รายการ "ฅนในข่าว" ซึ่งออกอากาศ ทางช่อง 11 news1 ตั้งแต่เวลา 21.05-22.00 น. ประจำวัน อังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2547 ได้สนทนาในหัวข้อ "นับถอยหลังยุบทิ้งกำนัน - ผู้ใหญ่บ้านเมืองกรุง" โดยมีอัญชลีพร กุสุมภ์ ดำเนินรายการ และ แขกรับเชิญ ประกอบด้วย ร.ศ.วุฒิสาร ตันไชย ผอ.วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า,คุณเจริญณรัฐ ศิริรัตนสุวรรณ กรรมการบริหารอบรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย,คุณสุธา นิติภานนท์ ส.ก.เขตภาษีเจริญ พรรคประชาธิปัตย์,คุณทวีศักดิ์ พิมพ์สัมฤทธิ์ รองประธานชมรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก.ท.ม.

พิธีกร- สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนในข่าวค่ะ ถ้าท่านผู้ชมอยู่ที่ต่างจังหวัดนะคะก็คงจะสงสัยว่าจะปลดระวางหมดวาระของบรรดากำนัน-ผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครนี่มีกำนันผู้ใหญ่บ้านด้วยหรือ แล้วถึงวาระที่จะต้องหมดกันแล้วสำหรับกำนั้นผู้ใหญ่บ้านสักที เพราะว่ากรุงเทพมหานครเจริญหมดแล้วรึเปล่า วันนี้เป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพราะว่าท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคุณอภิรักษ์ โกษะโยธินที่พึ่งเข้ามารับหน้าที่ได้ไม่ถึง 1 เดือนเต็มๆนี่ล่ะค่ะก็เรียกได้ว่าทำงานชิ้นสำคัญอีกชิ้นนึงแล้วนะคะก็คือได้ตัดสินใจจะต่ออายุให้กับผู้ที่ดำรงตำแหน่งกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครออกไปอีก 1 ปี ถ้าหากว่าท่านผู้ว่าฯอภิรักษ์ไม่ตัดสินใจออกประกาศในวันนี้เนี่ยวันที่ 30 กันยายน ที่จะถึงนี้จะถือว่าเป็นวันสุดท้ายของการมีกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 20 กว่าเขตในเขตรอบนอก แต่ว่าคนที่เป็นกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านอยู่ก็คงจะรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็น แต่ในฝ่ายของคนที่ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องของการปกครองไทยอย่างสถาบันพระปกเกล้าเนี่ยแหละค่ะก็มองว่าเมืองเปลี่ยนแปลงไปแล้วน่าจะถึงเวลาที่ปลดออกไปเรื่อยตามวาระตามเวลานะคะ
วันนี้เราจะคุยกันทั้งในแง่ข้อเท็จจริงและในแง่มุมมองที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกับการเมืองด้วยรึเปล่า ขอแนะนำแขกร่วมรายการนะคะท่านแรกค่ะร.ศ.วุฒิสาร ตันไชย ผอ.วิทยาลัยพัฒนา การปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้าค่ะ ท่านต่อมาค่ะคุณสุธา นิติภานนท์ ส.ก.เขตภาษีเจริญ พรรคประชาธิปัตย์ อีกท่านนึงนะคะคุณเจริญณรัฐ ศิริรัตนสุวรรณ กรรมการบริหารอบรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทยและคุณทวีศักดิ์ พิมพ์สัมฤทธิ์ รองประธานชมรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก.ท.ม. สวัสดีค่ะ ทุกท่านนะคะ จริงๆ แล้วทางสถาบันพระปกเกล้าเนี่ยเรียกว่าทำการวิจัยหรือว่าการศึกษากันแน่ค่ะที่สรุปมาบอกว่าสุดท้ายเนี่ยไม่มีกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านในกรุงเทพมหานครเนี่ยค่ะ
ร.ศ.วุฒิสาร- จริงสถาบันเนี่ยไม่ได้ทำการวิจัยของท้องถิ่นเนี่ยที่ศึกษากันมาก็ได้ศึกษาประเด็นเรื่องของบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นการศึกษาโดยนักวิชาการจำนวนมากนะครับ
พิธีกร- โดยเป็นทุนของสถาบัน
ร.ศ.วุฒิสาร- เป็นทุนหลายแห่งครับ ซึ่งมีความเห็นค่อนข้างจะไปทิศทางเดียวกันว่าเมื่อลักษณะของงานต่างๆ ในการบริการประชาชนเนี่ยได้ถูกโอนถ่ายไปที่องค์กรท้องถิ่นแล้วกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ก็หมดภาระหน้าที่
พิธีกร- อันนี้พูดถึงต่างจังหวัด
ร.ศ.วุฒิสาร- ครับ ต่างจังหวัดและในขณะเดียวกันก็เพิ่งจะมีการแก้กฎหมายเมื่อปลายปีที่แล้วที่ให้คงกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ไว้ในเขตเทศบาล ซึ่งครั้งแรกเลยมีการเสนอว่าให้คงกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตเทศบาลทุกรูปแบบ
พิธีกร- ซึ่งก็หมายถึงกรุงเทพฯด้วย
ร.ศ.วุฒิสาร- ไม่รวมกรุงเทพฯ เนื่องจากว่ากรุงเทพฯ มีกฎหมายของตัวเอง ทีนี้ตอนนั้นเนี่ยก็เลยศึกษากันและก็เจรจาคุยกันว่าถ้าเทศบาลซึ่งยังมีสภาพเป็นชนบทก็อาจจะยังมีความจำเป็นของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เพราะฉะนั้นเนี่ยต้องเข้าใจว่าบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านเนี่ยเป็นไปตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ 2457 ซึ่งเกิดขึ้นในยุคที่ยังไม่มีองค์กรใดหรือหน่วยงานใดของรัฐอยู่ในนั้น
พิธีกร- คือเหมาะกับในยุคนั้นไม่มี อบต. ไม่มี สข.
