟุตคอส แล้วก็เป็นมุมที่ชัดเจน ถูกไหมครับ คือยากให้พี่น้อง เนี่ย มองภาพในอนาคต ไม่งั้นคงอยู่อย่างนี้ไปตลอดชีวิต ถูกไหมครับ ถ้ามีตลาดที่ชัดเจนทุกคนมีสถานที่ที่ชัดเจน ซึ่งวันก่อนที่เราไปพบท่านนายกรัฐมนตรี พณ ท่านบอกว่าเข้าไปดูเลยนะ ถ้าอยากให้หน่วยราชการไหนช่วยเหลือหาที่หาทางให้ จัดเป็นตลาดให้ ทำแผงค้าให้ ถ้า กทม.ทุนไม่พอ เอาเงินรัฐบาลไปทำก็ได้ แล้วก็ให้พ่อค้าผ่อน โดยไม่มีดอกเบี้ย นี่คือเรามองอนาคตให้ใหม่ ท่านอย่าคิดแค่วันต่อวัน อย่าคิดแค่วันต่อวันถูกไหมครับ เพราะว่าท่านขายตั้งแต่ตัวท่าน จนกระทั่งถึงลูก แล้วให้หลานขายต่อบนทางเท้า แล้วดมควันพิษอยู่โดยตลอด เรากำลังหาโอกาสใหม่ๆให้กับท่าน
จินดารัตน์ – แล้วที่ จะถูกยกเลิกล่ะค่ะ
อนันต์ – คือผู้ค้าที่อยู่นอกจุด
จินดารัตน์ – มีกี่ราย
อนันต์ – ตอนนี้กำลังสำรวจ เราก็กำลังพยายามหาวิธีให้ เช่นผู้ค้าคลองถม ท่านก็จะยืนยันอยู่ไม่ได้ว่า ต้องที่นี่เท่านั้น ก็คือไม่ได้นะ เราต้องหาวิธีกันว่า จะเอาตรงไหนกัน เราจะจัดระเบียบกันอย่างไร แล้วที่บอกว่าควบคุมกันเองได้ ตรงนั้น มีคนเดือดร้อน มีคนร้องเรียนไหม ท่านต้องยอมรับตรงๆ เขาเข้าบ้านไม่ได้ เสียงดัง เพราะผู้ค้ามันหลายพ่อพันแม่ บางคนเคารพคนอื่น บางคนก็ไม่เคารพคนอื่น
จินดารัตน์- แล้วจะต้องถูกยกเลิกทั้งหมดกี่รายในกรุงเทพ
อนันต์ – ก็ประมาณ 6,000-7,000
จินดารัตน์ – ตอนนี้เตรียมพื้นที่ให้เขาขาย พร้อมหรือยังค่ะ
อนันต์ – หลายเขต เรามีพื้นที่ที่เป็นตลาดของเอกชน ให้เข้าไปช่วย เราก็หาพื้นที่ตลาดเอกชนให้เขา ในวันที่ 1-3 กรกฎาคม เราก็ไปร่วมกับแผงค้าของสำนักงานตลาด ของ กทม. ซึ่งเป็นตลาดดัง เช่น สนามหลวง 2 ซึ่งตลาดนี้ถ้าไปดูจะแน่นมาก มี 1,000 แผง นะครับ ตลาดสุคนธ์สวัสดิ์ตรงลาดพร้าว ตลาดกรุงธน ตลาดอะไรต่างๆประมาณ 6,000 กว่าแผง เรามาวางไว้ที่ศูนย์ไทยญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้ค้าซึ่งไม่มีที่ขาย ไปเลือกกัน ไปช้อปปิ้ง ไปคุยกับเขา ซึ่งมันจะเป็นหลักแหล่งที่ถาวรแน่นอน
จินดารัตน์ – มีกี่แผงที่เตรียมเอาไว้
อนันต์ – เตรียมไว้ 7,000 แผง
จินดารัตน์ – เชิญค่ะ คุณสมเจตน์
สมเจตน์ – ผมก็เคารพท่านปลัด แต่ว่าถ้า ณ วันนี้ ไอ้ที่ท่านบอกว่า 6,000 กว่าแผง เช่นสนามหลวง 2 ตั้งแต่เมื่อก่อนครั้งแรกที่คลองถม ทุกจุด มันมีที่ว่าง แต่เขาจะไปกระจายทุกจุด ถามว่าถ้าไปขายแล้วมีคนซื้อ อย่างสนามหลวง 2 ที่ท่านพูด ที่คนคลองถมไป วันๆหนึ่งเขาขายได้เท่าไหร่ เขาอยากจะกลับมาขายที่คลองถม
อนันต์ – เราต้องอดทน
อัศวิน – เราเคยให้ความร่วมมือกับทางการมาทีหนึ่งแล้ว ทางสี่ย่าน ราชวัตร บางกระบือ เทเวศร์ ค้าขายกันมา 20-30 ปี หน้าร้านของตัวเอง ขายมาตลอด แต่ว่ามีกรณีตัวอย่างว่า เมื่อปีที่แล้ว เคยออกประกาศอย่างนี้มาทีหนึ่ง พอออกประกาศอย่างนี้มาทีหนึ่ง เราทุกคนให้ความร่วมมือกับทางการยกเลิกขายหน้าร้าน ช่วงนั้นเข้มงวดมาก ไม่เป็นไร เราก็ให้ความร่วมมือ ว่าการร่วมมือของเรา ทุกครั้งที่เราให้ความร่วมมือกับทางการ เจ็บปวดกับการร่วมมือกับทางการ ทุกครั้ง เพราะว่าอีก5-6 เดือน ท่านจะผ่อนผัน แล้วให้ผู้ค้าจากไหน ไม่รู้มาตั้งแผงไว้หน้าบ้านเรา
อย่างผมร้านขายอาหารอยู่ดีๆ เอ เขาบอกให้เลิกขาย ผมก็ร่นเข้าไปในบ้าน พอ 5-6 เดือน บอกว่ามีนโยบายผ่อนผัน ก็เอาผู้ค้ามาขายชุดชั้นใน มาตั้งหน้าบ้านผม แล้วมีใบผู้ค้าอะไรเรียบร้อย ไม่รู้ว่าไปแอบตกลง หรือไปได้ใบมายังไง ผมทุกวันนี้ จึงต้องไปเรียกร้องสิทธิ์ว่า ท่านบอกมาให้ขาย แล้วผู้ค้าต่างจัดหวัด มาขายได้อย่างไร เราเคยให้ความร่วมมือไปแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ คราวนี้ก็เกิดมาเข้มงวดกวดขันอีกครั้งหนึ่ง แล้วอีก 5-6 เดือน ไม่ทราบว่าจะผ่อนผันอีกครั้งหรือเปล่า เราเคยมีบทเรียนนะครับ
จินดารัตน์ – อย่างไงค่ะ ท่านรอง
อนันต์ – คืออย่างนี้นะครับ ว่าจุดผ่อนมันไม่ใช่อยู่ๆเราไปจับต้องได้ เมื่อก่อนใช้ พรบ.รักษาความสะอาดใครทำอะไรก็ได้ แต่พอเราเปลี่ยนกฎหมายมาใช้ พรบ.สาธารณะสุข ต้องได้รับความเห็นชอบเท่านั้น ถึงจะเป็นจุดผ่อนผันได้ ข้อที่2. เรามีการพิสูจน์สิทธิ์รายชื่อผู้ค้าทุกคนที่อยู่ในจุดผ่อนผัน จะถูกบันทึกไว้ในแผนที่ จีไอเอส แล้วเราก็เอาแผนที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดหนึ่ง ไว้ สน.ชุดหนึ่ง ให้เราชุดหนึ่ง ทุกคนสามารถไปดูได้ นะครับ ว่ามีใครเกินเข้ามาตรงไหนบ้าง ดำเนินการได้เลย เพราะฉะนั้น 4 ปี ในอนาคตจะไม่สามารจะไปกำหนดว่าตรงนี้ใครมาขายก็ได้ เพิ่มขึ้นได้ไม่ได้ เพราะมันจะมีทะเบียนอยู่ที่คุฯ อันนี้ต่างกับเมื่อก่อน เมื่อก่อนทะเบียนอยู่ที่เขต ทำอยู่คนเดียวไม่ให้ใครรู้ไม่ให้ใครเห็น
จินดารัตน์ – ทุกจุด เกือบ 700 จุด ก็จะมาอยู่ที่ กทม.
