•• เป็นเรื่องจนได้เมื่อ ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช – ส.ว.ขอนแก่น ในฐานะ รองประธานคณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ – วุฒิสภา เปิดประเด็นสำคัญเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวว่าด้วยการที่ พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่, พระธาตุดอยตุง เชียงราย และ พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน มีประเพณีปฏิบัติ ห้ามผู้หญิงเข้าไปสักการบูชาพระธาตุในเขตชั้นใน โดยมี ป้ายประกาศห้าม จนเป็นเหตุให้ วัลลภ ตังคณานุรักษ์ – ส.ว.กรุงเทพฯ ในฐานะ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชน และผู้สูง อายุ – วุฒิสภา ทำหนังสือด่วนที่สุดลง วันที่ 21 มิถุนายน 2547 ถึง พล.ต.ท.อุดม เจริญ – ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้มีความเห็นว่า ข้อห้ามที่เลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง ส่อเค้า ขัดรัฐธรรมนูญ ใน มาตรา 30 (ที่บัญญัติไว้ดังในล้อมกรอบที่ “เซี่ยงเส้าหลง” คัดมาประกอบการพิจารณา) ส่งผลให้เธอเริ่ม ถูกประณาม จาก หลากหลายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นจาก พล.ต.ท.อุดม เจริญ หรือแม้แต่ พระราชกวี – เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องกับ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ในฐานะที่บังอาจไป ตั้งข้อสงสัย ต่อ ประเพณีปฏิบัติที่สืบเนื่องมา 600 ปี ท่าทีและท่วงทำนองที่แต่ละคนแสดงออกมานั้น รุนแรง อาทิ “...นางระเบียบรัตน์เป็นใครที่เที่ยวมาอ้างสิทธิเสรีภาพ.” หรือถึงขนาดนี้ก็มี “...จารีตประเพณีของวัดทางภาคเหนือถือปฏิบัติกันมานานนับร้อยปีพันปีแล้ว จะมาทำลายด้วยข้อ อ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพไม่ได้ นางระเบียบรัตน์เองร่ำเรียนมาก็ไม่น้อย เป็นถึงภรรยาของปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำไมไม่ยอมเข้าใจเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น แถมยังชอบทำตัวยุ่งไปทุกเรื่อง การไม่ได้ขึ้นไปกราบพระธาตุดอยสุเทพ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตกนรก แต่การไปเรียกร้องทำ ลายสิ่งดี ๆ นี่แหละที่จะทำให้ตกนรกแทน วัดอื่น ๆที่เปิดให้ผู้หญิงขึ้นไปกราบไหว้ก็มี ทำไมไม่ไป.” งานนี้เห็นทีจะมีแต่ ขาดทุน เป็นแน่
•• แม้ รัฐธรรมนูญ จะบัญญัติไว้ให้ ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไว้ในส่วนมาตรา 30 วรรคสอง ในความเห็นของ “เซี่ยงเส้าหลง” น่าจะหมายความถึงแต่เพียง สิทธิตามที่กฎหมายรับรอง ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่อาจจะประยุกต์ได้กับคำ ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใน มาตรา 7 ที่บัญญัติไว้ดังในล้อมกรอบที่คัดมาประกอบการพิจารณา
•• หรือถ้าไม่ประยุกต์อย่างข้างต้น กฎหมาย หรือแม้ กฎหมายสูงสุด ก็ไม่อาจไปบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม ได้ตราบเท่าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม ไม่ได้ก้าวล่วงเข้ามาเป็น ปฏิปักษ์ต่อรัฐ การเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม เป็นเรื่องของ กระบวนการทางสังคม มากกว่า กระบวนการทางกฎหมาย การทำหนังสือร้องเรียนมายัง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในมุมมองของ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่า ผิดที่, ผิดทาง เพราะกฎเกณฑ์ที่ว่าไม่ว่าจะผิดหรือถูกไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะ รัฐ, บ้านเมือง หากแต่เป็น กฎเกณฑ์ของชุมชน อันเป็นที่ เห็นพ้องต้องกันของชุมชน และ ยอมรับปฏิบัติกัน มายาวนาน
