•• ก็ในเมื่อ ฐานภาพทางกฎหมายบ้านเมือง อันมีแกนหลักอยู่ที่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ของ สำนักสันติอโศก ภายใต้การนำของ สมณะโพธิรักษ์ ไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา – ภายใต้การบังคับของมหาเถรสมาคม การระดมภาคีองค์กรต่าง ๆ มาร่วมจัด งานวันวิสาขบูชา 2548 ในอีก 1 เดือนข้างหน้า วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2548 นี้ที่บริเวณ พุทธมณฑล ในชนิดใหญ่โตโอฬารเป็นพิเศษในระดับ นานาชาติ ภายใต้การประสานงานของ ศูนย์คุณธรรม หรือชื่อเต็ม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม -- Center for the Promotion of National Strength on Moral Ethics and Values ซึ่งมี ชาวอโศก 2 คน เป็นแกนนำสำคัญ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็น ประธาน และ นราทิพย์ พึ่งทรัพย์ เป็น ผู้อำนวยการ แม้จะผ่านการดำเนินการอย่างระมัดระวังยิ่งโดยเริ่มต้นตั้งแต่เข้ากราบนมัสการบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นแด่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) – ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และยังได้มอบหมายให้ฆราวาสผู้อยู่ในตำแหน่งที่น่าจะถือเป็น คนกลาง อย่าง นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ – ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รับหน้าที่เป็น ประธานจัดงาน ก็ยังไม่วาย ถูกคัดค้าน-ต่อต้าน เริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการทางสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่มีเครือข่ายสัมพันธ์กับ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา ภายใต้การนำของ พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) หรือที่รู้จักกันมานานในนาม มหาระแบบ และต่อมาเมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2548 ก็เกิดปัญหาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ มหาเถรสมาคม มีมติยืนยัน ไม่เข้าร่วม หากในการจัดงานมี สำนักสันติอโศก ร่วมอยู่ด้วย “เซี่ยงเส้าหลง” เห็นใจสุด ๆ ต่อคนดีที่ปรารถนาดีอย่าง นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ ด้านหนึ่งตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นั้นถือว่าเป็น เลขาธิการ ของ มหาเถรสมาคม แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นหนึ่งใน กรรมการศูนย์คุณธรรม และงานนี้ยังเป็นการมอบหมายโดยตรงด้วยความตั้งใจดีจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร – นายกรัฐมนตรี ที่ได้ประกาศยืนยันอย่างจริงจังในรายการ นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน ครั้งล่าสุด
•• งานใหญ่อย่างเป็นทางการที่จัดโดย ศูนย์คุณธรรม ก่อนหน้าแล้วก็คือ งานศาสนาสัมพันธ์สมานฉันท์แห่งชาติ หรือที่รู้จักกันในนาม งานทำบุญประเทศ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2548 นั่นเอง
•• เป็นเรื่องพูดยากเพราะ มหาเถรสมาคม เองเมื่อ ปี 2532 ได้ออก ประกาศบัพพาชนียกรรม ขับ สำนักสันติอโศก ทำให้ฐานภาพทางกฎหมายบ้านเมืองของสำนักภายใต้การนำของ สมณะโพธิรักษ์ ไม่ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ นอกจากนั้นคำประกาศดังกล่าวยัง ห้ามคณะสงฆ์ไทยร่วมสังฆกรรม อีกด้วย บัพพาชนีกรรม มาจากคำ บัพพาชน์ ( = การขับไล่) + อนีย ( = พึง, ควร, กรรม) รวมความแล้วแปลว่า กรรมของสงฆ์ทำแก่ภิกษุที่พึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่ พูดง่าย ๆ ว่าขณะนี้ในมุมมองของ มหาเถรสมาคม เห็นว่า สมณะโพธิรักษ์ นั้น ไม่ใช่พระสงฆ์ในพุทธศาสนา โดยเฉพาะแกนนำของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนานั้นเรียกขานท่านผู้นี้ว่า “นาย”...