“รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย” ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กล่าวใน"สภาท่าพระอาทิตย์" (30 มี.ค.48) หลังจากที่มีข่าวออกมาว่าเขื่อนในจังหวัดกาญจนบุรีเสี่ยงต่อกาแตกเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวว่า เขื่อนศรีนครินทร์นั้นสร้างคร่อมรอยเลื่อน ส่วนเขื่อนเขาแหลมนั้นสร้างใกล้ๆ รอยเลื่อน ชี้ ต้องมีการสำรวจอย่างจริงจังว่าบริเวณรอยเลื่อนนี้มีการสะสมพลังงานมากพอที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้อีกเมื่อไหร่ พร้อมชี้ รัฐบาลควรมีการติดตั้งระบบเตือนภัยในจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อป้องกันเอาไว้ก่อน
รายการสภาท่าพระอาทิตย์ ประจำวันที่ 30 มีนาคม 2548 ดำเนินรายการโดยสำราญ รอดเพชร และคำนูณ สิทธิสมาน
สำราญ – กลับมาช่วงที่สองของรายการสภาท่าพระอาทิตย์นะครับ ทางสถานีข่าวผ่ายดาวเทียม 24 ชั่วโมง 11 News 1 หรือว่า News 1 และก็ทางวิทยุ FM 97.75 วิทยุชุมชนเจ้าฟ้านะครับ จากนี้ไปก็จะไปเรื่องของกาญจนบุรี อนาคตเป็นอย่างไร ที่บอกว่าอันตรายมากเพราะอยู่ในแนวรอยเลื่อน แล้วเขื่อนบางเขื่อนก็ไปสร้างคร่อมทับรอยเลื่อนของเปลือกโลก เท็จจริงเป็นอย่างไร ไปคุยกับผู้รอบรู้
คำนูณ – รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย หรือว่า AIT นะครับ 1 ในคณะทำงานจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติเหตุชาติครับ
สำราญ – อาจารย์เป็นหนึ่งครับ สวัสดีครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ครับ สวัสดีครับ คุณสำราญ คุณคำนูณ
สำราญ – จริงไหมครับ ที่ว่าเขื่อนที่กาญจนบุรีนี่ สร้างคร่อมทับรอยเลื่อนของเปลือกโลก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – จากแนวรอยเลื่อนที่เราเช็คมานะครับ เข้าใจว่าเขื่อนศรีนครินทร์นี่สร้างคร่อม และก็เขื่อนเขาแหลมนี่สร้างใกล้ อยู่ใกล้รอยเลื่อนมา แต่ว่าเราอาจจะยังตรวจสอบรอยเลื่อนได้ไม่ครบนะครับ ยังมีอยู่อีกหลายรอยที่เรายังอาจจะหาไม่เจอ
สำราญ – คำว่ารอยเลื่อนนี่ อาจารย์ลองอธิบายให้ภาพซักนิด มันเป็นอย่างไร มันยาวมันกว้างอย่างไรครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – รอยเลื่อนนี่ก็คือ รอยร้าวบนเปลือกโลกนะครับ เปลือกโลกนี่มันมีความหนาประมาณโดยเฉลี่ยซัก 70 กิโลเมตร แล้วเปลือกโลกที่อยู่ตำแหน่งของประเทศไทยนี่ ก็มีรอยร้าวอยู่ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน รอยนี้บางทีก็เป็นรอยยาวๆหลายร้อยกิโลนะครับ บางรอยก็สั้นเพียงไม่กี่ 10 กิโล ทีนี้มันก็กระจายตัวอยู่ มันเป็นตำแหน่งที่เปลือกโลกค่อนข้างอ่อนแอ เพราะมันเป็นรอยร้าว เวลาเปลือกโลกมันถูกอัด หรือถูกแรงเฉือนทำให้มันเปลี่ยนรูปนี่นะครับ มันมักจะเกิดการขยับแถวๆบริเวณรอยเลื่อน พอมันขยับทีมันก็เกิดเป็นแผ่นดินไหว
สำราญ – ที่คำว่าร้าวคือจากผืนดินลึกลงไปนี่ ไม่รู้กี่ 10 กิโลเมตร มันร้าวอยู่ตรงโน้นลึกๆลงไปใช่ไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ใช่ครับ มันจะลึกลงไป ในบางกรณีก็ลึกลงไปหลาย 10 กิโล ก็โดยเฉลี่ยก็ลึกลงไปหลาย 10 กิโลอยู่
คำนูณ – อันนี้มันเป็นแนวเดียวที่มาจากทางสุมาตราหรือเปล่าครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือในเปลือกโลกที่ประเทศไทยตั้งอยู่ คือเปลือกโลกยูเรเซียนะครับ มันมีรอยร้าวใหญ่อยู่ประมาณ 3-4 รอย รอยร้าวที่ใกล้เราที่สุดนี่คือรอยร้าวที่ผ่ากลางพม่า ที่เราเรียกว่ารอยเลื่อนสะแกง รอยเลื่อนนี้มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้นบ่อยมาก ขนาด 7 ขึ้นไปนี่เกิดประมาณ 4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 80 ปี ทีนี้รอยเลื่อนที่อยู่ในกาญจนบุรี มันเป็นรอยเลื่อนแขนงย่อยที่แตกออกมาจากรอยเลื่อนใหญ่