•• อีกประการหนึ่งที่ “เซี่ยงเส้าหลง” เห็นว่าไม่ใช่เรื่องของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็เพราะนี่ไม่ใช่กฎเกณฑ์ของ พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของ ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม ที่เกิดขึ้น เฉพาะพื้นที่, เฉพาะถิ่น ถ้า ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช จะเรียกร้องคำตอบหรือเสนอแนะความเห็นใดก็ควรเสนอไปที่ องค์กรในพื้นที่ โดยเฉพาะ วัด, ชุมชน เพราะไม่ใช่ทุกวัดทุกพื้นที่จะมี เขตห้ามผู้หญิงเข้า แม้จะเป็น พระธาตุ ด้วยกัน
•• ถ้าจะถามว่าทำไม กฎเกณฑ์แต่ละวัดแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ก็ต้องขอตอบว่า ความงามคือความหลากหลาย ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้อง ทำให้เหมือนกัน เลย
•• ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าเมื่อยึดถือ รัฐธรรมนูญ เป็น กฎหมายสูงสุด แล้วจะนำมา อ้างอิงกับทุกเรื่อง ที่จริงการที่มี ประเพณีปฏิบัติสืบทอดมา 600 ปี ในที่ใดที่หนึ่งหรือในชุมชนใดชุมชนหนึ่งนั่นก็น่าจะถือเสมือนว่าเป็น รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ที่ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ในชั้นหลังจะต้อง ขึ้นต่อ นั่นเอง
•• คำว่า สิทธิ นี้ถ้า “เซี่ยงเส้าหลง” จะขอแปลง่าย ๆ ตามคำสอนเชิงเปรียบเทียบของ วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (ปัจจุบันเป็น อธิบดีศาลปกครองกลาง) ว่า “...มึง(รัฐ)ต้องทำอะไรให้กู(ปัจจเจกชน)บ้าง.” (เปรียบเทียบโดยนัยเดียวกัน เสรีภาพ จึงต้องแปลว่า “...กู(ปัจเจกชน)จะทำอะไร - มึง(รัฐ)อย่ามายุ่ง.” ) ก็จะเข้าใจได้ว่า มาตรา 30 กำหนดให้ รัฐ, บ้านเมือง ให้ความเท่าเทียมกันแก่ ชาย-หญิง แต่ไม่น่าจะก้าวล่วงเข้าไปถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี, ความเชื่อทางศาสนา เพราะถ้าขืน ก้าวล่วงได้ ก็จะเกิด ความยุ่งเหยิง กันขนานใหญ่เพราะถ้าจะกล่าวกันอย่างถึงที่สุดแล้วใน วัฒนธรรมตะวันออก ไม่ได้ถือว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน หลักการดั่งว่านี้จึงควร จำกัด ไว้เฉพาะในเรื่องของ รัฐ, บ้านเมือง ไม่ใช่ ทุกเรื่อง ที่อาจจะก่อให้เกิด จลาจล กันได้ง่าย ๆ
•• ขนบธรรมเนียมประเพณีในอดีตมอง ผู้หญิง แตกต่างจาก กฎหมายสมัยใหม่ การจำกัดสิทธิมีขึ้นได้ตาม ความเชื่อ ที่ไม่ว่าจะ ผิดหรือ ถูก แต่ก็ปฏิบัติสืบทอดกันมา หลายชั่วอายุคน ไม่เพียงแต่ พระธาตุ ยังมี เวทีมวย, หัวเรือ และ ฯลฯ ที่ถือเป็น เขตต้องห้าม สำหรับ ผู้หญิง ตลอดมา
•• เหตุผลที่อธิบายกันก็คือมองว่า สรีระแห่งสตรีเพศ โดยธรรมชาติใน บางช่วงเวลา เป็น แหล่งสะสมความสกปรก คงไม่ต้องบอกกระมังว่าหมายถึง ยามมีรอบเดือน นั่นเอง