รักษ์ รักษ์พงษ์ แต่ในขณะที่อีกด้านหนึ่งผู้ถูกกล่าวหาเห็นว่าประกาศดังกล่าวนั้น ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพราะโดยความจริงแล้วสำนักของท่านเป็นผู้ประกาศ นานาสังวาส มาตั้งแต่ ปี 2518 แล้ว นานาสังวาส แปลว่า มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (อุโบสถและสังฆกรรม) ที่ต่างกัน และ สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือ ไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่า เป็นนานาสังวาสของกันและกัน หมู่คณะของท่านจึงยังยึดถือว่าเป็น พระสงฆ์, พุทธศาสนิกชน อยู่
•• ขณะที่ ฐานภาพทางกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็น พระภิกษุ, พุทธศาสนิกชน แต่ในความรับรู้และการปฏิบัติธรรมของ สมณะโพธิรักษ์, ชาวอโศก ต่างถือว่าตนเป็น พระภิกษุ, พุทธศาสนิกชน เพียงแต่ ตีความคำสอนของพระพุทธองค์ต่างกับคณะสงฆ์ไทย แต่ก็ไม่ถือว่ามีปัญหาใด ๆ ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นเรื่อง นานาสังวาส และยึดหลักว่าสิ่งใดการปฏิบัติใดที่ หลีกเลี่ยงได้, ยอมได้ ก็จะ หลีกเลี่ยง, ยอม แต่โดยสารัตถะแล้วหมู่คณะนี้ยังคงดำเนินการเผยแพร่คำสอนและวิถีปฏิบัติตนวิถีปฏิบัติธรรมมาอย่าง ต่อเนื่อง, เอาจริงเอาจัง จนกล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิถีการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง แม้กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยไปเยี่ยมเยนมาแล้วที่ จังหวัดศรีษะเกษ เมื่อปีก่อน
•• นี่จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ หนักอก ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แม้ใจของท่านจะเอนเอียงมาในทางเห็นว่า ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องของ ทุกนิกาย ถึงขนาดอ้างอิง รัฐธรรมนูญมาตรา 38 ว่าด้วย เสรีภาพในการนับถือศาสนาและลัทธินิกาย แต่เรื่องนี้ถึงที่สุดแล้วไม่ใช่เรื่องของ กฎหมาย แต่เป็นเรื่องของ กระแส, มวลชน จะคิดอ่านประการใดต้องดูให้ดี
•• ควรเข้าใจว่าฐานภาพของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นั้นมี หลากหลาย แต่ที่เกี่ยวกับ ภาครัฐ ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นี้หนึ่งก็คือเป็น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี – ประเภทไม่มีเงินเดือนประจำ ชื่อเป็นทางการคือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านทรัพยากรมนุษย์ อีกหนึ่งที่ผู้คนอาจจะไม่ได้รับรู้กันทั่วไปคือเป็น ประธาน ของหน่วยงานที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า ศูนย์คุณธรรม หรือ Moral Center ชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือ Center for the Promotion of National Strength on Moral Ethics and Values ที่กำลังมีปัญหาอยู่ปัจจุบันโทษฐานที่เกี่ยวพันกับเครือข่ายของ สำนักสันติอโศก ศูนย์แห่งนี้เพิ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2547 โดยเป็นหน่วยงานที่เป็น 1 ใน 8 ของโครงการที่มีชื่อเรียกเก๋ไก๋ว่า โครงการกระตุกต่อมคิด ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใหม่อีกเช่นกัน สบร. – สำนักงานและบริหารพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD - Office of Knowledge Management and Development ซึ่งมีฐานภาพเป็น องค์การมหาชน ทั้ง 8 โครงการนี้ได้รับงบประมาณรวมกันตลอดปี 2548 ก็ประมาณว่า มากกว่า 4,000 ล้านบาท เฉพาะในส่วน ศูนย์คุณธรรม นี้ก็มีงบประมาณดำเนินการ 226 ล้านบาท ภารกิจโดยหลักแล้วไม่ใช่เพื่อ ดำเนินการเคลื่อนไหวเอง หากแต่เพื่อทำหน้าที่ เป็นองค์กรประสานงาน – สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อคุณธรรม องค์กรที่เข้าร่วมจึงมีทั้ง องค์กรทั่วไป และ องค์กรทางศาสนา ของ ทุกศาสนา, ทุกสำนัก กิจกรรมแรก ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วก็คือการจัดประชุมเพื่อหาทางยับยั้ง วิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมาด้วยการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย สึนามิ และล่าสุดก็ งานศาสนาสัมพันธ์สมานฉันท์แห่งชาติ และกำลังเป็นตัวกลางในการประสานและสนับสนุนงบประมาณจัด งานวันวิสาขบูชา 2548 ศูนย์คุณธรรมจึงสามารถจะเป็นสถานที่ ประสานงาน, ประสานความคิด อย่างดีระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ พุทธ – ทุกสำนัก, คริสต์, อิสลาม, ฮินดู และ ซิกส์ ดังได้เห็นภาพกันดีอยู่
•• นอกจากนั้น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังมี งานที่ไม่เป็นทางการ แลเห็นได้ในการเคลื่อนไหวคัดค้าน เบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้กระทำในนาม ประธานศูนย์คุณธรรม, ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านทรัพยากรมนุษย์ เพราะกระทำโดยสวมหมวกใบที่ชื่อ ประธานมูลนิธิกองทัพธรรม องค์กรในเครือข่าย สำนักสันติอโศก แต่ก็เสมือนมีงานที่ทำไว้ใน ศูนย์คุณธรรม เป็น ตัวช่วย เราจะเห็นได้ว่าในขบวนคัดค้านครั้งนั้นมีผู้คนหลากหลายที่มาจาก องค์กรศาสนิกต่าง ๆ เฉพาะในส่วนของ พุทธศาสนา นั้นหากเจาะลึกลงไปจะพบว่ามีมาจากทั้ง สำนักสันติอโศก และ เครือข่ายวัดพระธรรมกาย เป็นสำคัญ
•• งานใหญ่อย่างเป็นทางการที่จัดโดย ศูนย์คุณธรรม ก่อนหน้าแล้วก็คือ งานศาสนาสัมพันธ์สมานฉันท์แห่งชาติ หรือที่รู้จักกันในนาม งานทำบุญประเทศ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2548 นั่นเอง
•• เป็นเรื่องพูดยากเพราะ มหาเถรสมาคม เองเมื่อ ปี 2532 ได้ออก ประกาศบัพพาชนียกรรม ขับ สำนักสันติอโศก ทำให้ฐานภาพทางกฎหมายบ้านเมืองของสำนักภายใต้การนำของ สมณะโพธิรักษ์ ไม่ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ นอกจากนั้นคำประกาศดังกล่าวยัง ห้ามคณะสงฆ์ไทยร่วมสังฆกรรม อีกด้วย บัพพาชนีกรรม มาจากคำ บัพพาชน์ ( = การขับไล่) + อนีย ( = พึง, ควร, กรรม) รวมความแล้วแปลว่า กรรมของสงฆ์ทำแก่ภิกษุที่พึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่ พูดง่าย ๆ ว่าขณะนี้ในมุมมองของ มหาเถรสมาคม เห็นว่า สมณะโพธิรักษ์ นั้น ไม่ใช่พระสงฆ์ในพุทธศาสนา โดยเฉพาะแกนนำของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนานั้นเรียกขานท่านผู้นี้ว่า “นาย”...รักษ์ รักษ์พงษ์ แต่ในขณะที่อีกด้านหนึ่งผู้ถูกกล่าวหาเห็นว่าประกาศดังกล่าวนั้น ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เพราะโดยความจริงแล้วสำนักของท่านเป็นผู้ประกาศ นานาสังวาส มาตั้งแต่ ปี 2518 แล้ว นานาสังวาส แปลว่า มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (อุโบสถและสังฆกรรม) ที่ต่างกัน และ สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือ ไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่า เป็นนานาสังวาสของกันและกัน หมู่คณะของท่านจึงยังยึดถือว่าเป็น พระสงฆ์, พุทธศาสนิกชน อยู่
•• ขณะที่ ฐานภาพทางกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็น พระภิกษุ, พุทธศาสนิกชน แต่ในความรับรู้และการปฏิบัติธรรมของ สมณะโพธิรักษ์, ชาวอโศก ต่างถือว่าตนเป็น พระภิกษุ, พุทธศาสนิกชน เพียงแต่ ตีความคำสอนของพระพุทธองค์ต่างกับคณะสงฆ์ไทย แต่ก็ไม่ถือว่ามีปัญหาใด ๆ ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นเรื่อง นานาสังวาส และยึดหลักว่าสิ่งใดการปฏิบัติใดที่ หลีกเลี่ยงได้, ยอมได้ ก็จะ หลีกเลี่ยง, ยอม แต่โดยสารัตถะแล้วหมู่คณะนี้ยังคงดำเนินการเผยแพร่คำสอนและวิถีปฏิบัติตนวิถีปฏิบัติธรรมมาอย่าง ต่อเนื่อง, เอาจริงเอาจัง จนกล่าวได้ว่า ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิถีการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง แม้กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยไปเยี่ยมเยนมาแล้วที่ จังหวัดศรีษะเกษ เมื่อปีก่อน