เพราะฉะนั้นมันก็เหมือนกับกิ่งไม้นะครับ ตรงนี้เป็นแขนงย่อยที่แยกมาจากรอยเลื่อนที่พม่าอีกที ทีนี้รอยเลื่อนแขนงย่อยนี่ มันก็มีความสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เหมือนกัน แต่ลูกจะเล็กกว่า และก็อัตราที่ใช้สะสมพลังงานนี่มันต้องใช้เวลานานกว่า มันถึงจะสะสมแล้วเกิดเป็นแผ่นดินไหวแต่ละลูกได้ เท่าที่เราประมาณกันนี่ แถวๆเมืองกาญจน์ต้องใช้เวลาสะสมช้ากว่ารอยเลื่อนใหญ่ที่พม่าประมาณ 10 เท่านะครับ ก็เรียกว่าต้องคอยกันนานกว่าจะมีมาซักลูกหนึ่ง
คำนูณ – ทีนี้การที่เขื่อนไปสร้างคร่อมทับรอยเลื่อนนี่ มันจะมีผลยังไงบ้างไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือเรื่องเขื่อนกับแผ่นดินไหวมันมี 2 ประเด็นนะครับ ประเด็นแรกถ้าเกิดแผ่นดินไหวใกล้ๆเขื่อน ไม่ตรงตำแหน่งเขื่อนทีเดียวเนี่ย คือมีรอยเลื่อนอยู่ใกล้ๆ มันก็อาจจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรง เขื่อนอาจจะเสียหายเนื่องจากการสั่นสะเทือนที่รุนแรงได้ อีกกรณีหนึ่งคือเขื่อนไปคร่อมทับรอยเลื่อน แล้วรอยเลื่อนเกิดการขยับตัวหมายถึงว่า หิน 2 ด้านของรอยเลื่อน มันจะมีการเคลื่อนเทียบกันนะครับ คือมันจะมีการเคลื่อนตัวเทียบกัน เพราะฉะนั้นเวลาเขื่อนเอาไปตั้งคร่อมนี่ เขื่อนจะถูกฉีกนะครับ มันก็เกิดขึ้นแล้วในบางประเทศ กรณีหลังนี่ก็เป็นเรื่องที่เราก็กลัวในกรณีที่สร้างเขื่อนคร่อม แต่ความจริงถ้าเรารู้ว่ามีรอยเลื่อนมาก่อน แล้วเราก็เตรียมมาตรการไว้นี่นะครับ สร้างเขื่อนเป็นบล็อกๆนี่นะ มันพอจะกันเรื่องนี้ได้
คำนูณ – ก็คือไม่ใช่ว่าเขื่อนไปกระทบกระเทือนทำให้เกิดแผ่นดินไหว แต่ว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหวใกล้เขื่อน หรือว่าบริเวณเขื่อนแล้ว มันจะทำให้เกิดความเสียหายมาก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – เขื่อนก็มีผลต่อแผ่นดินไหว เช่นการกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลนี่ มันจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวเร็วขึ้น แต่ว่ากระตุ้มให้เกิดแผ่นดินไหวระยะเดียว เป็นระยะสั้นๆตอนสร้างเขื่อนเสร็จใหม่ๆ แต่ว่าแผ่นดินไหวใหญ่ๆนี่มันอาจจะมาได้
คำนูณ – ของเราเคยเกิดไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – เคยเกิดอยู่ครั้งหนึ่ง ประมาณซัก 5.9 ริกเตอร์ หลายปีมาแล้วนะครับ ตอนสร้างเขื่อนศรีนครินทร์เสร็จใหม่ๆ ก็มีแผ่นดินไหวออกมาชุดหนึ่ง ซึ่งเราเข้าใจว่าเกิดจากการกระตุ้มของการกักเก็บน้ำในเขื่อน แต่ที่คนอาจจะเข้าใจผิดก็คือ แผ่นดินไหวนั้นเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ แต่เราไม่ได้คิดอย่างนั้น
สำราญ – แต่ว่าโดยรวมแล้ว อาจารย์ครับ แถวเมืองกาญจน์เป็นเหมือนกับกิ่งไม้ที่แตกแขนงออกมาเป็นรอยร้าว รอยเลื่อนที่ไม่ได้เป็นแกนใช่ไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ไม่ได้เป็นแกนหลัก แต่ว่ามันมีความสามารถที่จะสร้าง หรือทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ แล้วเราก็มีข้อมูลเบื้องต้นที่ทำการสำรวจ แล้วมันก็ชี้ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาแล้ว แต่ว่าข้อมูลของเรายังค่อนข้างน้อย เท่าที่เราขุดเจอนี่มันเกิดมาเมื่อประมาณซัก 5000 ปีมาแล้วครั้งหนึ่ง ถ้าเผื่อเราขุดหาหลักฐานทางธรณีวิทยามากกว่านี้ เข้าใจว่าน่าจะเจอเหตุการณ์ที่ใหม่กว่านี้ อาจจะ 2000 ปี อาจจะ 1000 ปีนะครับ หรืออาจจะใหม่กว่านั้น
แต่ตอนนี้การที่พบว่ามันจะขยับเคลื่อนตัวอยู่เนี่ย มันเลยกลายเป็นประเด็นใหญ่ ผมคิดว่าโอกาสที่มันจำเกิดขึ้นในช่วงชีวิตเราก็มีไม่มากนัก โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าถ้ามันเกิดขึ้นเหมือนกับกรณีสึนามิ ที่เราไม่ได้เตรียมแผนรับมือมานี่ มันก็อาจจะเกิดผลกระทบที่รุนแรงมากนะครับ เพราะว่าบริเวณท้ายน้ำก็คือตัวเมืองกาญจนบุรี
สำราญ – อาจารย์ครับ ลองตอบอีกทีสิครับ คือมีท่านผู้ชมโทรมาถามเยอะว่า แสดงว่าจากนี้ไปเรื่องสถิติที่ว่าเป็น 60 ปี 150 ปีนี่ มันใช้ไม่ได้เสียแล้วใช่ไหมครับ เพราะว่านี่ 26 ธันวาคมจนถึงเมื่อวานนะครับ แค่ 100 วันเอง