•• อาจจะเป็น คติ ที่ ผิด แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ กระบวนการทางสังคม ไม่ใช่ กระบวนการทางกฎหมาย โดยเฉพาะการเรียกร้องให้ รัฐ, บ้านเมือง เข้าไป ดำเนินการ อันอาจจะก่อให้เกิด ปัญหา ตามมา
•• อย่างในกรณีของ พระธาตุดอยสุเทพ นั้นจากคำอธิบายของ วัลลพ นามวงศ์พรหม ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่, ประชาสัมพันธ์วัดพระธาตุดอยสุเทพ บอกเล่าประวัติศาสตร์ว่าในรัชสมัย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช เมื่อ พ.ศ. 1916 ได้มีการอัญเชิญ พระบรมธาตุ ขึ้นไปยัง ดอยสุเทพ โดยนำเอาผอบพระบรมธาตุ วางลึกลงไปในดินกว่า 2 เมตร แล้วจึงสร้างพระบรมธาตุ ครอบไว้ มาในตอนหลัง กษัตริย์ในราชวงศ์เม็งราย ก็สร้าง พระเจดีย์ ครอบไว้อีกชั้น สูง 15 เมตร (ดังเห็นในปัจจุบัน) ดังนั้นสถานที่ฝังพระบรมธาตุจริง ๆ จะ ต่ำกว่าพื้น จึงต้อง สร้างรั้วกั้นเอาไว้ โดยระบุว่าภายในสถานที่ในรอบรั้วให้ พระสงฆ์, พุทธบริษัทชาย เท่านั้นที่ผ่านเข้าไป ผู้หญิงห้ามเข้าเด็ดขาด โดยเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติมายาวนานกว่า 600 ปี และ ไม่เคยปรากฏผู้ใดคัดค้าน ก็ต้องถือว่า ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช คนแรก เลยแหละ
•• แต่ในส่วนของ พระพุทธศาสนา นั้นต้องถือว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีพระวินัยข้อใดที่ จำกัดสิทธิผู้หญิง จะมีอยู่ข้อเดียวก็เห็นจะเป็น ห้ามผู้หญิงอยู่กับพระภิกษุในที่รโหฐานสองต่อสอง ซึ่งก็เป็นไปในลักษณะ กันไว้ดีกว่าแก้ ส่วนเรื่อง บวช นั้นไม่ได้ ห้าม แต่ที่ปัจจุบันไม่มี ภิกษุณี ก็เพราะคุณสมบัติบางประการที่กำหนดไว้สำหรับ ภิกษุณี ทำให้ ภิกษุณีขาดสายไม่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ต่างหาก
•• จากเรื่อง ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิชเรากลับไปที่ พรรคมหาชน กันสักหน่อยดีกว่า
•• นาทีนี้ พรรคมหาชน เป็น ทางออก ของ นักการเมืองอาชีพรุ่นเก่า โดยเฉพาะกลุ่มที่มีลักษณะ (ใจ)นักเลง, ผู้กว้างขวาง ที่ต้องการพื้นที่เล็ก ๆ ไว้สำหรับ บั้นปลายแห่งชีวิตทางการเมือง เป็นพื้นที่เล็ก ๆ ที่จะต้องขออยู่ อย่างมีศักดิ์ศรี, อย่างสามารถดูแลลูกน้อง จริง ๆ พวกเขาเหล่านี้ไม่ว่าจะ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หรือ วัฒนา อัศวเหม ต่างมีศักยภาพและความสามารถที่จะเข้าไปอยู่ได้ใน พรรคไทยรักไทยแต่ถ้า เลือกได้ พวกเขาก็เลือกที่จะ ไม่ไป ไม่ใช่ ตั้งตนเป็นศัตรู อาจจะ สนับสนุน แต่ขอเพียงพื้นที่ที่จะ ไม่ต้องลดศักดิ์ศรี ลงมาเหมือนอย่าง เสนาะ เทียนทอง ที่นับวันยิ่ง ไร้ค่า, ไร้ราคา การรวมตัวกันเข้าเป็น พรรคการเมืองใหม่ ย่อม เหมาะสมกว่า ช่องว่างทางการเลือกตั้งหากจัดการดี ๆ โอกาสมี ส.ส. สัก 30 เสียง ไม่ใช่ ความฝัน ดีไม่ดีอาจยกระดับขึ้นไปถึง 50 เสียง พรรคตัวแปร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถผูกพันธมิตรกับ บางขั้ว ใน พรรคไทยรักไทย ได้
•• การเข้ามาของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ทำให้คนอย่าง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มีอันต้อง ไม่พอใจ ปฏิบัติการเชื่อมต่อกับ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เพื่อ สร้างคุณค่าให้ตัวเอง ให้ เข้าตา ผู้เป็น นาย อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดขึ้น
