•• สถานการณ์ในสัปดาห์นี้เห็นจะรวมศูนย์อยู่ที่ การแก้ปัญหาวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะจะมี การอภิปรายทั่วไปในรัฐสภา ในอีก 2 วันข้างหน้า วันที่ 30 – 31 มีนาคม 2548 ขณะเดียวกับที่จะเป็นการเริ่มต้นทำงานของ คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ภายใต้การนำของ อานันท์ ปันยารชุน ที่จะมีจำนวนมากถึง 48 คน พร้อมด้วยข้อเสนอเบื้องต้นที่ออกจะ ท้าทาย, น่าพิจารณา เหมือนกันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะสนองรับหรือไม่ประการใด หนึ่ง – เปิดเผยผลการสอบสวนกรณีกรือเซะ 28 เมษายน 2547, สอง – เปิดเผยผลการสอบสวนกรณีสลายม็อบตากใบ 25 ตุลาคม 2547, สาม – เปิดเผยผลการสอบสวนกรณีการอุ้มฆ่าทนายสมชาย นีละไพจิตร 11 มีนาคม 2547 และสุดท้าย สี่ – ถอนฟ้อง 58 ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในกรณีตากใบ หนักหนาสาหัสไม่ใช่เล่นเพราะหาก ปฏิบัติตามทุกประการ ก็ออกจะเป็น มิติใหม่ ที่เมื่อเปรียบเทียบโดยภาพรวมกับแนวทางที่ดำเนินมาโดยตลอดแล้วต้องถือว่า สวนทาง แต่ถ้า ไม่ปฏิบัติตามเสียเลย ก็เท่ากับว่าเป็น การเริ่มต้นที่ไม่ราบรื่นระหว่างรัฐบาลกับคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะ ซื้อเวลา ไว้ให้ผ่าน การรับฟังความคิดเห็นจากเวทีรัฐสภา ซึ่งน่าจะมีความคิดเห็นค่อนข้างจะ หลากหลาย และส่วนหนึ่งอาจจะ ไม่ตรง กับข้อเสนอจาก คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ โดยเฉพาะใน 4 ประการที่เล่ามา
•• อย่างไรเสียขอมองใน เชิงบวก ก่อนว่า อานันท์ ปันยารชุน น่าจะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มากกว่าสถานะเป็น บันไดให้ถอยลงในกรณีประกาศนโยบายไม่จัดงบประมาณลงหมู่บ้านสีแดง เพราะนี่เป็นเรื่อง วิกฤตชาติ และคนระดับอดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยคนนี้ก็มี ความเป็นตัวของตัวเอง, ศักดิ์ศรี และ สติปัญญา เพียงพอที่จะ ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้ง รัฐบาล และ บรรดาขาประจำต่าง ๆ เป็นแน่
•• แม้ว่าถ้ามองอย่าง ผิวเผิน, ระแวงไว้ก่อน จะพบว่าในรอบ 4 – 5 ปีมานี้ สกุลความคิด ของ อานันท์ ปันยารชุน ค่อนข้างเคลื่อนจาก ภาคธุรกิจเอกชน ลงมาหา ภาคประชาชน (ที่ส่วนหนึ่งคือ ขาประจำต่าง ๆ) จนในระยะหนึ่งมี ภาพ เสมือนเป็น เสาหลัก ของ เอ็นจีโอไทย จนเปรียบเสมือนเป็น กลุ่มการเมืองพลังสำรอง หมายถึงว่ายังคงพร้อมที่จะกลับมาเป็น ผู้นำประเทศ ได้อีกครั้งใน สถานการณ์พิเศษ นอกกรอบ ปกติ เพราะเราจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ ปี 2535 เป็นต้นมาสายพันธุ์ของกลุ่มคนที่เรียกขานตนเองว่า FOA : Friends of Anand ยังคง เกาะกลุ่ม อยู่รอบตัว อานันท์ ปันยารชุน แกนนำในยุคนั้นคือ กลุ่มนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ใต้การนำของ ประสาร มฤคพิทักษ์ ชักนำไปสู่ความสัมพันธ์กับ ธีรยุทธ บุญมี เมื่อครั้งเคลื่อนไหว ปฏิรูปธรรมรัฐ ในห้วง ปี 2541 จากนั้นก็นำไปสู่ความสัมพันธ์กับกรณี ต่อต้านเขื่อนปากมูล ร่วมกับกลุ่ม วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ รวมทั้งได้ร่วมสนทนาวิสาสะกับ สุลักษณ์ ศิวรักษ์, พิภพ ธงไชย และ ฯลฯ แต่จริง ๆ แล้วใครที่เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า ความเป็นอานันท์ ปันยารชุน จะต้อง ไม่ด่วนสรุป เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นพูดจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่กลุ่มต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวในภาคประชาชน ทำงานงานแนวร่วม, แสวงหามิตรในหมู่ชนชั้นนำ มากกว่าที่อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยจะเป็นผู้ริเริ่ม รวมกลุ่มเพื่อแสวงหาอำนาจหากโอกาสอำนวย การมีมิตรต่างชนชั้นต่างประสบการณ์มีค่าเท่ากับเป็น การเปิดหูเปิดตา ท่านผู้นี้ยังคงไว้ซึ่ง ความเป็นตัวของตัวเอง และถึงที่สุดแล้วท่านย่อมเห็น ด้านบวก ในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และที่ตอบรับมาทำงานนี้ให้ก็โดย ความจริงใจ ไม่ใช่เพื่อ เล่นเกม ในความเห็นของ “เซี่ยงเส้าหลง” ขอยืนยันอีกครั้ง ณ ที่นี้ว่าหากคน ๆ นี้สามารถผนึกกำลัง เป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ก็เห็นจะไม่ต่างกับการเกิดขึ้นของ รัฐบาลแห่งชาติ หรือ รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ เพราะอย่าลืมว่าข้อเสนอ คิดนอกกรอบ ของ น.พ.ประเวศ วะสี เมื่อ 1 เดือนเศษ ๆ ที่ผ่านมาที่ให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน แต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมดูแลปัญหาภาคใต้จากคนของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะ ไกลเกินไป แต่สามารถนำมา ประยุกต์ให้เกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ ผ่านทางการร่วมมือใน คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ที่มีรูปแบบพิเศษและผู้นำที่มีสถานภาพพิเศษชนิดที่ทำให้ทั้ง พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ต้อง กระอักกระอ่วนใจ แต่ประการใด
•• พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญหาอื่น เป็นเรื่องการบริหารงานตามปกติของ รัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่ยกเว้นไว้เฉพาะกับ ปัญหาวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ควรจะต้องยกให้เป็นภารกิจของ รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ ภายใต้รูปแบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ภายใต้การนำของ ผู้นำพิเศษ นาม อานันท์ ปันยารชุน คนนี้
•• ที่สำคัญคือ ทุกฝ่าย จะต้องยึดมั่นในกติกาที่จะใช้เวที รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ ภายใต้รูปแบบพิเศษ คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ นี้เป็น เวทีเพื่อการแก้ปัญหา มากกว่า เวทีเพื่อแสดงโวหาร ด้วยเหตุนี้จึงควรเป็น เวทีปิด ในความหมายของ กระบวนการปิดห้องคุยกันถกเถียงกันอย่างเปิดอก อย่างแท้จริง
•• คำว่า กระบวนการปิดห้องคุยกันถกเถียงกันอย่างเปิดอก ที่ “เซี่ยงเส้าหลง” กล่าวถึงหมายความในสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำมาเปิดเผยกับ ครม. เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2548 นี้ว่าในช่วงเวลา 2 ชั่วโมงของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ที่สนทนากับ อานันท์ ปันยารชุน นั้น “...มีการเถียงกันแบบฝรั่ง คือมีการพูดจากันอย่างรุนแรงอยู่นาน ถึงสาเหตุของปัญหา จนได้ข้อสรุปว่าจะบรรลุถึงความสมานฉันท์ในชาติได้อย่างไร และได้จบลงอย่างมีความสุข.” ควรคงรูปแบบนี้ไว้ต่อไปใน คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ขอเสนอมาอย่างจริงใจ ณ ที่นี้อีกครั้ง