ร.ศ.วุฒิสาร- ใช่ครับ ทีนี้เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไปเราก็เลยเสนอว่าถ้าจะยังอยู่ก็แก้ๆ แล้วก็อยู่ในเขตเทศบาลตำบล 980 แห่งคือเขตที่เป็นสุขาภิบาลยกฐานะขึ้นมา ทีนี้คณะที่ศึกษาจริงๆ เป็นการศึกษาร่วม ซึ่งเป็นมติ ค.ร.ม.นะครับตั้งคณะกรรมการมาดูเรื่องนี้ เราก็ดูกันว่าถ้าอย่างนั้นเนี่ยสิ่งที่จะต้องทำถ้ายังเห็นว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ยังมีความจำเป็นในเขตที่เป็นชนบทหรือเขตที่การปกครองท้องถิ่นยังดูแลไม่ถึง เราก็คิดว่ามีข้อเสนอที่เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาอยู่ 2 - 3 ประเด็น
ประเด็นแรกก็คือ การแก้บทบาทหน้าที่ของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านใหม่ใน พ.ร.บ. 2457 เนื่องจากว่าจะเห็นว่าอำนาจหน้าที่ของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน บางเรื่องเนี่ยยังมีความทับซ้อนกับองค์กรท้องถิ่น เช่น การจัดการเรื่องของพาหนะ เรื่องของการทำทะเบียน การดูแลลำน้ำ ซึ่งเขียนเอาไว้ตั้งแต่ 2457 ทีนี้แต่ถ้าเราบอกว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน จะอยู่เพื่อทำหน้าที่ด้านความมั่นคงในขณะที่พวก อบต.อะไรต่างๆ เข้าไม่ถึง ข้อที่ 2 ก็คือเราเสนอว่าตำแหน่งบางตำแหน่งจะต้องลดลงหรือต้องยกเลิก ยกตัวอย่างเช่น แพทย์ประจำตำบล ทีนี้ปัจจุบันนี้เรามีอนามัยครบทุกตำบล ซึ่งตรงนี้ผมเข้าใจว่าก็สอดคล้องกับแผนของกรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทย
พิธีกร- ทั้งหมดนี่รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยมั้ยคะ
ร.ศ.วุฒิสาร- ตอนที่ศึกษาครั้งนั้นไม่ได้รวมครับ เพราะกรุงเทพมหานครไม่มีประเด็นนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครหมดอัตโนมัติ
พิธีกร- หมดโดยอัตโนมัติเนื่องมาจาก
ร.ศ.วุฒิสาร- เนื่องมาจากประกาศของกรุงเทพมหานครเอง
พิธีกร- คุณเจริญณรัฐคะ ตอนนั้นที่ท่านผู้ว่าฯ พิจิตตสรุปออกมาว่าออกประกาศว่าจะให้หมด ตอนนั้นเหตุผลมาจากเรื่องอะไรคะ
เจริญณรัฐ- คือเมื่อปี 43 ท่านประกาศขณะนั้นความจำเป็นดูว่าน้อยนะคือ 20 กว่าเขตของเรายังมีความจำเป็น
พิธีกร- ตอนนี้เหลืออยู่ทั้งหมด
เจริญณรัฐ- 22 เขต 322 ท่าน คือขณะนั้นประกาศก็ผิดนะจริงๆ แล้วกฤษฎีกาเค้าตีความแล้วนะว่าท่านผู้ว่าฯ พิจิตตในขณะนั้นที่ประกาศว่าเลิกภายใน 30 กันยายน 2547 นะยังต้องมีเลือกตั้งซ่อมมาโดยตลอด แต่กรุงเทพมหานครเข้าใจผิด คือจริงๆ ต้องมีครบจำนวนเท่าเดิมแล้วก็ไปหมด 30 กันยายน 2547
พิธีกร- เอาล่ะค่ะ เดี๋ยวพักกันสักครู่ ก่อนค่ะ

พิธีกร- คุณเจริญณรัฐ เป็นกำนันมาตั้งแต่ 19 เหรอคะ
เจริญณรัฐ- ปี 19 เป็นผู้ใหญ่มา 18 ปีแล้วก็เป็นกำนัน 10 ปี
พิธีกร- เพราะฉะนั้น ก็ใจหายเหมือนกันนะถ้าเกิดว่าปีหน้าจะไม่มีจริงๆ
เจริญณรัฐ- ครับ จริงๆ แล้วเนี่ยเรายังมีหน้าที่ก็อย่างที่เรียนให้ทราบว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ของเราบทบาทหน้าที่ต่างกัน ณ วันนี้อาจจะเปลี่ยนบทบาทไปส่วนนึงคือทะเบียนราษฎร์อะไรเนี่ยก็เป็นของทางเขตแล้วไง แต่ยังมีอีกหน้าที่นึง
พิธีกร- ทำอะไรบ้างคะ
เจริญณรัฐ- อย่างไข้หวัดนกปัจจุบันใครไปสำรวจว่าพื้นที่นั้นๆ มีการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงได้อะไรมั้ยมีมั้ยครับ ไม่มีท่าน ส.ก.ก็คงไม่ได้ไป
พิธีกร- ทำไมกำนันต้องไปด้วยในเมื่อเค้าก็มีปศุสัตว์เค้าก็ไปตรวจสอบได้เหมือนกัน
เจริญณรัฐ- คือมันเป็นหน้าที่ คือเขตชั้นนอกก็อาจจะแตกต่างกันบ้าง
พิธีกร- มีอะไรอีกที่ชาวบ้านยังต้องไปหากำนันอยู่
ทวีศักดิ์- กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน นั้นเนี่ยเป็นช่องว่างระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานราชการ เพราะว่าชาวบ้านเนี่ยมีปัญหาอะไรจะถามกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ก่อนริมคลองหนองบึงเนี่ยไม่มีใครรู้เท่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ในที่สาธารณะประธานชุมชนไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะไม่ใช่คนท้องที่
พิธีกร- ประธานชุมชนไม่ใช่คนท้องที่
ทวีศักดิ์- ไม่ใช่คนท้องที่ๆ เดิม แต่กำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน นั้นจะเป็นได้ต้องมาอยู่ในท้องที่ 2 ปีหรือว่าคนท้องที่จริงๆ เค้าถึงจะเลือก
พิธีกร- ประธานชุมชน แล้วทำไมคนท้องที่ไปเลือกคนที่ไม่ใช่คนท้องที่เป็นประธานชุมชน
ทวีศักดิ์- อันนี้เป็นเรื่องของอีกเรื่องนึงนะผมไม่พูดตรงนี้ เรามีหน้าที่อะไรบ้างก็คือกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านมีตั้งแต่การตรวจในเรื่องของยาเสพย์ติด
พิธีกร- ตำรวจเค้าก็มี
ทวีศักดิ์- ตำรวจก็เป็นคนนอกครับความใกล้ชิดกับประชาชนเนี่ยถามความรู้สึกจริงๆ กำนัน- ผู้ใหญ่บ้านใกล้ชิดกว่า มีหน่วยงานเดียวครับที่เดินไปหาประชาชนคือกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานอื่นคือประชาชนต้องเดินไปหา
พิธีกร- เรื่องยาเสพย์ติด เรื่องความปลอดภัย
ทวีศักดิ์- เรื่องสาธารณะสุขต้องแจ้งกับลูกบ้าน
พิธีกร- เช่น
ทวีศักดิ์- เช่น ยุงลายมีอะไรต่างๆ ชาวบ้านก็ต้องมาปรึกษากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน
พิธีกร- มีมั้ยคะถนนยังไม่ถึงต้องไปคลองอย่างเดียว
ทวีศักดิ์- มีครับ
เจริญณรัฐ- ผมขอเพิ่มเติมอย่างกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ทุกวันนี้ในเขตเทศบาลผม 123 ตารางกิโลเมตร ซึ่งผมได้เคยชี้แจงหลายส่วนแล้วนะครับว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เราเนี่ยส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรทั้งนั้น อย่างลาดกะบังผม 123 ตารางกิโลเมตร 20 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองครับ ส่วนอื่นก็เป็นพื้นที่ทำนาเป็นส่วนใหญ่ถึง 80% 90% คือหลายท่านอยู่ในเมืองไม่เคยไปสัมผัสและก็ไม่เคยไปเห็นข้อเท็จจริงๆๆ ด้านงบประมาณผมประกาศไปแล้วว่าผมไม่รับค่าตอบแทนก็ได้ เพราะพวกผมมีอาชีพครับ
พิธีกร- ถ้าจะบอกว่ากระทรวงมหาดไทยไม่จ่ายให้กรุงเทพฯ จ่ายประเด็นนี้ใช่มั้ยคะที่บอกว่าไม่รับเงินเดือนก็ได้
เจริญณรัฐ- คืออย่างนี้นะ ผมคิดว่าผมก็คงประสานกับท่านอธิบดีกรมการปกครองได้ โดยท่านนายกสรศักดิ์ นายกสมาคมกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย ซึ่งผมเองเนี่ยไม่ลืมบุญคุณ เพราะท่านสมัครท่านฝากไว้แล้วกับกรุงเทพมหานครว่าขณะนี้เหลือแค่ 322 ท่านเนี่ยงบแค่ 11 ล้าน แต่ผมว่าเดือนต่อไปก็คงลดไปเรื่อยๆ นะ เพราะอีก 40 ท่านกำลังจะหมดวาระ 5 ปี