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือแผ่นดินไหวมากๆอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อวันก่อนนั้น มันไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดง่ายๆนะครับ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคมเมื่อปีที่แล้ว กับเมื่อคืนวันก่อนนี่นะครับ ทั้ง 2 ลูกนี่เป็นลูกที่ใหญ่มากๆ แล้วลูกแรกนี่เท่าที่ข้อมูลชี้มา มันมีการสะสมพลังงานจากการเคลื่อนตัวจองเปลือกโลกเป็นเวลาประมาณ 200 กว่าปี มันถึงระเบิดออกมาเป็นครั้งนั้น ส่วนบริเวณที่เพิ่งเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันก่อนนี่นะครับ มันก็มีการสะสมพลังงานมาประมาณ 150 ปีในโซนนั้น ถึงแม้ว่ามันจะอยู่ใกล้กัน แต่ว่ามันเป็นคนละแถบกันนะครับ
ครั้งหลังที่มันเกิดเมื่อ ค.ศ.1861 คือประมาณซัก 150 ปีมาแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นมันไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ว่าสองครั้งนี่มันเกี่ยวพันกัน เพราะว่าครั้งแรกที่มันเกิดเมื่อ 26 ธันวาคมนี่มันได้ถ่านแรงมาลงตรงบริเวณรอยเลื่อนตรงฝ่ายใต้หน่อยนึงนะครับ คือว่ามันถ่ายแรงมาลงฝั่งใต้นี่ ทำให้มันกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวเร็วขึ้น คือเวลาเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งหนึ่งนี่ มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงตามบริเวณรอยต่อของเปลือกโลกหมดเลย
ทีนี้ก็บังเอิญมีทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษ เขาก็ทำการคำนวณวิเคราะห์ว่า เขาทำคอมพิวเตอร์โมเดลของเปลือกโลกนี่นะครับ แล้วเขาทำการวิเคราะห์ดูว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมนี่มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เวลาเขาวิเคราะห์เสร็จเขาก็พบว่า เหตุการณ์เมื่อ 26 ธันวาคมนี่มันทำให้แรงภายในตรงรอยต่อของเปลือกโลก บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมนี่นะครับ มันเพิ่มขึ้นค่อนข้างเยอะ แล้วเทียบเท่ากับแรงที่มันสะสมตัวอยู่ประมาณ 60 ปี ทีนี้พอมาบวกกับที่มันสะสมตัวมันเองอยู่แล้ว ประมาณซัก 150 ปี ก็เท่ากับว่ามันมีแรงสะสมเทียบเท่ากับประมาณซัก 200 ปี มันก็เลยระเบิดออกมาเป็นแผ่นดินไหว
มันก็เกิดขึ้นใกล้เคียงกัน เพราะว่าตัวแรกที่มันเกิดขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคมนี่ มันถ่ายแรงมาให้เพื่อนมัน แล้วมันก็ระเบิดตามกันนะครับ เพราะฉะนั้นเวลาเราดูเหตุการณ์ก็ดูเหมือนว่า สองเหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นถี่มาก แล้วเราก็เลยเกิดความตกใจว่าอาจจะเกิดตามๆกันมา ทีนี้ถ้าเราเข้าใจกลไกแบบนี้ มันต้องมีการสะสมพลังงานถึงขั้นหนึ่งก่อน มันถึงจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวใหญ่ได้ ผมไม่คิดว่ามันจะเกิดที่เดิมอีกแล้วนะครับ ในระยะเวลาอันใกล้ อย่างมากก็เป็นแค่ After Shock ที่มีขนาดเล็กกว่ามากนะครับ
ส่วนบริเวณที่มันยังไม่ระเบิดเป็นแผ่นดินไหวนี่ ก็ยังมีส่วนเหนือคือแถวๆหมูเกาะอันดามัน ซึ่งอยู่บนแนวรอยต่อเดียวกัน แต่ว่ามันอยู่ด้านเหนือ ตรงนั้นนี่เป็นจุดที่ยังไม่ได้ไถลตัวจนเกิดเป็นแผ่นดินไหว เพราะฉะนั้นผมว่าทฤษฎีอะไรต่างๆที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องเปลือกโลก หรือว่าการเกิดแผ่นดินไหวก็ยังใช้ได้อยู่ เพียงแต่ว่าครั้งนี้มันค่อนข้างซับซ้อนนิดนึง
คำนูณ – เรารู้ไหมครับ ว่ามันมีการสะสมพลังงานที่จุดไหนอีกบ้าง ประเภทที่ว่าสะสมมาแล้ว 100 ปี 200 ปีนี่
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือเราจะรู้ถ้าเผื่อเราไปทำการสำรวจนะครับ ว่าในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณนั้นนี่เมื่อไหร่ ครั้งหลังสุดเมื่อไหร่นะครับ การสำรวจแบบที่ว่านี่ ในอินโดนีเซียเขาทำกันโดยนักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินะครับ เราเลยรู้ว่ามันเกิดมาแล้วเมื่อปี 1861 บ้าง 1833 บ้าง แต่ทีนี้บริเวณส่วนเหนือนี่ บนหมู่เกาะนิโคบาร์ หรือว่าอันดามันนี่ ยังไม่มีใครเข้าไปสำรวจ เพราะมันเป็นพื้นที่ของอินเดียนะครับ แล้วก็มีความสำคัญทางด้านการทหารด้วย เขาก็เลยเป็นจุดที่เข้าไปยาก
