•• แม้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะได้แนวคิดเรื่อง พับนก – สื่อสัญลักษณ์สันติภาพและความห่วงใย มาจากการที่ 22 อาจารย์ – ตัวแทน 160 อาจารย์ เข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2547 โดยถือ นกกระดาษ ไปมอบให้จนเป็นภาพปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 แต่จริง ๆ แล้วทั้ง 22 อาจารย์และนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็น คนแรก, กลุ่มแรก ที่คิดเรื่องนี้
•• ก่อนจะพัฒนาไปเป็น การรณรงค์โดยภาครัฐ ชนิด ใหญ่โต จนเป็น กระแส นั้นมีความเคลื่อนไหวมาแรมเดือน “เซี่ยงเส้าหลง” ขอบันทึกไว้ ณ ที่นี้ว่าแนวคิดเรื่อง พับนก – สื่อสัญลักษณ์สันติภาพและความห่วงใย ก่อนหน้านี้เริ่มต้นโดย ภาคประชาชน ตั้งแต่ประมาณ กรกฎาคม – สิงหาคม 2547 ที่เริ่มจับเขาสนทนาหารูปแบบแสดงออกซึ่งความห่วงใยร่วมกันจนมา ตกผลึก ในช่วง กันยายน 2547 ก่อนจะเริ่มเปิดตัวเมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม 254 ในนาม กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ : Flowers ’n Paperbirds for Peace ต้นคิดและแกนนำที่รั้งตำแหน่งประธานกลุ่มก็คือ สุมิท แช่มประสิทธิ์ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ 2 คนแรกคือ ยงจิตต์ สุนทร-วิจารณ์, สุริยะ ดวงสุริยะชัย คนต่อ ๆ มาที่เชื่อมโยงไปถึง กลุ่มศิลปินเพลงเพื่อชีวิต คือ อรุณศักดิ์ อ่องลออ และ สุรชัย จันทิมาทร ที่เมื่อ 20 ปีก่อนเคยร่วมกันทำงานภาพยนตร์ เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ กลุ่มนี้ก่อรูปโครงการ ล้านใจสานสายใยพี่น้องใต้ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ โดยการตระเวนรณรงค์ไปทั่วประเทศเริ่มจากที่ เชียงใหม่ – ภาคเหนือ ระหว่าง วันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2547 ต่อด้วย อุบลราชธานี – ภาคอีสาน ระหว่าง วันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2547 และล่าสุดกำหนดลงพื้นที่ กทม. ระหว่าง วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2547 เรื่องนี้ ผู้จัดการรายวัน – เซกชั่นปริทรรศน์ เคยทำเรื่องขึ้นหน้าปกเซกชั่นไว้เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2547 ในชื่อ นกกระดาษ ดอกไม้ กับความรุนแรงในภาคใต้ นี่เป็น การจัดตั้งกันเองของภาคประชาชน ที่แม้จะ ไม่โด่งดังเท่ากับการณรงค์โดยภาครัฐ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ควร ศึกษา กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพมีเว็บไซด์ของตนเองที่ www.flowersandpaperbirds.org อ่านรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่นั่น
•• คนที่เข้ามาร่วมใน กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ ก็มีหลากหลาย ม.ล.อนุพร เกษมสันต์, ปรัชญา ศรีธัญรัตน์, สรสิริ งามเอก, ปรมาภรณ์ ริ้วภากร, เทิดพงษ์ โกศัยกานนท์ และ ฯลฯ พิจารณาดูจะพบว่าไม่ใช่เรื่องของ ขาประจำ, ขาจร พวกเขามีศูนย์กลางการติดต่ออยู่ที่ ร้านอาหารมาลิน สาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ – โทรศัพท์ 0-2530-2176, 0-2530-2177 สนใจเข้าร่วมกิจกรรมก็เชิญ