พิธีกร- ฟังดูแล้วเหมือนกับว่า ส.ก.จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่หน้าที่อะไรที่จะต้องไปใกล้ชิดกับชาวบ้านมากมายไม่ใช่เหรอคะ
สุธา- คงไม่ได้ไปแทนนะคนละเรื่องคนละบทบาทกัน คือกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เค้าก็มาตาม พ.ร.บ.กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน โดยเฉพาะ ส.ก. ส.ข.ก็มาจาก พ.ร.บ. บริหารกรุงเทพมหานครเกิดกันมาคนละรูปแบบ แต่ถามว่าวันนี้ควรจะมีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หรือไม่เนี่ย ผมว่าคำนี้มันพูดแล้วมันไปถูกใจและไม่ถูกใจคนบางคนและหลายคนได้
พิธีกร- พูดตรงๆ
สุธา- พูดตรงๆ คือต้องเรียนกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ที่อยู่ ณ ที่นี้ก่อนว่าคืออะไรก็แล้วแต่เนี่ยเราพูดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์นะ ถ้าจะไม่ถูกใจก็ต้องขออภัยไว้เบื้องต้นนะครับ
ทวีศักดิ์- ครับ
สุธา- ผมมองอย่างนี้ครับว่าสังเกตมั้ยว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ที่บอกว่าต่ออายุ 1 ปีเนี่ย จริงๆ อำนาจในการต่อมี 1 ปีจริงรึเปล่าต่อได้มากกว่านี้นะครับแปลว่าท่านสะดุดอะไรรึเปล่าคิดอย่างนี้ก่อนนะครับนี่คือข้อสังเกตและอีกอย่างนึงท่านสมัครเนี่ยทำไมมาเซ็นให้ความเห็นชอบในการต่ออายุกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ปลายวาระของที่ท่านอยู่นี่ก็คือข้อสังเกตของผม
พิธีกร- วันที่ 21 สิงหาคม ซึ่งวันเลือกตั้งคือ 29
สุธา- ถูกต้องครับ คือเราจะเห็นว่าอะไรหลายๆ อย่างมันเป็นเรื่องที่คนทำไม่ต้องมารับผิดชอบหรือไม่ต้องมาชี้แจงคือมันลำบากนะสำหรับคนมาใหม่ อยากจะพูดเรื่องความจำเป็นสักนิดนึงการจะมีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน อยู่ แต่ควรอยู่ในพื้นที่ๆ จำเป็นนะ อันนี้เนี่ยเหลือ 22 เขตปกครองมีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน อยู่ 322 ท่านปีแรกที่ กทม.จะดูแลรับผิดชอบเนี่ยใช้งบประมาณๆ 10 กว่าล้าน
พิธีกร- เงินเดือนไม่มากใช่มั้ยคะ
สุธา- ไม่เลยครับพวกนี้
เจริญณรัฐ- ขณะนี้ก็ประมาณ 3 - 4 พัน
สุธา- พูดถึงเรื่องเดินเดือนน้อยมาก ผมจะมองอย่างนี้นะครับการต่ออายุกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งหมดเลยเนี่ย 22 เขต ผมกลับเห็นด้วยนะ แต่ถ้าจะต่ออายุเฉพาะในเขตที่จำเป็นเนี่ยผมยิ่งเห็นด้วยมากๆ เลย
พิธีกร- มีบางเขตที่ควรจะไม่ต่อแล้วเหรอคะ
สุธา- อย่างบางกะปิน่าต่อมั้ย
พิธีกร- บางกะปิยังมีอยู่
สุธา- ยังมีอยู่
พิธีกร- บางกะปิเป็นหมู่บ้านจัดสรรหมดแล้ว
สุธา- โห เจริญมาก
พิธีกร- บึงกุ่มยังมีอยู่มั้ยคะ
เจริญณรัฐ- มีอยู่แต่น้อยมากแล้ว
ร.ศ.วุฒิสาร- ลาดพร้าว
พิธีกร- ลาดพร้าวก็มี
สุธา- คือผมจะยกตัวอย่างที่เหมาะสมอันไหนที่ไม่เหมาะสมอันไหนและผมเชื่อว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก็ต้องยอมรับตรงนี้ต้องยอมรับความจริง
พิธีกร- ฟังดูมันเป็นการเมืองเหมือนกันนะคะ
สุธา- ก็เชิงการเมืองต้องยอมรับว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน มันมีส่วนชี้นำการเมืองเหมือนกันใครจะบอกว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน เป็นกลางผมไม่เชื่อ
พิธีกร- คุณสุธา มาจากกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน
สุธา- ผมไม่ได้มาจากกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน แต่ว่าพี่น้องเป็นกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หลายคน
พิธีกร- ก็ถือเป็นฐานเสียง
สุธา- ผมไม่ถืออย่างนั้น ผมถือว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หลีกหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง แล้วถ้านักการเมืองสักคนจะลงมาเล่นการเมืองต้องมองกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก่อนนะจะเข้าไปหากำนันที่ไหนผู้ใหญ่บ้านที่ไหน ถ้ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเนี่ยเค้าเบาใจไปเยอะนะ คือที่เหลือเนี่ยเรียกว่าง่ายแล้วถ้าเป็นต่างจังหวัดเนี่ย ผมถือว่าได้เป็นไปครึ่งนึงเลยนะนี่คือข้อเปรียบเทียบ
พิธีกร- จริงๆ เนี่ยก็คือยุบได้ในบางเขตบางพื้นที่
สุธา- ผมคิดว่าอย่างนั้น
พิธีกร- จริงๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ปีนึง
สุธา- ผมคิดว่าผู้ว่าฯ เองเนี่ยก็ยังสับสนในเรื่องที่ว่าควรทำยังไงเหมือนกัน วันนี้ผมเชื่อว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
พิธีกร- ซื้อเวลาไปก่อน
สุธา- ถามว่าเสียเวลามั้ยมันไม่เสีย แต่ว่าการกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ต้องเลือกใช้เอาว่าจะใช้กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ยังไงนะก็ต้องไปดูงานด้านการปกครอง
ทวีศักดิ์- เพราะว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน เนี่ยเป็นของท้องที่ต้องแยกให้ชัดเจนนะครับท้องที่กับท้องถิ่น

พิธีกร- มาทางท่านผอ.บ้างฟังมาทั้งหมด
ร.ศ.วุฒิสาร- ผมคิดอย่างนี้นะว่าสิ่งที่ควรจะเป็นถ้าสมมุติว่ากรุงเทพมหานครจะใช้หลักเกณฑ์อย่างที่เราพูดว่าเทศบาลตำบลมาพิจารณากันเนี่ย
พิธีกร- สร้างดัชนีวัดความเจริญ
ร.ศ.วุฒิสาร- ดัชนีวัดเลยว่าอะไร ส่วนประเด็นปัญหาที่ผมมองเห็นเนี่ย 1.ประเด็นเรื่องงบประมาณไม่น่าจะเป็นประเด็น 10 กว่าล้าน ผมคิดว่าถ้าเค้าทำหน้าที่ก็ต้องจ่ายตังค์ เพราะฉะนั้น เนี่ยขณะนี้เนี่ยเรื่องงบประมาณผมคิดว่าถ้าเรามาเสนอประเด็นว่ากรรมการชุมชนแพงกว่าอีก ผมคิดว่ามันจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจและนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในชุมชน แล้วก็เป็นเรื่องที่จะทำให้แตกแยกกันเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์เลย แต่สิ่งที่ผมคิดว่ายังมีความจำเป็นก็คือว่าถ้า 1 ปีจะซื้อเวลาหรืออะไรก็แล้วแต่เนี่ยควรจะสร้างดัชนีวัดกันว่าอะไรจำเป็นในอำนาจหน้าที่ ประการที่ 2 ผมคิดว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. ลักษณะของปกครองท้องที่ 2457 ในเรื่องอำนาจปกครองกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ให้ชัดเจน เพราะอันนั้นจะเป็นคุโณปการต่อความซ้ำซ้อนในต่างจังหวัดด้วยไม่ใช่เฉพาะ กทม.
