•• กลับมาเรื่อง พฤติกรรมลุแก่อำนาจ-ขยายอำนาจเกินขอบเขตของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ นาทีนี้ต้องถือว่า ตรงเป้า แล้วที่ วิโรจน์ นวลแข เดินเกมตอบโต้อย่างเป็นทางการครั้งแรกไม่ใช่ที่ ศาลปกครอง หรือที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา หากแต่เป็นที่ กระทรวงการคลัง โดยยื่นหนังสือร้องเรียนว่าได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องต่อ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะที่เป็น ผู้กำกับดูแลตามกฎหมาย ทั้ง 2 หน่วยงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย และ ธนาคารกรุงไทย เพราะเริ่มเกิดความเชื่อกันขึ้นมาในระดับสำคัญแล้วว่า การนิ่งเฉยของกระทรวงการคลัง – ไม่ต่อสู้โดยยืนหยัดความเห็นของคณะกรรมการ ไม่ใช่เพราะเพียง เหตุผลทางการเมือง (ที่ไม่ต้องการ ความขัดแย้งโดยเปิดเผยกับผู้ที่มีภาพลักษณ์ดีในสายตาของกระแส) แต่เพราะมี วาระซ่อนเร้น อยู่สองสามประการ วาระซ่อนเร้นที่ 1 เริ่มสงสัยกันมากว่าใช่หรือไม่ที่แม้จะ ทำงานดี, สนองนโยบายรัฐบาล แต่การตัดสินใจตามนโยบายรัฐบาล ปล่อยกู้ก้อนใหญ่ให้กลุ่มทุนโทรคมนาคมแห่งหนึ่งได้มีโอกาสต่ออายุทางธุรกิจออกไป กลับเป็นตัว หักกลบลบความดี ของ วิโรจน์ นวลแข ไปจน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนเต็มที่อีกต่อไป ส่วน วาระซ้อนเร้นที่ 2 เริ่มปะติดปะต่อกันจนเกือบจะหมดความสงสัยกันแล้วว่า ความสำเร็จในการตรวจสอบสินเชื่อ 14 โครงการ ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ เข้าเป้า นั้นมาจากยุทธการ ป้อมค่ายตีแตกจากภายใน และอันที่จริงอาจจะ ริเริ่ม, จุดประกาย มาจาก ภายใน ในช่วง เปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปะติดปะ ต่อให้ดีจะพบเห็น ร่องรอย ของเจ้าของสมญา จอมยุทธเหยียบหิมะไร้ร่องรอย ได้ไม่ยาก
•• ในช่วง ปี 2546 – 2547 ช่วงที่ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คู่แฝดของท่าน ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ เป็น ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย บรรยากาศโดยรวมหยาบ ๆ เป็น ความขัดแย้ง 2 คู่ คู่หนึ่งค่อนข้างเปิดเผยชัดเจนระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กับ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ แต่อีกคู่หนึ่งแม้ว่าจะไม่ค่อยเปิดเผยแต่คนวงในรู้ดีว่า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ประสานงานประสานความคิดได้ไม่ราบรื่นนักกับ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ สถานการณ์เริ่มมี กลุ่ม มี ค่าย ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
•• พอ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หวนกลับมานั่งเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จาก ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ เป็น ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ คนที่มีรากเหง้ามาจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย จากนั้นไม่นานก็เกิดยุทธการ ป้อมค่ายตีแตกจากภายใน ขึ้นมา
