รายการคนในข่าว (21 มิ.ย.48) นำเสนอความเห็นของตำรวจหลังจากที่มีนโยบายแกมบังคับตำรวจที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานให้ลดด่วน มิฉะนั้นจะมีผลต่อการทำงาน โดย 3 ตำรวจจราจรจาก สน.ต่างๆ และให้ความรู้เกี่ยวกับการลดความอ้วนเพิ่มเติมโดย นพ.วุฒิพันธ์ ศุภจัตุรัส
รายการคนในข่าว ออกอากาศทาง News 1 เวลา 21.05-22.00 น. ดำเนินรายการโดยจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ
จินดารัตน์ – สวัสดีคะ คุณผู้ชมคะ รายการคนในข่าวคะ ภาพที่คุณผู้ชมได้ชมไปเมื่อสักครู่เป็นภาพจำลองเหตุการณ์ที่อาจะเกิดขึ้นจริง สำหรับนายตำรวจทั้งหลายที่จะต้องไล่จับผู้ร้าย ถ้ามีรูปร่างตุ้ยนุ้ยหน่อย ก็จะวิ่งช้านิดหนึ่งนะคะ คนร้ายก็อาจะหนีไปได้ แน่นอนที่สุดเรื่องนี้ ทางกองตำรวจนครบาล เป็นห่วงกันมานานแล้ว วันนี้ก็เลยมีพิธีเปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ใช้คำว่า โอ้โห 40 นิ้ว (รอบเอวนะจ๊ะ) ซึ่งจากการตรวจสุขภาพและสมรรถภาพประจำปีทางตำรวจจราจรทั้งหมด ทางตำรวจนครบาลทั้งหมด 4,150 นาย
พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเป็นโรคเกี่ยวกับคอลเลสโตรอลในเลือดสูงเป็นอันดับที่ 1 เลยคะ เกือบครึ่งหนึ่งนะคะ สรุปแล้วมีตำรวจจราจรที่ต้องเข้าร่วมโครงการลดน้ำหนักและลดรอบเอว มีทั้งหมด 85 นายด้วยกัน และวันนี้คนที่รอบเอว มากที่สุด ในบรรดา 85 นาย ก็คือ 49 นิ้ว ก็มานั่งอยู่กับเราด้วยนะคะ รวมทั้งคุณหมอด้วยนะคะ เราจะมาคุยกันว่า ทำไมต้องลดน้ำหนัก ถ้ามีน้ำหนักมากๆแบบนี้ จะทำงานและเป็นอุปสรรคยังไงอะไรกันบ้าง แต่ถ้าลดแล้วจะทำให้เครียดไหม
เพราะบางคนบอกว่าลดกันมาตั้งหลายปียังลดไม่ได้เลย แต่นี่ให้เวลาไม่กี่เดือนเองนะคะ จะทำได้ไหม พวกเขาจะเครียดกันหรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้ มีเสียงขู่ออกมา จากท่าน ผบ.ชน. นะคะบอกว่า ทำไม่ได้ส่งไปอยู่สายงานอื่นทันที วันนี้เราจะคุยกันกับตัวอย่าง นายตำรวจ 3ใ น 85 นาย ที่จะต้องเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ท่านแรกคือ ด.ต.บรรยง วรรณวงษ์ ตำรวจจราจร สน.ท่าเรือ รอบเอว 49 นิ้ว คะ ท่านต่อมา ด.ต.ชัยรัตน์ อินพาลำ ตำรวจจราจร สน.บางซื่อ รอบเอว ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าไหร่ 47 นิ้วคะ
ท่านต่อมา จ.ส.ต.ศิริ ยวงใย ตำรวจจราจร สน.บางยี่เรือ 46.5 นิ้ว คะ ขนาดเอวนะคะ และท่านสุดท้ายวันนี้ นายแพทย์ วุฒิพันธ์ ศุภจตุรัส ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดเครือโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท สวัสดีคะทุกๆท่านนะคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งคะทีทำให้ดิฉันมั่นใจตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ว่าวันดิฉันรู้สึกตัวเล็กไปเลย คือต้องเรียนถาม ดต. บรรยง ว่ารอบเอวเยอะที่สุดเลยในบรรดา 4,000 กว่าคน
ด.ต. บรรยง - ครับ
จินดารัตน์ – พอวัดออกมาตกใจไหมคะ
ด.ต. บรรยง - ไม่ตกใจ
จินดารัตน์ – คือรู้อยู่แล้วเหรอคะ เป็นอย่างนี้มานานแค่ไหนแล้วคะ
ด.ต.บรรยง – ประมาณ 4-5 ปีแล้วครับ ที่อ้วน
จินดารัตน์ – จากเดิมนี่เท่าไหร่คะ สมัยหนุ่มๆนี่เอวเท่าไหร่คะ
ด.ต.บรรยง – หนุ่มๆ 30 กว่า
จินดารัตน์ – ก็เหทอนชายหนุ่มทั่วๆไป ไม่ได้แตกต่างอะไรมาก และดาบ ชัยรัตน์ รอบเอวรองลงมานี่อันดับ 2 หรือเปล่าคะ เข้าประกวดอันดับ 2 47 นิ้วนะคะ เมื่อก่อนสมัยหนุ่มๆเท่าไหร่คะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ 30 กว่าๆ
จินดารัตน์ – ก็เป็นตำรวจเอวประมาณนี้ คือจำกางเกงตัวเก่าไม่ได้แล้ว จ่าศิริล่ะคะ เมื่อก่อนเอวเท่าไหร่คะ
จสอ.ศิริ – ประมาณ 30 ครับ
จินดารัตน์ – เหมือนกันเลยนะคะ
จสอ.ศิริ – ตอนเข้าตำรวจใหม่ๆ
จินดารัตน์ – กี่ปีมาแล้วคะ
จสอ.ศิริ – 20 ปี ครับ
จินดารัตน์ – 20 กว่าปีแล้วนะคะ แล้วเริ่มอ้วนมากี่ปีแล้วคะ
จสอ.ศิริ - ประมาณ 10 ปี ครับ
จินดารัตน์ – 10 ปีให้หลัง มันใหญ่ขึ้นๆหรือว่า ประมาณนี้ มาหลายปีแล้ว
จสอ.ศิริ – ส่วนมากไม่ค่อยรู้ตัว เสื้อตัวเล็กถึงจะรู้
จินดารัตน์ – คือต้องตัด เสื้อใหม่รู้ทันที ว่าอ้วนขึ้น ก็ต้องตัดใหม่ทุกๆกี่ปีคะ
จสอ.ศิริ – ก็ประมาณ 1 ปีครับ
จินดารัตน์ – ขอประทานโทษนะคะ เสื้อตำรวจเขาต้องมีซิปด้านใน ก็คือต้องใส่แบบนี้ล่ะ แล้วก็ถ้ามันคับ มันต้องเปลี่ยนอย่างเดียวเลย ขออนุญาตทั้ง 3 ท่าน ขอความกรุณานิดหนึ่ง ลุกขึ้นให้เราดูหุ่นนิดหนึ่งว่า ประมารนี้แหละ ต้องไปลดกันแล้ว อึดอัดไหมคะ เชิญนั่งเลยคะ จ่าบรรยง อึดอัดไหมคะ
ด.ต.บรรยง – นิดหน่อย
จินดารัตน์ – เริ่มอึดอัดตั้งแต่เอวประมาณเท่าไหร่คะ ยังจำได้ไหมคะ
ด.ต.บรรยง – จำไม่ได้แล้วครับ
จินดารัตน์ – แต่อึดอัดตลอดหลายปีมานี้
ด.ต. บรรยง – ครับ ช่วง 4-5 ปีนี้ อึดอัดตลอด
จินดารัตน์ – เวลาออกไปทำงาน มันเป็นอุปสรรค และเป็นปัญหาอะไรไหมคะ ในการโบกรถ หรือเป่านกหวีด
ด.ต.บรรยง – ไม่มีเลยครับ
จินดารัตน์ – ไม่มีเลยหรือคะ แข็งแรงดี
ด.ต.บรรยง – ปกติ ครับ
จินดารัตน์ – แล้วดาบชัยรัตน์ล่ะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ - ไม่มีครับ
จินดารัตน์ – จริงเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มันไม่เป็นความจริง คือเราต้องสู้กับอุปสรรคกับตัวเอง มันรู้ว่าเป็นอุปสรรคกับตัวเอง ว่าเราต้องสู้เขา
จินดารัตน์ – เคยคิดลดน้ำหนักไหม
ด.ต.ชัยรัตน์ – คิดครับ
จินดารัตน์ – และลองไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ลอง ลองกินยา
จินดารัตน์ – ลองกินยา ลดความอ้วนด้วย คืออยากลดเอง หรือว่าคนที่บ้านให้ลด
ด.ต.ชัยรัตน์ – ลดเอง เราต้อง ลดเอง คล้ายๆกับมองดูตัวเอง ไม่ไหวแล้ว แล้วโรคภัยไข้เจ็บ มันเยอะ
จินดารัตน์ – พอเริ่มอ้วน โรคภัยไข้เจ็บ ก็รุ่มเร้า
ด.ต.ชัยรัตน์ – มันก็เริ่มมา
จินดารัตน์ – เริ่มมาแล้วใช่ไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – แต่ว่าเราไม่กลัวมัน
จินดารัตน์ – ไม่ได้เครียด กับมันมาก เรื่องความอ้วน
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่ได้เครียด
จินดารัตน์ – แต่ก็เคยลองมาแล้วใช่ไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ลองมาแล้ว
จินดารัตน์ – ลองบ้างหยุดบ้าง เดี๋ยวค่อยว่ากันใหม่
ด.ต.ชัยรัตน์ – ค่อยว่ากันใหม่
จินดารัตน์ – คุณหมอคะ นี่คือนิสัย ของคนอ้วนทั่วๆไปหรือเปล่าคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ส่วนใหญ่ ครับ
จินดารัตน์ – มักจะเป็นแบบนี้
นพ.วุฒิพันธ์ – พอลองแล้ว เอ๊ะ ทำไมไม่ลง
จินดารัตน์ – หมดกำลังใจ
นพ.วุฒิพันธ์ - มันต้อง ใช้เวลาสักนิดหนึ่ง
จินดารัตน์ – จ่าศิริ ล่ะคะ เคยลดความอ้วนไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็เคยลองครับ
จินดารัตน์ – เคยลองมากี่ครั้ง จำได้ไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่มันทนความหิวไม่ไหว ครับ
จินดารัตน์ – ใช้วิธีไหน ขออนุญาตถามคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ออกกำลังกาย ออกเวรแล้ว ก็ไปออกกำลังกาย วิ่ง เตะฟุตบอลบ้าง เล่นตะกร้อ บ้าง ให้มันได้เหงื่อ
จินดารัตน์ – ตอนนั้นกี่ปีมาแล้ว ที่พยายามที่จะลด
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ประมาณ 3-4 ปี
จินดารัตน์ – เอวเท่าไหร่คะตอนนั้น
จ.ส.ต.ศิริ – ตอนนั้น ก็ประมาณ 42 ครับ
จินดารัตน์ – โห 42 หายไปตั้ง 4-5 นิ้ว อ๋อ ตอนนั้นคือ 2-3 ปีที่ผ่านมาเหรอคะ ขึ้นมา 4-5 นิ้ว
จ.ส.ต.ศิริ – เมื่อก่อนสูบบุหรี่แล้วเลิก เลิกแล้วขึ้นปุ๊บเลย ผมหันหลังให้กับบุหรี่ เหล้า มาอีกทีขึ้นน่าดูเลยครับ ขึ้น 4 นิ้ว
จินดารัตน์ – อันนี้เห็นชัดเจนเลยครับ
จ.ส.ต.ศิริ – ครับผม
จินดารัตน์ – ถ้าสูบบุหรี่อยู่ เอวก็ยังประมาณนั้น ใช่ไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – น่าจะประมาณนั้น
จินดารัตน์ – แต่ก็เลิกขาดเลยใช่ไหมคะ บุหรี่ก็ไม่ได้สูบอีกเลย
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – แล้วทางดาบบรรยงล่ะคะ ทานอาหาร เรื่องของอาหารการกิน ทุกวันนี้ ทานอาหารกันอย่างไร ตื่นมากินอะไรบ้าง ตอนเที่ยง กินอะไรยังไงคะ
ด.ต.บรรยง – เช้าๆ ก็กาแฟครับ ขนมปังบ้างเล็กน้อย
จินดารัตน์ – กี่ แผ่นคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ประมาณ 2 แผ่นนะครับ
จินดารัตน์ – 2 แผ่นนะคะ กาแฟใส่น้ำตาลไหมคะ ใส่กี่ช้อน
ด.ต.บรรยง – 2 ช้อนครับ
จินดารัตน์ – 2 ช้อนนี่ หวานเกินไปไหมคะ คุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ - เช้า ๆ คงไม่เป็นไรนะครับ เพราะต้องทำงานต่อ
จินดารัตน์ – ถือว่า ปกตินะคะ แล้วยังไงต่อคะ ขนมปัง แผ่น สองแผ่นอยู่เหรอคะ
ดต.บรรยง – ได้ถึง 11 โมงถึงเที่ยงนะครับ
จินดารัตน์ – แล้วต้องทำงานอะไรบ้าง ช่วงเช้าถึงเที่ยง
ด.ต.บรรยง – ช่วง เช้าก็ โบกรถตั้งแต่ 6.30 – 9.00 น. นะครับ
จินดารัตน์ – 6.30 – 9.00 น. ยืนอยู่อย่างนั้นนะคะ
ด.ต.บรรยง - ครับ
จินดารัตน์ – เป็นอย่างนี้ทุก วันเลยเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ ทุกวันครับ ช่วงเช้า
จินดารัตน์ – ไม่หิวเหรอคะ ช่วงที่ต้องทำงาน
ด.ต.บรรยง – ไม่หิวครับ
จินดารัตน์ – พอ 11 โมง จะมากินข้าว กินข้าวเที่ยง ทานอะไรบ้างคะ
ด.ต.บรรยง - ก็แกงธรรมดาบ้าง อะไรพวกนี้
จินดารัตน์ – กี่จานคะ
ด.ต.บรรยง – จานเดียว ครับ
จินดารัตน์ – จานเดียวอิ่มเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ก็จานเดียวไม่มากกว่านั้น พยายามมันก็ไม่ลด ทำไงมันก็ไม่ลด
จินดารัตน์ – ทั้งๆก็ที่รู้สึกว่าตัวเองกินน้อยลงเหรอคะ
ด.ต.บรรยง - ครับ
จินดารัตน์ – ข้าวเที่ยงกินข้าวจานหนึ่ง
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – อาหารก็ปกติเหมือนคนธรรมดาเขากินกัน มีทานขนม มีทานอะไรต่อไหม
ด.ต.บรรยง – ไหมครับ ของหวานไม่เอา
จินดารัตน์ – แล้วกลางวันก็ไม่ต้องไปโบกรถอะไรแล้ว
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – จนกระทั่งเย็น เย็นนี่กี่โมงต้องออกไปทำงาน
ด.ต.บรรยง – 15.30 น.
