∙∙ บรรยากาศวันหยุดชดเชยในวันนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” ขอคุยเรื่องเบา ๆ ว่าด้วย เนื้อร้อง – เพลงชาติไทย ต่อเนื่องจากที่เมื่อวันก่อนเห็น เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ ไปสัมมนาหัวข้อ เปลี่ยนขุนพลปรับยุทธศาสตร์ – ดับไฟใต้ได้จริงหรือ แล้วเสนอ เปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติไทย จาก “...ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.” เป็น “...ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อหลายเชื้อชาติ.” เรื่องนี้นอกเหนือจากที่ต้องพิจารณาโดย นัย, ความหมาย แล้วยังมี ข้อเท็จจริงบางประการว่าด้วยการเปลี่ยนเนื้อร้องเพลงชาติไทย มาทบทวนกัน
∙∙ ในยุคสมัยปัจจุบันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เคยมี ข่าวลือ ทำนอง แหล่งข่าวกล่าวว่า... ออกมาทางสื่อบางฉบับเมื่อว่าพล.อ.สมทัต อัตตะนันท์ ดำริให้มีการศึกษาเพื่อ เปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงชาติไทย เพื่อเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ สถาบันศาสนา, สถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มากขึ้นกว่าเดิมที่ดูเหมือน เน้น อยู่ที่ สถาบันชาติ แม้จะมีการออกมา ปฏิเสธข่าว โดย โฆษกกองทัพบก แต่ดูเหมือนผู้คนทั่วไปจะเชื่อว่า คดีมีมูล เนื่องจากในระยะ 4 - 5 ปีมานี้มี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ อย่างน้อย 2 ท่านที่ออกมาแสดงความเป็นห่วงในเรื่อง เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นปัจจุบันผลงานประพันธ์ของ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) และ พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) คนแรกไม่ใช่ใครที่ไหน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ขณะเป็น ผบ.ทบ. และดำรงตำแหน่ง ประธานคณะอนุกรรมการเอกลักษณ์ไทย คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ท่านออกมาแสดงความเป็นห่วงในประเด็น วิดีโอประกอบเพลงชาติไทย ที่มี รูปแบบหลากหลาย และเป็น อิสระ ในลักษณะที่อาจจะกล่าวได้ว่า มากเกินไป จึงดำริจะให้มี วิดีโอประกอบเพลงชาติไทยเป็นมาตรฐานชุดเดียว และยังได้ดำริเลยไปถึงเรื่อง เรียบเรียงทำนองให้เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียว จากนั้นอีก 2 ปีถัดมาในช่วง เดือนธันวาคม 2545 คราวนี้ พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ในตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ปัจจุบันได้ดิบได้ดีเป็นถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำริจะให้มีสิ่งที่เรียกว่า ปัดฝุ่นเพลงชาติไทย โดยระดม นักร้องยอดนิยมจากทุกค่ายเทปเพลง โดยเฉพาะที่เป็น ขวัญใจวัยรุ่น มาร่วม ร้องเพลงชาติไทย ข่าวนี้ฮือฮาตรงที่ท่านให้สัมภาษณ์ว่าเป็นการดำเนินตาม แนวคิดสร้างสามัคคีขึ้นในชาติ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับการตอบรับแล้วจากค่าย แกรมมี่ ของ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม แต่ในที่สุดก็ เงียบไป เพราะ ไม่มีผู้ขานรับเท่าที่ควร และนายกรัฐมนตรีคนที่ถูกอ้งถึงก็ออกมา ปฏิเสธ ว่า ไม่ใช่คำสั่งจากรัฐบาล ยังคงเป็นเพียง เรื่องของทหาร เท่านั้น
∙∙ อันว่า เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ประกาศใช้ในยุค จอมพลป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์ทำนองแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามของ กองทัพบก ชนะการประกวดของ กรมโฆษณาการ ได้รับรางวัลมา 1,000 บาท สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็น ไทย ในปีเดียวกันนั้น
∙∙ ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
∙∙ ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่าควรจะใช้ ทำนองเพลงไทย คณะครูดนตรีไทยจึงเลือก เพลงทรงพระสุบิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ 2 นำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสากลขึ้นโดย เฮวุดเซน ถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 2 ใช้บรรเลงระหว่าง ปี 2414 – 2431 ไม่นานนัก
∙∙ ส่วน เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดยนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ, เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
∙∙ มาถึง เพลงชาติลำดับที่ 4 หลังการปฏิวัติของ คณะราษฎร เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้าง เพลงชาติ ขึ้นมา ใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม เพลงมหาชัย ไปพลางก่อน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป
∙∙ ต่อมาก็เป็น เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 ก็มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ เนื้อร้อง โดยประพันธ์เพิ่มเติมจากของเดิมที่เห็นกันว่า สั้นไป ให้ ยาวขึ้น โดย ฉันท์ ขำวิไล จึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 6 ใช้ระหว่าง ปี 2477 – 2482 และถือเป็น เพลงชาติอย่างเป็นทางการเพลงแรก ก่อนจะมาเปลี่ยนแปลงเป็น เพลงชาติลำดับที่ 7 ที่ใช้มาจนถึง ปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนชื่อประเทศ ดังที่เคยกล่าวไว้
∙∙ มีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจในช่วง ปี 2477 ขณะนั้นมีเพลงที่เสนอขึ้นมาเป็น เพลงชาติไทย เช่นกันอีกเพลงหนึ่งที่อาจจะเรียกว่า เพลงชาติลำดับที่ 6/1 ใช้ ทำนองเพลงไทย ประพันธ์ทำนองโดย จางวางทั่ว พาทยโกศล โดยดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิม เพลงตระนิมิตร ช่วงนั้นเรียกคู่ขนานกันว่า เพลงชาติแบบสากล, เพลงชาติแบบไทย แต่ในที่สุดคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาลงมติให้ใช้ เพลงชาติแบบสากล ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยงค์ (ปิติ วาทยะกร) ที่รับการขอร้องจาก นาวาตรีหลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ตั้งแต่ ปี 2474 แต่มาคิดออกเมื่อ ปี 2475 นั่น
∙∙ จะเห็นได้ว่า เพลงชาติไทย เรานี้มีที่มาจาก แนวคิดตะวันตก หรืออาจพูดอีกอย่างว่า แนวคิดสากล ส่วน อุดมการณ์ของเพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบันก็คือ ชาติ ในยุคก่อกำเนิดของ รัฐชาติสมัยใหม่ ในมุมมองของ ทหาร และเป็นเพลงที่จงใจแยกออกมาจาก สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีอยู่
∙∙ เนื้อร้องของเพลงชาติไทยที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ ปี 2482 แยกไม่ออกจากอุดมการณ์ ชาตินิยม หรืออาจพูดได้ว่า เชื้อชาตินิยม เพราะคำว่า ไทย ย่อมแคบกว่า สยาม และแน่นอนย่อมต้องมีอุดมการณ์ ประชาธิปไตย จุดกำเนิดที่ต้องการในทุกยุคทุกสมัยถ้าเรา ศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียด แล้วจะพบว่าคือ ความต้องการของผู้ปกครองประเทศที่หมายจะสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ทั้ง ผู้ประพันธ์ทำนอง และ ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง จะเข้าใจ ลึกซึ้ง ถึง วิญญาณ หรือเพียงแต่ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย นี่เป็นสิ่งที่ “เซี่ยงเส้าหลง” อ่านประวัติศาสตร์แล้ว มีข้อควรหารือ พอสมควร
∙∙ แต่ที่แน่ ๆ เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ ไม่ใช่ คนแรก, คนเดียว ที่ก้าวไปเสนอแนะ เปลี่ยน-ปรับเพลงชาติไทย เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
∙∙ ในยุคสมัยปัจจุบันเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เคยมี ข่าวลือ ทำนอง แหล่งข่าวกล่าวว่า... ออกมาทางสื่อบางฉบับเมื่อว่าพล.อ.สมทัต อัตตะนันท์ ดำริให้มีการศึกษาเพื่อ เปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงชาติไทย เพื่อเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ สถาบันศาสนา, สถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มากขึ้นกว่าเดิมที่ดูเหมือน เน้น อยู่ที่ สถาบันชาติ แม้จะมีการออกมา ปฏิเสธข่าว โดย โฆษกกองทัพบก แต่ดูเหมือนผู้คนทั่วไปจะเชื่อว่า คดีมีมูล เนื่องจากในระยะ 4 - 5 ปีมานี้มี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ อย่างน้อย 2 ท่านที่ออกมาแสดงความเป็นห่วงในเรื่อง เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นปัจจุบันผลงานประพันธ์ของ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) และ พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) คนแรกไม่ใช่ใครที่ไหน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2543 ขณะเป็น ผบ.ทบ. และดำรงตำแหน่ง ประธานคณะอนุกรรมการเอกลักษณ์ไทย คณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ท่านออกมาแสดงความเป็นห่วงในประเด็น วิดีโอประกอบเพลงชาติไทย ที่มี รูปแบบหลากหลาย และเป็น อิสระ ในลักษณะที่อาจจะกล่าวได้ว่า มากเกินไป จึงดำริจะให้มี วิดีโอประกอบเพลงชาติไทยเป็นมาตรฐานชุดเดียว และยังได้ดำริเลยไปถึงเรื่อง เรียบเรียงทำนองให้เป็นมาตรฐานหนึ่งเดียว จากนั้นอีก 2 ปีถัดมาในช่วง เดือนธันวาคม 2545 คราวนี้ พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ในตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ปัจจุบันได้ดิบได้ดีเป็นถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำริจะให้มีสิ่งที่เรียกว่า ปัดฝุ่นเพลงชาติไทย โดยระดม นักร้องยอดนิยมจากทุกค่ายเทปเพลง โดยเฉพาะที่เป็น ขวัญใจวัยรุ่น มาร่วม ร้องเพลงชาติไทย ข่าวนี้ฮือฮาตรงที่ท่านให้สัมภาษณ์ว่าเป็นการดำเนินตาม แนวคิดสร้างสามัคคีขึ้นในชาติ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้รับการตอบรับแล้วจากค่าย แกรมมี่ ของ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม แต่ในที่สุดก็ เงียบไป เพราะ ไม่มีผู้ขานรับเท่าที่ควร และนายกรัฐมนตรีคนที่ถูกอ้งถึงก็ออกมา ปฏิเสธ ว่า ไม่ใช่คำสั่งจากรัฐบาล ยังคงเป็นเพียง เรื่องของทหาร เท่านั้น