คำนูณ – โดยเฉพาะในระดับ 100 ปี 200 ปี บางทีก็ไม่มีการบันทึกไว้นะ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ถ้าเผื่อเราทำสำรวจทางธรณีวิทยา เราสามารถรู้ย้อนหลังไปเป็นพันๆปี ทำให้เรารู้สถิติมันได้ ว่ามันเกิดทุกๆกี่ร้อยปี กี่สิบปีนะครับ เราจะรู้จักมันดีขึ้น แล้วเรารู้ครั้งสุดท้ายมันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราก็พอจะรู้ว่ามันสะสมพลังงานมาแล้วซักกี่สิบปี
สำราญ – อาจารย์ครับ ขอความรู้นิดนึง ตั้งแต่มีโลกเกิดขึ้นมานี่นะครับ แผ่นดินไหวที่แรงที่สุดกี่ริกเตอร์ครับ เท่าที่มีบันทึกในเชิงวิชาการนี่
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – เท่าที่จำได้รู้สึกว่าจะเป็นที่อลาสก้านะครับ ประมาณซัก 9.5 ริกเตอร์ ของๆเราเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมเมื่อปีที่แล้วจัดเป็นอันดับ 2 นะครับ
สำราญ – ขนาดไหนโลกถึงจะแตกครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คงไม่แตกหรอกครับ แล้วก็ขนาดคงจำกัดอยู่แถวๆนี้นะครับ
สำราญ – ดูในบางเอกสารบอกว่าถ้าเป็น 12 ริกเตอร์ ไปเลยโลกนี่ถล่มทลายเลย จริงไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ผมว่ากระบวนการที่เกิดแผ่นดินไหว มันเกิดจากแผ่นเปลือกมันเคลื่อนตัวช้าๆ แล้วมันก็ขบกัน มันไถลกันนะครับ กระบวนการอย่างนี้โลกแตกไม่ได้ เพียงแต่ว่ามันจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวใหญ่แค่ไหนเท่านั้นเอง กระบวนการแบบนี้มันอาจจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กหน่อย แต่เกิดถี่ๆ หรือไม่ก็เก็บสะสมไว้นานๆแล้วก็เป็นตัวใหญ่ๆเท่านั้นเอง
คำนูณ – คือโลกก็เป็นปกติ อาจจะเปลี่ยนแผนที่ไปบ้าง แต่ว่าคนที่อยู่อาศัยจะตายมากตายน้อยก็อีกเรื่องหนึ่ง มีความเป็นไปได้ไหมครับ ว่าจะมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แล้วหมู่เกาะอินโดนีเซียมันจะหายไปเลย
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – หมู่เกาะอย่างสุมาตรานี่ มันมีแนวแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมี 2 แนวใหญ่ๆ แนวหนึ่งอยู่ในทะเลตามที่เรารู้กันอยู่แล้วนะครับ แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดก็เกิดในทะเลตามแนวนั้น แต่มันยังมีอีกแนวหนึ่งที่เรียกว่ารอยเลื่อนสุมาตรา ตัวนี้ผ่ากลางเกาะสุมาตราเลยบนดินนะครับ ตรงนี้ถ้าเกิดว่าเกิดขึ้นคนคงตายเยอะมาก เพราะว่ามันอยู่บนดินนะครับ ตอนนี้ก็ตายเยอะแล้วนะครับ
สำราญ – รอยเลื่อนมันก็มีทุกทิศทางไหมครับ เหนือไปใต้ ใต้ไปเหนือ ตะวันออกไปตะวันตก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ตัวหลักๆนี่เรารู้ทิศทาง รู้ตำแหน่งมันนะครับ มันมีแผนที่อยู่แล้วว่ารอยเลื่อนมันเรียงตัวอย่างไร จากไหนไปไหน แต่ตัวย่อยๆนี่ปกติมันหายากหน่อย มันต้องทำการสำรวจเป็นเรื่องเป็นราว เดี๋ยวผมขอวกกลับมาในกรณีของเมืองกาญจน์หน่อยได้ไหมครับ ผมคิดว่างานที่เราควรจะทำแล้วเรายังไม่ได้ทำ คือ เราควรจะทำการสำรวจรอยเลื่อนให้มันเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านี้หน่อยนะครับ ผมทำได้ในระดับหนึ่ง ทีมงานผมทำได้ในระดับหนึ่งแต่ว่าก็มีคนน้อยนะครับ ตอนนี้เรามีข้อมูลเบื้องต้นชี้ถึงความเสี่ยง แต่ว่ามันก็ยังไม่พอ ผมคิดว่าอยากจะให้ภาครัฐให้ความสำคัญเรื่องการสำรวจเมืองกาญจน์นี่เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆนะครับ
แล้วอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการติดตั้งระบบเตือนภัยนี่ ในกรณีที่เราอาจจะไม่คิดว่ามันน่าจะเกิดได้ง่ายๆ อย่างเช่นเขื่อนแตกนี่นะครับ เราควรจะมีการติดตั้งระบบเตือนภัยที่จะส่งสัญญาณเตือนไปที่จังหวัดกาญจนบุรี ให้ชาวบ้านสามารถที่จะอพยพหนีได้นะครับ ผมไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์นี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายๆนะครับ แต่ว่าเราควรจะกันไว้ก่อนนะครับ แล้วก็ที่เมืองกาญจน์ก็คงจะต้องมีการวางแผนซ้อมมือว่า จะอพยพกันอย่างไร