จินดารัตน์ – คือช่วงนักเรียนเลิก
ด.ต.บรรยง – ครับ เลิก 6 โมง
จินดารัตน์ – 3 โมงครึ่งถึง 6 โมงเย็น และทานข้าวอีกทีกี่โมงคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่แน่ครับ บางที 3 ทุ่ม บางทีนั่งดริ๊งค์บ้าง ก็ทานดึก
จินดารัตน์ – ทานเยอะไหมคะ มื้อเย็น
ด.ต.บรรยง – ถ้าหิวก็เยอะ เพราะว่าเหนื่อย
จินดารัตน์ – โบกรถมาตั้งหลายชั่วโมง
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – แล้วตอนมื้อเย็นทานอะไรหนักที่สุด
ด.ต.บรรยง – โดยมากจะเป็นกับแกล้มครับ
จินดารัตน์ – อย่างเช่นอะไรคะ
ด.ต.บรรยง – พวกไก่อะไรพวกนี้
จินดารัตน์ – ของมันๆนี่ชอบเลยนะคะ ตอนเย็นนี่กินหนักเลย แล้วก็มีดื่มกับเพื่อนบ้าง ดื่มทุกวันหรือเปล่าคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ไม่ทุกวัน
จินดารัตน์ – แล้วก็รู้สึกว่าชีวิตเป็นอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้มานานแค่ไหนแล้วคะ
ด.ต.บรรยง – ก็หลายปีแล้ว
จินดารัตน์ – แล้วเสื้อต้องเปลี่ยนทุกปีไหม
ด.ต.บรรยง – ทุกปี
จินดารัตน์ - แล้วมัน ใหญ่ขึ้นทุกปีไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ทุกปีครับ
จินดารัตน์ – ปีละกี่นิ้วคะ เคยจำไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่เคยครับ
จินดารัตน์ – ไม่เคยถามช่างเลย แล้วภรรยากับลูกที่บ้านว่ายังไงคะ เขาเคยช่วยกันไหมคะ
ด.ต. บรรยง – ก็พยายามให้ลด ครับ ให้กินน้อยๆ ก็อย่างว่า หิวก็ไปเปิดอีกแล้ว
จินดารัตน์ – กินมื้อสุดท้ายกี่โมงคะ
ด.ต.บรรยง – คือบางครั้ง ถึง 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม
จินดารัตน์ – ก็ยังกินอยู่
ด.ต.บรรยง – ถ้าหิว นอนไม่หลับ
จินดารัตน์ – ลุกขึ้นมากิน รู้สึกว่านอนไม่หลับถ้าไม่ทาน แล้วจะนอนหลับเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – คุณหมอคะ คนที่อ้วน ส่วนใหญ่ เป็นอย่างนี้ เยอะไหมคะ
นพ.วูฒิพันธ์ – ก็ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับพี่ยงนะครับ คือส่วนใหญ่เช้า กลางวัน ทานบ้าง ไม่ทานบ้าง แต่เย็นนี่หนักแน่นอนเลยครับ ยิ่งของพี่ยงนี่อยู่เวรด้วยบางครั้ง มื้อเย็น 2 รอบ รอบ เย็น และรอบดึก ถึงจะหลับ
จินดารัตน์ – แล้วการโบกรถ อะไรทั้งหลาย ถือเป็นการออกกำลังกายได้ไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ถือเป็นกิจวัตรประจำวันเสียมากกว่า ก็ไม่ได้ออกกำลังกายอะไรมาก ก็แค่ยกแขน โบกไปโบกมา
จินดารัตน์ – ส่วนล่างเนี่ย ไม่ได้ขยับเลย มาถึงดาบชัยรัตน์บ้าง ดาบชัยรัตน์ กิจวัตรประจำวันทำอะไรบ้าง ตื่นเช้ามา กี่โมง กินอะไรบ้างตอนเช้า
ด.ต.ชัยรัตน์ – ตื่นเช้า ผมก็ตื่นตี 5
จินดารัตน์ – อาหาร เช้าทานอะไรบ้างคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – กาแฟ
จินดารัตน์ – เหมือนคนทั่ว ไป ขนมปังทานไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ - ปาท๋องโก๋
จินดารัตน์ – ทานปาท่องโก๋
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไข่ลวก
จินดารัตน์ – ไข่ลวกกี่ฟองคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – 2 ฟอง
จินดารัตน์ – เป็นอย่างนี้เกือบทุกวันเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มันเว้นบ้าง ไข่ลวก แต่กินปาท๋องโก๋ทุกวัน
จินดารัตน์ – ปาท่องโก๋ วันละกี่ตัวคะ
ดต.ชัยรัตน์ – 2 ตัวครับ
จินดารัตน์ – ก็คือ 2 คู่นะคะ แล้ว กาแฟ แค่นี้ ออกไปทำงาน ก็เหมือนดาบบรรยง
ด.ต.ชัยรัตน์ – ผมสายหน่อย ออกไป 3 โมงกว่าๆ
จินดารัตน์ – ผลไม้ทานไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ผลไม้ก็มีบ้าง
จินดารัตน์ – ไปหนักตอนเย็นเลย ตอนเย็นทานอะไรบ้างคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีเหล้า มีอะไรบ้าง
จินดารัตน์ – เป็นอย่างนี้เกือบทุกวัน หนักกับ ข้าวก็ไม่ค่อยได้ทาน หนักกับ ก็เป็นของทอด ของมัน กินกันจนถึงกี่โมงคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่แน่บางวัน ก็ร้องเพลงบ้างอะไรบ้าง ก็เกือบตี 1 เกือบสว่างไปเลยบางที
จินดารัตน์ – แล้วตื่นมาโบกรถไหวเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ ต้องไหวนะครับ มันไม่ทุกวัน คือดื่มเกือบสว่าง ต้องควบคุมตัวเองให้ได้
จินดารัตน์ – ตื่นมาเมือไหร่ ทำงานได้ทันที แต่ทานอย่างนี้ทุกวัน ไปออกกำลังกายบ้างไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – เคยครับ
จินดารัตน์ – ใช่คำว่าเคย แสดงว่าไม่ได้ทำทุกวัน
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่ได้ ทำทุกวัน
จินดารัตน์ – เคย นี่ บ่อยแค่ไหนคะ
ดต.ชัยรัตน์ – ว่า อาทิตย์ หนึ่ง อาจจะมีเว้นวัน 2 วัน ก็ไปวิ่ง แถว ออฟฟิต
จินดารัตน์ – วิ่งกี่กิโล
ด.ต.ชัยรัตน์ – รอบเดียว วิ่งเหยาะๆ
จินดารัตน์ – รอบเดียวเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ - ครับ
จินดารัตน์ – สนามใหญ่เหมือนกันนะครับ ได้เหงื่อบ้างไหมคะ
ดต.ชัยรัตน์ - ได้ครับ
จินดารัตน์ – คิดว่า การวิ่งทำให้เราผอมลงไหม หรือว่า แค่รู้สึกอยากจะไปวิ่งเฉยๆ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็คงได้เหงื่อ เราก็คิดว่ามันได้เหงื่อ
จินดารัตน์ – เสร็จจาก วิ่งเสร็จ ไปกินข้าวต่อ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ยังไม่กินซิ ไปอาบน้ำ อาบท่าก่อน ให้สบายใจก่อนแล้วค่อยว่ากันไป
จินดารัตน์ – แล้วค่อยว่ากันไป มาถึง จ่าศิริ บ้างทำอะไรบ้าง ตื่นเช้ามาทานอะไรบ้าง
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ มื้อเช้าก็กาแฟ บางครั้งก็ไม่ได้ทาน ข้าวส่วนมากก็จะทาน 3โมงเช้า โบกรถเสร็จ
จินดารัตน์ – ไม่เหนื่อยเหรอคะ ไม่หิวเหรอคะ ช่วงโบกรถ
จ.ส.ต.ศิริ – ทำงานอยู่ ลืมความหิวไปชั่วขณะ เวลาออกมานั่งพักก็หิวแล้ว หิวข้าว หิวน้ำ 3 โมงเช้า
จินดารัตน์ – ทานอะไรบ้าง คะ ข้าวเลยเหรอคะ
จ.ส.ต.ศิริ - ครับ ข้าวราดแกง ข้าวจานเดียว ราดแกง
จินดารัตน์ – จานเดียวนะคะ ตอนเช้า แล้วตอนเที่ยงล่ะคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ตอนเที่ยง ก็จะประมาณบ่ายๆหน่อย บางที ก็จะเป็นก๋วยเตี๋ยว หรือข้าวก็แล้วแต่
จินดารัตน์ – จานเดียวก็อยู่อิ่ม
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ - มีขนม อะไรบ้างไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่มีนะครับ ไม่ชอบ จะไปหนักเอาตอนเย็น ๆ ออกเวร 4 ทุ่มนะครับ ดูโทรทัศน์ กลับไปเพลียๆมันเหนื่อย มันหิว เราจะกินหนักตอนนั้น
จินดารัตน์ – เครียดด้วยไหมคะ ถ้าวันไหนโบกรถแล้ว รถมันติดเหลือเกิน มันเครียดจนทำให้เราต้องกินเยอะขึ้นหรือเปล่า
จ.ส.ต.ศิริ – ก็มีส่วนนะครับ ว่าบางครั้ง ทำงานไปมันก็เครียด โบกรถโบกรา มันมีปัญหา การทำงานอย่างเนี่ย อธิบายเขาไม่เข้าใจ มันก็ใส่อารมณ์ไป เราก็เครียด บางที
จินดารัตน์ – ยิ่งเครียด ยิ่งทาน
จ.ส.ต.ศิริ – ก็มีส่วนนะครับ
จินดารัตน์ – ทีมงาน ดิฉันแอบบอกว่า จ่ากินเหมือนปล้นตู้เย็นเลย จริงหรือเปล่าคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็เวลา ออกเวร ไปดูโทรทัศน์เนี่ย มันหิว เห็นเขากินอะไรก็อยากจะกินบ้าง มีอะไรในตู้เย็นตอนนั้น กินได้ก็กิน เวลาอิ่มแล้วหนังตามันก็หย่อน หลับสบายดี
จินดารัตน์ – รู้สึกว่าท้อง มันอิ่มแล้ว หลับสบาย
จ.ส.ต.ศิริ - ครับ
จินดารัตน์ – วันไหนท้องว่างทานน้อย
จ.ส.ต.ศิริ – จะหงุดหงิดเลยครับ
จินดารัตน์ – นอนไม่หลับ
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – คุณหมอคะ ตำรวจจราจร ในสายงานจราจร 85 นาย ลักษณะนิสัยการกินเหมือนกันหมดไหมคะ ทั้ง 85 นาย เหมือนหรือคล้ายๆกัน หรือยังไง
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็สไตล์เดียวกันหมด
จินดารัตน์ – กินแบบปล้นตู้เย็นเหมือนกัน
นพ.วุฒิพันธ์ – ครับ ส่วนใหญ่จะมาหนักมือเย็นกันเสียส่วนใหญ่
จินดารัตน์ – และหนักที่การดื่ม อันนี้มีผลไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – มีผลเหมือนกัน เพราะว่า ตัวแอลกอฮอล์เวลาเข้าไปในร่างกายแล้ว จะแปรสภาพ อกมาเป็นไขมัน เพราะแอลกอฮอล์ แคลอรีสูง
จินดารัตน์ – คะ ถ้าเปรียบเทียบอาหารที่ทานกัน อย่างของทอด ของมัน ดาบทั้ง 2 ท่าน กับจ่า เขาชอบทาน เป็นกับแกล้มนะคะ เทียบกับแอลกอฮอล์ ที่ดื่มเข้าไป อันไหนจะเป็นตัวแปรมากว่ากัน
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ใกล้เคียงกันนะครับ
จินดารัตน์ – ถึงแม้จะไม่ได้ดื่มทุกวันถูกไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ส่วนใหญ่ทุกท่านก็ยอมรับว่าจะเป็นอาหารมัน แป้ง ซะเยอะ
จินดารัตน์ – อย่างจ่าบอกว่า วันไหนกินไม่อิ่ม นอนไม่หลับเด็ดขาด ต้องตื่นมากินให้อิ่ม กินอะไรก็ได้ อยู่ในตู้เย็น แล้วเคยโดนภรรยาแกล้งไหมคะ ไม่ซื้ออะไรใส่ตู้เย็นเลย
จ.ส.ต.ศิริ – ส่วนใหญ่มันก็มีประจำอยู่แล้ว ครับ
จินดารัตน์ – คือต้องมีของประจำตู้เย็นอยู่แล้ว อันนี้เป็นข้อตกลงในบ้านใช่ไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – บางที ไม่มี ด้วยความหิว ลงจากแฟลตไปหาอะไรทาน ก็อย่างผัดไทก็ยังดี ผัดซีอิ๋ว อะไรพวกนี้
จินดารัตน์ – ตกท้าย ก่อนดึกก่อนนอน และก็ก่อนนอนด้วย
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – เมื่อก่อนน้ำหนักเท่าไหร่คะ
จ.ส.ต.ศิริ – เมื่อก่อน ก็ 72 กก. ครับ ตอนนี้ ก็ 113 กก.ครับ
จินดารัตน์ – ดาบบรรยงคะ ตอนหนุ่มๆ นำหนักเท่าไหร่คะ
ด.ต.บรรยง – 65 กก. ครับ
จินดารัตน์ – แล้วตอนนี้เท่าไหร่คะ
ด.ต.บรรยง – 129 กก. ครับ
จินดารัตน์ - 129 กก. ประมาณ 100 กว่า มากี่ปีแล้วคะ
ด.ต.บรรยง – ประมาณ 2 ปี
จินดารัตน์ – จากนั้น ก็ 80-90 กก. มาตลอด
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ - ทั้ง 3 ท่าน เคยรู้สึกอึดอัด จนกระทั่ง ไม่ไหวแล้ว ต้องหาวิธีลดความอ้วน เคยมีอาการนั้นบ้างไหมคะ
ดต.บรรยง – ไหมมีนะครับ มันจะมาแบบคล้ายๆไม่รู้ตัว มาทีละนิด ไปส่องกระจกถึงรู้ ว่าเรารูปร่างใหญ่แล้วนะ
จินดารัตน์ – เริ่มมองไม่เห็นปลายเท้า เวลายืน
ด.ต.บรรยง – มันชินไปในตัวของมัน
จินดารัตน์ – ก็คือ ชินสภาพที่เราเห็นทุกวัน ถูกไหมคะ ทั้ง3 ท่านเนี่ย เต็มใจที่จะเข้าโปรแกรมนี้ โครงการนี้ หรือเปล่าคะ หรือว่าโดนแกมๆบังคับ
ด.ต.บรรยง – เต็มใจ
จินดารัตน์ – ไม่รู้สึกกดดันเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่ครับ
จินดารัตน์ – รู้หรือยังคะ ว่าเราต้องทำอะไรบ้าง รู้หรือยังคะจ่า
จ.ส.ต.ศิริ – ก็เพิ่งรู้วันนี้ แต่ต้องทำให้ได้
จินดารัตน์ – อ๋อ สัญญากับตัวเองไว้ ที่ต้องทำให้ได้นี่ เพราะว่าผู้บัญชาการขู่เอาไว้หรือเปล่าคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่เครียด อยู่ที่ตัวเราเอง มันเป็นการดีสำหรับเราอยู่แล้ว
จินดารัตน์ – ปกติตำรวจไทยได้รับการตรวจสภาพร่างกาย สุขภาพประจำปีมีหรือเปล่าคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีปีละครั้ง
จินดารัตน์ – แล้วคุณหมอเคยเตือนไหมคะ ว่าเนี่ย อ้วนเกินไปแล้วนะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีครับ
จินดารัตน์ – แต่ไม่บังคับ
ด.ต.ชัยรัตน์ – คือแจ้งให้ทราบ ว่าควรไปพบแพทย์
จินดารัตน์ – ไม่กลัว แต่เฉยๆ
ด.ต.ชัยรัตน์ – เฉยๆ ผมก็เป็นความดัน เบาหวาน ยังต่อสู้ได้