∙∙ อันว่า เพลงชาติไทย เวอร์ชั่นที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ประกาศใช้ในยุค จอมพลป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์ทำนองแก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ในนามของ กองทัพบก ชนะการประกวดของ กรมโฆษณาการ ได้รับรางวัลมา 1,000 บาท สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม มาเป็น ไทย ในปีเดียวกันนั้น
∙∙ ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา
∙∙ ต่อมา รัชกาลที่ 5 ทรงดำริว่าควรจะใช้ ทำนองเพลงไทย คณะครูดนตรีไทยจึงเลือก เพลงทรงพระสุบิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ 2 นำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นสากลขึ้นโดย เฮวุดเซน ถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 2 ใช้บรรเลงระหว่าง ปี 2414 – 2431 ไม่นานนัก
∙∙ ส่วน เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดยนักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ, เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง
∙∙ มาถึง เพลงชาติลำดับที่ 4 หลังการปฏิวัติของ คณะราษฎร เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้าง เพลงชาติ ขึ้นมา ใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม เพลงมหาชัย ไปพลางก่อน เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่ถึง 1 เดือน ก็เปลี่ยนแปลงไป
∙∙ ต่อมาก็เป็น เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 ก็มีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ เนื้อร้อง โดยประพันธ์เพิ่มเติมจากของเดิมที่เห็นกันว่า สั้นไป ให้ ยาวขึ้น โดย ฉันท์ ขำวิไล จึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 6 ใช้ระหว่าง ปี 2477 – 2482 และถือเป็น เพลงชาติอย่างเป็นทางการเพลงแรก ก่อนจะมาเปลี่ยนแปลงเป็น เพลงชาติลำดับที่ 7 ที่ใช้มาจนถึง ปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนชื่อประเทศ ดังที่เคยกล่าวไว้
∙∙ มีประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจในช่วง ปี 2477 ขณะนั้นมีเพลงที่เสนอขึ้นมาเป็น เพลงชาติไทย เช่นกันอีกเพลงหนึ่งที่อาจจะเรียกว่า เพลงชาติลำดับที่ 6/1 ใช้ ทำนองเพลงไทย ประพันธ์ทำนองโดย จางวางทั่ว พาทยโกศล โดยดัดแปลงมาจากเพลงไทยเดิม เพลงตระนิมิตร ช่วงนั้นเรียกคู่ขนานกันว่า เพลงชาติแบบสากล, เพลงชาติแบบไทย แต่ในที่สุดคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาลงมติให้ใช้ เพลงชาติแบบสากล ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยงค์ (ปิติ วาทยะกร) ที่รับการขอร้องจาก นาวาตรีหลวงวินิจเทศกลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ตั้งแต่ ปี 2474 แต่มาคิดออกเมื่อ ปี 2475 นั่น
∙∙ จะเห็นได้ว่า เพลงชาติไทย เรานี้มีที่มาจาก แนวคิดตะวันตก หรืออาจพูดอีกอย่างว่า แนวคิดสากล ส่วน อุดมการณ์ของเพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบันก็คือ ชาติ ในยุคก่อกำเนิดของ รัฐชาติสมัยใหม่ ในมุมมองของ ทหาร และเป็นเพลงที่จงใจแยกออกมาจาก สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีอยู่
∙∙ เนื้อร้องของเพลงชาติไทยที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ ปี 2482 แยกไม่ออกจากอุดมการณ์ ชาตินิยม หรืออาจพูดได้ว่า เชื้อชาตินิยม เพราะคำว่า ไทย ย่อมแคบกว่า สยาม และแน่นอนย่อมต้องมีอุดมการณ์ ประชาธิปไตย จุดกำเนิดที่ต้องการในทุกยุคทุกสมัยถ้าเรา ศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียด แล้วจะพบว่าคือ ความต้องการของผู้ปกครองประเทศที่หมายจะสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ทั้ง ผู้ประพันธ์ทำนอง และ ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง จะเข้าใจ ลึกซึ้ง ถึง วิญญาณ หรือเพียงแต่ ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย นี่เป็นสิ่งที่ “เซี่ยงเส้าหลง” อ่านประวัติศาสตร์แล้ว มีข้อควรหารือ พอสมควร
∙∙ แต่ที่แน่ ๆ เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ ไม่ใช่ คนแรก, คนเดียว ที่ก้าวไปเสนอแนะ เปลี่ยน-ปรับเพลงชาติไทย เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้