“รายการคนในข่าว” ประจำวันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน 254 ได้สนทนาในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ กทม. ของ 2 ผู้สมัครผู้ว่าฯ” โดยมีคุณสโรชา พรอุดมศักดิ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ และมี 2 ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. เข้าร่วมรายการ ซึ่งประกอบด้วย ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ และ คุณ ธวัชชัย สัจจกุล โดย“ธวัชชัย” ยก “ปวีณา” คู่แข่งคนสำคัญ ฟุ้งตนเองมีคุณสมบัติเหนือกว่า “ปิ๊ก” ทุกด้าน พร้อมเปิดกว้างดึงเป็นรองผู้ว่าฯ ด้าน “เกรียงศักดิ์” ยันไม่หวั่น นายกฯ ทำนายผู้ว่าฯ กทม.คนต่อไป ลงในนามอิสระ-อายุไม่ถึง 60 ปี
พิธีกร : สวัสดีค่ะ คุณผู้ชมขอต้อนรับเข้าสู่รายการตนในข่าวค่ะ ในช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระแสการชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำลังมาแรงเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประกาศตัวไปเรียบร้อยแล้วในนามของพรรคการเมืองในนามของอิสระถึงเวลานี้ก็เดินสายแถลงนโยบายของตนเองหรือแม้กระทั่งกระแสของพรรคไทยรักไทยว่าถึงเวลานี้แล้ว สก. สข. จะหันไปสนับสนุนใครพูดถึงประเด็นนี้แล้วคงต้องมาคุยกันถึงบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นคนของไทยรักไทยแต่สนใจจะลงสนามผู้ว่า กทม. ในเมื่อไทยรักไทยประกาศอย่างชัดเจนว่าจะไม่ส่งใครลงในนามของพรรคบุคลเหล่านี้จะตัดสินใจลงในนามของอิสระหรือไม่หรือบุคคลที่ตัดสินใจลงในนามของอิสระแล้วถึงเวลาจะไปขึ้นเสียงของไทยรักไทยหรือไม่ วันนี้เราจะมาติดตามกันในประเด็นนี้กันคะ ดิฉันได้เชิญแขกมา 2 คนคะซึ่งทั้งคู่สนใจสนามเลือกตั้ง กทม. อย่างชัดเจนทีเดียว ท่านแรกก็คือร้อยตำรวจตรีเกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ผู้ที่สนใจสนามผู้ว่าอย่างชัดเจนทีเดียวอีกท่านหนึ่งก็คือคุณธวัชชัย สัจจกุล หรือบิ๊กหอยค่ะ ส.ส. กทม. ของไทยรักไทยเอง วันนี้เราจะมาคุยกับทั้ง 2 ท่านคะ แต่ช่วงนี้นะคะเรียนให้คุณผู้ชมทราบซ่ะนิดนึงว่าในประเด็นนี้คุณผู้ชมสามารถที่จะเขียน SMSมาที่รายการของเราได้แสดงความคิดเห็นมีคำถามอะไรก็ถามเข้ามาได้ในระบบ DTAC และ AIS นะคะกด 11 เว้นวรรคพิมพ์ข้อความส่งมาที 85077 วันนี้ดิฉันมีเสื้อจะมาแจกให้ผู้ที่ส่ง SMS ถูกใจทีมงานเรามากที่สุดเป็นเสื้อของ 11 นิววันแห่งนี้นี่คะ นอกจากนี้ยังโทรมาในระบบปกตินี่นะคะหมายเลข 02-6294433คะพักสักครู่คะเดี๋ยวกลับมาคุยกันคะ
พิธีกร : มาถึงช่วงนี้ของตนในข่าวนะคะเราจะมาคุยกันทีละท่านดีกว่านะคะเพื่อความชัดเจนท่านแรกคะ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละตอนนี้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีและเป็นผู้ที่สนใจสนามเลือกตั้ง กทม. ทำไมถึงใช้คำว่าผู้ที่สนใจเลือกตั้งสนาม กทม. แหละคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ก็อาจจะเป็นเพราะผมโตมาจากที่นี่และก็ทำงานใน กทม.มา 30 ปีตั้งแต่เริ่มเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2515 ก็โอนมาจากปลัดอำเภอของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย 30 ปีเต็มที่อยู่มาตั้งแต่เป็นชั้นโทจนกระทั้งมาเป็นปลัดกรุงเทพมหานคร

พิธีกร : คุณเกรียงศักดิ์ใช้คำว่าผู้ที่สนใจแต่ยังไม่ประกาศอย่างชัดเจนทราบมาว่าคุณเกรียงศักดิ์เดี๋ยวจะมีเงื่อนไขในการลงชิงตำแหน่งหรือเปล่า
คุณเกรียงศักดิ์ : เงื่อนไขผมคงไม่มีนะครับเพราะว่าผมเรียนตรงๆว่าเราต้องการที่จะทำงานให้แก่สังคมและบ้านเมืองนะครับและก็เมื่อได้รับการพูดถึงก็คิดว่าตัวเองมีความพร้อมในเรื่องของประสบการณ์ในเรื่องของสุขภาพในเรื่องของความตั้งใจแล้วก็ถ้าหากได้รับการพิจารณา
พิธีกร : ได้รับการพิจารณาจากใครคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมเรียนอย่างนี้นะครับคือการที่จะทำงานอะไรก็แล้วแต่เราต้องศึกษาข้อมูลความเป็นจริงของโครงสร้างและบทบาทในการบริหารของงานนั้นๆให้ถ่องแท้เสียก่อนตรงนี้ผมคิดว่าผมคงจะเข้าใจตรงนี้ได้ดีว่า กทม. ทำอะไรได้บ้างทำอะไรไม่ได้บ้างแล้วก็การที่อยู่กับผู้ว่ามาตั้งแต่คนที่ 1 ถึงคนปัจจุบันก็ 13 ท่านเนี่ยนะฮะ ก็คิดว่าได้เห็นบทบาทวิธีการอะไรหลายอย่าง เพราะฉะนั้นก็คิดว่ากทม.ยังต้องการๆสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นสำคัญไม่งั้นงานต่างๆ คงเดินไปสู่ความสำเร็จได้ยาก
พิธีกร : ค่ะ คุณเกรียงศักดิ์เพิ่งบอกว่าตัดสินใจจะลงอย่างแน่นอนแล้ว ดิฉันต้องถามต่อค่ะว่าตกลงลงในนามของอิสระใช่หรือไม่
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ อย่างนี้ครับตอนนี้ ผมเสนอตัวและก็ได้รับการทาบทามอยู่กับไทยรักไทยวันนี้ขณะนี้ก็ยังอยู่กับไทยรักไทยยังไม่ได้เบนเข็มไปจุดอื่น แล้วก็ยังรอการตัดสินใจของไทยรักไทย
พิธีกร : รอการตัดสินใจเหรอคะ ท่านนายกก็พูดออกค่อนข้างจะชัดเจนแล้วคะว่าตกลงพรรคไม่ส่งแน่ผู้ว่ากทม. ก็คือใครอยากลงก็ไปลงอิสระ
คุณเกรียงศักดิ์ : ครับ
พิธีกร : แล้วยังรออะไรอยู่ล่ะคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ ขณะนี้จริงๆ แล้วก็ได้รับข่าวทางสื่อนะ ด้วยการที่ได้ข้อมูลอย่างชัดเจนจากผู้บริหารของพรรคยังไม่ถึงตัวของผมนะครับ เพราะฉะนั้นก็เพียงแต่ว่าติดตามทุกขั้นตอนของผู้สมัครทุกคนและก็ติดตามทุกขั้นตอนของไทยรักไทยด้วยก็ของเวลาอีกนิดนึงยังคิดอะไรไม่ออกนะ
พิธีกร : คุณเกรียงศักดิ์พูดอย่างนี้หมายความว่าจริงๆ แล้วถ้าเกิดพูดกันภายในไทยรักไทยอาจจะยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะไม่ส่งเหรอคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือผมคิดว่า ขออนุญาตเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ คงไม่บังอาจไปเสนอแนะกับทางผู้บริหารพรรค แต่ใจก็ยังคิดว่าพรรครัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญนะครับ เพราะฉะนั้นการจะส่งลงหรือจะสนับสนุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นก็อยากจะรอฟังตรงนี้อีกสักครั้ง
พิธีกร : ค่ะ และถ้าหากว่าได้รับการยืนยันจากผู้บริหารพรรคแล้วว่าไทยรักไทยไม่ส่งแน่ล่ะสนามผู้ว่า คุณเกรียงศักดิ์ยังจะลงไหมคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : เมื่อถึงวันนั้นผมคงต้องตัดสินใจในบางสิ่งบางอย่าง มันก็มีอยู่ 2 อย่าง คือ 1.ตัดสินใจพร้อมที่จะลง กับ 2.ก็ตัดสินใจที่ไม่ลง หรือ 3.ตัดสินใจที่จะร่วมสนับสนุนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทีมใดทีมหนึ่ง ก็เป็นไปได้ทั้ง 3 ทาง
พิธีกร : มันแตกต่างกันตรงไหนคะกับการลงเป็นตัวแทนพรรคไทยรักไทยกับการลงอิสระ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมคิดว่าวันนี้รัฐบาล การเมืองมันเหลือ 2 ขั้วมันไม่เหมือนในอดีต ในอดีตพรรครัฐบาลมีตั้ง 6 – 7 พรรค เพราะฉะนั้นการลงอิสระต้องไม่อยู่ในความเป็นไปได้ ตอนนี้ผมยังคิดว่าการเมืองมันเหลืออยู่ 2 ขั้วเห็นๆ เพราะฉะนั้น กทม.น่าจะอยู่ภายใต้ การกำกับหรือสนับสนุนของรัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายแนวทางของ ท่านนายก ซึ่งเราคิดว่าเหมาะแก่การที่จะนำกรุงเทพฯไปสู่ความสำเร็จ ตรงนี้ก็เป็นจุดยืนที่คิดว่ากรุงเทพฯเหมาะที่จะอยู่กับพรรคที่เป็นรัฐบาล
พิธีกร : ค่ะ สมมุตินะคะว่าพรรคไทยรักไทยบอกชัดเจนว่าจะไม่ส่งผู้ว่า ผู้ที่จะชิงตำแหน่งผู้ว่าและคุณเกรียงศักดิ์ตัดสินใจลงอิสระ ดิฉันจะสามารถสรุปได้ไหมคะว่าคุณเกรียงศักดิ์ได้รับการยืนยันเป็นการภายในจากพรรคว่า สก. สข. ของพรรคจะสนับสนุนคุณเกรียงศักดิ์
คุณเกรียงศักดิ์ : ตรงนี้ผมคงจะไปกำหนดและก็เชื่อมั่นด้วยคำพูดตัวเองคงไม่ได้ เพราะว่าวันนี้เราจะเห็นว่าผู้ที่เสนอตัวหรือมีชื่ออยู่ในพรรคไทยรักไทยนะครับ ก็เสนอตัวมาลงอิสระกันหลายท่านไม่น้อยกว่า 3 – 4 ท่าน เพราะฉะนั้นเราก็ไม่สามารถจะไปกำหนดได้ว่าใครจะสนับสนุนมาที่ตัวเราหรือที่กลุ่มใด ผมว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่ความมั่นใจของตัวเองนะครับ ผมก็มีความมั่นใจว่ามีความพร้อมในจุดหนึ่งว่าพร้อมที่จะทำงานให้ กทม.