สำราญ – อันนี้แผนเฉพาะเมืองกาญจน์ เราสามารถพ่วงเข้าสู่ระบบใหญ่ ระบบเตือนภัยใหญ่ที่กำลังทำกันอยู่ได้เลย ใช่ไหมครับ อาจารย์ครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ใช่ครับ พ่วงเข้าได้ แต่ว่าการที่จะติดตั้งระบบเตือนภัยอะไรพวกนี้ ก็คงต้องมีความร่วมมือเยอะนะครับ หลายๆส่วนคงต้องเข้าใจและก็เห็นชอบร่วมกันในการทำเรื่องนี้นะครับ ไม่อย่างนั้นคงทำ Plan เรื่องนี้ไม่ได้
สำราญ – อาจารย์ครับ อาจารย์ครับ ขอบพระคุณมากที่ให้เวลานะครับ
คำนูณ – ขอบพระคุณครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ครับ สวัสดีครับ
รายการสภาท่าพระอาทิตย์ ประจำวันที่ 30 มีนาคม 2548 ดำเนินรายการโดยสำราญ รอดเพชร และคำนูณ สิทธิสมาน
สำราญ – กลับมาช่วงที่สองของรายการสภาท่าพระอาทิตย์นะครับ ทางสถานีข่าวผ่ายดาวเทียม 24 ชั่วโมง 11 News 1 หรือว่า News 1 และก็ทางวิทยุ FM 97.75 วิทยุชุมชนเจ้าฟ้านะครับ จากนี้ไปก็จะไปเรื่องของกาญจนบุรี อนาคตเป็นอย่างไร ที่บอกว่าอันตรายมากเพราะอยู่ในแนวรอยเลื่อน แล้วเขื่อนบางเขื่อนก็ไปสร้างคร่อมทับรอยเลื่อนของเปลือกโลก เท็จจริงเป็นอย่างไร ไปคุยกับผู้รอบรู้
คำนูณ – รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีเอเชีย หรือว่า AIT นะครับ 1 ในคณะทำงานจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติเหตุชาติครับ
สำราญ – อาจารย์เป็นหนึ่งครับ สวัสดีครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ครับ สวัสดีครับ คุณสำราญ คุณคำนูณ
สำราญ – จริงไหมครับ ที่ว่าเขื่อนที่กาญจนบุรีนี่ สร้างคร่อมทับรอยเลื่อนของเปลือกโลก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – จากแนวรอยเลื่อนที่เราเช็คมานะครับ เข้าใจว่าเขื่อนศรีนครินทร์นี่สร้างคร่อม และก็เขื่อนเขาแหลมนี่สร้างใกล้ อยู่ใกล้รอยเลื่อนมา แต่ว่าเราอาจจะยังตรวจสอบรอยเลื่อนได้ไม่ครบนะครับ ยังมีอยู่อีกหลายรอยที่เรายังอาจจะหาไม่เจอ
สำราญ – คำว่ารอยเลื่อนนี่ อาจารย์ลองอธิบายให้ภาพซักนิด มันเป็นอย่างไร มันยาวมันกว้างอย่างไรครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – รอยเลื่อนนี่ก็คือ รอยร้าวบนเปลือกโลกนะครับ เปลือกโลกนี่มันมีความหนาประมาณโดยเฉลี่ยซัก 70 กิโลเมตร แล้วเปลือกโลกที่อยู่ตำแหน่งของประเทศไทยนี่ ก็มีรอยร้าวอยู่ค่อนข้างเยอะเหมือนกัน รอยนี้บางทีก็เป็นรอยยาวๆหลายร้อยกิโลนะครับ บางรอยก็สั้นเพียงไม่กี่ 10 กิโล ทีนี้มันก็กระจายตัวอยู่ มันเป็นตำแหน่งที่เปลือกโลกค่อนข้างอ่อนแอ เพราะมันเป็นรอยร้าว เวลาเปลือกโลกมันถูกอัด หรือถูกแรงเฉือนทำให้มันเปลี่ยนรูปนี่นะครับ มันมักจะเกิดการขยับแถวๆบริเวณรอยเลื่อน พอมันขยับทีมันก็เกิดเป็นแผ่นดินไหว
สำราญ – ที่คำว่าร้าวคือจากผืนดินลึกลงไปนี่ ไม่รู้กี่ 10 กิโลเมตร มันร้าวอยู่ตรงโน้นลึกๆลงไปใช่ไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ใช่ครับ มันจะลึกลงไป ในบางกรณีก็ลึกลงไปหลาย 10 กิโล ก็โดยเฉลี่ยก็ลึกลงไปหลาย 10 กิโลอยู่
คำนูณ – อันนี้มันเป็นแนวเดียวที่มาจากทางสุมาตราหรือเปล่าครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือในเปลือกโลกที่ประเทศไทยตั้งอยู่ คือเปลือกโลกยูเรเซียนะครับ มันมีรอยร้าวใหญ่อยู่ประมาณ 3-4 รอย รอยร้าวที่ใกล้เราที่สุดนี่คือรอยร้าวที่ผ่ากลางพม่า ที่เราเรียกว่ารอยเลื่อนสะแกง รอยเลื่อนนี้มีแผ่นดินไหวใหญ่เกิดขึ้นบ่อยมาก ขนาด 7 ขึ้นไปนี่เกิดประมาณ 4 ครั้งในระยะเวลาประมาณ 80 ปี ทีนี้รอยเลื่อนที่อยู่ในกาญจนบุรี มันเป็นรอยเลื่อนแขนงย่อยที่แตกออกมาจากรอยเลื่อนใหญ่
เพราะฉะนั้นมันก็เหมือนกับกิ่งไม้นะครับ ตรงนี้เป็นแขนงย่อยที่แยกมาจากรอยเลื่อนที่พม่าอีกที ทีนี้รอยเลื่อนแขนงย่อยนี่ มันก็มีความสามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เหมือนกัน แต่ลูกจะเล็กกว่า และก็อัตราที่ใช้สะสมพลังงานนี่มันต้องใช้เวลานานกว่า มันถึงจะสะสมแล้วเกิดเป็นแผ่นดินไหวแต่ละลูกได้ เท่าที่เราประมาณกันนี่ แถวๆเมืองกาญจน์ต้องใช้เวลาสะสมช้ากว่ารอยเลื่อนใหญ่ที่พม่าประมาณ 10 เท่านะครับ ก็เรียกว่าต้องคอยกันนานกว่าจะมีมาซักลูกหนึ่ง