พิธีกร- เช่นอะไรคะที่คิดว่าควรจะแก้
ร.ศ.วุฒิสาร- ผมเข้าใจว่าตอนที่เราศึกษาเราเสนอลดไปประมาณ 5 เรื่อง เช่น เรื่องของการดูแลล้ำน้ำ การทำทะเบียนสัตว์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เนี่ยในการกระจายอำนาจได้มอบอำนาจเหล่านี้ไปให้องค์กรท้องถิ่นแล้ว

พิธีกร- อบต.
ร.ศ.วุฒิสาร- อบต. ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ในกรุงเทพฯ เนี่ย ผมเข้าใจว่ากรุเงทพมหานครและก็หน่วยงานของกรุงเทพมหานครเองเนี่ยเวลาบริหารงานเขตมองมิติว่าเป็นเมืองเหมือนกันหมด อันนี้เป็นปัญหา เพราะฉะนั้นเนี่ยจำเป็นที่กรุงเทพมหานครจะต้องมาวางระบบการบริหารงานของเขตที่มีสภาพเหมือนชนบทที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนเขตบางรักหรือเขตสีลม
พิธีกร- เดี๋ยวเราพักกันสักครู่ก่อนค่ะ
พิธีกร- ดิฉันกำลังคิดว่าเรื่องอำนาจหน้าที่เนี่ยให้คนอื่นทำได้ แต่สิ่งที่เรารู้สึกจริงๆ อย่างอยู่มา 30 ปีเนี่ยมันอดที่จะรู้สึกไม่ได้ว่าเป็นหัวโขนที่เราสวมมานานด้วยรึเปล่า
เจริญณรัฐ- คือเป็นจิตสำนึกซึ่งเรากับประชาชนเนี่ยผูกพันกันมาโดยตลอด แล้วศักดิ์ศรีของกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หลายท่านคงทราบดีเราทำงานเพื่อประชานชน แล้วส่วนค่าตอบแทนไม่ต้องพูดถึงหรอกครับ ผมเป็นปี 19 เนี่ย 275 บาท มาเมื่อปี 35 ก็ 2,000 บาท แต่รัฐบาลชุดนี้ท่านเห็นว่าทำงานเหนื่อยท่านก็ให้ค่าตอบแทนเพิ่มอีกเป็น 4,000 บาท เราอยู่ได้นะ
พิธีกร- ตรงนี้ใช่มั้ยคะที่ทำให้ปัญหามันแก้ยาก เพราะเรารู้สึกว่ามันมีศักดิ์ศรี
เจริญณรัฐ- ครับ

พิธีกร- คือเหมือนกับไม่เอาเงินเดือนยังได้เลย แต่เราชอบตำแหน่งนี้
เจริญณรัฐ- ใช่ แล้วเราช่วยชาวบ้านได้
พิธีกร- และถ้าหากว่ากทม.ปรับได้แล้วยอมได้มั้ย ถ้าในเมื่อเขตเค้าก็ไปทำหน้าที่ดีแทนเราหมดแล้ว
เจริญณรัฐ- ผมว่าคงจะเป็นอีก 10 ข้างหน้า
สุธา- ทั้งหมดเนี่ยต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจ
พิธีกร- ความเข้าใจของใครคะ
สุธา- ของกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน และก็ทุกคนที่เกี่ยวข้องเปิดสภาสมัยที่จะถึงเนี่ย ผมจะเสนอกับทีมผู้ว่าฯ ให้จัดการอบรมหลักสูตรๆ หนึ่งในการพัฒนากรุงเทพมหานคร เพราะกำนันที่เรามีปัญหาขณะนี้คือเรื่องกรุงเทพมหานคร ผมเชื่อว่าได้รับความเห็นชอบ
พิธีกร- เท่าที่ฟังๆ ดูแล้วเนี่ยเป็นเรื่องเกรียติและศักดิ์ศรีและสถาบันเคยศึกษาเรื่องนี้มั้ยคะท่านผอ.คะ
ร.ศ.วุฒิสาร- จริงๆ แล้วเนี่ย เรื่องศักดิ์ศรีเป็นเรื่องที่พูดกันยาก เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าในอนาคตแนวทางกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าจะจำเป็นต้องหมดต้องเป็นระบบค่อยๆ หมด คือถ้าถามว่าทุบเลยได้มั้ยก็ทุบได้ แต่ว่าก็เกิดความขัดแย้งเกิดความไม่เข้าใจและวิธีที่เรายังใช้ก็คือ ถ้าเกษียณแล้วไม่ต้องเริ่มใหม่ อันนี้ผมพูดภาพรวมเลยนะก็คือว่าแก้กฎหมายซะ อันที่ 2 ก็คือว่าตำแหน่งไหนไม่จำเป็นที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนก็ทอนลง ประเด็นไม่ใช่เรื่องเงินนะ
พิธีกร- แล้วต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีด้วยรึเปล่า
ร.ศ.วุฒิสาร- มันเป็นปัจจัยหนึ่ง นั่นหมายความว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงก็ให้คำนึงถึงเรื่องศักดิ์ศรีนะ ฉะนั้นจะเปลี่ยนอย่างไรที่จะไม่กระทบจิตใจคน อันนี้เนี่ยคือวิธีแก้ไข
พิธีกร- ค่ะ ก็คงจะได้ข้อสรุปจากท่านผอ.กันไปบ้างแล้ว แต่ยังไงก็คงจะต้องติดตามว่าจะเป็นยังไงกันต่อไปนะคะ วันนี้ต้องขอบพระคุณแขกรับเชิญของเราทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างสูงค่ะ ขอบพระคุณค่ะ วันนี้เวลาหมดลงแล้ว ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ
พิธีกร- สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนในข่าวค่ะ ถ้าท่านผู้ชมอยู่ที่ต่างจังหวัดนะคะก็คงจะสงสัยว่าจะปลดระวางหมดวาระของบรรดากำนัน-ผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครนี่มีกำนันผู้ใหญ่บ้านด้วยหรือ แล้วถึงวาระที่จะต้องหมดกันแล้วสำหรับกำนั้นผู้ใหญ่บ้านสักที เพราะว่ากรุงเทพมหานครเจริญหมดแล้วรึเปล่า วันนี้เป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพราะว่าท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคุณอภิรักษ์ โกษะโยธินที่พึ่งเข้ามารับหน้าที่ได้ไม่ถึง 1 เดือนเต็มๆนี่ล่ะค่ะก็เรียกได้ว่าทำงานชิ้นสำคัญอีกชิ้นนึงแล้วนะคะก็คือได้ตัดสินใจจะต่ออายุให้กับผู้ที่ดำรงตำแหน่งกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานครออกไปอีก 1 ปี ถ้าหากว่าท่านผู้ว่าฯอภิรักษ์ไม่ตัดสินใจออกประกาศในวันนี้เนี่ยวันที่ 30 กันยายน ที่จะถึงนี้จะถือว่าเป็นวันสุดท้ายของการมีกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 20 กว่าเขตในเขตรอบนอก แต่ว่าคนที่เป็นกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านอยู่ก็คงจะรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็น แต่ในฝ่ายของคนที่ทำการศึกษาวิจัยในเรื่องของการปกครองไทยอย่างสถาบันพระปกเกล้าเนี่ยแหละค่ะก็มองว่าเมืองเปลี่ยนแปลงไปแล้วน่าจะถึงเวลาที่ปลดออกไปเรื่อยตามวาระตามเวลานะคะ
วันนี้เราจะคุยกันทั้งในแง่ข้อเท็จจริงและในแง่มุมมองที่อาจจะเกี่ยวเนื่องกับการเมืองด้วยรึเปล่า ขอแนะนำแขกร่วมรายการนะคะท่านแรกค่ะร.ศ.วุฒิสาร ตันไชย ผอ.วิทยาลัยพัฒนา การปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้าค่ะ ท่านต่อมาค่ะคุณสุธา นิติภานนท์ ส.ก.เขตภาษีเจริญ พรรคประชาธิปัตย์ อีกท่านนึงนะคะคุณเจริญณรัฐ ศิริรัตนสุวรรณ กรรมการบริหารอบรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทยและคุณทวีศักดิ์ พิมพ์สัมฤทธิ์ รองประธานชมรมกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก.ท.ม. สวัสดีค่ะ ทุกท่านนะคะ จริงๆ แล้วทางสถาบันพระปกเกล้าเนี่ยเรียกว่าทำการวิจัยหรือว่าการศึกษากันแน่ค่ะที่สรุปมาบอกว่าสุดท้ายเนี่ยไม่มีกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านในกรุงเทพมหานครเนี่ยค่ะ
ร.ศ.วุฒิสาร- จริงสถาบันเนี่ยไม่ได้ทำการวิจัยของท้องถิ่นเนี่ยที่ศึกษากันมาก็ได้ศึกษาประเด็นเรื่องของบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นการศึกษาโดยนักวิชาการจำนวนมากนะครับ
พิธีกร- โดยเป็นทุนของสถาบัน
ร.ศ.วุฒิสาร- เป็นทุนหลายแห่งครับ ซึ่งมีความเห็นค่อนข้างจะไปทิศทางเดียวกันว่าเมื่อลักษณะของงานต่างๆ ในการบริการประชาชนเนี่ยได้ถูกโอนถ่ายไปที่องค์กรท้องถิ่นแล้วกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ก็หมดภาระหน้าที่
พิธีกร- อันนี้พูดถึงต่างจังหวัด
ร.ศ.วุฒิสาร- ครับ ต่างจังหวัดและในขณะเดียวกันก็เพิ่งจะมีการแก้กฎหมายเมื่อปลายปีที่แล้วที่ให้คงกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ไว้ในเขตเทศบาล ซึ่งครั้งแรกเลยมีการเสนอว่าให้คงกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตเทศบาลทุกรูปแบบ
พิธีกร- ซึ่งก็หมายถึงกรุงเทพฯด้วย
ร.ศ.วุฒิสาร- ไม่รวมกรุงเทพฯ เนื่องจากว่ากรุงเทพฯ มีกฎหมายของตัวเอง ทีนี้ตอนนั้นเนี่ยก็เลยศึกษากันและก็เจรจาคุยกันว่าถ้าเทศบาลซึ่งยังมีสภาพเป็นชนบทก็อาจจะยังมีความจำเป็นของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เพราะฉะนั้นเนี่ยต้องเข้าใจว่าบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านเนี่ยเป็นไปตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ 2457 ซึ่งเกิดขึ้นในยุคที่ยังไม่มีองค์กรใดหรือหน่วยงานใดของรัฐอยู่ในนั้น
พิธีกร- คือเหมาะกับในยุคนั้นไม่มี อบต. ไม่มี สข.