•• แต่ทำไประดับหนึ่งก็ เสี่ยง ต่อสภาวการณ์ ถูกเข้าใจผิด จึง ไม่เดินหน้า ทว่าทางด้าน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นั้น ไม่อาจหยุด จึงต้อง เดินหน้า เพื่อ ให้กำเนิดพรรคใหม่ การเกาะเกี่ยวกับ วัฒนา อัศวเหม จึงเกิดขึ้น อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เองก็เดินหน้ามาไกลเกินกว่าจะ หันหลังกลับ จึงต้องรับตำแหน่ง หัวหน้าพรรค แม้จะดูกะพร่องกะแพร่งแต่เรื่อง ทุนรอน นั้นฟังนัยระหว่างบรรทัดจากปากคำของ วัฒนา อัศวเหม เองแล้ว ไม่มีปัญหา เท่าไรนัก
•• คนทั่วไปอาจจะมี ภาพ ของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการ แต่ความจริงแล้วคน ๆ นี้ นักเคลื่อนไหวการเมือง ที่ เข้าใจการเมืองในความเป็นจริง มาตั้งแต่ ปี 2516 เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคจุฬาประชาชน ร่วมกับ เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, ภูมิธรรม เวชยชัย และ ฯลฯ และ นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน ปี 2519 ก่อน ลี้ภัยเข้าป่า ประสบการณ์ในป่าเขาก็คือเป็นผู้มีบุคลิกภาพพิเศษที่ เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของสหายนำ จึงไม่แปลกที่จะมาเป็น คนสำคัญ ใน พรรคประชาธิปัตย์ เสียดายแต่ที่เกิด ความขัดแย้งภายใน และเขายอมรับไม่ได้ที่จะอยู่ภายใต้ การนำ ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงออกเดินสายไปยัง สาขาพรรคทั่วประเทศ ในฐานะพลังสำคัญของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ฐานภาพของเขาจึง อยู่ยาก การเดินออกมาเป็น หัวหน้าพรรคการเมือง ที่มีโอกาสมีเสียง 30 – 50 เสียง และ ไม่เป็นศัตรูกับใคร ถือว่าเป็น ทางลัด ดีกว่าอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ หรือเข้ามาตกคลั่กอยู่กับ เป็น พรรคไทยรักไทยโอกาสที่จะได้เป็น รัฐมนตรีว่าการในช่วง ต้นปี 2548 นาทีนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” มองว่า สูงกว่าเพื่อนร่วมรุ่นร่วมอุดมการณ์ที่เกือบก่อตั้ง พรรคประชาธรรม ร่วมกันใน ปี 2534 – 2535 อย่าง ภูมิธรรม เวชยชัย ที่หากได้เป็นก็น่าจะเริ่มต้นที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ก่อน
•• ยี่ห้อของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ยังทำให้มี เครือข่าย กับ องค์กรภาคประชาชน ที่ ผิดหวัง กับ พรรคไทยรักไทย มาแล้วจำนวนหนึ่งด้วย
•• ไม่ต้องห่วงหรอก พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, วัฒนา อัศวเหม นั้นไม่ดิ้นรนมาเป็น รัฐมนตรี คนพวกนี้เพียงแต่ขอ พื้นที่, ความเป็นส่วนตัว เพื่อ ส่งลูกน้อง, ส่งลูกหลานให้ ถึงฝั่ง แต่ก็นั่นแหละ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ จะอธิบายอย่างไรให้สังคมที่รู้เท่าทันเชื่อได้ว่าจะไม่ Nominee เป็น ยันต์กันผี ให้กับนักการเมืองบางคนบางกลุ่มที่มี พฤติกรรมไม่โสภาสภาพร อย่าลืมว่าการทำลาย พรรคประชากรไทย ฉก กลุ่มงูเห่า มาร่วมรัฐบาลเมื่อ ปลายปี 2540 โดยให้ ยิ่งพันธ์ มนสิการ คงนั่งในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อสานต่อ โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ให้ จบ นั้นยังคงเป็น ตราบาปทางการเมือง ของคนที่ รู้เท่าทัน นี่เป็น การบ้านข้อสำคัญ ของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ทีเดียว