คำนูณ – ทีนี้การที่เขื่อนไปสร้างคร่อมทับรอยเลื่อนนี่ มันจะมีผลยังไงบ้างไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือเรื่องเขื่อนกับแผ่นดินไหวมันมี 2 ประเด็นนะครับ ประเด็นแรกถ้าเกิดแผ่นดินไหวใกล้ๆเขื่อน ไม่ตรงตำแหน่งเขื่อนทีเดียวเนี่ย คือมีรอยเลื่อนอยู่ใกล้ๆ มันก็อาจจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรง เขื่อนอาจจะเสียหายเนื่องจากการสั่นสะเทือนที่รุนแรงได้ อีกกรณีหนึ่งคือเขื่อนไปคร่อมทับรอยเลื่อน แล้วรอยเลื่อนเกิดการขยับตัวหมายถึงว่า หิน 2 ด้านของรอยเลื่อน มันจะมีการเคลื่อนเทียบกันนะครับ คือมันจะมีการเคลื่อนตัวเทียบกัน เพราะฉะนั้นเวลาเขื่อนเอาไปตั้งคร่อมนี่ เขื่อนจะถูกฉีกนะครับ มันก็เกิดขึ้นแล้วในบางประเทศ กรณีหลังนี่ก็เป็นเรื่องที่เราก็กลัวในกรณีที่สร้างเขื่อนคร่อม แต่ความจริงถ้าเรารู้ว่ามีรอยเลื่อนมาก่อน แล้วเราก็เตรียมมาตรการไว้นี่นะครับ สร้างเขื่อนเป็นบล็อกๆนี่นะ มันพอจะกันเรื่องนี้ได้
คำนูณ – ก็คือไม่ใช่ว่าเขื่อนไปกระทบกระเทือนทำให้เกิดแผ่นดินไหว แต่ว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหวใกล้เขื่อน หรือว่าบริเวณเขื่อนแล้ว มันจะทำให้เกิดความเสียหายมาก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – เขื่อนก็มีผลต่อแผ่นดินไหว เช่นการกักเก็บน้ำปริมาณมหาศาลนี่ มันจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวเร็วขึ้น แต่ว่ากระตุ้มให้เกิดแผ่นดินไหวระยะเดียว เป็นระยะสั้นๆตอนสร้างเขื่อนเสร็จใหม่ๆ แต่ว่าแผ่นดินไหวใหญ่ๆนี่มันอาจจะมาได้
คำนูณ – ของเราเคยเกิดไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – เคยเกิดอยู่ครั้งหนึ่ง ประมาณซัก 5.9 ริกเตอร์ หลายปีมาแล้วนะครับ ตอนสร้างเขื่อนศรีนครินทร์เสร็จใหม่ๆ ก็มีแผ่นดินไหวออกมาชุดหนึ่ง ซึ่งเราเข้าใจว่าเกิดจากการกระตุ้มของการกักเก็บน้ำในเขื่อน แต่ที่คนอาจจะเข้าใจผิดก็คือ แผ่นดินไหวนั้นเป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ แต่เราไม่ได้คิดอย่างนั้น
สำราญ – แต่ว่าโดยรวมแล้ว อาจารย์ครับ แถวเมืองกาญจน์เป็นเหมือนกับกิ่งไม้ที่แตกแขนงออกมาเป็นรอยร้าว รอยเลื่อนที่ไม่ได้เป็นแกนใช่ไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ไม่ได้เป็นแกนหลัก แต่ว่ามันมีความสามารถที่จะสร้าง หรือทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ แล้วเราก็มีข้อมูลเบื้องต้นที่ทำการสำรวจ แล้วมันก็ชี้ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาแล้ว แต่ว่าข้อมูลของเรายังค่อนข้างน้อย เท่าที่เราขุดเจอนี่มันเกิดมาเมื่อประมาณซัก 5000 ปีมาแล้วครั้งหนึ่ง ถ้าเผื่อเราขุดหาหลักฐานทางธรณีวิทยามากกว่านี้ เข้าใจว่าน่าจะเจอเหตุการณ์ที่ใหม่กว่านี้ อาจจะ 2000 ปี อาจจะ 1000 ปีนะครับ หรืออาจจะใหม่กว่านั้น
แต่ตอนนี้การที่พบว่ามันจะขยับเคลื่อนตัวอยู่เนี่ย มันเลยกลายเป็นประเด็นใหญ่ ผมคิดว่าโอกาสที่มันจำเกิดขึ้นในช่วงชีวิตเราก็มีไม่มากนัก โอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าถ้ามันเกิดขึ้นเหมือนกับกรณีสึนามิ ที่เราไม่ได้เตรียมแผนรับมือมานี่ มันก็อาจจะเกิดผลกระทบที่รุนแรงมากนะครับ เพราะว่าบริเวณท้ายน้ำก็คือตัวเมืองกาญจนบุรี
สำราญ – อาจารย์ครับ ลองตอบอีกทีสิครับ คือมีท่านผู้ชมโทรมาถามเยอะว่า แสดงว่าจากนี้ไปเรื่องสถิติที่ว่าเป็น 60 ปี 150 ปีนี่ มันใช้ไม่ได้เสียแล้วใช่ไหมครับ เพราะว่านี่ 26 ธันวาคมจนถึงเมื่อวานนะครับ แค่ 100 วันเอง
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือแผ่นดินไหวมากๆอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อวันก่อนนั้น มันไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดง่ายๆนะครับ ที่เกิดขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคมเมื่อปีที่แล้ว กับเมื่อคืนวันก่อนนี่นะครับ ทั้ง 2 ลูกนี่เป็นลูกที่ใหญ่มากๆ แล้วลูกแรกนี่เท่าที่ข้อมูลชี้มา มันมีการสะสมพลังงานจากการเคลื่อนตัวจองเปลือกโลกเป็นเวลาประมาณ 200 กว่าปี มันถึงระเบิดออกมาเป็นครั้งนั้น ส่วนบริเวณที่เพิ่งเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันก่อนนี่นะครับ มันก็มีการสะสมพลังงานมาประมาณ 150 ปีในโซนนั้น ถึงแม้ว่ามันจะอยู่ใกล้กัน แต่ว่ามันเป็นคนละแถบกันนะครับ