พิธีกร : พร้อมที่จะทำงานให้กทม. เหลือการตัดสินใจเพียงอย่างเดียวว่าตกลงพรรคจะสนับสนุนหรือไม่อยู่ที่ประเด็นสุดท้าย แสดงว่าตอนนี้นโยบายพร้อมหมดแล้วสิคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : จริงๆ แล้วเราทำงานที่นี่มา 30 ปีนะครับ มองเห็นก็น่าจะชัดเจน ว่าจะทำอะไรบ้างแล้วทำอะไรได้บ้าง แล้วทำอะไรไม่ได้บ้างก็คิดๆอยู่นะครับ
พิธีกร : มีอะไรที่ทำไม่ได้ก่อน
คุณเกรียงศักดิ์ : คือจริงๆ ต้องเข้าใจบทบาทของการบริหาร กทม.ก่อนในวันนี้นะครับ ผมยังคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราจะทำอย่างไรให้การบริหารตรงนี้มีความสมบูรณ์ ไม่ค่อยมีใครพูดกันเรื่องบริหาร ส่วนใหญ่พูดกันเรื่องของความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นโน้นเห็นนี่ แก้ปัญหาจราจร แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาในเรื่องการศึกษา หรืออะไรก็ตามแต่ แต่จริงๆ แล้วผมอยากเห็น กทม. เริ่มต้นด้วยการที่ทำให้ถูกต้องเดินไปตามทิศทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดนะครับ นั่นคือการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง คือรัฐบาลกลางมาให้ท้องถิ่นให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะวันนี้เราก็พูดตรงๆ ตำรวจก็ไม่ได้ขึ้นกับ กทม. สาธาราณูปโภคก็ไม่ได้ขึ้นกับ กทม. ระบบขนส่งมวลชนก็ไม่ได้ขึ้นกับ กทม. ไม่ว่าจะเป็นการทางพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น ขสมก. ไม่ว่าจะเป็น รฟภ. อะไรก็ตาม ไม่ได้ขึ้นทั้งสิ้น แล้วก็ยังมีเรื่องการศึกษาก็ยังมีโรงเรียนของสังกัดกระทรวงศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ กทม. เรื่องของสาธารณสุข ก็จะมีโรงพยาบาลของกระทรวงไม่ใช่โรงพยาบาลของ กทม.
พิธีกร : คือสรุปได้ว่าคุณเกรียงศักดิ์ทราบแก่นแท้แล้วว่าจริงๆ แล้วอำนาจไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้ว่าฯกทม. มากสักเท่าไหร่นัก
คุณเกรียงศักดิ์ : ถูกต้อง
พิธีกร : แล้วที่จะทำนี่คืออะไรคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ก็คืออย่างนี้ครับ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้วว่าจะต้องมีการกระจายอำนาจส่งมาให้ท้องถิ่น แต่จริงๆ จะต้องให้เสร็จสิ้นภายในปี 47 ด้วยซ้ำไปซึ่งขณะนี้ถ้า กทม.กับรัฐบาล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การกระจายอำนาจก็จะมีความชัดเจนและรวดเร็วแล้วก็สมบูรณ์ขึ้น ถ้าเมื่อองค์กรของ กทม.มีความสมบูรณ์พร้อมนั่นแหละครับเราจึงจะบอกว่าเราจะทำตรงนั้นได้ ตรงนี้ได้
พิธีกร : คิดว่าจะแก้ตรงนี้ก่อน เมื่อแก้ตรงนี้เสร็จแล้วคิดว่าจะใช้เวลาสักกี่ปี 4 ปีในสมัยแรกถ้าหากว่าได้เป็นจะแก้เสร็จไหมคะตรงเรื่องกระจายอำนาจ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมว่ารูปแบบของการกระจายอำนาจก็น่าจะพร้อมอยู่แล้วเพียงแต่กระจายภารกิจ กระจายคน กระจายเงินมาให้ทุกอย่างมันก็ทำเหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนหัวแทนที่จะไปขึ้นอยู่กับกระทรวงคมนาคมก็มาขึ้นอยู่กับ กทม.เป็นต้น เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วจุดภารกิจนี่ไม่น่าหนักใจ เพียงแต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้มีการกระจายให้มันมีความรับผิดชอบให้เป็นหนึ่งตรงนี้เป็นส่วนสำคัญนะครับ
พิธีกร : มาแนวที่ผิดแปลกจากคนอื่น ผู้สมัครคนอื่น
คุณเกรียงศักดิ์ : แน่นอน
พิธีกร : เพราะว่าคุณเกรียงศักดิ์ยังไม่ได้พูดถึงปัญหาจราจร ยังไม่ได้พูดถึงการศึกษา การเรียน ยาเสพย์ติดยังไม่ได้พูดถึงเลย
คุณเกรียงศักดิ์ : คือจุดนี้เป็นจุดเริ่มที่จะต้องมีแผนตรงนี้ และจะต้องมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ แต่แน่นอนครับจุดที่ 2 เราจะมารอให้มันสำเร็จทันทีก็ไม่ได้ แต่ตรงนี้ต้องเริ่มและต้องทำแล้วมันจะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในอนาคตของกรุงเทพมหานคร
พิธีกร : สิ่งแรกในการดำเนินการกระจายอำนาจนี่นะคะ แน่นอนว่าต้องมีการแก้ปัญหาที่ควบคู่กันถูกไหมค่ะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ถูกต้องครับ
พิธีกร : ปัญหาอันไหนที่เร่งด่วนที่สุดในสายตาของคุณเกรียงศักดิ์
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมคิดว่าเราเป็นงานท้องถิ่นนะครับ เราก็ต้องทำในสิ่งที่เป็นเรื่องท้องถิ่นให้สมบูรณ์ คำว่าท้องถิ่นนั้นก็คือว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีความสะดวกสบายมีความสุข นี่คือหลักการ เพราะฉะนั้นถ้าถามผมนี่มันไม่มีอะไรที่จะชัดเจนเท่ากับที่ผมจะเน้นนะ 1.ต้องมีเรื่องความสะอาด ความสะดวก ความสบาย ปลอดภัย ไร้มลพิษ และคุณภาพชีวิตต้องดีขึ้น 6 ประการนี่ก็ครอบจักรวาลภารกิจของ กทม.แล้ว แต่ว่าแต่ละเรื่องจะทำอย่างไรมันจะใช้เวลาที่จะต้องอธิบาย
พิธีกร : ค่ะ ในขณะที่คุณเกรียงศักดิ์ ยังไม่ได้กระโดดลงไปสมัครอย่างเป็นทางการนะค่ะ กำลังมองอยู่ภายนอก มองเข้าไปภายในแล้วถึงผู้สมัครที่ประกาศตัวไปเรียบร้อยแล้วเนี่ยนะค่ะคิดยังไงค่ะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ในฐานะที่ตัวเองต้องถือว่าเป็นคนกรุงเทพฯ แล้วทำงานกรุงเทพฯมา 30 ปี ผมขอชื่นชมการเสนอตัวของทุกท่าน ผมถือว่าทุกท่าน มีความมุ่งมั่นที่อยากจะทำงานให้กับเมืองหลวง ซึ่งผมก็เคยทำงานอยู่ตรงนี้ แล้วก็มีเจตนา มีความตั้งใจ ตรงนี้ต้องชื่นชมและเป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง เพราะเป็นภารกิจที่ค่อนข้างใหญ่หลวงสำหรับคนที่ไม่เคยผ่านงานตรงนี้มาเลย แต่เสนอตัวที่อยากจะมาทำและอยากมาแก้ปัญหาตรงนี้ผมต้องชื่นชม แต่ผมคงไม่กล้าวิจารณ์ถึงคุณสมบัติของแต่ละท่าน เพราะแต่ละท่านก็ต้องมีความสามารถหรือสไตล์ของแต่ละคน เราจะไปบอกสไตล์ นาย กอ ไม่ดี สไตล์ นาย ขอ ไม่ดี มันไม่ได้
พิธีกร : งั้นถามอย่างนี้ค่ะบอกว่าจริงๆ แล้วท่านนายกพูดชัดเจนเมื่อวานนี้เองนะคะ ว่าท่านรู้แล้วล่ะว่าผู้ว่า กทม.คนต่อไปคือใครลงในนามอิสระและอายุไม่ถึง 60 คุณเกรียงศักดิ์เกินแล้วนี่คะรู้สึกหวั่นผวาไหมคะกับคำพูดของท่านนายกฯ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมก็คิดว่าท่านก็ต้องมีเหตุผลของท่าน ผมก็ยังไม่ได้ตัดสินใจเด็ดขาด วันนี้ก็ต้องฟังท่านนะครับว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร หรือว่าได้ข้อมูลมาอย่างไร
พิธีกร : แล้วถ้าหากว่าได้คุยกับท่านแล้วว่าเหตุผลท่านคืออะไรบ้างคิดจะเบนเข็มไหมคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ ต้องเรียนอย่างนี้นะครับว่าเรามีประสบการณ์มาตรงนี้ เรามีข้อมูลความรู้ สิ่งต่างๆ จากตรงนี้ก็ต้องเรียนว่าให้ความสนใจตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเรามีความรู้ตรงนี้แล้วเสนอตัวไปสมัครที่ภูเก็ตหรือสมัครที่เชียงใหม่คงไม่เหมาะ ทีนี้เราคิดว่าเราเหมาะกับตรงนี้เราก็เสนอตัวอยู่ตรงนี้
พิธีกร : ถ้าเสนอตัวลงไปแล้วคิดว่าจะได้เสียงสักเท่าไหร่คะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ ถ้าตัดสินใจในเมื่อวันนั้นมาถึงเนี่ย เราก็ต้องคิดว่าเรามีโอกาสที่จะได้รับการเลือก เพราะถ้าเราคิดว่าเราไม่ได้ไม่รู้จะลงไปทำไมถ้าคิดว่าจะไม่ได้นะ เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่คงจะต้องใช้ความรอบคอบพิจารณาแล้วก็ศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจ
พิธีกร : สนามเลือกตั้งผู้ว่าครั้งนี้ถือว่าเป็นสนามที่มีข่าวเยอะพอสมควรเกี่ยวกับในเรื่องของว่าถ้าหากท่านไหนสมัครไม่ได้แล้วจะมาเป็นทีมรองผู้ว่าของผู้ที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น คุณเฉลิม หรือว่า คุณปวีณา อะไรก็แล้วแต่เนี่ยนะคะ นึกไว้รึยังคะว่าถ้าหากว่าได้แล้วทีมรองผู้ว่าจะเป็นใคร
คุณเกรียงศักดิ์ : อ๋อ แน่นอนครับผมก็ต้องมีความพร้อมตรงนี้อย่างชัดเจน แล้วผมย้ำตรงนี้อีกนิดนึงนะครับว่าสังคมวันนี้ กทม.นี่ ทีมของผู้บริหาร ผมใช้คำว่า ผู้บริหาร กทม.นะครับ
พิธีกร : ค่ะ
คุณเกรียงศักดิ์ : เอาเฉพาะผู้ว่า และรองผู้ว่าอีก 4 จะไม่พูดถึงที่ปรึกษาอีก 9 คน จะไม่พูดถึงเลขา
ทุกคนนี่ต้องมีคุณสมบัติที่จะพร้อมที่จะทำงานเสมือนหนึ่งเป็นผู้ว่าเหมือนกัน เพราะฉะนั้นทีมของการบริหารนี่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งหมดยุคของศิลปินเดี่ยวนะ ที่หมายความว่าจะต้องชูผู้ว่าอยู่คนเดียวคงไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าพูดตรงๆ แล้วตรงนี้ทุกคนก็ต้องมีความพร้อมนะครับ