ร.ศ.วุฒิสาร- ใช่ครับ ทีนี้เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไปเราก็เลยเสนอว่าถ้าจะยังอยู่ก็แก้ๆ แล้วก็อยู่ในเขตเทศบาลตำบล 980 แห่งคือเขตที่เป็นสุขาภิบาลยกฐานะขึ้นมา ทีนี้คณะที่ศึกษาจริงๆ เป็นการศึกษาร่วม ซึ่งเป็นมติ ค.ร.ม.นะครับตั้งคณะกรรมการมาดูเรื่องนี้ เราก็ดูกันว่าถ้าอย่างนั้นเนี่ยสิ่งที่จะต้องทำถ้ายังเห็นว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ยังมีความจำเป็นในเขตที่เป็นชนบทหรือเขตที่การปกครองท้องถิ่นยังดูแลไม่ถึง เราก็คิดว่ามีข้อเสนอที่เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาอยู่ 2 - 3 ประเด็น
ประเด็นแรกก็คือ การแก้บทบาทหน้าที่ของกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านใหม่ใน พ.ร.บ. 2457 เนื่องจากว่าจะเห็นว่าอำนาจหน้าที่ของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน บางเรื่องเนี่ยยังมีความทับซ้อนกับองค์กรท้องถิ่น เช่น การจัดการเรื่องของพาหนะ เรื่องของการทำทะเบียน การดูแลลำน้ำ ซึ่งเขียนเอาไว้ตั้งแต่ 2457 ทีนี้แต่ถ้าเราบอกว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน จะอยู่เพื่อทำหน้าที่ด้านความมั่นคงในขณะที่พวก อบต.อะไรต่างๆ เข้าไม่ถึง ข้อที่ 2 ก็คือเราเสนอว่าตำแหน่งบางตำแหน่งจะต้องลดลงหรือต้องยกเลิก ยกตัวอย่างเช่น แพทย์ประจำตำบล ทีนี้ปัจจุบันนี้เรามีอนามัยครบทุกตำบล ซึ่งตรงนี้ผมเข้าใจว่าก็สอดคล้องกับแผนของกรมการปกครองของกระทรวงมหาดไทย
พิธีกร- ทั้งหมดนี่รวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยมั้ยคะ
ร.ศ.วุฒิสาร- ตอนที่ศึกษาครั้งนั้นไม่ได้รวมครับ เพราะกรุงเทพมหานครไม่มีประเด็นนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครหมดอัตโนมัติ
พิธีกร- หมดโดยอัตโนมัติเนื่องมาจาก
ร.ศ.วุฒิสาร- เนื่องมาจากประกาศของกรุงเทพมหานครเอง
พิธีกร- คุณเจริญณรัฐคะ ตอนนั้นที่ท่านผู้ว่าฯ พิจิตตสรุปออกมาว่าออกประกาศว่าจะให้หมด ตอนนั้นเหตุผลมาจากเรื่องอะไรคะ
เจริญณรัฐ- คือเมื่อปี 43 ท่านประกาศขณะนั้นความจำเป็นดูว่าน้อยนะคือ 20 กว่าเขตของเรายังมีความจำเป็น
พิธีกร- ตอนนี้เหลืออยู่ทั้งหมด
เจริญณรัฐ- 22 เขต 322 ท่าน คือขณะนั้นประกาศก็ผิดนะจริงๆ แล้วกฤษฎีกาเค้าตีความแล้วนะว่าท่านผู้ว่าฯ พิจิตตในขณะนั้นที่ประกาศว่าเลิกภายใน 30 กันยายน 2547 นะยังต้องมีเลือกตั้งซ่อมมาโดยตลอด แต่กรุงเทพมหานครเข้าใจผิด คือจริงๆ ต้องมีครบจำนวนเท่าเดิมแล้วก็ไปหมด 30 กันยายน 2547
พิธีกร- เอาล่ะค่ะ เดี๋ยวพักกันสักครู่ ก่อนค่ะ
พิธีกร- คุณเจริญณรัฐ เป็นกำนันมาตั้งแต่ 19 เหรอคะ
เจริญณรัฐ- ปี 19 เป็นผู้ใหญ่มา 18 ปีแล้วก็เป็นกำนัน 10 ปี
พิธีกร- เพราะฉะนั้น ก็ใจหายเหมือนกันนะถ้าเกิดว่าปีหน้าจะไม่มีจริงๆ
เจริญณรัฐ- ครับ จริงๆ แล้วเนี่ยเรายังมีหน้าที่ก็อย่างที่เรียนให้ทราบว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ของเราบทบาทหน้าที่ต่างกัน ณ วันนี้อาจจะเปลี่ยนบทบาทไปส่วนนึงคือทะเบียนราษฎร์อะไรเนี่ยก็เป็นของทางเขตแล้วไง แต่ยังมีอีกหน้าที่นึง
พิธีกร- ทำอะไรบ้างคะ
เจริญณรัฐ- อย่างไข้หวัดนกปัจจุบันใครไปสำรวจว่าพื้นที่นั้นๆ มีการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงได้อะไรมั้ยมีมั้ยครับ ไม่มีท่าน ส.ก.ก็คงไม่ได้ไป
พิธีกร- ทำไมกำนันต้องไปด้วยในเมื่อเค้าก็มีปศุสัตว์เค้าก็ไปตรวจสอบได้เหมือนกัน
เจริญณรัฐ- คือมันเป็นหน้าที่ คือเขตชั้นนอกก็อาจจะแตกต่างกันบ้าง
พิธีกร- มีอะไรอีกที่ชาวบ้านยังต้องไปหากำนันอยู่
ทวีศักดิ์- กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน นั้นเนี่ยเป็นช่องว่างระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานราชการ เพราะว่าชาวบ้านเนี่ยมีปัญหาอะไรจะถามกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ก่อนริมคลองหนองบึงเนี่ยไม่มีใครรู้เท่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ในที่สาธารณะประธานชุมชนไม่สามารถจะรู้ได้ เพราะไม่ใช่คนท้องที่
พิธีกร- ประธานชุมชนไม่ใช่คนท้องที่
ทวีศักดิ์- ไม่ใช่คนท้องที่ๆ เดิม แต่กำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน นั้นจะเป็นได้ต้องมาอยู่ในท้องที่ 2 ปีหรือว่าคนท้องที่จริงๆ เค้าถึงจะเลือก
พิธีกร- ประธานชุมชน แล้วทำไมคนท้องที่ไปเลือกคนที่ไม่ใช่คนท้องที่เป็นประธานชุมชน
ทวีศักดิ์- อันนี้เป็นเรื่องของอีกเรื่องนึงนะผมไม่พูดตรงนี้ เรามีหน้าที่อะไรบ้างก็คือกำนัน- ผู้ใหญ่บ้านมีตั้งแต่การตรวจในเรื่องของยาเสพย์ติด
พิธีกร- ตำรวจเค้าก็มี
ทวีศักดิ์- ตำรวจก็เป็นคนนอกครับความใกล้ชิดกับประชาชนเนี่ยถามความรู้สึกจริงๆ กำนัน- ผู้ใหญ่บ้านใกล้ชิดกว่า มีหน่วยงานเดียวครับที่เดินไปหาประชาชนคือกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน หน่วยงานอื่นคือประชาชนต้องเดินไปหา
พิธีกร- เรื่องยาเสพย์ติด เรื่องความปลอดภัย
ทวีศักดิ์- เรื่องสาธารณะสุขต้องแจ้งกับลูกบ้าน
พิธีกร- เช่น
ทวีศักดิ์- เช่น ยุงลายมีอะไรต่างๆ ชาวบ้านก็ต้องมาปรึกษากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน
พิธีกร- มีมั้ยคะถนนยังไม่ถึงต้องไปคลองอย่างเดียว
ทวีศักดิ์- มีครับ
เจริญณรัฐ- ผมขอเพิ่มเติมอย่างกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน ทุกวันนี้ในเขตเทศบาลผม 123 ตารางกิโลเมตร ซึ่งผมได้เคยชี้แจงหลายส่วนแล้วนะครับว่ากำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เราเนี่ยส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรทั้งนั้น อย่างลาดกะบังผม 123 ตารางกิโลเมตร 20 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองครับ ส่วนอื่นก็เป็นพื้นที่ทำนาเป็นส่วนใหญ่ถึง 80% 90% คือหลายท่านอยู่ในเมืองไม่เคยไปสัมผัสและก็ไม่เคยไปเห็นข้อเท็จจริงๆๆ ด้านงบประมาณผมประกาศไปแล้วว่าผมไม่รับค่าตอบแทนก็ได้ เพราะพวกผมมีอาชีพครับ
พิธีกร- ถ้าจะบอกว่ากระทรวงมหาดไทยไม่จ่ายให้กรุงเทพฯ จ่ายประเด็นนี้ใช่มั้ยคะที่บอกว่าไม่รับเงินเดือนก็ได้
เจริญณรัฐ- คืออย่างนี้นะ ผมคิดว่าผมก็คงประสานกับท่านอธิบดีกรมการปกครองได้ โดยท่านนายกสรศักดิ์ นายกสมาคมกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย ซึ่งผมเองเนี่ยไม่ลืมบุญคุณ เพราะท่านสมัครท่านฝากไว้แล้วกับกรุงเทพมหานครว่าขณะนี้เหลือแค่ 322 ท่านเนี่ยงบแค่ 11 ล้าน แต่ผมว่าเดือนต่อไปก็คงลดไปเรื่อยๆ นะ เพราะอีก 40 ท่านกำลังจะหมดวาระ 5 ปี