อนันต์ – อยู่ที่ กทม. 1 แผ่น อยู่ที่ สน. 1 แผ่น อยู่ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 แผ่น แล้วใครมาขอดูก็ได้ว่า ร้านค้าแถวนี้มีชื่อใครบ้าง
จินดารัตน์ – ท่านรองค่ะ อย่างกรณีที่คุณอัศวินบอกว่า อย่างตึกแถว เคยห้าม เคยขอร้อง ขอความร่วมมือว่าไม่ให้วางขายหน้าตึกแถว กลายเป็นจุดผ่อนผัน แบบนี้เหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกไหมค่ะ
อนันต์ – ไม่เคยเป็นจุดผ่อนผัน อย่างที่พูดเมื่อสักครู่ ว่าถึงตอนหนึ่ง ใครจะขายก็ขายไปเถอะ ก็ขายกันไปใหญ่ แต่ไม่ใช่จุดผ่อนผัน คราวนี้ผมเรียนว่าจุดผ่อนผันกำหนดได้โดยข้อตกลง 2 หน่วยภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่อยู่บนผิวจราจร และทางเท้าต้องไม่แคบจนไม่มีทางเดิน แล้วต้องไม่ตั้งวาง 2 แถว ต้องวางเฉพาะแถวนอกเท่านั้น
จินดารัตน์ –ช่วงนี้ไปพักกันสักครู่
จินดารัตน์ – กลับมาช่วงสุดท้ายของรายการคนในข่าว วันนี้เราคุยกันถึงเรื่องการค้าขายปากท้องของพ่อค้าแม่ค้าที่กำลังถูก กทม.จัดระเบียบกันใหม่ นั้นคือเสียงของคนเดินถนนที่เราไปเก็บภาพกันมาวันนี้ เสียงส่วนใหญ่ก็บอกว่าเกะกะไปหน่อย บางทีเขาก็ต้องเสี่ยงไปเดินบนถนนเอง แต่ก็เห็นใจ บางคนก็บอกว่าเห็นใจเหมือนกันคนทำมาค้าขาย ดิฉันถามความรู้สึกของป้าบุญเรือน ฟังคนเดินถนนแบบนี้แล้วคิดอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – ก็เห็นใจคนเดินเหมือนกัน บางทีก็ไม่มีทางเดิน ไปชนเขาบ้าง เขาก็ด่า
จินดารัตน์ – ก็เห็นใจเขาเหมือนกัน
บุญเรือน – แต่ถ้า ปล่อยไม่ให้เขาขายเลยก็เห็นใจเขา จะเอาที่ไหนกิน น่าจะผ่อนผันเป็นบางจุด อย่าไปเข้มงวดมาก
จินดารัตน์ – คุณทวีละค่ะ คิดอย่างไรค่ะ
ทวี – ผมคิดว่าน่าจะมองดูแยกประเภทของการค้า อย่างผมเดือดร้อนตลาดนัด เพราะขายแค่ 2 วัน
จินดารัตน์ – ถ้าจัดตลาดนัดให้ใหม่ ดีไหมค่ะ
ทวี – ยอมรับได้ครับ แต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน
จินดารัตน์ – ถ้า กทม. และคลองถมจับมือกัน ไปหาที่ เอาล่ะ ที่นี้ขายได้ ให้ขายได้ เสาร์อาทิตย์พอใจไหมค่ะ ดิฉันขออนุญาตเวลาเหลือน้อยจริงๆ หลักเกณฑ์วันที่ 1-3 คืออะไรอย่างไร คนที่โดนยกเลิก เตรียมตัวกันอย่างไร ไปจองกันอย่างไร
อนันต์ – ไปขอใบรับรองที่ศูนย์ไทยญี่ปุ่น
จินดารัตน์ – ไปขอใบรับรองจากเขตว่าเป็นผู้ค้า ไปวันนี้เสร็จวันนี้ไหมค่ะ
อนันต์ – เสร็จเลย
จินดารัตน์ – ได้เลยนะค่ะ รับปากว่าถ้าพ่อค้าแม่ค้า เขาไปได้รับการบริการ
อนันต์ – ใช่ครับ ไปดูว่าเราจะเอาแผงที่ไหน ไม่ได้บังคับด้วยนะคือไม่ได้ก็ไม่เอา แล้วท่านก็มาคุยกันในส่วนของท่าน ว่าจะอยู่กันอย่างไร
จินดารัตน์ – วันที่ 1-3 ถูกไหมค่ะ
อนันต์ - ใช่ครับ
จินดารัตน์ – เอาใบรับรองจากเขตไปจองกัน แล้วถ้าหากไปไม่ทัน แล้วมีความรู้สึกว่ามันไม่น่าจะเป็นที่ที่ขายได้ ทำอย่างไรค่ะ
อนันต์ – เดี๋ยววันที่ 3 มาคุยกัน เพราะเรายังคาดการณ์ไม่ได้ จริงๆแล้วไปอาจจะถูกใจก็ได้ คือเราคิดไปก่อนในอนาคตว่า ไม่ไป ให้ไปไหนก็ไม่ไป ที่ไหนก็ไม่ได้ ขออยู่ที่เดิม อย่างนี้ก็ปิดกั้นตัวเองถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นต้องลองไปดูก่อนวันที่ 1 อาจจะพอใจก็ได้ ถ้าไม่พอใจเดี๋ยวมาคุยกันว่าเรามีวิธีไหน ผมว่าสังคมเราคุยกันได้ครับ คือมันไม่ต้องมาเผชิญหน้ากันแล้วไม่ถูกใจ
จินดารัตน์ -ขออนุญาตค่ะ เวลาหมดแล้วจริงๆ เอาล่ะค่ะขอบพระคุณทุกท่าน วันนี้ลาคุณผู้ชมไปก่อน สวัสดีค่ะ
รายการคนในข่าว ออกอากาศทาง News 1 เวลา 21.05-22.00 น. ดำเนินรายการโดย จินดารัตน์ เจริญชัยชนะ
จินดารัตน์ – สวัสดีคุณผู้ชมค่ะ รายการคนในข่าวค่ะ ภาพที่คุณผู้ชมได้เห็นไปเมื่อสักครู่ นี้นะค่ะ อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ไปแล้วสำหรับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ทำมาค้าขายหาเช้ากินค่ำ ที่จะต้องหาเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว วันนี้ ที่บอกว่ามีปัญหาเพราะทางกรุงเทพมหานครนั้น จะมีการจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย กันใหม่อีกครั้งหนึ่ง คุณผู้ชมยังจำกันได้เมื่อย้อนกลับไปเมื่อสมัย พลตรี จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มีคำสั่งให้มีการจัดระเบียบก็คือ ทุกวันพุธนั้นให้มีการหยุดขาย บนทางเท้า คงจะยังจำกันได้นะค่ะ
ต่อมาเนิ่นนานจนมาถึง ดร.พิจิตร ก็ยังทำกันอยู่จนกระทั่งมาถึง คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศยกเลิกการจัดระเบียบดังกล่าว ก็คือ ใครใคร่ค้าก็ค้า ใครใคร่ขายก็ขาย ปรากฏว่า 7 วัน ใน 1 สัปดาห์นั้น ใครจะขายตรงไหนก็ขายได้ ใครจะขายกันกี่วันก็ขายได้ เลยกลายว่าตอนนี้เป็นปัญหาอย่างมาก เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าปัญหาของฝ่ายหนึ่ง เราอาจจะฟังมาไม่ครบถ้วน แต่ปัญหาหน่วยงานราชการอีกฝั่งหนึ่ง ทางพ่อค้า แม่ค้าอาจจะฟังไม่ครบถ้วน ตอนนี้เกิดกระแสขึ้นมา บางคนอาจจะมีความเข้าใจว่า กรุงเทพมหานครจะห้ามขายบนทางเท้า ตลอดทั้ง 7 วัน
แต่จริงๆแล้ว เหตุผลคนใด ความจริงเป็นอย่างไร และทางฝั่งคนทำมาค้าขายคิดอย่างไร จะเอาที่ไหนมากินกัน แล้วถ้าจัดที่ให้ใหม่จะขายได้หรือไม่ เงินที่ได้มาแต่ละวันกับที่ใหม่จะเพียงพอหรือไม่ จะประเมินกันอย่างไร การจัดระเบียบที่กรุงเทพมหานครบอกว่าจะแก้ปัญหาได้ ให้กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่ขึ้นมา จากการจัดระเบียบที่ว่านี้ โดยเฉพาะคนเดินถนน คนเดินเท้าก็บอกว่า เอาล่ะขอคืนทางเท้าให้กับคนเดินถนนบ้าง อันนี้ก็เป็นเหตุผลของแต่ละฝ่าย
วันนี้เราจะมาฟังกันนะค่ะ กับ 2 ฝ่ายด้วยกัน หน่วยงานของราชการของกรุงเทพมหานคร รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่เราเชิญมาหลายสิบชีวิต ค่ะ แต่ที่เป็นตัวแทนที่เราเชิญมาคุยกันบนโต๊ะนี้คือ 5 ท่านด้วยกัน ท่านแรก อัศวิน ต้นวีรพงศ์ศิริ เป็นรองประธานสภาเขตดุสิต คุณอัศวินนั้นคลุกคลีอยู่กับพ่อค้าแม่ค้า เขตดุสิตนั้นมายาวนาน ก็จะรู้ว่าปัญหาของพวกเขานั้นคืออะไรกันแน่ นะค่ะ ท่านต่อมาคุณวัชนี ทวีกิจอุดมเป็นเจ้าของร้านนครชัย จำหน่ายรองเท้า บริเวณสี่ย่าน ท่านต่อมา คุณทวี งามทวี เจ้าของแผงอุปกรณ์ซ่อมแซมย่านคลองถม