•• อย่าลืมว่าใน เวทีเปิด โดยเฉพาะ เวทีเปิดที่มีสมาชิกมากเกินไป อย่างเช่น รัฐสภา ทุกคนทุกฝ่ายล้วนมี กรอบจำกัด ในหลายต่อหลายครั้งทำให้ พูดได้ไม่เต็มที่ เพราะตกอยู่ใน บริบททางการเมือง ที่ต้องคำนึงถึง กระแสมวลชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ ชาติ, บูรณภาพแห่งดินแดน ไม่เชื่อก็คอยดูเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นใน การประชุมรัฐสภานัดพิเศษ 30 – 31 มีนาคม 2548 ภายใต้การคุมเกมอีกครั้งของ โภคิน พลกุล, สุชน ชาลีเครือ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น “เซี่ยงเส้าหลง” จำได้ว่า นวัตกรรมทางการเมืองที่ถือกันว่าดีที่สุดในรอบ 300 ปี คือ รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา นั้นไม่ได้คลอดออกมาจาก เวทีเปิด ทำนอง สภาร่างรัฐธรรมนูญ – ที่ยึดหลักประชาพิจารณ์ในทุก ๆ เรื่อง หากแต่เป็นผลผลิตจาก คณะกรรมการพิเศษ จำนวนไม่มากนักที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกัน “...เถียงกันแบบฝรั่ง.” ชนิด ปิดห้องคุยกัน ปัญหาวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในบ้านเราขณะนี้ก็กำลังต้องการ นวัตกรรมทางการเมืองที่ดีที่สุด ที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ใน เวทีเปิด – ที่ยึดหลักประชาพิจารณ์ในทุก ๆ เรื่อง (เพราะถ้าทำเช่นนั้น ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างกัน ชนิด สุดขั้ว ขึ้นอยู่กับว่า ทำประชาพิจารณ์ที่ไหน) นั่นเอง
•• ที่เสนอมานี้ก็เพราะมองเห็นว่านี่เป็น โอกาสอันดี ที่รัฐบาลโดยภาพรวมแล้วจะสามารถ ถอนตัวออกจากปัญหาที่ไม่ประสบความสำเร็จมาตลอดแล้วบำเพ็ญเป็นเพียงผู้ปฏิบัติและผู้สนับสนุนที่ดี – ปล่อยให้เรื่องยุทธศาสตร์เป็นหน้าที่ของรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ อย่าไปตีคุณค่าเสมอเพียง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่าลืมว่าแม้ด้านหนึ่งคนอย่าง อานันท์ ปันยารชุน จะมีความเป็นตัวของตัวเองและ ฯลฯ เพียงพอที่จะ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายปรปักษ์ทางการเมืองของรัฐบาล แต่คน ๆ นี้ก็ไม่ยอมมาเป็น หุ่นเชิด ให้ใครง่าย ๆ หากวันใดพบเห็น ความไม่จริงใจ, ความดื้อรั้นไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ เชื่อเถอะว่าคน ๆ นี้ไม่ ออมปากออมคำ แล้ว นั่งนิ่ง ๆ ร่วมมือต่อไป เหมือนนักการเมืองบางคนใน พรรคไทยรักไทย เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง ที่ ไม่มีทางเลือก อย่างแน่นอน
•• ความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ อานันท์ ปันยารชุน นับจากนี้ไปจะเป็นประเด็นที่ ต้องจับตา ตำแหน่งใหม่ ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ในสถานการณ์ปัจจุบันมี บทบาทชี้ขาด เสียยิ่งกว่าตำแหน่งเดิม ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสียอีก
•• บอกกล่าวไว้ล่วงหน้า 1 วัน สนธิ ลิ้มทองกุล จะไปปาฐกถาพิเศษนำการเสวนาในหัวข้อ คนสื่อมองสื่อ – สังคมไทยได้อะไรจากสื่อ ในวันพรุ่งนี้ วันพุธที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 13.00 – 14.15 น. ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลับราชภัฏสวนดุสิต หลังจากนั้นจะเป็นการนำเสวนาโดย จักรภพ เพ็ญแข, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, ฟองสนาน จามรจันทร์, โสภณ องค์การ ดำเนินการโดย อดิศักดิ์ ศรีสม โดยการจัดของ หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ติดต่อสอบถามรายละเอียดมากกว่านี้และ สำรองที่นั่ง(ฟรี) ไปได้ที่ โทรศัพท์ 0-2244-5211, 0-2244-5212, 0-2244-5213 และ/หรือ โทรสาร 0-2243-3089 ถ้าว่างก็ไม่ควรพลาด
•• อย่างไรเสียขอมองใน เชิงบวก ก่อนว่า อานันท์ ปันยารชุน น่าจะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มากกว่าสถานะเป็น บันไดให้ถอยลงในกรณีประกาศนโยบายไม่จัดงบประมาณลงหมู่บ้านสีแดง เพราะนี่เป็นเรื่อง วิกฤตชาติ และคนระดับอดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยคนนี้ก็มี ความเป็นตัวของตัวเอง, ศักดิ์ศรี และ สติปัญญา เพียงพอที่จะ ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้ง รัฐบาล และ บรรดาขาประจำต่าง ๆ เป็นแน่
•• แม้ว่าถ้ามองอย่าง ผิวเผิน, ระแวงไว้ก่อน จะพบว่าในรอบ 4 – 5 ปีมานี้ สกุลความคิด ของ อานันท์ ปันยารชุน ค่อนข้างเคลื่อนจาก ภาคธุรกิจเอกชน ลงมาหา ภาคประชาชน (ที่ส่วนหนึ่งคือ ขาประจำต่าง ๆ) จนในระยะหนึ่งมี ภาพ เสมือนเป็น เสาหลัก ของ เอ็นจีโอไทย จนเปรียบเสมือนเป็น กลุ่มการเมืองพลังสำรอง หมายถึงว่ายังคงพร้อมที่จะกลับมาเป็น ผู้นำประเทศ ได้อีกครั้งใน สถานการณ์พิเศษ นอกกรอบ ปกติ เพราะเราจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ ปี 2535 เป็นต้นมาสายพันธุ์ของกลุ่มคนที่เรียกขานตนเองว่า FOA : Friends of Anand ยังคง เกาะกลุ่ม อยู่รอบตัว อานันท์ ปันยารชุน แกนนำในยุคนั้นคือ กลุ่มนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ใต้การนำของ ประสาร มฤคพิทักษ์ ชักนำไปสู่ความสัมพันธ์กับ ธีรยุทธ บุญมี เมื่อครั้งเคลื่อนไหว ปฏิรูปธรรมรัฐ ในห้วง ปี 2541 จากนั้นก็นำไปสู่ความสัมพันธ์กับกรณี ต่อต้านเขื่อนปากมูล ร่วมกับกลุ่ม วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ รวมทั้งได้ร่วมสนทนาวิสาสะกับ สุลักษณ์ ศิวรักษ์, พิภพ ธงไชย และ ฯลฯ แต่จริง ๆ แล้วใครที่เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า ความเป็นอานันท์ ปันยารชุน จะต้อง ไม่ด่วนสรุป เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นพูดจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่กลุ่มต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวในภาคประชาชน ทำงานงานแนวร่วม, แสวงหามิตรในหมู่ชนชั้นนำ มากกว่าที่อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยจะเป็นผู้ริเริ่ม รวมกลุ่มเพื่อแสวงหาอำนาจหากโอกาสอำนวย การมีมิตรต่างชนชั้นต่างประสบการณ์มีค่าเท่ากับเป็น การเปิดหูเปิดตา ท่านผู้นี้ยังคงไว้ซึ่ง ความเป็นตัวของตัวเอง และถึงที่สุดแล้วท่านย่อมเห็น ด้านบวก ในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และที่ตอบรับมาทำงานนี้ให้ก็โดย ความจริงใจ ไม่ใช่เพื่อ เล่นเกม ในความเห็นของ “เซี่ยงเส้าหลง” ขอยืนยันอีกครั้ง ณ ที่นี้ว่าหากคน ๆ นี้สามารถผนึกกำลัง เป็นอันหนึ่งอันเดียว กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ก็เห็นจะไม่ต่างกับการเกิดขึ้นของ รัฐบาลแห่งชาติ หรือ รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ เพราะอย่าลืมว่าข้อเสนอ คิดนอกกรอบ ของ น.