พิธีกร- ฟังดูแล้วเหมือนกับว่า ส.ก.จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่หน้าที่อะไรที่จะต้องไปใกล้ชิดกับชาวบ้านมากมายไม่ใช่เหรอคะ
สุธา- คงไม่ได้ไปแทนนะคนละเรื่องคนละบทบาทกัน คือกำนัน- ผู้ใหญ่บ้าน เค้าก็มาตาม พ.ร.บ.กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน โดยเฉพาะ ส.ก. ส.ข.ก็มาจาก พ.ร.บ. บริหารกรุงเทพมหานครเกิดกันมาคนละรูปแบบ แต่ถามว่าวันนี้ควรจะมีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หรือไม่เนี่ย ผมว่าคำนี้มันพูดแล้วมันไปถูกใจและไม่ถูกใจคนบางคนและหลายคนได้
พิธีกร- พูดตรงๆ
สุธา- พูดตรงๆ คือต้องเรียนกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ที่อยู่ ณ ที่นี้ก่อนว่าคืออะไรก็แล้วแต่เนี่ยเราพูดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์นะ ถ้าจะไม่ถูกใจก็ต้องขออภัยไว้เบื้องต้นนะครับ
ทวีศักดิ์- ครับ
สุธา- ผมมองอย่างนี้ครับว่าสังเกตมั้ยว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ที่บอกว่าต่ออายุ 1 ปีเนี่ย จริงๆ อำนาจในการต่อมี 1 ปีจริงรึเปล่าต่อได้มากกว่านี้นะครับแปลว่าท่านสะดุดอะไรรึเปล่าคิดอย่างนี้ก่อนนะครับนี่คือข้อสังเกตและอีกอย่างนึงท่านสมัครเนี่ยทำไมมาเซ็นให้ความเห็นชอบในการต่ออายุกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ปลายวาระของที่ท่านอยู่นี่ก็คือข้อสังเกตของผม
พิธีกร- วันที่ 21 สิงหาคม ซึ่งวันเลือกตั้งคือ 29
สุธา- ถูกต้องครับ คือเราจะเห็นว่าอะไรหลายๆ อย่างมันเป็นเรื่องที่คนทำไม่ต้องมารับผิดชอบหรือไม่ต้องมาชี้แจงคือมันลำบากนะสำหรับคนมาใหม่ อยากจะพูดเรื่องความจำเป็นสักนิดนึงการจะมีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน อยู่ แต่ควรอยู่ในพื้นที่ๆ จำเป็นนะ อันนี้เนี่ยเหลือ 22 เขตปกครองมีกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน อยู่ 322 ท่านปีแรกที่ กทม.จะดูแลรับผิดชอบเนี่ยใช้งบประมาณๆ 10 กว่าล้าน
พิธีกร- เงินเดือนไม่มากใช่มั้ยคะ
สุธา- ไม่เลยครับพวกนี้
เจริญณรัฐ- ขณะนี้ก็ประมาณ 3 - 4 พัน
สุธา- พูดถึงเรื่องเดินเดือนน้อยมาก ผมจะมองอย่างนี้นะครับการต่ออายุกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งหมดเลยเนี่ย 22 เขต ผมกลับเห็นด้วยนะ แต่ถ้าจะต่ออายุเฉพาะในเขตที่จำเป็นเนี่ยผมยิ่งเห็นด้วยมากๆ เลย
พิธีกร- มีบางเขตที่ควรจะไม่ต่อแล้วเหรอคะ
สุธา- อย่างบางกะปิน่าต่อมั้ย
พิธีกร- บางกะปิยังมีอยู่
สุธา- ยังมีอยู่
พิธีกร- บางกะปิเป็นหมู่บ้านจัดสรรหมดแล้ว
สุธา- โห เจริญมาก
พิธีกร- บึงกุ่มยังมีอยู่มั้ยคะ
เจริญณรัฐ- มีอยู่แต่น้อยมากแล้ว
ร.ศ.วุฒิสาร- ลาดพร้าว
พิธีกร- ลาดพร้าวก็มี
สุธา- คือผมจะยกตัวอย่างที่เหมาะสมอันไหนที่ไม่เหมาะสมอันไหนและผมเชื่อว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก็ต้องยอมรับตรงนี้ต้องยอมรับความจริง
พิธีกร- ฟังดูมันเป็นการเมืองเหมือนกันนะคะ
สุธา- ก็เชิงการเมืองต้องยอมรับว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน มันมีส่วนชี้นำการเมืองเหมือนกันใครจะบอกว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน เป็นกลางผมไม่เชื่อ
พิธีกร- คุณสุธา มาจากกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน
สุธา- ผมไม่ได้มาจากกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน แต่ว่าพี่น้องเป็นกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หลายคน
พิธีกร- ก็ถือเป็นฐานเสียง
สุธา- ผมไม่ถืออย่างนั้น ผมถือว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หลีกหนีไม่พ้นเรื่องการเมือง แล้วถ้านักการเมืองสักคนจะลงมาเล่นการเมืองต้องมองกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ก่อนนะจะเข้าไปหากำนันที่ไหนผู้ใหญ่บ้านที่ไหน ถ้ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเนี่ยเค้าเบาใจไปเยอะนะ คือที่เหลือเนี่ยเรียกว่าง่ายแล้วถ้าเป็นต่างจังหวัดเนี่ย ผมถือว่าได้เป็นไปครึ่งนึงเลยนะนี่คือข้อเปรียบเทียบ
พิธีกร- จริงๆ เนี่ยก็คือยุบได้ในบางเขตบางพื้นที่
สุธา- ผมคิดว่าอย่างนั้น
พิธีกร- จริงๆ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ปีนึง
สุธา- ผมคิดว่าผู้ว่าฯ เองเนี่ยก็ยังสับสนในเรื่องที่ว่าควรทำยังไงเหมือนกัน วันนี้ผมเชื่อว่าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
พิธีกร- ซื้อเวลาไปก่อน
สุธา- ถามว่าเสียเวลามั้ยมันไม่เสีย แต่ว่าการกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ต้องเลือกใช้เอาว่าจะใช้กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ยังไงนะก็ต้องไปดูงานด้านการปกครอง
ทวีศักดิ์- เพราะว่ากำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน เนี่ยเป็นของท้องที่ต้องแยกให้ชัดเจนนะครับท้องที่กับท้องถิ่น
พิธีกร- มาทางท่านผอ.บ้างฟังมาทั้งหมด
ร.ศ.วุฒิสาร- ผมคิดอย่างนี้นะว่าสิ่งที่ควรจะเป็นถ้าสมมุติว่ากรุงเทพมหานครจะใช้หลักเกณฑ์อย่างที่เราพูดว่าเทศบาลตำบลมาพิจารณากันเนี่ย
พิธีกร- สร้างดัชนีวัดความเจริญ
ร.ศ.วุฒิสาร- ดัชนีวัดเลยว่าอะไร ส่วนประเด็นปัญหาที่ผมมองเห็นเนี่ย 1.ประเด็นเรื่องงบประมาณไม่น่าจะเป็นประเด็น 10 กว่าล้าน ผมคิดว่าถ้าเค้าทำหน้าที่ก็ต้องจ่ายตังค์ เพราะฉะนั้น เนี่ยขณะนี้เนี่ยเรื่องงบประมาณผมคิดว่าถ้าเรามาเสนอประเด็นว่ากรรมการชุมชนแพงกว่าอีก ผมคิดว่ามันจะนำไปสู่ความไม่เข้าใจและนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในชุมชน แล้วก็เป็นเรื่องที่จะทำให้แตกแยกกันเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์เลย แต่สิ่งที่ผมคิดว่ายังมีความจำเป็นก็คือว่าถ้า 1 ปีจะซื้อเวลาหรืออะไรก็แล้วแต่เนี่ยควรจะสร้างดัชนีวัดกันว่าอะไรจำเป็นในอำนาจหน้าที่ ประการที่ 2 ผมคิดว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ. ลักษณะของปกครองท้องที่ 2457 ในเรื่องอำนาจปกครองกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ให้ชัดเจน เพราะอันนั้นจะเป็นคุโณปการต่อความซ้ำซ้อนในต่างจังหวัดด้วยไม่ใช่เฉพาะ กทม.