แล้วอีกท่านหนึ่งสมเจตน์น์ ธนนชัย ค้าของเก่าย่านคลองถมเช่นเดียวกัน ท่านสุดท้ายที่เป็นตัวแทนพ่อค้าแม่ค้า เป็นแม่ค้าขายผัดไทอยู่ย่านบางลำพู ขายมายาวนานหลายสิบปี คุณป้าบุญเรือน สมวัด และด้านหลังดิฉันเป็นตัวแทนพ่อค้าแม่ค้าที่มาจากย่านหลายชุมชนด้วยกัน และที่ขาดไม่ได้ก็ก็คือตัวแทนของกรุงเทพมหานคร จะมาชี้แจง ท่านรองปลัดกรุงเทพมหานคร คุณอนันตศิริ พัชราภรณ์ค่ะ
สวัสดีค่ะท่านรองค่ะ สวัสดีค่ะ ลุงป้าน้าอา ขอบพระคุณค่ะ ที่วันนี้เรามาคุยกันเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนกันว่า ตกลงความเข้าใจอีกฝั่งหนึ่งเข้าใจตรงไหม ทางกทม. แก้ปัญหาได้ตรงใจ ทำได้หรือไม่ เราจะเดือดร้อนแค่ไหน อยากจะเรียกร้องอะไร วันนี้เราจะคุยกันให้จบภายใน 1 ชั่วโมงในรายการของเรานะค่ะ คุณผู้ชมทางบ้านถ้ามีความคิดเห็นอย่างไร และจะฝากคำถาม ทั้งที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า และคนเดินถนน อะไรก็แล้วแต่ โทรศัพท์เข้ามาได้ที่ 02-629-4433 ดิฉันจะเริ่มจากคุณวัชนีก่อน คุณวัชนีนั้น เป็นเจ้าของร้าน ความเข้าใจก่อนว่า คำสั่งของหน่วยงานราชการกทม.ออกมารู้มาว่าอย่างไรบ้างค่ะ
วัชนี – รู้มาว่าข้างในขายไม่ได้ เขาบอกว่าข้างนอกขายได้
จินดารัตน์ – ข้างในกับข้างนอกมันเป็นอย่างไรค่ะ
วัชนี – คือข้างนอกมันจะมีร้านค้าแบบผ่อนผัน แต่ดิฉันเป็นเจ้าของร้าน คือดิฉันก็เอามาตั้งขายหน้าร้าน ทีนี้เขาบอกว่าข้างในต่อไป จะไม่ให้ขายให้เก็บเข้าไปข้างใน ไม่ให้ยื่นออกมาด้านหน้าบ้าน
จินดารัตน์ – ห้ามนำสินค้าออกมาวางโดยเด็ดขาด ถูกไหมค่ะ คือได้ยินมาแบบนี้
วัชนี – ใช่ค่ะ แล้วเขาก็แจกใบมาให้ด้วย ถ้าว่าตั้ง เขาจะปรับ เรา 2,000 บาทต่อไป เพราะเขายื่นใบมาให้แล้ว
จินดารัตน์ – ก็คือร้านของคุณพี่รัชนีเป็นร้านเป็นตึกแถวติดถนนใหญ่ แล้วมีฟุตบาทออกมาด้านนอก ถูกไหมค่ะ
วัชนี – ใช่ค่ะ
จินดารัตน์ - และด้านนอกก็จะมีหาบเร่แผงลอย คือตั้งวางขายเรียงรายกันอยู่ หน้าร้านเรา เราก็เอาของของเรามาตั้ง
วัชนี – ใช่ค่ะ
จินดารัตน์ – แต่ถ้าคิดว่าถ้าเก็บกลับเข้าไปในร้าน จะมีคนมาตั้งหน้าร้าน
วัชนี – ถ้าเราไม่ตั้งหน้าร้าน คนอื่นเขาจะมาตั้งหน้าร้านเรา ข้างหน้าก็บังหน้าร้านเราแล้ว ข้างในถ้าเราไม่ตั้งเองคนอื่นก็มาตั้ง แล้วเรามีสิทธิ์ไหมค่ะ เพราะเรามีร้านตัวเอง แล้วก็เสียภาษีถูกต้องทุกอย่าง แล้วทีนี้ทาง กทม.มาจัดระเบียบแบบนี้ เราก็ไม่พอใจเหมือนกันนะค่ะ เพราะว่าทุกคนก็แบบว่าต้องทำมาหากิน
จินดารัตน์ – อันนี้เป็นส่วนของตึกแถวนะค่ะ เป็นเจ้าของร้านนะค่ะ แล้วคุณทวี ขายอยู่คลองถม ขายมากี่ปีแล้วค่ะ
ทวี – 25 ปี
จินดารัตน์ – ขายอะไรบ้างค่ะ ที่คลองถม
ทวี – พวกอุปกรณ์ของใช้ พวกถัง ของใช้ เครื่องมือเกษตร
จินดารัตน์ – เครื่องมือซ่อมแซมเกษตร อะไรทุกอย่าง
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ขายลักษณะแบบไหน เป็นแผลลอย หรือเป็นร้าน
ทวี – เป็นแผง
จินดารัตน์ – ตั้งแผงทุกเช้า
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ขายกี่โมง-ถึงกี่โมงค่ะ
ทวี – ผมขายวันเสาร์-วันอาทิตย์ มันเป็นตลาดนัด
จินดารัตน์ – กี่โมงค่ะ
ทวี – ตอนประมาณ 5 โมงเย็น ถึง ประมาณสัก 5 ทุ่ม
จินดารัตน์ – 5 โมงเย็น ถึง 5 ทุ่ม
ทวี – ครับ แล้ววันอาทิตย์ จะขายตอน 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น
จินดารัตน์ – ก็คือวันเสาร์จะขายกลางคืน วันอาทิตย์จะขายตอนเช้า แผงเดิมจุดเดิม
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ทุกคนในตลาดนัด คือเข้าใจตรงกันก็จะขายลักษณะเดียวกัน นะค่ะ ได้ยินทางคำสั่งของกรุงเทพมหานครว่าอย่างไรบ้าง
ทวี – ต้องทำความเข้าใจนิดหนึ่ง ครับ มันเป็นคำสั่งของทาง สน. ของจุดผมเป็นจุดบนถนน
จินดารัตน์ – คือขายกันมาอย่างนี้ 20 กว่าปีแล้ว
ทวี – ครับผม
จินดารัตน์ – ในยุคของท่านผู้ว่าจำลองที่บอกว่าห้ามขายวันพุธ ก็คือวันพุธ
ทวี – เราไม่เกี่ยว
จินดารัตน์ – ไม่เกี่ยวอยู่แล้ว เพราะขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ แต่เสาร์ อาทิตย์ก็ตั้งแบบนี้กันมา แล้วก็บนพื้นผิวจราจรเหรอค่ะ
ทวี – ใช่ครับ ข้างล่าง ต่อจากฟุตบาท เขาจัดเป็นตลาดนัด พูดง่ายๆ เราขายกันเป็นวิถีชีวิตของพ่อค้าแม่ค้า ความจริงมันมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ที่คลองถม แล้วปัจจุบันนี้ ก็มาถึงรุ่นเรา แล้วตอนนี้ผมก็ให้ลูกมาช่วยขาย
จินดารัตน์ – แสดงว่าเส้นที่เราขายกันวันเสาร์อาทิตย์ ก็คือปิดถูกไหมค่ะ
ทวี – ครับ
จินดารัตน์ – ปิดการจราจรเลยเส้นนั้น
ทวี – การจราจรปิดด้วย แต่มันมีเส้นบาทวิถีด้านสิงห์ธรรมมาธิราช ก็มีทางรถเข้าได้ แต่ว่าคนมันเยอะก็เข้าไม่ได้ ร้านก็เปิดช่องรถเข้าได้นะครับ
จินดารัตน์ – นั่นหมายถึงว่าคุณทวีขายอยู่บนพื้นผิวจราจร บนฟุตบาทบนทางเท้าก็มีแผง
ทวี – ก็มี
จินดารัตน์ – ส่วนใหญ่ก็จะซ้อนๆกันมาก็เต็มถนน เต็มฟุตบาท เต็มทางเท้า อันนี้เป็นการจัดการของทางการเหรอค่ะ
ทวี – ทางการเขาจัดเป็นช่องแบ่งคือว่า จุดผ่อนผัน คือว่าตีช่อง เรามีการยื้อสถานการณ์ผ่อนผัน
จินดารัตน์ – แต่ว่าเคย มีปัญหาว่าอยากจะให้หยุด
ทวี – ให้เลิก ขอร้อง
จินดารัตน์ – แต่จะมีที่จุดผ่อนผันให้
ทวี – จุดผ่อนผันที่จัดเป็นตารางตีเส้นให้
จินดารัตน์ – แล้วค่าใช้จ่ายค่าเช่าอย่างไรค่ะ
ทวี – ทางการเขามีการจัดเก็บย้อนหลัง มีออกให้ มีรายเดือน
จินดารัตน์ – เดือนละเท่าไหร่ค่ะ
ทวี – เดือนละ 100 บาท
จินดารัตน์ – 100 บาทต่อเดือน
ทวี – ค่าเก็บขยะ และค่าทำความสะอาด
จินดารัตน์ – แสดงว่า ค่าเช่าไม่เสียนะค่ะ อย่างนี้ก็ไม่เสียค่าเช่า ก็คือแผงใครก็ขนาดเท่าๆกันหมด
ทวี – มีตีเส้น ส่วนหนึ่งที่เราอยู่ด้านนอก ไอ้ด้านข้างก็มี บนฟุตบอลก็มี
จินดารัตน์ – เมื่อสักครู่ดิฉันได้ยินบอกว่าข้างนอกไม่เช่า
ทวี – แล้วแต่ใครจะใช้พื้นที่ เพราะจริงๆพวกเครื่องขายเครื่องเหล็ก พื้นที่เป็น 10ๆเมตร
จินดารัตน์ – แล้วแต่การจับจองเหรอค่ะ
ทวี – ครับ ลักษณะนั้น
จินดารัตน์- แล้วขายกันมาตั้งรุ่นพ่อ ตอนนี้รุ่นลูกแล้ว มาช่วยดูแลกิจการ คุณทวีได้ยินมาว่าอย่างไรค่ะ
ทวี – ทาง สน.มาแจกใบปลิวเล็กๆ เหมือนกับลักษณะที่เราไม่เชื่อ เพราะไม่มีตราครุฑ
จินดารัตน์ – เป็นกระดาษพิมพ์เปล่าๆ
ทวี – ครับ แล้วเล็กๆด้วยนะครับ
จินดารัตน์ – มีตัวอย่างไหมค่ะ ดิฉันขอดูนิดหนึ่ง
ทวี – ขนาดนี้นะครับ แล้วครั้งที่สองมาขนาดนี้
จินดารัตน์ – ครึ่งหน้า ครั้งแรกว่าอย่างไรค่ะ
ทวี - คือไม่ให้ขาย ในวันที่ 25 ที่จะถึงนี้ เราก็ไปขอร้อง เดินไปขอร้องกัน มีการขอให้เราได้มีการระบายสินค้า ให้เราได้มีโอกาสในการช่วยเหลือตัวเอง
จินดารัตน์ – ในกระดาษที่ส่งมาให้มีบอกไหมค่ะ เหตุผล
ทวี – ไม่มีครับ ไม่เคยมีการทำการค้ามาก่อน เขาบอกว่าอย่างนี้ ว่าจุดนี้ไม่เคยมีการทำการค้ามาก่อน ไม่อนุญาตให้จำหน่าย
จินดารัตน์ - ตั้งแต่วันที่ 25 ที่ผ่านมา เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นต้นไป ใช้คำว่าตั้งแต่เป็นต้นไป แต่ไม่ได้บอกว่าถึงเมื่อไหร่
ทวี – มาขอร้อง เดินนำผู้คนมาที่ทำเนียบ หวังว่าได้พบกับท่าน รองจเร**แล้วก็มีการชี้แจง มีการผ่อนผัน ให้แค่เดือนเดียว กำหนดจะหมดในวันที่ 23 ที่จะถึงนี้ ตอนนี้เราก็มีการเรียกร้องให้กลุ่มคนเข้าไปขอร้อง
จินดารัตน์ – แล้วเขาให้วันที่ 23 เดือน
ทวี – เดือนกรกฎา
จินดารัตน์ – ก็คือผ่อนผันให้ 1 เดือน ได้มีการระบายสินค้า ไดมีการเตรียมตัวกัน
ทวี – เขาว่าอย่างนั้น
จินดารัตน์ – เขาบอกไหมค่ะ ว่าทำไม ต้องให้ระงับการขาย
ทวี – บอกครับ ตอนที่เราไปประชุมกัน เขาบอกว่าตรงนั้นเป็นผิวจราจร ผมก็แย้งไปว่ามันเป็นสิ่งที่ทางการได้ให้การค้าขายมาโดยตลอด แล้วก็เราทำการค้าในลักษณะนี้ มันเป็นวิถีชีวิตของพวกค้าของเก่า ได้อธิบายถึงลักษณะการค้าของเก่า เพราะฉะนั้น ไม่เหมือนกับการค้าธรรมดา ผมอธิบายกับคำว่าคลองถม คือการซื้อมาขายไป คลองถมเป็นลักษณะไปหาของ 3-4 วัน แล้วเอามาซ่อม แล้วเอามาขาย 2 วัน แล้วไม่เข้าใจว่าเราไม่ได้ขาย 2 วันนี้ ขายอย่างอื่นได้ ในลักษณะ มันไม่ใช่ลักษณะของคลองถม
จินดารัตน์ - ส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น
ทวี – ส่วนใหญ่ เป็นแบบนั้นคลองถม
จินดารัตน์ – คุณสมเจตน์ก็อยู่คลองถมเหมือนกัน
สมเจตน์ – ผมอยู่คนละซอย ผมอยู่บนถนน ตรงร้านสุขุม
จินดารัตน์ – ก็คือ บนพื้นผิวการจราจรเช่นเดียวกัน
สมเจตน์ – ผมอธิบายเสริม จากคุณทวีนิดหนึ่ง การที่ว่าไปอยู่ผิวจราจร คือว่าตอนนั้นที่ให้ยกเลิกขาย แล้วก็ตีเส้นสีเหลือง บนผิวจราจร นี่คือความ ตอนนั้นผมเคยขอร้องว่าท่านตีเส้นแล้ว ท่านจะควบคุมได้ไหม และเขาก็ไม่ยอม ก็ตีเส้นสีเหลือง ทุกถนน
จินดารัตน์ – เพื่ออะไรค่ะ
สมเจตน์ – เพื่อให้คนมีที่ค้าขาย เป็นระเบียบ
จินดารัตน์ – ก็เลย จัดระเบียบเลย
สมเจตน์ – เขาก็ไปขออนุญาตที่ สน. สน.เขาก็อนุญาต เขาก็ Co กันแล้ว การที่ว่าไปขายบนถนน ทีนี้พอมีแผงอยู่บนฟุตบาท 2 ข้าง แถวกลางยังมีมาตั้งกันอีก พอตั้งเข้าๆ มันก็แออัด ทั้ง 2 ข้าง คนเดินไม่ได้ คราวนี้จะโทษพ่อค้าใช่ไหม ผมว่าโทษพ่อค้าทีเดียวก็ไม่ใช่ ผมว่าต้องโทษทางการด้วย กรุงเทพมหานครก่อนที่คุณจะตี คุณมาปรึกษาพวกเราหรือเปล่าเลย
เหมือนเช่นทุกวันนี้คุณลงมาปั๊บ คุณบอกว่าหยุดขายนะ วันที่ 1 จับผิวจราจร อย่าง สน.พลับพลาไชย บอก 25 คุณเลิกขายนะ จุดนี้ไม่ใช่จุดผ่อนผัน ใครขายจับปรับ เตรียมรถไว้ขัง จับคนอย่างเดียว ของไม่เกี่ยว ผมถามว่าคุณรังแกจิตใจประชาชน คุณเห็นพ่อค้าเป็นอะไร ทุกวันนี้ถ้าหากว่าก่อนที่คุณจะมาทำ คุณเคยมาถามไหมว่า บ้านคุณขายอะไรอยู่ที่ไหน
จินดารัตน์ – คุณสมเจตน์อย่างนี้นะค่ะ คือดิฉันจะเรียนถามก่อนว่าได้ยินมาว่า ทางการจะทำอะไรบ้าง
สมเจตน์ - ไม่ใช่ได้ยิน มีใบปลิวแผ่นเล็กๆ จากสน. พลับพลาไชย แต่เมื่อวานบังเอิญผมเจอ ผู้กำกับที่ทำเนียบด้วย ผมถามว่า ทำไมใบปลิวไม่มีตราครุฑ ไม่มีลายเซ็น ก็บอกแจ้งให้ทราบ ผมเลยบอกว่าจดหมายจากทางราชการต้องมีตราครุฑ ลายเซ็นใช่ไหมครับ แล้วเวลาเรียกผมไปสอบ เคยเรียกผมไปสอบที่นั่น ใช้ตราครุฑ แล้วก็ลายเซ็น ถ้าผมไม่ไปก็ถือเป็นความผิด แล้ววันนี้ให้ผมเลิกขาย ประชาเป็นหมื่น แต่คุณใช้ใบปลิว แล้วพวกผมทุกคน เอ๊ะ นี้มันใบปลิวจริงหรือเปล่า แต่ผมให้ท่านดูว่าไม่มีลายเซ็น ทุกคนก็บอก
จินดารัตน์ – แต่ทางผู้กำกับก็ยอมรับว่าใช่
สมเจตน์ – ใช่ แต่แจ้งให้ทราบเฉยๆ แล้วพวกผมทำอย่างไร แต่ละคนเป็นไก่ตาแตกหมดเลย ทุกคนมาบอกว่าไม่ให้ขาย แต่ละคนช็อกไปเลยคนแก่ เขาขายอยู่ตรงนั้น
จินดารัตน์ – รู้ใช่ไหมค่ะว่าทำไม
สมเจตน์ – การผิวจราจรไงครับ แต่วันนี้ กทม. มาอย่างไรครับ ออกมาอีกระเบียบหนึ่ง ตอนผิวฟุตบาท กทม. ออกอีกใบหนึ่ง สน.พลับพลาไชยออกอีกใบหนึ่ง บนผิวจราจร มันก็หมดเลย เหมือนกับปิดประตูตีแมว
จินดารัตน์ – ขออนุญาต นะค่ะ ลุงป้าน้าอา ที่นั่งอยู่ด้านหลังใครอยู่คลองถมบ้างค่ะ ได้รับหนังสือจาก กทม. คือได้รับใบปลิวเล็กเหมือนกันหมด แล้ววันนี้ได้รับจดหมายทางกทม หรือยัง ได้กันหมดแล้วนะค่ะ เอาแล้วค่ะ มาทางคุณป้าบุญเรือน ขายอยู่บนถนนพระอาทิตย์ ได้ยินมาก่อนหน้านี้ว่าอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – ก็ได้ยินว่า วันที่ 1 ไม่ให้ขายแล้ว ตลอดทั้งแนว ตั้งแต่ถนนพระอาทิตย์ ไปจนถึงบางลำพู
จินดารัตน์ – ใครเป็นคนมาบอก
บุญเรือน – เทศกิจมาบอก
จินดารัตน์ – บอกว่าอย่างไรนะค่ะ
บุญเรือน – ห้ามเลยตั้งวันที่ 1 ทุกวัน
จินดารัตน์ – เขาบอกว่าทุกวัน แล้วคุณป้าบอกต่อไหมค่ะ ว่าฉันจะไปทำอะไรกิน
บุญเรือน – เขาบอกว่าไม่รู้ คำสั่งบอกมาว่าไม่ให้ขาย แล้วเวลามันเก็บเงินมันเก็บได้ แต่เวลานี้มันบอกมันไม่รู้ บอกไม่รู้ก็ไม่รู้ เขาบอกอย่างนี้
จินดารัตน์ - เสียค่าเช่าอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – เขามาเก็บ เขาบอกว่าค่าปรับ 200 เขาบอกค่าปรับนะป้า 200
จินดารัตน์ – 200 ต่อเดือน
บุญเรือน – 200 ต่อเดือน
จินดารัตน์ – เขาบอกค่าปรับเหรอค่ะ แล้วคุณป้ารู้ไหมค่ะ ว่าค่าปรับอะไร
บุญเรือน – ไม่ทราบ มันบอกค่าปรับ
จินดารัตน์ – พอถามไปก็ไม่ได้คำตอบ
บุญเรือน – ก็ถามเขาว่าถ้าป้าเสียอย่างนี้ จะมีสิทธิ์ได้ขายไหม เขาบอกทีนี้ไม่ใช่จุดผ่อนผัน เขาไม่ให้ป้าขาย ป้าก็ขายไม่ได้
จินดารัตน์ – ที่ป้าขายได้เพราว่าป้าเสียค่าปรับ เขาบอกอย่างนี้เหรอ
บุญเรือน – ใช่
จินดารัตน์ – ที่ยอมเสีย 200 บาทต่อเดือนให้ขายได้
บุญเรือน – แล้วต่อไปนี้ขายไม่ได้อีกแล้ว
จินดารัตน์ – ทุกวัน ไม่ว่าเวลาไหนเหรอค่ะ
บุญเรือน – ทุกวัน
จินดารัตน์ – คุณป้าได้ทราบข่าวนี้ตั้งแต่วันไหนค่ะ
บุญเรือน – ก็ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วนี้เอง
จินดารัตน์ – แล้วรู้สึกอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – ก็ไม่รู้สึกอย่างไร ลูกเขาบอกว่าดีใจ
จินดารัตน์ – แสดงว่าลูกไม่อยากให้ขายมาตั้งนานแล้ว อ๋อ นี่แอบลูกมาขาย
