•• กลายเป็น ประเด็นสนทนา ขึ้นมาเมื่อมีบางท่านตั้งโจทย์ว่าสมควรจะเรียกคำนำหน้า สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ว่า คุณหญิง หรือ คุณ หลังจากได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้น 4 จตุตถจุลจอมเกล้า เมื่อวันฉัตรมงคลที่ผ่านมา วันที่ 5 พฤษภาคม 2548 เพราะแม้จะเป็นที่รับรู้ในทางปฏิบัติว่าท่าน สมรสแล้ว – มีบุตรธิดาแล้ว แต่ในทางนิตินัยดูเหมือนท่านจะเคยให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งว่า ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน อันเป็นเหตุผลที่ทำให้ คู่สมรสไม่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช. ตามข้อบังคับแห่งบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 291 แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรแต่ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่าทั้ง ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม และ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ น่าจะได้ร่วมกันพิจารณา หาข้อยุติเป็นบรรทัดฐาน เพราะในตัวบทกฎหมายทั้ง 2 ฉบับต่างก็ใช้คำเดียวกันว่า สมรส ตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าใช้คำว่า “...สตรีซึ่งสมรสแล้ว เมื่อได้รับพระราชทาน ท.จ., ต.จ., จ.จ. ใช้คำนำนามว่าคุณหญิง สตรีที่ยังมิได้สมรส เมื่อได้รับพระราชทาน จ.จ. ขึ้นไป ใช้คำนำนามว่าคุณ.” ขณะที่ในรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวก็ใช้คำว่า “...ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังต่อไปนี้ มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทุกครั้งที่เข้ารับตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง...” ปัญหาที่ 2 สุดยอดปรมาจารย์ทางกฎหมายควรจะอรรถาธิบายในเชิงวิชาการเป็นบรรทัดฐานก็คือคำว่า สมรสแล้ว, คู่สมรส ในกฎหมายทั้ง 2 ส่วนนั้นจำเป็นหรือไม่ที่จะต้อง จดทะเบียนสมรส และในกฎหมายทั้ง 2 ส่วนนั้นจำเป็นต้อง วินิจฉัยด้วยมาตรฐานเดียวกันหรือไม่, เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันหรือไม่ เช่นถ้าต่อไปนี้เราจะเรียกท่านว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หรือ คุณหญิงหน่อย ก็เท่ากับเรายอมรับกันอย่างเป็นทางการว่า ท่านสมรสแล้ว, ท่านมีคู่สมรสแล้ว ดังนั้นตั้งแต่บัดนี้ไป สมยศ ลีลาปัญญาเลิศ – คู่สมรสของคุณหญิงหน่อย จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้อง ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช.ด้วยทุกครั้งตามกำหนด ใช่ไหม
•• เรื่องนี้ถ้ามี ข้อมูลใหม่ ที่บังเอิญ “เซี่ยงเส้าหลง” อาจจะ ตกข่าว ไปว่า คุณหญิงหน่อยจดทะเบียนสมรสแล้ว ข้อสังเกตเบื้องต้นก็คง ไม่มีประเด็น เพราะใคร ๆ ก็รู้อยู่ว่าท่านไม่ได้มีเจตนาจะ ปิดบัง เพียงแต่ ต้องการใช้นามสกุลเดิมของตน และก่อนหน้ายังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติให้ หญิงสมรสแล้วสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ เท่านั้นเอง
•• พูดถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แล้ว “เซี่ยงเส้าหลง” ก็อดไม่ได้ที่จะภูมิใจใน ลักษณะพิเศษของประเทศไทย ที่ปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมถึง ลักษณะพิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และ บุญญาธิการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทำให้ในแต่ละปีชาวเรานอกจากจะเฝ้ารอ วันที่ 4 ธันวาคม เพื่อน้อมรับ พระราชดำรัสประจำปี แล้วยังติดตามอ่านข่าว วันที่ 5 พฤษภาคม ด้วยว่าพระองค์จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้ใด เป็นปฏิทินที่อยู่ในใจพสกนิกรผู้จงรักภักดีทุกผู้
•• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ ปี 2416 เนื่องในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีได้ปกครองประเทศไทยติดต่อกันมา 90 ปี ด้วย ความสงบสุข จึงทรงพระกรุณาให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งเป็น พระนามของพระองค์ และให้ แพรแถบสีชมพู อันเป็น สีของวันพระราชสมภพ (คือ วันอังคาร) เป็นสัญลักษณ์สำคัญ
•• เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าถือเป็น ตระกูลที่ 4 ถัดจาก ราชมิตราภรณ์, มหาจักรีบรมราชวงศ์, นพรัตนราชวราภรณ์ โดยมีกฎเกณฑ์เป็นประเพณีว่า “...จะพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงคุ้นเคยมีคุณงามความดีเป็นพิเศษ หรือผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อบ้านเมือง.” เพราะสาเหตุเบื้องต้นแห่งการสถาปนาเมื่อกว่า 130 ปีก่อนนั้นก็เพื่อเป็น การตอบแทนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ บนดวงตราและดาราจึงมีข้อความว่า "...เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ." ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจะ ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ทุกคน ที่ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยหลังจากนั้นจะต้องไป ถวายบังคมพระบรมรูป 8 รัชกาลที่ปราสาทพระเทพบิดร เพื่อทำพิธี ปฏิญาณตน ว่าจะ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วย