จินดารัตน์ – เป็นครบสูตรเลยนะ เป็นเบาหวาน เป็นความดัน แต่ก็ยังเฉยๆอยู่ แล้วดาบบรรยงล่ะคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่มีครับ
จินดารัตน์ – ไม่มีโรค แต่รู้สึกอึดอัดเท่านั้นเอง
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – แล้วจ่าล่ะคะ มีโรคอะไรบ้างไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่มีเลยครับ ไม่มี แต่มีคอลเลสโตรอลในเลือดสูงผิดปกติไปเล็กน้อย
จินดารัตน์ – เล็ก น้อยเหรอคะ ไม่สูงปรี๊ดเหรอคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่เท่าไหร่
จินดารัตน์ – แล้วยัง สบายใจอยู่ ยังใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้ และในตำรวจจราจร ในสายงานจราจร มีอ้วนๆอย่างเรา กี่คน ในแต่ละ สน. จ่าบรรยงคะ
ด.ต.บรรยง – มีผมคนเดียวครับ
จินดารัตน์ – คนเดียวเลยเหรอคะ ในสายงานจราจร เพื่อนล้อบ้างไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ก็แหย่บ้าง
จินดารัตน์ – รู้สึกเป็นไงบ้าง รู้สึกว่าเราต้องไปลดความอ้วนหรือเปล่า
ด.ต.บรรยง – ก็ไม่ครับ เฉยๆ ธรรมดา
จินดารัตน์ – คนอื่นเขาผอมๆกันหมดเลย คะ แล้วดาบล่ะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็มี ไล่ไป แต่ผมโดเด่นสุด
จินดารัตน์ – คือชนะเลิศเลย แล้วฝ่ายอื่นๆสอบสอน สืบสวน เขามีไหมคะ อ้วนๆ
ด.ต.ชัยรัตน์ – สายตรวจก็มีเหมือกัน แต่อายุน้อย
จินดารัตน์ – ใน สน. มีคนอ้วนกี่คนคะ ทั้ง สน. เยอะไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่เยอะ
จินดารัตน์ – แล้วจ่าล่ะคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ของผม ในสายจราจร มี 2 คนครับ ที่ใหญ่ ที่เข้ารับการอบรม สายอื่นเขาก็มี อย่างเจ้าหน้าที่ธุรการ
จินดารัตน์ – ทั้ง สน. มีประมาณกี่คน
จ.ส.ต.ศิริ – ประมาณเกือบ 10 คนนะครับ
จินดารัตน์ – 10 คน เอวใหญ่อย่างนี้ แล้วโดนหมดไหมคะ ทั้ง 10 คน
จ.ส.ต.ศิริ – เขาเอาเฉพาะสายจราจรมาอย่างเดียว
จินดารัตน์ – อ๋อ ใช่คะ เฉพาะสายจราจรก่อน ถ้าอยากถามคุณหมอว่า โปรแกรมที่ทั้ง 3 ท่าน และ อีก 82 คน จะต้องไปเจอ และทำอะไรบ้าง
นพ.วุฒิพันธ์ – เราก็ จะแบ่งโปรแกรมออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเลยก็คือ จะเริ่มจากปรับพื้นฐานก่อน นะครับ เพราะว่าส่วนใหญ่ประวัติที่ทางกลุ่มส่งให้เรา ก็ไม่ได้ออกกำลังกายกันเท่าไหร่ นะครับ คงต้องเริ่มกันตั้งแต่ การออกกำลังกาย เริ่มตั้งแต่วอร์มอัพกันขึ้นมา การลดน้ำหนัก มันขึ้นอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ก็คือเรื่องของอาหาร และการอกกำลังกาย ส่วนอาหารทางโรงพยาบาลก็มีการจัดเตรียมอาหารไว้ให้เรียบร้อยแล้ว โดยนักโภชนาการ นะครับ ซึ่งจะเป็นอาหารมื้อเย็นก่อน มื้อเย็นจะคอนโทรล ไว้ที่ 6 โมงเย็น
จินดารัตน์ – 6 โมงเย็น มาเจอกันเลย มาเจอกันที่โรงพยาบาลอย่างนั้นหรือเปล่า
นพ.วุฒิพันธ์ – จะมาเจอกันที่โรงพยาบาล 4-5 โมงเย็น เพื่ออกกำลังกายก่อน
จินดารัตน์ – อ๋อ มา Exercise กันก่อน
นพ.วุฒิพันธ์ – ใช่ครับ
จินดารัตน์ – ก็จะมีท่าสอน สำหรับคนรูปร่างขนาดนี้ ต้อง ประมาณไหน อย่างไง
นพ.วุฒิพันธ์ – การออกกำลังกาย เราก็จะมีวิ่ง เรามีพื้นที่ในส่วนของโรงพยาบาล เรามีสวนสุขภาพอยู่
จินดารัตน์ – 85 นายเลยเหรอคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ครับผม เรามีพื้นที่พอ
จินดารัตน์ – คงคึกคักน่าดูเลยนะคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – เพราะว่าเรามีโรงเรียน ฝึกพนักงานอยู่แล้วด้วย ก็คงออกกำลังกายร่วมกันเลย
จินดารัตน์ – ก็มีวิ่ง
นพ.วุฒิพันธ์ – แล้วก็มีแอโรบิก นะครับ มีโยคะ แล้วก็ มีโรงยิม มีที่ออกกำลังกาย กิจกรรมทั้งหมดก็มี 4 อย่าง
จินดารัตน์ – คือสลับกันทำ
นพ.วุฒิพันธ์ – ใช่ครับ
จินดารัตน์ – กลุ่มนี้ ก็อาจจะไปวิ่งก่อน อีกกลุ่มหนึ่งก็ Exercise ในโรงยิม
นพ.วุฒิพันธ์ – บางกลุ่มอาจจะไปฝึกโยคะด้วย เพราะถ้าเกิดออกกำลังกายไปสักพักหนึ่งแล้ว อันนี้คือคอร์สที่ 1 นะครับ พร้อมกับควบคุมอาหาร ถ้าคนไหนผ่าน เราก็จะลิมิตเอาไว้คอร์สที่ 1 นะครับ
จินดารัตน์ - วัดกันอย่างไรคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – เราก็ต้องดูแนวโน้มการลดลงของน้ำหนักให้ได้
จินดารัตน์ – ภายในระยะเวลาเท่าไหร่คะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์
จินดารัตน์ - 2 อาทิตย์ อาทิตย์ละกี่วันคะ ที่จะต้องไปทำแบบนี้คะ
นพ.วุฒิพันธ์ – 7 วันครับ
จินดารัตน์ – 7 วัน เลยเหรอคะ ไม่มีวันหยุด
นพ.วุฒิพันธ์ – ไม่มีครับ เพราะว่า ทุกท่านก็ตั้งใจว่ากันจริงๆว่าจะลดให้ได้ นะครับ การที่เราเว้น บางครั้งที่เราหยุดไป เสาร์-อาทิตย์ กลับบ้านไปบ้านอยู่เฉยๆ
จินดารัตน์ – ไปเฝ้าตู้เย็น
นพ.วุฒิพันธ์ – ใช่แล้วครับผม ไปเฝ้าตู้เย็นอีกรอบหนึ่ง กลับมาวันจันทร์ก็ ไม่ผ่านแน่นอน แล้วก็จะเข้าคอร์ส ประเมินกัน ถ้าใครประเมินผ่านก็จะ คงไว้ที่คอร์สที่ 1 ถ้าไม่อย่างนั้น เราจะเพิ่มคอร์สที่ 2 เข้าไป ซึ่งเข้มข้นขึ้น มีการคอนโทรลแคลอรีมากขึ้น
จินดารัตน์ – ทำอย่างไรบ้างคะคุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ – ครับ ก็อาจจะมีการไปออกกำลังกายนอกสถานที่ด้วย เพราะว่าพอช่วง 2 อาทิตย์ไปแล้ว การออกกำลังกายก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างหนึ่งนะครับ คงต้องให้ผู้เข้าร่วม ตำรวจจราจรทุกท่านที่เข้าร่วมกับเรา รู้สึกสนุกกับมันด้วย เราก็มีพันธมิตรของเราที่เราไปตกลงกันไว้แล้ว คือฟิตเนท เราจะพาไปที่ฟิตเนทจริงๆ
จินดารัตน์ – สำหรับคนที่ ไม่ผ่านโปรแกรมที่ 1 ก็คือ 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ลด ถ้าคนที่ลดแล้วนะคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ยังเป็น โปรแกรมที่ 1 อยู่ แต่ว่าเขาก็จะไปร่วมสนุกกับการออกกำลังกายนอกสถานที่ได้ด้วย แล้วก็ยังมีการแข่งขันกีฬากันภายในกลุ่ม ของทางตำรวจด้วย
จินดารัตน์ – โปรแกรมที่ 2 คนที่ไม่ผ่านโปรแกรมที่ 1 ไปโปรแกรมที่ 2 ให้หนักขึ้น ใช้เวลานานแค่ไหนคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – โปรแกรมที่ 2 เราก็จะประเมิน อาทิตย์ ที่3 อาทิตย์ที่ 4
จินดารัตน์ – 2 สัปดาห์เหมือนกัน
นพ.วุฒิพันธ์ – 2 สัปดาห์เหมือนกัน แล้วเราก็จะเริ่มปรับ ถ้าดูแล้วแนวโน้มจะไม่ลง เราจะขึ้นอีก คือไม่แน่ใจว่า เข้ามา อาหาร เราอาจจะเลี้ยงดีเกินไปหรือเปล่า สุดท้ายเราก็คงต้องปรับเป็นโปรแกรมสุดท้าย ก็อาจจะต้องย้ายสำมโนครัว มานอนที่โรงพยาบาลด้วย นะครับ เพราะว่าบางทีอย่างที่บอก ว่ากลับไปรอบดึก เราไม่ทราบว่า ทางตำรวจ ถึงแม้จะมีสมุดให้ลงกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว โดยที่มีนายตำรวจคอยช่วยดูแลอยู่ อีกครั้งหนึ่ง แต่บางทีอาจจะมีหลุด เพราะเราเช็กได้จากอาหาร ตัวการออกกำลังกาย เราคอนโทรลแคลอรีกันได้อยู่แล้ว และเรารู้ว่า ออกกำลังขนาดนี้ ทานอาหารแคลอรีระดับนี้ ถ้าทานได้จริงๆ คงจะลงได้เท่าไหร่ แต่มันลงไม่ได้ แสดงว่ากลับบ้าน คงไปหาอย่างอื่นทานแล้วล่ะ
จินดารัตน์ – หลังจากที่ทานอาหารเย็นจากโรงพยาบาลแล้ว กลับบ้านก็ไปทานต่อ
นพ.วุฒิพันธ์ – กลับไปทานอย่างอื่นด้วย สุดท้ายแล้วอาจจะต้องมาพักที่โรงพยาบาลด้วย เพื่อ ไม่ใช่ว่าเราบังคับอะไรนะครับ ว่าให้นอนหอพัก เพื่อช่วยท่านตอนกลางคืน ทำให้ท่านใจแข็งขึ้น ไม่ออกไป ต่อให้ข่างล่างโรงพยาบาลมีร้านอาหาร เราก็จะสั่ง รปภ. ว่าไม่ให้ตำรวจลงไป เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมคิดว่าหลังจากจบโครงการแล้ว ทุกท่านน่าจะลดได้
จินดารัตน์ – โปรแกรมที่ 3 ใช้เวลากี่สัปดาห์คะ
นพ.วุฒิพันธ์ – 1 เดือนครับ
จินดารัตน์ – 1 เดือนเต็มที่ ต้องไปนอนที่โรงพยาบาล ฟังแล้ว น่าขนหัวลุก เหมือนกันนะคะ จ่าบรรยงคะ ฟังดูแล้วทำได้ไหมคะ คิดว่าตัวเองพอรับไหวไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ไหวครับ
จินดารัตน์ – เหล้าก็ไม่ได้ดื่มแล้วตอนเย็น อาหารของทอด ที่ชอบ ก็ไม่ได้ทานแล้ว กินแต่ข้าวกล้อง ผัก ทุกอย่างเลย แล้วก็สุดท้ายก็คือ ถ้าไม่ผ่านจริงๆลดไม่ไหวจริงๆ ต้องไปนอนโรงพยาบาล กลัวอันไหนมากที่สุดคะ
ด.ต.บรรยง – ผมไม่กลัวเพราะว่า สมัครใจเข้าไป
จินดารัตน์ – คิดว่ายังไงทำได้ สบายมาก สัปดาห์แรกตั้งความหวังไว้ว่า เอวต้องลดไปกี่นิ้วคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่ทราบ ก็ต้องดูก่อน
จินดารัตน์ – คิดไหมคะ ว่า เราต้องทำได้สักกี่นิ้ว น้ำหนักน่าจะลงไปสักกี่ กก. ไม่ได้ตั้งตัวเลขเอาไว้เลย คุณหมอคะ ถ้าอย่างสัปดาห์แรก ถ้าออกกำลังกายแล้วทานอาหารที่ควบคุม ช่วงเย็น แล้วไม่กลับไปทานที่บ้านอีก น้ำหนักจะลดได้กี่ กิโลคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ประมาณสัก 1 กิโลกว่าๆร่างกาย ต้องปรับตัว เพราะว่าไขมันสะสมในร่างกายเยอะ ต้องใช้เวลาสักนิดหนึ่ง อาทิตย์ที่ 2 ที่เราเริ่มประเมินจะเห็นชัด จากวันนี้ที่เรามีการตรวจร่างกาย มีการเจาะเลือด วัดรอบเอว วัดไขมันต่างๆ แล้ว เสาร์-อาทิตย์นี้ก็จะเห็นว่าใครสามารถปฏิบัติตัวได้ตามนั้น คงจะลงมาประมาณนิ้วกว่าๆ
จินดารัตน์ – นิ้วหนึ่ง ใช้เวลาทั้งหมดกี่เดือนคะ ต่อไปคือจะต่อเนื่องยาวนานไปแค่ไหนคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – โครงการเราอย่างที่บอก เราต้องใช้เวลา อย่างน้อยก็ 6 เดือน แต่โครงการตรงนี้ เป็นโครงการระยะสั้น ให้เขาเริ่มรู้สึกก่อน อย่างที่บอกโครงการจะสำเร็จไม่สำเร็จมันขึ้นอยู่กับ 5 อย่าง อย่างแรกคือตัวของผู้เข้าร่วมโครงการเองเขาต้องรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมนะ
จินดารัตน์ – อย่างนี้ถือว่า ใจเกินร้อย ก็คืออยากแล้ว อยากทำให้ตัวเอง น้ำหนักลดอยู่แล้ว ดาบชัยรัตน์ล่ะคะ กลัวไหมคะ ตอนเย็นไม่ได้ทานของชอบแล้วนะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่กลัวครับ
จินดารัตน์ – อย่างเอวที่มีอยู่ตอนนี้ 47 นิ้ว กะว่า 2 อาทิตย์ จะลดได้กี่นิ้ว
ด.ต.ชัยรัตน์ – นิ้ว สองนิ้วนะครับ
จินดารัตน์ – คิดว่าตัวเองทำได้ไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ได้ครับ
จินดารัตน์ – อาหารที่ต้องทาน อย่างข้าวกล้อง ทานผัก ทานผลไม้แทน ของมัน ของทอด ของโปรด
ด.ต.ชัยรัตน์ – ทานมามากแล้ว ลองเปลี่ยนรสบ้าง ทานอย่างนี้บ้าง
จินดารัตน์ – ท้าทาย
ด.ต.ชัยรัตน์ – ท้าทายดี
จินดารัตน์ – ขอให้จริงนะคะ มีอะไรบ้างคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีข้าวกล้อง มีมัน มีถั่ว มีผัก แทนที่จะกินข้าว ผสมหลายอย่าง
จินดารัตน์ – กินไปด้วย น้ำตาไหลไปด้วย คุณหมอคะ ถ้าอย่างทานยากๆอย่างนี้ บางคนขอพกน้ำพริก ปลาแห้งไปหน่อย ได้ไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – พวกน้ำพริกได้ ไม่มีแคลอรีอยู่แล้ว
จินดารัตน์ – คือถ้าไปเสนอตอนนี้ ขอคุณหมอ ขอเพิ่มอาหาร อยากจะขอเพิ่มไหมคะ น้ำพริก หรือว่าอะไรอย่างนี้
ด.ต.ชัยรัตน์ –ไม่ครับ
จินดารัตน์ – คือทำ ใจอยู่แล้วว่า ขอไม่ได้ คือในใจถ้าขอได้ อยากได้อะไรคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ –คงเป็นอาหารไทยๆต้มยำ
จินดารัตน์ – มันๆเขาไม่ให้แน่ๆ จ่าบรรยงล่ะคะ อยากได้อะไรเพิ่มไหมคะอาหาร
ด.ต.บรรยง – ไม่ครับ
จินดารัตน์ –ทานได้เหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – คล่องคอดี ไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ผมว่า 2 ครั้ง 3 ครั้งที่ทาน ก็พอไปได้
จินดารัตน์ – พอไปได้ กลางคืนกลับไปเปิดตู้เย็นอีกไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์- ไม่ครับ วันนี้ก็ยังไม่เปิด
จินดารัตน์ – แต่สัญญากับตัวเองไหมคะ ว่า 2 อาทิตย์จะไม่เปิดตู้เย็น
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – สัญญาไว้แล้ว ถ้ายังไงให้ที่บ้านช่วยดูด้วย ถ้าเปิดตีมือนะคะ แล้วจ่าล่ะคะ ทานมื้อนี้เป็นมื้อแรกหรือเปล่าที่ทานไป
จ.ส.ต.ศิริ – มื้อแรกครับ เราตั้งใจมาแล้ว คือเราก็ปรารถนาให้ร่างกายเราได้ทุกอย่าง
จินดารัตน์ – แสดง่าตอนท่านนี่คิดยู่ตลอด เพื่อวันข้างหน้า เพื่ออนาคตที่สดใส
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – คือท่องไว้ในใจตลอด พอไหวไหมคะ ข้าวกล้อง ผัก
จ.ส.ต.ศิริ – ไหวครับ
จินดารัตน์ – ไม่หิวเลยเหรอคะ กลับบ้านทำไงคะ อย่าบอกนะคะว่า ไม่เปิดตู้เย็น
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่เปิดครับ ต้องห้ามใจตัวเองให้ได้ ถ้าห้ามใจตัวเองไม่ได้ ร่างกายเราเอง
จินดารัตน์ – ที่บ้านมีเฮ ไหมคะ ไม่เปิดตู้เย็นเนี่ย
จ.ส.ต.ศิริ – น่าจะมีเฮ
จินดารัตน์- มีเฮนะคะ เอาล่ะคะ พักกันก่อน หลายคนเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า แล้วหักโหมให้ลดกันขนาดให้เหลือ 40 นิ้ว ถ้าเกิน 40 นิ้ว จะย้ายไปอยู่งานธุรการ เอ๊ะ มันเป็นความกดดันหรือเปล่า แล้วถ้าลดไป 2 อาทิตย์ จะต้องไปออกกำลังกาย ไปกินข้าวกล้อง อย่างนี้ทุกวัน ยืนโบกรถอยู่ดีๆ จะเป็นลมหรือเปล่า พักกันสักครู่ ช่วงหน้ากลับมาถามกันคะ
จินดารัตน์ – ลดจำนวนเอว ให้เหลือ 40 นิ้ว จะเกิดความ กดดันไหมคะ หลายคนบอกว่าดีเสียอีก ร่างกายจะได้สุขภาพแข็งแรง เพราะทำเองมันทำไม่ได้ สิ่งที่หลายคนกำลังคิดอยู่ในใจก็คือ จะลดกันไปทำไม มีจุดประสงค์อะไร เพราะว่าความอ้วนเหรอ ที่ทำให้ตำรวจทำงานได้ไม่ดี เราจะคุยเรื่องนี้ กับ พลตำรวจตรี มนตรี จำรูญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอยู่ในสายแล้ว สวัสดีคะ ท่านรองคะ
พล.ต.ต.มนตรี – สวัสดีครับ
จินดารัตน์ – ท่านรองคะ ตกลงกำหนดระยะเวลาเอาไว้ ไหมคะ จะต้องลดให้ได้ ภายในกี่เดือน
พล.ต.ต.มนตรี – คือ ความจริง เป็นความห่วงใยของผู้บังคับบัญชา สำหรับตำรวจจราจร อย่างที่ทราบกันดีว่า หน้าที่ของเขา จะอยู่บนท้องถนนเสียส่วนใหญ่ ซึ่งปัญหาเรื่องโดนแดด โดนฝน โดยเฉพาะเรื่องมลภาวะ ทำให้ส่วนใหญ่แล้ว ตำรวจจราจร เมื่อตรวจสุขภาพแล้ว มักจะมีปัญหานะครับ แต่จริงๆแล้ว เราก็มีการตรวจสุขภาพทุกปี เขาก็จะรู้ว่าตรงไหนควรจะไปแก้ไข ปัญหาของเขาอย่างไรบ้าง คือไม่ใช่ตรวจอย่างเดียว ตรวจทั้ง 13 รายการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหัวใจ เรื่องปอด เรื่องตับ เรื่องอะไรเนี่ย แต่ที่น่ากลัวก็คือว่า มันปรากฏว่าในจำนวนที่ตำรวจจราจรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 4,260 นายเนี่ย มีส่วนที่น่าห่วงก็คือว่า ไขมันในเลือดหรือคอลเลสโตรอล สูงเป็นอันดับหนึ่ง ในของทุกๆเรื่องที่ตรวจ ใน 14 รายการเนี่ย
จินดารัตน์ – ท่านรองคะ เห็นบอกว่า งานนี้ ถ้าบังคับกันขนาดนี้ มีให้เข้าร่วมโครงการ หาอะไรมาให้ทำ ถ้าลดไม่ได้ สุดท้าย ท้าที่สุด จะย้ายจากงานจราจร ไปงานธุรการเลย จริงหรือเปล่าคะ
พล.ต.ต.มนตรี – เออ คือ จุด มุ่งหมาย เรา เราไม่ต้องการลงโทษ เราต้องการที่จะให้เขาสุขภาพดีขึ้น ด้วยความห่วงใยเขานะครับ เพราะว่าผมอยากจะชี้ว่า ถ้าเราไม่ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง มันน่าเป็นห่วงมาก ว่า อย่างย้อนหลังไป 3 ปี ปี 45 เนี่ย มี คอลเลสโตรอลที่เกินจากปกติ ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ นะครับ ทีนี้ปีต่อมา ปี 4 6 ขึ้นมาถึง 39 เปอร์เซ็นต์ ปี 47 ขึ้นมา ปีที่แล้วเนี่ย ขึ้นมา 49 เปอร์เซ็นต์ แนวโน้ม ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างเนี่ย น่าอันตรายต่อตำรวจพวกนี้มาก
จินดารัตน์ – ให้เวลาตำรวจทั้ง 85 นายกี่เดือนคะ
พล.ต.ต.มนตรี – เออ คือ อย่างนี้ครับ จุดมุ่งหมายอย่างที่ผมเรียน ไม่เข้ม ไม่ใช่พวกนี้ไม่ดี เลยหาทางลงโทษเขา ในเมื่อมันเป็นอย่างนี้ เราในฐานะผู้บังคับบัญชา เราจะมีกลยุทธ์อย่างไรมากกว่า ที่จะทำให้เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเขา เพราะว่าถ้าปล่อยไปอย่างนี้ ตรวจสุขภาพ คุณไปจัดการเองนะ คุณไปดูแลตัวเองนะ ว่าหัวใจไม่ดี น้ำหนักมาก มันจะเป็นโรคหัวใจ มันจะเกิดความดันสูง หรือจะเกิดเบาหวาน ให้คุณไปแก้ไขนะ ให้รับประทานอาหารให้น้อยลง ไขมันน้อยลง ไปออกกำลังกาย 3 ปีที่ผ่านมามีแต่เพิ่มขึ้น ในฐานะผู้บังคับบัญชาเราต้องคิดว่าจะต้องทำอย่างไร นี้คือกลยุทธ์ไม่ใช่หาทางลงโทษเขานะครับ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งทีจะให้เขามีความกระตือรือร้น ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ ไม่กำหนดอะไรไว้เลย
จินดารัตน์ – จะไม่เกิดอะไรขึ้นนะคะ
พล.ต.ต.มนตรี –มันก็เหมือนเดิม
จินดารัตน์ – ท่านรองคะ ตั้งเป้าเอาไว้กันอย่างไรว่า ที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ดูจากอะไรคะ
พล.ต.ต.มนตรี – คือ อย่างนี้ครับ ถ้าไม่มีอะไรเลย มันก็คงเหมือนเดิมครับ 33 39 49 เปอร์เซ็นต์ ต่อไป ก็ จะเป็น 50-60 เปอร์เซ็นต์ ต่อไป ตำรวจก็อายุสั้นลงเรื่อยๆ ผมอยากให้คิดว่าด้วยความปรารถนาดีมากว่า เพราะว่ากลยุทธ์ทำให้เขา ก็คือต้องมีกำหนดเกณฑ์ว่า อันนี้มันมากเกินไปนะ ประเด็นแรก คือ สุขภาพร่างกายของเขา จะเกิดปัญหาแน่ ประเด็นที่สองก็คือว่า ประสิทธิภาพในการทำงานเนี่ย ผมคิดว่าคนที่น้ำหนักเกินเนี่ย การที่จะไปวิ่งจับคนร้าย การที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ คงจะไม่คล่องตัวเท่ากับคนที่น้ำหนักไม่เกินมาก แล้วก็ภาพลักษณ์ของตำรวจที่อยู่ในท้องถนนเนี่ย ว่าคนอื่นมอง ว่าทำไมปล่อยให้ตำรวจอย่างเนี่ย ปล่อยให้อ้วนอย่างนี้น่าเกลียด จุดของผมต้องการให้สุขภาพเขาดี เป็นอันดับแรก อันดับสอง อันดับสาม เป็นเรื่องรอง
จินดารัตน์ – แสดงว่านายตำรวจจราจรในสายงานจราจร ต้องเข้าร่วมโครงการคือ เข้าใจดีใช่ไหมคะ ความปรารถนาดีของทาง ท่าน ผบ.ชน.
พล.ต.ต.มนตรี – เอาอย่างนี้ดีกว่า ว่า คือเข้าใจดี เราไม่บังคับนะครับ ทางโรงพยาบาลกล้วยน้ำไทที่มาช่วย ในคราวนี้ เขาช่วยโดยเอาไปเข้าคอร์ส โดยหลักวิชาทางการแพทย์ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายที่ถูกวิธี แล้วก็อบรมอะไรต่ออะไร แล้วก็ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เรื่องอาหาร เรื่องออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการใช้ยา ทางโรงพยาบาลออกให้หมด ผมเองเนี่ย ไม่บังคับนะครับ ปรากฏว่า 85 คน ยินดีที่จะมาเข้าคอร์สนี้เพราะว่า บางคนอยากไปลดความอ้วนก็ต้องเสียตังค์ แล้วนอกจากนั้นแล้วนะครับ คนที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ ยังสมัครใจมาเข้าคอร์สนี้ด้วยนะครับ
จินดารัตน์ – หมายความว่า อยู่สายอื่น ก็สามารถสมัครใจมาได้เหรอคะ
พล.ต.ต.มนตรี – ไม่ครับ ผมดูแลสายงานจราจรอย่างเดียว ก็ปรากฏว่ามีคนมาสมัครใจ แต่ว่า โรงพยาบาล เขาบอกว่า เขามี จำนวนที่จะเข้าคอร์สนี้ได้ แค่ 100 คน เพราะฉะนั้น เพิ่มมาอีก 15 คน แสดงให้เก็นว่า ตำรวจเราไม่ต้องบังคับ ก็เริ่มตื่นตัวแล้ว
จินดารัตน์ – ขอบพระคุณ คะ ท่านรอง คะ เข้าใจเป็นอย่างดีแล้วนะคะ ขอบพระคุณคะ สวัสดีคะ
ท่านก็บอกแล้วว่าไม่ได้บังคับ ที่พูดไปก็ขู่ ก็อยากจะให้ ช่วยกันลดน้ำหนักกัน หลายคนก็ให้กำลังใจมา ทีนี้เรียนถามคุณหมอว่า การที่จะลดนำหนัก 1 นิ้ว มันจะต้องลดน้ำหนักกี่กก. หรือว่ายังไงคะ หรือมีวิธีลดบางส่วน เฉพาะส่วนเอว หรือยังไงคะคุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ - ลด 1 นิ้ว จะลดน้ำหนักกี่กิโล บอกไม่ได้นะครับ เพราะว่าการลด1 นิ้ว จาก 120 หรือลด 1 นิ้ว จาก 80 กิโล ต่างกันเยอะ อย่างที่ท่าน พล.ต.ต มนตรี บอกว่า เราต้องลงให้ต่ำกว่า 40 นิ้วในงานนี้ เขามีแนวโน้มจะลง ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าลงได้ ต่ำกว่า 40 นิ้วก็ดี ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 42-43 นิ้ว นะครับ
จินดารัตน์ – ก็ไม่ยากเกินไปในงานนี้
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ไม่ยากเกินไป ก็จะมีอยู่แค่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
จินดารัตน์ - แต่ถ้าหากว่า ผ่านไปสัก 2 สัปดาห์ลดไป 1 นิ้ว ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีอยู่แล้ว
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ถือว่า เขาทำตามโปรแกรมได้ แต่พอครบ2 เดือนเนี่ย ผมเชื่อว่าอย่างน้อยอยู่ที่ 3 นิ้ว
จินดารัตน์ – ดิฉันเป็นห่วงอย่างนี้คะ คุณหมอคะ ให้ทานข้าวกันอย่างนั้น แล้วก็ออกกำลังกาย คือเช้ามาจะมีแรงไปโบกรถหรือคะ จะเป็นลมเป็นแล้งกันไปหรือเปล่า
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ค่อยๆ ประเมินกันไป ไม่ใช่วันแรก วิ่งผลัด 5 กิโล คงไม่ใช่ คงค่อยๆเริ่ม แล้วก็ประเมินไป ทีละนิด ส่วนกลางคืนอย่างที่บอก คือ ทุกคนจะหิว แต่ไม่ต้องห่วง เราจะมีพวกอาหาร ที่ไม่มีแคลอรีต่างๆ
จินดารัตน์ – อาจจะพก กลับบ้าน ไม่ต้องถึงขนาดเปิดตู้เย็น
นพ.วุฒิพันธ์- แต่จะให้อาหาร ติดมือกลับไปด้วย
จินดารัตน์ – จ่ากลัว ไหมคะ กลางคืนมันหิว นอนไม่หลับ ตื่นเช้ามานอนไม่เต็มที่ เดี๋ยวเป็นลมได้ กลัวไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – เลิกกลัว คิดว่าร่างกายไหว
จินดารัตน์ – คิดว่าไหว มั่นใจว่าไหว แล้วทางดาบชัยรัตน์ล่ะคะ คิดว่าไหวไหมคะ ถ้าดึกๆต้องหิว แล้วต้องอด ตื่นเช้ามา ก็ต้องไปทำงานแต่เช้า
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไหวครับ
จินดารัตน์ – จ่าบรรยงล่ะคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่กลัว
จินดารัตน์ – ไม่กลัว เคยลองแล้วนะคะ รู้สึกว่าดาบ ทานมาหลายมื้อแล้วเหมือนกัน แล้วไปเต้นแอโรบิคเป็นไงคะ ร่างกายสดชื่นขึ้นไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ สดชื่นขึ้นนะครับ
จินดารัตน์ – เรื่องของน้ำหนัก เรื่องของส่วนเอว อะไรทั้งหลาย ทำให้ถึงอาการเครียดไหมคะ ว่าเหมือนมีอะไรมากดดันเรา มีข่าวมาว่า ถ้าเราลดไม่ได้ โปรแกรม 1 ก็แล้ว โปรแกรม2 ก็แล้ว โปรแกรม 3 ก็แล้ว ถ้าเราลดไม่ได้ เขาจะย้ายงานเราไปอยู่ธุรการ กลัวไหมคะ คิดว่าทำได้เหรอคะ
ด.ต.บรรยง – มั่นใจครับ
จินดารัตน์ – เขาบอกว่า โปรแกรม 3 มีฝังเข็มด้วย กลัวไหมคะ
ด.ต.บรรยง –ถึงขนาดนั้นเลยเหรอ
จินดารัตน์ – จริงคะ จริงไหมคะคุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็เพิ่มการรักษาทางการแพทย์เข้าไปเพิ่มเติม พิจาณาไปรายๆไป
จินดารัตน์- นี่แสดงว่า กลัวเข็มแน่ๆเลย ดาบชัยรัตน์กลัวเข็มไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่กลัวครับ
จินดารัตน์ – ถ้าต้องฝังเข็มจริงๆก็ไม่กลัวนะคะ จ่าละครับ กลัวไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่กลัว อยากให้ร่างกายเราดีๆ