พิธีกร : มีพร้อมแล้วนะคะ ที่สำคัญก็คือจุดเด่นของท่าดูเหมือนจะอยู่ที่ว่าการเป็นปลัด กทม.มาตลอด 13 ผู้ว่าที่ผ่านมาคิดว่าเป็นจุดเด่นสุดของตัวเองไหมคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะคนเราถ้าจะทำงานแก้ปัญหาก็ต้องรู้ปัญหา และเข้าใจปัญหามันถึงจะแก้ปัญหาสำเร็จ เพราะฉะนั้นในสิ่งที่เราทำงานมาตลอดเวลาตั้งแต่ชั้นผู้น้อยจนกระทั่งระดับสูงสุด เราอยู่ใกล้ชิดผู้ว่ามาทุกคนก็น่าจะเห็นปัญหาต่างๆ ได้ดีพอสมควร
พิธีกร : คิดว่าจะฝากอะไรไหมค่ะ ช่วงสุดท้ายนี้ ฝากอะไรถึงประชาชนชาว กทม.ว่าจริงๆ แล้วตกลงพูดมาตลอดเหมือนกับว่าตัดสินใจแล้วว่าจะลงอย่างแน่นอนดิฉันฟังแล้วเอ๊ะยังไง
คุณเกรียงศักดิ์ : ก็ใช้คำถามนำผมๆ ก็คงไปทางไหนไม่ได้วันนี้มาพูดถึงเรื่อง กทม.ก็ต้องแสดงเจตนาไว้ก่อนว่ามีความตั้งใจ ผมคิดว่าวันนี้นะที่จะฝากไว้คือว่าบ้านเมืองเป็นของประชาชนนะไม่ใช่เป็นของนักการเมืองหรือว่าเป็นของข้าราชการ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือความร่วมมือมันจะไม่ประสบความสำเร็จเลยถ้าประชาชนไม่สนับสนุนและไม่ให้ความร่วมมือ แล้ววันนี้มันถึงเวลาที่จะต้องระบบของราชการ ระบบของการเมืองและระบบของประชาชนหรือเอกชน จะต้องเดินควบคู่ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นความสำเร็จต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยความร่วมมือ เพราะฉะนั้นความร่วมมือจะเกิดขึ้นก็อยู่ที่ประชาชนต้องมีความศรัทธาในผู้บริหาร ผมก็คิดว่าถ้าเราจะมีโอกาสทำงานก็ต้องดึงประชาชนมาเป็นผู้ร่วมทำงานด้วยในกรุงเทพมหานครไม่งั้นการแก้ปัญหาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย
พิธีกร : ค่ะ และนี่ล่ะค่ะ คุณผู้ชมเรื่องราวของร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ตอนนี้อยู่ในฐานะผู้ที่สนใจผู้ที่จะลงสนามผู้ว่า กทม. ความเคลื่อนไหวของท่านนี้จะเป็นอย่างไรติดตามกันต่อไปค่ะ ขอบพระคุณที่ให้เกียรติมาร่วมรายการคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ครับ ขอบคุณครับ
พิธีกร : คุณผู้ชมคะ พักกันสักครู่นะคะ เดี๋ยวกลับมาเรามาคุยกับผู้สมัครอีกท่านหนึ่งท่านนี้ประกาศเรียบร้อยแล้วอย่างเป็นทางการให้ด้วยว่าจะลงสมัครในนามของอิสระแน่ๆ คุณธวัชชัย สัจจกุล จะมีอะไรมาพูดกับพวกเราเดี๋ยวกลับมาติดตามกันค่ะ
พิธีกร : กลับมาสู่รายการตนในข่าวนะคะ คนที่เราจะคุยกันท่านต่อไปก็คือ ท่านนี้ค่ะคุณธวัชชัย สัจจกุล หรือว่ารู้จักกันดีในนามของ บิ๊กหอยนะคะ “ทุกข์ของท่าน ปัญหาผม ให้โอกาสเป็นผู้ว่านะครับ ธวัชชัย สัจจกุล” วันนี้ยินดีต้อนรับสู่รายการค่ะ สวัสดีค่ะ
คุณธวัชชัย : สวัสดีครับ
พิธีกร : มาเริ่มต้นกันด้วยคำถามยอดฮิตก่อนนะคะ เพราะว่าเมื่อวานนี้ท่านนายกก็เพิ่งพูดไปสดๆ ร้อนๆ เลยว่าท่านรู้แล้วล่ะว่าผู้ว่าคนต่อไปคือใคร และคนนั้นคือ ลงในนามของอิสระและอายุไม่เกิน 60 ปี คุณธวัชชัยเกินแล้วใช่ไหมคะ
คุณธวัชชัย : เกินแล้วครับ
พิธีกร : รู้สึกยังไงบ้างคะหวั่นไหวไหมกับคำพูดของท่านนายก
คุณธวัชชัย : ไม่ครับ
พิธีกร : ไม่เลยเหรอคะ
คุณธวัชชัย : เพราะว่าจริงๆ ก่อนที่ผมจะเปิดตัวลงมา ผมก็ดูแล้วคิดว่าในคู่ต่อสู้ทั้งหมดที่มีถึงแม้จะเปิดตัวช้าไปหน่อยผมเชื่อว่าถ้าวันนี้ผมยังอยู่ห่างในเรื่องของความนิยมผมเชื่อว่าผมไล่ทัน
พิธีกร : ถึงแม้ว่าจะช้ายังไล่ทันเหรอคะ
คุณธวัชชัย : ผมเชื่อว่าผมไล่ทัน
พิธีกร : ทำไมถึงคิดอย่างนั้นล่ะคะ
คุณธวัชชัย : ก็ถ้าคาดการณ์ของผมไม่ผิดนะครับในเรื่องของความนิยมวันนี้ บุคคลที่ท่านนายกพูดถึงน่าจะเป็นคุณปวีณา เพราะว่าผมเป็นนักการเมืองผมลงสมัครเลือกตั้ง ผมต้องรู้เขารู้เรา ผมก็มีวิธีการเช็คของผมเหมือนกันว่าท่านใดคือบุคคลคนนั้น
พิธีกร : อ๋อ แต่สรุปก็คือท่านนายกพูดถึงคุณปวีณา
คุณธวัชชัย : ผมเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ประวัติศาสตร์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เมื่อตอนที่เริ่มเปิดตัวใหม่ๆ คุณปวีณาก็อยู่ในสถานะเดียวกัน คือ ผู้นำ ผมก็ลงมาที่หลัง แต่ว่าตอนจบ คุณปวีณาได้ 92,000 คะแนน ผมได้ 247,000 คะแนน เพราะฉะนั้นถ้ามองจากตรงนี้ผมไม่ค่อยหวั่นไหวเท่าไหร่ ข้อที่ 2ที่ผมมองก็คือว่าผมยังมองว่าวันนี้ สิ่งที่คุณปวีณาทำในเรื่องของการเมืองน่านับถือ น่ายอมรับในเชิงของในเรื่องสวัสดิการสังคมต่างๆ ผมเองผมก็ยอมรับว่าเธอทำงานได้ดีมาก ผมยังคิดด้วยซ้ำว่าถ้าผมไล่เธอทันและผมแซงเธอ ผมอยากจะเชิญเธอมาเป็นรองผู้ว่าให้ผมทำงานในเรื่องพวกนี้นะฮะ นโยบายของผมน่าจะกว้างกว่า
พิธีกร : กว้างกว่าคุณปวีณาเหรอคะ
คุณธวัชชัย : กว้างกว่าคุณปวีณา และผมคิดว่าในเรื่องของคุณสมบัติส่วนตัวนะผมว่าผมน่าจะดีกว่าเธอนะครับ ผมจบวิศวะ ผมจบบริหารจากจุฬาทั้งการจัดการและก็ประสบการณ์โดยทั่วๆ ไปผมน่าจะเหมาะสำหรับงานนี้มากกว่าคุณปวีณา ซึ่งต้องถือว่ามีคุณสมบัติหลักพิเศษในเรื่องของสวัสดิการสังคม

พิธีกร : คุณธวัชชัยพูดแต่ถึง คุณปวีณา แปลว่าไม่ห่วงคุณอภิรักษ์ ไม่ห่วงคุณชูวิทย์ ไม่ห่วงคุณเฉลิมเลยเหรอคะ
คุณธวัชชัย : อย่างที่ผมเรียนคุณสโรชาเมื่อนะครับ ก่อนที่ผมจะเปิดตัวระยะที่ผ่านมาหลายๆเดือน ผมก็มีวิธีการตรวจเช็คของผมเหมือนกัน ว่าวันนี้ผมจะต้องไปเจอกับใครก็ไม่ทราบจะเหมาะสมรึเปล่า วันนี้ต้องขออนุญาตเรียนว่า คุณอภิรักษ์ ถ้าผมไม่ลงไม่ใช่คู่ต่อสู้คุณปวีณานะฮะ ผมทำงานผมทำการบ้าน ผมคิดว่าผมเปิดตัววันนี้ อย่างน้อยผมน่าจะแซงคุณเฉลิมกับคุณชูวิทย์ได้ คิดว่าอีกไม่นานหลังจากผมเปิดตัวแล้วน่าจะแซงคุณอภิรักษ์ได้ในเวลาไม่นาน
พิธีกร : แสดงว่าที่ดูมาทั้งหมดนี่คิดว่าคุณปวีณาคือ คู่แข่งที่แท้จริงของคุณธวัชชัยใช่มั้ยคะ
คุณธวัชชัย : ครับ
พิธีกร : งั้นมาคุยถึงเรื่องนโยบายบ้าง “ทุกข์ของท่าน ปัญหาของผม” ทำไมชีวิตคนกรุงเทพฯนี่ทุกข์เยอะมากเลยเหรอคะ
คุณธวัชชัย : ก็แล้วแต่ใครจะมีทุกข์อะไรนะ ผมคิดว่าทุกข์ของคนกรุงเทพฯ ผมเชื่อว่าทุกคนมีทุกข์แน่ ทุกประเด็นของคนกรุงเทพฯ ผมไม่เชื่อว่าทุกคนจะมีความสุขร้อยเปอร์เซ็นต์ อันนี้ผมคิดว่าทุกข์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชาว กทม.เนี่ย เป็นหน้าที่ของผู้ว่า กทม.ซึ่งจะมีอำนาจรับผิดชอบโดยตรงหรือไม่ก็ตามจะต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพ อย่าไปบอกว่าถ้านักเรียนตีกัน ถ้าเกิดยิงกันขึ้นมาเป็นเรื่องของตำรวจกับกระทรวงศึกษาแล้วก็สารวัตรนักเรียน ไม่ใช่ อะไรที่เป็นทุกข์ของชาว กทม.ผู้ว่าต้องเข้าไปรับผิดชอบหมด ผู้ว่าจะต้องเข้าไปประสานงานให้ได้นะฮะว่าวันนี้ ปัญหาเรื่องที่เราคุยกันมันแก้ยังไง
พิธีกร : แต่มีหลายคนวิจารณ์ว่าจริงๆ แล้วผู้ว่าก็ไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้นที่วาดฝันกันเข้าไปถึงเวลาจริงๆ ก็จะรู้ว่าทำไม่ได้หรอก
คุณธวัชชัย : เขาไม่เก่งไง
พิธีกร : อ้าว
คุณธวัชชัย : ใช่มั้ย จริงๆ แล้วผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เขาพร้อมจะให้ความร่วมมือ อย่าไปนั่งดูอยู่เฉยๆ สิฮะ กดโทรศัพท์แล้วมานั่งคุยกันเรื่องนี้หน่อยว่าปัญหารถซิ่ง ชาวบ้านเขาเริ่มเดือดร้อนจริงแก้ยังไง ข้อมูลที่ผมได้มา ก็คือว่าการที่จะจับรถซิ่งมอเตอร์ไซด์ซิ่ง เขาต้องใช้รถบัสที่จะไปปิดตามถนนอย่างน้องต้องมี 8 คัน กำลังตำรวจอีกประมาณ 200 คน ถามว่าวันนี้ตำรวจแต่ละโรงพักเขาจัดเวรจัดยามกันมาจำนวนบุคคลากรไม่พออยู่แล้ว พอจะมาจัดทำงานพิเศษเขาต้องเอาคนซึ่งออกเวรเข้ามาทำงาน วันนี้งบประมาณโรงพักหรือกองกำกับต่างๆ ไม่ได้มีตังค์หรอกครับที่จะเช่ารถเมล์มาปิด ไม่ได้มีตังค์แม้กระทั่งจะซื้อข้าวต้มให้ตำรวจที่เขาออกเวรแล้วเนี่ยมาทำงานพวกนี้ อันนี้ผู้ว่าต้องเข้ามารับผิดชอบในเมื่อตำรวจไม่มีงบผู้ว่ามีงบกลางของผู้ว่ามีตลอด ในสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ก็จัดไปสิครับ รถบัสค่าเช่ากลางคืน 2,000 บาท ก็ว่าไป 8 คัน ก็หมื่นกว่าบาทอันนี้ ผู้กำกับก็ต้องควักตังค์เอง ไหวเหรอฮะใครจะมานั่งทำอยู่ ทุกครั้งที่อยากจะทำงานรับใช้ประชาชนหมายถึงว่าต้องควักตังค์เอง เรียกแต่ละกองกำกับ แต่ละโรงพักมา มันเป็นกฐิน เฮ้ย ช่วยอั๊วหน่อยนะขอสัก 20 ขอกันไปขอกันมาอยู่อย่างนี้ ตำรวจไทยไม่ค่อยจะได้พักผ่อน ขอยังไงผมโทรศัพท์ครั้งนี้ขอไปทีมแล้ว อีก 2 – 3 อาทิตย์มาอีกแล้ว ท่านได้หน้ากองบังคับการได้หน้าหรือผู้บัญชาการเขตนครบาลเราได้หน้า ประชาชนบอกว่าท่านเก่ง ถามว่าใครจ่ายล่ะ ไม่มีใครจ่าย
พิธีกร : ก็คือ กทม. ต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพ
คุณธวัชชัย : เข้ามาเป็น แม้กระทั่งเรื่องงบประมาณของทาง กทม.เองเนี่ย จริงๆ แล้วงบประมาณของกทม.เองเนี่ยมันจะผ่านเข้ามาในหน่วยงานของกระทรวงการคลังมาก โดยเฉพาะงบตำรวจเนี่ยมันจะผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีกำลังพลอยู่ 22,000 ตามทฤษฎีของเมืองหลวง กำลังพล 22,000 เป็นตำรวจของทางด้านอาชญากรรม 1,000 คน เป็นตำรวจจราจร 6,000ข้อเท็จจริงสำหรับประชากร 6,000,000 คนกำลังตำรวจต้อง 30,000 ถามว่าตรงนี้ขาดไปแล้ว 8,000 แต่ถ้าเรามามองข้อเท็จจริงของชาว กทม.วันนี้ ประชาชนชาว กทม.ที่ไม่ได้ลงทะเบียนมีสำมะโนครัวใน กทม.อีกประมาณ 5,000,000 กว่า เพราะฉะนั้นกำลังตำรวจตรงมันต้องไม่ใช่ 30,000 คนด้วยซ้ำไป วันนี้ 30,000 เรามีแค่ 22,000 จริงๆ เราต้องมี 60,000 ถามว่างบตรงนี้มันไปรวมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเวลาเข้าไปในสำนักงบประมาณเข้าไปในสภาไปมีกรรมาธิการงบประมาณให้เขาตัดไม่มีเจ้าภาพ ไม่เคยมีใครทำ ถ้าผมเป็นผู้ว่าอันนี้ผมต้องเป็นเจ้าภาพ ผมต้องประสานงานกับ ส.ส.กทม. แล้วประกาศให้สื่อมวลชนทราบด้วยว่าวันนี้ผมจะเข้าไปรับผิดชอบเรื่องนี้และผมต้องการ การสนับสนุนจาก ส.ส.กทม.เพื่อจะมาเป็นเจ้าภาพว่าวันนี้นครบาลเป็นอย่างนี้ วันนี้นครบาลแต่ละโรงพักมีงบ 15 คัน เสียซะ 8 ใช้ได้ 7 อีก 8 คนก็อยากมีผลงานก็ควักเงินซ่อมเอง
พิธีกร : ที่พูดมาทั้งหมด เพียงแต่ว่ามันจะต้องใช้ความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย
คุณธวัชชัย : แน่นอน และผู้ว่าอย่าไปหลงตัวเองว่าได้คะแนน 1 ล้าน 7 แสน 8 แสน มาแล้วว่าฉันคือพระเอก เพราะประชาชนชาว กทม.เลือกฉันมา คือผู้ว่าเนี่ยจริงๆ แล้วถ้าคิดจะทำงานจริงๆ อยากจะรับใช้ประชาชนผู้ว่าฯ ต้องลงไปหาเขา เพราะว่าคนที่ใหญ่ที่สุด ก่อนที่เราจะมาเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลิส ก็ได้รับเลือกตั้งมาไม่เกินแสนคะแนน แต่ผู้ว่า กทม.คนเดียวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8 แสน ก็คือว่าโอ้โหใหญ่โตมโหฬาร เพราะว่าคน 8 แสนเลือกมา แต่อำนาจจริงๆ ทางกฎหมายมันไม่มี มันเป็นแค่ยักษ์ไม่มีกระบอง เพราะฉะนั้นจะต้องลงไปลงไปหาเขา มันไม่ใช่งานยากนะฮะ เพราะว่าถึงเวลาถ้าเลือกตั้งก็ลงไปกราบไหว้ขอคะแนนประชาชนได้ ถ้าถึงอีกวันหนึ่ง ท่านจะต้องไปยกมือไหว้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้กำกับของโรงพักในระดับพันเอกผมไม่เห็นมันจะเสียหายตรงไหน ถ้าสิ่งเหล่านั้นท่านไปหาเขาแล้วทำให้ลดทุกข์ให้ชาว กทม.
พิธีกร : คุณธวัชชัยคิดว่า การมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพรรคไทยรักไทยจะมีประโยชน์ในการดำรงตำแหน่งมากน้อยขนาดไหนคะ
คุณธวัชชัย : อันนี้มีแน่ในเรื่องของงบประมาณ เพราะว่าผู้ว่าคนต่อไปไม่ว่าใครก็ตามที่ชนะเลือกตั้ง ถ้าต้องการจะลดทุกข์ของชาว กทม.จริงๆ เนี่ย พูดถึงเรื่องจราจรอย่างเดียว ท่านนายกท่านก็ประกาศมาเมื่อสัก 3 – 4 เดือนที่แล้วว่าจะจัดงบประมาณแก้ปัญหาของจราจรของกรุงเทพฯ แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่น ท่านนายกท่านมีงบกลาง ผมถึงได้บอกไว้ไงว่าคนที่จะมาเป็นผู้ว่าต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพมาคุย อะไรที่มันเร่งด่วนเอาขึ้นมาให้นายกรัฐมนตรี
พิธีกร : แต่ถ้าเกิดคุณธวัชชัยมาเป็นแล้วไม่เกิดปัญหานี้
คุณธวัชชัย : ไม่มีแน่ฮะ เพราะผมศึกษามาหมดแล้ว ผมลงมาแล้วครั้งหนึ่งผมได้ที่ 3 หลังจากนั้นผมก็ยังคิดของผมเรื่อยๆ ว่าผมน่าจะมีโอกาสได้ลงอีก เพราะว่า 4 ปีที่ผ่านมาผมศึกษาทุกอย่าง การบริหาร กทม.เป็นยังไง วัฒนธรรมของข้าราชการ กทม.เป็นยังไง การประสานงานจะต้องทำยังไงบ้าง เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าผมอยากเสนอตัวลง เพียงแต่ว่าที่ผมช้าเพราะว่าในพรรคไทยรักไทย ผมเสนอตัวลงชัดเจน แต่คนที่เหนือกว่าผมตามความเป็นจริงในเชิงการเมือง กทม.คือ ท่านปุระชัย และท่านสุดารัตน์ ผมอยู่คิว 3 แต่ผมก็แอบฝันเงียบๆ ก็คิดว่าในที่สุดพรรคไทยรักไทยต้องให้ผมลงเผอิญนโยบายพรรคเปลี่ยน แต่ไม่ใช่เป็นเพราะกลัวแพ้ผมเรียนยืนยันไทยรักไทยไม่เคยกลัวแพ้
พิธีกร : อ้าวแล้วทำไมถึงไม่ส่ง
คุณธวัชชัย : อาจจะเป็นเงื่อนไขทางการเมืองเรื่องอื่นนะฮะท่านเรียกผมไปบอกก่อนที่ท่านจะประกาศอย่างเป็นทางการไม่กี่วัน ท่านบอกว่าท่านไม่ส่งแล้วล่ะผู้ว่า ผมก็ถามทำไมล่ะครับ วันนี้กระแสมันออกมาค่อนข้างรุนแรงมากว่าพรรคไทยรักไทย มีอำนาจเบ็ดเสร็จเป็นรัฐบาลเกือบจะเป็นพรรคเดียวอยู่แล้ว แล้วก็ถ้าได้อำนาจในการปกครองท้องถิ่นโดยเฉพาะสาย กทม. อาจจะมีแรงต้านมาจากคน กทม.ว่ามีอำนาจมากเกินไป แล้วในการเลือกตั้งใหญ่เราอาจจะไม่ได้ ส.ส.กทม.มากพอจะสร้างความชอบธรรม ไม่ใช่ไม่มีความชอบธรรมถึงแม้เราจะแพ้ ส.ส.กทม.หมดเลยและชนะในต่างจังหวัด แต่มันเป็นเรื่องปกติของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่อยากได้ความชอบธรรมที่ออกมาจากการเลือกตั้งของชาว กทม.อันนี้มันก็ออกมาเป็นแนวนี้ ซึ่งผมต้องเชื่อท่าน เพราะท่านบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้เป็นหัวหน้าพรรคผมก็ยอม
พิธีกร : ถึงเวลานี้ยังหวังที่จะได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ก. ส.ข. ของไทยรักไทยอยู่รึเปล่าคะ
คุณธวัชชัย : ผมไม่เชื่อเรื่องนี้นะฮะ เพราะไม่ใช่ว่าชาว กทม. ใครสั่งให้ลงคะแนนได้ พรรคไทยรักไทยจะเทคะแนนให้ใคร เทให้ผมง่ายที่สุด ผมคนไทยรักไทยตัวจริง
พิธีกร : คนไทยรักไทยตัวจริงก็มีรอยู่ตั้งหลายคนที่ลงอิสระ
คุณธวัชชัย : ก็ผมคิดว่าถึงมีหลายคนผมก็ชัดที่สุด นอกนั้นก็เป็นสายๆ ใหม่เพิ่งเข้าทั้งนั้นแหละ
พิธีกร : จริงๆ แล้วคุณธวัชชัยมีชื่อเสียงทางด้านกีฬา อันนี้ถามตรงๆ เลยนะคะว่าหวังแฟนทางด้านกีฬาเป็นคะแนนเสียงหลัก
คุณธวัชชัย : อันนี้ต้องเป็นฐานผมแน่นอนอยู่แล้วนะ แต่ผมต้องกราบเรียนคนที่ดูรายการอยู่นี่ว่าจริงๆ แล้วผมเก่งหลายเรื่องเพียงแต่ว่ากีฬาเป็นงานที่ผมชอบทำ เป็นงานอดิเรกที่กลายมาเป็นงานจริงๆ จังๆ ฟุตบอล มันเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยชอบมาก พอบอลแข่งทีชนะทีผมก็เป็นฮีโร่ แต่เมื่อวานนี้ที่เพิ่งแข่งแพ้มาผมก็โดนตำหนิว่าโดนถล่มเยอะเกิน
พิธีกร : แล้วมันจะกระทบคะแนนเสียงเยอะไหมค่ะตรงนี้
คุณธวัชชัย : วันสองวันแรกก็ใช่แต่พอมาวันหลังๆ ก็คงไม่มีอะไร เพราะผมแพ้มาตั้งหลายทีแล้ว ชนะมาก็เยอะ พอแพ้เขาก็โกรธนะครับ แต่ว่าในส่วนลึกหลังจากหายโมโหแล้วก็ยังไม่มีใครในสายตาประชาชนทำฟุตบอลได้ดีเท่าผม
พิธีกร : ถึงเวลานี้คิดว่าใช้เวลา 4 ปีที่ผ่านมาคุ้มค่ารึยังคะ ใช้เวลาศึกษาไตร่ตรองถึงขั้นที่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้แล้วเหรอ
คุณธวัชชัย : ถ้าผมไม่มั่นใจผมไม่ใช้คำว่า “ทุกข์ของท่าน ปัญหาผม” ผมไม่ได้จะบอกว่าผมแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง แต่ผมเรียนยืนยันว่าทุกข์อะไรของชาว กทม. ผมรับมาเป็นปัญหาของผมแน่นอนครับ
พิธีกร : นั่นก็คือนโยบายคร่าวๆ นะค่ะ ของคุณธวัชชัย สัจจกุล คิดว่าคุณผู้ชมสามารถที่นำไปพิจารณาไตร่ตรองและก็เลือกอยู่ในใจนะคะว่า ณ เวลานี้สนาม กทม.เป็นอย่างนี้อย่างที่เราได้นำเสนอคุณผู้ชมจะเลือกท่านไหนก็พิจารณาไตร่ตรองกันให้ดีค่ะ ขอบพระคุณ คุณธวัชชัย สัจจกุล ที่มาร่วมรายการค่ะ
คุณธวัชชัย : ขอบพระคุณ คุณสโรชาครับ สวัสดีครับ
พิธีกร : คุณผู้ชมคะ ก่อนที่จะจบรายการนะคะ ดิฉันขออนุญาตเรียนถึงผู้โชคดีค่ะ หมายเลขโทรศัพท์ที่ส่ง SMS เข้ามาได้เสื้อ 11 นิววันร่วมกันทำกรุงเทพฯให้ดีขึ้น อยู่ที่หน้าจอนะเวลานี้ค่ะ 3 ท่านที่ได้เสื้อของเราไปถูกใจทีมงานของเรามากที่สุดนะคะ หมดเวลาแล้วค่ะสำหรับตนในข่าวค่ำคืนนี้ ขอบพระคุณสำหรับการติดตามค่ะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีค่ะ