พิธีกร- เช่นอะไรคะที่คิดว่าควรจะแก้
ร.ศ.วุฒิสาร- ผมเข้าใจว่าตอนที่เราศึกษาเราเสนอลดไปประมาณ 5 เรื่อง เช่น เรื่องของการดูแลล้ำน้ำ การทำทะเบียนสัตว์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เนี่ยในการกระจายอำนาจได้มอบอำนาจเหล่านี้ไปให้องค์กรท้องถิ่นแล้ว
พิธีกร- อบต.
ร.ศ.วุฒิสาร- อบต. ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ในกรุงเทพฯ เนี่ย ผมเข้าใจว่ากรุเงทพมหานครและก็หน่วยงานของกรุงเทพมหานครเองเนี่ยเวลาบริหารงานเขตมองมิติว่าเป็นเมืองเหมือนกันหมด อันนี้เป็นปัญหา เพราะฉะนั้นเนี่ยจำเป็นที่กรุงเทพมหานครจะต้องมาวางระบบการบริหารงานของเขตที่มีสภาพเหมือนชนบทที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนเขตบางรักหรือเขตสีลม
พิธีกร- เดี๋ยวเราพักกันสักครู่ก่อนค่ะ
พิธีกร- ดิฉันกำลังคิดว่าเรื่องอำนาจหน้าที่เนี่ยให้คนอื่นทำได้ แต่สิ่งที่เรารู้สึกจริงๆ อย่างอยู่มา 30 ปีเนี่ยมันอดที่จะรู้สึกไม่ได้ว่าเป็นหัวโขนที่เราสวมมานานด้วยรึเปล่า
เจริญณรัฐ- คือเป็นจิตสำนึกซึ่งเรากับประชาชนเนี่ยผูกพันกันมาโดยตลอด แล้วศักดิ์ศรีของกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน หลายท่านคงทราบดีเราทำงานเพื่อประชานชน แล้วส่วนค่าตอบแทนไม่ต้องพูดถึงหรอกครับ ผมเป็นปี 19 เนี่ย 275 บาท มาเมื่อปี 35 ก็ 2,000 บาท แต่รัฐบาลชุดนี้ท่านเห็นว่าทำงานเหนื่อยท่านก็ให้ค่าตอบแทนเพิ่มอีกเป็น 4,000 บาท เราอยู่ได้นะ
พิธีกร- ตรงนี้ใช่มั้ยคะที่ทำให้ปัญหามันแก้ยาก เพราะเรารู้สึกว่ามันมีศักดิ์ศรี
เจริญณรัฐ- ครับ
พิธีกร- คือเหมือนกับไม่เอาเงินเดือนยังได้เลย แต่เราชอบตำแหน่งนี้
เจริญณรัฐ- ใช่ แล้วเราช่วยชาวบ้านได้
พิธีกร- และถ้าหากว่ากทม.ปรับได้แล้วยอมได้มั้ย ถ้าในเมื่อเขตเค้าก็ไปทำหน้าที่ดีแทนเราหมดแล้ว
เจริญณรัฐ- ผมว่าคงจะเป็นอีก 10 ข้างหน้า
สุธา- ทั้งหมดเนี่ยต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจ
พิธีกร- ความเข้าใจของใครคะ
สุธา- ของกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน และก็ทุกคนที่เกี่ยวข้องเปิดสภาสมัยที่จะถึงเนี่ย ผมจะเสนอกับทีมผู้ว่าฯ ให้จัดการอบรมหลักสูตรๆ หนึ่งในการพัฒนากรุงเทพมหานคร เพราะกำนันที่เรามีปัญหาขณะนี้คือเรื่องกรุงเทพมหานคร ผมเชื่อว่าได้รับความเห็นชอบ
พิธีกร- เท่าที่ฟังๆ ดูแล้วเนี่ยเป็นเรื่องเกรียติและศักดิ์ศรีและสถาบันเคยศึกษาเรื่องนี้มั้ยคะท่านผอ.คะ
ร.ศ.วุฒิสาร- จริงๆ แล้วเนี่ย เรื่องศักดิ์ศรีเป็นเรื่องที่พูดกันยาก เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าในอนาคตแนวทางกำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ถ้าจะจำเป็นต้องหมดต้องเป็นระบบค่อยๆ หมด คือถ้าถามว่าทุบเลยได้มั้ยก็ทุบได้ แต่ว่าก็เกิดความขัดแย้งเกิดความไม่เข้าใจและวิธีที่เรายังใช้ก็คือ ถ้าเกษียณแล้วไม่ต้องเริ่มใหม่ อันนี้ผมพูดภาพรวมเลยนะก็คือว่าแก้กฎหมายซะ อันที่ 2 ก็คือว่าตำแหน่งไหนไม่จำเป็นที่จะทำให้ประชาชนเกิดความสับสนก็ทอนลง ประเด็นไม่ใช่เรื่องเงินนะ
พิธีกร- แล้วต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีด้วยรึเปล่า
ร.ศ.วุฒิสาร- มันเป็นปัจจัยหนึ่ง นั่นหมายความว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงก็ให้คำนึงถึงเรื่องศักดิ์ศรีนะ ฉะนั้นจะเปลี่ยนอย่างไรที่จะไม่กระทบจิตใจคน อันนี้เนี่ยคือวิธีแก้ไข
พิธีกร- ค่ะ ก็คงจะได้ข้อสรุปจากท่านผอ.กันไปบ้างแล้ว แต่ยังไงก็คงจะต้องติดตามว่าจะเป็นยังไงกันต่อไปนะคะ วันนี้ต้องขอบพระคุณแขกรับเชิญของเราทั้ง 4 ท่านเป็นอย่างสูงค่ะ ขอบพระคุณค่ะ วันนี้เวลาหมดลงแล้ว ลาไปก่อน สวัสดีค่ะ