ครั้งหลังที่มันเกิดเมื่อ ค.ศ.1861 คือประมาณซัก 150 ปีมาแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นมันไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ว่าสองครั้งนี่มันเกี่ยวพันกัน เพราะว่าครั้งแรกที่มันเกิดเมื่อ 26 ธันวาคมนี่มันได้ถ่านแรงมาลงตรงบริเวณรอยเลื่อนตรงฝ่ายใต้หน่อยนึงนะครับ คือว่ามันถ่ายแรงมาลงฝั่งใต้นี่ ทำให้มันกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวเร็วขึ้น คือเวลาเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งหนึ่งนี่ มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแรงตามบริเวณรอยต่อของเปลือกโลกหมดเลย
ทีนี้ก็บังเอิญมีทีมนักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษ เขาก็ทำการคำนวณวิเคราะห์ว่า เขาทำคอมพิวเตอร์โมเดลของเปลือกโลกนี่นะครับ แล้วเขาทำการวิเคราะห์ดูว่า เหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมนี่มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เวลาเขาวิเคราะห์เสร็จเขาก็พบว่า เหตุการณ์เมื่อ 26 ธันวาคมนี่มันทำให้แรงภายในตรงรอยต่อของเปลือกโลก บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมนี่นะครับ มันเพิ่มขึ้นค่อนข้างเยอะ แล้วเทียบเท่ากับแรงที่มันสะสมตัวอยู่ประมาณ 60 ปี ทีนี้พอมาบวกกับที่มันสะสมตัวมันเองอยู่แล้ว ประมาณซัก 150 ปี ก็เท่ากับว่ามันมีแรงสะสมเทียบเท่ากับประมาณซัก 200 ปี มันก็เลยระเบิดออกมาเป็นแผ่นดินไหว
มันก็เกิดขึ้นใกล้เคียงกัน เพราะว่าตัวแรกที่มันเกิดขึ้นเมื่อ 26 ธันวาคมนี่ มันถ่ายแรงมาให้เพื่อนมัน แล้วมันก็ระเบิดตามกันนะครับ เพราะฉะนั้นเวลาเราดูเหตุการณ์ก็ดูเหมือนว่า สองเหตุการณ์นี้มันเกิดขึ้นถี่มาก แล้วเราก็เลยเกิดความตกใจว่าอาจจะเกิดตามๆกันมา ทีนี้ถ้าเราเข้าใจกลไกแบบนี้ มันต้องมีการสะสมพลังงานถึงขั้นหนึ่งก่อน มันถึงจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวใหญ่ได้ ผมไม่คิดว่ามันจะเกิดที่เดิมอีกแล้วนะครับ ในระยะเวลาอันใกล้ อย่างมากก็เป็นแค่ After Shock ที่มีขนาดเล็กกว่ามากนะครับ
ส่วนบริเวณที่มันยังไม่ระเบิดเป็นแผ่นดินไหวนี่ ก็ยังมีส่วนเหนือคือแถวๆหมูเกาะอันดามัน ซึ่งอยู่บนแนวรอยต่อเดียวกัน แต่ว่ามันอยู่ด้านเหนือ ตรงนั้นนี่เป็นจุดที่ยังไม่ได้ไถลตัวจนเกิดเป็นแผ่นดินไหว เพราะฉะนั้นผมว่าทฤษฎีอะไรต่างๆที่อธิบายเกี่ยวกับเรื่องเปลือกโลก หรือว่าการเกิดแผ่นดินไหวก็ยังใช้ได้อยู่ เพียงแต่ว่าครั้งนี้มันค่อนข้างซับซ้อนนิดนึง
คำนูณ – เรารู้ไหมครับ ว่ามันมีการสะสมพลังงานที่จุดไหนอีกบ้าง ประเภทที่ว่าสะสมมาแล้ว 100 ปี 200 ปีนี่
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คือเราจะรู้ถ้าเผื่อเราไปทำการสำรวจนะครับ ว่าในอดีตเคยเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณนั้นนี่เมื่อไหร่ ครั้งหลังสุดเมื่อไหร่นะครับ การสำรวจแบบที่ว่านี่ ในอินโดนีเซียเขาทำกันโดยนักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินะครับ เราเลยรู้ว่ามันเกิดมาแล้วเมื่อปี 1861 บ้าง 1833 บ้าง แต่ทีนี้บริเวณส่วนเหนือนี่ บนหมู่เกาะนิโคบาร์ หรือว่าอันดามันนี่ ยังไม่มีใครเข้าไปสำรวจ เพราะมันเป็นพื้นที่ของอินเดียนะครับ แล้วก็มีความสำคัญทางด้านการทหารด้วย เขาก็เลยเป็นจุดที่เข้าไปยาก
คำนูณ – โดยเฉพาะในระดับ 100 ปี 200 ปี บางทีก็ไม่มีการบันทึกไว้นะ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ถ้าเผื่อเราทำสำรวจทางธรณีวิทยา เราสามารถรู้ย้อนหลังไปเป็นพันๆปี ทำให้เรารู้สถิติมันได้ ว่ามันเกิดทุกๆกี่ร้อยปี กี่สิบปีนะครับ เราจะรู้จักมันดีขึ้น แล้วเรารู้ครั้งสุดท้ายมันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราก็พอจะรู้ว่ามันสะสมพลังงานมาแล้วซักกี่สิบปี