•• เพราะพูดตามตรง คำแถลงว่าด้วยความจำเป็นของพรรคทางเลือก นั้นร่างให้ สวย, งาม อย่างไรก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่เป็น คนเก่งโดยสายเลือด และมีผลงานชั้นเยี่ยมทางรัฐศาสตร์ที่กลายเป็น ตำนาน อย่าง สองนคราประชาธิปไตย แต่ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่ามันเข้ากันไม่ได้กับภาพ ชนแก้วไวน์ ของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, วัฒนา อัศวเหม และ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เมื่อ ค่ำวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 เลยจริง ๆ ทางที่ดีคุยกับพวกท่านเหล่านี้ให้ ช่วยหลังฉาก ดีกว่าออกมา กระดี๊กระด๊า เพราะการที่ สังศิต พิริยะรังสรรค์ ต้องออกมา แก้ต่างให้ เพื่อนรัก ทำนองว่า “...ไม่มีการเมืองที่สมบูรณ์แบบ พรรคไทยรักไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นแบบนี้ คือไม่ได้สมบูรณ์แบบ.” นั้นพูดตามตรงว่า ฟังไม่ขึ้น, อย่าพูดเสียดีกว่า เพราะมันจะสะท้อนพฤติกรรม เข้มงวดต่อผู้อื่น – ผ่อนปรนต่อตนเอง อันมิบังควรเลย

มาตรา 30 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
•• แม้ รัฐธรรมนูญ จะบัญญัติไว้ให้ ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไว้ในส่วนมาตรา 30 วรรคสอง ในความเห็นของ “เซี่ยงเส้าหลง” น่าจะหมายความถึงแต่เพียง สิทธิตามที่กฎหมายรับรอง ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่อาจจะประยุกต์ได้กับคำ ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ใน มาตรา 7 ที่บัญญัติไว้ดังในล้อมกรอบที่คัดมาประกอบการพิจารณา
•• หรือถ้าไม่ประยุกต์อย่างข้างต้น กฎหมาย หรือแม้ กฎหมายสูงสุด ก็ไม่อาจไปบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม ได้ตราบเท่าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม ไม่ได้ก้าวล่วงเข้ามาเป็น ปฏิปักษ์ต่อรัฐ การเปลี่ยนแปลง ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม เป็นเรื่องของ กระบวนการทางสังคม มากกว่า กระบวนการทางกฎหมาย การทำหนังสือร้องเรียนมายัง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในมุมมองของ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่า ผิดที่, ผิดทาง เพราะกฎเกณฑ์ที่ว่าไม่ว่าจะผิดหรือถูกไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะ รัฐ, บ้านเมือง หากแต่เป็น กฎเกณฑ์ของชุมชน อันเป็นที่ เห็นพ้องต้องกันของชุมชน และ ยอมรับปฏิบัติกัน มายาวนาน
•• อีกประการหนึ่งที่ “เซี่ยงเส้าหลง” เห็นว่าไม่ใช่เรื่องของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็เพราะนี่ไม่ใช่กฎเกณฑ์ของ พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของ ขนบธรรมเนียมประเพณี, วัฒนธรรม ที่เกิดขึ้น เฉพาะพื้นที่, เฉพาะถิ่น ถ้า ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช จะเรียกร้องคำตอบหรือเสนอแนะความเห็นใดก็ควรเสนอไปที่ องค์กรในพื้นที่ โดยเฉพาะ วัด, ชุมชน เพราะไม่ใช่ทุกวัดทุกพื้นที่จะมี เขตห้ามผู้หญิงเข้า แม้จะเป็น พระธาตุ ด้วยกัน
•• ถ้าจะถามว่าทำไม กฎเกณฑ์แต่ละวัดแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ก็ต้องขอตอบว่า ความงามคือความหลากหลาย ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้อง ทำให้เหมือนกัน เลย
•• ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าเมื่อยึดถือ รัฐธรรมนูญ เป็น กฎหมายสูงสุด แล้วจะนำมา อ้างอิงกับทุกเรื่อง ที่จริงการที่มี ประเพณีปฏิบัติสืบทอดมา 600 ปี ในที่ใดที่หนึ่งหรือในชุมชนใดชุมชนหนึ่งนั่นก็น่าจะถือเสมือนว่าเป็น รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ที่ รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ในชั้นหลังจะต้อง ขึ้นต่อ นั่นเอง
•• คำว่า สิทธิ นี้ถ้า “เซี่ยงเส้าหลง” จะขอแปลง่าย ๆ ตามคำสอนเชิงเปรียบเทียบของ วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ (ปัจจุบันเป็น อธิบดีศาลปกครองกลาง) ว่า “...มึง(รัฐ)ต้องทำอะไรให้กู(ปัจจเจกชน)บ้าง.” (เปรียบเทียบโดยนัยเดียวกัน เสรีภาพ จึงต้องแปลว่า “...กู(ปัจเจกชน)จะทำอะไร - มึง(รัฐ)อย่ามายุ่ง.” ) ก็จะเข้าใจได้ว่า มาตรา 30 กำหนดให้ รัฐ, บ้านเมือง ให้ความเท่าเทียมกันแก่ ชาย-หญิง แต่ไม่น่าจะก้าวล่วงเข้าไปถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี, ความเชื่อทางศาสนา เพราะถ้าขืน ก้าวล่วงได้ ก็จะเกิด ความยุ่งเหยิง กันขนานใหญ่เพราะถ้าจะกล่าวกันอย่างถึงที่สุดแล้วใน วัฒนธรรมตะวันออก ไม่ได้ถือว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน หลักการดั่งว่านี้จึงควร จำกัด ไว้เฉพาะในเรื่องของ รัฐ, บ้านเมือง ไม่ใช่ ทุกเรื่อง ที่อาจจะก่อให้เกิด จลาจล กันได้ง่าย ๆ
•• ขนบธรรมเนียมประเพณีในอดีตมอง ผู้หญิง แตกต่างจาก กฎหมายสมัยใหม่ การจำกัดสิทธิมีขึ้นได้ตาม ความเชื่อ ที่ไม่ว่าจะ ผิดหรือ ถูก แต่ก็ปฏิบัติสืบทอดกันมา หลายชั่วอายุคน ไม่เพียงแต่ พระธาตุ ยังมี เวทีมวย, หัวเรือ และ ฯลฯ ที่ถือเป็น เขตต้องห้าม สำหรับ ผู้หญิง ตลอดมา
•• เหตุผลที่อธิบายกันก็คือมองว่า สรีระแห่งสตรีเพศ โดยธรรมชาติใน บางช่วงเวลา เป็น แหล่งสะสมความสกปรก คงไม่ต้องบอกกระมังว่าหมายถึง ยามมีรอบเดือน นั่นเอง
•• อาจจะเป็น คติ ที่ ผิด แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ กระบวนการทางสังคม ไม่ใช่ กระบวนการทางกฎหมาย โดยเฉพาะการเรียกร้องให้ รัฐ, บ้านเมือง เข้าไป ดำเนินการ อันอาจจะก่อให้เกิด ปัญหา ตามมา
•• อย่างในกรณีของ พระธาตุดอยสุเทพ นั้นจากคำอธิบายของ วัลลพ นามวงศ์พรหม ในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่, ประชาสัมพันธ์วัดพระธาตุดอยสุเทพ บอกเล่าประวัติศาสตร์ว่าในรัชสมัย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช เมื่อ พ.ศ. 1916 ได้มีการอัญเชิญ พระบรมธาตุ ขึ้นไปยัง ดอยสุเทพ โดยนำเอาผอบพระบรมธาตุ วางลึกลงไปในดินกว่า 2 เมตร แล้วจึงสร้างพระบรมธาตุ ครอบไว้ มาในตอนหลัง กษัตริย์ในราชวงศ์เม็งราย ก็สร้าง พระเจดีย์ ครอบไว้อีกชั้น สูง 15 เมตร (ดังเห็นในปัจจุบัน) ดังนั้นสถานที่ฝังพระบรมธาตุจริง ๆ จะ ต่ำกว่าพื้น จึงต้อง สร้างรั้วกั้นเอาไว้ โดยระบุว่าภายในสถานที่ในรอบรั้วให้ พระสงฆ์, พุทธบริษัทชาย เท่านั้นที่ผ่านเข้าไป ผู้หญิงห้ามเข้าเด็ดขาด โดยเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติมายาวนานกว่า 600 ปี และ ไม่เคยปรากฏผู้ใดคัดค้าน ก็ต้องถือว่า ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช คนแรก เลยแหละ