จินดารัตน์ - ไม่แน่นะคะ ผ่านจากตรงนี้ไป 5-6 เดือน ดิฉันจะเชิญทั้ง 3 ท่านมาใหม่ แล้วมาวัดรอบเอวกัน ว่าลดลงได้จริงหรือเปล่าคะ แต่ทางคุณผู้ชมทางบ้านก็ดูเหมือนจะให้กำลังใจกันมาเยอะเหมือนกัน ต้องถามคุณหมอว่าอ้วนจากกรรมพันธุ์ กับอ้วนจากอาหารการกิน วิธีการลด ต่างกันไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ - คือคนอ้วนก็มาจาก 2 สาเหตุนะครับ ทานอาหารที่มีไขมันเยอะเกินไป กับไม่ได้ออกกำลังกาย แต่อ้วนจากกรรมพันธุ์ตอนนี้ มันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนนะครับ ยังไม่มีใครเจอกรรมพันธุ์อ้วน ทุกวันนี้ยังไม่มีคนเจอ ส่วนใหญ่เด็กๆอ้วน จะมีพ่อแม่ที่น้ำหนักตัวเยอะอยู่แล้ว ก็เลยทานกันทั้งบ้าน คือสไตล์เดียวกันทั้งบ้าน เพราะฉะนั้นถามว่าพ่อแม่อ้วน ลูกต้องอ้วนไหม คงไม่ใช่ แต่โดยพฤติกรรมที่ถูกปลูกฝังมาให้ทานร่วมกัน
จินดารัตน์ – เห็นพ่อแม่ทานขนาดนี้ ก็เลยทานกันใหญ่ อาหารที่ต้องทานจะทานได้กี่วันคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหมอ
จินดารัตน์ – อย่าแอบเอาแกงเผ็ดไปนะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – เอาไปไม่ได้แน่ แล้วจ่าล่ะคะ จะทำได้กี่วัน
จ.ส.ต.ศิริ – ครบหลักสูตรล่ะครับ
จินดารัตน์ – โห ตั้งใจมาก
จ.ส.ต.ศิริ – ตั้งใจมาแล้ว
จินดารัตน์ – ฝากเป็นตัวแทนไปบอกเพื่อนๆด้วย เป็นกำลังใจให้ทั้ง 85 นายนะคะ ลดได้ก็ดีกับสุขภาพของตัวเราเอง ขอบพระคุณทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างสูงนะคะ ขอบพระคุณคะ เราจะติดตามดูกันต่อไป วันนี้ลากันไปก่อนนะคะ
รายการคนในข่าว ออกอากาศทาง News 1 เวลา 21.05-22.00 น. ดำเนินรายการโดยจินดารัตน์ เจริญชัยชนะ
จินดารัตน์ – สวัสดีคะ คุณผู้ชมคะ รายการคนในข่าวคะ ภาพที่คุณผู้ชมได้ชมไปเมื่อสักครู่เป็นภาพจำลองเหตุการณ์ที่อาจะเกิดขึ้นจริง สำหรับนายตำรวจทั้งหลายที่จะต้องไล่จับผู้ร้าย ถ้ามีรูปร่างตุ้ยนุ้ยหน่อย ก็จะวิ่งช้านิดหนึ่งนะคะ คนร้ายก็อาจะหนีไปได้ แน่นอนที่สุดเรื่องนี้ ทางกองตำรวจนครบาล เป็นห่วงกันมานานแล้ว วันนี้ก็เลยมีพิธีเปิดโครงการส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ใช้คำว่า โอ้โห 40 นิ้ว (รอบเอวนะจ๊ะ) ซึ่งจากการตรวจสุขภาพและสมรรถภาพประจำปีทางตำรวจจราจรทั้งหมด ทางตำรวจนครบาลทั้งหมด 4,150 นาย
พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเป็นโรคเกี่ยวกับคอลเลสโตรอลในเลือดสูงเป็นอันดับที่ 1 เลยคะ เกือบครึ่งหนึ่งนะคะ สรุปแล้วมีตำรวจจราจรที่ต้องเข้าร่วมโครงการลดน้ำหนักและลดรอบเอว มีทั้งหมด 85 นายด้วยกัน และวันนี้คนที่รอบเอว มากที่สุด ในบรรดา 85 นาย ก็คือ 49 นิ้ว ก็มานั่งอยู่กับเราด้วยนะคะ รวมทั้งคุณหมอด้วยนะคะ เราจะมาคุยกันว่า ทำไมต้องลดน้ำหนัก ถ้ามีน้ำหนักมากๆแบบนี้ จะทำงานและเป็นอุปสรรคยังไงอะไรกันบ้าง แต่ถ้าลดแล้วจะทำให้เครียดไหม
เพราะบางคนบอกว่าลดกันมาตั้งหลายปียังลดไม่ได้เลย แต่นี่ให้เวลาไม่กี่เดือนเองนะคะ จะทำได้ไหม พวกเขาจะเครียดกันหรือเปล่า ถ้าทำไม่ได้ มีเสียงขู่ออกมา จากท่าน ผบ.ชน. นะคะบอกว่า ทำไม่ได้ส่งไปอยู่สายงานอื่นทันที วันนี้เราจะคุยกันกับตัวอย่าง นายตำรวจ 3ใ น 85 นาย ที่จะต้องเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ท่านแรกคือ ด.ต.บรรยง วรรณวงษ์ ตำรวจจราจร สน.ท่าเรือ รอบเอว 49 นิ้ว คะ ท่านต่อมา ด.ต.ชัยรัตน์ อินพาลำ ตำรวจจราจร สน.บางซื่อ รอบเอว ไม่น้อยไปกว่ากันเท่าไหร่ 47 นิ้วคะ
ท่านต่อมา จ.ส.ต.ศิริ ยวงใย ตำรวจจราจร สน.บางยี่เรือ 46.5 นิ้ว คะ ขนาดเอวนะคะ และท่านสุดท้ายวันนี้ นายแพทย์ วุฒิพันธ์ ศุภจตุรัส ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดเครือโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท สวัสดีคะทุกๆท่านนะคะ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งคะทีทำให้ดิฉันมั่นใจตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ว่าวันดิฉันรู้สึกตัวเล็กไปเลย คือต้องเรียนถาม ดต. บรรยง ว่ารอบเอวเยอะที่สุดเลยในบรรดา 4,000 กว่าคน
ด.ต. บรรยง - ครับ
จินดารัตน์ – พอวัดออกมาตกใจไหมคะ
ด.ต. บรรยง - ไม่ตกใจ
จินดารัตน์ – คือรู้อยู่แล้วเหรอคะ เป็นอย่างนี้มานานแค่ไหนแล้วคะ
ด.ต.บรรยง – ประมาณ 4-5 ปีแล้วครับ ที่อ้วน
จินดารัตน์ – จากเดิมนี่เท่าไหร่คะ สมัยหนุ่มๆนี่เอวเท่าไหร่คะ
ด.ต.บรรยง – หนุ่มๆ 30 กว่า
จินดารัตน์ – ก็เหทอนชายหนุ่มทั่วๆไป ไม่ได้แตกต่างอะไรมาก และดาบ ชัยรัตน์ รอบเอวรองลงมานี่อันดับ 2 หรือเปล่าคะ เข้าประกวดอันดับ 2 47 นิ้วนะคะ เมื่อก่อนสมัยหนุ่มๆเท่าไหร่คะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ 30 กว่าๆ
จินดารัตน์ – ก็เป็นตำรวจเอวประมาณนี้ คือจำกางเกงตัวเก่าไม่ได้แล้ว จ่าศิริล่ะคะ เมื่อก่อนเอวเท่าไหร่คะ
จสอ.ศิริ – ประมาณ 30 ครับ
จินดารัตน์ – เหมือนกันเลยนะคะ
จสอ.ศิริ – ตอนเข้าตำรวจใหม่ๆ
จินดารัตน์ – กี่ปีมาแล้วคะ
จสอ.ศิริ – 20 ปี ครับ
จินดารัตน์ – 20 กว่าปีแล้วนะคะ แล้วเริ่มอ้วนมากี่ปีแล้วคะ
จสอ.ศิริ - ประมาณ 10 ปี ครับ
จินดารัตน์ – 10 ปีให้หลัง มันใหญ่ขึ้นๆหรือว่า ประมาณนี้ มาหลายปีแล้ว
จสอ.ศิริ – ส่วนมากไม่ค่อยรู้ตัว เสื้อตัวเล็กถึงจะรู้
จินดารัตน์ – คือต้องตัด เสื้อใหม่รู้ทันที ว่าอ้วนขึ้น ก็ต้องตัดใหม่ทุกๆกี่ปีคะ
จสอ.ศิริ – ก็ประมาณ 1 ปีครับ
จินดารัตน์ – ขอประทานโทษนะคะ เสื้อตำรวจเขาต้องมีซิปด้านใน ก็คือต้องใส่แบบนี้ล่ะ แล้วก็ถ้ามันคับ มันต้องเปลี่ยนอย่างเดียวเลย ขออนุญาตทั้ง 3 ท่าน ขอความกรุณานิดหนึ่ง ลุกขึ้นให้เราดูหุ่นนิดหนึ่งว่า ประมารนี้แหละ ต้องไปลดกันแล้ว อึดอัดไหมคะ เชิญนั่งเลยคะ จ่าบรรยง อึดอัดไหมคะ
ด.ต.บรรยง – นิดหน่อย
จินดารัตน์ – เริ่มอึดอัดตั้งแต่เอวประมาณเท่าไหร่คะ ยังจำได้ไหมคะ
ด.ต.บรรยง – จำไม่ได้แล้วครับ
จินดารัตน์ – แต่อึดอัดตลอดหลายปีมานี้
ด.ต. บรรยง – ครับ ช่วง 4-5 ปีนี้ อึดอัดตลอด
จินดารัตน์ – เวลาออกไปทำงาน มันเป็นอุปสรรค และเป็นปัญหาอะไรไหมคะ ในการโบกรถ หรือเป่านกหวีด
ด.ต.บรรยง – ไม่มีเลยครับ
จินดารัตน์ – ไม่มีเลยหรือคะ แข็งแรงดี
ด.ต.บรรยง – ปกติ ครับ
จินดารัตน์ – แล้วดาบชัยรัตน์ล่ะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ - ไม่มีครับ
จินดารัตน์ – จริงเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มันไม่เป็นความจริง คือเราต้องสู้กับอุปสรรคกับตัวเอง มันรู้ว่าเป็นอุปสรรคกับตัวเอง ว่าเราต้องสู้เขา
จินดารัตน์ – เคยคิดลดน้ำหนักไหม
ด.ต.ชัยรัตน์ – คิดครับ
จินดารัตน์ – และลองไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ลอง ลองกินยา
จินดารัตน์ – ลองกินยา ลดความอ้วนด้วย คืออยากลดเอง หรือว่าคนที่บ้านให้ลด
ด.ต.ชัยรัตน์ – ลดเอง เราต้อง ลดเอง คล้ายๆกับมองดูตัวเอง ไม่ไหวแล้ว แล้วโรคภัยไข้เจ็บ มันเยอะ
จินดารัตน์ – พอเริ่มอ้วน โรคภัยไข้เจ็บ ก็รุ่มเร้า
ด.ต.ชัยรัตน์ – มันก็เริ่มมา
จินดารัตน์ – เริ่มมาแล้วใช่ไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – แต่ว่าเราไม่กลัวมัน
จินดารัตน์ – ไม่ได้เครียด กับมันมาก เรื่องความอ้วน
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่ได้เครียด
จินดารัตน์ – แต่ก็เคยลองมาแล้วใช่ไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ลองมาแล้ว
จินดารัตน์ – ลองบ้างหยุดบ้าง เดี๋ยวค่อยว่ากันใหม่
ด.ต.ชัยรัตน์ – ค่อยว่ากันใหม่
จินดารัตน์ – คุณหมอคะ นี่คือนิสัย ของคนอ้วนทั่วๆไปหรือเปล่าคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ส่วนใหญ่ ครับ
จินดารัตน์ – มักจะเป็นแบบนี้
นพ.วุฒิพันธ์ – พอลองแล้ว เอ๊ะ ทำไมไม่ลง
จินดารัตน์ – หมดกำลังใจ
นพ.วุฒิพันธ์ - มันต้อง ใช้เวลาสักนิดหนึ่ง
จินดารัตน์ – จ่าศิริ ล่ะคะ เคยลดความอ้วนไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็เคยลองครับ
จินดารัตน์ – เคยลองมากี่ครั้ง จำได้ไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่มันทนความหิวไม่ไหว ครับ
จินดารัตน์ – ใช้วิธีไหน ขออนุญาตถามคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ออกกำลังกาย ออกเวรแล้ว ก็ไปออกกำลังกาย วิ่ง เตะฟุตบอลบ้าง เล่นตะกร้อ บ้าง ให้มันได้เหงื่อ
จินดารัตน์ – ตอนนั้นกี่ปีมาแล้ว ที่พยายามที่จะลด
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ประมาณ 3-4 ปี
จินดารัตน์ – เอวเท่าไหร่คะตอนนั้น
จ.ส.ต.ศิริ – ตอนนั้น ก็ประมาณ 42 ครับ
จินดารัตน์ – โห 42 หายไปตั้ง 4-5 นิ้ว อ๋อ ตอนนั้นคือ 2-3 ปีที่ผ่านมาเหรอคะ ขึ้นมา 4-5 นิ้ว
จ.ส.ต.ศิริ – เมื่อก่อนสูบบุหรี่แล้วเลิก เลิกแล้วขึ้นปุ๊บเลย ผมหันหลังให้กับบุหรี่ เหล้า มาอีกทีขึ้นน่าดูเลยครับ ขึ้น 4 นิ้ว
จินดารัตน์ – อันนี้เห็นชัดเจนเลยครับ
จ.ส.ต.ศิริ – ครับผม
จินดารัตน์ – ถ้าสูบบุหรี่อยู่ เอวก็ยังประมาณนั้น ใช่ไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – น่าจะประมาณนั้น
จินดารัตน์ – แต่ก็เลิกขาดเลยใช่ไหมคะ บุหรี่ก็ไม่ได้สูบอีกเลย
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – แล้วทางดาบบรรยงล่ะคะ ทานอาหาร เรื่องของอาหารการกิน ทุกวันนี้ ทานอาหารกันอย่างไร ตื่นมากินอะไรบ้าง ตอนเที่ยง กินอะไรยังไงคะ
ด.ต.บรรยง – เช้าๆ ก็กาแฟครับ ขนมปังบ้างเล็กน้อย
จินดารัตน์ – กี่ แผ่นคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ประมาณ 2 แผ่นนะครับ
จินดารัตน์ – 2 แผ่นนะคะ กาแฟใส่น้ำตาลไหมคะ ใส่กี่ช้อน
ด.ต.บรรยง – 2 ช้อนครับ
จินดารัตน์ – 2 ช้อนนี่ หวานเกินไปไหมคะ คุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ - เช้า ๆ คงไม่เป็นไรนะครับ เพราะต้องทำงานต่อ
จินดารัตน์ – ถือว่า ปกตินะคะ แล้วยังไงต่อคะ ขนมปัง แผ่น สองแผ่นอยู่เหรอคะ
ดต.บรรยง – ได้ถึง 11 โมงถึงเที่ยงนะครับ
จินดารัตน์ – แล้วต้องทำงานอะไรบ้าง ช่วงเช้าถึงเที่ยง
ด.ต.บรรยง – ช่วง เช้าก็ โบกรถตั้งแต่ 6.30 – 9.00 น. นะครับ
จินดารัตน์ – 6.30 – 9.00 น. ยืนอยู่อย่างนั้นนะคะ
ด.ต.บรรยง - ครับ
จินดารัตน์ – เป็นอย่างนี้ทุก วันเลยเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ ทุกวันครับ ช่วงเช้า
จินดารัตน์ – ไม่หิวเหรอคะ ช่วงที่ต้องทำงาน
ด.ต.บรรยง – ไม่หิวครับ
จินดารัตน์ – พอ 11 โมง จะมากินข้าว กินข้าวเที่ยง ทานอะไรบ้างคะ
ด.ต.บรรยง - ก็แกงธรรมดาบ้าง อะไรพวกนี้
จินดารัตน์ – กี่จานคะ
ด.ต.บรรยง – จานเดียว ครับ
จินดารัตน์ – จานเดียวอิ่มเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ก็จานเดียวไม่มากกว่านั้น พยายามมันก็ไม่ลด ทำไงมันก็ไม่ลด
จินดารัตน์ – ทั้งๆก็ที่รู้สึกว่าตัวเองกินน้อยลงเหรอคะ
ด.ต.บรรยง - ครับ
จินดารัตน์ – ข้าวเที่ยงกินข้าวจานหนึ่ง
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – อาหารก็ปกติเหมือนคนธรรมดาเขากินกัน มีทานขนม มีทานอะไรต่อไหม
ด.ต.บรรยง – ไหมครับ ของหวานไม่เอา
จินดารัตน์ – แล้วกลางวันก็ไม่ต้องไปโบกรถอะไรแล้ว
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – จนกระทั่งเย็น เย็นนี่กี่โมงต้องออกไปทำงาน
ด.ต.บรรยง – 15.30 น.