บุญเรือน- เขาบอกดีแล้วแม่ อยู่เฉยๆ แล้วป้าบอกมันอยู่ไม่ได้
จินดารัตน์ – ป้าขายมากี่ปีแล้วค่ะ
บุญเรือน – 4 ปี
จินดารัตน์ – 4 ปีนี้ เสียค่าปรับทุกเดือน
บุญเรือน – ใช่ค่ะ ก็เสียทุกเดือน
จินดารัตน์ – 200 บาท
บุญเรือน – ป้าบอกว่าป้าทำงานให้กับกิจกรรมในชุมชน ป้ายังไม่ได้อะไร ไม่เคยได้อะไรตอบแทนเลย แต่เวลาขาย ต้องเสียค่าปรับ
จินดารัตน์ – ขายมา 4 ปีแล้ว ดิฉันแน่ใจว่า ท่านรอง อนันต์ได้กินผัดไทยคุณป้าแน่นอนเลย เพราะฉะนั้น เรียนถามท่านรองว่า ที่ชาวบ้านพ่อค้าแม่ค้าได้ยินมา ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างไร ตรงไหนผิดข้อมูลข้อเท็จจริงที่ กทม.ได้ตั้งกันเอาไว้
อนันต์ – ก็ผมจะพูดภาพรวมๆนะครับ ความจริงเราไม่ได้เริ่มคิดเมื่อวานหรือเมื่อวานซืน เรื่องนี้มันเริ่มต้นกัน2-3 เดือนแล้ว นะครับ ตั้งแต่วันที่ ท่านนายกรัฐมนตรี จำได้ว่าวันที่ 6 เมษายน ตอนนั้น มันมีเรื่องมาเฟียเข้ามาเกี่ยวข้อง มาหาผลประโยชน์ ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายอะไรก็ตาม ผู้มีอิทธิพลก็เรียกเก็บจากผู้ค้า ท่านก็เลยเชิญผู้ค้ามาที่ทำเนียบ 2,000 กว่าคน วันนั้นทั้งวัน แล้วสรุปประเด็นกันได้ว่า เราต้องจัดระเบียบกันใหม่แล้วนะ มันมีช่องทางให้หากินได้ มันมีช่องทางเป็นจุดสีเทาๆซึ่งไม่รู้ว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาต ตรงนี้ก็เลยกลายเป็นช่องทางทำมาหากิน คนหนึ่งก็มีแผงเยอะมาก แล้วก็ให้คนอื่นเขาเช่า กันไป ผู้ที่มีร้านค้าก็ออกมาวางขาย ท่านก็เลยบอกว่าเรามาจัดระเบียบกันใหม่
แต่ว่าการจัดระเบียบที่ว่านี้นะครับ มันคงให้ทุกคนขายไม่ได้ หรอก มันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องกำหนด เงื่อนไขที่ต้องกำหนดคือว่า 1. คนเดินถนนต้องเดินได้ รถต้องวิ่งได้ ดังนั้นต้องมีเงื่อนไขที่ว่า ถ้าตรงไหนจะเป็นจุดผ่อนได้ ต้องไม่ตั้งวางบนผิวจราจร
จินดารัตน์ - ต้องไม่ตั้งวางบนผิวจราจร เพราะฉะนั้นที่คลองถมแน่นอน
อนันต์ – ข้อที่ 2 .ก็คือว่า ถ้าอยู่บนทางเท้า แล้วทางเท้านั้นแคบมาก คือเมื่อตั้งวางสินค้าแล้ว มีที่ให้คนเดินไม่ถึงเมตรหนึ่ง ต้องเลิก ถูกไหมครับ เช่น ที่ตรงนั้นทางเหลือแค่ 50 วางของไปแล้ว เหลือ 50 เซน อย่างผมพอเดินได้ แต่ถ้าอ้วนหน่อยก็เดินไม่ได้ ใช่ไหมครับ ก็ลำบาก เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีช่องทางสัญจรให้ประชาชน หลังจากได้แล้ว หนึ่งเมตรให้ยกเลิก นะครับ ก็เลยบอกไว้ลักษณะนี้ แต่เรื่องมาเฟีย ท่านเสนีย์ วิสุทธิ์**จะไปจัดการให้ ส่วนกทม.จัดระเบียบ เราก็มานั่งดูกัน เราจะทำอย่างไร ที่ให้ครบวงจร จริงๆแล้วท่านผู้ว่าอภิรักษ์ ใช้คำว่าจัดระเบียบ ถือโอกาสมาสร้างอนาคตการค้าใหม่ในการทำการค้าในที่สาธารณชน นะครับ การสร้างอนาคตใหม่ก็คือว่า ไอ้ที่เป็นจุดเทาๆก็เลิกกันไป เราก็มาดูจุดผ่อนผันทั้งหมดทั้งกรุงเทพ จะมีสักกี่จุด การเป็นจุดผ่อนผันมันเป็นไปโดยกฎหมาย ไม่ใช่เรานึกอยากจะผ่อนผันใครได้
จินดารัตน์ – เป็นอย่างไรค่ะ จุดผ่อนผันที่ว่า
อนันต์ – คืออย่างนี้นะครับ ในกฎหมายสาธารณสุขปี 2535 เขาไม่อนุญาตให้ค้าขายในพื้นที่สาธารณะหรือทางสาธารณะ ชัดเจนเลยนะครับ ทุกคนไม่มีสิทธิ์ค้าขายบนทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของตึกแถว หรือผู้ค้าทั้งหลาย เว้นแต่ว่าที่ตรงนั้นมันไม่กีดขวางจราจร นะครับ แล้วมีหนทางที่พอสัญจรไปมาได้ โดย กทม..และเจ้าพนักงานจราจร ก็คือกองบัญชาการตำรวจนครบาลเห็นชอบ อนุมัติ ให้เป็นจุดผ่อนผัน จึงจะจัดให้มีผู้ค้าได้ ตรงนี้คือเงื่อนไขของกฎหมาย ดังนั้น ทาง กทม.เขาเสนอเงื่อนไขของจุดผ่อนผันทั้งหลาย ที่มีเคยมีอยู่ตั้งแต่เดิมมา 700 กว่าจุด แล้วก็เอาไปเข้าเกณฑ์ เอาเกณฑ์มาวัด ว่าอยู่บนถนนไหม ทางเท้าแคบไหม นะครับ ปรากฏว่าหลุดกันไปบ้าง ก็เหลือ 683 จุด
จินดารัตน์ – 683 จุดทั้งหมด
อนันต์ – ทั้งทั่วกรุงเทพเลยนะครับ ซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเขตไหนมากหรือน้อย แต่ว่า 683 จุด แต่ 683 จุด ท่านายกรัฐมนตีก็บอกว่า เราก็ต้องขจัดมาเฟียไปนะ มาเฟียก็คือผู้มีอิทธิพล คนที่เป็นเจ้าของแผงอยู่บนทางเท้า โห เยอะมากเลย แล้วก็จ้างลูกจ้างมาขาย ให้เขาเช่าบ้าง เพราะอย่างนี้มาหาผลประโยชน์ ถูกไหมครับ มาขูดรีดจากคนจน เพราะว่า กทม.ไม่ได้คิดค่าเช่าอะไร อย่างที่พวกเรารู้ เพราะฉะนั้นผู้ที่เราจะจับลงไปได้ ทั้งหมด ไม่ว่าคุณจะมีแผงกี่แผงที่ผ่านมา สุดท้าย ต้องเหลือคนละแผงเดียว
จินดารัตน์ – แผงเดียวเท่านั้น
อนันต์ – แผงเดียวเท่านั้นนะครับ แล้วแผงที่ว่านี้ ต้องเป็นขนาดที่พอบอกกับสังคมได้ว่า นี่คือคนที่ด้อยโอกาส คนที่ไม่มีรายได้มาก ไม่ใช่คนหนึ่ง 10 เมตร 15 เมตร แผงที่ว่าต้องไม่เกิน2 ตารางวา
จินดารัตน์ – แล้วจะตรวจสอบได้อย่างไรค่ะ เขามีกันแผงเดียวจริงหรือเปล่า
อนันต์ - เราให้เขาไปพิสูจน์สิทธิ์กัน พอถึงพ่อค้าต้องไปพิสูจน์สิทธิ์กัน เดิมคุณเคยมีชื่ออยู่ ก็ไปพิสูจน์สิทธิ์ การไปพิสูจน์สิทธิ์ ก็คือเอาแม้ค้าที่อยู่ข้างๆ ที่ขายกันอยู่ ประมาณ 10 คน มาเป็นพยานบุคลด้วย อันที่ 2 คุณต้องเอาใบเสร็จค่าธรรมเนียมรักษาความสะอาด ในชื่อคุณ เพื่อจะยืนยันว่าคุณขายตรงนั้นจริงๆ
จินดารัตน์ – ท่านรองค่ะ สมมติว่าอย่างนี้ อย่างที่คลองถมนะค่ะ ก็คือคนนี้เช่าต่อมาอีกทีหนึ่ง
อนันต์ – คลองถมนี้ต้องแบบนี้เลยครับ จุดผ่อนผันที่อยู่บนผิวจราจร ต้องถูกยกเลิกไป ดังนั้นก็ไม่มีการพิสูจน์
จินดารัตน์ –อันนี้ ก็คือไม่ต้องมาพิสูจน์สิทธิ์กันแล้ว แต่ว่าแล้วจุดผ่อนผันที่อยู่บนทางเท้า
อนันต์ – ที่อยู่บนทางเท้า ถ้าทางเท้าแคบก็ไม่ได้
จินดารัตน์ – ท่านค่ะ ถ้าไม่ถึงหนึ่งเมตรก็ยกเลิกไป
อนันต์ – ไมได้ ยกเลิกไปเลย
จินดารัตน์ – ช่วงไหนแคบๆ
อนันต์ – เพราะว่าจัดอย่างไร เดือดร้อนประชาชน ก็ต้องเดินลงผิวจราจร ถูกไหมครับ อย่างนี้ต้องเลิกไป
จินดารัตน์ – ท่านรองค่ะ ดิฉันเห็นภาพที่ท่านรองนำมา ขอดูหน่อยได้ไหมค่ะ จะได้เห็นภาพกันชัดๆ
อนันต์ – ผมยกตัวอย่างที่บางแค เมื่อจัดแล้วต้องมีทางเดินหนึ่งเมตร บางแคนึกออกไหม ผู้ค้าเยอะมากเลย เพราะฉะนั้นเราไม่ได้ไปทำร้ายเขา ทีนี้คุณต้องเลิกขายไปเลย แต่ขอว่าทั้งหมดเนี่ย ให้เราอยู่ร่วมกันได้ คือผู้ค้าก็ขายได้ คนเดินถนนก็เดินได้อย่างสบายๆ นะครับ
จินดารัตน์ – ต้องประมาณหนึ่งเมตร ต้องไม่น้อยกว่านี้