•• เมื่อเอ่ยถึงเรื่อง พับนก คนไทยทุกคนรวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ติดตามการถ่ายทอด การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในรอบ 10 ปีที่ผ่านม จำเอกลักษณ์ของเอกบุรุษ สมัคร สุนทรเวช ที่มักจะชอบ นั่งพับกระดาษระหว่างประชุม เป็น ความน่ารัก ที่ทำให้นายกรัฐมนตรีเอ่ยว่าน่าจะเชิญท่านเป็น พรีเซนเตอร์ – สาธิตการพับนก ซึ่งดูเหมือนท่านก็ ขานรับ แสดงวิธีการให้ดูในรายการหนึ่งที่แพร่ภาพทาง ช่อง 3 เมื่อเร็ว ๆ นี้
•• แต่ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ สวนลุมพินี ขณะที่ สมัคร สุนทรเวช ไปร่วมงานวาระสำคัญ วงดนตรีสุนทราภรณ์ ใกล้ ๆ กับเวทีของ กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ ที่จองสถานที่ไว้กับ กทม. รณรงค์ด้วยกิจกรรมน่ารัก ๆ ต่าง ๆ ตลอดวันวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 เมื่อท่านขึ้นเวทีกลับ แสดงความไม่พอใจ ด้วยการกล่าวทำนองว่า ไม่รู้เจ้าหน้าที่กทม.อนุมัติไปได้อย่างไร – พอขึ้นยุคผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป ด้วย บารมี ที่ยังคง ล้นเหลือ ทำให้เจ้าหน้าที่ ณ ที่นั้นเกิดอาการ คิดใหม่-ทำใหม่ ขึ้นมาโดยลดจำนวนกระแสไฟ ทำให้งานซึ่งอยู่ในช่วงแสดงดนตรี มีอันต้อง ยุติเร็วกว่าปกติ หวังว่ากลุ่มนี้คงไม่ถูกผูกโยงไปกับ เอ็นจีโอ, นักวิชาการ ทั้งขาจรขาประจำในสายตาของ สมัคร สุนทรเวช ไปเสียนะ
•• มีคำถามมาถึง “เซี่ยงเส้าหลง” ว่าในเมื่อ สมาชิกวุฒิสภา ที่มีที่มาจาก การเลือกตั้ง มาสามารถ ปลอดจากการเมือง ได้จริงแล้วละก็ทำไมไม่พิจารณารณรงค์แก้ไขให้ มาจากการแต่งตั้ง เพียงแต่ ปรับ ให้มี วิธีการได้มาที่หลากหลาย – ไม่ใช่เพียงแต่การกำหนดจากรัฐบาล จะได้ไหม
•• ตอบได้ว่า ไม่ง่าย และจริง ๆ แล้วแม้สภาแต่งตั้ ใช่ว่าจะมีแต่ ข้อเสีย หลายครั้งในประวัติศาสตร์ได้ให้กำเนิด สิ่งดี ๆ โดยเฉพาะล่าสุดก็คือ สภาแต่งตั้งชุดสุดท้าย ระหว่าง ปี 2539 – 2543 (หรือก่อนหน้านั้น 1 ชุดคือระหว่าง ปี 2535 – 2539) ที่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจสามารถแสดงบทบาทได้สมกับเป็น วุฒิสภา คือสามารถเป็นสภาตัวแทนของชนชั้น ได้อย่าง ทรงพลัง นั้นก็ไม่ใช่เพราะ ระบบดี หากเป็นเพราะ อุบัติเหตุทางการเมือง ที่ รัฐบาลผู้แต่งตั้งไม่ได้อยู่ในอำนาจต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งมา มีอิสระโดยธรรมชาติ เป็นสำคัญ
•• และการที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภายุคใหม่เป็น สภาเลือกตั้ง ก็เพราะเหตุผล ความจำเป็นทางทฤษฎีการเมืองเพราะนี่เป็นสภาที่ ให้กำเนิดองค์กรอิสระ และในเมื่อคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งใน องค์กรอิสระ ถูกกำหนดไว้ให้เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ต้อง มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน แต่ภาระหน้าที่ที่ต้องมา ตรวจสอบ, ตัดสิน นักการเมืองที่ มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน จะให้ท่านเหล่านี้เป็น ผู้วิเศษ ที่ ลอยลงมาจากฟากฟ้าโดยไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชน ก็เท่ากับ ขัด กับ หลักการประชาธิปไตย ที่จะทำให้ การตัดสินใจของประชาชน (ผ่าน การเลือกตั้ง) มีอัน ไร้ความหมาย ทางออกในทางทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้าง ความชอบธรรมทางการเมือง จึงเป็นไปใน 2 ทาง ทางหนึ่งคือให้ สมาชิกวุฒิสภา ที่เป็น สภาผู้เลือกบุคลากรเข้าไปสู่องค์กรอิสระ นั้น มาจากการเลือกตั้ง อีกทางหนึ่งได้สร้าง กลไก ของ คณะกรรมการสรรหา เพื่อกลั่นกรองชั้นต้นและเป็นการถ่วงดุลกับสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ได้ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเห็นได้ว่าแกนหลักในคณะกรรมการสรรหาชุดต่าง ๆ ซึ่งก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านและถือว่าเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือในสังคม อย่างเช่น ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลปกครองสูงสุด และอธิการบดีมหาวิทยาลัยโดยมี ตัวแทนพรรคการเมือง เป็น ส่วนประกอบ เพื่อให้แสดงออกถึงภาคส่วนที่ มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน สรุปก็คือใน 2 ขั้นตอนทั้ง สรรหา, เลือก ล้วนได้รับการพิจารณาและความเห็นชอบจากส่วนที่มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน ทำให้ องค์กรอิสระ มี จุดยึดโยงกับประชาชน ถ้าตัด วุฒิสภาเลือกตั้ง และกรรมการสรรหาส่วนที่เป็น ตัวแทนพรรคการเมือง ออกจาก คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ เสียแล้วก็จะทำให้ จุดยึดโยงกับประชาชน นี้มีอัน พิการ ไปทันที
•• แน่นอน ข้อเสีย ของ สภาเลือกตั้ง ก็คือไม่มีทางที่จะปลอดการเมือง ไม่ว่าคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะกำหนดเป็นอุดมคติโดยวางมาตรการแปลก ๆ ไว้อย่างไรก็ตามแต่ก็พิสูจน์แล้วว่า หนีความจริงไปไม่พ้น ตั้งแต่ขั้นตอน สมัครรับเลือกตั้ง มาจนถึงการแข่งขัน ชิงตำแหน่งสำคัญในวุฒิสภา รวมทั้ง ประธานวุฒิสภา เป็นไปไม่ได้ที่จะ ขจัดการแทรกแซงของพรรคการเมือง ไม่ใช่แต่เฉพาะ พรรครัฐบาล หากรวมถึง พรรคฝ่ายค้าน และก็เป็นธรรมชาติของทุกสภาเลือกตั้งที่แรงโน้มถ่วงของสมาชิกจะ ไหลไปทางพรรครัฐบาล อันที่จริงวุฒิสภาชุดนี้ต้องถือว่ามี ปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยซ้ำที่ห้วงเวลา กว่า 2 ปี ตำแหน่งประธานตกอยู่กับสมาชิกที่มีความโน้มเอียงไปทาง พรรคฝ่ายค้าน เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติอำนาจ ให้คุณให้โทษนักการเมือง สารพัดสารพันไว้กับวุฒิสภาจึงเกิดปรากฏการณ์ มันเป็นเช่นนั้นเอง ตั้งแต่ต้นที่ นักการเมือง จะต้องพยายาม สร้างเครือข่ายพรรคพวก ขึ้นไว้ใน สภาที่จะให้คุณให้โทษ ตราบใดที่นักการเมืองทุกคนยังเป็น ปุถุชน ไม่ใช่ อรหันต์ ตราบนั้นความพยายามเข้าไปมี เครือข่ายพรรคพวกในวุฒิสภา (รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาที่พยายามเข้าไปเป็น พรรคพวกกับรัฐบาล) จึงเป็นเรื่อง ปกติ แก้อย่างไรก็หนีไม่พ้น