สำราญ – อาจารย์ครับ ขอความรู้นิดนึง ตั้งแต่มีโลกเกิดขึ้นมานี่นะครับ แผ่นดินไหวที่แรงที่สุดกี่ริกเตอร์ครับ เท่าที่มีบันทึกในเชิงวิชาการนี่
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – เท่าที่จำได้รู้สึกว่าจะเป็นที่อลาสก้านะครับ ประมาณซัก 9.5 ริกเตอร์ ของๆเราเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมเมื่อปีที่แล้วจัดเป็นอันดับ 2 นะครับ
สำราญ – ขนาดไหนโลกถึงจะแตกครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – คงไม่แตกหรอกครับ แล้วก็ขนาดคงจำกัดอยู่แถวๆนี้นะครับ
สำราญ – ดูในบางเอกสารบอกว่าถ้าเป็น 12 ริกเตอร์ ไปเลยโลกนี่ถล่มทลายเลย จริงไหมครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ผมว่ากระบวนการที่เกิดแผ่นดินไหว มันเกิดจากแผ่นเปลือกมันเคลื่อนตัวช้าๆ แล้วมันก็ขบกัน มันไถลกันนะครับ กระบวนการอย่างนี้โลกแตกไม่ได้ เพียงแต่ว่ามันจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวใหญ่แค่ไหนเท่านั้นเอง กระบวนการแบบนี้มันอาจจะเกิดเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กหน่อย แต่เกิดถี่ๆ หรือไม่ก็เก็บสะสมไว้นานๆแล้วก็เป็นตัวใหญ่ๆเท่านั้นเอง
คำนูณ – คือโลกก็เป็นปกติ อาจจะเปลี่ยนแผนที่ไปบ้าง แต่ว่าคนที่อยู่อาศัยจะตายมากตายน้อยก็อีกเรื่องหนึ่ง มีความเป็นไปได้ไหมครับ ว่าจะมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แล้วหมู่เกาะอินโดนีเซียมันจะหายไปเลย
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – หมู่เกาะอย่างสุมาตรานี่ มันมีแนวแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมี 2 แนวใหญ่ๆ แนวหนึ่งอยู่ในทะเลตามที่เรารู้กันอยู่แล้วนะครับ แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดก็เกิดในทะเลตามแนวนั้น แต่มันยังมีอีกแนวหนึ่งที่เรียกว่ารอยเลื่อนสุมาตรา ตัวนี้ผ่ากลางเกาะสุมาตราเลยบนดินนะครับ ตรงนี้ถ้าเกิดว่าเกิดขึ้นคนคงตายเยอะมาก เพราะว่ามันอยู่บนดินนะครับ ตอนนี้ก็ตายเยอะแล้วนะครับ
สำราญ – รอยเลื่อนมันก็มีทุกทิศทางไหมครับ เหนือไปใต้ ใต้ไปเหนือ ตะวันออกไปตะวันตก
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ตัวหลักๆนี่เรารู้ทิศทาง รู้ตำแหน่งมันนะครับ มันมีแผนที่อยู่แล้วว่ารอยเลื่อนมันเรียงตัวอย่างไร จากไหนไปไหน แต่ตัวย่อยๆนี่ปกติมันหายากหน่อย มันต้องทำการสำรวจเป็นเรื่องเป็นราว เดี๋ยวผมขอวกกลับมาในกรณีของเมืองกาญจน์หน่อยได้ไหมครับ ผมคิดว่างานที่เราควรจะทำแล้วเรายังไม่ได้ทำ คือ เราควรจะทำการสำรวจรอยเลื่อนให้มันเป็นเรื่องเป็นราวมากกว่านี้หน่อยนะครับ ผมทำได้ในระดับหนึ่ง ทีมงานผมทำได้ในระดับหนึ่งแต่ว่าก็มีคนน้อยนะครับ ตอนนี้เรามีข้อมูลเบื้องต้นชี้ถึงความเสี่ยง แต่ว่ามันก็ยังไม่พอ ผมคิดว่าอยากจะให้ภาครัฐให้ความสำคัญเรื่องการสำรวจเมืองกาญจน์นี่เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆนะครับ
แล้วอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการติดตั้งระบบเตือนภัยนี่ ในกรณีที่เราอาจจะไม่คิดว่ามันน่าจะเกิดได้ง่ายๆ อย่างเช่นเขื่อนแตกนี่นะครับ เราควรจะมีการติดตั้งระบบเตือนภัยที่จะส่งสัญญาณเตือนไปที่จังหวัดกาญจนบุรี ให้ชาวบ้านสามารถที่จะอพยพหนีได้นะครับ ผมไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์นี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายๆนะครับ แต่ว่าเราควรจะกันไว้ก่อนนะครับ แล้วก็ที่เมืองกาญจน์ก็คงจะต้องมีการวางแผนซ้อมมือว่า จะอพยพกันอย่างไร
สำราญ – อันนี้แผนเฉพาะเมืองกาญจน์ เราสามารถพ่วงเข้าสู่ระบบใหญ่ ระบบเตือนภัยใหญ่ที่กำลังทำกันอยู่ได้เลย ใช่ไหมครับ อาจารย์ครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ใช่ครับ พ่วงเข้าได้ แต่ว่าการที่จะติดตั้งระบบเตือนภัยอะไรพวกนี้ ก็คงต้องมีความร่วมมือเยอะนะครับ หลายๆส่วนคงต้องเข้าใจและก็เห็นชอบร่วมกันในการทำเรื่องนี้นะครับ ไม่อย่างนั้นคงทำ Plan เรื่องนี้ไม่ได้
สำราญ – อาจารย์ครับ อาจารย์ครับ ขอบพระคุณมากที่ให้เวลานะครับ
คำนูณ – ขอบพระคุณครับ
รศ.ดร.เป็นหนึ่ง – ครับ สวัสดีครับ