อนันต์ – ครับ แล้วก็ข้างบนต้องโปร่ง เราไปสังเกตเห็นบางแห่ง เป็นถ้ำเลย เป็นอุโมงค์ กว่าจะมุดพ้นอุโมงค์ไปได้ใช้เวลาเป็นชั่วโมง อากาศมันก็แย่ ภาพมันก็ไม่ดี นะครับ แล้วก็ต้องมีการล้างทางเท้าอะไรกันต่อไป
จินดารัตน์ – ไอ้ที่ว่าอุโมงค์จะทำกันอย่างไรค่ะ
อนันต์ – ก็เปลี่ยนมาเป็นร่มซะ สีเดียวกันซะให้หมด จุดเดียวกันนะครับ ก็ห้ามแขวนอะไรรุงรังทั้งสิ้น ของที่จะวางจากพื้นทางเท้าขึ้นไปต้องสูงไม่เกินเมตรห้าสิบ ก็แปลว่าถ้าเราอยู่ที่ทางเท้าเรามองถนน เราเห็นถนน บนถนนมองเข้ามาในตึกก็เห็น แต่เมื่อก่อนมันคลุมหมด แล้วทุกคนก็ถูกยัดเยียดให้เข้าไปเดิน
จินดารัตน์ – อันนี้ คือภาพที่จัดแล้ว
อนันต์ – อันนี้คือภาพที่จัดแล้วที่บางแค
จินดารัตน์ – ที่จัดแล้ว แล้วร่มนี้ซื้อกันเองหรือว่า กทม.ออกให้
อนันต์ – เขาซื้อกันเอง
จินดารัตน์ – แล้วก็เป็นสีเดียวกันด้วยเหรอค่ะ
อนันต์ – สีเดียวกัน บางแคเขาร่วมใจกัน ถือว่าโอเค เขาเป็นคนที่ได้สิทธิ์การมใช้ประโยชน์จากทางเท้า อย่างที่ผมเรียนเมื่อสักครู่ว่าไม่มีใครมีสิทธิ์บนทางเท้า คนเหล่านี้พอเขาได้สิทธิ์บนทางเท้า เขาก็คืนส่วนนี้ให้กับสังคมว่า โอเค ความสวยงาม ผมให้นะ ทางเท้าที่ผมเคยเบียดๆอยู่ ผมจะขยายออกให้กว้างนะ
จินดารัตน์ - ให้คนเดินได้ อันนี้ก็มีการทำความสะอาดกันทั้งตลาด
อนันต์ – 1 สัปดาห์ก็จะหยุด 1 วันแล้วก็มาทำความสะอาดกัน
จินดารัตน์ – ก็คือกำหนดไว้ คือวันจันทร์ ถูกไหมค่ะ
อนันต์ – ใช่ครับ เพราะว่าแต่เดิมเนี่ยนะครับ เขาขายกันทุกวัน ทางเท้าชำรุดอะไรก็ตาม เราซ่อมไม่ได้เลย เพราะแม่ค้าอยู่แน่นไปหมดเลย แต่เนี่ยเราก็จะล้าง ตรงไหนพังเราก็จะซ่อม
จินดารัตน์ – นี่ก็คือ การจัดแผงค้าใหม่ คือตีเส้นเหมือนกัน ตีเส้นให้เลยเหรอค่ะ
อนันต์ – ครับ ตีเส้นให้เลย
จินดารัตน์ – แผงหนึ่งไม่เกิน2 ตารางเมตร
อนันต์ – ไม่เกิน 2 ตารางเมตร
จินดารัตน์ – ต้องไม่เกิน 2 ตารางเมตร นะค่ะ
อนันต์ – แล้วก็ทุกจุด เนี่ย ท่านเสรีพิสุทธิ์ ก็ไปตรวจมานะครับ เสร็จแล้วก็มีการประชุมผู้ค้าที่อยู่ในจุดผ่อนผัน ก็จะได้รับการชี้แจงให้เข้าใจแล้วก็ตั้งวาง
จินดารัตน์ – อันนี้คือ ภาพจริงที่เกิดขึ้นที่ตลาดบางแค
อนันต์ – ใช่ ตลาดบางแค
จินดารัตน์ -มีอีกไหมค่ะ ท่านรอง
อนันต์ – ก็เวียนกลับมาตรงนี้ว่า เราก็ใช้วิธีการให้ผู้ค้าไปพิสูจน์ตัวเอง ว่าคุณเป็นคนขายอยู่ตรงนี้จริงๆนะ แต่ที่อยู่ในจุดผ่อนผันเท่านั้นนะ
จินดารัตน์ – ถ้าสมมติอย่างนี้ล่ะค่ะท่านรอง คือคนที่อยู่ในจุดผ่อนผันก็จริง เราเช่าเขามาอีกต่อหนึ่ง แต่ขายกันมาเป็นสิบปีแล้ว พิสูจน์สิทธิ์ตัวเองได้ไหม
อนันต์ – อย่างนี้ต้องไป พิสูจน์สิทธ์อีกรุ่นหนึ่ง รุ่นแรกนี้คือคุณมีพยานบุคคลกับมีใบเสร็จ นะครับ และถ้าคุณไปเช่าเขา คุณต้องมาพิสูจน์เพราะบางทีคนที่เขาติดแผงอยู่นี่ เขาไปจ้างลูกจ้างมาขาย 7-8 คน ก็ให้คนเหล่านี้ไปบอกว่าเป็นคนเช่า ถ้าเราไม่ตรวจสอบให้มันถูกต้อง ก็กลายเป็นว่าเรายอมให้มีมาเฟียกลับมาใหญ่ มาเฟียในทีนี้ไม่ใช่คนที่เป็นหน้ายักษ์หรือเหี้ยมโหด แต่คนที่เขาเอาทางเท้าไปหาประโยชน์ขูดรีด เพราะฉะนั้นทุกคนควรจะมี 1 แผงเท่านั้น นะครับ
จินดารัตน์ – แสดงว่าคนถ้าที่เช่ามาหลายปีดีดัก ยืนขายกันมา ไปเสียค่าเช่าให้เจ้าของแผงก็มีโอกาสที่จะพิสูจน์สิทธิ์เป็นเจ้าของแผงได้
อนันต์ – ถูกต้อง มีพยานบุคคล ก็ไปยืนยัน คนกลุ่มนี้อาจจะต้องใช้เวลาหน่อย เพราะเราต้องกลั่นกรองว่าคุณเป็นผู้เช่าหรือเป็นลูกจ้าง
จินดารัตน์ – เอาล่ะทีนี้ ท่านรองค่ะ สำหรับบรรดาพ่อค้าทั้งหลาย ที่ขายบน พื้นผิวจราจร ที่ต้องบอกว่าจะต้องยกเลิกไปทั้งหมด
อนันต์ – ถูกต้องครับ
จินดารัตน์ – จะทำอย่างไรกับคนเหล่านี้ค่ะ
อนันต์ – เออ ข้อ 1. ไม่อยู่ในจุดผ่อนผัน เมื่อไม่อยู่ในจุดผ่อนผันตามกฎหมาย เราก็ออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ใบอนุญาตที่ว่าคือใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข กฎหมายมันมีชัดเจน อย่างคนที่ขายอาหารบนทางเท้า ถ้าใบอนุญาตสาธารณสุข คุณต้องไปตรวจโรคก่อนนะ ว่าคุณเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ที่จะสัมผัสอาหารได้หรือไม่ได้ นะครับ แล้วจึงจะได้ใบอนุญาตนะครับเพราะฉะนั้นไม่ได้อยู่ในจุดผ่อนผันเราออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ กทม.จะไปบอกว่าคลองถมขายต่อ ตำรวจไม่ให้ก็ไม่ได้ ตำรวจบอกว่าตรงนี้ขายได้ แต่กทม.ไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้
แล้วการเห็นด้วยของทั้งสองฝ่ายอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่อยู่บนพื้นผิวจราจร ทางเท้าต้องไม่แคบ นี้คือสิ่งที่ กทม. ต้องทำ แล้วก็อธิบายให้พวกเราได้เข้าใจกันว่า ทีนี้ บรรดาผู้ที่ค้าขายอยู่แล้ว เราก็ต้องหาทางขยับขยาย เพราะจุดผ่อนผันมันก็บอกอยู่แล้ว คือไม่ใช่จุดถาวร นะครับ แม้เราอนุญาตจุดผ่อนผันในปีนี้ก็ตาม ปีหนึ่งก็ต้องมาต่ออายุครั้งหนึ่ง ถูกยกเลิกวันไหนก็ได้ ถ้ามันพร่องเงื่อนไข ซึ่งอาจจะเกิดความเดือดร้อน
จินดารัตน์ – ก็คือ ถ้าไม่รักษากฎที่ กทม. วางไว้ อย่างเช่นทางเท้าต้องไม่ต่ำกว่า 1 เมตร นะค่ะ แล้วก็ไม่ไปกีดขวาง
อนันต์ – หรือมีความสกปรก รกรุงรัง ไม่รักษาระเบียบ แล้วก็เลอะเทอะไปหมด ขาย 24 ชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้น
จินดารัตน์ - แสดงว่า กทม.มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกได้เหมือนกัน ค่ะ ทีนี้ดิฉันเรียนถามคุณอัศวินในฐานะประธานเขตดุสิต ว่าวันนี้ชาวบ้านที่เขาเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายกันอยู่ริมฟุตบาท บนผิวจราจร เดือด ร้อนเยอะไหมค่ะที่เขตดุสิต
อัศวิน – เยอะพอสมควร หลายจุดมากเลย ถ้าอย่างเช่นในเขตดุสิต ส่วนที่มีปัญหามากที่สุดก็จะมี สวนอ้อย ที่ว่าต้องยกเลิกการขายกัน
จินดารัตน์ –อันนั้นไม่ใช่จุดผ่อนผัน ถูกไหมค่ะ
อัศวิน – อยู่ในจุดผ่อนผัน
อนันต์ – อยู่บนผิวจราจร
อัศวิน – แต่ว่าทางจัดระเบียบยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่างเช่น ในสี่ย่าน บางกระบือ ราชวัตร เป็นจุดที่คณะกรรมการพ่อค้าตั้งขึ้นมาเอง สำรวจกันเอง รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยกันเอง แต่ว่าก็ยังโดนยกเลิกจุดวางขาย จึงมีปัญหาว่า
จินดารัตน์ – เหตุผลคือ อะไรค่ะ