•• คงจะต้องย้อนเท้าความว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล คือ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนแรกและคนเดียวที่มาจากภาคธุรกิจเอกชน ก่อนรับตำแหน่งท่านจะลาออกจากกรรมการกลุ่มธุรกิจกี่กลุ่มและบรรพบุรุษของท่านจะรับใช้แผ่นดินโดยซื่อสัตย์มากี่ชั่วอายุคนไม่สำคัญเท่ากับว่าในทาง ทฤษฎี, หลักการ ได้เกิด การขัดกันซึ่งผลประโยชน์ – Conflict of Interest ขึ้นมาทันที กลุ่มทุนใหม่ ที่ มาแรง, มาเร็ว ชนิด ก้าวไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ของท่านไม่เพียงแต่จะเป็น คอม-ลิงค์ แต่ยังเป็น ธุรกิจการเงิน ในนาม บริษัททรีนิตี้วัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ TNITY ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่การก้าวขึ้นเป็น ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ การรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมการเงินของกลุ่มท่านดำเนินมาเป็นขั้นตอนไม่ต่ำกว่า 6 ปี นับแต่เกิดช่องว่างจาก วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ-ธุรกิจการเงิน 2540 และทุกอย่างทำท่าจะไปได้ สวยงาม เมื่อ TNITY สามารถก้าวเข้าไปเป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน ให้กับหลากหลายธุรกิจที่ต้องการ ฟื้นฟูกิจการ, เข้าตลาดหลักทรัพย์ และ ฯลฯ หนึ่งใน Big Deal ก็คือการที่ TNITY เข้าไปเป็นที่ปรึกษาการเงินให้กับ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด และเมื่อมี การจัดสรรหุ้น ก็ปรากฏว่า คอม-ลิงค์ ได้ถือหุ้น 23 ล้านหุ้น หรือ 1.54 % แต่กลุ่มทุน คอม-ลิงก์ + ทรีนิตี้ ก็มีอัน สะดุด เพราะมีอุปสรรค 2 ทาง ที่ในที่สุดไหลไปรวมกัน 1 ทาง ที่ ธนาคารกรุงไทย ยุค คู่แฝดเชาว์วิศิษฐ ในที่สุด
•• ทางหนึ่งคือ สว่าง มั่นคงเจริญ ก้าวเข้าไปซื้อ แนเชอรัล พาร์ค หรือ N-PARK มาเป็น เรือธง รุกไปข้างหน้าด้วยยุทธวิธี ซื้อหนี้เสียจากบสท.มาปรับปรุงปั้นแต่งใหม่ ก้าวสำคัญคือการเข้าไปซื้อหุ้น บริษัทฟินันซ่า จำกัด(มหาชน) หรือ FNS แล้วแปรสภาพให้เป็น แหล่งทุนของกลุ่ม มีเป้าหมายจะก้าวขึ้นไปเป็น ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ เช่นกัน
•• ที่ว่า อุปสรรค 2 ทางไหลรวมเป็น 1 ทาง ก็เพราะ สว่าง มั่นคงเจริญ นำ N-PARK มาใช้บริการ สินเชื่อ จาก ธนาคารกรุงไทย รวมแล้วประมาณ 5 โครงการ และเป็นที่รู้กันดีว่าสาวมั่นอย่างเธอ สนิทสนม กับ ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ รวมทั้ง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ และ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นอย่างดี
•• ด้วยสาเหตุหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ยอมรับนับถือในฝีมือการทำงาน ทำให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นั้นไม่เห็นด้วย กับทิศทางการทำงานของ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ชนิดสาธารณชนเห็น คมวาทะ ที่ สวนทาง อย่างเช่นในกรณีของ กองทุนวายุภักษ์ (ที่ให้บังเอิญมี ฟินันซ่า เป็น ที่ปรึกษาการเงิน) กรณี สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ควบรวมสถาบันการเงิน ว่าจะให้ ไอเอฟซีที – บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปควบรวมกับ ใคร ระหว่าง ธนาคารทหารไทย กับ ธนาคารไทยธนาคาร คงจะจำกันได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนนี้แสดงออกด้วยวาจาว่า ไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าจะ ไม่ขอยุ่งเกี่ยวอะไรกับกระทรวงการคลังอีกแล้ว แต่แล้วคนคำนวณหรือจะสู้นายกรัฐมนตรีลิขิตเมื่อเสร็จสิ้น ภารกิจควบรวมธนาคารทหารไทย ก็เกิดเหตุ ผลัดแผ่นดินในกระทรวงการคลัง และเริ่มต้น ผลัดแผ่นดินในธนาคารกรุงไทย ขึ้นมา ณ จุด ประธานคณะกรรมการบริหาร จาก คู่แฝดอดีตขุนคลัง ไปเป็น อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ จะเป็น เหตุบังเอิญ หรือ ความจงใจ เรื่องนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” คงไม่จำเป็นต้องกล่าวให้มากความ