•• นี่จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ หนักอก ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แม้ใจของท่านจะเอนเอียงมาในทางเห็นว่า ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะเป็นเรื่องของ ทุกนิกาย ถึงขนาดอ้างอิง รัฐธรรมนูญมาตรา 38 ว่าด้วย เสรีภาพในการนับถือศาสนาและลัทธินิกาย แต่เรื่องนี้ถึงที่สุดแล้วไม่ใช่เรื่องของ กฎหมาย แต่เป็นเรื่องของ กระแส, มวลชน จะคิดอ่านประการใดต้องดูให้ดี
•• ควรเข้าใจว่าฐานภาพของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นั้นมี หลากหลาย แต่ที่เกี่ยวกับ ภาครัฐ ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นี้หนึ่งก็คือเป็น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี – ประเภทไม่มีเงินเดือนประจำ ชื่อเป็นทางการคือ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านทรัพยากรมนุษย์ อีกหนึ่งที่ผู้คนอาจจะไม่ได้รับรู้กันทั่วไปคือเป็น ประธาน ของหน่วยงานที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า ศูนย์คุณธรรม หรือ Moral Center ชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือ Center for the Promotion of National Strength on Moral Ethics and Values ที่กำลังมีปัญหาอยู่ปัจจุบันโทษฐานที่เกี่ยวพันกับเครือข่ายของ สำนักสันติอโศก ศูนย์แห่งนี้เพิ่งมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2547 โดยเป็นหน่วยงานที่เป็น 1 ใน 8 ของโครงการที่มีชื่อเรียกเก๋ไก๋ว่า โครงการกระตุกต่อมคิด ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใหม่อีกเช่นกัน สบร. – สำนักงานและบริหารพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD - Office of Knowledge Management and Development ซึ่งมีฐานภาพเป็น องค์การมหาชน ทั้ง 8 โครงการนี้ได้รับงบประมาณรวมกันตลอดปี 2548 ก็ประมาณว่า มากกว่า 4,000 ล้านบาท เฉพาะในส่วน ศูนย์คุณธรรม นี้ก็มีงบประมาณดำเนินการ 226 ล้านบาท ภารกิจโดยหลักแล้วไม่ใช่เพื่อ ดำเนินการเคลื่อนไหวเอง หากแต่เพื่อทำหน้าที่ เป็นองค์กรประสานงาน – สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อคุณธรรม องค์กรที่เข้าร่วมจึงมีทั้ง องค์กรทั่วไป และ องค์กรทางศาสนา ของ ทุกศาสนา, ทุกสำนัก กิจกรรมแรก ๆ ที่ดำเนินการไปแล้วก็คือการจัดประชุมเพื่อหาทางยับยั้ง วิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมาด้วยการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย สึนามิ และล่าสุดก็ งานศาสนาสัมพันธ์สมานฉันท์แห่งชาติ และกำลังเป็นตัวกลางในการประสานและสนับสนุนงบประมาณจัด งานวันวิสาขบูชา 2548 ศูนย์คุณธรรมจึงสามารถจะเป็นสถานที่ ประสานงาน, ประสานความคิด อย่างดีระหว่าง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับศาสนิกของศาสนาต่าง ๆ พุทธ – ทุกสำนัก, คริสต์, อิสลาม, ฮินดู และ ซิกส์ ดังได้เห็นภาพกันดีอยู่
•• นอกจากนั้น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ยังมี งานที่ไม่เป็นทางการ แลเห็นได้ในการเคลื่อนไหวคัดค้าน เบียร์ช้างเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้กระทำในนาม ประธานศูนย์คุณธรรม, ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านทรัพยากรมนุษย์ เพราะกระทำโดยสวมหมวกใบที่ชื่อ ประธานมูลนิธิกองทัพธรรม องค์กรในเครือข่าย สำนักสันติอโศก แต่ก็เสมือนมีงานที่ทำไว้ใน ศูนย์คุณธรรม เป็น ตัวช่วย เราจะเห็นได้ว่าในขบวนคัดค้านครั้งนั้นมีผู้คนหลากหลายที่มาจาก องค์กรศาสนิกต่าง ๆ เฉพาะในส่วนของ พุทธศาสนา นั้นหากเจาะลึกลงไปจะพบว่ามีมาจากทั้ง สำนักสันติอโศก และ เครือข่ายวัดพระธรรมกาย เป็นสำคัญ