อัศวิน – ถ้าคร่าวๆ ก็คือว่า ตั้งแต่ท่านผู้ว่า อภิรักษ์มีนโยบายว่า 1 ปี จะลดได้ 5 เปอร์เซ็นต์ 10 ปี ก็ 50 เปอร์เซ็นต์ ออกกฎหมายอย่างนี้เพื่อให้บ้านเมืองสวยงาม โดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาของปากท้องของชาวบ้าน
จินดารัตน์ – จริงไหมค่ะ นโยบายนี้จริงไหมค่ะ ท่านรอง
อนันต์ – ไม่จริงครับ มันเป็นอย่างนี้ครับ 10 ปีขึ้นไปไม่ได้ให้เลิกขาย กทม.กับผู้ค้าไปหาที่ด้วยกัน เช่นมีตึกแถวว่างๆตรงนี้นะครับ กทม.อาจะไปช่วยตกแต่งให้ นะครับ ออกค่าสาธารณูปโภคให้ แล้วทำเป็นฟุตคอส ลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่ กทม.คิดเป็นรายแรก สิงคโปร์ ก็ทำ มาเลเซียก็ทำ
จินดารัตน์ – นั้นหมายความว่า ยกเลิกเขา แล้วไปหาที่อยู่ให้เขา
อนันต์ – ให้เขาอยู่เป็นหลักแหล่ง อย่างที่เมื่อสักครู่บอกว่าไม่มีใครอยากขายตรงนี้ตลอดชีวิตหรอก ถ้ามีที่เป็นหลักแหล่งได้ เขาจะไป
จินดารัตน์ – แต่ว่าไอ้ที่หลักแหล่งเนี่ย ดิฉันเข้าใจว่าทุกท่าน คงจะรู้สึกเหมือนกันว่าที่หลักแหล่งเขา เกิด กทม.ไปหาที่แถวมีนบุรี เขาจะขายให้ใครค่ะ
อนันต์ – เมื่อก่อนมันเป็นแบบนี้ กทม.ไปหานะครับ ต่อไปนี้ไม่ใช่ คือเขตกับผู้ค้าเดินไปด้วยกัน แล้วไปดูซิ ว่าตรงไหนเหมาะสม
จินดารัตน์ – อย่างนี้ฟังขั้นไหมค่ะ ได้ไหมค่ะ
อัศวิน – ผมขออนุญาตนะครับ ถ้าพูดกันก็อยากจะปกป้องชื่อเสียงท่านอภิรักษ์ วันนี้ผมขอพูดตรงๆ
อนันต์ – ผมไม่ได้ปกป้อง ผมไม่เกี่ยว
อัศวิน – ประเทศไทยกับต่างประเทศ เช่นสิงคโปร์ ที่ท่านยกตัวอย่าง ประเทศเขาเจริญแล้ว ประชาชนมีเงินพอสมควร ไม่ต้องมาค้าขายเหมือนบ้านเรา ลักษณะประเทศเรายังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ชาวบ้านยังต้องขายของ เขาบอกว่าที่ฝรั่งเศสไม่มีการค้าขายบนถนน แต่บ้านเราไม่เหมือนฝรั่งเศส ถูกไหมครับ เราเห็นช้างขี้อย่าขี้ตามช้าง ผมพูดตรงๆ
จินดารัตน์ – ชาวบ้านยังจนอยู่ ยังขายตามแผงอยู่
อัศวิน – ทีมี ปัญหานั่นก็คือว่า พนักงานเขตดุสิต ผมว่าน่าจะแทบทุกเขต ออกกฎหมายมาว่าห้ามตั้ง ค้าขายหน้าอาคารพาณิชย์ คือจะมีด้านนอกกับด้านใน คือด้านนอกหมายถึงริมถนน ด้านในหมายถึงหน้าร้าน หน้าอาคารพาณิชย์ ตอนนี้ให้ยกเลิกหน้าร้านอย่างเดียว นโยบายของ กทม. เปลี่ยนผู้ว่าทีหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนนโยบายทีหนึ่ง ชาวบ้านทำมาหาเช้ากินค่ำ เขาไม่มีเวลามาตามนโยบายของท่านหรอก
อนันต์ – เดี๋ยวครับ ตรงนี้ก่อน คือคนที่เป็นเจ้าของซึ่งมีที่ขายของตัวเองชัดเจน มีอยู่แล้ว แล้วยังขอทางเท้าข้างหน้า เอาไว้วางของด้วย อย่างนี้ยุติธรรมไหม
จินดารัตน์ – อย่างคุณวัชนี เขาบอกว่าถ้าไม่เอาของของฉันมาวาง ก็มีคนอื่นวาง
อนันต์ – ก็คือ ในแนวตรงนี้ ทุกคนห้ามเอามาใช้เป็นเอกสิทธิ์
จินดารัตน์ – หมายถึงว่าพื้นที่ ที่ติดอาคารพาณิชย์ด้วยใช่ไหมค่ะ
อนันต์ – ครับ ไม่งั้นทุกคนก็ยื่นกันมา แล้วก็บอกว่าทางเท้าหน้าบ้านเป็นของฉัน แต่จริงๆนั้นคือที่สาธารณะ
จินดารัตน์ – ห้าม นี่หมายถึงห้ามเจ้าของตึกหรือว่าห้ามผู้ค้าแผงลอยทุกร้าน
อนันต์ – ห้ามเจ้าของตึกกับผู้ค้าทุกร้าน
จินดารัตน์ – อย่างนี้นะครับ ถ้าสมมติว่าอันนี้เป็นตึกแถว อันนี้เป็นฟุตบาท อันนี้เป็นถนนนะค่ะ ตรงนี้ห้ามเลย ห้ามวาง พื้นที่ตรงนี้
อนันต์ – ถูกต้อง หน้าอาคารพาณิชย์ โดยหลักเพราะท่านมีที่ทางเป็นของตัวเองแล้ว
จินดารัตน์ – คุณวัชนีฟังอย่างนี้พอใจไหมค่ะ
วัชนี – ถ้ามีที่ทางแต่ว่าด้านหน้ามาวางหน้าร้าน
อนันต์ – ด้านหน้าก็ทิ้งไป เพียงแต่ว่าริมถนนผู้ค้าที่ยากจนทั้งหลายเหล่านี้ เราก็จะจัดให้เป็นเวลา ไม่ได้แปลว่าคุณขาย 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด
จินดารัตน์ – เป็นเวลาเนี่ย กี่โมงนะค่ะ
อนันต์ – ก็แล้วแต่เราจะไปจัด บางแห่งก็เป็นตลาดเช้า ก็เริ่มเช้าถึงเที่ยง อย่างนี้เป็นต้น
จินดารัตน์ – หมายถึงว่า ให้แผงลอยวางริมถนนได้
อนันต์ – ซึ่งเรายอมให้คนซึ่งเขามีที่ทางทำมาหากินแล้วเนี่ย มาใช้ทางเท้า บ้านเมืองก็ไม่มีระเบียบวินัย ข้อที่ 2 .ก็คือ นโยบาย 10 ปี ไม่ใช่เราไปขี้ตามช้าง สิงคโปร์เมื่อก่อนเป็นแบบเราเลยนะครับ ขายกันตามถนนเลอะเทอะไปหมด เขาก็คิดว่าคนเหล่านี้ควรจะมีโอกาส ใหม่ๆเขาไม่ได้ไล่นะครับ เขาหาที่ทางให้ เดี่ยวนี้ผมไม่แน่ใจว่าท่านไปดูงานอย่างลึกซึ้งแค่ไหน แต่ผมไปดูลึกมาก ผู้ค้าซึ่งเคยเป็นคนยากจน ในอดีต วันหนึ่งพอทางการเขาจัดเป็นฟุตคอสให้ เดี๋ยวนี้เป็นเถ้าแก่ ไม่ใช่เพราะว่าเมืองเขาเจริญ สิงคโปร์เหมือนเรา
จินดารัตน์ - เขาทำมากันกี่ปีแล้วค่ะท่านรอง
อนันต์ – ทำมา 30 ปีแล้ว
จินดารัตน์ - 30 ปี วันนี้ไม่มีหาบเร่ แผงลอย ริมถนน
อนันต์ – เขาเป็นฟุตคอส แล้วก็เป็นมุมที่ชัดเจน ถูกไหมครับ คือยากให้พี่น้อง เนี่ย มองภาพในอนาคต ไม่งั้นคงอยู่อย่างนี้ไปตลอดชีวิต ถูกไหมครับ ถ้ามีตลาดที่ชัดเจนทุกคนมีสถานที่ที่ชัดเจน ซึ่งวันก่อนที่เราไปพบท่านนายกรัฐมนตรี พณ ท่านบอกว่าเข้าไปดูเลยนะ ถ้าอยากให้หน่วยราชการไหนช่วยเหลือหาที่หาทางให้ จัดเป็นตลาดให้ ทำแผงค้าให้ ถ้า กทม.ทุนไม่พอ เอาเงินรัฐบาลไปทำก็ได้ แล้วก็ให้พ่อค้าผ่อน โดยไม่มีดอกเบี้ย นี่คือเรามองอนาคตให้ใหม่ ท่านอย่าคิดแค่วันต่อวัน อย่าคิดแค่วันต่อวันถูกไหมครับ เพราะว่าท่านขายตั้งแต่ตัวท่าน จนกระทั่งถึงลูก แล้วให้หลานขายต่อบนทางเท้า แล้วดมควันพิษอยู่โดยตลอด เรากำลังหาโอกาสใหม่ๆให้กับท่าน
จินดารัตน์ – แล้วที่ จะถูกยกเลิกล่ะค่ะ
อนันต์ – คือผู้ค้าที่อยู่นอกจุด
จินดารัตน์ – มีกี่ราย
อนันต์ – ตอนนี้กำลังสำรวจ เราก็กำลังพยายามหาวิธีให้ เช่นผู้ค้าคลองถม ท่านก็จะยืนยันอยู่ไม่ได้ว่า ต้องที่นี่เท่านั้น ก็คือไม่ได้นะ เราต้องหาวิธีกันว่า จะเอาตรงไหนกัน เราจะจัดระเบียบกันอย่างไร แล้วที่บอกว่าควบคุมกันเองได้ ตรงนั้น มีคนเดือดร้อน มีคนร้องเรียนไหม ท่านต้องยอมรับตรงๆ เขาเข้าบ้านไม่ได้ เสียงดัง เพราะผู้ค้ามันหลายพ่อพันแม่ บางคนเคารพคนอื่น บางคนก็ไม่เคารพคนอื่น
จินดารัตน์- แล้วจะต้องถูกยกเลิกทั้งหมดกี่รายในกรุงเทพ
อนันต์ – ก็ประมาณ 6,000-7,000
จินดารัตน์ – ตอนนี้เตรียมพื้นที่ให้เขาขาย พร้อมหรือยังค่ะ
อนันต์ – หลายเขต เรามีพื้นที่ที่เป็นตลาดของเอกชน ให้เข้าไปช่วย เราก็หาพื้นที่ตลาดเอกชนให้เขา ในวันที่ 1-3 กรกฎาคม เราก็ไปร่วมกับแผงค้าของสำนักงานตลาด ของ กทม. ซึ่งเป็นตลาดดัง เช่น สนามหลวง 2 ซึ่งตลาดนี้ถ้าไปดูจะแน่นมาก มี 1,000 แผง นะครับ ตลาดสุคนธ์สวัสดิ์ตรงลาดพร้าว ตลาดกรุงธน ตลาดอะไรต่างๆประมาณ 6,000 กว่าแผง เรามาวางไว้ที่ศูนย์ไทยญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้ค้าซึ่งไม่มีที่ขาย ไปเลือกกัน ไปช้อปปิ้ง ไปคุยกับเขา ซึ่งมันจะเป็นหลักแหล่งที่ถาวรแน่นอน