•• และนี่แหละที่ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่า วิโรจน์ นวลแข ทำได้ เข้าเป้า คือ โยนเรื่องกลับไปที่กระทรวงการคลัง ให้ ปฏิบัติหน้าที่ โดย ไม่ละเว้น ขั้นต้นที่ต้องทำคือ รอผล จาก คณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยการวินิจฉัย ขอบเขตอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าที่อ้าง มาตรา 22 (8) พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาออก ประกาศ 27 กรกฎา นั้น ถูกต้องหรือไม่ อย่าได้พยายาม ถอนเรื่อง, ชะลอเรื่อง เป็นอันขาด
•• ในช่วง ปี 2546 – 2547 ช่วงที่ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คู่แฝดของท่าน ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ เป็น ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย บรรยากาศโดยรวมหยาบ ๆ เป็น ความขัดแย้ง 2 คู่ คู่หนึ่งค่อนข้างเปิดเผยชัดเจนระหว่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล กับ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ แต่อีกคู่หนึ่งแม้ว่าจะไม่ค่อยเปิดเผยแต่คนวงในรู้ดีว่า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ประสานงานประสานความคิดได้ไม่ราบรื่นนักกับ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ สถานการณ์เริ่มมี กลุ่ม มี ค่าย ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
•• พอ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หวนกลับมานั่งเก้าอี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงไทย จาก ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ เป็น ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ คนที่มีรากเหง้ามาจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย จากนั้นไม่นานก็เกิดยุทธการ ป้อมค่ายตีแตกจากภายใน ขึ้นมา
•• คงจะต้องย้อนเท้าความว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล คือ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนแรกและคนเดียวที่มาจากภาคธุรกิจเอกชน ก่อนรับตำแหน่งท่านจะลาออกจากกรรมการกลุ่มธุรกิจกี่กลุ่มและบรรพบุรุษของท่านจะรับใช้แผ่นดินโดยซื่อสัตย์มากี่ชั่วอายุคนไม่สำคัญเท่ากับว่าในทาง ทฤษฎี, หลักการ ได้เกิด การขัดกันซึ่งผลประโยชน์ – Conflict of Interest ขึ้นมาทันที กลุ่มทุนใหม่ ที่ มาแรง, มาเร็ว ชนิด ก้าวไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ของท่านไม่เพียงแต่จะเป็น คอม-ลิงค์ แต่ยังเป็น ธุรกิจการเงิน ในนาม บริษัททรีนิตี้วัฒนา จำกัด(มหาชน) หรือ TNITY ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่การก้าวขึ้นเป็น ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ การรุกเข้าสู่อุตสาหกรรมการเงินของกลุ่มท่านดำเนินมาเป็นขั้นตอนไม่ต่ำกว่า 6 ปี นับแต่เกิดช่องว่างจาก วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ-ธุรกิจการเงิน 2540 และทุกอย่างทำท่าจะไปได้ สวยงาม