นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ ผู้สมัครอิสระ
หมายเลข 8
พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ เป็นบุตรชายนายเกี้ยงเท้ง แซ่อึ้งและ
นางซิวจอก แซ่ลี้ เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 อายุ 56 ปี
การศึกษาประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดจักรวรรดิ์
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนปทุมคงคา
(นักเรียนเก่าดีเด่น ประจำหอกิตติคุณ)
ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีแห่งอิลินนอยส์ ?สหรัฐอเมริกา IIT, U.S.A)
สมรสกับคุณอุษา ถนอมพงษ์พันธ์ (บุญนำเสถียร) ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดระยอง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ
มีบุตรธิดา 2 คน
1.นายธนสิน ถนอมพงษ์พันธ์ (พึ่ง) ปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.นางสาวฝนทิพย์ ถนอมพงษ์พันธ์ (พา) กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เริ่มครั้งแรกเมื่อวัยเด็ก ขายกาแฟและขายผ้าที่วัดสามปลื้มและตลาดนัดวังสราญรมย์ ก่อนเข้ารับราชการและประสบการณ์จากภาคธุรกิจ ดังต่อไปนี้
- รับราชการเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
- หัวหน้าแผนกค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารหวั่งหลี(นครธน)
- ผู้จัดการฝ่ายช่วยบริหารสำนักผู้จัดการใหญ่ และผู้จัดการสำนักค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ประธานที่ปรึกษาบริษัท สวนบางกระเจ้า จำกัด
- ประธานบริษัท เอเซี่ยน เมนเนจเมนต์อินสติติวท์ จำกัด (AMI)
หลังจากประสบความสำเร็จจากหน้าที่การงานในภาคธุรกิจ เริ่มผันสู่การเมืองระดับประเทศเพื่อทดแทนบุญคุณแก่บ้านเกิด ในบทบาทต่างๆ ดังนี้
- สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2529 - 2531
- สมาชิกพรรคพรรคพลังธรรม พ.ศ. 2531 - 2535
- หัวหน้าพรรคหลักสยาม พ.ศ. 2536 - 2537
- สมาชิกพรรคพลังธรรม พ.ศ. 2538 - 2540
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอกหาญ ลีลานนท์) พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2530 - 2532
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังธรรม เขต 8 (ธนบุรี-คลองสาน) 3 สมัย ได้แก่
- สมัยที่ 1 พ.ศ. 2531 - 2534
- สมัยที่ 2 พ.ศ. 2535
- สมัยที่ 3 พ.ศ. 2538 - 2539
- รองประธานกรรมาธิการการเงินการคลังการธนาคารและ สถาบันการเงิน
- กรรมาธิการเศรษฐกิจ
- ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี บุญชู โรจนเสถียร
- หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ มีการเลือกตั้ง 2535 ครั้งที่ 2 ตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่มาทำการรณรงค์กับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในนาม“กลุ่มกรุงเทพ 51” ด้วยความเชื่อมั่นว่า การเมืองจะดีขึ้นหากชาวกรุงเทพฯสนใจใช้สิทธิ์เพราะกรุงเทพฯเป็นจังหวัดที่มีผู้ใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งต่ำที่สุดในประเทศ คือ ไม่ถึงร้อยละ 50 มาโดยตลอด ในขณะนั้น
- ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2 ครั้ง
พ.ศ. 2538 - 2539
- รณรงค์สนับสนุนการปฏิรูปการเมืองและ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในชื่อ “กลุ่ม ฅ ปฏิรูปการเมือง”
- ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรม เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ในการปฏิรูปการเมือง
- จัดตั้ง“กลุ่ม ฅ รักกรุงเทพ”การเมืองท้องถิ่นภาคประชาชนการรวมตัวกันระหว่างภาคประชาชนหลากหลายอาชีพซึ่งมีศักยภาพในด้านต่างๆ ร่วมกันระดมความคิดเพื่อ ปฏิวัติกรุงเทพให้ดีกว่าเดิม (Betterbangkok)
- ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 เป็นตัวแทนในภาคประชาชน
ประสบการณ์ด้านงานศึกษาและบริหาร เล็งเห็นถึงการศึกษาในประเทศไทยที่ยังไม่พัฒนาในทางที่ถูกต้อง ได้เข้ารับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา ดังต่อไปนี้
- เลขาธิการสมาคมบริการนักศึกษานานาชาติ (WUS)
- เลขาธิการชมรมฟอเร็กซ์ (FOREX) สมาคมธนาคารไทย พ.ศ. 2528
- ตัวแทนประเทศไทยเข้าประชุมคณะกรรมการฟอเร็กซ์สากล ที่กรุงปารีส
- ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ชมรมฟอเร็กซ์สมาคมธนาคารไทย
-อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์นิสิตปริญญาโท คณะพาณิชยศาสาตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษจากภายนอกในการพิจารณาผลงานเพื่อแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิทยากรพิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันต่างๆ
- รองประธานมูลนิธิกัลยาณวิสุทธิ์ พ.ศ. 2528-2530
- ที่ปรึกษากลุ่มพัฒนาเด็ก มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2 วาระ พ.ศ. 2538 - 2540 และ พ.ศ. 2540 - 2542
- นายกสภาประจำสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2 วาระ พ.ศ. 2542 - 2546
- นายกสมาคมนักเรียนเก่าปทุมคงคา 2 สมัย พ.ศ. 2543 ถึง ปัจจุบัน
- ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนปทุมคงคา พ.ศ.2544 ถึง ปัจจุบัน
- ก่อตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กศน.บ้านต้นซุง
- วิชาชีพด้านการทำขนมอบเบเกอร์รี่
- จัดศูนย์การเรียนอัธยาศัย ศูนย์การเรียนศิลปะเด็ก
- ศูนย์การเรียนดนตรีไทยและการศึกษาตามอัธยาศัยอื่นๆ
- จัดการศึกษาในระบบ ก่อตั้งโรงเรียน“แสนสนุกไตรทักษะ”สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ด้วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ กายดี (Hand) ใจงาม (Heart) ปัญญาเลิศ (Head) ซึ่งตรงกับการพัฒนาให้เกิด “พุทธิ” คือ “ศีล สมาธิ ปัญญา”
www.betterbangkok.org