•• ก่อนจะพัฒนาไปเป็น การรณรงค์โดยภาครัฐ ชนิด ใหญ่โต จนเป็น กระแส นั้นมีความเคลื่อนไหวมาแรมเดือน “เซี่ยงเส้าหลง” ขอบันทึกไว้ ณ ที่นี้ว่าแนวคิดเรื่อง พับนก – สื่อสัญลักษณ์สันติภาพและความห่วงใย ก่อนหน้านี้เริ่มต้นโดย ภาคประชาชน ตั้งแต่ประมาณ กรกฎาคม – สิงหาคม 2547 ที่เริ่มจับเขาสนทนาหารูปแบบแสดงออกซึ่งความห่วงใยร่วมกันจนมา ตกผลึก ในช่วง กันยายน 2547 ก่อนจะเริ่มเปิดตัวเมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม 254 ในนาม กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ : Flowers ’n Paperbirds for Peace ต้นคิดและแกนนำที่รั้งตำแหน่งประธานกลุ่มก็คือ สุมิท แช่มประสิทธิ์ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ 2 คนแรกคือ ยงจิตต์ สุนทร-วิจารณ์, สุริยะ ดวงสุริยะชัย คนต่อ ๆ มาที่เชื่อมโยงไปถึง กลุ่มศิลปินเพลงเพื่อชีวิต คือ อรุณศักดิ์ อ่องลออ และ สุรชัย จันทิมาทร ที่เมื่อ 20 ปีก่อนเคยร่วมกันทำงานภาพยนตร์ เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ กลุ่มนี้ก่อรูปโครงการ ล้านใจสานสายใยพี่น้องใต้ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ โดยการตระเวนรณรงค์ไปทั่วประเทศเริ่มจากที่ เชียงใหม่ – ภาคเหนือ ระหว่าง วันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2547 ต่อด้วย อุบลราชธานี – ภาคอีสาน ระหว่าง วันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน 2547 และล่าสุดกำหนดลงพื้นที่ กทม. ระหว่าง วันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2547 เรื่องนี้ ผู้จัดการรายวัน – เซกชั่นปริทรรศน์ เคยทำเรื่องขึ้นหน้าปกเซกชั่นไว้เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2547 ในชื่อ นกกระดาษ ดอกไม้ กับความรุนแรงในภาคใต้ นี่เป็น การจัดตั้งกันเองของภาคประชาชน ที่แม้จะ ไม่โด่งดังเท่ากับการณรงค์โดยภาครัฐ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ควร ศึกษา กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพมีเว็บไซด์ของตนเองที่ www.flowersandpaperbirds.org อ่านรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่นั่น
•• คนที่เข้ามาร่วมใน กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ ก็มีหลากหลาย ม.ล.อนุพร เกษมสันต์, ปรัชญา ศรีธัญรัตน์, สรสิริ งามเอก, ปรมาภรณ์ ริ้วภากร, เทิดพงษ์ โกศัยกานนท์ และ ฯลฯ พิจารณาดูจะพบว่าไม่ใช่เรื่องของ ขาประจำ, ขาจร พวกเขามีศูนย์กลางการติดต่ออยู่ที่ ร้านอาหารมาลิน สาขาเลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ – โทรศัพท์ 0-2530-2176, 0-2530-2177 สนใจเข้าร่วมกิจกรรมก็เชิญ