เมื่อ TNITY สามารถก้าวเข้าไปเป็น ที่ปรึกษาทางการเงิน ให้กับหลากหลายธุรกิจที่ต้องการ ฟื้นฟูกิจการ, เข้าตลาดหลักทรัพย์ และ ฯลฯ หนึ่งใน Big Deal ก็คือการที่ TNITY เข้าไปเป็นที่ปรึกษาการเงินให้กับ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด และเมื่อมี การจัดสรรหุ้น ก็ปรากฏว่า คอม-ลิงค์ ได้ถือหุ้น 23 ล้านหุ้น หรือ 1.54 % แต่กลุ่มทุน คอม-ลิงก์ + ทรีนิตี้ ก็มีอัน สะดุด เพราะมีอุปสรรค 2 ทาง ที่ในที่สุดไหลไปรวมกัน 1 ทาง ที่ ธนาคารกรุงไทย ยุค คู่แฝดเชาว์วิศิษฐ ในที่สุด
•• ทางหนึ่งคือ สว่าง มั่นคงเจริญ ก้าวเข้าไปซื้อ แนเชอรัล พาร์ค หรือ N-PARK มาเป็น เรือธง รุกไปข้างหน้าด้วยยุทธวิธี ซื้อหนี้เสียจากบสท.มาปรับปรุงปั้นแต่งใหม่ ก้าวสำคัญคือการเข้าไปซื้อหุ้น บริษัทฟินันซ่า จำกัด(มหาชน) หรือ FNS แล้วแปรสภาพให้เป็น แหล่งทุนของกลุ่ม มีเป้าหมายจะก้าวขึ้นไปเป็น ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ เช่นกัน
•• ที่ว่า อุปสรรค 2 ทางไหลรวมเป็น 1 ทาง ก็เพราะ สว่าง มั่นคงเจริญ นำ N-PARK มาใช้บริการ สินเชื่อ จาก ธนาคารกรุงไทย รวมแล้วประมาณ 5 โครงการ และเป็นที่รู้กันดีว่าสาวมั่นอย่างเธอ สนิทสนม กับ ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ รวมทั้ง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ และ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นอย่างดี
•• ด้วยสาเหตุหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ยอมรับนับถือในฝีมือการทำงาน ทำให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล นั้นไม่เห็นด้วย กับทิศทางการทำงานของ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ชนิดสาธารณชนเห็น คมวาทะ ที่ สวนทาง อย่างเช่นในกรณีของ กองทุนวายุภักษ์ (ที่ให้บังเอิญมี ฟินันซ่า เป็น ที่ปรึกษาการเงิน) กรณี สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ควบรวมสถาบันการเงิน ว่าจะให้ ไอเอฟซีที – บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไปควบรวมกับ ใคร ระหว่าง ธนาคารทหารไทย กับ ธนาคารไทยธนาคาร คงจะจำกันได้ว่าผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนนี้แสดงออกด้วยวาจาว่า ไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าจะ ไม่ขอยุ่งเกี่ยวอะไรกับกระทรวงการคลังอีกแล้ว แต่แล้วคนคำนวณหรือจะสู้นายกรัฐมนตรีลิขิตเมื่อเสร็จสิ้น ภารกิจควบรวมธนาคารทหารไทย ก็เกิดเหตุ ผลัดแผ่นดินในกระทรวงการคลัง และเริ่มต้น ผลัดแผ่นดินในธนาคารกรุงไทย ขึ้นมา ณ จุด ประธานคณะกรรมการบริหาร จาก คู่แฝดอดีตขุนคลัง ไปเป็น อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ จะเป็น เหตุบังเอิญ หรือ ความจงใจ เรื่องนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” คงไม่จำเป็นต้องกล่าวให้มากความ
•• และนี่แหละที่ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่า วิโรจน์ นวลแข ทำได้ เข้าเป้า คือ โยนเรื่องกลับไปที่กระทรวงการคลัง ให้ ปฏิบัติหน้าที่ โดย ไม่ละเว้น ขั้นต้นที่ต้องทำคือ รอผล จาก คณะกรรมการกฤษฎีกา ว่าด้วยการวินิจฉัย ขอบเขตอำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าที่อ้าง มาตรา 22 (8) พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาออก ประกาศ 27 กรกฎา นั้น ถูกต้องหรือไม่ อย่าได้พยายาม ถอนเรื่อง, ชะลอเรื่อง เป็นอันขาด