•• หรือถ้าหันไปพิจารณา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ใน หมวดพระมหากษัตริย์ จะพบว่าที่ มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่า “...พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์.” จะหมายความเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากเป็น พระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ ไม่ถูก จำกัด ด้วย กรอบ ใด ๆ ทั้งสิ้น
•• แม้ ส่วนใหญ่ ของ ข้าราชการระดับสูง, คู่สมรส ในแต่ละยุคแต่ละสมัยจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แต่ก็ ไม่ใช่ทุกคน และไม่ใช่เป็นไปโดย อัตโนมัติ, ตามตำแหน่ง (ซึ่งในกรณีนี้มีอยู่แล้วในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตระกูลที่ 6, 7 และ 8 คือ ช้างเผือก, มงกุฎไทย และ ดิเรกคุณาภรณ์ ที่กำหนดไว้ในระเบียบของทางราชการทั้ง ราชการประจำ, ราชการการเมือง เลยว่า ตำแหน่งใดได้ชั้นใด) หากแต่เป็นไปเพราะ “...ทรงเห็นว่าสมควรจะได้รับพระราชทาน.” นั่นเอง
•• ไม่ใช่ว่าเป็น นายกรัฐมนตรี, คู่สมรสนายกรัฐมนตรี แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• ไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.สส., คู่สมรสผบ.สส. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• ไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.ทอ., คู่สมรสผบ.ทอ. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• ไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.ทร., คู่สมรสผบ.ทร. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• และไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.ทบ., คู่สมรสผบ.ทบ. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• รวมทั้งไม่ใช่ว่า นามสกุลเดียวกับใคร แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติไม่ใช่
•• ถึงที่สุดแล้วถ้าเราเชื่อว่า การเมือง, การปกครอง และ การบริหารราชการแผ่นดิน ที่ สมบูรณ์ นั้นจะต้องมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีไว้เพื่อ ธำรงศักดิ์ศรีของบ้านเมือง อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ บริหารบ้านเมืองตามความต้องการของประชาชน, รับผิดชอบต่อประชาชน ส่วนแรกคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนหลังคือ รัฐบาล-รัฐสภา และพระมหากษัตริย์ทรงมี พระราชอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร รวมแล้ว 3 ลักษณะ คือ The right to be consulted – พระราชอำนาจในการที่จะทรงรับคำปรึกษาและพระราชทานคำแนะนำให้แก่รัฐบาล, The right to encourage – พระราชอำนาจที่จะทรงสนับสนุนหรือให้กำลังใจรัฐบาลในนโยบายหรือการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และ The right to warn – พระราชอำนาจที่จะทรงตักเตือนรัฐบาลให้ตระหนักถึงความเสียหายในการกระทำบางประการ การเฝ้ารอ วันที่ 4 ธันวาคม, วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีก็ มีความหมาย และ มีเสน่ห์ ไม่น้อยสำหรับ พสกนิกรผู้จงรักภักดี อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งปวง
•• เรื่องนี้ถ้ามี ข้อมูลใหม่ ที่บังเอิญ “เซี่ยงเส้าหลง” อาจจะ ตกข่าว ไปว่า คุณหญิงหน่อยจดทะเบียนสมรสแล้ว ข้อสังเกตเบื้องต้นก็คง ไม่มีประเด็น เพราะใคร ๆ ก็รู้อยู่ว่าท่านไม่ได้มีเจตนาจะ ปิดบัง เพียงแต่ ต้องการใช้นามสกุลเดิมของตน และก่อนหน้ายังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติให้ หญิงสมรสแล้วสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ เท่านั้นเอง
•• พูดถึง เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แล้ว “เซี่ยงเส้าหลง” ก็อดไม่ได้ที่จะภูมิใจใน ลักษณะพิเศษของประเทศไทย ที่ปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมถึง ลักษณะพิเศษของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และ บุญญาธิการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทำให้ในแต่ละปีชาวเรานอกจากจะเฝ้ารอ วันที่ 4 ธันวาคม เพื่อน้อมรับ พระราชดำรัสประจำปี แล้วยังติดตามอ่านข่าว วันที่ 5 พฤษภาคม ด้วยว่าพระองค์จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้ใด เป็นปฏิทินที่อยู่ในใจพสกนิกรผู้จงรักภักดีทุกผู้
•• เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ ปี 2416 เนื่องในวโรกาสที่พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีได้ปกครองประเทศไทยติดต่อกันมา 90 ปี ด้วย ความสงบสุข จึงทรงพระกรุณาให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ซึ่งเป็น พระนามของพระองค์ และให้ แพรแถบสีชมพู อันเป็น สีของวันพระราชสมภพ (คือ วันอังคาร) เป็นสัญลักษณ์สำคัญ
•• เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าถือเป็น ตระกูลที่ 4 ถัดจาก ราชมิตราภรณ์, มหาจักรีบรมราชวงศ์, นพรัตนราชวราภรณ์ โดยมีกฎเกณฑ์เป็นประเพณีว่า “...จะพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงคุ้นเคยมีคุณงามความดีเป็นพิเศษ หรือผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อบ้านเมือง.” เพราะสาเหตุเบื้องต้นแห่งการสถาปนาเมื่อกว่า 130 ปีก่อนนั้นก็เพื่อเป็น การตอบแทนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ บนดวงตราและดาราจึงมีข้อความว่า "...เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ." ผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจะ ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ทุกคน ที่ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โดยหลังจากนั้นจะต้องไป ถวายบังคมพระบรมรูป 8 รัชกาลที่ปราสาทพระเทพบิดร เพื่อทำพิธี ปฏิญาณตน ว่าจะ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วย
•• หรือถ้าหันไปพิจารณา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ใน หมวดพระมหากษัตริย์ จะพบว่าที่ มาตรา 11 บัญญัติไว้ว่า “...พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์.” จะหมายความเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากเป็น พระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ ไม่ถูก จำกัด ด้วย กรอบ ใด ๆ ทั้งสิ้น
•• แม้ ส่วนใหญ่ ของ ข้าราชการระดับสูง, คู่สมรส ในแต่ละยุคแต่ละสมัยจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แต่ก็ ไม่ใช่ทุกคน และไม่ใช่เป็นไปโดย อัตโนมัติ, ตามตำแหน่ง (ซึ่งในกรณีนี้มีอยู่แล้วในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตระกูลที่ 6, 7 และ 8 คือ ช้างเผือก, มงกุฎไทย และ ดิเรกคุณาภรณ์ ที่กำหนดไว้ในระเบียบของทางราชการทั้ง ราชการประจำ, ราชการการเมือง เลยว่า ตำแหน่งใดได้ชั้นใด) หากแต่เป็นไปเพราะ “...ทรงเห็นว่าสมควรจะได้รับพระราชทาน.” นั่นเอง
•• ไม่ใช่ว่าเป็น นายกรัฐมนตรี, คู่สมรสนายกรัฐมนตรี แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• ไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.สส., คู่สมรสผบ.สส. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• ไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.ทอ., คู่สมรสผบ.ทอ. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• ไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.ทร., คู่สมรสผบ.ทร. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• และไม่ใช่ว่าเป็น ผบ.ทบ., คู่สมรสผบ.ทบ. แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่
•• รวมทั้งไม่ใช่ว่า นามสกุลเดียวกับใคร แล้วจะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้นโดยอัตโนมัติไม่ใช่
•• ถึงที่สุดแล้วถ้าเราเชื่อว่า การเมือง, การปกครอง และ การบริหารราชการแผ่นดิน ที่ สมบูรณ์ นั้นจะต้องมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่มีไว้เพื่อ ธำรงศักดิ์ศรีของบ้านเมือง อีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ บริหารบ้านเมืองตามความต้องการของประชาชน, รับผิดชอบต่อประชาชน ส่วนแรกคือ สถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนหลังคือ รัฐบาล-รัฐสภา และพระมหากษัตริย์ทรงมี พระราชอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติไว้ ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร รวมแล้ว 3 ลักษณะ คือ The right to be consulted – พระราชอำนาจในการที่จะทรงรับคำปรึกษาและพระราชทานคำแนะนำให้แก่รัฐบาล, The right to encourage – พระราชอำนาจที่จะทรงสนับสนุนหรือให้กำลังใจรัฐบาลในนโยบายหรือการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และ The right to warn – พระราชอำนาจที่จะทรงตักเตือนรัฐบาลให้ตระหนักถึงความเสียหายในการกระทำบางประการ การเฝ้ารอ วันที่ 4 ธันวาคม, วันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปีก็ มีความหมาย และ มีเสน่ห์ ไม่น้อยสำหรับ พสกนิกรผู้จงรักภักดี อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ทั้งปวง