พ.ประเวศ วะสี เมื่อ 1 เดือนเศษ ๆ ที่ผ่านมาที่ให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน แต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมดูแลปัญหาภาคใต้จากคนของพรรคประชาธิปัตย์ แม้จะ ไกลเกินไป แต่สามารถนำมา ประยุกต์ให้เกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ ผ่านทางการร่วมมือใน คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ที่มีรูปแบบพิเศษและผู้นำที่มีสถานภาพพิเศษชนิดที่ทำให้ทั้ง พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ต้อง กระอักกระอ่วนใจ แต่ประการใด
•• พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญหาอื่น เป็นเรื่องการบริหารงานตามปกติของ รัฐบาลพรรคไทยรักไทย แต่ยกเว้นไว้เฉพาะกับ ปัญหาวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ควรจะต้องยกให้เป็นภารกิจของ รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ ภายใต้รูปแบบ คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ภายใต้การนำของ ผู้นำพิเศษ นาม อานันท์ ปันยารชุน คนนี้
•• ที่สำคัญคือ ทุกฝ่าย จะต้องยึดมั่นในกติกาที่จะใช้เวที รัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ ภายใต้รูปแบบพิเศษ คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ นี้เป็น เวทีเพื่อการแก้ปัญหา มากกว่า เวทีเพื่อแสดงโวหาร ด้วยเหตุนี้จึงควรเป็น เวทีปิด ในความหมายของ กระบวนการปิดห้องคุยกันถกเถียงกันอย่างเปิดอก อย่างแท้จริง
•• คำว่า กระบวนการปิดห้องคุยกันถกเถียงกันอย่างเปิดอก ที่ “เซี่ยงเส้าหลง” กล่าวถึงหมายความในสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำมาเปิดเผยกับ ครม. เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2548 นี้ว่าในช่วงเวลา 2 ชั่วโมงของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ที่สนทนากับ อานันท์ ปันยารชุน นั้น “...มีการเถียงกันแบบฝรั่ง คือมีการพูดจากันอย่างรุนแรงอยู่นาน ถึงสาเหตุของปัญหา จนได้ข้อสรุปว่าจะบรรลุถึงความสมานฉันท์ในชาติได้อย่างไร และได้จบลงอย่างมีความสุข.” ควรคงรูปแบบนี้ไว้ต่อไปใน คณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ขอเสนอมาอย่างจริงใจ ณ ที่นี้อีกครั้ง
•• อย่าลืมว่าใน เวทีเปิด โดยเฉพาะ เวทีเปิดที่มีสมาชิกมากเกินไป อย่างเช่น รัฐสภา ทุกคนทุกฝ่ายล้วนมี กรอบจำกัด ในหลายต่อหลายครั้งทำให้ พูดได้ไม่เต็มที่ เพราะตกอยู่ใน บริบททางการเมือง ที่ต้องคำนึงถึง กระแสมวลชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ ชาติ, บูรณภาพแห่งดินแดน ไม่เชื่อก็คอยดูเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นใน การประชุมรัฐสภานัดพิเศษ 30 – 31 มีนาคม 2548 