•• เมื่อเอ่ยถึงเรื่อง พับนก คนไทยทุกคนรวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ติดตามการถ่ายทอด การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในรอบ 10 ปีที่ผ่านม จำเอกลักษณ์ของเอกบุรุษ สมัคร สุนทรเวช ที่มักจะชอบ นั่งพับกระดาษระหว่างประชุม เป็น ความน่ารัก ที่ทำให้นายกรัฐมนตรีเอ่ยว่าน่าจะเชิญท่านเป็น พรีเซนเตอร์ – สาธิตการพับนก ซึ่งดูเหมือนท่านก็ ขานรับ แสดงวิธีการให้ดูในรายการหนึ่งที่แพร่ภาพทาง ช่อง 3 เมื่อเร็ว ๆ นี้
•• แต่ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ สวนลุมพินี ขณะที่ สมัคร สุนทรเวช ไปร่วมงานวาระสำคัญ วงดนตรีสุนทราภรณ์ ใกล้ ๆ กับเวทีของ กลุ่มดอกไม้และนกกระดาษเพื่อสันติภาพ ที่จองสถานที่ไว้กับ กทม. รณรงค์ด้วยกิจกรรมน่ารัก ๆ ต่าง ๆ ตลอดวันวันที่ 20 พฤศจิกายน 2547 เมื่อท่านขึ้นเวทีกลับ แสดงความไม่พอใจ ด้วยการกล่าวทำนองว่า ไม่รู้เจ้าหน้าที่กทม.อนุมัติไปได้อย่างไร – พอขึ้นยุคผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป ด้วย บารมี ที่ยังคง ล้นเหลือ ทำให้เจ้าหน้าที่ ณ ที่นั้นเกิดอาการ คิดใหม่-ทำใหม่ ขึ้นมาโดยลดจำนวนกระแสไฟ ทำให้งานซึ่งอยู่ในช่วงแสดงดนตรี มีอันต้อง ยุติเร็วกว่าปกติ หวังว่ากลุ่มนี้คงไม่ถูกผูกโยงไปกับ เอ็นจีโอ, นักวิชาการ ทั้งขาจรขาประจำในสายตาของ สมัคร สุนทรเวช ไปเสียนะ
•• มีคำถามมาถึง “เซี่ยงเส้าหลง” ว่าในเมื่อ สมาชิกวุฒิสภา ที่มีที่มาจาก การเลือกตั้ง มาสามารถ ปลอดจากการเมือง ได้จริงแล้วละก็ทำไมไม่พิจารณารณรงค์แก้ไขให้ มาจากการแต่งตั้ง เพียงแต่ ปรับ ให้มี วิธีการได้มาที่หลากหลาย – ไม่ใช่เพียงแต่การกำหนดจากรัฐบาล จะได้ไหม
•• ตอบได้ว่า ไม่ง่าย และจริง ๆ แล้วแม้สภาแต่งตั้ ใช่ว่าจะมีแต่ ข้อเสีย หลายครั้งในประวัติศาสตร์ได้ให้กำเนิด สิ่งดี ๆ โดยเฉพาะล่าสุดก็คือ สภาแต่งตั้งชุดสุดท้าย ระหว่าง ปี 2539 – 2543 (หรือก่อนหน้านั้น 1 ชุดคือระหว่าง ปี 2535 – 2539) ที่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจสามารถแสดงบทบาทได้สมกับเป็น วุฒิสภา คือสามารถเป็นสภาตัวแทนของชนชั้น ได้อย่าง ทรงพลัง นั้นก็ไม่ใช่เพราะ ระบบดี หากเป็นเพราะ อุบัติเหตุทางการเมือง ที่ รัฐบาลผู้แต่งตั้งไม่ได้อยู่ในอำนาจต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งมา มีอิสระโดยธรรมชาติ เป็นสำคัญ
•• และการที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภายุคใหม่เป็น สภาเลือกตั้ง ก็เพราะเหตุผล ความจำเป็นทางทฤษฎีการเมืองเพราะนี่เป็นสภาที่ ให้กำเนิดองค์กรอิสระ และในเมื่อคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งใน องค์กรอิสระ ถูกกำหนดไว้ให้เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ต้อง มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน แต่ภาระหน้าที่ที่ต้องมา ตรวจสอบ, ตัดสิน