จินดารัตน์ – คือช่วงนักเรียนเลิก
ด.ต.บรรยง – ครับ เลิก 6 โมง
จินดารัตน์ – 3 โมงครึ่งถึง 6 โมงเย็น และทานข้าวอีกทีกี่โมงคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่แน่ครับ บางที 3 ทุ่ม บางทีนั่งดริ๊งค์บ้าง ก็ทานดึก
จินดารัตน์ – ทานเยอะไหมคะ มื้อเย็น
ด.ต.บรรยง – ถ้าหิวก็เยอะ เพราะว่าเหนื่อย
จินดารัตน์ – โบกรถมาตั้งหลายชั่วโมง
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – แล้วตอนมื้อเย็นทานอะไรหนักที่สุด
ด.ต.บรรยง – โดยมากจะเป็นกับแกล้มครับ
จินดารัตน์ – อย่างเช่นอะไรคะ
ด.ต.บรรยง – พวกไก่อะไรพวกนี้
จินดารัตน์ – ของมันๆนี่ชอบเลยนะคะ ตอนเย็นนี่กินหนักเลย แล้วก็มีดื่มกับเพื่อนบ้าง ดื่มทุกวันหรือเปล่าคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ไม่ทุกวัน
จินดารัตน์ – แล้วก็รู้สึกว่าชีวิตเป็นอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้มานานแค่ไหนแล้วคะ
ด.ต.บรรยง – ก็หลายปีแล้ว
จินดารัตน์ – แล้วเสื้อต้องเปลี่ยนทุกปีไหม
ด.ต.บรรยง – ทุกปี
จินดารัตน์ - แล้วมัน ใหญ่ขึ้นทุกปีไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ทุกปีครับ
จินดารัตน์ – ปีละกี่นิ้วคะ เคยจำไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่เคยครับ
จินดารัตน์ – ไม่เคยถามช่างเลย แล้วภรรยากับลูกที่บ้านว่ายังไงคะ เขาเคยช่วยกันไหมคะ
ด.ต. บรรยง – ก็พยายามให้ลด ครับ ให้กินน้อยๆ ก็อย่างว่า หิวก็ไปเปิดอีกแล้ว
จินดารัตน์ – กินมื้อสุดท้ายกี่โมงคะ
ด.ต.บรรยง – คือบางครั้ง ถึง 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม
จินดารัตน์ – ก็ยังกินอยู่
ด.ต.บรรยง – ถ้าหิว นอนไม่หลับ
จินดารัตน์ – ลุกขึ้นมากิน รู้สึกว่านอนไม่หลับถ้าไม่ทาน แล้วจะนอนหลับเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – คุณหมอคะ คนที่อ้วน ส่วนใหญ่ เป็นอย่างนี้ เยอะไหมคะ
นพ.วูฒิพันธ์ – ก็ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับพี่ยงนะครับ คือส่วนใหญ่เช้า กลางวัน ทานบ้าง ไม่ทานบ้าง แต่เย็นนี่หนักแน่นอนเลยครับ ยิ่งของพี่ยงนี่อยู่เวรด้วยบางครั้ง มื้อเย็น 2 รอบ รอบ เย็น และรอบดึก ถึงจะหลับ
จินดารัตน์ – แล้วการโบกรถ อะไรทั้งหลาย ถือเป็นการออกกำลังกายได้ไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ถือเป็นกิจวัตรประจำวันเสียมากกว่า ก็ไม่ได้ออกกำลังกายอะไรมาก ก็แค่ยกแขน โบกไปโบกมา
จินดารัตน์ – ส่วนล่างเนี่ย ไม่ได้ขยับเลย มาถึงดาบชัยรัตน์บ้าง ดาบชัยรัตน์ กิจวัตรประจำวันทำอะไรบ้าง ตื่นเช้ามา กี่โมง กินอะไรบ้างตอนเช้า
ด.ต.ชัยรัตน์ – ตื่นเช้า ผมก็ตื่นตี 5
จินดารัตน์ – อาหาร เช้าทานอะไรบ้างคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – กาแฟ
จินดารัตน์ – เหมือนคนทั่ว ไป ขนมปังทานไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ - ปาท๋องโก๋
จินดารัตน์ – ทานปาท่องโก๋
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไข่ลวก
จินดารัตน์ – ไข่ลวกกี่ฟองคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – 2 ฟอง
จินดารัตน์ – เป็นอย่างนี้เกือบทุกวันเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มันเว้นบ้าง ไข่ลวก แต่กินปาท๋องโก๋ทุกวัน
จินดารัตน์ – ปาท่องโก๋ วันละกี่ตัวคะ
ดต.ชัยรัตน์ – 2 ตัวครับ
จินดารัตน์ – ก็คือ 2 คู่นะคะ แล้ว กาแฟ แค่นี้ ออกไปทำงาน ก็เหมือนดาบบรรยง
ด.ต.ชัยรัตน์ – ผมสายหน่อย ออกไป 3 โมงกว่าๆ
จินดารัตน์ – ผลไม้ทานไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ผลไม้ก็มีบ้าง
จินดารัตน์ – ไปหนักตอนเย็นเลย ตอนเย็นทานอะไรบ้างคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีเหล้า มีอะไรบ้าง
จินดารัตน์ – เป็นอย่างนี้เกือบทุกวัน หนักกับ ข้าวก็ไม่ค่อยได้ทาน หนักกับ ก็เป็นของทอด ของมัน กินกันจนถึงกี่โมงคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่แน่บางวัน ก็ร้องเพลงบ้างอะไรบ้าง ก็เกือบตี 1 เกือบสว่างไปเลยบางที
จินดารัตน์ – แล้วตื่นมาโบกรถไหวเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ ต้องไหวนะครับ มันไม่ทุกวัน คือดื่มเกือบสว่าง ต้องควบคุมตัวเองให้ได้
จินดารัตน์ – ตื่นมาเมือไหร่ ทำงานได้ทันที แต่ทานอย่างนี้ทุกวัน ไปออกกำลังกายบ้างไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – เคยครับ
จินดารัตน์ – ใช่คำว่าเคย แสดงว่าไม่ได้ทำทุกวัน
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่ได้ ทำทุกวัน
จินดารัตน์ – เคย นี่ บ่อยแค่ไหนคะ
ดต.ชัยรัตน์ – ว่า อาทิตย์ หนึ่ง อาจจะมีเว้นวัน 2 วัน ก็ไปวิ่ง แถว ออฟฟิต
จินดารัตน์ – วิ่งกี่กิโล
ด.ต.ชัยรัตน์ – รอบเดียว วิ่งเหยาะๆ
จินดารัตน์ – รอบเดียวเหรอคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ - ครับ
จินดารัตน์ – สนามใหญ่เหมือนกันนะครับ ได้เหงื่อบ้างไหมคะ
ดต.ชัยรัตน์ - ได้ครับ
จินดารัตน์ – คิดว่า การวิ่งทำให้เราผอมลงไหม หรือว่า แค่รู้สึกอยากจะไปวิ่งเฉยๆ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็คงได้เหงื่อ เราก็คิดว่ามันได้เหงื่อ
จินดารัตน์ – เสร็จจาก วิ่งเสร็จ ไปกินข้าวต่อ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ยังไม่กินซิ ไปอาบน้ำ อาบท่าก่อน ให้สบายใจก่อนแล้วค่อยว่ากันไป
จินดารัตน์ – แล้วค่อยว่ากันไป มาถึง จ่าศิริ บ้างทำอะไรบ้าง ตื่นเช้ามาทานอะไรบ้าง
จ.ส.ต.ศิริ – ก็ มื้อเช้าก็กาแฟ บางครั้งก็ไม่ได้ทาน ข้าวส่วนมากก็จะทาน 3โมงเช้า โบกรถเสร็จ
จินดารัตน์ – ไม่เหนื่อยเหรอคะ ไม่หิวเหรอคะ ช่วงโบกรถ
จ.ส.ต.ศิริ – ทำงานอยู่ ลืมความหิวไปชั่วขณะ เวลาออกมานั่งพักก็หิวแล้ว หิวข้าว หิวน้ำ 3 โมงเช้า
จินดารัตน์ – ทานอะไรบ้าง คะ ข้าวเลยเหรอคะ
จ.ส.ต.ศิริ - ครับ ข้าวราดแกง ข้าวจานเดียว ราดแกง
จินดารัตน์ – จานเดียวนะคะ ตอนเช้า แล้วตอนเที่ยงล่ะคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ตอนเที่ยง ก็จะประมาณบ่ายๆหน่อย บางที ก็จะเป็นก๋วยเตี๋ยว หรือข้าวก็แล้วแต่
จินดารัตน์ – จานเดียวก็อยู่อิ่ม
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ - มีขนม อะไรบ้างไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่มีนะครับ ไม่ชอบ จะไปหนักเอาตอนเย็น ๆ ออกเวร 4 ทุ่มนะครับ ดูโทรทัศน์ กลับไปเพลียๆมันเหนื่อย มันหิว เราจะกินหนักตอนนั้น
จินดารัตน์ – เครียดด้วยไหมคะ ถ้าวันไหนโบกรถแล้ว รถมันติดเหลือเกิน มันเครียดจนทำให้เราต้องกินเยอะขึ้นหรือเปล่า
จ.ส.ต.ศิริ – ก็มีส่วนนะครับ ว่าบางครั้ง ทำงานไปมันก็เครียด โบกรถโบกรา มันมีปัญหา การทำงานอย่างเนี่ย อธิบายเขาไม่เข้าใจ มันก็ใส่อารมณ์ไป เราก็เครียด บางที
จินดารัตน์ – ยิ่งเครียด ยิ่งทาน
จ.ส.ต.ศิริ – ก็มีส่วนนะครับ
จินดารัตน์ – ทีมงาน ดิฉันแอบบอกว่า จ่ากินเหมือนปล้นตู้เย็นเลย จริงหรือเปล่าคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ก็เวลา ออกเวร ไปดูโทรทัศน์เนี่ย มันหิว เห็นเขากินอะไรก็อยากจะกินบ้าง มีอะไรในตู้เย็นตอนนั้น กินได้ก็กิน เวลาอิ่มแล้วหนังตามันก็หย่อน หลับสบายดี
จินดารัตน์ – รู้สึกว่าท้อง มันอิ่มแล้ว หลับสบาย
จ.ส.ต.ศิริ - ครับ
จินดารัตน์ – วันไหนท้องว่างทานน้อย
จ.ส.ต.ศิริ – จะหงุดหงิดเลยครับ
จินดารัตน์ – นอนไม่หลับ
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – คุณหมอคะ ตำรวจจราจร ในสายงานจราจร 85 นาย ลักษณะนิสัยการกินเหมือนกันหมดไหมคะ ทั้ง 85 นาย เหมือนหรือคล้ายๆกัน หรือยังไง
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็สไตล์เดียวกันหมด
จินดารัตน์ – กินแบบปล้นตู้เย็นเหมือนกัน
นพ.วุฒิพันธ์ – ครับ ส่วนใหญ่จะมาหนักมือเย็นกันเสียส่วนใหญ่
จินดารัตน์ – และหนักที่การดื่ม อันนี้มีผลไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – มีผลเหมือนกัน เพราะว่า ตัวแอลกอฮอล์เวลาเข้าไปในร่างกายแล้ว จะแปรสภาพ อกมาเป็นไขมัน เพราะแอลกอฮอล์ แคลอรีสูง
จินดารัตน์ – คะ ถ้าเปรียบเทียบอาหารที่ทานกัน อย่างของทอด ของมัน ดาบทั้ง 2 ท่าน กับจ่า เขาชอบทาน เป็นกับแกล้มนะคะ เทียบกับแอลกอฮอล์ ที่ดื่มเข้าไป อันไหนจะเป็นตัวแปรมากว่ากัน
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ใกล้เคียงกันนะครับ
จินดารัตน์ – ถึงแม้จะไม่ได้ดื่มทุกวันถูกไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ส่วนใหญ่ทุกท่านก็ยอมรับว่าจะเป็นอาหารมัน แป้ง ซะเยอะ
จินดารัตน์ – อย่างจ่าบอกว่า วันไหนกินไม่อิ่ม นอนไม่หลับเด็ดขาด ต้องตื่นมากินให้อิ่ม กินอะไรก็ได้ อยู่ในตู้เย็น แล้วเคยโดนภรรยาแกล้งไหมคะ ไม่ซื้ออะไรใส่ตู้เย็นเลย
จ.ส.ต.ศิริ – ส่วนใหญ่มันก็มีประจำอยู่แล้ว ครับ
จินดารัตน์ – คือต้องมีของประจำตู้เย็นอยู่แล้ว อันนี้เป็นข้อตกลงในบ้านใช่ไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – บางที ไม่มี ด้วยความหิว ลงจากแฟลตไปหาอะไรทาน ก็อย่างผัดไทก็ยังดี ผัดซีอิ๋ว อะไรพวกนี้
จินดารัตน์ – ตกท้าย ก่อนดึกก่อนนอน และก็ก่อนนอนด้วย
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – เมื่อก่อนน้ำหนักเท่าไหร่คะ
จ.ส.ต.ศิริ – เมื่อก่อน ก็ 72 กก. ครับ ตอนนี้ ก็ 113 กก.ครับ
จินดารัตน์ – ดาบบรรยงคะ ตอนหนุ่มๆ นำหนักเท่าไหร่คะ
ด.ต.บรรยง – 65 กก. ครับ
จินดารัตน์ – แล้วตอนนี้เท่าไหร่คะ
ด.ต.บรรยง – 129 กก. ครับ
จินดารัตน์ - 129 กก. ประมาณ 100 กว่า มากี่ปีแล้วคะ
ด.ต.บรรยง – ประมาณ 2 ปี
จินดารัตน์ – จากนั้น ก็ 80-90 กก. มาตลอด
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ - ทั้ง 3 ท่าน เคยรู้สึกอึดอัด จนกระทั่ง ไม่ไหวแล้ว ต้องหาวิธีลดความอ้วน เคยมีอาการนั้นบ้างไหมคะ
ดต.บรรยง – ไหมมีนะครับ มันจะมาแบบคล้ายๆไม่รู้ตัว มาทีละนิด ไปส่องกระจกถึงรู้ ว่าเรารูปร่างใหญ่แล้วนะ
จินดารัตน์ – เริ่มมองไม่เห็นปลายเท้า เวลายืน
ด.ต.บรรยง – มันชินไปในตัวของมัน
จินดารัตน์ – ก็คือ ชินสภาพที่เราเห็นทุกวัน ถูกไหมคะ ทั้ง3 ท่านเนี่ย เต็มใจที่จะเข้าโปรแกรมนี้ โครงการนี้ หรือเปล่าคะ หรือว่าโดนแกมๆบังคับ
ด.ต.บรรยง – เต็มใจ
จินดารัตน์ – ไม่รู้สึกกดดันเหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่ครับ
จินดารัตน์ – รู้หรือยังคะ ว่าเราต้องทำอะไรบ้าง รู้หรือยังคะจ่า
จ.ส.ต.ศิริ – ก็เพิ่งรู้วันนี้ แต่ต้องทำให้ได้
จินดารัตน์ – อ๋อ สัญญากับตัวเองไว้ ที่ต้องทำให้ได้นี่ เพราะว่าผู้บัญชาการขู่เอาไว้หรือเปล่าคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่เครียด อยู่ที่ตัวเราเอง มันเป็นการดีสำหรับเราอยู่แล้ว
จินดารัตน์ – ปกติตำรวจไทยได้รับการตรวจสภาพร่างกาย สุขภาพประจำปีมีหรือเปล่าคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีปีละครั้ง
จินดารัตน์ – แล้วคุณหมอเคยเตือนไหมคะ ว่าเนี่ย อ้วนเกินไปแล้วนะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีครับ
จินดารัตน์ – แต่ไม่บังคับ
ด.ต.ชัยรัตน์ – คือแจ้งให้ทราบ ว่าควรไปพบแพทย์
จินดารัตน์ – ไม่กลัว แต่เฉยๆ
ด.ต.ชัยรัตน์ – เฉยๆ ผมก็เป็นความดัน เบาหวาน ยังต่อสู้ได้
จินดารัตน์ – เป็นครบสูตรเลยนะ เป็นเบาหวาน เป็นความดัน แต่ก็ยังเฉยๆอยู่ แล้วดาบบรรยงล่ะคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่มีครับ
จินดารัตน์ – ไม่มีโรค แต่รู้สึกอึดอัดเท่านั้นเอง
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – แล้วจ่าล่ะคะ มีโรคอะไรบ้างไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่มีเลยครับ ไม่มี แต่มีคอลเลสโตรอลในเลือดสูงผิดปกติไปเล็กน้อย
จินดารัตน์ – เล็ก น้อยเหรอคะ ไม่สูงปรี๊ดเหรอคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่เท่าไหร่
จินดารัตน์ – แล้วยัง สบายใจอยู่ ยังใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้ และในตำรวจจราจร ในสายงานจราจร มีอ้วนๆอย่างเรา กี่คน ในแต่ละ สน. จ่าบรรยงคะ
ด.ต.บรรยง – มีผมคนเดียวครับ
จินดารัตน์ – คนเดียวเลยเหรอคะ ในสายงานจราจร เพื่อนล้อบ้างไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ก็แหย่บ้าง
จินดารัตน์ – รู้สึกเป็นไงบ้าง รู้สึกว่าเราต้องไปลดความอ้วนหรือเปล่า
ด.ต.บรรยง – ก็ไม่ครับ เฉยๆ ธรรมดา
จินดารัตน์ – คนอื่นเขาผอมๆกันหมดเลย คะ แล้วดาบล่ะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็มี ไล่ไป แต่ผมโดเด่นสุด
จินดารัตน์ – คือชนะเลิศเลย แล้วฝ่ายอื่นๆสอบสอน สืบสวน เขามีไหมคะ อ้วนๆ
ด.ต.ชัยรัตน์ – สายตรวจก็มีเหมือกัน แต่อายุน้อย
จินดารัตน์ – ใน สน. มีคนอ้วนกี่คนคะ ทั้ง สน. เยอะไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่เยอะ
จินดารัตน์ – แล้วจ่าล่ะคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ของผม ในสายจราจร มี 2 คนครับ ที่ใหญ่ ที่เข้ารับการอบรม สายอื่นเขาก็มี อย่างเจ้าหน้าที่ธุรการ
จินดารัตน์ – ทั้ง สน. มีประมาณกี่คน
จ.ส.ต.ศิริ – ประมาณเกือบ 10 คนนะครับ
จินดารัตน์ – 10 คน เอวใหญ่อย่างนี้ แล้วโดนหมดไหมคะ ทั้ง 10 คน
จ.ส.ต.ศิริ – เขาเอาเฉพาะสายจราจรมาอย่างเดียว
จินดารัตน์ – อ๋อ ใช่คะ เฉพาะสายจราจรก่อน ถ้าอยากถามคุณหมอว่า โปรแกรมที่ทั้ง 3 ท่าน และ อีก 82 คน จะต้องไปเจอ และทำอะไรบ้าง
นพ.วุฒิพันธ์ – เราก็ จะแบ่งโปรแกรมออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเลยก็คือ จะเริ่มจากปรับพื้นฐานก่อน นะครับ เพราะว่าส่วนใหญ่ประวัติที่ทางกลุ่มส่งให้เรา ก็ไม่ได้ออกกำลังกายกันเท่าไหร่ นะครับ คงต้องเริ่มกันตั้งแต่ การออกกำลังกาย เริ่มตั้งแต่วอร์มอัพกันขึ้นมา การลดน้ำหนัก มันขึ้นอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ ก็คือเรื่องของอาหาร และการอกกำลังกาย ส่วนอาหารทางโรงพยาบาลก็มีการจัดเตรียมอาหารไว้ให้เรียบร้อยแล้ว โดยนักโภชนาการ นะครับ ซึ่งจะเป็นอาหารมื้อเย็นก่อน มื้อเย็นจะคอนโทรล ไว้ที่ 6 โมงเย็น
จินดารัตน์ – 6 โมงเย็น มาเจอกันเลย มาเจอกันที่โรงพยาบาลอย่างนั้นหรือเปล่า
นพ.วุฒิพันธ์ – จะมาเจอกันที่โรงพยาบาล 4-5 โมงเย็น เพื่ออกกำลังกายก่อน
จินดารัตน์ – อ๋อ มา Exercise กันก่อน
นพ.วุฒิพันธ์ – ใช่ครับ
จินดารัตน์ – ก็จะมีท่าสอน สำหรับคนรูปร่างขนาดนี้ ต้อง ประมาณไหน อย่างไง
นพ.วุฒิพันธ์ – การออกกำลังกาย เราก็จะมีวิ่ง เรามีพื้นที่ในส่วนของโรงพยาบาล เรามีสวนสุขภาพอยู่
จินดารัตน์ – 85 นายเลยเหรอคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ครับผม เรามีพื้นที่พอ
จินดารัตน์ – คงคึกคักน่าดูเลยนะคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – เพราะว่าเรามีโรงเรียน ฝึกพนักงานอยู่แล้วด้วย ก็คงออกกำลังกายร่วมกันเลย
จินดารัตน์ – ก็มีวิ่ง
นพ.วุฒิพันธ์ – แล้วก็มีแอโรบิก นะครับ มีโยคะ แล้วก็ มีโรงยิม มีที่ออกกำลังกาย กิจกรรมทั้งหมดก็มี 4 อย่าง
จินดารัตน์ – คือสลับกันทำ
นพ.วุฒิพันธ์ – ใช่ครับ
จินดารัตน์ – กลุ่มนี้ ก็อาจจะไปวิ่งก่อน อีกกลุ่มหนึ่งก็ Exercise ในโรงยิม
นพ.วุฒิพันธ์ – บางกลุ่มอาจจะไปฝึกโยคะด้วย เพราะถ้าเกิดออกกำลังกายไปสักพักหนึ่งแล้ว อันนี้คือคอร์สที่ 1 นะครับ พร้อมกับควบคุมอาหาร ถ้าคนไหนผ่าน เราก็จะลิมิตเอาไว้คอร์สที่ 1 นะครับ
จินดารัตน์ - วัดกันอย่างไรคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – เราก็ต้องดูแนวโน้มการลดลงของน้ำหนักให้ได้
จินดารัตน์ – ภายในระยะเวลาเท่าไหร่คะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ภายในระยะเวลา 2 อาทิตย์
จินดารัตน์ - 2 อาทิตย์ อาทิตย์ละกี่วันคะ ที่จะต้องไปทำแบบนี้คะ
นพ.วุฒิพันธ์ – 7 วันครับ
จินดารัตน์ – 7 วัน เลยเหรอคะ ไม่มีวันหยุด
นพ.วุฒิพันธ์ – ไม่มีครับ เพราะว่า ทุกท่านก็ตั้งใจว่ากันจริงๆว่าจะลดให้ได้ นะครับ การที่เราเว้น บางครั้งที่เราหยุดไป เสาร์-อาทิตย์ กลับบ้านไปบ้านอยู่เฉยๆ
จินดารัตน์ – ไปเฝ้าตู้เย็น
นพ.วุฒิพันธ์ – ใช่แล้วครับผม ไปเฝ้าตู้เย็นอีกรอบหนึ่ง กลับมาวันจันทร์ก็ ไม่ผ่านแน่นอน แล้วก็จะเข้าคอร์ส ประเมินกัน ถ้าใครประเมินผ่านก็จะ คงไว้ที่คอร์สที่ 1 ถ้าไม่อย่างนั้น เราจะเพิ่มคอร์สที่ 2 เข้าไป ซึ่งเข้มข้นขึ้น มีการคอนโทรลแคลอรีมากขึ้น
จินดารัตน์ – ทำอย่างไรบ้างคะคุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ – ครับ ก็อาจจะมีการไปออกกำลังกายนอกสถานที่ด้วย เพราะว่าพอช่วง 2 อาทิตย์ไปแล้ว การออกกำลังกายก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างหนึ่งนะครับ คงต้องให้ผู้เข้าร่วม ตำรวจจราจรทุกท่านที่เข้าร่วมกับเรา รู้สึกสนุกกับมันด้วย เราก็มีพันธมิตรของเราที่เราไปตกลงกันไว้แล้ว คือฟิตเนท เราจะพาไปที่ฟิตเนทจริงๆ
จินดารัตน์ – สำหรับคนที่ ไม่ผ่านโปรแกรมที่ 1 ก็คือ 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ลด ถ้าคนที่ลดแล้วนะคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ยังเป็น โปรแกรมที่ 1 อยู่ แต่ว่าเขาก็จะไปร่วมสนุกกับการออกกำลังกายนอกสถานที่ได้ด้วย แล้วก็ยังมีการแข่งขันกีฬากันภายในกลุ่ม ของทางตำรวจด้วย
จินดารัตน์ – โปรแกรมที่ 2 คนที่ไม่ผ่านโปรแกรมที่ 1 ไปโปรแกรมที่ 2 ให้หนักขึ้น ใช้เวลานานแค่ไหนคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – โปรแกรมที่ 2 เราก็จะประเมิน อาทิตย์ ที่3 อาทิตย์ที่ 4
จินดารัตน์ – 2 สัปดาห์เหมือนกัน
นพ.วุฒิพันธ์ – 2 สัปดาห์เหมือนกัน แล้วเราก็จะเริ่มปรับ ถ้าดูแล้วแนวโน้มจะไม่ลง เราจะขึ้นอีก คือไม่แน่ใจว่า เข้ามา อาหาร เราอาจจะเลี้ยงดีเกินไปหรือเปล่า สุดท้ายเราก็คงต้องปรับเป็นโปรแกรมสุดท้าย ก็อาจจะต้องย้ายสำมโนครัว มานอนที่โรงพยาบาลด้วย นะครับ เพราะว่าบางทีอย่างที่บอก ว่ากลับไปรอบดึก เราไม่ทราบว่า ทางตำรวจ ถึงแม้จะมีสมุดให้ลงกิจกรรมต่างๆอยู่แล้ว โดยที่มีนายตำรวจคอยช่วยดูแลอยู่ อีกครั้งหนึ่ง แต่บางทีอาจจะมีหลุด เพราะเราเช็กได้จากอาหาร ตัวการออกกำลังกาย เราคอนโทรลแคลอรีกันได้อยู่แล้ว และเรารู้ว่า ออกกำลังขนาดนี้ ทานอาหารแคลอรีระดับนี้ ถ้าทานได้จริงๆ คงจะลงได้เท่าไหร่ แต่มันลงไม่ได้ แสดงว่ากลับบ้าน คงไปหาอย่างอื่นทานแล้วล่ะ
จินดารัตน์ – หลังจากที่ทานอาหารเย็นจากโรงพยาบาลแล้ว กลับบ้านก็ไปทานต่อ
นพ.วุฒิพันธ์ – กลับไปทานอย่างอื่นด้วย สุดท้ายแล้วอาจจะต้องมาพักที่โรงพยาบาลด้วย เพื่อ ไม่ใช่ว่าเราบังคับอะไรนะครับ ว่าให้นอนหอพัก เพื่อช่วยท่านตอนกลางคืน ทำให้ท่านใจแข็งขึ้น ไม่ออกไป ต่อให้ข่างล่างโรงพยาบาลมีร้านอาหาร เราก็จะสั่ง รปภ. ว่าไม่ให้ตำรวจลงไป เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมคิดว่าหลังจากจบโครงการแล้ว ทุกท่านน่าจะลดได้
จินดารัตน์ – โปรแกรมที่ 3 ใช้เวลากี่สัปดาห์คะ
นพ.วุฒิพันธ์ – 1 เดือนครับ
จินดารัตน์ – 1 เดือนเต็มที่ ต้องไปนอนที่โรงพยาบาล ฟังแล้ว น่าขนหัวลุก เหมือนกันนะคะ จ่าบรรยงคะ ฟังดูแล้วทำได้ไหมคะ คิดว่าตัวเองพอรับไหวไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ไหวครับ
จินดารัตน์ – เหล้าก็ไม่ได้ดื่มแล้วตอนเย็น อาหารของทอด ที่ชอบ ก็ไม่ได้ทานแล้ว กินแต่ข้าวกล้อง ผัก ทุกอย่างเลย แล้วก็สุดท้ายก็คือ ถ้าไม่ผ่านจริงๆลดไม่ไหวจริงๆ ต้องไปนอนโรงพยาบาล กลัวอันไหนมากที่สุดคะ
ด.ต.บรรยง – ผมไม่กลัวเพราะว่า สมัครใจเข้าไป
จินดารัตน์ – คิดว่ายังไงทำได้ สบายมาก สัปดาห์แรกตั้งความหวังไว้ว่า เอวต้องลดไปกี่นิ้วคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่ทราบ ก็ต้องดูก่อน
จินดารัตน์ – คิดไหมคะ ว่า เราต้องทำได้สักกี่นิ้ว น้ำหนักน่าจะลงไปสักกี่ กก. ไม่ได้ตั้งตัวเลขเอาไว้เลย คุณหมอคะ ถ้าอย่างสัปดาห์แรก ถ้าออกกำลังกายแล้วทานอาหารที่ควบคุม ช่วงเย็น แล้วไม่กลับไปทานที่บ้านอีก น้ำหนักจะลดได้กี่ กิโลคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – ประมาณสัก 1 กิโลกว่าๆร่างกาย ต้องปรับตัว เพราะว่าไขมันสะสมในร่างกายเยอะ ต้องใช้เวลาสักนิดหนึ่ง อาทิตย์ที่ 2 ที่เราเริ่มประเมินจะเห็นชัด จากวันนี้ที่เรามีการตรวจร่างกาย มีการเจาะเลือด วัดรอบเอว วัดไขมันต่างๆ แล้ว เสาร์-อาทิตย์นี้ก็จะเห็นว่าใครสามารถปฏิบัติตัวได้ตามนั้น คงจะลงมาประมาณนิ้วกว่าๆ
จินดารัตน์ – นิ้วหนึ่ง ใช้เวลาทั้งหมดกี่เดือนคะ ต่อไปคือจะต่อเนื่องยาวนานไปแค่ไหนคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – โครงการเราอย่างที่บอก เราต้องใช้เวลา อย่างน้อยก็ 6 เดือน แต่โครงการตรงนี้ เป็นโครงการระยะสั้น ให้เขาเริ่มรู้สึกก่อน อย่างที่บอกโครงการจะสำเร็จไม่สำเร็จมันขึ้นอยู่กับ 5 อย่าง อย่างแรกคือตัวของผู้เข้าร่วมโครงการเองเขาต้องรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมนะ
จินดารัตน์ – อย่างนี้ถือว่า ใจเกินร้อย ก็คืออยากแล้ว อยากทำให้ตัวเอง น้ำหนักลดอยู่แล้ว ดาบชัยรัตน์ล่ะคะ กลัวไหมคะ ตอนเย็นไม่ได้ทานของชอบแล้วนะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่กลัวครับ
จินดารัตน์ – อย่างเอวที่มีอยู่ตอนนี้ 47 นิ้ว กะว่า 2 อาทิตย์ จะลดได้กี่นิ้ว
ด.ต.ชัยรัตน์ – นิ้ว สองนิ้วนะครับ
จินดารัตน์ – คิดว่าตัวเองทำได้ไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ได้ครับ
จินดารัตน์ – อาหารที่ต้องทาน อย่างข้าวกล้อง ทานผัก ทานผลไม้แทน ของมัน ของทอด ของโปรด
ด.ต.ชัยรัตน์ – ทานมามากแล้ว ลองเปลี่ยนรสบ้าง ทานอย่างนี้บ้าง
จินดารัตน์ – ท้าทาย
ด.ต.ชัยรัตน์ – ท้าทายดี
จินดารัตน์ – ขอให้จริงนะคะ มีอะไรบ้างคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – มีข้าวกล้อง มีมัน มีถั่ว มีผัก แทนที่จะกินข้าว ผสมหลายอย่าง
จินดารัตน์ – กินไปด้วย น้ำตาไหลไปด้วย คุณหมอคะ ถ้าอย่างทานยากๆอย่างนี้ บางคนขอพกน้ำพริก ปลาแห้งไปหน่อย ได้ไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ – พวกน้ำพริกได้ ไม่มีแคลอรีอยู่แล้ว
จินดารัตน์ – คือถ้าไปเสนอตอนนี้ ขอคุณหมอ ขอเพิ่มอาหาร อยากจะขอเพิ่มไหมคะ น้ำพริก หรือว่าอะไรอย่างนี้
ด.ต.ชัยรัตน์ –ไม่ครับ
จินดารัตน์ – คือทำ ใจอยู่แล้วว่า ขอไม่ได้ คือในใจถ้าขอได้ อยากได้อะไรคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ –คงเป็นอาหารไทยๆต้มยำ
จินดารัตน์ – มันๆเขาไม่ให้แน่ๆ จ่าบรรยงล่ะคะ อยากได้อะไรเพิ่มไหมคะอาหาร
ด.ต.บรรยง – ไม่ครับ
จินดารัตน์ –ทานได้เหรอคะ
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – คล่องคอดี ไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ผมว่า 2 ครั้ง 3 ครั้งที่ทาน ก็พอไปได้
จินดารัตน์ – พอไปได้ กลางคืนกลับไปเปิดตู้เย็นอีกไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์- ไม่ครับ วันนี้ก็ยังไม่เปิด
จินดารัตน์ – แต่สัญญากับตัวเองไหมคะ ว่า 2 อาทิตย์จะไม่เปิดตู้เย็น
ด.ต.บรรยง – ครับ
จินดารัตน์ – สัญญาไว้แล้ว ถ้ายังไงให้ที่บ้านช่วยดูด้วย ถ้าเปิดตีมือนะคะ แล้วจ่าล่ะคะ ทานมื้อนี้เป็นมื้อแรกหรือเปล่าที่ทานไป
จ.ส.ต.ศิริ – มื้อแรกครับ เราตั้งใจมาแล้ว คือเราก็ปรารถนาให้ร่างกายเราได้ทุกอย่าง
จินดารัตน์ – แสดง่าตอนท่านนี่คิดยู่ตลอด เพื่อวันข้างหน้า เพื่ออนาคตที่สดใส
จ.ส.ต.ศิริ – ครับ
จินดารัตน์ – คือท่องไว้ในใจตลอด พอไหวไหมคะ ข้าวกล้อง ผัก
จ.ส.ต.ศิริ – ไหวครับ
จินดารัตน์ – ไม่หิวเลยเหรอคะ กลับบ้านทำไงคะ อย่าบอกนะคะว่า ไม่เปิดตู้เย็น
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่เปิดครับ ต้องห้ามใจตัวเองให้ได้ ถ้าห้ามใจตัวเองไม่ได้ ร่างกายเราเอง
จินดารัตน์ – ที่บ้านมีเฮ ไหมคะ ไม่เปิดตู้เย็นเนี่ย
จ.ส.ต.ศิริ – น่าจะมีเฮ
จินดารัตน์- มีเฮนะคะ เอาล่ะคะ พักกันก่อน หลายคนเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า แล้วหักโหมให้ลดกันขนาดให้เหลือ 40 นิ้ว ถ้าเกิน 40 นิ้ว จะย้ายไปอยู่งานธุรการ เอ๊ะ มันเป็นความกดดันหรือเปล่า แล้วถ้าลดไป 2 อาทิตย์ จะต้องไปออกกำลังกาย ไปกินข้าวกล้อง อย่างนี้ทุกวัน ยืนโบกรถอยู่ดีๆ จะเป็นลมหรือเปล่า พักกันสักครู่ ช่วงหน้ากลับมาถามกันคะ
จินดารัตน์ – ลดจำนวนเอว ให้เหลือ 40 นิ้ว จะเกิดความ กดดันไหมคะ หลายคนบอกว่าดีเสียอีก ร่างกายจะได้สุขภาพแข็งแรง เพราะทำเองมันทำไม่ได้ สิ่งที่หลายคนกำลังคิดอยู่ในใจก็คือ จะลดกันไปทำไม มีจุดประสงค์อะไร เพราะว่าความอ้วนเหรอ ที่ทำให้ตำรวจทำงานได้ไม่ดี เราจะคุยเรื่องนี้ กับ พลตำรวจตรี มนตรี จำรูญ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลอยู่ในสายแล้ว สวัสดีคะ ท่านรองคะ
พล.ต.ต.มนตรี – สวัสดีครับ
จินดารัตน์ – ท่านรองคะ ตกลงกำหนดระยะเวลาเอาไว้ ไหมคะ จะต้องลดให้ได้ ภายในกี่เดือน
พล.ต.ต.มนตรี – คือ ความจริง เป็นความห่วงใยของผู้บังคับบัญชา สำหรับตำรวจจราจร อย่างที่ทราบกันดีว่า หน้าที่ของเขา จะอยู่บนท้องถนนเสียส่วนใหญ่ ซึ่งปัญหาเรื่องโดนแดด โดนฝน โดยเฉพาะเรื่องมลภาวะ ทำให้ส่วนใหญ่แล้ว ตำรวจจราจร เมื่อตรวจสุขภาพแล้ว มักจะมีปัญหานะครับ แต่จริงๆแล้ว เราก็มีการตรวจสุขภาพทุกปี เขาก็จะรู้ว่าตรงไหนควรจะไปแก้ไข ปัญหาของเขาอย่างไรบ้าง คือไม่ใช่ตรวจอย่างเดียว ตรวจทั้ง 13 รายการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหัวใจ เรื่องปอด เรื่องตับ เรื่องอะไรเนี่ย แต่ที่น่ากลัวก็คือว่า มันปรากฏว่าในจำนวนที่ตำรวจจราจรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี 4,260 นายเนี่ย มีส่วนที่น่าห่วงก็คือว่า ไขมันในเลือดหรือคอลเลสโตรอล สูงเป็นอันดับหนึ่ง ในของทุกๆเรื่องที่ตรวจ ใน 14 รายการเนี่ย
จินดารัตน์ – ท่านรองคะ เห็นบอกว่า งานนี้ ถ้าบังคับกันขนาดนี้ มีให้เข้าร่วมโครงการ หาอะไรมาให้ทำ ถ้าลดไม่ได้ สุดท้าย ท้าที่สุด จะย้ายจากงานจราจร ไปงานธุรการเลย จริงหรือเปล่าคะ
พล.ต.ต.มนตรี – เออ คือ จุด มุ่งหมาย เรา เราไม่ต้องการลงโทษ เราต้องการที่จะให้เขาสุขภาพดีขึ้น ด้วยความห่วงใยเขานะครับ เพราะว่าผมอยากจะชี้ว่า ถ้าเราไม่ทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง มันน่าเป็นห่วงมาก ว่า อย่างย้อนหลังไป 3 ปี ปี 45 เนี่ย มี คอลเลสโตรอลที่เกินจากปกติ ถึง 33 เปอร์เซ็นต์ นะครับ ทีนี้ปีต่อมา ปี 4 6 ขึ้นมาถึง 39 เปอร์เซ็นต์ ปี 47 ขึ้นมา ปีที่แล้วเนี่ย ขึ้นมา 49 เปอร์เซ็นต์ แนวโน้ม ถ้าเราไม่ทำอะไรสักอย่างเนี่ย น่าอันตรายต่อตำรวจพวกนี้มาก
จินดารัตน์ – ให้เวลาตำรวจทั้ง 85 นายกี่เดือนคะ
พล.ต.ต.มนตรี – เออ คือ อย่างนี้ครับ จุดมุ่งหมายอย่างที่ผมเรียน ไม่เข้ม ไม่ใช่พวกนี้ไม่ดี เลยหาทางลงโทษเขา ในเมื่อมันเป็นอย่างนี้ เราในฐานะผู้บังคับบัญชา เราจะมีกลยุทธ์อย่างไรมากกว่า ที่จะทำให้เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเขา เพราะว่าถ้าปล่อยไปอย่างนี้ ตรวจสุขภาพ คุณไปจัดการเองนะ คุณไปดูแลตัวเองนะ ว่าหัวใจไม่ดี น้ำหนักมาก มันจะเป็นโรคหัวใจ มันจะเกิดความดันสูง หรือจะเกิดเบาหวาน ให้คุณไปแก้ไขนะ ให้รับประทานอาหารให้น้อยลง ไขมันน้อยลง ไปออกกำลังกาย 3 ปีที่ผ่านมามีแต่เพิ่มขึ้น ในฐานะผู้บังคับบัญชาเราต้องคิดว่าจะต้องทำอย่างไร นี้คือกลยุทธ์ไม่ใช่หาทางลงโทษเขานะครับ เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งทีจะให้เขามีความกระตือรือร้น ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ ไม่กำหนดอะไรไว้เลย
จินดารัตน์ – จะไม่เกิดอะไรขึ้นนะคะ
พล.ต.ต.มนตรี –มันก็เหมือนเดิม
จินดารัตน์ – ท่านรองคะ ตั้งเป้าเอาไว้กันอย่างไรว่า ที่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ดูจากอะไรคะ
พล.ต.ต.มนตรี – คือ อย่างนี้ครับ ถ้าไม่มีอะไรเลย มันก็คงเหมือนเดิมครับ 33 39 49 เปอร์เซ็นต์ ต่อไป ก็ จะเป็น 50-60 เปอร์เซ็นต์ ต่อไป ตำรวจก็อายุสั้นลงเรื่อยๆ ผมอยากให้คิดว่าด้วยความปรารถนาดีมากว่า เพราะว่ากลยุทธ์ทำให้เขา ก็คือต้องมีกำหนดเกณฑ์ว่า อันนี้มันมากเกินไปนะ ประเด็นแรก คือ สุขภาพร่างกายของเขา จะเกิดปัญหาแน่ ประเด็นที่สองก็คือว่า ประสิทธิภาพในการทำงานเนี่ย ผมคิดว่าคนที่น้ำหนักเกินเนี่ย การที่จะไปวิ่งจับคนร้าย การที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ คงจะไม่คล่องตัวเท่ากับคนที่น้ำหนักไม่เกินมาก แล้วก็ภาพลักษณ์ของตำรวจที่อยู่ในท้องถนนเนี่ย ว่าคนอื่นมอง ว่าทำไมปล่อยให้ตำรวจอย่างเนี่ย ปล่อยให้อ้วนอย่างนี้น่าเกลียด จุดของผมต้องการให้สุขภาพเขาดี เป็นอันดับแรก อันดับสอง อันดับสาม เป็นเรื่องรอง
จินดารัตน์ – แสดงว่านายตำรวจจราจรในสายงานจราจร ต้องเข้าร่วมโครงการคือ เข้าใจดีใช่ไหมคะ ความปรารถนาดีของทาง ท่าน ผบ.ชน.
พล.ต.ต.มนตรี – เอาอย่างนี้ดีกว่า ว่า คือเข้าใจดี เราไม่บังคับนะครับ ทางโรงพยาบาลกล้วยน้ำไทที่มาช่วย ในคราวนี้ เขาช่วยโดยเอาไปเข้าคอร์ส โดยหลักวิชาทางการแพทย์ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายที่ถูกวิธี แล้วก็อบรมอะไรต่ออะไร แล้วก็ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เรื่องอาหาร เรื่องออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการใช้ยา ทางโรงพยาบาลออกให้หมด ผมเองเนี่ย ไม่บังคับนะครับ ปรากฏว่า 85 คน ยินดีที่จะมาเข้าคอร์สนี้เพราะว่า บางคนอยากไปลดความอ้วนก็ต้องเสียตังค์ แล้วนอกจากนั้นแล้วนะครับ คนที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ ยังสมัครใจมาเข้าคอร์สนี้ด้วยนะครับ
จินดารัตน์ – หมายความว่า อยู่สายอื่น ก็สามารถสมัครใจมาได้เหรอคะ
พล.ต.ต.มนตรี – ไม่ครับ ผมดูแลสายงานจราจรอย่างเดียว ก็ปรากฏว่ามีคนมาสมัครใจ แต่ว่า โรงพยาบาล เขาบอกว่า เขามี จำนวนที่จะเข้าคอร์สนี้ได้ แค่ 100 คน เพราะฉะนั้น เพิ่มมาอีก 15 คน แสดงให้เก็นว่า ตำรวจเราไม่ต้องบังคับ ก็เริ่มตื่นตัวแล้ว
จินดารัตน์ – ขอบพระคุณ คะ ท่านรอง คะ เข้าใจเป็นอย่างดีแล้วนะคะ ขอบพระคุณคะ สวัสดีคะ
ท่านก็บอกแล้วว่าไม่ได้บังคับ ที่พูดไปก็ขู่ ก็อยากจะให้ ช่วยกันลดน้ำหนักกัน หลายคนก็ให้กำลังใจมา ทีนี้เรียนถามคุณหมอว่า การที่จะลดนำหนัก 1 นิ้ว มันจะต้องลดน้ำหนักกี่กก. หรือว่ายังไงคะ หรือมีวิธีลดบางส่วน เฉพาะส่วนเอว หรือยังไงคะคุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ - ลด 1 นิ้ว จะลดน้ำหนักกี่กิโล บอกไม่ได้นะครับ เพราะว่าการลด1 นิ้ว จาก 120 หรือลด 1 นิ้ว จาก 80 กิโล ต่างกันเยอะ อย่างที่ท่าน พล.ต.ต มนตรี บอกว่า เราต้องลงให้ต่ำกว่า 40 นิ้วในงานนี้ เขามีแนวโน้มจะลง ถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ถ้าลงได้ ต่ำกว่า 40 นิ้วก็ดี ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 42-43 นิ้ว นะครับ
จินดารัตน์ – ก็ไม่ยากเกินไปในงานนี้
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ไม่ยากเกินไป ก็จะมีอยู่แค่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์
จินดารัตน์ - แต่ถ้าหากว่า ผ่านไปสัก 2 สัปดาห์ลดไป 1 นิ้ว ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีอยู่แล้ว
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ถือว่า เขาทำตามโปรแกรมได้ แต่พอครบ2 เดือนเนี่ย ผมเชื่อว่าอย่างน้อยอยู่ที่ 3 นิ้ว
จินดารัตน์ – ดิฉันเป็นห่วงอย่างนี้คะ คุณหมอคะ ให้ทานข้าวกันอย่างนั้น แล้วก็ออกกำลังกาย คือเช้ามาจะมีแรงไปโบกรถหรือคะ จะเป็นลมเป็นแล้งกันไปหรือเปล่า
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็ค่อยๆ ประเมินกันไป ไม่ใช่วันแรก วิ่งผลัด 5 กิโล คงไม่ใช่ คงค่อยๆเริ่ม แล้วก็ประเมินไป ทีละนิด ส่วนกลางคืนอย่างที่บอก คือ ทุกคนจะหิว แต่ไม่ต้องห่วง เราจะมีพวกอาหาร ที่ไม่มีแคลอรีต่างๆ
จินดารัตน์ – อาจจะพก กลับบ้าน ไม่ต้องถึงขนาดเปิดตู้เย็น
นพ.วุฒิพันธ์- แต่จะให้อาหาร ติดมือกลับไปด้วย
จินดารัตน์ – จ่ากลัว ไหมคะ กลางคืนมันหิว นอนไม่หลับ ตื่นเช้ามานอนไม่เต็มที่ เดี๋ยวเป็นลมได้ กลัวไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – เลิกกลัว คิดว่าร่างกายไหว
จินดารัตน์ – คิดว่าไหว มั่นใจว่าไหว แล้วทางดาบชัยรัตน์ล่ะคะ คิดว่าไหวไหมคะ ถ้าดึกๆต้องหิว แล้วต้องอด ตื่นเช้ามา ก็ต้องไปทำงานแต่เช้า
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไหวครับ
จินดารัตน์ – จ่าบรรยงล่ะคะ
ด.ต.บรรยง – ไม่กลัว
จินดารัตน์ – ไม่กลัว เคยลองแล้วนะคะ รู้สึกว่าดาบ ทานมาหลายมื้อแล้วเหมือนกัน แล้วไปเต้นแอโรบิคเป็นไงคะ ร่างกายสดชื่นขึ้นไหมคะ
ด.ต.บรรยง – ก็ สดชื่นขึ้นนะครับ
จินดารัตน์ – เรื่องของน้ำหนัก เรื่องของส่วนเอว อะไรทั้งหลาย ทำให้ถึงอาการเครียดไหมคะ ว่าเหมือนมีอะไรมากดดันเรา มีข่าวมาว่า ถ้าเราลดไม่ได้ โปรแกรม 1 ก็แล้ว โปรแกรม2 ก็แล้ว โปรแกรม 3 ก็แล้ว ถ้าเราลดไม่ได้ เขาจะย้ายงานเราไปอยู่ธุรการ กลัวไหมคะ คิดว่าทำได้เหรอคะ
ด.ต.บรรยง – มั่นใจครับ
จินดารัตน์ – เขาบอกว่า โปรแกรม 3 มีฝังเข็มด้วย กลัวไหมคะ
ด.ต.บรรยง –ถึงขนาดนั้นเลยเหรอ
จินดารัตน์ – จริงคะ จริงไหมคะคุณหมอ
นพ.วุฒิพันธ์ – ก็เพิ่มการรักษาทางการแพทย์เข้าไปเพิ่มเติม พิจาณาไปรายๆไป
จินดารัตน์- นี่แสดงว่า กลัวเข็มแน่ๆเลย ดาบชัยรัตน์กลัวเข็มไหมคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ไม่กลัวครับ
จินดารัตน์ – ถ้าต้องฝังเข็มจริงๆก็ไม่กลัวนะคะ จ่าละครับ กลัวไหมคะ
จ.ส.ต.ศิริ – ไม่กลัว อยากให้ร่างกายเราดีๆ
จินดารัตน์ - ไม่แน่นะคะ ผ่านจากตรงนี้ไป 5-6 เดือน ดิฉันจะเชิญทั้ง 3 ท่านมาใหม่ แล้วมาวัดรอบเอวกัน ว่าลดลงได้จริงหรือเปล่าคะ แต่ทางคุณผู้ชมทางบ้านก็ดูเหมือนจะให้กำลังใจกันมาเยอะเหมือนกัน ต้องถามคุณหมอว่าอ้วนจากกรรมพันธุ์ กับอ้วนจากอาหารการกิน วิธีการลด ต่างกันไหมคะ
นพ.วุฒิพันธ์ - คือคนอ้วนก็มาจาก 2 สาเหตุนะครับ ทานอาหารที่มีไขมันเยอะเกินไป กับไม่ได้ออกกำลังกาย แต่อ้วนจากกรรมพันธุ์ตอนนี้ มันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนนะครับ ยังไม่มีใครเจอกรรมพันธุ์อ้วน ทุกวันนี้ยังไม่มีคนเจอ ส่วนใหญ่เด็กๆอ้วน จะมีพ่อแม่ที่น้ำหนักตัวเยอะอยู่แล้ว ก็เลยทานกันทั้งบ้าน คือสไตล์เดียวกันทั้งบ้าน เพราะฉะนั้นถามว่าพ่อแม่อ้วน ลูกต้องอ้วนไหม คงไม่ใช่ แต่โดยพฤติกรรมที่ถูกปลูกฝังมาให้ทานร่วมกัน
จินดารัตน์ – เห็นพ่อแม่ทานขนาดนี้ ก็เลยทานกันใหญ่ อาหารที่ต้องทานจะทานได้กี่วันคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – ก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหมอ
จินดารัตน์ – อย่าแอบเอาแกงเผ็ดไปนะคะ
ด.ต.ชัยรัตน์ – เอาไปไม่ได้แน่ แล้วจ่าล่ะคะ จะทำได้กี่วัน
จ.ส.ต.ศิริ – ครบหลักสูตรล่ะครับ
จินดารัตน์ – โห ตั้งใจมาก
จ.ส.ต.ศิริ – ตั้งใจมาแล้ว
จินดารัตน์ – ฝากเป็นตัวแทนไปบอกเพื่อนๆด้วย เป็นกำลังใจให้ทั้ง 85 นายนะคะ ลดได้ก็ดีกับสุขภาพของตัวเราเอง ขอบพระคุณทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างสูงนะคะ ขอบพระคุณคะ เราจะติดตามดูกันต่อไป วันนี้ลากันไปก่อนนะคะ