จินดารัตน์ – มีกี่แผงที่เตรียมเอาไว้
อนันต์ – เตรียมไว้ 7,000 แผง
จินดารัตน์ – เชิญค่ะ คุณสมเจตน์
สมเจตน์ – ผมก็เคารพท่านปลัด แต่ว่าถ้า ณ วันนี้ ไอ้ที่ท่านบอกว่า 6,000 กว่าแผง เช่นสนามหลวง 2 ตั้งแต่เมื่อก่อนครั้งแรกที่คลองถม ทุกจุด มันมีที่ว่าง แต่เขาจะไปกระจายทุกจุด ถามว่าถ้าไปขายแล้วมีคนซื้อ อย่างสนามหลวง 2 ที่ท่านพูด ที่คนคลองถมไป วันๆหนึ่งเขาขายได้เท่าไหร่ เขาอยากจะกลับมาขายที่คลองถม
อนันต์ – เราต้องอดทน
อัศวิน – เราเคยให้ความร่วมมือกับทางการมาทีหนึ่งแล้ว ทางสี่ย่าน ราชวัตร บางกระบือ เทเวศร์ ค้าขายกันมา 20-30 ปี หน้าร้านของตัวเอง ขายมาตลอด แต่ว่ามีกรณีตัวอย่างว่า เมื่อปีที่แล้ว เคยออกประกาศอย่างนี้มาทีหนึ่ง พอออกประกาศอย่างนี้มาทีหนึ่ง เราทุกคนให้ความร่วมมือกับทางการยกเลิกขายหน้าร้าน ช่วงนั้นเข้มงวดมาก ไม่เป็นไร เราก็ให้ความร่วมมือ ว่าการร่วมมือของเรา ทุกครั้งที่เราให้ความร่วมมือกับทางการ เจ็บปวดกับการร่วมมือกับทางการ ทุกครั้ง เพราะว่าอีก5-6 เดือน ท่านจะผ่อนผัน แล้วให้ผู้ค้าจากไหน ไม่รู้มาตั้งแผงไว้หน้าบ้านเรา
อย่างผมร้านขายอาหารอยู่ดีๆ เอ เขาบอกให้เลิกขาย ผมก็ร่นเข้าไปในบ้าน พอ 5-6 เดือน บอกว่ามีนโยบายผ่อนผัน ก็เอาผู้ค้ามาขายชุดชั้นใน มาตั้งหน้าบ้านผม แล้วมีใบผู้ค้าอะไรเรียบร้อย ไม่รู้ว่าไปแอบตกลง หรือไปได้ใบมายังไง ผมทุกวันนี้ จึงต้องไปเรียกร้องสิทธิ์ว่า ท่านบอกมาให้ขาย แล้วผู้ค้าต่างจัดหวัด มาขายได้อย่างไร เราเคยให้ความร่วมมือไปแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ คราวนี้ก็เกิดมาเข้มงวดกวดขันอีกครั้งหนึ่ง แล้วอีก 5-6 เดือน ไม่ทราบว่าจะผ่อนผันอีกครั้งหรือเปล่า เราเคยมีบทเรียนนะครับ
จินดารัตน์ – อย่างไงค่ะ ท่านรอง
อนันต์ – คืออย่างนี้นะครับ ว่าจุดผ่อนมันไม่ใช่อยู่ๆเราไปจับต้องได้ เมื่อก่อนใช้ พรบ.รักษาความสะอาดใครทำอะไรก็ได้ แต่พอเราเปลี่ยนกฎหมายมาใช้ พรบ.สาธารณะสุข ต้องได้รับความเห็นชอบเท่านั้น ถึงจะเป็นจุดผ่อนผันได้ ข้อที่2. เรามีการพิสูจน์สิทธิ์รายชื่อผู้ค้าทุกคนที่อยู่ในจุดผ่อนผัน จะถูกบันทึกไว้ในแผนที่ จีไอเอส แล้วเราก็เอาแผนที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดหนึ่ง ไว้ สน.ชุดหนึ่ง ให้เราชุดหนึ่ง ทุกคนสามารถไปดูได้ นะครับ ว่ามีใครเกินเข้ามาตรงไหนบ้าง ดำเนินการได้เลย เพราะฉะนั้น 4 ปี ในอนาคตจะไม่สามารจะไปกำหนดว่าตรงนี้ใครมาขายก็ได้ เพิ่มขึ้นได้ไม่ได้ เพราะมันจะมีทะเบียนอยู่ที่คุฯ อันนี้ต่างกับเมื่อก่อน เมื่อก่อนทะเบียนอยู่ที่เขต ทำอยู่คนเดียวไม่ให้ใครรู้ไม่ให้ใครเห็น
จินดารัตน์ – ทุกจุด เกือบ 700 จุด ก็จะมาอยู่ที่ กทม.
อนันต์ – อยู่ที่ กทม. 1 แผ่น อยู่ที่ สน. 1 แผ่น อยู่ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 แผ่น แล้วใครมาขอดูก็ได้ว่า ร้านค้าแถวนี้มีชื่อใครบ้าง
จินดารัตน์ – ท่านรองค่ะ อย่างกรณีที่คุณอัศวินบอกว่า อย่างตึกแถว เคยห้าม เคยขอร้อง ขอความร่วมมือว่าไม่ให้วางขายหน้าตึกแถว กลายเป็นจุดผ่อนผัน แบบนี้เหตุการณ์แบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกไหมค่ะ
อนันต์ – ไม่เคยเป็นจุดผ่อนผัน อย่างที่พูดเมื่อสักครู่ ว่าถึงตอนหนึ่ง ใครจะขายก็ขายไปเถอะ ก็ขายกันไปใหญ่ แต่ไม่ใช่จุดผ่อนผัน คราวนี้ผมเรียนว่าจุดผ่อนผันกำหนดได้โดยข้อตกลง 2 หน่วยภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ไม่อยู่บนผิวจราจร และทางเท้าต้องไม่แคบจนไม่มีทางเดิน แล้วต้องไม่ตั้งวาง 2 แถว ต้องวางเฉพาะแถวนอกเท่านั้น
จินดารัตน์ –ช่วงนี้ไปพักกันสักครู่
จินดารัตน์ – กลับมาช่วงสุดท้ายของรายการคนในข่าว วันนี้เราคุยกันถึงเรื่องการค้าขายปากท้องของพ่อค้าแม่ค้าที่กำลังถูก กทม.จัดระเบียบกันใหม่ นั้นคือเสียงของคนเดินถนนที่เราไปเก็บภาพกันมาวันนี้ เสียงส่วนใหญ่ก็บอกว่าเกะกะไปหน่อย บางทีเขาก็ต้องเสี่ยงไปเดินบนถนนเอง แต่ก็เห็นใจ บางคนก็บอกว่าเห็นใจเหมือนกันคนทำมาค้าขาย ดิฉันถามความรู้สึกของป้าบุญเรือน ฟังคนเดินถนนแบบนี้แล้วคิดอย่างไรค่ะ
บุญเรือน – ก็เห็นใจคนเดินเหมือนกัน บางทีก็ไม่มีทางเดิน ไปชนเขาบ้าง เขาก็ด่า
จินดารัตน์ – ก็เห็นใจเขาเหมือนกัน
บุญเรือน – แต่ถ้า ปล่อยไม่ให้เขาขายเลยก็เห็นใจเขา จะเอาที่ไหนกิน น่าจะผ่อนผันเป็นบางจุด อย่าไปเข้มงวดมาก
จินดารัตน์ – คุณทวีละค่ะ คิดอย่างไรค่ะ
ทวี – ผมคิดว่าน่าจะมองดูแยกประเภทของการค้า อย่างผมเดือดร้อนตลาดนัด เพราะขายแค่ 2 วัน
จินดารัตน์ – ถ้าจัดตลาดนัดให้ใหม่ ดีไหมค่ะ
ทวี – ยอมรับได้ครับ แต่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน
จินดารัตน์ – ถ้า กทม. และคลองถมจับมือกัน ไปหาที่ เอาล่ะ ที่นี้ขายได้ ให้ขายได้ เสาร์อาทิตย์พอใจไหมค่ะ ดิฉันขออนุญาตเวลาเหลือน้อยจริงๆ หลักเกณฑ์วันที่ 1-3 คืออะไรอย่างไร คนที่โดนยกเลิก เตรียมตัวกันอย่างไร ไปจองกันอย่างไร
อนันต์ – ไปขอใบรับรองที่ศูนย์ไทยญี่ปุ่น
จินดารัตน์ – ไปขอใบรับรองจากเขตว่าเป็นผู้ค้า ไปวันนี้เสร็จวันนี้ไหมค่ะ
อนันต์ – เสร็จเลย
จินดารัตน์ – ได้เลยนะค่ะ รับปากว่าถ้าพ่อค้าแม่ค้า เขาไปได้รับการบริการ
อนันต์ – ใช่ครับ ไปดูว่าเราจะเอาแผงที่ไหน ไม่ได้บังคับด้วยนะคือไม่ได้ก็ไม่เอา แล้วท่านก็มาคุยกันในส่วนของท่าน ว่าจะอยู่กันอย่างไร
จินดารัตน์ – วันที่ 1-3 ถูกไหมค่ะ
อนันต์ - ใช่ครับ
จินดารัตน์ – เอาใบรับรองจากเขตไปจองกัน แล้วถ้าหากไปไม่ทัน แล้วมีความรู้สึกว่ามันไม่น่าจะเป็นที่ที่ขายได้ ทำอย่างไรค่ะ
อนันต์ – เดี๋ยววันที่ 3 มาคุยกัน เพราะเรายังคาดการณ์ไม่ได้ จริงๆแล้วไปอาจจะถูกใจก็ได้ คือเราคิดไปก่อนในอนาคตว่า ไม่ไป ให้ไปไหนก็ไม่ไป ที่ไหนก็ไม่ได้ ขออยู่ที่เดิม อย่างนี้ก็ปิดกั้นตัวเองถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นต้องลองไปดูก่อนวันที่ 1 อาจจะพอใจก็ได้ ถ้าไม่พอใจเดี๋ยวมาคุยกันว่าเรามีวิธีไหน ผมว่าสังคมเราคุยกันได้ครับ คือมันไม่ต้องมาเผชิญหน้ากันแล้วไม่ถูกใจ
จินดารัตน์ -ขออนุญาตค่ะ เวลาหมดแล้วจริงๆ เอาล่ะค่ะขอบพระคุณทุกท่าน วันนี้ลาคุณผู้ชมไปก่อน สวัสดีค่ะ