พิธีกร : สวัสดีค่ะ คุณผู้ชมขอต้อนรับเข้าสู่รายการตนในข่าวค่ะ ในช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากระแสการชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกำลังมาแรงเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประกาศตัวไปเรียบร้อยแล้วในนามของพรรคการเมืองในนามของอิสระถึงเวลานี้ก็เดินสายแถลงนโยบายของตนเองหรือแม้กระทั่งกระแสของพรรคไทยรักไทยว่าถึงเวลานี้แล้ว สก. สข. จะหันไปสนับสนุนใครพูดถึงประเด็นนี้แล้วคงต้องมาคุยกันถึงบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นคนของไทยรักไทยแต่สนใจจะลงสนามผู้ว่า กทม. ในเมื่อไทยรักไทยประกาศอย่างชัดเจนว่าจะไม่ส่งใครลงในนามของพรรคบุคลเหล่านี้จะตัดสินใจลงในนามของอิสระหรือไม่หรือบุคคลที่ตัดสินใจลงในนามของอิสระแล้วถึงเวลาจะไปขึ้นเสียงของไทยรักไทยหรือไม่ วันนี้เราจะมาติดตามกันในประเด็นนี้กันคะ ดิฉันได้เชิญแขกมา 2 คนคะซึ่งทั้งคู่สนใจสนามเลือกตั้ง กทม. อย่างชัดเจนทีเดียว ท่านแรกก็คือร้อยตำรวจตรีเกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ผู้ที่สนใจสนามผู้ว่าอย่างชัดเจนทีเดียวอีกท่านหนึ่งก็คือคุณธวัชชัย สัจจกุล หรือบิ๊กหอยค่ะ ส.ส. กทม. ของไทยรักไทยเอง วันนี้เราจะมาคุยกับทั้ง 2 ท่านคะ แต่ช่วงนี้นะคะเรียนให้คุณผู้ชมทราบซ่ะนิดนึงว่าในประเด็นนี้คุณผู้ชมสามารถที่จะเขียน SMSมาที่รายการของเราได้แสดงความคิดเห็นมีคำถามอะไรก็ถามเข้ามาได้ในระบบ DTAC และ AIS นะคะกด 11 เว้นวรรคพิมพ์ข้อความส่งมาที 85077 วันนี้ดิฉันมีเสื้อจะมาแจกให้ผู้ที่ส่ง SMS ถูกใจทีมงานเรามากที่สุดเป็นเสื้อของ 11 นิววันแห่งนี้นี่คะ นอกจากนี้ยังโทรมาในระบบปกตินี่นะคะหมายเลข 02-6294433คะพักสักครู่คะเดี๋ยวกลับมาคุยกันคะ
พิธีกร : มาถึงช่วงนี้ของตนในข่าวนะคะเราจะมาคุยกันทีละท่านดีกว่านะคะเพื่อความชัดเจนท่านแรกคะ ร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละตอนนี้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีและเป็นผู้ที่สนใจสนามเลือกตั้ง กทม. ทำไมถึงใช้คำว่าผู้ที่สนใจเลือกตั้งสนาม กทม. แหละคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ก็อาจจะเป็นเพราะผมโตมาจากที่นี่และก็ทำงานใน กทม.มา 30 ปีตั้งแต่เริ่มเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2515 ก็โอนมาจากปลัดอำเภอของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย 30 ปีเต็มที่อยู่มาตั้งแต่เป็นชั้นโทจนกระทั้งมาเป็นปลัดกรุงเทพมหานคร
พิธีกร : คุณเกรียงศักดิ์ใช้คำว่าผู้ที่สนใจแต่ยังไม่ประกาศอย่างชัดเจนทราบมาว่าคุณเกรียงศักดิ์เดี๋ยวจะมีเงื่อนไขในการลงชิงตำแหน่งหรือเปล่า
คุณเกรียงศักดิ์ : เงื่อนไขผมคงไม่มีนะครับเพราะว่าผมเรียนตรงๆว่าเราต้องการที่จะทำงานให้แก่สังคมและบ้านเมืองนะครับและก็เมื่อได้รับการพูดถึงก็คิดว่าตัวเองมีความพร้อมในเรื่องของประสบการณ์ในเรื่องของสุขภาพในเรื่องของความตั้งใจแล้วก็ถ้าหากได้รับการพิจารณา
พิธีกร : ได้รับการพิจารณาจากใครคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมเรียนอย่างนี้นะครับคือการที่จะทำงานอะไรก็แล้วแต่เราต้องศึกษาข้อมูลความเป็นจริงของโครงสร้างและบทบาทในการบริหารของงานนั้นๆให้ถ่องแท้เสียก่อนตรงนี้ผมคิดว่าผมคงจะเข้าใจตรงนี้ได้ดีว่า กทม. ทำอะไรได้บ้างทำอะไรไม่ได้บ้างแล้วก็การที่อยู่กับผู้ว่ามาตั้งแต่คนที่ 1 ถึงคนปัจจุบันก็ 13 ท่านเนี่ยนะฮะ ก็คิดว่าได้เห็นบทบาทวิธีการอะไรหลายอย่าง เพราะฉะนั้นก็คิดว่ากทม.ยังต้องการๆสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นสำคัญไม่งั้นงานต่างๆ คงเดินไปสู่ความสำเร็จได้ยาก
พิธีกร : ค่ะ คุณเกรียงศักดิ์เพิ่งบอกว่าตัดสินใจจะลงอย่างแน่นอนแล้ว ดิฉันต้องถามต่อค่ะว่าตกลงลงในนามของอิสระใช่หรือไม่
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ อย่างนี้ครับตอนนี้ ผมเสนอตัวและก็ได้รับการทาบทามอยู่กับไทยรักไทยวันนี้ขณะนี้ก็ยังอยู่กับไทยรักไทยยังไม่ได้เบนเข็มไปจุดอื่น แล้วก็ยังรอการตัดสินใจของไทยรักไทย
พิธีกร : รอการตัดสินใจเหรอคะ ท่านนายกก็พูดออกค่อนข้างจะชัดเจนแล้วคะว่าตกลงพรรคไม่ส่งแน่ผู้ว่ากทม. ก็คือใครอยากลงก็ไปลงอิสระ
คุณเกรียงศักดิ์ : ครับ
พิธีกร : แล้วยังรออะไรอยู่ล่ะคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ ขณะนี้จริงๆ แล้วก็ได้รับข่าวทางสื่อนะ ด้วยการที่ได้ข้อมูลอย่างชัดเจนจากผู้บริหารของพรรคยังไม่ถึงตัวของผมนะครับ เพราะฉะนั้นก็เพียงแต่ว่าติดตามทุกขั้นตอนของผู้สมัครทุกคนและก็ติดตามทุกขั้นตอนของไทยรักไทยด้วยก็ของเวลาอีกนิดนึงยังคิดอะไรไม่ออกนะ
พิธีกร : คุณเกรียงศักดิ์พูดอย่างนี้หมายความว่าจริงๆ แล้วถ้าเกิดพูดกันภายในไทยรักไทยอาจจะยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะไม่ส่งเหรอคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือผมคิดว่า ขออนุญาตเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ คงไม่บังอาจไปเสนอแนะกับทางผู้บริหารพรรค แต่ใจก็ยังคิดว่าพรรครัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญนะครับ เพราะฉะนั้นการจะส่งลงหรือจะสนับสนุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนั้นก็อยากจะรอฟังตรงนี้อีกสักครั้ง
พิธีกร : ค่ะ และถ้าหากว่าได้รับการยืนยันจากผู้บริหารพรรคแล้วว่าไทยรักไทยไม่ส่งแน่ล่ะสนามผู้ว่า คุณเกรียงศักดิ์ยังจะลงไหมคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : เมื่อถึงวันนั้นผมคงต้องตัดสินใจในบางสิ่งบางอย่าง มันก็มีอยู่ 2 อย่าง คือ 1.ตัดสินใจพร้อมที่จะลง กับ 2.ก็ตัดสินใจที่ไม่ลง หรือ 3.ตัดสินใจที่จะร่วมสนับสนุนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทีมใดทีมหนึ่ง ก็เป็นไปได้ทั้ง 3 ทาง
พิธีกร : มันแตกต่างกันตรงไหนคะกับการลงเป็นตัวแทนพรรคไทยรักไทยกับการลงอิสระ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมคิดว่าวันนี้รัฐบาล การเมืองมันเหลือ 2 ขั้วมันไม่เหมือนในอดีต ในอดีตพรรครัฐบาลมีตั้ง 6 – 7 พรรค เพราะฉะนั้นการลงอิสระต้องไม่อยู่ในความเป็นไปได้ ตอนนี้ผมยังคิดว่าการเมืองมันเหลืออยู่ 2 ขั้วเห็นๆ เพราะฉะนั้น กทม.น่าจะอยู่ภายใต้ การกำกับหรือสนับสนุนของรัฐบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายแนวทางของ ท่านนายก ซึ่งเราคิดว่าเหมาะแก่การที่จะนำกรุงเทพฯไปสู่ความสำเร็จ ตรงนี้ก็เป็นจุดยืนที่คิดว่ากรุงเทพฯเหมาะที่จะอยู่กับพรรคที่เป็นรัฐบาล
พิธีกร : ค่ะ สมมุตินะคะว่าพรรคไทยรักไทยบอกชัดเจนว่าจะไม่ส่งผู้ว่า ผู้ที่จะชิงตำแหน่งผู้ว่าและคุณเกรียงศักดิ์ตัดสินใจลงอิสระ ดิฉันจะสามารถสรุปได้ไหมคะว่าคุณเกรียงศักดิ์ได้รับการยืนยันเป็นการภายในจากพรรคว่า สก. สข. ของพรรคจะสนับสนุนคุณเกรียงศักดิ์
คุณเกรียงศักดิ์ : ตรงนี้ผมคงจะไปกำหนดและก็เชื่อมั่นด้วยคำพูดตัวเองคงไม่ได้ เพราะว่าวันนี้เราจะเห็นว่าผู้ที่เสนอตัวหรือมีชื่ออยู่ในพรรคไทยรักไทยนะครับ ก็เสนอตัวมาลงอิสระกันหลายท่านไม่น้อยกว่า 3 – 4 ท่าน เพราะฉะนั้นเราก็ไม่สามารถจะไปกำหนดได้ว่าใครจะสนับสนุนมาที่ตัวเราหรือที่กลุ่มใด ผมว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่ความมั่นใจของตัวเองนะครับ ผมก็มีความมั่นใจว่ามีความพร้อมในจุดหนึ่งว่าพร้อมที่จะทำงานให้ กทม.
พิธีกร : พร้อมที่จะทำงานให้กทม. เหลือการตัดสินใจเพียงอย่างเดียวว่าตกลงพรรคจะสนับสนุนหรือไม่อยู่ที่ประเด็นสุดท้าย แสดงว่าตอนนี้นโยบายพร้อมหมดแล้วสิคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : จริงๆ แล้วเราทำงานที่นี่มา 30 ปีนะครับ มองเห็นก็น่าจะชัดเจน ว่าจะทำอะไรบ้างแล้วทำอะไรได้บ้าง แล้วทำอะไรไม่ได้บ้างก็คิดๆอยู่นะครับ
พิธีกร : มีอะไรที่ทำไม่ได้ก่อน
คุณเกรียงศักดิ์ : คือจริงๆ ต้องเข้าใจบทบาทของการบริหาร กทม.ก่อนในวันนี้นะครับ ผมยังคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราจะทำอย่างไรให้การบริหารตรงนี้มีความสมบูรณ์ ไม่ค่อยมีใครพูดกันเรื่องบริหาร ส่วนใหญ่พูดกันเรื่องของความตั้งใจและความมุ่งมั่นที่อยากจะเห็นโน้นเห็นนี่ แก้ปัญหาจราจร แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาในเรื่องการศึกษา หรืออะไรก็ตามแต่ แต่จริงๆ แล้วผมอยากเห็น กทม. เริ่มต้นด้วยการที่ทำให้ถูกต้องเดินไปตามทิศทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดนะครับ นั่นคือการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง คือรัฐบาลกลางมาให้ท้องถิ่นให้สมบูรณ์ขึ้น เพราะวันนี้เราก็พูดตรงๆ ตำรวจก็ไม่ได้ขึ้นกับ กทม. สาธาราณูปโภคก็ไม่ได้ขึ้นกับ กทม. ระบบขนส่งมวลชนก็ไม่ได้ขึ้นกับ กทม. ไม่ว่าจะเป็นการทางพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น ขสมก. ไม่ว่าจะเป็น รฟภ. อะไรก็ตาม ไม่ได้ขึ้นทั้งสิ้น แล้วก็ยังมีเรื่องการศึกษาก็ยังมีโรงเรียนของสังกัดกระทรวงศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ กทม. เรื่องของสาธารณสุข ก็จะมีโรงพยาบาลของกระทรวงไม่ใช่โรงพยาบาลของ กทม.
พิธีกร : คือสรุปได้ว่าคุณเกรียงศักดิ์ทราบแก่นแท้แล้วว่าจริงๆ แล้วอำนาจไม่ได้อยู่ที่ตัวผู้ว่าฯกทม. มากสักเท่าไหร่นัก
คุณเกรียงศักดิ์ : ถูกต้อง
พิธีกร : แล้วที่จะทำนี่คืออะไรคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ก็คืออย่างนี้ครับ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้วว่าจะต้องมีการกระจายอำนาจส่งมาให้ท้องถิ่น แต่จริงๆ จะต้องให้เสร็จสิ้นภายในปี 47 ด้วยซ้ำไปซึ่งขณะนี้ถ้า กทม.กับรัฐบาล เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การกระจายอำนาจก็จะมีความชัดเจนและรวดเร็วแล้วก็สมบูรณ์ขึ้น ถ้าเมื่อองค์กรของ กทม.มีความสมบูรณ์พร้อมนั่นแหละครับเราจึงจะบอกว่าเราจะทำตรงนั้นได้ ตรงนี้ได้
พิธีกร : คิดว่าจะแก้ตรงนี้ก่อน เมื่อแก้ตรงนี้เสร็จแล้วคิดว่าจะใช้เวลาสักกี่ปี 4 ปีในสมัยแรกถ้าหากว่าได้เป็นจะแก้เสร็จไหมคะตรงเรื่องกระจายอำนาจ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมว่ารูปแบบของการกระจายอำนาจก็น่าจะพร้อมอยู่แล้วเพียงแต่กระจายภารกิจ กระจายคน กระจายเงินมาให้ทุกอย่างมันก็ทำเหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนหัวแทนที่จะไปขึ้นอยู่กับกระทรวงคมนาคมก็มาขึ้นอยู่กับ กทม.เป็นต้น เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วจุดภารกิจนี่ไม่น่าหนักใจ เพียงแต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้มีการกระจายให้มันมีความรับผิดชอบให้เป็นหนึ่งตรงนี้เป็นส่วนสำคัญนะครับ
พิธีกร : มาแนวที่ผิดแปลกจากคนอื่น ผู้สมัครคนอื่น
คุณเกรียงศักดิ์ : แน่นอน
พิธีกร : เพราะว่าคุณเกรียงศักดิ์ยังไม่ได้พูดถึงปัญหาจราจร ยังไม่ได้พูดถึงการศึกษา การเรียน ยาเสพย์ติดยังไม่ได้พูดถึงเลย
คุณเกรียงศักดิ์ : คือจุดนี้เป็นจุดเริ่มที่จะต้องมีแผนตรงนี้ และจะต้องมุ่งมั่นทำให้สำเร็จ แต่แน่นอนครับจุดที่ 2 เราจะมารอให้มันสำเร็จทันทีก็ไม่ได้ แต่ตรงนี้ต้องเริ่มและต้องทำแล้วมันจะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในอนาคตของกรุงเทพมหานคร
พิธีกร : สิ่งแรกในการดำเนินการกระจายอำนาจนี่นะคะ แน่นอนว่าต้องมีการแก้ปัญหาที่ควบคู่กันถูกไหมค่ะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ถูกต้องครับ
พิธีกร : ปัญหาอันไหนที่เร่งด่วนที่สุดในสายตาของคุณเกรียงศักดิ์
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมคิดว่าเราเป็นงานท้องถิ่นนะครับ เราก็ต้องทำในสิ่งที่เป็นเรื่องท้องถิ่นให้สมบูรณ์ คำว่าท้องถิ่นนั้นก็คือว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีความสะดวกสบายมีความสุข นี่คือหลักการ เพราะฉะนั้นถ้าถามผมนี่มันไม่มีอะไรที่จะชัดเจนเท่ากับที่ผมจะเน้นนะ 1.ต้องมีเรื่องความสะอาด ความสะดวก ความสบาย ปลอดภัย ไร้มลพิษ และคุณภาพชีวิตต้องดีขึ้น 6 ประการนี่ก็ครอบจักรวาลภารกิจของ กทม.แล้ว แต่ว่าแต่ละเรื่องจะทำอย่างไรมันจะใช้เวลาที่จะต้องอธิบาย
พิธีกร : ค่ะ ในขณะที่คุณเกรียงศักดิ์ ยังไม่ได้กระโดดลงไปสมัครอย่างเป็นทางการนะค่ะ กำลังมองอยู่ภายนอก มองเข้าไปภายในแล้วถึงผู้สมัครที่ประกาศตัวไปเรียบร้อยแล้วเนี่ยนะค่ะคิดยังไงค่ะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ในฐานะที่ตัวเองต้องถือว่าเป็นคนกรุงเทพฯ แล้วทำงานกรุงเทพฯมา 30 ปี ผมขอชื่นชมการเสนอตัวของทุกท่าน ผมถือว่าทุกท่าน มีความมุ่งมั่นที่อยากจะทำงานให้กับเมืองหลวง ซึ่งผมก็เคยทำงานอยู่ตรงนี้ แล้วก็มีเจตนา มีความตั้งใจ ตรงนี้ต้องชื่นชมและเป็นความเสียสละอย่างหนึ่ง เพราะเป็นภารกิจที่ค่อนข้างใหญ่หลวงสำหรับคนที่ไม่เคยผ่านงานตรงนี้มาเลย แต่เสนอตัวที่อยากจะมาทำและอยากมาแก้ปัญหาตรงนี้ผมต้องชื่นชม แต่ผมคงไม่กล้าวิจารณ์ถึงคุณสมบัติของแต่ละท่าน เพราะแต่ละท่านก็ต้องมีความสามารถหรือสไตล์ของแต่ละคน เราจะไปบอกสไตล์ นาย กอ ไม่ดี สไตล์ นาย ขอ ไม่ดี มันไม่ได้
พิธีกร : งั้นถามอย่างนี้ค่ะบอกว่าจริงๆ แล้วท่านนายกพูดชัดเจนเมื่อวานนี้เองนะคะ ว่าท่านรู้แล้วล่ะว่าผู้ว่า กทม.คนต่อไปคือใครลงในนามอิสระและอายุไม่ถึง 60 คุณเกรียงศักดิ์เกินแล้วนี่คะรู้สึกหวั่นผวาไหมคะกับคำพูดของท่านนายกฯ
คุณเกรียงศักดิ์ : ผมก็คิดว่าท่านก็ต้องมีเหตุผลของท่าน ผมก็ยังไม่ได้ตัดสินใจเด็ดขาด วันนี้ก็ต้องฟังท่านนะครับว่าท่านมีแนวคิดอย่างไร หรือว่าได้ข้อมูลมาอย่างไร
พิธีกร : แล้วถ้าหากว่าได้คุยกับท่านแล้วว่าเหตุผลท่านคืออะไรบ้างคิดจะเบนเข็มไหมคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ ต้องเรียนอย่างนี้นะครับว่าเรามีประสบการณ์มาตรงนี้ เรามีข้อมูลความรู้ สิ่งต่างๆ จากตรงนี้ก็ต้องเรียนว่าให้ความสนใจตรงนี้ ไม่ใช่ว่าเรามีความรู้ตรงนี้แล้วเสนอตัวไปสมัครที่ภูเก็ตหรือสมัครที่เชียงใหม่คงไม่เหมาะ ทีนี้เราคิดว่าเราเหมาะกับตรงนี้เราก็เสนอตัวอยู่ตรงนี้
พิธีกร : ถ้าเสนอตัวลงไปแล้วคิดว่าจะได้เสียงสักเท่าไหร่คะ
คุณเกรียงศักดิ์ : คือ ถ้าตัดสินใจในเมื่อวันนั้นมาถึงเนี่ย เราก็ต้องคิดว่าเรามีโอกาสที่จะได้รับการเลือก เพราะถ้าเราคิดว่าเราไม่ได้ไม่รู้จะลงไปทำไมถ้าคิดว่าจะไม่ได้นะ เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่คงจะต้องใช้ความรอบคอบพิจารณาแล้วก็ศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจ
พิธีกร : สนามเลือกตั้งผู้ว่าครั้งนี้ถือว่าเป็นสนามที่มีข่าวเยอะพอสมควรเกี่ยวกับในเรื่องของว่าถ้าหากท่านไหนสมัครไม่ได้แล้วจะมาเป็นทีมรองผู้ว่าของผู้ที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น คุณเฉลิม หรือว่า คุณปวีณา อะไรก็แล้วแต่เนี่ยนะคะ นึกไว้รึยังคะว่าถ้าหากว่าได้แล้วทีมรองผู้ว่าจะเป็นใคร
คุณเกรียงศักดิ์ : อ๋อ แน่นอนครับผมก็ต้องมีความพร้อมตรงนี้อย่างชัดเจน แล้วผมย้ำตรงนี้อีกนิดนึงนะครับว่าสังคมวันนี้ กทม.นี่ ทีมของผู้บริหาร ผมใช้คำว่า ผู้บริหาร กทม.นะครับ
พิธีกร : ค่ะ
คุณเกรียงศักดิ์ : เอาเฉพาะผู้ว่า และรองผู้ว่าอีก 4 จะไม่พูดถึงที่ปรึกษาอีก 9 คน จะไม่พูดถึงเลขา
ทุกคนนี่ต้องมีคุณสมบัติที่จะพร้อมที่จะทำงานเสมือนหนึ่งเป็นผู้ว่าเหมือนกัน เพราะฉะนั้นทีมของการบริหารนี่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งหมดยุคของศิลปินเดี่ยวนะ ที่หมายความว่าจะต้องชูผู้ว่าอยู่คนเดียวคงไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าพูดตรงๆ แล้วตรงนี้ทุกคนก็ต้องมีความพร้อมนะครับ
พิธีกร : มีพร้อมแล้วนะคะ ที่สำคัญก็คือจุดเด่นของท่าดูเหมือนจะอยู่ที่ว่าการเป็นปลัด กทม.มาตลอด 13 ผู้ว่าที่ผ่านมาคิดว่าเป็นจุดเด่นสุดของตัวเองไหมคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : น่าจะเป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะคนเราถ้าจะทำงานแก้ปัญหาก็ต้องรู้ปัญหา และเข้าใจปัญหามันถึงจะแก้ปัญหาสำเร็จ เพราะฉะนั้นในสิ่งที่เราทำงานมาตลอดเวลาตั้งแต่ชั้นผู้น้อยจนกระทั่งระดับสูงสุด เราอยู่ใกล้ชิดผู้ว่ามาทุกคนก็น่าจะเห็นปัญหาต่างๆ ได้ดีพอสมควร
พิธีกร : คิดว่าจะฝากอะไรไหมค่ะ ช่วงสุดท้ายนี้ ฝากอะไรถึงประชาชนชาว กทม.ว่าจริงๆ แล้วตกลงพูดมาตลอดเหมือนกับว่าตัดสินใจแล้วว่าจะลงอย่างแน่นอนดิฉันฟังแล้วเอ๊ะยังไง
คุณเกรียงศักดิ์ : ก็ใช้คำถามนำผมๆ ก็คงไปทางไหนไม่ได้วันนี้มาพูดถึงเรื่อง กทม.ก็ต้องแสดงเจตนาไว้ก่อนว่ามีความตั้งใจ ผมคิดว่าวันนี้นะที่จะฝากไว้คือว่าบ้านเมืองเป็นของประชาชนนะไม่ใช่เป็นของนักการเมืองหรือว่าเป็นของข้าราชการ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือความร่วมมือมันจะไม่ประสบความสำเร็จเลยถ้าประชาชนไม่สนับสนุนและไม่ให้ความร่วมมือ แล้ววันนี้มันถึงเวลาที่จะต้องระบบของราชการ ระบบของการเมืองและระบบของประชาชนหรือเอกชน จะต้องเดินควบคู่ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นความสำเร็จต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นก็ต้องอาศัยความร่วมมือ เพราะฉะนั้นความร่วมมือจะเกิดขึ้นก็อยู่ที่ประชาชนต้องมีความศรัทธาในผู้บริหาร ผมก็คิดว่าถ้าเราจะมีโอกาสทำงานก็ต้องดึงประชาชนมาเป็นผู้ร่วมทำงานด้วยในกรุงเทพมหานครไม่งั้นการแก้ปัญหาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย
พิธีกร : ค่ะ และนี่ล่ะค่ะ คุณผู้ชมเรื่องราวของร้อยตำรวจตรี เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ ตอนนี้อยู่ในฐานะผู้ที่สนใจผู้ที่จะลงสนามผู้ว่า กทม. ความเคลื่อนไหวของท่านนี้จะเป็นอย่างไรติดตามกันต่อไปค่ะ ขอบพระคุณที่ให้เกียรติมาร่วมรายการคะ
คุณเกรียงศักดิ์ : ครับ ขอบคุณครับ
พิธีกร : คุณผู้ชมคะ พักกันสักครู่นะคะ เดี๋ยวกลับมาเรามาคุยกับผู้สมัครอีกท่านหนึ่งท่านนี้ประกาศเรียบร้อยแล้วอย่างเป็นทางการให้ด้วยว่าจะลงสมัครในนามของอิสระแน่ๆ คุณธวัชชัย สัจจกุล จะมีอะไรมาพูดกับพวกเราเดี๋ยวกลับมาติดตามกันค่ะ
พิธีกร : กลับมาสู่รายการตนในข่าวนะคะ คนที่เราจะคุยกันท่านต่อไปก็คือ ท่านนี้ค่ะคุณธวัชชัย สัจจกุล หรือว่ารู้จักกันดีในนามของ บิ๊กหอยนะคะ “ทุกข์ของท่าน ปัญหาผม ให้โอกาสเป็นผู้ว่านะครับ ธวัชชัย สัจจกุล” วันนี้ยินดีต้อนรับสู่รายการค่ะ สวัสดีค่ะ
คุณธวัชชัย : สวัสดีครับ
พิธีกร : มาเริ่มต้นกันด้วยคำถามยอดฮิตก่อนนะคะ เพราะว่าเมื่อวานนี้ท่านนายกก็เพิ่งพูดไปสดๆ ร้อนๆ เลยว่าท่านรู้แล้วล่ะว่าผู้ว่าคนต่อไปคือใคร และคนนั้นคือ ลงในนามของอิสระและอายุไม่เกิน 60 ปี คุณธวัชชัยเกินแล้วใช่ไหมคะ
คุณธวัชชัย : เกินแล้วครับ
พิธีกร : รู้สึกยังไงบ้างคะหวั่นไหวไหมกับคำพูดของท่านนายก
คุณธวัชชัย : ไม่ครับ
พิธีกร : ไม่เลยเหรอคะ
คุณธวัชชัย : เพราะว่าจริงๆ ก่อนที่ผมจะเปิดตัวลงมา ผมก็ดูแล้วคิดว่าในคู่ต่อสู้ทั้งหมดที่มีถึงแม้จะเปิดตัวช้าไปหน่อยผมเชื่อว่าถ้าวันนี้ผมยังอยู่ห่างในเรื่องของความนิยมผมเชื่อว่าผมไล่ทัน
พิธีกร : ถึงแม้ว่าจะช้ายังไล่ทันเหรอคะ
คุณธวัชชัย : ผมเชื่อว่าผมไล่ทัน
พิธีกร : ทำไมถึงคิดอย่างนั้นล่ะคะ
คุณธวัชชัย : ก็ถ้าคาดการณ์ของผมไม่ผิดนะครับในเรื่องของความนิยมวันนี้ บุคคลที่ท่านนายกพูดถึงน่าจะเป็นคุณปวีณา เพราะว่าผมเป็นนักการเมืองผมลงสมัครเลือกตั้ง ผมต้องรู้เขารู้เรา ผมก็มีวิธีการเช็คของผมเหมือนกันว่าท่านใดคือบุคคลคนนั้น
พิธีกร : อ๋อ แต่สรุปก็คือท่านนายกพูดถึงคุณปวีณา
คุณธวัชชัย : ผมเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ประวัติศาสตร์เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เมื่อตอนที่เริ่มเปิดตัวใหม่ๆ คุณปวีณาก็อยู่ในสถานะเดียวกัน คือ ผู้นำ ผมก็ลงมาที่หลัง แต่ว่าตอนจบ คุณปวีณาได้ 92,000 คะแนน ผมได้ 247,000 คะแนน เพราะฉะนั้นถ้ามองจากตรงนี้ผมไม่ค่อยหวั่นไหวเท่าไหร่ ข้อที่ 2ที่ผมมองก็คือว่าผมยังมองว่าวันนี้ สิ่งที่คุณปวีณาทำในเรื่องของการเมืองน่านับถือ น่ายอมรับในเชิงของในเรื่องสวัสดิการสังคมต่างๆ ผมเองผมก็ยอมรับว่าเธอทำงานได้ดีมาก ผมยังคิดด้วยซ้ำว่าถ้าผมไล่เธอทันและผมแซงเธอ ผมอยากจะเชิญเธอมาเป็นรองผู้ว่าให้ผมทำงานในเรื่องพวกนี้นะฮะ นโยบายของผมน่าจะกว้างกว่า
พิธีกร : กว้างกว่าคุณปวีณาเหรอคะ
คุณธวัชชัย : กว้างกว่าคุณปวีณา และผมคิดว่าในเรื่องของคุณสมบัติส่วนตัวนะผมว่าผมน่าจะดีกว่าเธอนะครับ ผมจบวิศวะ ผมจบบริหารจากจุฬาทั้งการจัดการและก็ประสบการณ์โดยทั่วๆ ไปผมน่าจะเหมาะสำหรับงานนี้มากกว่าคุณปวีณา ซึ่งต้องถือว่ามีคุณสมบัติหลักพิเศษในเรื่องของสวัสดิการสังคม
พิธีกร : คุณธวัชชัยพูดแต่ถึง คุณปวีณา แปลว่าไม่ห่วงคุณอภิรักษ์ ไม่ห่วงคุณชูวิทย์ ไม่ห่วงคุณเฉลิมเลยเหรอคะ
คุณธวัชชัย : อย่างที่ผมเรียนคุณสโรชาเมื่อนะครับ ก่อนที่ผมจะเปิดตัวระยะที่ผ่านมาหลายๆเดือน ผมก็มีวิธีการตรวจเช็คของผมเหมือนกัน ว่าวันนี้ผมจะต้องไปเจอกับใครก็ไม่ทราบจะเหมาะสมรึเปล่า วันนี้ต้องขออนุญาตเรียนว่า คุณอภิรักษ์ ถ้าผมไม่ลงไม่ใช่คู่ต่อสู้คุณปวีณานะฮะ ผมทำงานผมทำการบ้าน ผมคิดว่าผมเปิดตัววันนี้ อย่างน้อยผมน่าจะแซงคุณเฉลิมกับคุณชูวิทย์ได้ คิดว่าอีกไม่นานหลังจากผมเปิดตัวแล้วน่าจะแซงคุณอภิรักษ์ได้ในเวลาไม่นาน
พิธีกร : แสดงว่าที่ดูมาทั้งหมดนี่คิดว่าคุณปวีณาคือ คู่แข่งที่แท้จริงของคุณธวัชชัยใช่มั้ยคะ
คุณธวัชชัย : ครับ
พิธีกร : งั้นมาคุยถึงเรื่องนโยบายบ้าง “ทุกข์ของท่าน ปัญหาของผม” ทำไมชีวิตคนกรุงเทพฯนี่ทุกข์เยอะมากเลยเหรอคะ
คุณธวัชชัย : ก็แล้วแต่ใครจะมีทุกข์อะไรนะ ผมคิดว่าทุกข์ของคนกรุงเทพฯ ผมเชื่อว่าทุกคนมีทุกข์แน่ ทุกประเด็นของคนกรุงเทพฯ ผมไม่เชื่อว่าทุกคนจะมีความสุขร้อยเปอร์เซ็นต์ อันนี้ผมคิดว่าทุกข์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชาว กทม.เนี่ย เป็นหน้าที่ของผู้ว่า กทม.ซึ่งจะมีอำนาจรับผิดชอบโดยตรงหรือไม่ก็ตามจะต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพ อย่าไปบอกว่าถ้านักเรียนตีกัน ถ้าเกิดยิงกันขึ้นมาเป็นเรื่องของตำรวจกับกระทรวงศึกษาแล้วก็สารวัตรนักเรียน ไม่ใช่ อะไรที่เป็นทุกข์ของชาว กทม.ผู้ว่าต้องเข้าไปรับผิดชอบหมด ผู้ว่าจะต้องเข้าไปประสานงานให้ได้นะฮะว่าวันนี้ ปัญหาเรื่องที่เราคุยกันมันแก้ยังไง
พิธีกร : แต่มีหลายคนวิจารณ์ว่าจริงๆ แล้วผู้ว่าก็ไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้นที่วาดฝันกันเข้าไปถึงเวลาจริงๆ ก็จะรู้ว่าทำไม่ได้หรอก
คุณธวัชชัย : เขาไม่เก่งไง
พิธีกร : อ้าว
คุณธวัชชัย : ใช่มั้ย จริงๆ แล้วผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เขาพร้อมจะให้ความร่วมมือ อย่าไปนั่งดูอยู่เฉยๆ สิฮะ กดโทรศัพท์แล้วมานั่งคุยกันเรื่องนี้หน่อยว่าปัญหารถซิ่ง ชาวบ้านเขาเริ่มเดือดร้อนจริงแก้ยังไง ข้อมูลที่ผมได้มา ก็คือว่าการที่จะจับรถซิ่งมอเตอร์ไซด์ซิ่ง เขาต้องใช้รถบัสที่จะไปปิดตามถนนอย่างน้องต้องมี 8 คัน กำลังตำรวจอีกประมาณ 200 คน ถามว่าวันนี้ตำรวจแต่ละโรงพักเขาจัดเวรจัดยามกันมาจำนวนบุคคลากรไม่พออยู่แล้ว พอจะมาจัดทำงานพิเศษเขาต้องเอาคนซึ่งออกเวรเข้ามาทำงาน วันนี้งบประมาณโรงพักหรือกองกำกับต่างๆ ไม่ได้มีตังค์หรอกครับที่จะเช่ารถเมล์มาปิด ไม่ได้มีตังค์แม้กระทั่งจะซื้อข้าวต้มให้ตำรวจที่เขาออกเวรแล้วเนี่ยมาทำงานพวกนี้ อันนี้ผู้ว่าต้องเข้ามารับผิดชอบในเมื่อตำรวจไม่มีงบผู้ว่ามีงบกลางของผู้ว่ามีตลอด ในสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ก็จัดไปสิครับ รถบัสค่าเช่ากลางคืน 2,000 บาท ก็ว่าไป 8 คัน ก็หมื่นกว่าบาทอันนี้ ผู้กำกับก็ต้องควักตังค์เอง ไหวเหรอฮะใครจะมานั่งทำอยู่ ทุกครั้งที่อยากจะทำงานรับใช้ประชาชนหมายถึงว่าต้องควักตังค์เอง เรียกแต่ละกองกำกับ แต่ละโรงพักมา มันเป็นกฐิน เฮ้ย ช่วยอั๊วหน่อยนะขอสัก 20 ขอกันไปขอกันมาอยู่อย่างนี้ ตำรวจไทยไม่ค่อยจะได้พักผ่อน ขอยังไงผมโทรศัพท์ครั้งนี้ขอไปทีมแล้ว อีก 2 – 3 อาทิตย์มาอีกแล้ว ท่านได้หน้ากองบังคับการได้หน้าหรือผู้บัญชาการเขตนครบาลเราได้หน้า ประชาชนบอกว่าท่านเก่ง ถามว่าใครจ่ายล่ะ ไม่มีใครจ่าย
พิธีกร : ก็คือ กทม. ต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพ
คุณธวัชชัย : เข้ามาเป็น แม้กระทั่งเรื่องงบประมาณของทาง กทม.เองเนี่ย จริงๆ แล้วงบประมาณของกทม.เองเนี่ยมันจะผ่านเข้ามาในหน่วยงานของกระทรวงการคลังมาก โดยเฉพาะงบตำรวจเนี่ยมันจะผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ วันนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีกำลังพลอยู่ 22,000 ตามทฤษฎีของเมืองหลวง กำลังพล 22,000 เป็นตำรวจของทางด้านอาชญากรรม 1,000 คน เป็นตำรวจจราจร 6,000ข้อเท็จจริงสำหรับประชากร 6,000,000 คนกำลังตำรวจต้อง 30,000 ถามว่าตรงนี้ขาดไปแล้ว 8,000 แต่ถ้าเรามามองข้อเท็จจริงของชาว กทม.วันนี้ ประชาชนชาว กทม.ที่ไม่ได้ลงทะเบียนมีสำมะโนครัวใน กทม.อีกประมาณ 5,000,000 กว่า เพราะฉะนั้นกำลังตำรวจตรงมันต้องไม่ใช่ 30,000 คนด้วยซ้ำไป วันนี้ 30,000 เรามีแค่ 22,000 จริงๆ เราต้องมี 60,000 ถามว่างบตรงนี้มันไปรวมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติเวลาเข้าไปในสำนักงบประมาณเข้าไปในสภาไปมีกรรมาธิการงบประมาณให้เขาตัดไม่มีเจ้าภาพ ไม่เคยมีใครทำ ถ้าผมเป็นผู้ว่าอันนี้ผมต้องเป็นเจ้าภาพ ผมต้องประสานงานกับ ส.ส.กทม. แล้วประกาศให้สื่อมวลชนทราบด้วยว่าวันนี้ผมจะเข้าไปรับผิดชอบเรื่องนี้และผมต้องการ การสนับสนุนจาก ส.ส.กทม.เพื่อจะมาเป็นเจ้าภาพว่าวันนี้นครบาลเป็นอย่างนี้ วันนี้นครบาลแต่ละโรงพักมีงบ 15 คัน เสียซะ 8 ใช้ได้ 7 อีก 8 คนก็อยากมีผลงานก็ควักเงินซ่อมเอง
พิธีกร : ที่พูดมาทั้งหมด เพียงแต่ว่ามันจะต้องใช้ความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย
คุณธวัชชัย : แน่นอน และผู้ว่าอย่าไปหลงตัวเองว่าได้คะแนน 1 ล้าน 7 แสน 8 แสน มาแล้วว่าฉันคือพระเอก เพราะประชาชนชาว กทม.เลือกฉันมา คือผู้ว่าเนี่ยจริงๆ แล้วถ้าคิดจะทำงานจริงๆ อยากจะรับใช้ประชาชนผู้ว่าฯ ต้องลงไปหาเขา เพราะว่าคนที่ใหญ่ที่สุด ก่อนที่เราจะมาเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลิส ก็ได้รับเลือกตั้งมาไม่เกินแสนคะแนน แต่ผู้ว่า กทม.คนเดียวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 8 แสน ก็คือว่าโอ้โหใหญ่โตมโหฬาร เพราะว่าคน 8 แสนเลือกมา แต่อำนาจจริงๆ ทางกฎหมายมันไม่มี มันเป็นแค่ยักษ์ไม่มีกระบอง เพราะฉะนั้นจะต้องลงไปลงไปหาเขา มันไม่ใช่งานยากนะฮะ เพราะว่าถึงเวลาถ้าเลือกตั้งก็ลงไปกราบไหว้ขอคะแนนประชาชนได้ ถ้าถึงอีกวันหนึ่ง ท่านจะต้องไปยกมือไหว้ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ผู้กำกับของโรงพักในระดับพันเอกผมไม่เห็นมันจะเสียหายตรงไหน ถ้าสิ่งเหล่านั้นท่านไปหาเขาแล้วทำให้ลดทุกข์ให้ชาว กทม.
พิธีกร : คุณธวัชชัยคิดว่า การมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพรรคไทยรักไทยจะมีประโยชน์ในการดำรงตำแหน่งมากน้อยขนาดไหนคะ
คุณธวัชชัย : อันนี้มีแน่ในเรื่องของงบประมาณ เพราะว่าผู้ว่าคนต่อไปไม่ว่าใครก็ตามที่ชนะเลือกตั้ง ถ้าต้องการจะลดทุกข์ของชาว กทม.จริงๆ เนี่ย พูดถึงเรื่องจราจรอย่างเดียว ท่านนายกท่านก็ประกาศมาเมื่อสัก 3 – 4 เดือนที่แล้วว่าจะจัดงบประมาณแก้ปัญหาของจราจรของกรุงเทพฯ แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่น ท่านนายกท่านมีงบกลาง ผมถึงได้บอกไว้ไงว่าคนที่จะมาเป็นผู้ว่าต้องเข้ามาเป็นเจ้าภาพมาคุย อะไรที่มันเร่งด่วนเอาขึ้นมาให้นายกรัฐมนตรี
พิธีกร : แต่ถ้าเกิดคุณธวัชชัยมาเป็นแล้วไม่เกิดปัญหานี้
คุณธวัชชัย : ไม่มีแน่ฮะ เพราะผมศึกษามาหมดแล้ว ผมลงมาแล้วครั้งหนึ่งผมได้ที่ 3 หลังจากนั้นผมก็ยังคิดของผมเรื่อยๆ ว่าผมน่าจะมีโอกาสได้ลงอีก เพราะว่า 4 ปีที่ผ่านมาผมศึกษาทุกอย่าง การบริหาร กทม.เป็นยังไง วัฒนธรรมของข้าราชการ กทม.เป็นยังไง การประสานงานจะต้องทำยังไงบ้าง เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าผมอยากเสนอตัวลง เพียงแต่ว่าที่ผมช้าเพราะว่าในพรรคไทยรักไทย ผมเสนอตัวลงชัดเจน แต่คนที่เหนือกว่าผมตามความเป็นจริงในเชิงการเมือง กทม.คือ ท่านปุระชัย และท่านสุดารัตน์ ผมอยู่คิว 3 แต่ผมก็แอบฝันเงียบๆ ก็คิดว่าในที่สุดพรรคไทยรักไทยต้องให้ผมลงเผอิญนโยบายพรรคเปลี่ยน แต่ไม่ใช่เป็นเพราะกลัวแพ้ผมเรียนยืนยันไทยรักไทยไม่เคยกลัวแพ้
พิธีกร : อ้าวแล้วทำไมถึงไม่ส่ง
คุณธวัชชัย : อาจจะเป็นเงื่อนไขทางการเมืองเรื่องอื่นนะฮะท่านเรียกผมไปบอกก่อนที่ท่านจะประกาศอย่างเป็นทางการไม่กี่วัน ท่านบอกว่าท่านไม่ส่งแล้วล่ะผู้ว่า ผมก็ถามทำไมล่ะครับ วันนี้กระแสมันออกมาค่อนข้างรุนแรงมากว่าพรรคไทยรักไทย มีอำนาจเบ็ดเสร็จเป็นรัฐบาลเกือบจะเป็นพรรคเดียวอยู่แล้ว แล้วก็ถ้าได้อำนาจในการปกครองท้องถิ่นโดยเฉพาะสาย กทม. อาจจะมีแรงต้านมาจากคน กทม.ว่ามีอำนาจมากเกินไป แล้วในการเลือกตั้งใหญ่เราอาจจะไม่ได้ ส.ส.กทม.มากพอจะสร้างความชอบธรรม ไม่ใช่ไม่มีความชอบธรรมถึงแม้เราจะแพ้ ส.ส.กทม.หมดเลยและชนะในต่างจังหวัด แต่มันเป็นเรื่องปกติของคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่อยากได้ความชอบธรรมที่ออกมาจากการเลือกตั้งของชาว กทม.อันนี้มันก็ออกมาเป็นแนวนี้ ซึ่งผมต้องเชื่อท่าน เพราะท่านบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้เป็นหัวหน้าพรรคผมก็ยอม
พิธีกร : ถึงเวลานี้ยังหวังที่จะได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ก. ส.ข. ของไทยรักไทยอยู่รึเปล่าคะ
คุณธวัชชัย : ผมไม่เชื่อเรื่องนี้นะฮะ เพราะไม่ใช่ว่าชาว กทม. ใครสั่งให้ลงคะแนนได้ พรรคไทยรักไทยจะเทคะแนนให้ใคร เทให้ผมง่ายที่สุด ผมคนไทยรักไทยตัวจริง
พิธีกร : คนไทยรักไทยตัวจริงก็มีรอยู่ตั้งหลายคนที่ลงอิสระ
คุณธวัชชัย : ก็ผมคิดว่าถึงมีหลายคนผมก็ชัดที่สุด นอกนั้นก็เป็นสายๆ ใหม่เพิ่งเข้าทั้งนั้นแหละ
พิธีกร : จริงๆ แล้วคุณธวัชชัยมีชื่อเสียงทางด้านกีฬา อันนี้ถามตรงๆ เลยนะคะว่าหวังแฟนทางด้านกีฬาเป็นคะแนนเสียงหลัก
คุณธวัชชัย : อันนี้ต้องเป็นฐานผมแน่นอนอยู่แล้วนะ แต่ผมต้องกราบเรียนคนที่ดูรายการอยู่นี่ว่าจริงๆ แล้วผมเก่งหลายเรื่องเพียงแต่ว่ากีฬาเป็นงานที่ผมชอบทำ เป็นงานอดิเรกที่กลายมาเป็นงานจริงๆ จังๆ ฟุตบอล มันเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยชอบมาก พอบอลแข่งทีชนะทีผมก็เป็นฮีโร่ แต่เมื่อวานนี้ที่เพิ่งแข่งแพ้มาผมก็โดนตำหนิว่าโดนถล่มเยอะเกิน
พิธีกร : แล้วมันจะกระทบคะแนนเสียงเยอะไหมค่ะตรงนี้
คุณธวัชชัย : วันสองวันแรกก็ใช่แต่พอมาวันหลังๆ ก็คงไม่มีอะไร เพราะผมแพ้มาตั้งหลายทีแล้ว ชนะมาก็เยอะ พอแพ้เขาก็โกรธนะครับ แต่ว่าในส่วนลึกหลังจากหายโมโหแล้วก็ยังไม่มีใครในสายตาประชาชนทำฟุตบอลได้ดีเท่าผม
พิธีกร : ถึงเวลานี้คิดว่าใช้เวลา 4 ปีที่ผ่านมาคุ้มค่ารึยังคะ ใช้เวลาศึกษาไตร่ตรองถึงขั้นที่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้แล้วเหรอ
คุณธวัชชัย : ถ้าผมไม่มั่นใจผมไม่ใช้คำว่า “ทุกข์ของท่าน ปัญหาผม” ผมไม่ได้จะบอกว่าผมแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง แต่ผมเรียนยืนยันว่าทุกข์อะไรของชาว กทม. ผมรับมาเป็นปัญหาของผมแน่นอนครับ
พิธีกร : นั่นก็คือนโยบายคร่าวๆ นะค่ะ ของคุณธวัชชัย สัจจกุล คิดว่าคุณผู้ชมสามารถที่นำไปพิจารณาไตร่ตรองและก็เลือกอยู่ในใจนะคะว่า ณ เวลานี้สนาม กทม.เป็นอย่างนี้อย่างที่เราได้นำเสนอคุณผู้ชมจะเลือกท่านไหนก็พิจารณาไตร่ตรองกันให้ดีค่ะ ขอบพระคุณ คุณธวัชชัย สัจจกุล ที่มาร่วมรายการค่ะ
คุณธวัชชัย : ขอบพระคุณ คุณสโรชาครับ สวัสดีครับ
พิธีกร : คุณผู้ชมคะ ก่อนที่จะจบรายการนะคะ ดิฉันขออนุญาตเรียนถึงผู้โชคดีค่ะ หมายเลขโทรศัพท์ที่ส่ง SMS เข้ามาได้เสื้อ 11 นิววันร่วมกันทำกรุงเทพฯให้ดีขึ้น อยู่ที่หน้าจอนะเวลานี้ค่ะ 3 ท่านที่ได้เสื้อของเราไปถูกใจทีมงานของเรามากที่สุดนะคะ หมดเวลาแล้วค่ะสำหรับตนในข่าวค่ำคืนนี้ ขอบพระคุณสำหรับการติดตามค่ะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีค่ะ