ภายใต้การคุมเกมอีกครั้งของ โภคิน พลกุล, สุชน ชาลีเครือ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น “เซี่ยงเส้าหลง” จำได้ว่า นวัตกรรมทางการเมืองที่ถือกันว่าดีที่สุดในรอบ 300 ปี คือ รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา นั้นไม่ได้คลอดออกมาจาก เวทีเปิด ทำนอง สภาร่างรัฐธรรมนูญ – ที่ยึดหลักประชาพิจารณ์ในทุก ๆ เรื่อง หากแต่เป็นผลผลิตจาก คณะกรรมการพิเศษ จำนวนไม่มากนักที่เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกัน “...เถียงกันแบบฝรั่ง.” ชนิด ปิดห้องคุยกัน ปัญหาวิกฤต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในบ้านเราขณะนี้ก็กำลังต้องการ นวัตกรรมทางการเมืองที่ดีที่สุด ที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ ใน เวทีเปิด – ที่ยึดหลักประชาพิจารณ์ในทุก ๆ เรื่อง (เพราะถ้าทำเช่นนั้น ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างกัน ชนิด สุดขั้ว ขึ้นอยู่กับว่า ทำประชาพิจารณ์ที่ไหน) นั่นเอง
•• ที่เสนอมานี้ก็เพราะมองเห็นว่านี่เป็น โอกาสอันดี ที่รัฐบาลโดยภาพรวมแล้วจะสามารถ ถอนตัวออกจากปัญหาที่ไม่ประสบความสำเร็จมาตลอดแล้วบำเพ็ญเป็นเพียงผู้ปฏิบัติและผู้สนับสนุนที่ดี – ปล่อยให้เรื่องยุทธศาสตร์เป็นหน้าที่ของรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติในทางปฏิบัติ อย่าไปตีคุณค่าเสมอเพียง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่าลืมว่าแม้ด้านหนึ่งคนอย่าง อานันท์ ปันยารชุน จะมีความเป็นตัวของตัวเองและ ฯลฯ เพียงพอที่จะ ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายปรปักษ์ทางการเมืองของรัฐบาล แต่คน ๆ นี้ก็ไม่ยอมมาเป็น หุ่นเชิด ให้ใครง่าย ๆ หากวันใดพบเห็น ความไม่จริงใจ, ความดื้อรั้นไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ เชื่อเถอะว่าคน ๆ นี้ไม่ ออมปากออมคำ แล้ว นั่งนิ่ง ๆ ร่วมมือต่อไป เหมือนนักการเมืองบางคนใน พรรคไทยรักไทย เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง ที่ ไม่มีทางเลือก อย่างแน่นอน
•• ความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ อานันท์ ปันยารชุน นับจากนี้ไปจะเป็นประเด็นที่ ต้องจับตา ตำแหน่งใหม่ ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ในสถานการณ์ปัจจุบันมี บทบาทชี้ขาด เสียยิ่งกว่าตำแหน่งเดิม ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสียอีก
•• บอกกล่าวไว้ล่วงหน้า 1 วัน สนธิ ลิ้มทองกุล จะไปปาฐกถาพิเศษนำการเสวนาในหัวข้อ คนสื่อมองสื่อ – สังคมไทยได้อะไรจากสื่อ ในวันพรุ่งนี้ วันพุธที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 13.00 – 14.15 น. ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลับราชภัฏสวนดุสิต หลังจากนั้นจะเป็นการนำเสวนาโดย จักรภพ เพ็ญแข, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, ฟองสนาน จามรจันทร์, โสภณ องค์การ ดำเนินการโดย อดิศักดิ์ ศรีสม โดยการจัดของ หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ติดต่อสอบถามรายละเอียดมากกว่านี้และ สำรองที่นั่ง(ฟรี) ไปได้ที่ โทรศัพท์ 0-2244-5211, 0-2244-5212, 0-2244-5213 และ/หรือ โทรสาร 0-2243-3089 ถ้าว่างก็ไม่ควรพลาด