นักการเมืองที่ มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน จะให้ท่านเหล่านี้เป็น ผู้วิเศษ ที่ ลอยลงมาจากฟากฟ้าโดยไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชน ก็เท่ากับ ขัด กับ หลักการประชาธิปไตย ที่จะทำให้ การตัดสินใจของประชาชน (ผ่าน การเลือกตั้ง) มีอัน ไร้ความหมาย ทางออกในทางทฤษฎีการเมืองเพื่อสร้าง ความชอบธรรมทางการเมือง จึงเป็นไปใน 2 ทาง ทางหนึ่งคือให้ สมาชิกวุฒิสภา ที่เป็น สภาผู้เลือกบุคลากรเข้าไปสู่องค์กรอิสระ นั้น มาจากการเลือกตั้ง อีกทางหนึ่งได้สร้าง กลไก ของ คณะกรรมการสรรหา เพื่อกลั่นกรองชั้นต้นและเป็นการถ่วงดุลกับสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ได้ ผู้ทรงคุณวุฒิ จะเห็นได้ว่าแกนหลักในคณะกรรมการสรรหาชุดต่าง ๆ ซึ่งก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านและถือว่าเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือในสังคม อย่างเช่น ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลปกครองสูงสุด และอธิการบดีมหาวิทยาลัยโดยมี ตัวแทนพรรคการเมือง เป็น ส่วนประกอบ เพื่อให้แสดงออกถึงภาคส่วนที่ มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน สรุปก็คือใน 2 ขั้นตอนทั้ง สรรหา, เลือก ล้วนได้รับการพิจารณาและความเห็นชอบจากส่วนที่มาจากการเลือกตั้ง, มาจากประชาชน ทำให้ องค์กรอิสระ มี จุดยึดโยงกับประชาชน ถ้าตัด วุฒิสภาเลือกตั้ง และกรรมการสรรหาส่วนที่เป็น ตัวแทนพรรคการเมือง ออกจาก คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ เสียแล้วก็จะทำให้ จุดยึดโยงกับประชาชน นี้มีอัน พิการ ไปทันที
•• แน่นอน ข้อเสีย ของ สภาเลือกตั้ง ก็คือไม่มีทางที่จะปลอดการเมือง ไม่ว่าคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะกำหนดเป็นอุดมคติโดยวางมาตรการแปลก ๆ ไว้อย่างไรก็ตามแต่ก็พิสูจน์แล้วว่า หนีความจริงไปไม่พ้น ตั้งแต่ขั้นตอน สมัครรับเลือกตั้ง มาจนถึงการแข่งขัน ชิงตำแหน่งสำคัญในวุฒิสภา รวมทั้ง ประธานวุฒิสภา เป็นไปไม่ได้ที่จะ ขจัดการแทรกแซงของพรรคการเมือง ไม่ใช่แต่เฉพาะ พรรครัฐบาล หากรวมถึง พรรคฝ่ายค้าน และก็เป็นธรรมชาติของทุกสภาเลือกตั้งที่แรงโน้มถ่วงของสมาชิกจะ ไหลไปทางพรรครัฐบาล อันที่จริงวุฒิสภาชุดนี้ต้องถือว่ามี ปรากฏการณ์พิเศษ ด้วยซ้ำที่ห้วงเวลา กว่า 2 ปี ตำแหน่งประธานตกอยู่กับสมาชิกที่มีความโน้มเอียงไปทาง พรรคฝ่ายค้าน เมื่อรัฐธรรมนูญบัญญัติอำนาจ ให้คุณให้โทษนักการเมือง สารพัดสารพันไว้กับวุฒิสภาจึงเกิดปรากฏการณ์ มันเป็นเช่นนั้นเอง ตั้งแต่ต้นที่ นักการเมือง จะต้องพยายาม สร้างเครือข่ายพรรคพวก ขึ้นไว้ใน สภาที่จะให้คุณให้โทษ ตราบใดที่นักการเมืองทุกคนยังเป็น ปุถุชน ไม่ใช่ อรหันต์ ตราบนั้นความพยายามเข้าไปมี เครือข่ายพรรคพวกในวุฒิสภา (รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาที่พยายามเข้าไปเป็น พรรคพวกกับรัฐบาล) จึงเป็นเรื่อง ปกติ แก้อย่างไรก็หนีไม่พ้น