•• แต่ในส่วนของ พระพุทธศาสนา นั้นต้องถือว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีพระวินัยข้อใดที่ จำกัดสิทธิผู้หญิง จะมีอยู่ข้อเดียวก็เห็นจะเป็น ห้ามผู้หญิงอยู่กับพระภิกษุในที่รโหฐานสองต่อสอง ซึ่งก็เป็นไปในลักษณะ กันไว้ดีกว่าแก้ ส่วนเรื่อง บวช นั้นไม่ได้ ห้าม แต่ที่ปัจจุบันไม่มี ภิกษุณี ก็เพราะคุณสมบัติบางประการที่กำหนดไว้สำหรับ ภิกษุณี ทำให้ ภิกษุณีขาดสายไม่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ต่างหาก
•• จากเรื่อง ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิชเรากลับไปที่ พรรคมหาชน กันสักหน่อยดีกว่า
•• นาทีนี้ พรรคมหาชน เป็น ทางออก ของ นักการเมืองอาชีพรุ่นเก่า โดยเฉพาะกลุ่มที่มีลักษณะ (ใจ)นักเลง, ผู้กว้างขวาง ที่ต้องการพื้นที่เล็ก ๆ ไว้สำหรับ บั้นปลายแห่งชีวิตทางการเมือง เป็นพื้นที่เล็ก ๆ ที่จะต้องขออยู่ อย่างมีศักดิ์ศรี, อย่างสามารถดูแลลูกน้อง จริง ๆ พวกเขาเหล่านี้ไม่ว่าจะ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หรือ วัฒนา อัศวเหม ต่างมีศักยภาพและความสามารถที่จะเข้าไปอยู่ได้ใน พรรคไทยรักไทยแต่ถ้า เลือกได้ พวกเขาก็เลือกที่จะ ไม่ไป ไม่ใช่ ตั้งตนเป็นศัตรู อาจจะ สนับสนุน แต่ขอเพียงพื้นที่ที่จะ ไม่ต้องลดศักดิ์ศรี ลงมาเหมือนอย่าง เสนาะ เทียนทอง ที่นับวันยิ่ง ไร้ค่า, ไร้ราคา การรวมตัวกันเข้าเป็น พรรคการเมืองใหม่ ย่อม เหมาะสมกว่า ช่องว่างทางการเลือกตั้งหากจัดการดี ๆ โอกาสมี ส.ส. สัก 30 เสียง ไม่ใช่ ความฝัน ดีไม่ดีอาจยกระดับขึ้นไปถึง 50 เสียง พรรคตัวแปร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถผูกพันธมิตรกับ บางขั้ว ใน พรรคไทยรักไทย ได้
•• การเข้ามาของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ทำให้คนอย่าง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มีอันต้อง ไม่พอใจ ปฏิบัติการเชื่อมต่อกับ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เพื่อ สร้างคุณค่าให้ตัวเอง ให้ เข้าตา ผู้เป็น นาย อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดขึ้น
•• แต่ทำไประดับหนึ่งก็ เสี่ยง ต่อสภาวการณ์ ถูกเข้าใจผิด จึง ไม่เดินหน้า ทว่าทางด้าน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นั้น ไม่อาจหยุด จึงต้อง เดินหน้า เพื่อ ให้กำเนิดพรรคใหม่ การเกาะเกี่ยวกับ วัฒนา อัศวเหม จึงเกิดขึ้น อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เองก็เดินหน้ามาไกลเกินกว่าจะ หันหลังกลับ จึงต้องรับตำแหน่ง หัวหน้าพรรค แม้จะดูกะพร่องกะแพร่งแต่เรื่อง ทุนรอน นั้นฟังนัยระหว่างบรรทัดจากปากคำของ วัฒนา อัศวเหม เองแล้ว ไม่มีปัญหา เท่าไรนัก
•• คนทั่วไปอาจจะมี ภาพ ของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการ แต่ความจริงแล้วคน ๆ นี้ นักเคลื่อนไหวการเมือง ที่ เข้าใจการเมืองในความเป็นจริง มาตั้งแต่ ปี 2516 เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคจุฬาประชาชน ร่วมกับ เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, ภูมิธรรม เวชยชัย และ ฯลฯ และ นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน ปี 2519 ก่อน ลี้ภัยเข้าป่า ประสบการณ์ในป่าเขาก็คือเป็นผู้มีบุคลิกภาพพิเศษที่ เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของสหายนำ จึงไม่แปลกที่จะมาเป็น คนสำคัญ ใน พรรคประชาธิปัตย์ เสียดายแต่ที่เกิด ความขัดแย้งภายใน และเขายอมรับไม่ได้ที่จะอยู่ภายใต้ การนำ ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงออกเดินสายไปยัง สาขาพรรคทั่วประเทศ ในฐานะพลังสำคัญของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ฐานภาพของเขาจึง อยู่ยาก การเดินออกมาเป็น หัวหน้าพรรคการเมือง ที่มีโอกาสมีเสียง 30 – 50 เสียง และ ไม่เป็นศัตรูกับใคร ถือว่าเป็น ทางลัด ดีกว่าอยู่ พรรคประชาธิปัตย์ หรือเข้ามาตกคลั่กอยู่กับ เป็น พรรคไทยรักไทยโอกาสที่จะได้เป็น รัฐมนตรีว่าการในช่วง ต้นปี 2548 นาทีนี้ “เซี่ยงเส้าหลง” มองว่า สูงกว่าเพื่อนร่วมรุ่นร่วมอุดมการณ์ที่เกือบก่อตั้ง พรรคประชาธรรม ร่วมกันใน ปี 2534 – 2535 อย่าง ภูมิธรรม เวชยชัย ที่หากได้เป็นก็น่าจะเริ่มต้นที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ก่อน
•• ยี่ห้อของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ยังทำให้มี เครือข่าย กับ องค์กรภาคประชาชน ที่ ผิดหวัง กับ พรรคไทยรักไทย มาแล้วจำนวนหนึ่งด้วย
•• ไม่ต้องห่วงหรอก พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, วัฒนา อัศวเหม นั้นไม่ดิ้นรนมาเป็น รัฐมนตรี คนพวกนี้เพียงแต่ขอ พื้นที่, ความเป็นส่วนตัว เพื่อ ส่งลูกน้อง, ส่งลูกหลานให้ ถึงฝั่ง แต่ก็นั่นแหละ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ จะอธิบายอย่างไรให้สังคมที่รู้เท่าทันเชื่อได้ว่าจะไม่ Nominee เป็น ยันต์กันผี ให้กับนักการเมืองบางคนบางกลุ่มที่มี พฤติกรรมไม่โสภาสภาพร อย่าลืมว่าการทำลาย พรรคประชากรไทย ฉก กลุ่มงูเห่า มาร่วมรัฐบาลเมื่อ ปลายปี 2540 โดยให้ ยิ่งพันธ์ มนสิการ คงนั่งในตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อสานต่อ โครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ให้ จบ นั้นยังคงเป็น ตราบาปทางการเมือง ของคนที่ รู้เท่าทัน นี่เป็น การบ้านข้อสำคัญ ของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ทีเดียว
•• เพราะพูดตามตรง คำแถลงว่าด้วยความจำเป็นของพรรคทางเลือก นั้นร่างให้ สวย, งาม อย่างไรก็ไม่เป็นปัญหาสำหรับ อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่เป็น คนเก่งโดยสายเลือด และมีผลงานชั้นเยี่ยมทางรัฐศาสตร์ที่กลายเป็น ตำนาน อย่าง สองนคราประชาธิปไตย แต่ “เซี่ยงเส้าหลง” ว่ามันเข้ากันไม่ได้กับภาพ ชนแก้วไวน์ ของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, วัฒนา อัศวเหม และ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เมื่อ ค่ำวันที่ 4 กรกฎาคม 2547 เลยจริง ๆ ทางที่ดีคุยกับพวกท่านเหล่านี้ให้ ช่วยหลังฉาก ดีกว่าออกมา กระดี๊กระด๊า เพราะการที่ สังศิต พิริยะรังสรรค์ ต้องออกมา แก้ต่างให้ เพื่อนรัก ทำนองว่า “...ไม่มีการเมืองที่สมบูรณ์แบบ พรรคไทยรักไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นแบบนี้ คือไม่ได้สมบูรณ์แบบ.” นั้นพูดตามตรงว่า ฟังไม่ขึ้น, อย่าพูดเสียดีกว่า เพราะมันจะสะท้อนพฤติกรรม เข้มงวดต่อผู้อื่น – ผ่อนปรนต่อตนเอง อันมิบังควรเลย
มาตรา 30 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
มาตรา 7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข